Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ซินโดมเปิดตัวเครื่องสำรองไฟฟ้ารุ่น ECO ตัวล่าสุด

ซินโดมคือแบรนด์เครื่องสำรองไฟฟ้าที่ก่อตั้งเมื่อปี 2530 และยังคงผลิตอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันโดยทีมวิศวกรชาวไทยที่เชี่ยวชาญ ในการผลิตเครื่องสำรองไฟฟ้าแบบ UPS มาช้านาน ปัจจุบันทางบริษัท ซินโดม(Syndome)ได้ประกาศเปิดตัวเครื่องสำรองไฟฟ้ารุ่นใหม่ล่าสุด ในรุ่น Eco ll-2200 LCD โดยเครื่องสำรองไฟฟ้ารุ่นนี้ออกแบบมาเพื่อใช้ในยามฉุกเฉินหรือไฟฟ้าดับที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและระบบ UPS คุณภาพสูง โดยผลิตภัณฑ์นี้ทางบริษัท ซินโดม (Syndome) มีจุดมุ่งหมายแก้ไขปัญหาด้านพลังงานไฟฟ้าในไทยและทั่วโลกเพราะผลิตภัณฑ์ตัวนี้มีคุณสมบัติขั้นสูงที่เหมาะจะเคียงข้างผู้บริโภคในการทำงานเป็นเวลานานไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ทำงานด้าน VA หรือ Virtual assistants ด้านธุรกิจ และ องค์กรขนาดใหญ่ 

นอกจากนี้เครื่องสำรองไฟฟ้ารุ่น Eco ll-2200 LCD ยังมาพร้อมกับระบบปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติที่ช่วยในการป้องกันและรักษาอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าของผู้ใช้งานโดยระบบ UPS ทีควบคุมโดยไมโครโปรเซสเซอร์พิเศษและยังเสริมความทนทานด้วยเทคโนโลยีอินเวอร์เตอร์แบบฟูลบริดจ์ทำให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานได้อย่างรวดเร็วด้วยระบบเทคโนโลยี  Super charge และพลังงานสำรองที่ยาวนานมากขึ้นด้วยหม้อแปลง Super low-Loss พร้อมทั้งเต้ารับอเนกประสงค์ที่รองรับปลั๊กทุกประเภท

Syndome ประกาศเปิดตัวผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่โดยมุ่งหวังที่จะมอบความคุ้มค่าให้กับผู้บริโภคโดยสร้างความมั่นใจให้แก่ลูกค้าว่าพวกเขาจะได้รับผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพระดับพรีเมียมเพราะทางบริษัท ซินโดม(Syndome) ออกแบบมาเพื่อมอบความคุ้มค่าคุ้มราคาอย่างสูงสุด โดยทางซินโดม (Syndome) มีเป้าหมายที่จะขจัดความกังวลที่เพิ่มขึ้นของ VA หรือ Virtual assistants ในปัญหาด้านแหล่งไฟฟ้าที่ไม่ดีจะหมดไป

ในขณะเดียวกันระบบ UPS ของ Syndome ได้รับการปรับคุณสมบัติใหม่ให้เหมาะสมเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานเปรียบเสมือนผู้ช่วย โดยเฉพาะในด้าน Graphic designers, social media managers, WP image editors, Branding specialists, infographic experts และด้านอื่นๆ หรือว่าจะเป็นผู้ที่ทำงานระยะไกลและมีต้องการ ไฟฟ้าก็สามารถช่วยให้งานของพวกเขาสำเร็จได้โดยประโยชน์จากฟังก์ชั่นเหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพ

ระบบฟังก์ชั่น หม้อแปลง Super low-Loss บนผลิตภัณฑ์ UPS ที่ออกแบบใหม่เหมาะสำหรับนักตัดต่อวิดีโอและต้องเชื่อมอินเทอร์เน็ตอยู่ตลอดซึ่งต้องใช้พลังงานไฟฟ้า หรือทั้งนี้เหมาะกับแอดมิน ที่ต้องมีความจำเป็นในการตอบกลับลูกค้าอยู่ตลอด รวมถึงผู้ให้บริการด้านการแปลและด้านบริการอื่นๆ

สินค้าอื่นๆของซินโดม TE-10K (10000VA/10000Watt) UPS, TE-6k (6000VA/6000Watt) UPS, Extreme 1503(1500VA/1200Watt) UPS, STAR-750 (750VA/450Watt) UPS, Radian 1500 (1500VA/900Watt) UPS, Radian 750(750VA/500Watt) UPS, and Radian 500 (500VA/300Watt) UPS.

