Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

การลดการปล่อยคาร์บอน สำคัญต่อเป้าหมายด้านสาธารณูปโภคและดิจิทัลกริดอย่างไร

โดย สก็อตต์ โคห์เลอร์, รองประธานฝ่ายกลยุทธ์ นวัตกรรมและการตลาด ส่วนโซลูชันดิจิทัลกริด ชไนเดอร์ อิเล็คทริค

ในขณะที่สาธารณูปโภคด้านไฟฟ้าทั่วโลกได้ปรับสมดุลสายการผลิตพลังงานให้สอดคล้องกับแหล่งพลังงานหมุนเวียน และด้วยความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศให้ได้อย่างรวดเร็ว จึงมีการเรียกร้องให้หน่วยงานด้านสาธารณูปโภคทำงานหนักขึ้น นอกจากเพิ่มการผลิตพลังงานหมุนเวียน หรือเลิกใช้แหล่งพลังงานที่ก่อมลพิษคาร์บอนแล้ว สาธารณูปโภคต้องบริหารจัดการกริดให้แตกต่างออกไปจากเดิม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการลดคาร์บอนได้ในเชิงรุกมากขึ้น

การลดการปล่อยคาร์บอน จริงๆ แล้วหมายถึงอะไร และทำไมสาธารณูปโภคทั้งหลายต้องเข้าไปเกี่ยวข้อง

เมื่อพูดถึงการจำกัดโลกร้อนให้อยู่ที่ 1.5°C และการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก ดูเหมือนจะมีการใช้คำที่สลับสับเปลี่ยนกันหลากหลาย ในขณะที่เรากำลังดำเนินการเรื่องของการลดการปล่อยคาร์บอน (decarbonization) สร้างความเป็นกลางด้านคาร์บอน (carbon neutrality) การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (net zero) นั้น คำเหล่านี้ก็จะถูกใช้สลับกันไปมา ซึ่งคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change หรือ IPCC) ได้ให้คำจำกัดความคำศัพท์เหล่านี้ไว้อย่างชัดเจน

Net-zero emission นอกจากครอบคลุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ทั้งหมด หากยังอ้างถึงการสร้างสมดุลในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก กับการกำจัดก๊าซเรือนกระจกออกไปได้ภายในเวลาที่กำหนด

Carbon neutrality โดยหลักการแล้วเป็นเรื่องเกี่ยวกับคาร์บอนอย่างเดียว สอดคล้องตามข้อมูลจากสภายุโรป สภาพอากาศ หรือความเป็นกลางของคาร์บอน จะบรรลุได้ก็ต่อเมื่อ “ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ปลดปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ มีปริมาณเท่ากับที่ถูกกำจัดออกไปด้วยมาตรการต่างๆ ทำให้บรรลุจุดสมดุลที่ศูนย์ หรือที่เรียกกันว่า คาร์บอนฟุตพริ้นท์เป็นศูนย์”

Decarbonization คือกระบวนการที่ประเทศ บุคคล หรือหน่วยงานใดก็ตาม มุ่งเป้าเพื่อให้บรรลุการกำจัดคาร์บอนจากเชื้อเพลิงฟอสซิลจนเหลือศูนย์ สำหรับภาคพลังงาน หมายถึงการลดการปล่อยคาร์บอนต่อหน่วยพลังงานไฟฟ้าที่สร้างขึ้น เพื่อลดความเข้มข้นของคาร์บอนนั่นเอง

สาธารณูปโภคด้านไฟฟ้า มีส่วนร่วมในการปล่อยก๊าซคาร์บอนทั้งหมดทั่วโลกในอัตรา 25 เปอร์เซ็นต์ จึงทำให้มีบทบาทสำคัญในการมุ่งสู่อนาคตคาร์บอนต่ำ  Renewable Energy World ได้อธิบายแนวทางเฉพาะด้านไว้ 2-3 แนวทาง ที่สาธารณูปโภคด้านไฟฟ้าสามารถทำให้บรรลุการปล่อยคาร์บอนในปริมาณต่ำ “เพื่อให้บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางด้านคาร์บอน สาธารณูปโภคต่างๆ จะต้องนำกลยุทธ์หลายอย่างมาใช้ เช่น การดักจับคาร์บอน ระบบการค้าคาร์บอน และการลงทุนเทคโนโลยี และแหล่งพลังงานที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ”

การจัดระเบียบภาคการไฟฟ้า คือหัวใจหลักของการลดการปล่อยคาร์บอนได้ทั่วระบบเศรษฐกิจ และสาธารณูปโภคด้านไฟฟ้า ก็มีบทบาทสำคัญมากในการทำให้เรามั่นใจว่ากำลังก้าวไปบนเส้นทางแห่งอนาคตอันสดใส ในขณะที่การบรรลุเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำคือเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ สาธารณูปโภคและประเทศต่างๆ ก็พร้อมมุ่งไปให้ถึงจุดนั้น โดยในปี 2018 Xcel Energy ในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นสาธารณูปโภครายใหญ่รายแรกของอเมริกาที่ให้คำมั่นต่อ net-zero ด้วยวิสัยทัศน์ของการมอบไฟฟ้าที่ปลอดคาร์บอน 100 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2050 และในปี 2019 Arizona Public Service (APS) ก็ตามมาด้วยการเป็นสาธารณูปโภคแห่งที่สองของสหรัฐอเมริกาที่ประกาศเป้าหมายในการมอบพลังงานไฟฟ้าปลอดคาร์บอน ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดแบบ 100 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี 2050 เช่นกัน  โดยสหราชอาณาจักร เป็นประเทศเศรษฐกิจหลักรายแรกในปี 2019 ที่ให้คำมั่นในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในปี 2050 โดยมีการออกแผน Ten Point Plan เมื่อไม่นานมานี้ เพื่อมุ่งสู่การปฏิวัติภาคอุตสาหกรรมสีเขียว

ที่ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นอกจากการนำโซลูชันระบบบริหารจัดการกริดชั้นนำในตลาดมาช่วยลูกค้า เช่น Xcel และ APS แล้ว เรายังดำเนินการเชิงรุกด้วยการกำหนดเป้าหมายความเป็นกลางด้านคาร์บอนของเราเอง ไม่ว่าจะเป็นการบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ในการดำเนินงาน การสาธิตความเป็นกลางด้านคาร์บอนในระบบนิเวศที่ขยายให้ครอบคลุมยิ่งขึ้นภายในปี 2025 รวมถึงการบรรลุเป้าหมายด้านซัพพลายเชนที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ภายในปี 2050 เช่นกัน

การใช้ประโยชน์จากดิจิทัลกริด

แนวทางดั้งเดิมในการผลิตและกระจายไฟฟ้าไม่อาจสร้างอนาคตใหม่ที่ให้พลังงานสะอาดมากขึ้นได้ เป้าหมายของความเป็นกลางด้านคาร์บอน จะช่วยปรับปรุงทุกแง่มุมของอุตสาหกรรมด้านสาธารณูปโภค โดยเฉพาะเรื่องการบริหารจัดการกริด  หากคุณทำงานด้านสาธารณูปโภคที่กำลังวางแผนเกี่ยวกับอนาคตคาร์บอนต่ำ ให้ลองพิจารณาว่าการปรับกระบวนการสู่ดิจิทัลในสามประเด็นต่อไปนี้ จะช่วยสนับสนุนเป้าหมายของคุณได้อย่างไร

การบริหารจัดการแหล่งพลังงานแบบกระจายศูนย์

แหล่งพลังงานแบบกระจายศูนย์ หรือ DER (Distributed Energy Resource) คือหน่วยเล็กๆ ที่สร้างพลังงาน โดยเป็นการดำเนินการภายในพื้นที่และเชื่อมต่อกับกริดพลังงานที่ใหญ่กว่าในเรื่องการกระจายพลังงาน โดยจะประกอบไปด้วยแผงโซลาร์ ระบบกักเก็บพลังงานในรูปแบตเตอรี่ ยานยนต์ไฟฟ้า เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดเล็กที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ โหลดที่มีระบบควบคุม ฯลฯ สิ่งสำคัญที่ต้องทราบคือ พลังงานที่ได้จาก DER นั้นถูกสร้างขึ้นและมีไว้สำหรับใช้ในพื้นที่

