Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์ สิ่งประดิษฐ์ในประเทศ

วว. พัฒนา “เครื่องทับกล้วยแผ่นบางสำหรับ SMEs” ช่วยประหยัดพลังงาน เพิ่มอัตราการผลิต

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) โดย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมอาหารสุขภาพ (ศนอ.) ประสบผลสำเร็จในการวิจัยและพัฒนา เครื่องทับกล้วยแผ่นบางสำหรับผู้ประกอบการ SMEs  โดยพัฒนาต่อยอดจากเครื่องทับกล้วยแบบกึ่งอัตโนมัติ รุ่นที่ 1”

หลักการทำงาน  เครื่องทับกล้วยแผ่นบาง เป็นนวัตกรรมที่สามารถทดแทนการใช้แรงงานคนในขั้นตอนการกดทับกล้วย ช่วยลดความเมื่อยล้า ช่วยเพิ่มอัตราการผลิต นอกจากนี้ยังได้ชิ้นกล้วยที่มีขนาดความบางสม่ำเสมอเท่ากันทุกแผ่น และสามารถปรับตั้งความหนาบาง ของชิ้นกล้วยได้บางสุดถึง 1 มิลลิเมตร โดย วว. พัฒนา  เครื่องทับกล้วยแผ่นบางสำหรับให้เลือกใช้งานจำนวน 2 รุ่น ดังนี้

รุ่นเล็กแบบตั้งโต๊ะ

1) สำหรับทับกล้วย ครั้งละ 1-2 แผ่น อัตราการทำงาน 30-50 แผ่น/ชั่วโมง

2) ระบบแผ่นกดทับกล้วย แบบหมุนทับชิ้นงาน ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์แบบแกนชักเดี่ยว

3) ใช้พลังงานไฟฟ้า 50 W 220 V แรงกดสูงสุด 200 กิโลกรัม

4) ติดตั้งระบบ Safety Switch แบบปุ่มกดคู่ ป้องกันมือกดโดยไม่ตั้งใจ

รุ่นกลางแบบมีขาตั้ง

1) สำหรับทับกล้วย ครั้งละ 2-4 แผ่น อัตราการทำงาน 100-200 แผ่น/ชั่วโมง

2) ระบบแผ่นกดทับกล้วย แบบเคลื่อนที่ขึ้นทับชิ้นงาน ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์แบบแกนชักคู่

3) ใช้พลังงานไฟฟ้า 120 W 220 V แรงกดสูงสุด 500 กิโลกรัม

4) ติดตั้งระบบ Safety Switch แบบปุ่มกดคู่ ป้องกันมือกดโดยไม่ตั้งใจ

วว. โดย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมอาหารสุขภาพ มุ่งเน้นวิจัยและพัฒนา บริการ วิเคราะห์ ทดสอบ และให้คำปรึกษาด้านอาหารและเครื่องดื่มฟังก์ชั่น   ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และสารสำคัญจากธรรมชาติในอาหาร โดยมีทีมนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญในหลากหลายสาขา มีเครือข่ายความร่วมมือจากภายในประเทศและต่างประเทศ มุ่งมั่นสร้างสรรค์ผลงานด้านผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ  เสริมสร้างให้ผู้ประกอบการไทยนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์และต่อยอดในเชิงพาณิชย์ สามารถแข่งขันได้ทั้งตลาดภายในประเทศและตลาดโลก

วว. พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเครื่องทับกล้วยแผ่นบางสู่เชิงพาณิชย์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Call center  โทร. 0 2577 9000  หรือที่  0 2577 9133  (วีรยุทธ  พรหมจันทร์)


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

วว. จัดสัมมนาฟรี ! การดูแลเครื่องมือวัดมาตรฐานสากล & AI Chatbot

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)  สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)  โดย ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา (ศทม.) จัดสัมมนาฟรี !  จำนวน  2  เรื่อง ดังนี้

1) การดูแลเครื่องมือวัดตามมาตรฐานสากล  (เครื่องชั่ง เครื่องแก้ว ไฮโดรมิเตอร์) ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 10.00-12.00 .
2) Application of AI Chatbot  for Testing and Calibration Laboratories  ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 10.00-12.00 .

