Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค แต่งตั้ง สเตฟาน นูสส์ เป็นประธานกลุ่มคลัสเตอร์คนใหม่ ดูแลประเทศไทย ลาว และเมียนมา

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันในการจัดการพลังงานและระบบออโตเมชัน ประกาศแต่งตั้งนายสเตฟาน นูสส์ ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานกลุ่มคลัสเตอร์ คนใหม่ ของ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ดูแลประเทศไทย ลาว และเมียนมา โดยสเตฟาน พร้อมนำพาประสบการณ์กว่า 17 ปีในสายพลังงาน วิศวกรรมและเทคโนโลยี มาช่วยนำพากลุ่มคลัสเตอร์ ที่ประกอบไปด้วยพนักงานกว่า 1,600 คน ไปสู่การดำเนินงานที่เป็นเลิศ ด้วยความรู้ ความเชี่ยวชาญทั้งในเรื่องของการบริหารจัดการ การวางกลยุทธ์ การขายและการตลาด

สเตฟาน เป็นผู้นำที่ได้รับการยอมรับในการดำเนินธุรกิจระดับนานาชาติที่มุ่งเน้นเรื่องนวัตกรรมและการคิดในเชิงกลยุทธ์ และกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงเพื่อนำไปสู่สิ่งที่ดียิ่งขึ้น โดยร่วมงานกับ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เป็นเวลา 13 ปี ในบทบาทผู้นำที่หลากหลาย ทั้งบริหารจัดการ วางกลยุทธ์ ดูแลฝ่ายขายและการตลาดให้กับประเทศฝรั่งเศส ตะวันออกกลาง และเอเชีย

เขาเริ่มต้นสายอาชีพด้านพลังงาน วิศวกรรม และเทคโนโลยี ในปี พ.ศ. 2546 ด้วยการทำงานให้กับกลุ่มบริษัท Alten Group และ Airwell Group นับเป็นการสั่งสมประสบการณ์ครั้งสำคัญก่อนที่จะเข้าดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารที่ บริษัท Gunsan Electric บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านสวิตช์และอุปกรณ์ไฟฟ้าของประเทศตุรกี ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเครือของ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค

โดยในปี พ.ศ. 2561 สเตฟาน ดำรงตำแหน่งรองประธาน ฝ่ายการตลาดและการพัฒนาธุรกิจ ดูแลธุรกิจของ ชไนเดอร์ อิเล็คทริคในโซนเอเชียตะวันออกและญี่ปุ่น ก่อนขึ้นแท่นรับตำแหน่ง ประธานกลุ่มคลัสเตอร์ ดูแลประเทศไทย ลาว และเมียนมา

สเตฟาน จบการศึกษาปริญญาโทสาขาวิศวกรรมศาสตร์ จาก INSA Engineering School และปริญญาโทสาขา MSc Marketing จาก HEC School of Management ประเทศฝรั่งเศส


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

APC NetShelter™ WX ตู้แร็คแบบติดผนัง พร้อมโปรแรง!!! จัดเซ็ตคู่ APC Easy UPS สุดคุ้ม

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค (Schneider Electric) เปิดตัว ตู้แร็คติดผนัง APC NetShelter WX สำหรับจัดเก็บอุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ มาพร้อมฝาหน้าแบบรวงผึ้ง แข็งแกร่งทนทาน โปร่ง ช่วยในการระบายความร้อนได้ดี รูปทรงกะทัดรัด เรียบสวย ยึดติดกับผนังได้ง่าย รองรับอุปกรณ์เครือข่ายต่างๆ อาทิ สวิตช์ ปลั๊ก เร้าเตอร์ยูพีเอส มีให้เลือกหลายขนาด 6U, 9U, 12U ทุกรุ่นรองรับน้ำหนักได้สูงถึง 91 กิโลกรัม เหมาะสำหรับสำนักงานทั่วไป สำนักงานสาขา ที่มีพื้นที่จำกัด
พิเศษซื้อเป็นเซต Edge WallBox  ซึ่งประกอบไปด้วย APC NetShelter WX 6U หรือ 9U พร้อมกับเครื่องสำรองไฟ ตั้งแต่วันนี้ถึง 18 ธันวาคม 2563 รับโปรโมชั่นพิเศษที่จะช่วยประหยัดงบประมาณได้กว่า 50%
         • APC NetShelter WX 6U กับ APC Easy UPS รุ่น BV 1000VA ราคาพิเศษ 5,200 บาท จาก 11,350 บาท
• APC NetShelter WX 9U กับ APC Easy UPS รุ่น BV 1000VA ราคาพิเศษ 7,000 บาท จาก 13,600 บาท
พร้อมรับสิทธิพิเศษเพิ่มอีก 1 ต่อ สามารถซื้อปลั๊กราง APC Easy PDU รุ่น EPDU1016B ในราคาพิเศษเพียง 1,200 บาท จาก 2,030 บาท หรือ Cisco Network Switch รุ่นที่ร่วมรายการในราคาพิเศษ!!!
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Edge WallBox : https://bit.ly/3cfhOC7
Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