เมื่อโลกเคลื่อนไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ การนำ DER มาใช้ นับเป็นความท้าทายต่อการดำเนินงานด้านสาธารณูปโภค รวมถึงบูรณาการด้านทรัพยากรและการวางแผน ประเด็นนี้ทำให้การปรับกระบวนการสู่ระบบดิจิทัล และระบบออโตเมชั่นสำหรับกริดถือเป็นสิ่งจำเป็น โดยสาธารณูปโภคสามารถตรวจสอบและประเมินสถานะทั้งในปัจจุบันและในอนาคตได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น วางรูปแบบกิจกรรมแบบเรียลไทม์และคาดการณ์ได้ รวมถึงบริหารจัดการและควบคุมได้อย่างเหมาะสมเต็มประสิทธิภาพ ทั้งนี้ สาธารณูปโภคต้องสามารถควบคุมและกระจายการสร้างไฟฟ้าพร้อมส่งมอบผ่านระบบดิจิทัล อีกทั้งปรับปรุงเรื่องความปลอดภัยของพลังงาน ทั้งคุณภาพและความน่าเชื่อถือ

เชื่อมโยงระบบบริหารจัดการการดำเนินงานและระบบริหารธุรกิจด้วย ADMS

ระบบบริหารจัดการการกระจายพลังงานที่ล้ำหน้า หรือ ADMS (Advanced Distribution Management System) คือการเชื่อมโยงระหว่างระบบบริหารจัดการการดำเนินงาน (OT) และระบบบริหารจัดการข้อมูล (IT) และถือเป็นกลยุทธ์พื้นฐานสำหรับการเป็นสาธารณูปโภคที่ปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ โดย ADMS จะช่วยให้ระบบสาธารณูปโภคสามารถบริหารจัดการกริดได้ดียิ่งขึ้น ครอบคลุมถึงเรื่องการตรวจสอบ การวิเคราะห์ ควบคุม การเพิ่มประสิทธิภาพ การวางแผน และเครื่องมือที่ฝึกอบรม ซึ่งจะทำหน้าที่ทั้งหมดในการเป็นตัวแทนเครือข่ายกระจายไฟฟ้า (เช่น คู่เสมือนดิจิทัล หรือ Digital Twin) การรวมระบบบริหารการกระจาย (DMS) ระบบบจัดการกระแสไฟฟ้าขัดข้อง และระบบควบคุมและประมวลผลข้อมูลแบบรวมศูนย์ หรือ SCADA ไว้ในโซลูชันเดียว โดยจะช่วยให้หน่วยงานด้านสาธารณูปโภคได้รับประโยชน์สูงสุดจากสมาร์ทกริด หรือโครงข่ายอัจฉริยะที่ก้าวหน้า

โฮเซ่ ริโอ บลองโก จากชไนเดอร์ อิเล็คทริค ยังได้อธิบายต่อถึงแพลตฟอร์ม ADMS …

แพลตฟอร์ม ADMS จะทำหน้าที่จัดการโมเดลเครือข่ายการกระจายไฟฟ้าแบบบูรณาการ รวมถึงสินทรัพย์ต่างๆ ด้วยการเผยแพร่และรับข้อมูลจากระบบงานภายนอก..ด้วยองค์ประกอบ DER หรือแหล่งพลังงานแบบกระจายศูนย์ ที่กระจายตัวอยู่ในเครือข่ายกระจายไฟฟ้า เช่นแหล่งผลิตไฟฟ้าที่กระจายตัวอยู่ตามที่ต่างๆ ระบบจัดเก็บ ยานยนต์ระบบไฟฟ้า และไมโครกริดต่างๆ รวมถึงอุปกรณ์ในฝั่งผู้ใช้งาน เช่น บ้านอัจฉริยะ โปรแกรมตอบสนองความต้องการใช้งาน ตัวแทนคนกลางรายใหม่ๆ ในตลาดที่มีการควบคุมกำกับดูแล จึงทำให้แพลตฟอร์ม ADMS กลายเป็นเสาหลักที่เป็นพื้นฐานการดำเนินการทุกวันสำหรับตัวแทนจำหน่าย

สุดท้าย โซลูชัน ADMS จะค่อยๆ รวมเรื่องการวิเคราะห์ และฟีเจอร์แมชชีนเลิร์นนิ่งเข้ามา โดยจะช่วยเพิ่มความสามารถให้กับขั้นตอนการประมวลผลแบบดั้งเดิมที่ใช้ในการจำลองสถานการณ์และวางแผน รวมถึงขั้นตอนการประมวลผลในระบบออนไลน์เพื่อปรับการดำเนินงานได้เหมาะสมเต็มประสิทธิภาพ

เป้าหมายของการลดการเกิดคาร์บอนจะบรรลุได้ด้วยการมีมุมมองที่ชัดเจนเกี่ยวกับระบบงานในปัจจุบันและมุมมองในการนำไปปฏิบัติสำหรับอนาคต การนำประโยชน์ของ ADMS มาเชื่อมโยงกับธุรกิจและการดำเนินงาน นอกจากจะช่วยปรับปรุงการบริหารจัดการกริดในภาพรวมแล้ว ยังช่วยผลักดันสู่การปฏิรูปที่จำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศทีละน้อยได้ในที่สุด

ขยายการใช้งานสินทรัพย์ที่มีอยู่ได้สูงสุด

การปฏิรูปสู่ดิจิทัล ไม่ใช่เป็นเรื่องของคำว่ามากขึ้นเพียงอย่างเดียว ไม่ได้พูดถึงการเพิ่มแหล่งพลังงานมากขึ้น หรือสินทรัพย์มากขึ้นเสมอไป แต่ยังเป็นเรื่องเกี่ยวกับการบริหารจัดการสินทรัพย์ที่มีอยู่ได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งส่งผลให้การกระจายพลังงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและให้ผลลัพธ์สู่เป้าหมายของการลดก๊าซเรือนกระจกในภาพรวม

การปรับระบบบริหารจัดการสินทรัพย์เป็นดิจิทัล ช่วยให้หน่วยงานด้านสาธาณูปโภคที่มีเป้าหมายในการสร้างความเป็นกลางด้านคาร์บอน สามารถวิเคราะห์ข้อมูลจากสินทรัพย์ทั้งที่มาจากการดำเนินงาน ฝ่ายเทคนิค การเงิน และแหล่งภูมิสารสนเทศได้ดียิ่งขึ้น ฝ่ายปฏิบัติการสามารถเข้าใจได้ดียิ่งขึ้นว่าจะต้องดำเนินการซ่อมบำรุงที่ไหนอย่างไร เพื่อให้หลีกเลี่ยงการเกิดไฟฟ้าขัดข้อง ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและใช้ทรัพยากรในส่วนคนทำงานได้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด สามารถหลีกเลี่ยงความเสี่ยงอย่างการเกิดดาวน์ไทม์โดยไม่มีการวางแผนได้ และสามารถตรวจพบการแทรกแซงในส่วนการซ่อมบำรุงที่ราคาแพง พร้อมแก้ไขได้ทันก่อนที่จะคุกคามถึงเสถียรภาพของกริดและส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค

เช่นเดียวกับคนทั่วไป ที่ไม่อยากเสียเงินไปกับการติดแผงโซลาร์ให้กับบ้านธรรมดา หน่วยงานด้านสาธารณูปโภคก็เช่นกัน ต้องมั่นใจว่าสินทรัพย์ในปัจจุบันได้รับการปรับเปลี่ยนอย่างเหมาะสมตลอดช่วงเวลาในการปฏิรูปสู่ดิจิทัล