ติดต่อ/สั่งซื้อสินค้า หรือ เยี่ยมชมเว็บไซต์

บริษัท ซินโดมอิเลคทรอนิคส์ อิดัสตรี จำกัด
คุณ กฤษณ เชิดชูวงศ์สันติ
โทร. 02-872-6900 ที่อยู่ 66 ซอยประชาอุทิศ 59 แยก 3 .ประชาอุทิศ บางมด ทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140 ประเทศไทย

เว็บไซต์ https://www.syndome.com/ 


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ชไนเดอร์ เปิดตัวยูพีเอสสำหรับธุรกิจหลากหลาย ชูความโดดเด่นด้านประสิทธิภาพ และราคา ช่วยประหยัดพลังงาน พร้อมการบริการ เสียเปลี่ยนฟรีถึงบ้าน

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เปิดตัว APC UPS สำหรับธุรกิจ ชูความแข็งแกร่งที่โดดเด่น “3 การปกป้อง” ได้แก่ 1.ปกป้องให้ธุรกิจกับอุปกรณ์ต่อพ่วง ด้วย เทคโนโลยี Sine wave ให้ความต่อเนื่องของพลังงานสำหรับอุปกรณ์ที่ละเอียดอ่อนต่อไฟฟ้า 2.ปกป้องค่าไฟด้วย Green Mode Efficiency ที่ให้ประสิทธิภาพพลังงานสูงถึง 98 เปอร์เซ็นต์ ช่วยในการประหยัดพลังงาน  3.ปกป้องเวลาอันมีค่า เพราะเมื่อเครื่องเสียเปลี่ยนฟรีถึงบ้าน หรือสำนักงานทันที เล็งเจาะกลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอี คลินิก ร้านสะดวกซื้อ สาขาธุรกิจ ห้องไอทีขนาดเล็ก ตั้งเป้ากระจายทั้งกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด

นายรังสิมันตุ์ มีสวัสดิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายขายและช่องทางการจัดจำหน่าย กลุ่มธุรกิจ Secure Power ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เผยว่า “เครื่องสำรองไฟฟ้าเอพีซี นับเป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ในพอร์ตฟอริโอ ของชไนเดอร์ อิเล็คทริค ที่มีผู้ใช้งานและให้การยอมรับ เชื่อมั่นด้านประสิทธิภาพและมาตรฐานระดับสากล ซึ่งเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ครอบคลุมทุกเซกเม้นต์ ซึ่งนวัตกรรมของ เครื่องสำรองไฟฟ้าเอพีซี เราออกแบบฟีเจอร์ให้ตรงต่อการใช้งานของผู้ใช้เป็นหลัก ครอบคลุมทุกเซกเมนต์ เช่น ผู้ใช้งานตามบ้าน สำนักงานเราจะมีฟีเจอร์ที่จำเป็นเช่น ขนาดเล็ก กะทัดรัด แขวนผนังได้ ประหยัดพื้นที่ใช้สอย สะดวกและติดตั้งง่าย บางรุ่นสามารถชาร์จมือถือพร้อมๆ กับการสำรองไฟได้ด้วย หรือถ้าเป็นธุรกิจ เอสเอ็มอี เราจะมีฟีเจอร์ที่จำเป็น เช่น การสำรองไฟได้นานกว่า หรือการจ่ายพลังงานได้มากกว่า เพื่อรองรับอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานมาก สำหรับห้องไอที หรือดาต้าเซ็นเตอร์ เราก็มีรุ่นที่เหมาะสมตามสภาพแวดล้อมไอทีรูปแบบต่างๆ มีฟีเจอร์ที่จำเป็นมากขึ้น เช่นการมอนิเตอร์แบบเรียลไทม์ การวิเคราะห์เชิงลึกด้านพลังงาน รวมไปถึงการสั่งงานเปิด/ปิด ช่วยควบคุมค่าไฟ เป็นต้น โดยลูกค้าสามารถเลือกเครื่องสำรองไฟ ที่มีความสามารถด้านฟีเจอร์ที่คุ้มค่าเหมาะกับตนเอง หรือธุรกิจ ได้ไม่ยาก ในแบรนด์ APC แบรนด์เดียว ที่มีคนทั่วโลกให้ความไว้วางใจ”

จากการที่ธุรกิจไทยเริ่มมีการฟื้นตัว การเริ่มต้นทางธุรกิจหรือการปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจ อุปกรณ์ที่จะเข้ามาช่วยรองรับนั่นคือเทคโนโลยี โดยเฉพาะเทคโนโลยีใหม่ๆ หรืออุปกรณ์ต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ไอที เน็ตเวิร์ค สตอเรจ กล้องวงจรปิด มาพร้อมกับวงจร และชิพภายในที่มีความละเอียดอ่อน  และแบตเตอรี่คุณภาพสูง ปลอดภัย

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ประเทศไทย พัฒนาเครื่องสำรองไฟ เปิดตัวใหม่ในปีนี้ หลายรุ่น หลายซีร์รี่ ที่ตอบโจทย์ทั้งเรื่องราคา และให้ประสิทธิภาพสูง มาพร้อมกับสเปกที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานในหลากหลายเซกเม้นต์ เพื่อให้ธุรกิจไทยเติบโตอย่างมีเสถียรภาพด้วยต้นทุนที่คุ้มค่า และมั่นใจการใช้งาน และบริการหลังการขาย

