Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

มข. จับมือ สสว.เปิดร้านค้ำคูณ ช่วยผู้ประกอบการ

มหาวิทยาลัยขอนแก่น และเครือข่ายมหาวิทยาลัยในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดกิจกรรมทดสอบตลาด ค้ำคูณ Marketplace เพื่อเป็นศูนย์รวมในการทดสอบ จำหน่าย และสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการ SME ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 21 สิงหาคม 2564 ณ ร้านค้ำคูณ Marketplace บริเวณสถานีบริการน้ำมัน ปตท. สาขาอู้ฟู่ ถนนมิตรภาพ จังหวัดขอนแก่น ได้มีการจัดงานเปิดตัวกิจกรรมทดสอบตลาด “ค้ำคูณ Marketplace” อย่างเป็นทางการ โดยมี ผศ.ประเสริฐ วิจิตรนพรัตน์ หัวหน้าโครงการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ (SME-Early Stage: All Stars) ปีงบประมาณ 2564  เป็นผู้กล่าวต้อนรับ และกล่าววัตถุประสงค์ของโครงการ และได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.วีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เป็นประธานในพิธีเปิด โดยมีผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการฯ เข้าร่วมแสดงความยินดีในงานวันนี้

รศ.ดร.วีระพงศ์ มาลัย กล่าวว่าจากสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 ในปัจจุบันที่ส่งผลกระทบอย่างหนักในทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาคการผลิต การค้า และบริการ โดยเฉพาะภาคธุรกิจ SME ที่มีข้อจำกัดหลายด้าน ซึ่งทาง สสว.  ได้เล็งเห็นถึงปัญหามาโดยตลอดและมีการทำงานเพื่อช่วยเหลือ SME อย่างต่อเนื่อง โดยโครงการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการใหม่นี้ก็เป็นอีกหนึ่งในกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุน SME ให้รอดพ้นวิกฤต ด้วยการยกระดับความรู้ ความสามารถ และการเพิ่มทักษะในการประกอบธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการ SME และผู้ว่างงาน ในโครงการนี้มีธุรกิจ SME ที่อยู่ในระยะเริ่มต้นเข้าโครงการรวมมากกว่า 2,800 ธุรกิจทั่วประเทศ โดยแบ่งการทำงานออกเป็น 6 พื้นที่ ซึ่งเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด ได้ดำเนินการร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งสามารถยกระดับผู้ประกอบการในพื้นที่อีสานได้มากถึง 500 กิจการ และมี 100 กิจการที่เป็นผู้ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากวิกฤตการณ์โควิด-19 โดยกิจกรรมในครั้งนี้มีผู้ประกอบการเข้าร่วมมากกว่า 100 กิจการ และมีสินค้าเข้าร่วมมากกว่า 200 รายการให้ได้เลือกซื้อกันด้วย

จากสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 ในปัจจุบัน และมาตรการเพื่อลดผู้ติดเชื้อ ทำให้มีการปรับแผนของกิจกรรมโครงการให้มีความเหมาะสม ดังนั้นการทดสอบตลาด “ค้ำคูณ Market place” จึงอยู่ในรูปแบบร้านค้าที่มีมาตรการควบคุมโรคอย่างเคร่งครัด อาทิ สถานที่ตั้งร้านอยู่นอกพื้นที่ที่มีความแออัด มีการประยุกต์ใช้ Live streaming เพื่อเพิ่มยอดจำหน่าย รวมไปถึงปฏิบัติตามข้อกำหนดในการควบคุมโรคของพื้นที่ หากท่านสนใจสามารถแวะไปซื้อ ไปชม และอุดหนุนสินค้า SME ภาคอีสานกันได้ตั้งแต่วันนี้จนถึงสิ้นปี 2564

สอบถามรายละเอียดและติดตามเพจ ค้ำคูณ Marketplace เพื่อรับข้อมูลข่าวสาร หมายเลขโทรศัพท์ 082 – 585-1854  หรือ    Line : @kumkoonmarketplace , Facebook Page : ค้ำคูณ Marketplace


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

How to ขับเคลื่อน SME สู่โรงงานแห่งอนาคต

ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือเอสเอ็มอี (SME) นับเป็นธุรกิจที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ในเอเชียแปซิฟิก อาทิ เพิ่มอัตราการจ้างงานจำนวนมาก เร่งการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ กระตุ้นให้เกิดการบริโภคสูงขึ้น และมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการแข่งขันในภาคอุตสาหกรรม

ข้อมูลจากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ประจำปี พ.ศ. 2562 ระบุว่า ในปี พ.ศ. 2561 มีเอสเอ็มอีประมาณ 3 ล้านบริษัท ซึ่งคิดเป็น 86% ของการจ้างงานในประเทศไทย และคิดเป็น 45% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือจีดีพี (GDP) อย่างไรก็ตามพบว่า ตัวเลขการเติบโตของจีดีพีจากภาคเอสเอ็มอีปรับลดลงเหลือ 35% ในไตรมาสแรกของปี พ.ศ. 2564 จากข้อมูลของ สสว. ซึ่งรายงานภาพรวมของเศรษฐกิจไทยและกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบหนักจากการระบาดใหญ่ของโควิด-19