สาธารณูปโภคปรับกระบวนการดำเนินงานของกริดสู่ระบบดิจิทัล เพื่อสร้างความยั่งยืน

การปรับเปลี่ยนสู่ระบบดิจิทัลช่วยสร้างศักยภาพในการปฏิรูปสู่ความเป็นกลางด้านคาร์บอนของอุตสาหกรรมด้านสาธารณูปโภค ซึ่งหากไม่ได้ดำเนินการในเรื่องนี้ ก็อาจจะทำให้ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายด้านสภาพอากาศได้ ตัวอย่างต่อไปนี้จะช่วยให้เห็นภาพว่า จริงๆ แล้วการปรับกระบวนการสู่ดิจิทัลจะช่วยให้สาธารณูปโภคก้าวไปสู่เป้าหมายด้านความยั่งยืนได้อย่างไร

โครงการสร้างอนาคตของเมือง ในเซาเปาโล

หัวใจของโครงการสร้างอนาคตของเมือง ซึ่งเป็นโครงการของ Enel คือการสร้าง Network Digital Twin ที่แรกในอเมริกาใต้ ซึ่งคู่เสมือน หรือ Twin คือโมเดลดิจิทัลแบบ 3D ที่จำลองโครงสร้างพื้นฐานระบบไฟฟ้าในพื้นที่ ด้วยการใช้เซ็นเซอร์หลายพันตัวที่ติดตั้งอยู่ในกริดของจริง ซึ่งแต่ละตัวจะสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับสถานะของกริดแบบเรียลไทม์ไปยังตัวแทนจำหน่ายและผู้ที่มีส่วนร่วมในพื้นที่ ท้ายที่สุดแล้ว Digital Twin จะถูกนำมาใช้สร้างการรับรู้เกี่ยวกับการใช้พลังงานและประสิทธิภาพ รวมถึงการประหยัดค่าใช้จ่าย

โครงการดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าการปรับเครือข่ายไฟฟ้าสู่ระบบดิจิทัล รวมถึงอาคาร และระบบโครงสร้างพื้นฐานของเมือง สามารถพัฒนาในห้องปฏิบัติการที่มีอยู่ได้ ทั้งพลเมือง ผู้ประกอบการ เทศบาลเมือง และมหาวิทยาลัย สามารถร่วมสร้างสรรค์โซลูชันนวัตกรรมที่เชื่อมต่อกับระบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่อตอบโจทย์ความต้องการในพื้นที่ได้ เช่น เรื่องของโมบิลิตี้ ความปลอดภัย การลดของเสีย การรักษาความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมของเมือง

การนำประโยชน์จากเทคโนโลยีล้ำหน้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับมลรัฐเท็กซัส

Austin Energy ซึ่งเป็นสาธารณูปโภคของชุมชนรายใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 8 ในสหรัฐอเมริกา ให้บริการแก่ผู้อาศัยที่อยู่รอบเมืองหลวงของเท็กซัสนับหลายล้านราย ทั้งนี้ Austin Energy ได้นำเทคโนโลยีล้ำหน้ามาใช้ รวมถึงการปรับเปลี่ยนสู่ระบบดิจิทัล โดยมุ่งเป้าที่การเพิ่มประสิทธิภาพด้านพลังงาน สร้างโครงข่ายพลังงานที่ยืดหยุ่นมากขึ้น อีกทั้งช่วยปรับปรุงเรื่องความน่าเชื่อถือ

การดำเนินงานตามภารกิจ ด้วยความรู้และเข้าใจว่า ADMS สามารถช่วยให้ตัดสินใจดำเนินงานได้ดียิ่งขึ้น ด้วยการผสานข้อมูลจากหลายล้านจุดรวมอยู่ในประสบการณ์ผู้ใช้เพียงจุดเดียว จึงทำให้ Austin Energy เลือกชไนเดอร์ อิเล็คทริคเป็นผู้ติดตั้งระบบ ADMS ให้

ผลลัพธ์ที่ได้ คือการปรับกระบวนการสู่ระบบดิจิทัลและระบบออโตเมชั่นที่ดียิ่งขึ้น โดยช่วยให้สาธารณูปโภคเข้าถึงข้อมูลแบบเรียลไทม์และมองเห็นการดำเนินงานได้ดีขึ้น  นอกจากนี้ ADMS ยังช่วยสนับสนุนเป้าหมายด้านความยั่งยืนของ Austin Energy ที่รวมถึงการใช้พลังงานหมุนเวียนให้ได้ 55 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2025  ทั้งนี้การนำ ADMS มาปรับใช้แสดงให้เห็นถึงก้าวสำคัญที่นำไปสู่กริดที่ให้ความเป็นอัจฉริยะมากขึ้น และเป็นตัวอย่างแก่หน่วยงานสาธารณูปโภคอื่นๆ ที่กำลังมุ่งไปสู่การสร้างโลกที่ให้ประสิทธิภาพด้านพลังงาน ให้ความยืดหยุ่นและยั่งยืนมากขึ้น

บทสรุป

ในขณะที่หลายหน่วยงานด้านสาธารณูปโภคเริ่มแถลงเป้าหมายความเป็นกลางด้านคาร์บอน ซึ่งต้องรองรับด้วยการดำเนินการที่จำเป็นเรื่องการลดการปล่อยคาร์บอน สาธารณูปโภคจำต้องเพิ่มการลงทุนในแนวทางใหม่ๆ เพื่อบริหารจัดการธุรกิจ ระบบโครงสร้างพื้นฐาน ระบบงาน พนักงาน ลูกค้าและผู้มีส่วนร่วมรายใหม่ของธุรกิจ อีกทั้งต้องมีการวางแผนการสำหรับอนาคตคาร์บอนต่ำ นอกจากนี้ ยังต้องปลดระวางโรงไฟฟ้าถ่านหินให้ได้ภายใน 2030 รวมถึงทบทวนแผนงานในการสร้างโรงไฟฟ้าก๊าซแห่งใหม่ พร้อมให้การสนับสนุนพลังงานสะอาดให้เร็วยิ่งขึ้น

แนวทางใหม่ๆ และเทคโนโลยีดิจิทัล จะช่วยสนับสนุนการบริหารจัดการกริดได้อย่างยั่งยืนมากขึ้น พร้อมปรับปรุงการบริการและความน่าเชื่อถือสำหรับผู้บริโภคเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมต่อไป เพื่อให้ net zero กลายเป็นจริงขึ้นมาได้

Tags: ADMSdigital gridoutage management

เกี่ยวกับชไนเดอร์ อิเล็คทริค

เป้าหมายของชไนเดอร์ อิเล็คทริค คือการช่วยให้ทุกคนใช้พลังงานและทรัพยากรได้เกิดประโยชน์สูงสุด เชื่อมโยงความก้าวหน้าและความยั่งยืนเพื่อประโยชน์ของทุกคน เราเรียกสิ่งนี้ว่า Life Is On

ภารกิจของเราคือการเป็นพันธมิตรด้านดิจิทัลกับคุณ เพื่อสร้างประสิทธิภาพและความยั่งยืน

เราขับเคลื่อนการปฏิรูปสู่ดิจิทัล ด้วยการผสานรวมเทคโนโลยีชั้นนำของโลกด้านพลังงานและกระบวนการจัดการ เข้ากับผลิตภัณฑ์ตั้งแต่จุดเชื่อมต่อปลายทางไปยังคลาวด์ ระบบควบคุม รวมถึงซอฟต์แวร์และการบริการครอบคลุมตลอดวงจรชีวิตการทำงานทั้งหมด เพื่อสร้างศักยภาพในการบริหารจัดการองค์กรแบบบูรณาการ ทั้งสำหรับบ้าน อาคาร ดาต้าเซ็นเตอร์ ระบบโครงสร้างพื้นฐานและอุตสาหกรรม

เราคือบริษัทระดับโลกที่มีการดำเนินงานในระดับท้องถิ่นมากที่สุด เราสนับสนุนมาตรฐานระบบเปิดและระบบนิเวศของคู่ค้าที่มีความมุ่งมั่นแรงกล้าในการทำตามวัตถุประสงค์อย่างมีเป้าหมายร่วมกัน และคุณค่าในการรวมกันเป็นหนึ่งเดียวพร้อมขับเคลื่อนไปข้างหน้าด้วยกัน