วันนี้ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เปิดตัวเครื่องสำรองไฟรุ่นใหม่ 3 รุ่น ประกอบด้วย

APC Easy UPS Line-interactive SMV เครื่องสำรองไฟที่ทุกธุรกิจต้องมี ใช้เทคโนโลยี แบบ Line Interactive with AVR (Auto Voltage Regulation) ที่มาพร้อมรูปคลื่น Pure Sinewave Output ทำหน้าที่ปกป้องอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีกำลังไฟสูง และต้องการใช้งานต่อเนื่องยาวๆ พร้อมให้ความเสถียรมีเหมาะสม สามารถทำงานได้ต่อเนื่องไม่สะดุด เหมาะสำหรับอุปกรณ์หลากหลาย  ด้วยเอาต์เล็ตเชื่อมต่อแบบ universal ทำให้เชื่อมต่อกับทุกอุปกรณ์ได้ง่าย และรุ่นนี้มีรูปคลื่นแบบ Pure Sinewave Output ทำให้สามารถรองรับอุปกรณ์ได้ทุกประเภท โดยเฉพาะอุปกรณ์ IT ที่ใช้เทคโนโลยี Active PFC Rectifier รวมถึงกลุ่มเป้าหมาย ที่เริ่มตั้งแต่องค์กรขนาดเล็ก ร้านค้า SME Start-Up จบไปถึงองค์กรขนาดกลาง ใช้คู่กับคอมพิวเตอร์ทั่วไป หรือคอมพิวเตอร์สำนักงาน Wifi router จอมอนิเตอร์ อุปกรณ์ IT Gadget อื่นๆ เครื่องสำรองไฟจะทำหน้าที่ จ่ายไฟ ป้องกันไฟดับขณะทำงาน ผู้ใช้จะสามารถทำงานต่อได้ช่วงระยะเวลาหนึ่ง และสามารถปิด window ต่างๆ ได้อย่างสมบูรณ์ เมื่อไฟดับกะทันหัน โดยที่ไม่ทำให้เอกสารเสียหาย และยังป้องกันไฟตก ไฟเกิน ไฟกระชาก เพื่อช่วยถนอมและยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ได้อีกด้วย

นอกจากนี้ ธุรกิจร้านสะดวกซื้อ ห้าง ร้านค้า Retail ทั่วไป ทั้งขนาดเล็ก จนถึงขนาดใหญ่ จำเป็นต้องใช้เครื่องสำรองไฟฟ้าเช่นกัน เพื่อช่วยธุรกิจดำเนินได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงความปลอดภัยของบริษัท เช่น เครื่องสำรองใช้คู่กับเครื่องคิดเงิน (POS) กล้องวงจรปิด (CCTV) คอมพิวเตอร์หรือเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็ก ไม่ว่าจะเป็นธุรกรรมออน์ไลน์ หรือออนกราวนด์ เครื่องสำรองไฟที่ดี มีคุณภาพ สำรองไฟได้จริงๆ วัตต์เต็ม ป้องกันกัน ไฟตก ไฟกระชาก จะช่วยให้ธุรกิจของท่านดำเนินต่อเนื่องไม่สะดุด สำหรับความปลอดภัยเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกบ้าน ทุกร้านค้าต้องมี เปรียบเหมือนเป็นหูเป็นตา บันทึกเหตุการณ์ที่สำคัญ และเพิ่มความปลอดภัยให้ธุรกิจ ห้าง ร้าน และบ้านของท่าน

APC Easy UPS Line-interactive SMV มีให้เลือก 3 รุ่น 3 ขนาด รุ่นเริ่มต้น คือ รุ่น SMV1000I-MS ให้กำลังไฟอยู่ที่ 1000VA/700Watt มีพอร์ตเชื่อมต่ออุปกรณ์ 4 ช่อง และ รุ่น SMV2000AI-MS ให้กำลังไฟ 2000VA/1400Watt และ SMV3000AI-MS ให้กำลังไฟ3000VA/2100Watt ทั้ง 2 รุ่นนี้ มีพอร์ตเชื่อมต่ออุปกรณ์ ถึง 6 ช่อง ซึ่งสามารถเลือกใช้งานได้ตามความต้องการ ตามขนาดของโหลดอุปกรณ์ได้อย่างครอบคลุม