อุตสาหกรรมการผลิตในกลุ่มเอสเอ็มอีทั่วประเทศไทยจำเป็นต้องก้าวข้ามการทำธุรกิจรูปแบบเดิม ๆ และต้องเร่งนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาในปัจจุบัน โดยดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันจะเปิดโอกาสใหม่ ๆ ทำให้พวกเขามีส่วนร่วมในนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ที่ล้ำหน้าและยกระดับบริการเพื่อให้บริการแก่ลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น สร้างแหล่งมูลค่าใหม่ ๆ และท้ายที่สุดคือเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันพร้อมความยืดหยุ่นในการดำเนินธุรกิจทั้งตลาดในระดับประเทศและในระดับโลก

โดย Dassault Systèmes ขอเสนอมุมมองเกี่ยวกับความท้าทายในการรับมือปัญหาที่อาจเกิดขึ้นของผู้ประกอบการโรงงานเอสเอ็มอี และข้อเสนอแนะในการปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ความคล่องตัว และความสามารถในการแข่งขันในตลาดได้มากขึ้น

เอสเอ็มอีจะรับมือความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงเร็วโดยเฉพาะด้านการขอปรับงานดีไซน์ได้อย่างไร?

เมื่อความต้องการลูกค้าเปลี่ยนแปลงตลอด และคาดหวังการตอบสนองที่รวดเร็ว นั่นคือเหตุผลที่การทำงานเป็นทีมจึงมีความสำคัญอย่างมากในปัจจุบัน และระบบงานวิศวกรรมช่วยให้ทีมสามารถทำงานร่วมกันได้ผ่านแพลตฟอร์มหนึ่งเดียวกันซึ่งช่วยขจัดปัญหาการทำงานแบบไซโลได้อย่างสิ้นเชิง เมื่อคำนึงถึงความท้าทายดังกล่าว เอสเอ็มอีจำเป็นต้องมองหาแพลตฟอร์มเพื่อให้พนักงานทำงานร่วมกันผ่านฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ โดยใช้แพลตฟอร์มเดียวที่เปิดโอกาสให้ทีมงานทุกคนสามารถเข้าถึงและทำงานร่วมกันได้ ยกระดับธุรกิจและทีมงานให้สร้างสรรค์สิ่งใหม่ รวมทั้งคิดค้นผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ ได้อย่างเต็มที่ ตัวอย่างเช่น ผู้ออกแบบแม่พิมพ์จะสามารถใช้ฟีเจอร์ต่าง ๆ เช่น การจำลองการฉีดพลาสติกในสภาพแวดล้อมเดียว และทำงานในแบบจำลองเดียว เอสเอ็มอียังสามารถใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติขั้นสูงเพิ่มเติม เช่น การออกแบบอัตโนมัติ ซึ่งช่วยให้ประหยัดเวลามากขึ้น นอกจากนี้ยังเพิ่มความมั่นใจในการปกป้องข้อมูล โดยกำหนดผู้ใช้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าถึงข้อมูลได้ ไม่ว่าจะเป็นแบบกลุ่มหรือรายบุคคล

ฝ่ายผลิตสามารถจัดการกับแบบที่มีการแก้ไขและรับมือกับตัวแปรอื่น ๆ ได้อย่างไร?

การถอดองค์ความรู้แบบเฉพาะเจาะจง (Capturing knowledge) เป็นสิ่งสำคัญหากต้องการเพิ่มความเร็วในการทำโปรเจกต์หรือเตรียมการปรับแต่ง โดยสามารถนำเข้าข้อมูลจากโครงการที่ผ่านมา เช่น ชนิดของอุปกรณ์เสริม การกำหนดค่า หรือรหัสเครื่อง NC ที่ใช้สำหรับผลิตภัณฑ์ที่คล้ายคลึงกัน สำหรับการเปลี่ยนแปลงการออกแบบ เนื่องจากทีมงานทั้งหมดทำงานอยู่บนแพลตฟอร์มดิจิทัลตัวเดียวกัน ข้อมูลจะถูกส่งต่อจากทีมงานออกแบบไปสู่ทีมงานการผลิตอย่างราบรื่น ซึ่งฝ่ายผลิตจะได้รับการแจ้งเตือน และสามารถอัปเดตตามโมเดลที่ได้รับการอัปเดตได้อย่างง่ายดาย ด้วยชุดแอปพลิเคชันที่ทำงานสอดประสานกันเพื่อกำหนดรูปแบบการใช้งานของเครื่องมือ จำลองการนำวัสดุออก และการเคลื่อนไหวของเครื่องจักร โดยเอสเอ็มอีไม่ต้องจัดการกับความซับซ้อนของการใช้เครื่องมือและรูปแบบข้อมูลที่หลากหลายเพื่อตรวจสอบความถูกต้องในการปฏิบัติงาน

ฝ่ายผลิตควรดำเนินการอย่างไรเพื่อลดความซับซ้อนในการใช้งานหุ่นยนต์ในกระบวนการผลิต?