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ปลดล็อคการปฏิรูปสู่อุตสาหกรรม 4.0 สร้างศักยภาพด้วยเอดจ์คอมพิวติ้ง

โดย เปาโล โคลัมโบ ผู้อำนวยการแผนกพัฒนาการตลาด เพื่อผู้ประกอบการด้านการผลิตเครื่องจักรและผู้วางระบบ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค (Schneider Electric) และ รัสส์ ซาเกิร์ต ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ ด้านโซลูชัน IoT สำหรับเอดจ์ NetApp

อุตสาหกรรม 4.0 คือการปฏิวัติครั้งถัดไปของภาคอุตสาหกรรมการผลิต ที่ให้คำมั่นสัญญาในการนำเสนอการบูรณาการอย่างแท้จริงระหว่างเทคโนโลยีสารสนเทศหรือ IT และเทคโนโลยีการดำเนินงานหรือ OT เพื่อมอบศักยภาพที่ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานมากมายได้อย่างน่าทึ่ง อีกทั้งช่วยลดต้นทุน อย่างไรก็ตาม การจะบรรลุเรื่องดังกล่าว บริษัทจะต้องคิดทบทวนว่าได้ข้อมูลมาจากไหน อย่างไร รวมถึงมีกระบวนการดำเนินงานและการจัดเก็บที่ไหนอย่างไร ซึ่งเอดจ์คอมพิวติ้งสำหรับอุตสาหกรรมจะมีบทบาทสำคัญที่ช่วยในเรื่องดังกล่าว

สำหรับอุตสาหกรรม 3.0 ทั้งหมดล้วนเป็นเรื่องเกี่ยวกับระบบออโตเมชัน การเชื่อมต่ออุปกรณ์ และการกำหนดถึงสิ่งที่เราสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานด้วยเครื่องมือสำคัญด้านธุรกิจ ส่วนอุตสาหกรรม 4.0 ก็จะเกี่ยวข้องกับการนำรูปแบบการประมวลผลขั้นสูงมาใช้เพื่อให้มีข้อมูลช่วยสนับสนุนการตัดสินใจได้มากขึ้น บางมุมจะอยู่ที่ความเข้าใจพฤติกรรมและลักษณะการทำงานของเครื่องจักรแต่ละเครื่อง แต่ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ความเข้าใจเรื่องการทำงานพึ่งพากันในส่วนต่างๆ ทั้งสาเหตุและผลกระทบ ของสายการผลิตที่ซับซ้อนทั้งหมด รวมถึงการดำเนินการในโรงงาน กระทั่งที่เป็นเรื่องของตัวโรงงานเองก็ตาม การจะเข้าใจเรื่องของการทำงานพึ่งพากันในส่วนต่างๆ ต้องอาศัยข้อมูล ซึ่งเป็นข้อมูลจำนวนมาก ข้อมูลดังกล่าวได้จากเซ็นเซอร์ต่างๆ จากอุปกรณ์ และเครื่องจักร และในหลายๆ กรณีต้องอาศัยการจัดการข้อมูลจากในพื้นที่ มากกว่าในดาต้าเซ็นเตอร์บนคลาวด์ เนื่องจากเป็นข้อมูลปริมาณมากที่ได้มาแบบเรียลไทม์

การดำเนินการได้อย่างถูกต้องสามารถให้ประโยชน์มากมายแก่ธุรกิจ ช่วยบริษัทในภาคอุตสาหกรรมได้หลายประเด็น ดังต่อไปนี้
• ลดต้นทุนการดำเนินงาน
• ปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน
• ได้ปริมาณงานมากขึ้น
• ลดเวลาที่ต้องเสียไปโดยไม่เกิดประสิทธิผลหรือการดาวน์ไทม์ที่ไม่ได้วางแผน
• ลดค่าใช้จ่ายและลดความถี่ในการบำรุงรักษา
• ปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์
• ลดปัญหาด้านสุขภาพของคนทำงาน และปัญหาเรื่องความปลอดภัย
• เพิ่มประสิทธิภาพให้กับซัพพลายเชน และลดสินค้าคงคลัง

ความท้าทายที่มาพร้อมกับการก้าวสู่อุตสาหกรรม 4.0
โดยทั่วไปลูกค้าจะเข้าใจดีถึงประโยชน์มากมายที่ได้จากอุตสาหกรรม 4.0 นอกจากนี้ ลูกค้าในเกือบทุกอุตสาหกรรม ต่างพยายามดิ้นรนเป็นอย่างมาก เพื่อดำเนินการสู่การปฏิรูป โดยจากการที่ได้ร่วมงานกับลูกค้าบางราย ทำให้เราได้ทราบถึงเหตุผลที่หลากหลายในเรื่องดังกล่าว

ไซต์การผลิตของลูกค้าส่วนใหญ่ จะดำเนินงานตลอดเวลา 24 ชั่วโมงใน 365 วัน ซึ่งเป็นอุปสรรคในการวางแผนเพื่อปรับเปลี่ยนระบบโครงสร้าง เมื่อมีการดาวน์ไทม์เกิดขึ้นก็จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานและกระทบถึงรายได้จากสายการผลิต

การนำทักษะ IT มาใช้ในสาย OT ถือเป็นอีกหนึ่งความท้าทายเช่นกัน ผู้เชี่ยวชาญด้าน OT ล้วนคุ้นเคยกับเครือข่าย โปรโตคอล และเครื่องมือต่างๆ เฉพาะสำหรับสายการผลิตที่ใช้มานานหลายปี แต่อุตสาหกรรม 4.0 คือการขอให้คนเหล่านั้นนำเทคโนโลยีที่อยู่ในโลกของดาต้าเซ็นเตอร์มาใช้ เช่น การสร้างความยืดหยุ่น การทนทานหรือรองรับในกรณีที่เกิดความผิดพลาด (fault-tolerance) และขีดความสามารถที่กำหนดโดยซอฟต์แวร์ ทั้งนี้ ในลักษณะเดียวกัน ผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีได้ก็จะเจอกับความท้าทายในการนำแนวคิดของดาต้าเซ็นเตอร์เหล่านั้นไปปรับใช้ในสภาพแวดล้อมด้านอุตสาหกรรม เพื่อนำเสนอโซลูชันเอดจ์คอมพิวติ้งที่เกี่ยวเนื่องกับดาต้าเซ็นเตอร์ ในแง่ของความน่าเชื่อถือ ประสิทธิภาพ และการรักษาความปลอดภัย

โซลูชันสำหรับอุตสาหกรรม 4.0 ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรม รวมถึงเซ็นเซอร์ระบบโครงสร้างในการประมวลผลไอทีและสตอเรจ และการเชื่อมต่อเครือข่าย ซึ่งต้องอาศัยความเชี่ยวชาญในการติดตั้งเพื่อให้บริการและช่วยในการปฏิรูปธุรกิจ ทว่าไม่มีผู้จำหน่ายรายใดที่สามารถจัดหาโซลูชันที่ครบวงจรสำหรับอุตสาหกรรม 4.0 ได้ในคราวเดียว ดังนั้นลูกค้าจึง จำเป็นต้องรับหน้าที่เปรียบเสมือนผู้รับเหมาที่จัดหาระบบโครงสร้างและความเชี่ยวชาญทั้งหมดที่ต้องการและทำให้ระบบทั้งหมดทำงานร่วมกันได้ หรือไม่ก็ต้องขอความช่วยเหลือจากผู้จำหน่าย หรือที่ปรึกษาที่น่าจะช่วยในเรื่องดังกล่าวได้

เรายังคงเห็นว่ามีการทดสอบความเป็นไปได้ของแนวคิด (POC) อยู่มากมายที่ยังใช้การไม่ได้ หลายบริษัทเริ่มทดสอบโซลูชัน แต่ก็ยังเห็นว่าเทคโนโลยีทั้งหมดที่อยู่รอบตัวมีการเปลี่ยนแปลงอยู่อย่างต่อเนื่อง ทำให้ตัดสินใจได้ยากว่าจะเลือกไปในแนวทางไหน เพราะกลัวว่าผู้จำหน่ายจะยึดติดและสนับสนุนเทคโนโลยีหรือแนวทางที่ไม่ถูกต้อง