สร้างเอดจ์ ดาต้าเซ็นเตอร์ ที่ยั่งยืน

สร้างเอดจ์ ดาต้าเซ็นเตอร์ ที่ยั่งยืน

โดยปานกาจ ชาร์มา รองประธานบริหาร ธุรกิจ Secure Power ชไนเดอร์ อิเล็คทริค

เราผ่านประสบการณ์การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของโลกเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา และเมื่อเราพยายามหาแนวทางเพื่อทำงานให้ได้ภายใต้สถานการณ์นี้ รวมถึงกำหนดรูปแบบการทำงานภายใต้ความปกติแบบใหม่ หรือ new normal ผมรู้สึกทึ่งกับผลลัพธ์บางอย่างที่ได้มาโดยไม่ได้ตั้งใจจากการระบาดในครั้งนี้ อย่างแรกคือ สภาพแวดล้อมใหม่ที่ทำทุกอย่างได้จากที่บ้าน หรือ “everything-from-home” ที่ช่วยสนับสนุนความจำเป็น และในหลายๆ กรณีเป็นการช่วยเร่งการปฏิรูปสู่ดิจิทัลที่เราพูดกันที่ชไนเดอร์ อิเล็คทริค มาเป็นเวลา 2-3 ปีมาแล้ว อย่างที่สองก็คือ ในหลายประเทศที่อยู่ในช่วงล็อกดาวน์ในระดับที่แตกต่างกันไป เราได้เห็นถึงการลดลงของมลพิษทั่วโลก ทั้งนี้บรรดาผู้เชี่ยวชาญต่างเห็นพ้องต้องกันว่ามลพิษที่น้อยลงนั้นจะเป็นแค่ระยะสั้น เรายังไม่พบทางแก้ไขที่ตอบโจทย์ด้านวิกฤติพลังงาน เหมือนกับที่เราเห็นว่าทุกภาคส่วนกำลังผนึกกำลังเพื่อก้าวข้ามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งเราจะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในลักษณะเดียวกัน เพื่อแก้วิกฤติด้านพลังงาน ซึ่งผมเชื่อว่าอุตสาหกรรมดาต้าเซ็นเตอร์สามารถเป็นผู้นำในเรื่องนี้โดยการปฏิบัติเป็นตัวอย่างได้

อุตสาหกรรมต้องมีความรู้อย่างลึกซื้งในการขับเคลื่อนเพื่อสร้างความยั่งยืน

อุตสาหกรรมดาต้าเซ็นเตอร์ ดูเหมือนจะมีความสำเร็จอย่างท่วมท้น ในการขับเคลื่อนเพื่อสร้างความยั่งยืนในสภาพแวดล้อมดาต้าเซ็นเตอร์ส่วนกลางและในภูมิภาค ในเวลาเพียง 10-15 ปีที่ผ่านมา ดาต้าเซ็นเตอร์มาตรฐานมีค่า PUE ที่ขาดประสิทธิภาพอย่างยิ่ง อยู่ที่ประมาณ 1.8 ทั้งนี้นวัตกรรมอุตสาหกรรมที่แข็งแกร่งอย่างการปรับปรุงเรื่องการออกแบบดาต้าเซ็นเตอร์ ระบบทำความเย็น การบริหารจัดการดาต้าเซ็นเตอร์ และระบบจ่ายไฟสำรอง นำไปสู่การลดพลังงานที่สูญหายได้ถึง 80% ส่งผลให้ดาต้าเซ็นเตอร์ในปัจจุบันสามารถบรรลุอัตราค่า PUE อยู่ที่ 1.17 ได้