ด้วยแพลตฟอร์มการทำงานร่วมกัน เอสเอ็มอีสามารถเขียนโปรแกรมและจำลองหุ่นยนต์เพื่อใช้งานได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ โดยสามารถเข้าถึงแคตตาล็อกหุ่นยนต์จำนวนมากหรือสามารถสร้างหุ่นยนต์ที่กำหนดค่าต่าง ๆ เองได้ โซลูชันการเขียนโปรแกรมหุ่นยนต์จะช่วยให้เอสเอ็มอีสามารถจำลองและตรวจสอบการทำงานของหุ่นยนต์ รวมทั้งดำเนินการตั้งโปรแกรมออฟไลน์ได้ ซึ่งความสามารถเหล่านี้ช่วยให้องค์กรสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหุ่นยนต์ได้

เอสเอ็มอีจะรับมือความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงเร็วโดยเฉพาะด้านการขอปรับงานดีไซน์ได้อย่างไร?

เมื่อความต้องการลูกค้าเปลี่ยนแปลงตลอด และคาดหวังการตอบสนองที่รวดเร็ว นั่นคือเหตุผลที่การทำงานเป็นทีมจึงมีความสำคัญอย่างมากในปัจจุบัน และระบบงานวิศวกรรมช่วยให้ทีมสามารถทำงานร่วมกันได้ผ่านแพลตฟอร์มหนึ่งเดียวกันซึ่งช่วยขจัดปัญหาการทำงานแบบไซโลได้อย่างสิ้นเชิง เมื่อคำนึงถึงความท้าทายดังกล่าว เอสเอ็มอีจำเป็นต้องมองหาแพลตฟอร์มเพื่อให้พนักงานทำงานร่วมกันผ่านฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ โดยใช้แพลตฟอร์มเดียวที่เปิดโอกาสให้ทีมงานทุกคนสามารถเข้าถึงและทำงานร่วมกันได้ ยกระดับธุรกิจและทีมงานให้สร้างสรรค์สิ่งใหม่ รวมทั้งคิดค้นผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ ได้อย่างเต็มที่ ตัวอย่างเช่น ผู้ออกแบบแม่พิมพ์จะสามารถใช้ฟีเจอร์ต่าง ๆ เช่น การจำลองการฉีดพลาสติกในสภาพแวดล้อมเดียว และทำงานในแบบจำลองเดียว เอสเอ็มอียังสามารถใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติขั้นสูงเพิ่มเติม เช่น การออกแบบอัตโนมัติ ซึ่งช่วยให้ประหยัดเวลามากขึ้น นอกจากนี้ยังเพิ่มความมั่นใจในการปกป้องข้อมูล โดยกำหนดผู้ใช้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าถึงข้อมูลได้ ไม่ว่าจะเป็นแบบกลุ่มหรือรายบุคคล

ฝ่ายผลิตสามารถจัดการกับแบบที่มีการแก้ไขและรับมือกับตัวแปรอื่น ๆ ได้อย่างไร?

การถอดองค์ความรู้แบบเฉพาะเจาะจง (Capturing knowledge) เป็นสิ่งสำคัญหากต้องการเพิ่มความเร็วในการทำโปรเจกต์หรือเตรียมการปรับแต่ง โดยสามารถนำเข้าข้อมูลจากโครงการที่ผ่านมา เช่น ชนิดของอุปกรณ์เสริม การกำหนดค่า หรือรหัสเครื่อง NC ที่ใช้สำหรับผลิตภัณฑ์ที่คล้ายคลึงกัน สำหรับการเปลี่ยนแปลงการออกแบบ เนื่องจากทีมงานทั้งหมดทำงานอยู่บนแพลตฟอร์มดิจิทัลตัวเดียวกัน ข้อมูลจะถูกส่งต่อจากทีมงานออกแบบไปสู่ทีมงานการผลิตอย่างราบรื่น ซึ่งฝ่ายผลิตจะได้รับการแจ้งเตือน และสามารถอัปเดตตามโมเดลที่ได้รับการอัปเดตได้อย่างง่ายดาย ด้วยชุดแอปพลิเคชันที่ทำงานสอดประสานกันเพื่อกำหนดรูปแบบการใช้งานของเครื่องมือ จำลองการนำวัสดุออก และการเคลื่อนไหวของเครื่องจักร โดยเอสเอ็มอีไม่ต้องจัดการกับความซับซ้อนของการใช้เครื่องมือและรูปแบบข้อมูลที่หลากหลายเพื่อตรวจสอบความถูกต้องในการปฏิบัติงาน

ฝ่ายผลิตควรดำเนินการอย่างไรเพื่อลดความซับซ้อนในการใช้งานหุ่นยนต์ในกระบวนการผลิต?