เรื่องของข้อมูลก็เป็นอีกประเด็น โดย IDC ได้คาดการณ์ไว้ว่าจะมีข้อมูลถึง 79 เซตต้าไบต์ ที่มาจากอุปกรณ์ IoT จำนวน 1 พันล้านเครื่องภายในปี 2025 นอกจากนี้ มีหลายกรณีที่ข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลแบบไซโล และไม่สามารถเข้าถึงระบบวิเคราะห์ที่จำเป็นต่อการนำข้อมูลมาช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ องค์กรจะต้องพัฒนาแผนงานในการจัดการข้อมูลทั้งหมด รวมถึงนำแผนมาใช้ในการปรับปรุงการดำเนินงาน

สร้างการบูรณาการ IT/OT บนมาตรฐานระบบเปิด
การจะผสานรวมการทำงาน IT/OT ได้สำเร็จตามบัญญัติของอุตสาหกรรม 4.0 นั้น ลูกค้าต้องทลายระบบไซโลที่มีอยู่ในปัจจุบัน พร้อมสร้างรากฐานใหม่ในการทำงานบนแพลตฟอร์มมาตรฐานระบบเปิดสำหรับเอ็นเตอร์ไพร์ส แพลตฟอร์มมาตรฐานระบบเปิดจะช่วยให้ลูกค้าดำเนินการเรื่องต่างๆ เหล่านี้ ได้ดียิ่งขึ้น
1. บริหารจัดการปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขี้นอย่างรวดเร็วที่เอดจ์ได้
2. ใช้ระบบวิเคราะห์แบบใหม่ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลเชิงลึกในการดำเนินงาน
3. เพิ่มความยืดหยุ่น ความปลอดภัยของข้อมูล และความน่าเชื่อถือ
4. เป็นระบบเปิด และมีความยืดหยุ่น สามารถปรับขยายขีดความสามารถในการทำงานได้ในตัวเอง
5. ทำงานร่วมกับผลิตภัณฑ์จากผู้จำหน่ายที่หลากหลายได้
6. ใช้แนวทางเดียวกันทั่วทั้งองค์กรตั้งแต่เริ่มติดตั้ง
7. แสดงให้เห็นถึงผลกระทบเชิงบวกต่อธุรกิจ ให้ความยั่งยืนในระยะยาว

แพลตฟอร์มใหม่ใดๆ ก็ตามที่จะนำมาใช้ ต้องบำรุงรักษาง่าย และไม่สร้างความซับซ้อน อีกทั้งสามารถให้ความยืดหยุ่นในการดำเนินงานแก่ลูกค้าหรือลดความเสี่ยงในการดำเนินงานได้มากขึ้น และสามารถติดตั้งเพื่อใช้งานได้โดยไม่กระทบต่อการดำเนินงานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน

ความร่วมมือสำหรับโซลูชันอุตสาหกรรม 4.0
ตามที่กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ ไม่มีผู้จำหน่ายรายใดที่มอบทุกองค์ประกอบที่จำเป็นสำหรับโซลูชัน Industry 4.0 ได้ทั้งหมด และจะต้องส่งมอบผ่านการประสานความร่วมมือกับพันธมิตรที่เป็นผู้จำหน่าย ซึ่งแต่ละรายก็จะให้ทักษะ ผลิตภัณฑ์ และบริการของตน ทำให้ลูกค้าไม่ต้องรับบทเป็นผู้รับเหมาอีกต่อไป

นั่นคือสาเหตุที่ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ร่วมมือกับเน็ตแอพ (NetApp) เพื่อส่งมอบโซลูชันไอทีที่ครบวงจร ช่วยสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่อุตสาหกรรม 4.0
ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำเสนอการสนับสนุนอย่างเต็มรูปแบบในเรื่องระบบโครงสร้างสำหรับสภาพแวดล้อมเอจด์ รวมถึงตู้แร็ค พลังงาน ระบบทำความเย็น และระบบรักษาความปลอดภัยทางกายภาพที่เหมาะสำหรับสภาพแวดล้อมต่างๆ ตลอดจนกรณีการใช้งานในภาคอุตสาหกรรมที่มีการใช้งานแบบสมบุกสมบั่น โดยมีลูกค้าจำนวนมากที่อาจใช้ซอฟต์แวร์ด้านการวิเคราะห์ และบริการในส่วน EcoStruxure ของชไนเดอร์ อิเล็คทริคกันอยู่แล้ว รวมถึงโซลูชันด้านการบริหารจัดการระบบไอทีจากระยะไกล

เน็ตแอพ จะช่วยคุณจัดการข้อมูลที่เกิดจากการใช้โซลูชัน IIoT ด้วยการนำเสนอ data fabric พร้อมระบบบริหารจัดการที่ครอบคลุมตั้งแต่เอดจ์ ไปยังดาต้าเซ็นเตอร์ ตลอดจนคลาวด์ ทั้งนี้ สภาพแวดล้อมที่กำหนดการทำงานด้วยซอฟต์แวร์ ช่วยให้บริหารจัดการข้อมูลได้ง่าย มีประสิทธิภาพและปลอดภัย คุณสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนหรือในเวลาใดก็ตาม

ทั้งสองบริษัท ต่างมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้เล่นรายสำคัญในระบบนิเวศของอุตสาหกรรม 4.0 ไม่ว่าจะเป็นผู้ให้บริการโซลูชันไอที ผู้วางระบบอุตสาหกรรม และผู้ให้บริการระบบสารสนเทศสำหรับโรงงาน พร้อมด้วยการออกแบบที่ใช้ในการอ้างอิง ซึ่งเป็นตัวกำหนดว่าทุกอย่างจะทำงานร่วมกันได้อย่างไร โดยการร่วมมือระหว่างเรา จะช่วยในการนำเสนอโซลูชันที่สมบูรณ์แบบ ซึ่งช่วยให้คุณได้รับคุณค่าทางธุรกิจได้เร็วยิ่งขึ้น


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค อัปเดตแอปฯ ช่างไฟ เวอร์ชันใหม่ สแกน QR Code สะสมคะแนน แลกเงินคืนได้สูงถึง 2,000 บาท/เดือน

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค (Schneider Electric) ประกาศอัปเดตแอปฯ ช่างไฟหรือ mySchneider Electrician App เวอร์ชัน 2021 ใหม่ จุดเด่นคือมีฟังก์ชันสแกนคิวอาร์โค้ด (QR Code) เข้ามาเพิ่ม สแกนปั๊บ รับคะแนนสะสมเข้าแอปฯ ช่างไฟทันที ทำให้ไม่ต้องตัดฉลาก เขียนชื่อ นามสกุล อีกต่อไป  ซึ่งการอัปเดตในครั้งนี้ชไนเดอร์ อิเล็คทริค พุ่งเป้าไปที่การทรานส์ฟอร์มช่างไฟที่ซื้อผลิตภัณฑ์ของชไนเดอร์ อิเล็คทริค ให้ได้รับประโยชน์จากการใช้แอปฯ ช่างไฟได้ง่ายขึ้น และลดเวลาที่ไม่จำเป็นในกระบวนการสะสมคะแนนออกไป มีการปักธงเริ่มเปิดให้อัปเดตพร้อมกันในระบบ Android และiOS ได้แล้ววันนี้