ในความเป็นอุตสาหกรรม เรามีความภาคภูมิใจอย่างมากที่เรายังคงมุ่งมั่นพยายามอย่างหนักเพื่อสร้างนวัตกรรมที่มุ่งเน้นไปที่ความยั่งยืน เพื่อเสนอให้กับห่วงโซ่คุณค่า (value chain) ของดาต้าเซ็นเตอร์ได้อย่างสมบูรณ์ เราเห็นนวัตกรรมใหม่ที่เข้าสู่ตลาดในวันนี้ เช่น สวิตช์เกียร์แรงสูง (SF6-free switch gear) และเทคโนโลยีแบตเตอรี่แบบล้ำหน้า ซึ่งโอกาสด้านนวัตกรรมยังมีให้เห็นที่ปลายขอบฟ้าเช่นกัน ให้คิดถึงระบบความร้อนแบบ liquid cooling และ ดาต้าเซ็นเตอร์ ที่เป็นระบบ grid interaction ซึ่งเมื่อความล้ำหน้าที่น่าตื่นเต้นล้ำหน้าเราไป สิ่งสำคัญคือเราต้องไม่มองข้ามความท้าทายที่มีมากขึ้น นั่นก็คือการสร้างความยั่งยืนให้กับเอดจ์ดาต้าเซ็นเตอร์

การเติบโตอย่างต่อเนื่องของอุปกรณ์เชื่อมต่อ IoT พร้อมกับการปฏิรูปสู่ดิจิทัลของเศรษฐกิจระดับโลก กำลังก่อให้เกิดข้อมูลปริมาณมหาศาล ซึ่งจำเป็นต้องมีการประมวลผลที่เร็วขึ้น และใกล้กับจุดที่สร้างข้อมูล หรือมีการใช้งานข้อมูลมากขึ้น ทำให้เกิดการประมวลผลที่ปลายทางของเครือข่ายหรือเอดจ์มากขึ้นด้วย จึงต้องอาศัยการใช้เอดจ์ดาต้าเซ็นเตอร์ในพื้นที่ หรือ local edge data centers ซึ่งชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้กำหนดนิยามว่าเป็น ระบบโครงสร้างไอทีในส่วนของ enclosures/ spaces/ facilities ที่ทำงานกระจายศูนย์อยู่ตามพื้นที่ต่างๆ เพื่อสร้างประสิทธิภาพการทำงานให้กับเอ็นด์พอยต์ของเครือข่าย เราเห็นว่ากำลังมีการปรับใช้ local edge data centers ครอบคลุมการใช้งานส่วนต่างๆ ของ 3 ภาคธุรกิจหลักได้แก่

คอมเมอร์เชียล ได้แก่ ค้าปลีก เฮลธ์แคร์ ไฟแนนซ์ และการศึกษา

อุตสาหกรรม ได้แก่ น้ำมันและก๊าซ เหมือง ยานยนต์ และโรงงานผลิต

โทรคมนาคม ได้แก่ สำนักงานส่วนกลาง เสารับสัญญาณ สถานีฐาน ชั้นบนสุดของอาคาร

ดาต้าเซ็นเตอร์ทั้งหมดไม่ได้ถูกสร้างมาเพื่อให้ประสิทธิภาพทัดเทียมกัน…แต่ก็สามารถไปถึงจุดนั้นได้

ง่ายมากถ้าเราจะมองข้ามความท้าทายด้านพลังงานของเอดจ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอีกไม่ช้า หากเรามองผ่านมุมมองด้านการติดตั้งเอดจ์ดาต้าเซ็นเตอร์ในพื้นที่กันอย่างล้นหลามเพียงมุมเดียว หรือหากเอดจ์ดาต้าเซ็นเตอร์ในพื้นที่มีประสิทธิภาพเทียบเท่าดาต้าเซ็นเตอร์แบบเดิมที่บริหารจากส่วนกลางหรือในภูมิภาค นั่นคือการออกแบบและสร้างเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพด้านพลังงานสูงสุด ลองจินตนาการถึงผลกระทบในกรณีการใช้ดาต้าเซ็นเตอร์ในพื้นที่ ถูกมองในภาพการทำงานที่ขยายใหญ่ขึ้น เพื่อแสดงให้เห็นภาพความจำเป็นเร่งด่วนที่มีมากขึ้น ตามที่ได้คาดการณ์กันภายในองค์กร โดยคาดกันว่าเอดจ์ดาต้าเซ็นเตอร์ จะใช้พลังงานเกิน 3,000 เทราวัตต์ชั่วโมง ภายในอีก 20 ปีข้างหน้า นั่นคือการใช้พลังงานเทียบเท่าการใช้ถึง 275 ล้านครัวเรือน