ด้วยแพลตฟอร์มการทำงานร่วมกัน เอสเอ็มอีสามารถเขียนโปรแกรมและจำลองหุ่นยนต์เพื่อใช้งานได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ โดยสามารถเข้าถึงแคตตาล็อกหุ่นยนต์จำนวนมากหรือสามารถสร้างหุ่นยนต์ที่กำหนดค่าต่าง ๆ เองได้ โซลูชันการเขียนโปรแกรมหุ่นยนต์จะช่วยให้เอสเอ็มอีสามารถจำลองและตรวจสอบการทำงานของหุ่นยนต์ รวมทั้งดำเนินการตั้งโปรแกรมออฟไลน์ได้ ซึ่งความสามารถเหล่านี้ช่วยให้องค์กรสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหุ่นยนต์ได้

หากต้องการซื้อหุ่นยนต์และเครื่องจักรเพิ่มเติม จะสามารถประเมินผลตอบแทนจากการลงทุนล่วงหน้าได้อย่างไร?

เอสเอ็มอีสามารถใช้ประโยชน์จากสภาพแวดล้อมเสมือนจริงเพื่อจัดวางและจำลองสภาพแวดล้อมการผลิต แบบ 3 มิติ รวมทั้งเลือกแนวทางที่ดีที่สุดสำหรับใช้ในการผลิตได้ ซึ่งหมายความว่าไม่ต้องลงทุนอุปกรณ์ล่วงหน้าเพื่อให้ได้ผลลัพธ์อีกต่อไป สามารถสร้างแบบจำลองของพื้นที่โรงงาน รวมถึง Automated Guided Vehicles (AGV) ให้เหมาะสมกับขนาดการผลิต ทั้งแบบเดี่ยวหรือทั้งโรงงานได้ โดยการจำลองโลกเสมือนจริง (virtual twin simulation) จะช่วยให้ เอสเอ็มอีตั้งค่าได้เหมาะสมที่สุดจนถึงพิจารณารายละเอียดที่ซับซ้อนได้ นอกจากนี้ยังสามารถวางแผนได้ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต ลดรอบเวลา ระบุปัญหาคอขวด หรือเข้าใจการใช้ทรัพยากรได้ดีขึ้น พร้อม ๆ กับการปรับปรุงการทำงานของระบบหุ่นยนต์

จะปรับปรุงและจัดการกับการผลิตหน้างานให้ดียิ่งขึ้นได้อย่างไร?

เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในปัจจุบัน เอสเอ็มอีต้องปรับปรุงแนวทางการดำเนินงานใหม่ โดยโซลูชัน Manufacturing Operations Management (MOM) จะรวบรวมข้อมูลทั้งหมดลงในแท็บเล็ต ทำให้เอสเอ็มอีมองเห็นและบริหารจัดการหน้างานได้แบบเรียลไทม์ ด้วยระบบดังกล่าว เอสเอ็มอีจะทราบถึงข้อมูลสำคัญ ๆ อาทิ สถานะเครื่องจักร ความคืบหน้าใบสั่งงาน การใช้ทรัพยากร ตัวชี้วัด เช่น ประสิทธิภาพอุปกรณ์โดยรวม (OEE) และข้อมูลอื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับการตรวจสอบและการตัดสินใจ ด้วยข้อมูลแบบเรียลไทม์นี้ เอสเอ็มอีจะสามารถทำงานได้อย่างคล่องตัวและรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดและความต้องการลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

ปัญหาด้านคุณภาพหน้างานมักเกิดขึ้นเป็นประจำ จะสามารถปรับปรุงคุณภาพผลผลิตได้อย่างไร?

ความสามารถในการจัดการคุณภาพถูกรวมเข้ากับโซลูชัน MOM โดยเอสเอ็มอีสามารถตรวจสอบแดชบอร์ดสรุปข้อมูลโดยรวมของผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการทดสอบการใช้งาน เช่น ระบุว่าผลิตภัณฑ์ใดผ่านเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่ผ่าน ผู้ตรวจสอบคุณภาพสามารถเลือกผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง และทำการวัดผลบนระบบนี้โดยไม่ต้องใช้กระดาษ หากมีปัญหา ผู้จัดการฝ่ายประกันคุณภาพ (QA) สามารถสร้างรายงานสำหรับปัญหานั้นๆ เพื่อติดตามผล รวมทั้งศึกษารูปแบบ วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาได้จากรายงานดังกล่าว นอกจากนี้ยังสามารถจัดเรียงการแจ้งเตือนที่มีรหัสข้อบกพร่องตามระดับความสำคัญได้ เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ในเวลาที่เหมาะสมและเป็นระบบ