APC Easy UPS On-Line SRV เครื่องสำรองไฟระบบ True Online สุดคุ้ม  เป็นเครื่องสำรองไฟฟ้า ที่ใช้เทคโนโลยี True Online Double Conversion ที่ออกแบบมาให้ใช้งานแบบบึกบึน แข็งแรง ทนทาน ยังมาพร้อมกับรูปคลื่นแบบ Pure Sinewave Output เช่นกัน จึงสามารถใช้ได้กับอุปกรณ์ทุกประเภท รวมถึงอุปกรณ์ IT ที่ใช้เทคโนโลยี Active PFC Rectifier ด้วย ระบบเทคโนโลยีแบบ True Online จ่ายไฟอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีการกระพริบของกระแสไฟระหว่างที่ระบบสลับมาใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ หรือเรียกว่า transfer time เท่ากับ 0 (zero) อุปกรณ์ของท่านจะทำงานได้ต่อเนื่อง ไม่สะดุด นิ่ง เรียบ และมีเสถียรภาพสูง จึงเหมาะกับโหลดที่มีความ sensitive สูง

พิเศษรุ่นนี้สามารถต่อขยายแบตเตอรี่ภายนอกได้ เพื่อเพิ่มระยะเวลาสำรองไฟตามความต้องการของท่าน แนะนำให้ใช้คู่กับอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น คอมพิวเตอร์สำหรับการแพทย์ โคมไฟผ่าตัด อุปกรณ์ทางทันตกรรม เครื่องปั่นตัวอย่างเลือด เครื่องให้ออกซิเจน อุปกรณ์ในโรงงานเช่นระบบ PLC เป็นต้น ด้วยการสำรองและการจ่ายพลังงานที่สูงตามต้องการ แบตเตอรี่ทำงานตลอดเวลา ทำให้มั่นใจและรองรับได้ทุกสถานการณ์ ถึงแม้ระบบไฟฟ้าภายนอกจะไม่เสถียร True Online สามารถช่วยให้ทำงานได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ สำหรับ APC Easy UPS On-Line SRV มีให้เลือกหลายรุ่นและหลายรูปแบบ เริ่มต้นตั้งแต่  1,000VA จนถึง 10,000VA  ทั้งรูปแบบตั้งพื้น หรือแบบแร็ค รองรับตามการใช้งานในแต่ละอุปกรณ์ ทั้ง Non-IT หรือ IT Application ที่ต้องการติดตั้งเข้าในระบบหรือเข้าตู้แร็ค สำหรับรองรับ Server หรือ Network และสามารถเลือกรุ่นที่ให้ ระยะเวลาสำรองไฟเพิ่มขึ้น คือ รุ่น Long Battery Up time มากับราคาที่พิเศษสุด รุ่นเริ่มต้น เพียง หมื่นต้นๆ สุดคุ้มจริงๆ

Smart-UPS SRTG On-Line เครื่องสำรองไฟรุ่นล่าสุดรหัสชื่อรุ่น SRTG เปิดตัว 6 ขนาด 5kVA, 6kVA, 8kVA, 10kVA, 15kVA และ 20kVA ด้วยเทคโนโลยี High density, True Online Double Conversion ให้พลังไฟเต็ม (power factor = 1) ตั้งแต่ 5,000 วัตต์ ไปจนถึง 20,000 วัตต์สำหรับสำรองไฟให้อุปกรณ์ไอที และเฉพาะรุ่นขนาด 15kVA และรุ่น 20kVA มีให้เลือกใช้งานกับระบบไฟฟ้าทางด้านขาเข้าทั้งแบบ 1 เฟส และ 3 เฟส

ด้วยการออกแบบที่กะทัดรัด Smart-UPS SRTG On-Line จึงช่วยประหยัดพื้นที่และติดตั้งง่าย ทั้งในรูปแบบตั้งพื้น หรือเข้าตู้แร็ค จึงเหมาะสำหรับห้องไอที ห้อง Edge network และห้อง telecom VOIP เรียกได้ว่าครอบคลุมตู้แร็ค และสภาพแวดล้อมไอทีได้ทุกขนาด ให้ความเสถียรในการใช้งาน ช่วยปกป้องอุปกรณ์ไอทีราคาแพง เช่น เซิร์ฟเวอร์ สตอเรจ นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มเติมแบตเตอรี่ได้อีกด้วย เพื่อการทำงานที่ต่อเนื่องของอุปกรณ์ในตู้แร็ค

Smart-UPS SRTG On-Line มาพร้อมอินเตอร์เฟสที่ใช้งานง่ายแบบ Multi-Color LCD ให้รายละเอียด เช่น กระแสขาออก (Output voltage) กระแสขาเข้า (Input voltage) โหลด และสภาพของแบตเตอรี่ (Battery Health) ซึ่งให้ข้อมูลที่แม่นยำ พร้อมความสามารถในการตั้งค่าการทำงาน เช่น กระแสออกและความถี่ ภาษา และการแจ้งเตือน นอกจากนี้ยังมี APC Smart-Slot รองรับการ์ดอุปกรณ์เสริมในการทำงาน