ผู้สนใจเข้าร่วมการสัมมนา สามารถลงทะเบียนภายในงาน Thailand Industrial Fair and Food PACK ASIA 2024 งานแสดงสินค้าเครื่องจักรบรรจุภัณฑ์อาหาร  ณ ไบเทค บางนา หรือสอบถามรายละเอียด ได้ที่ ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา วว. โทร.0 2577 9036


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

วว. ถ่ายทอดองค์ความรู้วิธีการ/เทคนิคการผสมสารฝนหลวงทางเลือก ให้แก่บุคลากรกรมฝนหลวงและการบินเกษตร

ดร.ประทีป  วงศ์บัณฑิต  รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านพัฒนาอย่างยั่งยืน  สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม  (อว.)  เป็นประธานเปิดการประชุมถ่ายทอดองค์ความรู้วิธีการและเทคนิคการผสมสารฝนหลวงทางเลือก  ให้แก่บุคลากร กรมฝนหลวงและการบินเกษตร  นำโดย นายฉันติ  เดชโยธิน  ผู้เชี่ยวชาญด้านวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์บรรยากาศประยุกต์  เพื่อเป็นแนวทางในการผลิตสารฝนหลวงทางเลือก  พร้อมนำไปขยายผลและพัฒนาด้านอื่นๆ เพิ่มเติมต่อไป ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมภายใต้ โครงการการใช้สารฝนหลวงทางเลือกสำหรับการปฏิบัติการฝนหลวง จากพระราชดำริส่วนพระองค์ใน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อสร้างฝนเทียมสำหรับบรรเทาความแห้งแล้งให้กับเกษตรกร

วว. โดย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมวัสดุ  (ศนว.)  ได้มีโอกาสร่วมนำความรู้ความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาช่วยในการวิจัยและพัฒนาสารฝนหลวงทางเลือก เพื่อร่วมสืบสานและต่อยอดโครงการในพระราชดำริดังกล่าว จากการวิจัยและพัฒนาสารฝนหลวงทางเลือกของ วว. ร่วมกับเจ้าหน้าที่กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ประสบผลสำเร็จในการพัฒนาสารฝนหลวงทางเลือกสูตร AR23 ซึ่งผ่านการทดลองในห้องปฏิบัติการและทดลองนำขึ้นปฏิบัติการฝนหลวงไปแล้วนั้น ผลการทดลองที่ได้แสดงให้เห็นว่ามีความเป็นไปได้อย่างมากในการนำสารฝนหลวงทางเลือกที่พัฒนาขึ้น ไปใช้ในการปฏิบัติการฝนหลวงในสภาวะอากาศที่มีความชื้นสัมพัทธ์ต่ำกว่า 60% ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มโอกาสในการขึ้นปฏิบัติการได้  โอกาสนี้ ดร.อาริสา  ใจอยู่  นักวิจัยอาวุโส  นายบวร  นฤทัย และนางสาวณัฐพร  ชิติชัยรัตนภูมิ  นักวิจัย  ศนว. ร่วมเป็นวิทยากรบรรยายถ่ายทอดความรู้ฯ  ในวันที่  9  มกราคม 2567  ห้องประชุม RD 2-3  วว. เทคโนธานี คลองห้า .ปทุมธานี


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

วว. จัดอบรมมาตรฐานการทดสอบ วิจัยพัฒนาระบบรางให้แก่หน่วยงานสถาบันวิจัยการก่อสร้างแห่งชาติมาเลเซีย

ดร.อาณัติ  หาทรัพย์  ผู้อำนวยการศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบขนส่งทางราง (ศทร.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)  พร้อมคณะนักวิชาการ ศทร. ได้เดินทางไปจัดโปรแกรมอบรมด้านมาตรฐานการทดสอบและการวิจัยพัฒนาระบบรางให้แก่หน่วยงานสถาบันวิจัยการก่อสร้างแห่งชาติมาเลเซีย – Construction Research  Institute  of  Malaysia  (CREAM)  เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2565    กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย  โดยการจัดโปรแกรมอบรมในครั้งนี้  ศทร. วว. ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีในหัวข้อ ด้านมาตรฐานและการทดสอบชิ้นส่วนงานทางรถไฟ  เช่น หมอนคอนกรีตอัดแรง เครื่องยึดเหนี่ยวราง ฯลฯ ซึ่งจัดขึ้นภายใต้ความร่วมมือระหว่าง วว. และ CREAM  ซึ่ง CREAM ต้องการหน่วยงานเชี่ยวชาญจากต่างประเทศให้การอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากรภายในสังกัดและขยายงานทดสอบให้มากขึ้น รวมทั้งปฏิบัติงานทดสอบให้เป็นไปตามมาตรฐานห้องปฏิบัติการสากล เช่น   ISO 17025  เป็นต้น