สำหรับการตรวจสอบด้วยสายตา รูปแบบการจำลองโลกเสมือนจริงสามารถช่วยให้การตรวจสอบข้อบกพร่องที่พบได้อย่างแม่นยำ ช่วยให้เอสเอ็มอีสามารถแก้ไขได้อย่างรวดเร็วและใช้บทวิเคราะห์เชิงลึกเพื่อพัฒนาและปรับปรุงต่อไป การควบคุมกระบวนการผลิตด้วยหลักสถิติ (SPC) ยังสามารถนำมาใช้เพื่อติดตามผลิตภัณฑ์และตรวจสอบคุณภาพในกระบวนการ ช่วยให้เอสเอ็มอีตรวจเช็คกระบวนการย้อนหลัง พร้อมตรวจสอบว่ากระบวนการเหล่านี้มีความเสถียรหรือไม่ และยังสามารถช่วยระบุปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการผลิต

หลักสำคัญอย่างนึงตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย “Thailand 4.0” คือความพยายามส่งเสริมการนำนวัตกรรมดิจิทัล ออโตเมชัน และเทคโนโลยีหุ่นยนต์ไปใช้ในภาคเอสเอ็มอี ประกอบกับรายงาน “ASEAN SME Transformation Study 2020” จัดทำโดย UOB, Accenture และ Dun & Bradstreet พบว่า เกือบสามในสี่ (71%) ของเอสเอ็มอีในประเทศไทยจัดอันดับให้การลงทุนด้านเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่มีความสำคัญสูงสุด ซึ่งสูงที่สุดในบรรดาประเทศอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ด้วยโซลูชั่นเหล่านี้ เอสเอ็มอีสามารถแปลงกระบวนการผลิตทั้งหมดของพวกเขาให้เป็นดิจิทัลตั้งแต่การออกแบบจนเข้าสู่ขั้นตอนการผลิต นำความเป็นเลิศด้านการผลิตไปสู่อีกระดับ ก้าวสู่การเป็นโรงงานแห่งอนาคต

เกี่ยวกับ Dassault Systèmes

Dassault Systèmes คือบริษัท 3DEXPERIENCE ที่นำเสนอโลกเสมือนจริงให้แก่ผู้คนและองค์กรธุรกิจ เพื่อรองรับ การสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างยั่งยืน ด้วยโซลูชั่นระดับชั้นนำของโลกที่ปรับปรุงแนวทางการออกแบบ ผลิต และ สนับสนุนผลิตภัณฑ์ต่างๆ โซลูชั่นการประสานงานร่วมกันของDassault Systèmes ช่วยส่งเสริมนวัตกรรมทางสังคม ขยายความเป็นไปได้สำหรับโลกเสมือนจริงเพื่อปรับปรุงโลกแห่งความเป็นจริง บริษัทฯ มอบคุณประโยชน์ให้แก่ ลูกค้าองค์กรทุกขนาดกว่า 220,000 รายในทุกกลุ่มอุตสาหกรรมในกว่า 140 ประเทศ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.3ds.com

3DEXPERIENCE, Compass, 3DS, CATIA, SOLIDWORKS, ENOVIA, DELMIA, SIMULIA, GEOVIA, EXALEAD, 3D VIA, BIOVIA, NETVIBES และ 3DEXCITE เป็นเครื่องหมายการค้า จดทะเบียนของ Dassault Systèmes หรือเป็นของบริษัทในเครือ ทั้งที่อยู่ในสหรัฐอเมริกา และ/หรือ ประเทศอื่นๆ


บทความประชาสัมพันธ์
โดย
นาย เหลียง ยิง ชุน
 หัวหน้าฝ่าย Manufacturing Technical, Asia Pacific South, Dassault Systèmes


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

เจรจาจับคู่ธุรกิจสุดปัง! ในงาน Smart SME Expo 2020

เรียกได้ว่าเกินความคาดหมายเลยทีเดียวสำหรับกิจกรรมเจรจาจับคู่ธุรกิจที่ทำแบบผสมผสานทั้งออนไลน์และออฟไลน์ในงาน Smart SME EXPO 2020 ที่ได้โมเดิร์นเทรด ธุรกิจค้าปลีกรายใหญ่ รวมทั้งแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซชื่อดัง ทั้งในและต่างประเทศ ตบเท้าเข้าร่วมจับคู่ธุรกิจอย่างมากมายภายในงาน อาทิ พีที แม็กซ์มาร์ท , CJ Express, Top Supermarket, Thailandmall, ทีวี ไดเร็ค, ห้างกนกกาญจน์ ดีพาร์เมนต์ สโตร์ , ลาซาด้า, Youpik Thailand, แอลเอ็นดับเบิ้ลยู, ริชี่ เพลซ 2002, AirPay counter, Sea Talk, Ocha รวมทั้งคู่ค้ารายใหญ่จากประเทศจีน ลาว และกัมพูชา โดยสามารถเจรจาจับคู่ธุรกิจได้มากถึง 293 คู่ แบ่งเป็นการจับคู่กับคู่ค้าภายในประเทศไทย 206 คู่ และการจับคู่กับคู่ค้าต่างประเทศทั้งประเทศจีน ลาว กัมพูชา รวม 87 คู่ มีธุรกิจอาหารแปรรูปเข้าร่วมกิจกรรมเจรจาจับคู่ธุรกิจสูงสุดคิดเป็นร้อยละ 70 รองลงมาคือ ธุรกิจความงาม และธุรกิจผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งสร้างสีสันและความคึกคักภายในงานได้เป็นอย่างดี