นอกจากนี้ที่สำคัญ Smart-UPS SRTG On-Line ช่วยให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุนด้วย Green Mode Efficiency ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของ UPS ได้ถึง 98 เปอร์เซ็นต์ ประหยัดค่าไฟฟ้าและการทำความเย็นโดยไม่กระทบต่อประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือ

Smart-UPS SRTG On-Line ยังสามารถใช้งานร่วมกับ EcoStruxure IT Expert ช่วยในการมอนิเตอร์ข้อมูลเชิงลึกต่างๆ และช่วยให้การเหลือปกป้องอุปกรณ์ไอที โดยสามารถการมองเห็นได้ 24/7 แบบเรียลไทม์ และเชื่อมต่อโดยตรงไปยังสมาร์ทโฟนหรือแท็ปเล็ตได้ และเมื่ออัพเกรดเป็น EcoStruxure™ Asset จะมีที่ปรึกษา คอยแก้ไขปัญหาระยะไกลให้ 24×7 เช่นกัน

รวมไปถึงสามารถใช้งาน PowerChute Network Shutdown โดยจะเชื่อมต่อกับ Network Management Card ที่ติดตั้งอยู่กับ UPS ผ่านระบบ Network จะช่วยให้สามารถติดตามและบริหารการทำงานของเครื่องจากระยะไกลได้ซึ่งรวมถึงการควบคุมการ shutdown และ load segment ได้

 นางสาวปวีณา เตชะมงคลศิริ ผู้จัดการช่องทางจัดจำหน่ายค้าปลีก ผลิตภัณฑ์ APC ชไนเดอร์ อิเล็คทริค จาก ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เผยว่า “เป้าหมายของชไนเดอร์ อิเล็คทริค คือการเข้าใจความต้องการของลูกค้าและพาร์เนอร์ของเรา ดังนั้นผลิตภัณฑ์จึงถูกพัฒนา และออกแบบตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานในปัจจุบันจริง  พร้อมทั้งให้ความสำคัญกับราคา และความคุ้มค่า เราออกแบบเครื่องสำรองไฟ ให้ตรงตามความต้องการในการใช้งานในปัจจุบันเป็นหลัก ครอบคลุมทุกเซกเม้นต์ ทั้งผู้ใช้ตามบ้าน สำนักงาน เกมส์มิ่ง เอนเตอร์เทนเมนต์ องค์กร ภาคธุรกิจ ทั้งเอสเอ็มอี เฮลธ์แคร์ ห้องไอที ดาต้าเซ็นเตอร์ โรงงาน เรียกได้ว่าครบ จบที่เดียว นอกจากนี้เราให้ความสำคัญ คือคุณภาพของแบตเตอรี่ ที่ได้มาตรฐาน ปลอดภัย และสำรองได้ตรงตามสเปก ซึ่ง Signature ของเอพีซี ที่ไม่เหมือนใคร คือความใส่ใจให้เรื่องแบตเตอรี่ เรามี Batter Connector อยู่ภายนอก (ตัวต่อขั่วแบตเตอรี่ที่ผู้ใช้ต้องเชื่อมต่อขั่วนี้เมื่อเริ่มใช้งาน ทำให้มั่นใจได้ว่า แบตเตอรี่จะใหม่ทุกเครื่อง และปลอดภัยเมื่อขนย้าย และอีกส่วนที่เราให้ความสำคัญเช่นกัน คือการให้บริการทั้งก่อน และหลังการขาย เรามี Customer Care Center ที่ใช้บริการสอบถาม ทั้งเรื่องการขายหรือเทคนิคคอล สำหรับบริการหลังการขาย เอพีซีเป็นที่แรกในเงื่อนไขการให้บริการ สำหรับ สินค้าในตระกูล Back UPS และ Easy SMV ที่เมื่อเครื่องเสียในประกัน เราเปลี่ยนเครื่องใหม่ Refurbish ให้ฟรีถึงบ้าน Pick Up Service โดยผู้ใช้งาน เพียงโทรมาแจ้งที่ Schneider Customer Care Center วันและเวลาทำการ เพียงแจ้ง serial no หรือใบกำกับภาษีทีซื้อ เอพีซีเริ่มนับประกัน จากวันที่ท่านซื้อ รับประกัน 2-3 ปี แล้วแต่รุ่น รับประกันทั้งตัวเครื่องและแบตเตอรี่ สำหรับ Smart UPS เรารับประกัน แบบ Online Service ถึงบ้านท่านเช่นกัน


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

สร้างเหตุและผลของความเป็นไปได้ทางธุรกิจ เพื่อปรับปรุงดาต้าเซ็นเตอร์ให้ทันสมัย

แพทริก โดโนแวน นักวิเคราะห์อาวุโส และผู้จัดการโครงการ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค (Schneider Electric)