โปรแกรมการอบรมดังกล่าวประกอบด้วยภาคบรรยายและภาคปฏิบัติการในห้องปฏิบัติการทดสอบงานโครงสร้างของ CREAM โดย ดร.อาณัติ บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานการทสอบหมอนคอนกรีตต่างๆ ทั้งการทดสอบภาคสถิตและพลวัตร อาทิเช่น ISO 22480 , BS EN 13230 , AREMA  2010, Australian Standard เป็นต้น รวมทั้งทฤษฎีของการออกแบบหมอนคอนกรีตเบื้องต้น ซึ่งหัวข้อการบรรยายได้รับความสนใจจากคณะวิศวกรและช่างเทคนิคจาก CREAM เป็นอย่างมาก รวมทั้งมีคำถามและมีการแลกเปลี่ยนความรู้ตลอดช่วงการบรรยาย  ในส่วนภาคปฏิบัติการคณะนักวิชาการ ศทร.วว. ได้ถ่ายทอดเทคนิคการติดตั้ง การจัดวาง การตรวจสอบ และขั้นตอนการทำงานทดสอบต่างๆ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของ CREAM สามารถจัดทำขั้นตอนการทำงาน หรือ Work instruction สำหรับการทดสอบได้ต่อไป

อนึ่ง  ศทร.วว. และ CREAM ได้ลงนามบันทึกความร่วมมือเมื่อวันที่  20  สิงหาคม  2565  โดยมีขอบเขตความร่วมมือ  5 ด้าน  ดังนี้  1) การพัฒนามาตรฐานการรถไฟ เช่น ร่วมแบ่งปัน พัฒนาและร่างมาตรฐานการรถไฟในระดับชาติหรือระดับภูมิภาค  2) การส่งเสริมอุตสาหกรรมรถไฟ เช่น การก่อสร้างหรือการดำเนินงานและการบำรุงรักษา 3) การสร้างขีดความสามารถในการทดสอบและรับรองวัสดุ ผลิตภัณฑ์ และบุคลากรทางรถไฟ  4) การวิจัยและพัฒนาระบบการขนส่งทางราง เช่น เทคโนโลยีการตรวจสอบและติดตาม การบำรุงรักษาสมัยใหม่ วัสดุที่เป็นนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับรถไฟ เป็นต้น และ 5) การพัฒนาบุคลากรทางด้านระบบขนส่งทางราง เช่น co-degree/non-degree/ up-skill/re-skill หรือฝึกอบรมวิชาชีพ หรือการถ่ายทอดเทคโนโลยีในระบบราง เป็นต้น ดังนั้นการจัดโปรแกรมอบรมครั้งนี้ ของ ศทร.วว. นับเป็นอึกหนึ่งความก้าวหน้าของความร่วมมือด้านการพัฒนาระบบราง ระหว่างประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย เพื่อร่วมกันผลักดันระบบสนับสนุนอุตสาหกรรมรางให้มีความยั่งยืนต่อไป    สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและรับบริการจาก ศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบขนส่งทางราง  วว. ได้ที่  โทร.0 2577 9000, 02577 9143 ต่อ 201 และ 304  E-mail : patcharee_a@tistr.or.th  https://www.tistr.or.th/rttc/  Facebook Page : https://www.facebook.com/RTTC.TISTR


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

วว. จับมือบริษัทอุบลไบโอเอทานอลฯ พัฒนากระบวนการผลิต R&D ใช้ประโยชน์สารชีวภัณฑ์ระดับอุตสาหกรรม