คาดว่าการใช้พลังงานของเอดจ์ดาต้าเซ็นเตอร์จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเป็นผลมาจากการเติบโตอย่างรวดเร็วของนวัตกรรม (IoT บิ๊กดาต้า และ AI) ซึ่งต้องพึ่งพาการใช้ดาต้าเซ็นเตอร์อย่างหนักในการประมวลผลและจัดเก็บข้อมูลในปริมาณมหาศาล การลดความท้าทายด้านพลังงานของเอดจ์นั้น อุตสาหกรรมดาต้าเซ็นเตอร์ต้องมุ่งเน้นที่การทำให้มั่นใจได้ว่าเอดจ์ดาต้าเซ็นเตอร์นั้นสร้างมาเพื่อให้ประสิทธิภาพด้านพลังงานในวงกว้าง ทั้งในมุมของการใช้ทรัพยากรและในเรื่องค่าใช้จ่าย จากการคาดการณ์ที่ว่าจะมีการวางระบบไมโครดาต้าเซ็นเตอร์ใหม่นับ 7.5 ล้านแห่งภายในปี 2025 จะทำให้คาร์บอนฟุตพรินท์ทั่วโลกในช่วงที่มีการใช้พลังงานสูงสุด คาดว่าจะสูงถึง 120 กิกะวัตต์ หากเราลองมองเรื่องนี้ให้ไกลออกไปอีกนิด ในประเด็นของ ประสิทธิภาพสูงสุด เทียบกับ ประสิทธิภาพกลางๆ ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานประจำปี จะเทียบเท่า 82 พันล้านยูโร/ 92 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นปริมาณคาร์บอน 450,000 ตันต่อปี เทียบกับ 97 พันล้านยูโร/ 109 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นปริมาณคาร์บอน 600,000 ตันต่อปี ตามลำดับ นี่คือตัวอย่างที่ชัดเจนของกรณีธุรกิจที่สอดคล้องกับกรณีของความเป็นกรีน

มั่นใจว่าชีวิตจะดำเนินต่อไปในโลกที่ทุกอย่างเป็นดิจิทัลและไปไกลเกินกว่านั้น

ในฝ่าย Secure Power ของชไนเดอร์ อิเล็คทริค เราผลักดันจุดมุ่งหมายที่จะสร้างศักยภาพในการปฏิรูปสู่ดิจิทัลให้กับลูกค้าของเราด้วยการสร้างความมั่นใจในเครือข่ายสำคัญของธุรกิจ ระบบงาน และกระบวนการที่จะต้องมีความยืดหยุ่นและพร้อมใช้งานตลอดเวลา ความยืดหยุ่นดังกล่าวต้องสร้างศักยภาพให้กับการปฏิรูปสู่ดิจิทัล และในความเป็นจริงก็คือ การขับเคลื่อนขุมพลังงานของโลกดิจิทัลทั้งหมดจะต้องดำเนินการได้สำเร็จอย่างยั่งยืน การจะบรรลุจุดมุ่งหมายดังกล่าว ผมเชื่อว่าการจะนำเอดจ์ดาต้าเซ็นเตอร์มาใช้ได้ครอบคลุมต้องอาศัยประเด็นต่อไปนี้