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

Smart SME EXPO 2020 เงินสะพัดกว่า 2 พันล้านบาท

Smart SME EXPO 2020 ฝ่าวิกฤตโควิด เผยมียอดผู้เข้างานตลอด 4 วันเฉียด 3 หมื่นคน สร้างเม็ดเงินสะพัดกว่า 2 พันล้านบาท ขณะที่การจับคู่ธุรกิจ Business Matching สูงถึง 293 คู่ ส่วนผู้เข้าอบรมสร้างงานสร้างอาชีพในงานเกือบ 1,000 คน

นางสาวณรินณ์ทิพ วิริยะบัณฑิตกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีเอ็มจี คอร์ปอเรชั่น จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทได้จัดงาน Smart SME EXPO 2020 เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม – 1 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา พบว่าประสบความสำเร็จเกิดคาดหมาย แม้จะเป็นช่วงที่ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหารอบด้าน ที่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมทางเศรษฐกิจ แต่คนไทยก็ยังคงให้ความสนใจ และมองหาโอกาสในการลงทุนและประกอบกิจการ

ทั้งนี้ภาพรวมของงาน ปรากฏว่ามียอดผู้คนเข้าชมงาน ตลอด 4 วัน รวมทั้งสิ้นเกือบ 3 หมื่นคน ภายใต้มาตรการเว้นระยะห่างเพื่อป้องกันการระบาดโควิด- 19 และไม่นับรวมผู้เข้าร่วมอบรมสัมมนาที่จัดขึ้นภายในงานผ่านระบบออนไลน์อีกจำนวนมาก

สำหรับแฟรนไชส์ธุรกิจ ภายในงานที่มีมากมายกว่า 300 บูธ พบว่า มีผู้สนใจจองและซื้อแฟรนไชส์ มูลค่ารวมถึง 500 ล้านบาท (ไม่รวมยอดขายปลีก) โดยแฟรนไชส์ที่มียอดขายสูงสุดเรียงลำดับ ได้แก่ ตู้เติมน้ำมันอัตโนมัติและคลังน้ำมันออสซี่ออยล์ , แฟรนไชส์ร้านตัดผม Yes it is , แฟรนไชส์เครื่องซักผ้า M soul , แฟรนไชส์ไส้กรอกแม่ไก่ , แฟรนไชส์ ชานม Am Tea และ แฟรนไชส์ T-Time ติ่มซำ เป็นต้น

ส่วนยอดยื่นขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน ที่มาเปิดโอกาสทางการเงินให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์และนักลงทุนภายในงาน มีเม็ดเงินรวมประมาณ 1,500 ล้านบาท ได้แก่ ธนาคารออมสิน 605 ล้านบาท , ธนาคารกรุงเทพ 352 ล้านบาท, ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย 241 ล้านบาท Exim Bank 70 ล้านบาท, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 133 ล้านบาท ธนาคารกสิกรไทย 45 ล้านบาท เป็นต้น

นอกจากนี้ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม ได้ให้บริการค้ำประกันยอดสินเชื่อมูลค่า 13 ล้านบาท และ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ มียอดจองสินเชื่อบ้านภายในงานสูง 63 ล้านบาท

ส่วนสิ่งที่เหนือความคาดหมายคือ งานนี้มียอดเจรจาจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) สูงเป็นประวัติการณ์ โดยมีจำนวนคู่เจรจาธุรกิจมากถึง 293 คู่ แบ่งเป็นการจับคู่กับคู่ค้าภายในประเทศไทย 206 คู่ และการจับคู่กับคู่ค้าต่างประเทศทั้งประเทศจีน ลาว กัมพูชา รวม 87 คู่ โดยประเทศที่ผู้ประกอบการสนใจเจาะตลาดมากที่สุดคือ ประเทศกัมพูชา และประเภทธุรกิจที่เข้าร่วมเจรจามากที่สุด คือธุรกิจอาหารแปรรูป คิดเป็นร้อยละ 70 รองลงมาคือ ธุรกิจความงาม และธุรกิจผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค

ด้านกิจกรรมสัมมนาและอบรมอาชีพฟรี เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก โดยหัวข้ออบรมและเวิร์คช็อป ที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือ หลักสูตร ชง ชิม ช้อป กับแชมป์บาริสต้า 4 สมัย , เปิดโลกกัญชา กัญชง และ กระท่อม โดยThai Herb , การสร้างโอกาสการขายบน TikTok , ทำการตลาดออนไลน์ ให้เหนือคู่แข่งหลังยุค COVID- 19 , YouTuber เปลี่ยนสายตาและประสบการณ์ชีวิตเป็นสินทรัพย์ดิจิทัล เป็นต้น โดยผู้ที่เข้าร่วมฟังและอบรมรวมเกือบ 1,000 คน