.(วิจัย) ดร.ชุติมา  เอี่ยมโชติชวลิต  ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นายเดชพนต์  เลิศสุวรรณโรจน์  กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อุบล ไบโอ เอทานอล จำกัด (มหาชน) หรือ UBE ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเชิงบูรณาการนำผลงานวิจัย องค์ความรู้ ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และเชิงสังคม โดยมุ่งเน้นพัฒนากระบวนการผลิต วิจัยพัฒนาการใช้ประโยชน์สารชีวภัณฑ์ในระดับภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งการทำเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ครบวงจร  โดยมีระยะเวลาความร่วมมือ  5  ปี โอกาสนี้ นายสายันต์   ตันพานิช  รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ วว. ดร.อาภากร  สุปัญญา  รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์และจัดการนวัตกรรม วว. นายวุฒิพงศ์  นิลผาย  รองกรรมการผู้จัดใหญ่ UBE  ฝ่ายปฏิบัติการ นางสาวสุรียส  โควสุรัตน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ UBE ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ พร้อมผู้บริหาร บุคลากร ทั้งสองหน่วยงานร่วมเป็นเกียรติ  ในวันที่  18  พฤศจิกายน 2564 ณ ห้องประชุมใหญ่ชั้น 5 อาคาร Admin วว. เทคโนธานี จังหวัดปทุมธานี

“…ความร่วมมือในวันนี้จะเป็นก้าวสำคัญของภาครัฐและเอกชน ที่จะร่วมกันพัฒนาผ่านการสนองตอบนโยบาย BCG ของรัฐบาล ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสินค้าทางการเกษตร การยกระดับภาคอุตสาหกรรมและภาคการเกษตรของประเทศ  โดยเฉพาะการใช้ประโยชน์สารชีวภัณฑ์และเชื้อจุลินทรีย์ต่างๆ ในระบบเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในปัจจุบัน  ภายใต้ความร่วมมือนี้ วว. และ UBE จะบูรณาการองค์ความรู้ร่วมกัน ผลักดันให้เกิดการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิยช์และเชิงสังคม  ส่งเสริมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน…” .(วิจัย) ดร.ชุติมา  เอี่ยมโชติชวลิต  กล่าว

นายเดชพนต์  เลิศสุวรรณโรจน์  กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อุบล ไบโอ เอทานอล จำกัด (มหาชน)  กล่าวว่า

บริษัทดำเนินธุรกิจด้านเอทานอลเป็นหลัก ได้ส่งเสริมการปลูกมันสำปะหลังออร์แกนิกอยู่แล้ว  และได้ขยายธุรกิจมาทำเกษตรอินทรีย์เนื่องจากเป็นธุรกิจที่มีอนาคต เพราะประเทศไทยเป็นสังคมเกษตร และมีจุดแข็งด้านการเกษตรอยู่แล้ว เราต้องพัฒนาจุดแข็ง โดยการทำเกษตรแบบประณีตพัฒนาไปสู่ความเป็นออร์แกนิก  โดยมีสารชีวภัณฑ์เป็นอาวุธสำหรับเกษตรกร  การที่ วว. สามารถพัฒนาสารชีวภัณฑ์นี้สู่อุตสาหกรรม เป็นการตอบโจทย์ประเทศอย่างแท้จริง เชื่อมั่นว่าในอนาคตจะมีธุรกิจด้านเกษตรอินทรีย์เกิดขึ้นในจังหวัดอื่นๆ นอกเหนือจากจังหวัดอุบลราชธานีที่บริษัทดำเนินการอยู่ ซึ่งจะทำให้เกษตรกรมีสุขภาพดี สามารถขายสินค้าได้ดี มีรายได้ที่เพิ่มขึ้นและที่สำคัญได้ร่วมดูแลสิ่งแวดล้อมโดยรวม

ทั้งนี้ วว. มีความเชี่ยวชาญด้านงานวิจัยพัฒนาและให้บริการตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value chain) ของสารชีวภัณฑ์ครบวงจร ส่งเสริมงานวิจัยสร้างเศรษฐกิจสีเขียว  ส่งเสริมเกษตรปลอดภัย  เกษตรอินทรีย์ บูรณาการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านสารชีวภาพและชีวภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ให้บริการทดสอบอย่างครบวงจรเพื่อประกอบการขึ้นทะเบียนชีวภัณฑ์  เป็นคลังสายพันธุ์จุลินทรีย์กว่า 10,000 สายพันธุ์ ที่พร้อมให้บริการแก่ผู้ประกอบการมีการศึกษาวิจัยระดับประเทศและภูมิภาค มีโครงสร้างพื้นฐานด้านการผลิตจุลินทรีย์ระดับอุตสาหกรรม (ICPIM) เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ตั้งแต่ระดับห้องปฏิบัติการไปจนถึงระดับโรงงานนำทาง 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและรับบริการจาก วว. ติดต่อได้ที่ โทร. 0 2577 9000  โทรสาร 0 2577 9362 อีเมล tistr@tistr.or.th www.tistr.or.th    Line@TISTR    IG : tistr_ig