นายกุศล กุศลส่ง รองประธานกลุ่มคลัสเตอร์ Home& Distributions ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ดูแลประเทศไทย ลาว และเมียนมา “การทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัลในทุกวงการ จะสำเร็จ หรือไม่สำเร็จ ขึ้นอยู่กับทัศนคติเป็นตัวชูโรง แอปพลิเคชันช่างไฟของชไนเดอร์ อิเล็คทริค หรือเรียกสั้นๆ ว่า แอปฯ ช่างไฟชไนเดอร์ เราทำกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 เพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับช่างไฟ อาทิ การติดต่อกับร้านค้า การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะมีแผนที่ร้านค้าที่อยู่ใกล้กับช่างไฟที่สุดให้ดูด้วย อีกทั้งยังลดความซับซ้อนในการรับคะแนน และการรับข่าวสารความรู้จากทางชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผ่านทางแอปพลิเคชัน ต่อมาได้พัฒนาให้เพิ่มความสะดวกมากยิ่งขึ้นโดยเชื่อมต่อกับทรูมันนี่วอลเล็ต เพื่อให้ช่างไฟสามารถใช้และแลกคะแนนให้เป็นเงิน และใช้จับจ่ายได้ทันที ก่อนหน้านี้ได้เพิ่มเติมในส่วนฟังก์ชันส่งรูปฉลากสินค้า เพื่อใช้แนบภาพบาร์โค้ดข้างกล่องแทนการตัดและส่งไปรษณีย์มาให้เรา ซึ่งแม้จะช่วยย่นระยะเวลาในการส่งไปรษณีย์แล้วก็ตาม ก็ยังจะมีความยุ่งยากและเสียเวลาในขั้นตอนการเขียนชื่อ/นามสกุล ที่ฉลาก และรายละเอียดในการซื้อ เพื่อส่งมาแลกคะแนน ซึ่งล่าสุดเราเพิ่มความง่ายยิ่งขึ้น ด้วยการเพิ่มฟังก์ชันสแกนคิวอาร์โค้ด รับคะแนน โดยไม่ต้องกรอกชื่อ และรายละเอียด เป็นการลดความซับซ้อนไปอีกขั้น ซึ่งเราเชื่อว่าแอปพลิเคชันช่างไฟชไนเดอร์ เป็นแอปพลิเคชันที่อำนวยความสะดวกแก่ช่างไฟในการรับคะแนนแบบพร้อมใช้จ่าย ที่ใช้งานง่ายที่สุด

การเพิ่มฟีเจอร์การสแกนคิวอาร์โค้ดไปในแอปฯ ช่างไฟชไนเดอร์ ได้มีการติดสติ๊กเกอร์ คิวอาร์โค้ดบนแพ็กเกจของผลิตภัณฑ์ กลุ่มตู้ไฟและเบรกเกอร์ เรียบร้อยแล้ว และจะเพิ่มเติมในผลิตภัณฑ์ กลุ่มสวิตช์และเต้ารับ รุ่น AvatarOn A ในวันที่ 15 มิถุนายน นี้ พร้อมทั้งจัดโปรโมชั่นพิเศษแก่ช่างไฟ โดยการเพิ่มคะแนนมากขึ้น เอาใจช่างไฟ  โดยโปรโมชั่นจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน ถึง 30 กันยายน 2564

นอกจากนี้ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ยังได้เพิ่มสิทธิพิเศษสำหรับช่างไฟชไนเดอร์โดยเฉพาะ คือการเปลี่ยนคะแนนเป็นค่าบริการในการฝึกอบรมความรู้ความสามารถ ช่างไฟฟฟ้าภายในอาคาร ระดับ 1 หรือค่าธรรมเนียมการต่ออายุ หนังสือรับรองความรู้ความสามารถ ตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมการพัฒนา ฝีมือแรงงาน ได้อีกด้วย เรียกได้ว่าการอัปเดตแอปพลิเคชันช่างไฟชไนเดอร์ ในครั้งนี้ครบ จบที่เดียว สำหรับวิชาชีพช่างไฟเลยทีเดียว คาดว่าในปีต่อไป แอปพลิเคชัน ช่างไฟชไนเดอร์ ยังคงมีการอัปเดตอะไรใหม่ๆ ในการยกระดับคุณภาพชีวิตของช่างไฟอย่างต่อเนื่องอย่างแน่นอน ตามคำที่ชไนเดอร์ อิเล็คทริคยึดมั่นให้การส่งมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้ลูกค้าทั่วโลก ตั้งแต่ระดับเอ็นเตอร์ไพรส์ จนถึงระดับผู้ใช้รายย่อย ว่า Life is On

สามารถดาวน์โหลดได้ทั้ง iOS และAndroid เพียงคลิ๊ก https://myse.onelink.me/fTVX/da4c07f5


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

สร้างเมืองที่ปลอดก๊าซเรือนกระจกได้ ด้วยบ้านอัจฉริยะที่ยั่งยืน

โดย จาย ธัมปิ รองประธานอาวุโสฝ่ายนวัตกรรมและกลยุทธ์ Home & Distribution ชไนเดอร์ อิเล็คทริค (Schneider Electric)

จากการประชุมเศรษฐกิจโลกที่จัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ภายใต้ชื่องาน Davos Agenda 2021 เรื่อง Net Zero หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ กลายเป็นหัวข้อสำคัญของการประชุมฯ ที่มีการเรียกร้องให้นำแนวทางมาปรับใช้ช่วยให้เมืองต่างๆ มีความยั่งยืนมากขึ้น

การเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศ คือความจริง และระเบิดเวลาด้านสภาพอากาศกำลังเดินหน้าไปเรื่อยๆ มีความคิดริเริ่มหลายอย่างเพื่อช่วยให้เมืองต่างๆ มีความเป็นกลางด้านคาร์บอนหรือมีสภาพอากาศที่เป็นกลางได้ภายในปลายทศวรรษนี้ โดยคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปได้รับอาสาทำภารกิจในการสนับสนุนและส่งเสริม 100 เมืองในยุโรปในการปฏิรูประบบเพื่อมุ่งสู่การสร้างความเป็นกลางด้านคาร์บอน ภายในปี 2030  ซึ่งหลายเมืองที่อยู่ในหน่วยงาน CNCA (Carbon Neutral Cities Alliance) จากเมืองแอดิเลดจนถึงกรุงอัมสเตอร์ดัม จากเฮลซิงกิจนถึงวอชิงตันดีซี ล้วนมุ่งเป้าไปที่การสร้างความเป็นกลางด้านคาร์บอนได้สำเร็จภายใน 10-20 ปีถัดไป

ทำไมจึงมุ่งเน้นที่เมืองแทนที่จะเน้นภาคอุตสาหกรรม? จริงๆ แล้วเราต้องจัดการกับทั้งสองภาคอย่างแน่นอน แต่ความแตกต่างสำคัญที่การเป็นมหานครที่สามารถกำจัดคาร์บอนได้จะให้ผลกระทบในวงกว้างได้มากกว่า เนื่องจากเมืองต่างๆ กินพื้นที่ราว 3 เปอร์เซ็นต์ของโลก แต่ผลิตก๊าซเรือนกระจกในปริมาณรวมที่มากถึง 72 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนั้น เมืองต่างๆ ยังมีการเติบโตอย่างรวดเร็วและจะยังคงเป็นศูนย์กลางสำคัญของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แม้กระทั่งในช่วงที่เกิดผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 หากจะบรรยายการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศ เปรียบได้ว่าเป็นสงครามการต่อสู้ครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดของเรา ก็คือการต่อสู้กับเมืองเหล่านี้

สิ่งที่ผมมองเห็นคือ ความเร่งด่วนทั้งในด้านสภาพภูมิอากาศและการแพร่ระบาด ทำให้เราสร้างความเปลี่ยนแปลง หรือการเกิดใหม่ได้ ทั้งผู้วางนโยบายและชาวเมืองสามารถสร้างการมีส่วนร่วมในบทบาทสำคัญในการคิดทบทวนด้านการวางแผนสำหรับเมือง เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กลับคืนสู่เมืองได้มากยิ่งขึ้น แนวทางการแก้ไขบางอย่างยังรวมไปถึงเรื่องของพลังงานไฟฟ้าที่สะอาด เทคโนโลยีดิจิทัลที่ฉลาด ระบบโครงสร้างและอาคารที่มีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับแนวทางด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับการจัดการน้ำ ของเสีย และวัสดุต่างๆ