นางสาวณรินณ์ทิพ กล่าวต่ออีกว่า สำหรับหน่วยงานให้บริการและส่งเสริมเอสเอ็มอีที่ร่วมงานครั้งนี้ยังคงได้รับความสนใจจากผู้เข้าชมงานเช่นทุกปี อาทิ สสว. ซึ่งมาให้บริการรับขึ้นทะเบียนจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐให้กับเอสเอ็มอี สำนักงานเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า ที่มาโชว์นวัตกรรมทางเทคโนโลยีใหม่ๆเพื่อให้เอสเอ็มอีได้เรียนรู้ เป็นต้น

“เราจัดงานครั้งนี้ขึ้น ท่ามกลางสถานการณ์วิกฤตรอบด้าน แต่สิ่งที่เราพบคือ ผู้ประกอบการและคนทั่วไป ก็ยังต้องการโอกาสและช่องทางเสริมรายได้ รวมทั้งความรู้ต่างๆ เพื่อสร้างความมั่นคง และขอขอบคุณพันธมิตรทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ที่ทำให้งานครั้งนี้ประสบความสำเร็จ และร่วมกันสร้างผู้ประกอบการ หรือ เอสเอ็มอีหน้าใหม่เพิ่มขึ้นอีกจำนวนมาก ซึ่งถือว่าเป็นอีกแรงหนึ่งที่ช่วยพัฒนาเอสเอ็มอีไทย”

ทั้งนี้บริษัท พีเอ็มจี คอร์ปอเรชั่น ได้วางแผนจัดงาน Smart SME EXPO ในปีหน้า โดยจะขยายการจัดงานเป็น 4 ครั้ง แบ่งเป็นที่กรุงเทพฯ 1 ครั้ง หัวเมืองในภูมิภาค 3 ครั้ง เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการและผู้สนใจในต่างจังหวัด สามารถเข้าร่วมงานได้สะดวกขึ้น โดยสามารถติดตามข่าวสารได้ทาง https://expo.smartsme.co.th/


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

Smart SME Expo 2020 ยกทัพธุรกิจน่าลงทุน กว่า 300 บูธ

พีเอ็มจี พร้อมหน่วยงานพันธมิตร เตรียมพร้อมจัดงานใหญ่ “Smart SME Expo 2020 ” กับ 6 โซนธุรกิจเด่น ทั้งโซนแฟรนไชส์น่าลงทุน โซนความงามและสุขภาพ โซนอาหารและเครื่องดื่ม โซนการเงิน โซนนวัตกรรมและเทคโนโลยี โซนธุรกิจบริการและโลจิสติกส์ รวมกว่า 300 บูธ พร้อมโซลูชั่นเพื่อเอสเอ็มอีจากหน่วยงานภาครัฐ และสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำจากหลากหลายสถาบันการเงิน กิจกรรมสัมมนาอบรมอาชีพฟรี จัดเต็มพื้นที่ 10,000 ตารางเมตร หวังเป็นอีกหนึ่งงานที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจช่วงปลายปี รวมทั้งสร้างงานสร้างอาชีพให้คนไทยก้าวข้ามผ่านวิกฤติโควิด-19 โดยงานจัดระหว่างวันที่ 29 ตุลาคม – 1 พฤศจิกายนนี้ ณ ฮอลล์ 9-10 อิมแพ็คเมืองทองธานี

คุณณรินณ์ทิพ วิริยะบัณฑิตกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีเอ็มจี คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า “งาน Smart SME Expo 2020 ในครั้งนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 6 ภายใต้แนวคิด รวมสุดยอดธุรกิจแห่งปี New Normal Together #ที่เดียวจบพบทางรวย รวบรวมบูธแฟรนไชส์ธุรกิจ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมทั้งสถาบันการเงินต่าง ๆ นำแคมเปญพิเศษและโซลูชั่นเพื่อช่วยเหลือเอสเอ็มอี มอบให้แก่ผู้ที่สนใจเพื่อนำไปเริ่มต้นและต่อยอดธุรกิจ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมสัมมนาให้ความรู้สอนอาชีพฟรีตลอดทั้ง 4 วัน ทั้งอบรมหลักสูตรกาแฟ สูตรเด็ดน้ำจิ้มซีฟู้ด สูตรลับน้ำสลัด สอนทำเครื่องประดับจากดิน วาดสติกเกอร์สร้างรายได้ พร้อมเคล็ดความรู้ต่างๆครบเครื่องจัดเต็ม ที่สำคัญยังมีกิจกรรมเจรจาจับคู่ธุรกิจทั้งรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการให้สามารถขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะปีนี้คนไทยต้องเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจและการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ภาคธุรกิจหยุดชะงัก มีคนตกงานว่างงานเป็นจำนวนมาก เรามุ่งหวังว่างานนี้จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้คนไทยได้เห็นโอกาสใหม่ ๆ เพื่อนำไปต่อยอดให้เกิดการสร้างงานสร้างอาชีพให้ตนเองต่อไป”