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์ สิ่งประดิษฐ์ สิ่งประดิษฐ์ในประเทศ

วว. ให้บริการ Shared Service เปิดตัวนวัตกรรมเครื่องทอดสุญญากาศ ลดต้นทุนการผลิต ตอบโจทย์ผู้บริโภค

กระทรวงการอุดมศึกษา  วิทยาศาสตร์  วิจัยและนวัตกรรม (อว.)  โดย  สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย  (วว.)  มุ่งเน้นให้บริการ  Shared  Service   เสริมแกร่งผู้ประกอบการ  เปิดตัว นวัตกรรมเครื่องทอดสุญญากาศ    ช่วยลดต้นทุนการผลิตด้านแปรรูปผลผลิตการเกษตร     ตอบโจทย์ผู้บริโภค     ระบุปริมาณการทอดต่อรอบ 65 กิโลกรัมต่อครั้ง  น้ำมันทอดในระบบนำมาใช้ซ้ำได้  20  ครั้ง  โดยยังมีประสิทธิภาพดี  ปลอดภัยต่อสุขภาพ  เนื่องจากเป็นการทอดระดับสุญญากาศ  -720  มิลลิเมตรปรอท  ทำให้ผลิตภัณฑ์แปรรูปมีมูลค่าสูงขึ้น  ไม่อมน้ำมัน  มีอายุการเก็บรักษา 1 ปี  โดยยังคงคุณภาพด้าน กลิ่น  สี รสชาติของผลผลิต ใกล้เคียงธรรมชาติ

. (วิจัย) ดร.ชุติมา   เอี่ยมโชติชวลิต   ผู้ว่าการ  วว.   กล่าวว่า  วว.  มุ่งเน้นให้บริการ   Shared  Service    เพื่อส่งเสริมสนับสนุนผู้ประกอบการด้วยองค์ความรู้ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม  (วทน.)  ให้มีความเข้มแข็งในการประกอบธุรกิจ มีศักยภาพด้านขีดความสามารถการแข่งขันทั้งภายในและต่างประเทศ  นวัตกรรมเครื่องทอดสุญญากาศเป็นผลงานล่าสุด ซึ่ง โรงงานบริการนวัตกรรมอาหาร  (FISP)  ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมอาหารสุขภาพ วว. วิจัยและพัฒนาขึ้น  เป็นการให้บริการใหม่ของ วว. เพื่อตอบสนองให้กับผู้ประกอบการหรือผู้สนใจทั่วไปที่ต้องการเป็นผู้ประกอบการ ในด้านการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ อาทิ  ทุเรียน ขนุน  กล้วย  สับปะรด  ฟักทอง มันเทศ  กระเจี๊ยบ   เป็นต้น  ทั้งนี้การประกอบธุรกิจอาหารสุขภาพมีความจำเป็นยิ่ง ที่ต้องนำเทคโนโลยีเข้าไปช่วยให้กระบวนการผลิตมีคุณภาพได้มาตรฐาน

เครื่องทอดสุญญากาศ  หรือ Vacuum  fryer  มีปริมาณการทอดต่อรอบ 65 กิโลกรัม/ครั้ง   สร้างระดับสุญญากาศสูงสุดได้ถึง -720  มิลลิเมตรปรอท  อุณหภูมิที่ใช้ในการทอด 80-95 องศาเซลเซียส   โดยใช้เวลาทอด 60-80 นาที/ครั้ง (ขึ้นกับประเภทวัตถุดิบ) ปริมาณน้ำมันที่ใช้ในการทอดต่อรอบจำนวน  600 ลิตร สามารถนำน้ำมันมาใช้ทอดซ้ำได้ถึง  20 ครั้งต่อน้ำมัน 1 รอบ โดยน้ำมันยังมีประสิทธิภาพดีและปลอดภัยต่อสุขภาพ ระบบสลัดน้ำมันภายหลังการทอดใช้เวลา 25  นาที  กำลังการผลิตต่อการใช้น้ำมัน 1 รอบ (600 ลิตร) ประมาณ 1,000-1,300 กิโลกรัม  โดยผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการทอดมีคุณภาพสม่ำเสมอ  ไม่อมน้ำมัน  ถูกหลักอนามัย  มีอายุการเก็บรักษาได้ 1 ปี และคุณภาพผลิตภัณฑ์ด้านกลิ่น สี รสชาติ ยังคงใกล้เคียงธรรมชาติ 