คำนึงถึงเรื่องเงิน

การปฏิรูปเมืองต่างๆ สู่ความเป็นกลางด้านคาร์บอน ไม่ว่าจะภายใน 10 หรือ 30 ปี ก็ล้วนแต่เป็นความท้าทาย อย่างไรก็ตาม ทั้งเทคโนโลยีและโซลูชันนวัตกรรมเพื่อบ้านที่ยั่งยืน อาคารสำนักงาน พลังงาน การขนส่ง อาหาร น้ำ และระบบวัสดุต่างๆ ล้วนมีอยู่แล้ว และจะตามมาอีกมากมาย เนื่องจากเทคโนโลยีที่ยั่งยืนมีราคาลดลง อีกทั้งได้รับเงินสนับสนุนจากนักลงทุนมากขึ้น

ความท้าทายที่แท้จริงคือการเปลี่ยนวิธีคิด สำหรับโลกที่เปลี่ยนแปลง ผู้คนต้องเปลี่ยนวิธีคิดก่อนและการเปลี่ยนแปลงอาจเป็นเรื่องที่เจ็บปวด ในฐานะของการเป็นองค์กรขนาดใหญ่ เราต้องทำให้ผู้คนตระหนักว่าความยั่งยืนไม่ได้มีผลกระทบเรื่องประสิทธิภาพ ความสำเร็จ หรือมาตรฐานความเป็นอยู่ อาคารอัจฉริยะที่ให้ความยั่งยืนหมายถึงอาคารที่ลดการปล่อยของเสีย ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานได้ จากนั้น เราต้องเปลี่ยนอุปสรรคต่างๆ ให้กลายเป็นโอกาสด้วยขุมพลังของเทคโนโลยีสมัยใหม่

บ้านอัจฉริยะ ช่วยให้เกิดเมืองอัจฉริยะได้อย่างไร

ที่อยู่อาศัยหรือบ้านมีส่วนสำคัญส่งผลต่อปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลกถึง 30 เปอร์เซ็นต์ อีกทั้งคาดว่าจะกลายเป็นตัวปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณมากที่สุดในทศวรรษหน้า จึงทำให้บ้านต้องกลายเป็นวาระสำคัญของเมืองที่ปลอดคาร์บอน ซึ่งหลังการแพร่ระบาด บ้านจะเป็นที่เราใช้ชีวิตส่วนใหญ่และใช้พลังงานเป็นหลัก การเข้าถึงการผลิตพลังงานในท้องถิ่นได้ง่าย ช่วยนำไปสู่การหยุดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เร็ว ตัวอย่างเช่น พลังงานแสงอาทิตย์ทำให้บ้านเรือนสะอาดขึ้นมีความยั่งยืนมากขึ้น เราควรช่วยให้เจ้าของบ้านสามารถขายพลังงานส่วนเกินคืนให้กลับโครงข่ายไฟฟ้าหรือชุมชนท้องถิ่นได้

แต่เราจำเป็นต้องก้าวไปไกลกว่านั้น ระบบบ้านอัจฉริยะสามารถให้มุมมองเชิงลึกอย่างที่เราไม่เคยได้มาก่อนในแง่ของการใช้พลังงาน ทั้งสำหรับการทำความร้อน การปรุงอาหาร การชาร์จรถยนต์ หรือเพื่อความบันเทิง บ้านอัจฉริยะที่ให้ความยั่งยืนยังให้ความสะดวกสบายส่วนตัวได้มากขึ้น อีกทั้งให้ประสิทธิภาพในการลดค่าไฟฟ้า เทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนความยั่งยืนด้วย AI ยังช่วยให้เราปลอดภัย นอกจากจะช่วยให้เรามั่นใจว่าได้สูดอากาศสะอาดและรักษาระดับอุณหภูมิห้องที่ให้ความสบาย ยังช่วยแจ้งเตือนเราในเชิงรุกหากมีความผิดพลาดในระบบไฟฟ้าที่อาจเกิดขึ้นได้  ลองคิดถึงผลกระทบหากเราสามารถหยุดการเกิดเพลิงไหม้จากระบบไฟฟ้าไม่ให้ทำลายความเป็นอยู่ของเรา

โซลูชันระบบดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพสำหรับบ้านอัจฉริยะสามารถขยายขอบเขตการทำงานและเชื่อมโยงกับอาคารอื่นที่มีขนาดใหญ่ขึ้น กระทั่งเชื่อมกับชุมชนทั้งหมดหรือทั้งเมืองได้ อย่างไรก็ตาม ระบบนิเวศขนาดใหญ่ที่ปลอดคาร์บอน จะเป็นจริงได้ด้วยการใช้ระบบโครงสร้างดิจิทัลระดับโลกที่ทันสมัย มีการนำ IoT และแอปพลิเคชันที่เกี่ยวข้องมาใช้งานในวงกว้าง  ซึ่งเป็นการประยุกต์ใช้งานในลักษณะเดียวกันสำหรับชุดข้อมูลแบบเปิดที่สามารถใช้งานร่วมกันได้ ซึ่งจะเชื่อมโยงและแบ่งปันการใช้งานทั่วระบบนิเวศของเมือง เพื่อยุติระบบไซโลและสร้างมุมมองเชิงลึกได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านระบบวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่และ AI  นี่คือสิ่งที่องค์กรทั้งหมดควรเรียกร้องเพื่อให้เกิดความร่วมมือ และมีการประสานงานร่วมกันทั่วอุตสาหกรรม อีกทั้งนำเทคโนโลยีที่ดีที่สุดมาช่วยขับเคลื่อนการทำงานร่วมกันด้วยการเชื่อมต่อถึงกันและการวิเคราะห์

การบรรลุผลสำเร็จร่วมกันนี้ เราต้องเปิดใจกว้างและดำเนินตามนโนบายของการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลาในบทบาทของอุตสาหกรรม ซึ่งนับเป็นสิ่งจำเป็นเนื่องจากมีเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่เกิดขึ้นตลอด เมื่อถึงเวลาช่วยโลก งานของเราจึงไม่เคยเสร็จสิ้น และโซลูชันที่ดีที่สุดในสองสามปีที่ผ่านมาก็อาจจะไม่ใช่โซลูชันที่ช่วยแก้ปัญหาในปัจจุบันได้

ตัวอย่างเช่น การยึดติดเรื่องการปรับปรุงอาคารเพื่อประหยัดพลังงานมากไปในปัจจุบัน เช่นการติดฉนวนกันความร้อนในอาคาร ก็จะเป็นการใช้สาธารณูปโภคมากเกินไป เพราะเมืองต้องมีการขยายตัวด้วยอาคารใหม่ๆ การคิดในขอบเขตเล็กก็จะทำให้เราไปไม่ถึงไหน อาจทำให้เกิดความล่าช้ากับภาพรวมที่มุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ เราจึงต้องมีเครื่องมือดิจิทัลที่เหมาะสมเพื่อให้สามารถวิเคราะห์และตัดสินใจแนวโน้มการใช้พลังงานได้อย่างแม่นยำ และเราต้องนำมาใช้ในวงกว้างได้

ช่วยโลก อีกทั้งอนุรักษ์เศรษฐกิจ

เราอยู่ท่ามกลางการปฏิวัติด้านพลังงาน หากคุณมองย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาของมนุษย์ คุณจะเห็นการเติบโตของเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยความพร้อมด้านพลังงานที่จัดหามาได้ง่าย ความแตกต่างเพียงอย่างเดียวในตอนนี้ก็คือเรากำลังพูดถึงการใช้พลังงานในระดับที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน รวมถึงความต้องการพลังงานสะอาด

การทำให้เมืองต่างๆ มีค่าคาร์บอนเป็นกลาง เป็นเรื่องยากและไม่ธรรมดา เราต้องมีแนวคิดที่ถูกต้อง และยึดมั่นในหลักปฏิบัติ ดำเนินตามหลักปรัชญาที่ว่า “งานของเราไม่มีวันเสร็จเสมอ” การนำเทคโนโลยีดิจิทัลล่าสุดมาใช้ จะช่วยให้เรามีมุมมองเชิงลึกและมีศักยภาพที่จะบรรลุเป้าหมายร่วมกันได้ อีกทั้งงานต่างๆ ที่มีความเป็นสีเขียวมากขึ้น รวมถึงนวัตกรรมเทคโนโลยีและการลงทุนด้าน ESG เพื่อธุรกิจที่ยั่งยืนจะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจได้  ไม่ว่าเราจะเลือกแนวทางไหนก็ตามในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพอากาศ หรือใช้โซลูชันใดก็ตาม เราต้องจำไว้ว่า ความยั่งยืนก็เป็นเช่นเดียวกับทุกสิ่งดีๆ ที่เริ่มต้นจากบ้าน