• เพิ่มความเป็นมาตรฐานและบูรณาการ หลายๆ สภาพแวดล้อมด้านเอดจ์ มีพนักงานไอทีอยู่อย่างจำกัดหรืออาจจะไม่มีเลย นี่คือเสียงสะท้อนถึงปัญหาจากผู้ใช้ปลายทางเป็นเสียงเดียวกัน จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่เครื่องมือในการออกแบบระบบดิจิทัลและการออกแบบจะต้องช่วยในเรื่องการติดตั้งให้ได้อย่างเรียบง่าย ความเป็นมาตรฐานจะช่วยให้การนำมาใช้งานและบำรุงรักษาได้ง่าย ซึ่งจะเป็นการเพิ่มประโยชน์ให้กับทุกคน รวมถึงคู่ค้า พร้อมกันนี้ระบบที่ผสานการทำงานร่วมกันยังให้ประโยชน์เพิ่มเติมในเรื่องของการใช้งานและการบริหารจัดการได้อย่างเรียบง่าย EcoStruxure Micro Data Center แบบติดผนัง ขนาด 6U ของชไนเดอร์ อิเล็คทริค นับเป็นตัวอย่างที่ดีของโซลูชันที่ผสมผสานแนวคิดของความเป็นมาตรฐานและบูรณาการได้อย่างลงตัว โดยเป็นโซลูชันแบบออล-อิน-วันที่ติดตั้งใช้งานง่ายพร้อมสำหรับการผสานการทำงานร่วมกัน และสามารถตรวจสอบการทำงานได้จากระยะไกลด้วย EcoStruxure IT ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ทำงานบนคลาวด์ได้อีกด้วย

• เพิ่มประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น ถ้าหากเรากำลังเห็นความต้องการเอดจ์ดาต้าเซ็นเตอร์ในพื้นที่เพิ่มมากขึ้น และมีการคาดการณ์ถึงการเติบโตในการติดตั้งระบบของเรา (7.5 ล้าน ภายในปี 2025) ซึ่งค่อนข้างเป็นเรื่องยากสำหรับพนักงานไอทีที่จะบริหารจัดการในการปรับใช้เอดจ์ดาต้าเซ็นเตอร์ด้วยปริมาณมากมายขนาดนี้ เหตุผลที่ชัดเจนในการที่ต้องอาศัยประสิทธิภาพด้านการดำเนินงานที่ดียิ่งขึ้น ความสามารถด้านใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นอย่าง มุมมองเชิงลึกด้านข้อมูล การทำ benchmarking และการวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ เป็นปัจจัยที่สร้างความแตกต่างซึ่งถ้ามีการนำมาใช้ก็จะช่วยในเรื่องของการลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น

• ให้ความสามารถด้านการบริการด้วยค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม เช่นเดียวกับการให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์ขนาดใหญ่ ก็เป็นเรื่องที่แทบจะจินตนาการไม่ออก เพราะมีเอดจ์มากมายหลายไซต์ที่มีพนักงานไอทีอยู่จำกัดหรือไม่มีเลย แนวทางการให้บริการเอดจ์ดาต้าเซ็นเตอร์จึงจำเป็นจะต้องทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีค่าใช้จ่ายที่สมเหตุสมผล เมื่อมีบริการใหม่ๆ เกิดขึ้น และช่วยลดความซับซ้อนในการบริหารจัดการไซต์งานเอดจ์หลายไซต์ได้ โดยเมื่อไม่นานมานี้ เราได้เปิดตัวบริการ Monitoring & Dispatch Services นำเสนอโดยชไนเดอร์ อิเล็คทริคและเครือข่ายคู่ค้าของเรา ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการช่วยให้ลูกค้าบริหารจัดการเอดจ์หลายไซต์ได้ โดย Monitoring & Dispatch มอบชุดการบริการสำหรับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นการมอนิเตอร์การทำงานอย่างต่อเนื่อง 24/7 การแก้ปัญหาจากระยะไกล พร้อมให้บริการออนไซต์และเปลี่ยนอะไหล่ให้ในวันทำการถัดไป รวมถึงกำจัดแบตเตอรี่ UPS หรืออะไหล่เก่าๆ อย่างถูกวิธี