สำหรับหลายคนที่ตอนนี้ไม่ได้นั่งทำงานอยู่ในออฟฟิศ ความคิดที่จะออกแบบห้องว่างให้เป็นพื้นที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอาจเป็นเรื่องน่าหนักใจ และมีคำถามตามมา เช่น เราจะต้องอัพเกรดแบนด์วิดธ์หรือไม่ เรื่องนี้อาจเป็นความกังวลพื้นฐานเมื่อทุกคนในครอบครัวต้องทำงานที่บ้านในตอนนี้ (พร้อมกับทุกคนที่อยู่ในละแวกบ้านเช่นกัน) และใช้เน็ตไปกับการดูวิดีโอผ่านยูทูบ เล่นเกมออนไลน์ และฟังเพลง ซึ่งประเด็นคือคุณจะออกแบบพื้นที่ใหม่ยังไงไม่ให้เกิดเสียงรบกวนและปัจจัยที่ทำลายสมาธิในการทำงานเหล่านี้ บริษัทคุณจะออกค่าใช้จ่ายเหล่านี้หรือไม่ และบางทีคุณอาจจบลงด้วยการประชุมผ่านซูมแบบติดๆ ขัดๆ เพราะสัญญาณเน็ตอ่อนแรงแถมยังแทรกด้วยเสียงสุนัขเห่า

ดาต้าเซ็นเตอร์ก็เช่นเดียวกัน แม้มืออาชีพส่วนใหญ่จะเข้าใจว่าการจะได้ประสิทธิภาพที่โดดเด่นสามารถทำได้ ด้วยการปรับปรุงระบบโครงสร้างของดาต้าเซ็นเตอร์ให้มีความทันสมัย แต่ความล่าช้าที่เกิดขึ้นกับโครงการเหล่านี้ถือเป็นเรื่องปกติทั่วไป ซึ่งอาจเป็นความท้าทายในการให้เหตุผลกับผู้บริหารระดับอาวุโสเพื่อดำเนินการในเรื่องต่างๆ เช่นการเปลี่ยนแบตเตอรี่หรือบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เปลี่ยนหรืออัพเดตระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ใช้มายาวนานและไม่อยู่ในประกัน หรือย้ายไปใช้ซอฟต์แวร์ระบบบริหารจัดการดาต้าเซ็นเตอร์รุ่นใหม่ ดังนั้น หลายคนจึงก้าวไปอย่างช้าๆ พร้อมกับหวังว่าจะไม่มีอะไรเสียหรือเปลี่ยนแปลง ซึ่งนั่นคือธุรกิจที่ตั้งอยู่บนความเสี่ยง

เครื่องมือช่วยสนับสนุนข้อมูลเพื่อสร้างเหตุและผลที่เป็นไปได้ทางธุรกิจ

เห็นได้ชัดว่า เหตุและผลที่ดีเพื่อความเป็นไปได้ทางธุรกิจ ต้องสามารถวิเคราะห์การคืนทุนซึ่งเป็นสิ่งจำเป็น การประเมินหรือบอกคุณค่าของการปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐานให้ทันสมัยอาจเป็นเรื่องท้าทายแน่ๆ อย่างไรก็ตาม ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้พัฒนาเครื่องมือฟรีที่ใช้งานง่ายเพื่อช่วยในเรื่องดังกล่าว โดยพื้นฐานแล้วระบบงานใหม่ๆ ในส่วนโครงสร้างพื้นฐาน จะให้ประสิทธิภาพด้านพลังงานมากขึ้น และค่อนข้างจะมีขนาดที่เล็กลง เบาขึ้น ให้ความน่าเชี่อถือมากขึ้น นำมาปรับใช้งานและขยายขีดความสามารถได้เร็วขึ้น อีกทั้งบริหารจัดการและบำรุงรักษาได้ง่ายขึ้น รวมถึงมีแนวโน้มที่จะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทั้งนี้ การคำนวณคุณค่าจากการปรับปรุงเรื่องเหล่านี้ให้ดียิ่งขึ้น (ในธุรกิจของคุณ) คือเคล็ดลับในการให้เหตุและผลทางธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ และคุณค่าของประโยชน์ที่ได้ในแต่ละส่วนก็เห็นได้ชัดว่ามาจากกลยุทธ์และการจัดลำดับความสำคัญขององค์กรคุณ