“…วว. พร้อมให้บริการและพร้อมเป็นหุ้นส่วนในความสำเร็จของผู้ประกอบการทุกท่าน  สามารถติดต่อสอบถามเพื่อเข้ามาใช้บริการกับ วว. ได้ที่ โทร.  0 2577 9000  หรือมาติดต่อได้ที่สำนักงาน ณ เทคโนธานี คลองห้า  จังหวัดปทุมธานี นักวิจัยของเราพร้อมให้คำแนะนำแก่ท่านในการเลือกนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของท่าน  เราพร้อมช่วยสานฝันของท่านให้สำเร็จเป็นรูปธรรมด้วยราคามิตรภาพ เนื่องจาก วว. ต้องการสนับสนุนให้เกิดผู้ประกอบการใหม่และช่วยพัฒนาศักยภาพให้กับผู้ประกอบการเดิม โดยที่ท่านไม่ต้องลงทุนด้านเทคโนโลยี…”   ผู้ว่าการ วว. กล่าว

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมผลงานวิจัยและพัฒนา หรือรับคำแนะนำปรึกษาในการประกอบธุรกิจจาก วว. ติดต่อได้ที่ โทร. 0 2577 9000  โทรสาร 0 2577 9009  www.tistr.or.th  E-mail : tistr@tistr.or.th   Line@tistr  IG : tistr_ig 


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

วว. ชูผลสำเร็จวิจัยพัฒนา ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพผิวจากสาหร่ายพันธุ์ไทย

กระทรวงการอุดมศึกษา  วิทยาศาสตร์  วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)  ชูผลสำเร็จงานวิจัยและพัฒนา “ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพผิวจากสาหร่ายพันธุ์ไทย”

ระบุอุดมด้วยสารที่มีคุณประโยชน์  พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตสู่เชิงพาณิชย์ มุ่งหวังให้เป็นต้นแบบในการนำสาหร่ายไปใช้ประโยชน์ให้หลากหลาย สร้างความแข็งแกร่งแก่เศรษฐกิจประเทศจากความหลากหลายทางชีวภาพ

ศ. (วิจัย) ดร.ชุติมา   เอี่ยมโชติชวลิต   ผู้ว่าการ วว.  กล่าวว่า   วว. นับเป็นหน่วยงานแห่งเดียวในประเทศที่มีการดำเนินงานด้านสาหร่ายอย่างครบวงจร ตั้งแต่การมีคลังเก็บรักษาสายพันธุ์สาหร่าย เพื่อรวบรวมและเก็บรักษาสายพันธุ์สาหร่ายน้ำจืดและน้ำเค็มขนาดเล็กจากแหล่งต่างๆ ทั่วประเทศพร้อมทั้งจัดทำฐานข้อมูล กว่า 1,000 สายพันธุ์ มีห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยง วิเคราะห์ และทดสอบ ที่สำคัญและโดดเด่น คือ วว. มีระบบการเพาะเลี้ยงสาหร่ายกลางแจ้งระดับการเพาะเลี้ยงต่อเนื่องและครบวงจร ปริมาตรรวม 400,000 ลิตร  ผ่านการดำเนินงานโดย   ศูนย์ความเป็นเลิศด้านสาหร่าย วว. (TISTR Algal Excellent Center, TISTR ALEC) ในสังกัด ศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ  ซึ่งมีภารกิจเพื่อพัฒนาทรัพยากรชีวภาพด้านสาหร่าย  ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ   พร้อมทั้งดำเนินการวิจัย พัฒนา ถ่ายทอดเทคโนโลยี และนวัตกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ รวมทั้งให้บริการที่เกี่ยวข้องกับสาหร่ายแก่ภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ มุ่งเน้นการผลิตชีวมวลสาหร่ายเพื่อเป็นวัตถุดิบ ในการนำไปใช้ประโยชน์ด้านเกษตร  อาหาร เภสัชกรรม สิ่งแวดล้อม และพลังงานอย่างยั่งยืน เพื่อให้เป็นที่ยอมรับในระดับอาเซียน