Smart SME Expo 2020 ครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานพันธมิตรภาครัฐและเอกชน ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์, กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม, สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.), สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) , สถาบันอาหาร, สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) , การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) รวมทั้งหน่วยงานพันธมิตรอีกมากมาย จัดเต็มโซลูชั่นดี ๆเพื่อช่วยเหลือเอสเอ็มอี และยังขนทัพผู้ประกอบการมาร่วมในงานนี้ด้วย

ภายในงานคัดสรรธุรกิจเด่นรวมไว้ถึง 6 โซน ได้แก่ โซนแฟรนไชส์น่าลงทุน โซนความงามและสุขภาพ โซนอาหารและเครื่องดื่ม โซนนวัตกรรมเทคโนโลยี โซนสถาบันการเงิน โซนธุรกิจบริการและโลจิสติกส์ ที่นำแคมเปญพิเศษมาลดแลกแจกแถม มีให้เลือกลงทุนหลากหลาย เริ่มตั้งแต่หลักพัน หลักหมื่น จนถึงหลักแสน อาทิ ทีไทม์ติ่มซำ, Vending Machineและธุรกิจกาแฟ จากซีพี รีเทลลิงค์, GFS พรีเมี่ยมเบเกอรี่นำเข้าจากฝรั่งเศส, ศูนย์ความร่วมมือสมุนไพรไทย (กัญชา), แฟรนไชส์ชานม AM Tea , แฟรนไชส์แม่ไก่กรุ๊ป , กาแฟชาวดอย, ลาล่ามูฟ, ตู้เติมน้ำมันอัตโนมัติ “ออสซี่ออยล์” ฯลฯ ภายในงานยังคับคั่งด้วย 40 แฟรนไชส์ ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า คัดสรรมาเติมทางเลือกการลงทุนในงาน ได้แก่ ชานมไข่มุก บาบูแบร์,ชาตันหยง, ZEROCO COFFEE, เป็ดน้อยโรตี ทิชชู่, บะหมี่ถาดกระทะเล้ง, โทโร่ฟรายส์, จั๊บญวนแม่พลอย, PaPa Pizza, ป๊อบอายส์ลูกชิ้นปลาระเบิด, สเต็กกูกริล, ผัดไทยชาววังตะวันดา, โจ๊กแต้จิ๋ว,ลูกชิ้นจัง, เฮียนพ หมูนุ่ม, ปังอั้ยยะ ปังปิ้งไส้เยิ้ม, หมาล่ากวนอู และแฟรนไชส์ที่น่าสนใจอีกมากมายรวมกว่า 300 บูธ
พร้อมด้วยสินเชื่อสำหรับเอสเอ็มอี ที่ทุกธนาคารและสถาบันการเงินพร้อมใจคัดสรรเพื่อให้ผู้ประกอบการนำไปเริ่มต้น ต่อยอด และพัฒนาธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำช่วยเหลือผู้ประกอบการจากธนาคารออมสิน, สินเชื่อรายเล็ก Extra Cash วงเงินกู้สูง 3 ล้านบาท จากธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย, สินเชื่อบัวหลวงเพื่อธุรกิจแฟรนไชส์จากธนาคารกรุงเทพ, สินเชื่อส่งออกเพิ่มสุขสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการเริ่มต้นส่งออกแต่ไม่มีหลักประกันจาก Exim Bank, สินเชื่อธุรกิจ SME เลือกได้จากธนาคารกสิกรไทย, โครงการค้ำประกันสินเชื่อ บสย. SMEs ไทยชนะ จากบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม, โครงการสินเชื่อฉุกเฉินสำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร พร้อมสินเชื่อบ้านอัตราดอกเบี้ยพิเศษจากธนาคารอาคารสงเคราะห์ เป็นต้น

สำหรับผู้ที่กำลังมองหาแฟรนไชส์ ต้องการต่อยอดธุรกิจ รวมทั้งคนทั่วไปที่สนใจ พลาดไม่ได้กับงาน Smart SME EXPO 2020 รวมสุดยอดธุรกิจแห่งปี New Normal Together #ที่เดียวจบพบทางรวย วันที่ 29 ตุลาคม – 1 พฤศจิกายนนี้ ณ ฮอลล์ 9-10 อิมแพ็คเมืองทองธานี โดยสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานล่วงหน้าพร้อมแสดงหลักฐานรับของที่ระลึกในงานฟรี ! สอบถามโทร. 08-6314-1482

ลงทะเบียนล่วงหน้าคลิก >> https://expo.smartsme.co.th/register/


 

Exit mobile version