ระบบพลังงานและการทำความเย็นที่ออกมาในช่วงต้นของปี 2000 ไม่ได้ให้ประสิทธิภาพด้านพลังงานเหมือนระบบปัจจุบัน การรู้จักตัวแปรง่ายๆ บางประการ ก็จะทำให้คุณคำนวณการประหยัดพลังงานที่สามารถนำมาใช้เป็นเหตุผลสำหรับค่าใช้จ่ายในการอัพเกรดระบบได้  ตัวอย่างเช่น ตัวคำนวณค่าใช้จ่ายในการดำเนินการที่ทันสมัยสำหรับยูพีเอส 3 เฟส ของเรา สามารถเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายของยูพีเอสของชไนเดอร์ อิเล็คทริค 1 ตัวกับยูพีเอสตัวอื่นภายในระยะเวลา 10 ปี เพื่อดูว่าสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายการดำเนินการส่วนใดบ้าง โดยครอบคลุมเรื่องการใช้พลังงาน ค่าอะไหล่ การบำรุงรักษา และการเปลี่ยนแบตเตอรี่ โดยสามารถนำค่าใช้จ่ายมาใช้เป็นเหตุและผลทางธุรกิจ เพื่อหักลบกับค่าใช้จ่ายตั้งต้นสำหรับการซื้อยูพีเอสตัวใหม่ ซึ่งเรายังได้นำเสนอตัวคำนวณประสิทธิภาพยูพีเอสแบบเฟสเดียว และตัวคำนวณประสิทธิภาพยูพีเอสแบบ 3 เฟส ซึ่งจะให้ผลกระทบในแง่ของประสิทธิภาพการใช้พลังงานของยูพีเอส รวมถึงคาร์บอนฟุตปรินท์ อีกทั้งช่วยในการสร้างเหตุผลสำหรับความเป็นไปได้ทางธุรกิจเพื่อปรับปรุงระบบให้ทันสมัย  และสำหรับยูพีเอสที่จำเป็นต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่ เราแนะนำให้พิจารณาการเปลี่ยนจากระบบควบคุมวาวล์แบบเดิมที่เป็นตะกั่วกรด (VRLA) ไปใช้แบตเตอรี่แบบลิเธียมไอออน ที่เล็กและเบากว่า อีกทั้งยังให้อายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า โดยตัวคำนวณต้นทุนในการเป็นเจ้าของยูพีเอส แบตเตอรี่แบบ VRLA เทียบกับลิเธียมไออน จะช่วยประเมินการประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนต้นทุนการเป็นเจ้าของได้เป็นอย่างดี

ปัจจัยหลักอื่นๆ ในการปรับปรุงดาต้าเซ็นเตอร์ให้ทันสมัย

ผู้จำหน่ายอย่าง ชไนเดอร์ อิเล็คทริค(Schneider Electric) ได้นำเสนอบริการอื่นๆ ในการปรับปรุงระบบงานให้ทันสมัย นอกเหนือจากการขายอุปกรณ์ใหม่ในราคาที่ให้ส่วนลด  ซึ่งหลายระบบโครงสร้างพื้นฐานแบบโมดูลจะมาพร้อมองค์ประกอบที่สามารถอัพเกรดและให้บริการได้ โดยเมื่อผนวกเข้ากับการขยายการประกันและข้อเสนอในการส่งมอบการบริการ ก็จะสามารถยืดอายุการใช้ระบบงานเดิมที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งช่วยลดความเสี่ยงของระบบล่ม หรือทำให้ธุรกิจต้องหยุดชะงักเนื่องจากผลิตภัณฑ์มีอายุการใช้งานที่นานเกินไป ทั้งนี้ในเวลาที่คุณพัฒนาแผนงานด้านการปรับปรุงระบบงานให้ทันสมัยรวมถึงความเป็นไปได้ทางธุรกิจ สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจทางเลือกทั้งหมดที่มีอยู่ ทั้งนี้ White Paper ในเรื่อง แนวทางในการจัดการกับยูพีเอสรุ่นเก่า (Guidance on What to Do with an Older UPS) จะให้กรอบการทำงานเพื่อช่วยให้คุณตัดสินใจได้ว่าควรจะอัพเกรดอุปกรณ์ หรือเปลี่ยนใหม่ หรือไม่ต้องทำอะไรและปล่อยไปจนกว่าจะใช้งานไม่ได้ แม้ว่าเรื่องนี้จะมุ่งเน้นที่ยูพีเอสของดาต้าเซ็นเตอร์ แต่กรอบการทำงานเพื่อช่วยในการตัดสินใจในลักษณะเดียวกันก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับระบบโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ได้เช่นกัน