• มอนิเตอร์จากระยะไกล พร้อมบริหารจัดการด้วย AI สาระสำคัญของประเด็นหลักเหล่านี้นับเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการมอนิเตอร์การทำงานได้จากระยะไกล รวมถึงความสามารถในการบริหารจัดการเพื่อจัดการไซต์งานเอดจ์ในหลายไซต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ตัวอย่างเช่น EcoStruxure IT ซึ่งเป็นโซลูชันในการมอนิเตอร์และบริหารจัดการผ่านคลาวด์ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถมองเห็นประสิทธิภาพการทำงานของระบบโครงสร้างไอทีและสามารถเสนอแนะได้ในทันทีแบบเรียลไทม์ถึงประสิทธิภาพการทำงานที่เหมาะสมพร้อมสร้างความมั่นใจเรื่องอัพไทม์ และเพื่อตอบโจทย์ความต้องการและโมเดลธุรกิจที่หลากหลายของลูกค้าและคู่ค้า EcoStruxure IT Software & Service suite จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถมอนิเตอร์และบริหารจัดการระบบโครงสร้างได้โดยตรง ผ่านคู่ค้าที่ต้องการร่วมงานด้วย หรือให้ชไนเดอร์ อิเล็คทริคช่วยบริหารจัดการระบบได้โดยตรงด้วยบริการ Service Bureau ของเราตลอดเวลา 24/7

ผมเชื่อมั่นว่าอุตสาหกรรมดาต้าเซ็นเตอร์ สามารถเป็นแบบอย่างในการดำเนินการได้อย่างเหมาะสมเพื่อบรรลุความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืน หากเรายังคงพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่องต่อไปเรื่อยๆ พร้อมกับให้ความสำคัญกับความจำเป็นเร่งด่วน ผมเชื่อว่าเราจะพูดเกี่ยวกับความมีประสิทธิภาพสูงของดาต้าเซ็นเตอร์ที่บริหารจากศูนย์กลางและจากภูมิภาคได้ในอีกไม่ช้า รวมถึงดาต้าเซ็นเตอร์ที่อยู่ที่เอดจ์ของเครือข่ายของเรา


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เตรียมจัดสัมมนาออนไลน์ การปรับตัวสู่การเปลี่ยนแปลงด้วยไอทีโซลูชั่น

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค (Schneider Electric) ยกระดับงานประชุมและการจัดแสดงด้านนวัตกรรมด้านไอที สู่รูปแบบเวอร์ชวลอีเว้นท์ (Virtual Event) และเวอร์ชวลทัวร์ (Virtual Tour) ในแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน แต่ยังคงความยิ่งใหญ่ในการเป็นผู้นำด้านความคิด และนวัตกรรม ในงาน Innovation Day: Resilient Digital Transformation ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมได้ทุกที่ แค่มีคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ต งานนี้ระดมผู้เชี่ยวชาญระดับแม่ทัพจากชไนเดอร์ อิเล็คทริค ตลอดจนผู้มีอิทธิพลทางความคิดในโลกไอที และอุตสาหกรรม พร้อมด้วยผู้นำจากหลายแบรนด์ยักษ์ใหญ่จากทั่วทุกมุมโลก อาทิ Canalys, IDC, Stratus Technologies, AVEVA, Dell Technologies, HP Enterprise, STL Partners ฯลฯ เพื่อร่วมกันแชร์มุมมองเชิงลึกและแนวคิดใหม่ๆ ที่จะช่วยให้ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม สามารถใช้ไอทีในการ ‘ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงเพื่อความสำเร็จในยุคดิจิทัล’  ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีดาต้าเซ็นเตอร์ ระบบคลาวด์ ตลอดจนบทบาทของ เอดจ์ คอมพิวติ้งในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล รวมไปถึงเคล็ดไม่ลับการเชื่อมระหว่างระบบไอทีระบบเก่าและระบบใหม่ หรือ Hybrid IT ให้มีประสิทธิภาพและความเสถียรสูงสุด อย่างยั่งยืนอีกด้วย

นอกจากนี้ยังจะได้พบกับมุมมองใหม่ๆ ในด้าน Industry 4.0 กับคลื่นลูกใหม่ของระบบอัตโนมัติที่ต้องการการเชื่อมต่อระหว่าง IT และ OT ในยุค 5G จากผู้เชี่ยวชาญของชไนเดอร์ อิเล็คทริค และผู้บริหารด้านเทคโนโลยีจากบริษัทชั้นนำ พร้อมกับกลวิธีการยกระดับประสิทธิภาพของโรงพยาบาลในปัจจุบันอีกด้วย

งาน Innovation Day: Resilient Digital Transformation ในประเทศไทย มีขึ้นในวันที่ 4 มิถุนายน 2020 เวลา 09.00 – 15.30 น. ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนได้วันนี้ https://seinnovationday-th.vfairs.com/

#InnovationDay


Exit mobile version