ขณะนี้ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านสาหร่าย วว. ประสบผลสำเร็จในการเพิ่มมูลค่าสาหร่ายพันธุ์ไทย โดยการวิจัยและพัฒนาเป็นต้นแบบในกระบวนการผลิตสู่ระดับอุตสาหกรรม  ได้แก่  “ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพผิว” เพื่อเน้นย้ำถึงความสำคัญของศักยภาพสาหร่ายที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตและการประกอบธุรกิจ   ดังนี้

ครีมกันแดดผสมสารกลุ่มแซนโทฟิลล์จากสาหร่าย   (Coelastrum  morus)  SPF50 PA++++  ช่วยป้องกันผิวจากรังสีอัลตราไวโอเลตหรือรังสียูวีในแสงแดด ป้องกันการเกิดริ้วรอย ช่วยไม่ให้ผิวหนังเหี่ยวย่นหรือดูแก่ก่อนวัย ผิวแห้งกร้าน ป้องกันการเกิดฝ้า กระ ปัญหาผิวคล้ำเสีย และมะเร็งผิวหนัง  ผลิตภัณฑ์ผ่านการทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์ผิวหนังมนุษย์  การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเมลานินในเซลล์เพาะเลี้ยง ฤทธิ์กระตุ้นการสร้างคอลลาเจน  ความคงตัวของผลิตภัณฑ์ครีมกันแดด และค่าประสิทธิภาพในการปกป้องผิวจากรังสียูวีเอและยูวีบี

ชุดผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและบำรุงผิวกายจากสาหร่ายมุกหยก (Nostoc   communeประกอบด้วยสบู่   แอลกอฮอล์เจล  และครีมบำรุงผิว  ผลิตภัณฑ์ทั้งสามชนิดมีคุณสมบัติในการกักเก็บความชุ่มชื้นและบำรุงผิวได้ดีด้วยคุณสมบัติโพลีแซคคาไรด์จากสาหร่าย ผลิตภัณฑ์ผ่านการทดสอบด้านความระคายเคืองต่อผิวหนังในกลุ่มอาสาสมัคร ความเป็นพิษต่อเซลล์ ประสิทธิภาพของสารกันเสีย  การปนเปื้อนยีสต์  ราและแบคทีเรีย

“…ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพผิวดังกล่าว  เป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จที่ วว. นำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เข้าไปเพิ่มมูลค่าให้กับทรัพยากรที่มีคุณค่าของประเทศเรา ซึ่งมีความหลากหลายทางชีวภาพ  ซึ่งรัฐบาลให้ความสำคัญและผลักดันเป็นนโยบายด้านเศรษฐกิจฐานชีวภาพ วว. โดย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านสาหร่าย พร้อมสนับสนุนการยกระดับงานวิจัย พัฒนา ถ่ายทอดเทคโนโลยี และบริการด้านสาหร่าย อย่างครบวงจรกับทุกภาคส่วน และร่วมเป็นกำลังหลักสำคัญในการพัฒนาประเทศไทยไปสู่ ความมั่นคง เข้มแข็งทางเศรษฐกิจ…” ผู้ว่าการ วว. กล่าว

ทั้งนี้ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านสาหร่าย วว. ให้บริการแก่ผู้ประกอบการ ภาคอุตสาหกรรม  ในการผลิตสารสกัดและพัฒนาสูตรตำรับ  กระบวนการเพาะเลี้ยงสาหร่ายจนถึงกระบวนการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ผู้ประกอบการที่สนใจเพื่อต่อยอดการผลิตสู่เชิงพาณิชย์ต่อไป

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและขอรับคำแนะนำปรึกษาจาก ศูนย์ความเป็นเลิศสาหร่าย  วว. ติดต่อได้ที่  โทรศัพท์ 0 2577 9000 ต่อ 9805   โทรสาร 0 2577 9000 ต่อ 9804  มือถือ 096 3958713 E-mail : alec@tistr.or.th


 

Exit mobile version