สิ่งที่ต้องคำนึงในการสร้างเหตุและผลของความเป็นไปได้ทางธุรกิจคือ คุณต้องมีระบบโครงสร้างพื้นฐานมากแค่ไหนสำหรับปัจจุบัน และแค่ไหนที่จำเป็นสำหรับอนาคต ซึ่งเป็นไปได้ที่ดาต้าเซ็นเตอร์จะถูกสร้างขึ้นมามากเกินความจำเป็นจากจุดยืนเรื่องของศักยภาพด้านพลังงานและการทำความเย็น ซึ่งทั้งเวอร์ชวลไลเซชันและการควบรวมระบบอาจช่วยลดพื้นที่ในการประมวลผลได้มากขึ้น โดยบางแอปพลิเคชันและการบริการซึ่งปัจจุบันส่วนใหญ่อยู่บนคลาวด์ หรือกระจายอยู่ตามโคโลเคชันของดาต้าเซ็นเตอร์  ประเด็นคือ ความต้องการด้านพลังงานและการทำความเย็นในปัจจุบันอาจจะน้อยกว่าศักยภาพของโครงสร้างระบบของเดิมที่ติดตั้งใช้งานอยู่ ดังนั้นการประหยัดจึงควรเป็นหนึ่งในเหตุผลสำหรับความเป็นไปได้ทางธุรกิจ คุณอาจไม่จำเป็นต้องจ่ายมากเท่ากับที่คิดไว้ในตอนแรกว่าจะอัพเกรดไปใช้อุปกรณ์ใหม่ และต้องมั่นใจว่าคุณรู้แผนงานอนาคตในการเอาท์ซอร์สระบบไอทีขององค์กร ซึ่งจะให้ผลลัพธ์ได้ตามต้องการในส่วนของระบบโครงสร้างด้านพลังงานและการทำความเย็นอย่างชัดเจนเช่นกัน  และอย่าลืมรวมเรื่องคุณค่าของการมีพื้นที่ที่สร้างรายได้เพิ่มหากระบบโครงสร้างของคุณใช้พื้นที่ขนาดเล็กลง และจะนำพื้นที่มาใช้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้นได้อย่างไร จะใส่คุณค่าอะไรไปในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งต้องแน่ใจว่ามีการพิจารณาเรื่องนี้รวมไว้ในเหตุผลสำหรับความเป็นไปได้ในธุรกิจของคุณ

สิ่งหนึ่งที่พิจารณาได้ยากที่สุดน่าจะเป็นเรื่องของผลกระทบทางการเงิน นั่นคือค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดาวน์ไทม์ เมื่อโครงสร้างระบบมีอายุการใช้งานมาก ก็จะมีความเสี่ยงจากการอุปกรณ์ล้มเหลวได้มากขึ้น ความเสี่ยงจากอุปกรณ์ล้มเหลวที่เป็นสาเหตุทำให้ธุรกิจหยุดชะงักได้มากแค่ไหนอาจเป็นเรื่องที่รู้ได้ยาก เพราะขึ้นอยู่กับรายละเอียดของการออกแบบระบบพลังงานและการทำความเย็น และการออกแบบนั้นช่วยให้บริหารจัดการและบำรุงรักษาได้ดีแค่ไหนเมื่อเวลาผ่านไป ไม่ว่ายังไงก็ตาม การคำนวณจะช่วยได้มากในเรื่องของค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปในหลักนาทีหรือชั่วโมงหากแอปพลิเคชัน หรือฟังก์ชั่นของระบบไอทีนั้นๆ (ที่ขับเคลื่อนและทำความเย็นด้วยระบบโครงสร้าง) หยุดทำงาน หากคุณไม่สามารถประมวลผลการจ่ายเงินได้ภายใน 30 นาที จะทำให้ธุรกิจต้องเสียค่าใช้จ่ายเท่าไหร่? หากระบบออโตเมชั่นของโรงงานหยุดทำงานระหว่างช่วงเวลาการทำงาน จะทำให้ธุรกิจเสียอะไรไปบ้าง? บางครั้งตัวเลขประเภทนี้เพียงอย่างเดียวอาจช่วยโน้มน้าวผู้บริหารระดับสูงว่าไม่คุ้มค่าความเสี่ยงหากไม่ปรับปรุงระบบให้ทันสมัย

พิจารณากลยุทธ์ด้านการปรับปรุงความทันสมัยให้กับธุรกิจคุณ

แม้เครื่องมือ TradeOff ใหม่ของเราจะใช้ได้กับยูพีเอสแบบ single phase รุ่น UPSs 20kVA หรือต่ำกว่านั้น แต่ตัวคำนวณเปรียบเทียบการบริหารจัดการ Edge UPS Fleet น่าจะเป็นประโยชน์ในการช่วยให้คุณรับทราบถึงความเสี่ยงและค่าใช้จ่ายด้านสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นในการใช้ UPS ที่มีอายุใช้งานนาน ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ของการคำนวณคือการช่วยให้ประเมินได้ว่าควรบริหารจัดการ UPS แบบกระจายศูนย์ด้วยตัวเอง หรือให้ผู้จำหน่ายที่เป็นบุคคลที่สามดูแลให้ ค่าใช้จ่ายจะแยกย่อยออกเป็นค่าขนส่งและค่าอะไหล่ ค่าพนักงาน การดาวน์ไทม์ และบริการจากพันธมิตร/ผู้จำหน่าย

ไม่ว่าธุรกิจของคุณจะเป็นแบบไหน ก็ควรพิจารณาเรื่องการปรับปรุงอายุการใช้งานของระบบไอทีและอุปกรณ์ดาต้าเซ็นเตอร์ ผมหวังว่าบทความนี้จะช่วยให้คุณสร้างกรณีธุรกิจที่จำเป็นสำหรับการปรับปรุงระบบงานให้ทันสมัย


Exit mobile version