เกี่ยวกับชไนเดอร์ อิเล็คทริค

เป้าหมายของชไนเดอร์ อิเล็คทริค คือการช่วยให้ทุกคนใช้พลังงานและทรัพยากรได้เกิดประโยชน์สูงสุด เชื่อมโยงความก้าวหน้าและความยั่งยืนเพื่อประโยชน์ของทุกคน เราเรียกสิ่งนี้ว่า Life Is On

ภารกิจของเราคือการเป็นพันธมิตรด้านดิจิทัลกับคุณ เพื่อสร้างประสิทธิภาพและความยั่งยืน

เราขับเคลื่อนการปฏิรูปสู่ดิจิทัล ด้วยการผสานรวมเทคโนโลยีชั้นนำของโลกด้านพลังงานและกระบวนการจัดการ เข้ากับผลิตภัณฑ์ตั้งแต่จุดเชื่อมต่อปลายทางไปยังคลาวด์ ระบบควบคุม รวมถึงซอฟต์แวร์และการบริการครอบคลุมตลอดวงจรชีวิตการทำงานทั้งหมด เพื่อสร้างศักยภาพในการบริหารจัดการองค์กรแบบบูรณาการ ทั้งสำหรับบ้าน อาคาร ดาต้าเซ็นเตอร์ ระบบโครงสร้างพื้นฐานและอุตสาหกรรม

เราคือบริษัทระดับโลกที่มีการดำเนินงานในระดับท้องถิ่นมากที่สุด เราสนับสนุนมาตรฐานระบบเปิดและระบบนิเวศของคู่ค้าที่มีความมุ่งมั่นแรงกล้าในการทำตามวัตถุประสงค์อย่างมีเป้าหมายร่วมกัน และคุณค่าในการรวมกันเป็นหนึ่งเดียวพร้อมขับเคลื่อนไปข้างหน้าด้วยกัน


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค อัดแคมเปญ Lazada 6.6 ลดสูงสุด 50 เปอร์เซ็นต์ พร้อมบวกคูปองลดอีก 500 บาท!!!

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค จัดเต็มแคมเปญ Lazada 6.6 ลดจัดหนักสูงสุด 50 เปอร์เซ็นต์ พร้อมแจกคูปองส่วนลดสูงสุดอีก 500 บาท เมื่อซื้อสินค้า 1,000 บาทขึ้นไป พร้อมลั่นส่งฟรีทุกรายการ!!! จัดโปรสุดช็อคแบบนี้ ต้องที่ร้านชไนเดอร์ อิเล็คทริค เฉพาะแคมเปญ lazada 6.6 เท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 6 -10 มิถุนายนนี้เท่านั้น ห้ามพลาด!!! โดยงานนี้ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ยกทัพผลิตภัณฑ์มาจัดโปรฯ ถึง 3 กลุ่มด้วยกัน
• กลุ่มสำหรับบ้าน: สวิตช์ ปลั๊ก นำขบวนโดย AvatarOn A ผลิตภัณฑ์ยอดนิยมแห่งยุค และ ZENcelo เรียบง่ายสวยอมตะ มาขยี้ราคาจนต้องรีบคว้า
• ผลิตภัณฑ์กลุ่มอุตสาหกรรม: อาทิ EasyPact CVS, Acti9, ปุ่มกด XA2 ฯลฯ
• ผลิตภัณฑ์เครื่องสำรองไฟ และเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้า ที่จะพบกับราคาพิเศษงานนี้งานเดียว พร้อมแจกของที่ระลึกอีก 1 ต่อ อีกด้วย

นอกจากนี้ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ยังจับมือ กับอีก 3 ร้านดังในลาซาด้าที่มอบส่วนลดผลิตภัณฑ์ของชไนเดอร์ฯ สูงสุดถึง 60 เปอร์เซ็นต์ โดยนักช้อปสามารถเข้าเยี่ยมชมได้ที่ Factomart, Ucanbuys, Electric 2U และที่พลาดไม่ได้ คลิก Schneider Electric


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

Managed Power Services สร้างโอกาสเติบโตสูงด้านเอดจ์คอมพิวติ้ง ให้กับผู้ให้บริการโซลูชันไอที

โดย ลาร์รี ฮานน์ ผู้อำนวยการฝ่ายช่องทางบริการด้านดิจิทัล ของเอพีซี โดย ชไนเดอร์ อิเล็คทริค(Schneider Electric)

ตลาดบริการด้านการบริหารจัดการ หรือ managed services กำลังเติบโต โดยคาดการณ์อัตราเติบโตเฉลี่ยอยู่ที่ 12 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่มีการคาดการณ์ว่าการใช้จ่ายด้านเอดจ์คอมพิวติ้งจะแตะที่ 33,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2024 เช่นกัน นอกจากทั้งสองตลาดนี้เกี่ยวข้องกันแล้ว ยังช่วยสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับผู้ให้บริการด้านการบริหารจัดการ (MSPs) และ ตัวแทนจำหน่ายแบบ VARs (value added resellers) (VARs) ที่ต้องการนำเสนอบริการ managed services รวมอยู่ในธุรกิจ ตลอดจนลูกค้าที่กำลังมองหาความช่วยเหลือในการนำระบบโครงสร้างไอทีแบบกระจายศูนย์มาปรับใช้งานได้ตามต้องการ รวมไปถึงการบริหารจัดการระบบเหล่านั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสาเหตุที่ต้องการใช้บริการดังกล่าว คือลูกค้าส่วนมากมักไม่ต้องการใช้ บุคลากรของตนไปกับการบริหารจัดการพลังงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับไซต์ไอทีที่อยู่ห่างไกล พร้อมกับกำลังมองผู้ให้บริการโซลูชันไอทีที่นำเสนอบริการดังกล่าวได้

ด้วยเหตุนี้ธุรกิจ MSPs และ VARs จึงเป็นที่น่าจับตาเพราะเป็นการเปิดสู่โอกาสด้านการบริหารจัดการพลังงาน ตัวอย่างเช่นลูกค้าที่ต้องการมอบหมายให้พนักงานไอทีทำงานเชิงกลยุทธ์มากขึ้น แทนที่จะต้องมาบริหารจัดการเรื่องดังกล่าว หรือ บริษัทที่กำลังขยับขยายงานด้านไอทีเพื่อรองรับการปฏิรูปสู่ดิจิทัล เหล่านี้อาจต้องพิจารณาการบริหารจัดการพลังงานในส่วนของระบบงานและอุปกรณ์ต่างๆ ได้จากระยะไกล เช่น UPS 1 เฟส ตู้แร็ค และอุปกรณ์ทำความเย็นเป็นต้น

โอกาสในการให้บริการด้านการบริหารจัดการพลังงาน

การจัดการพลังงานเป็นการเพิ่มมูลค่ามหาศาล เพราะเป็นการสนับสนุนเป้าหมายสูงสุดของการให้บริการด้านการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มอัพไทม์สูงสุดให้กับระบบ ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งโดยเฉพาะในสภาพแวดล้อมด้านไอทีแบบกระจายศูนย์ที่มีไซต์งานเอดจ์คอมพิวติ้งหลากหลายไซต์ ซึ่งโดยปกติมักจะไม่ค่อยมีเจ้าหน้าที่ประจำไซต์ ซึ่งในมุมมองของลูกค้า ผู้ให้บริการโซลูชันควรมีการเสริมการป้องกันด้วยระบบสำรองไฟฟ้าที่ช่วยให้มั่นใจได้ว่าระบบงานจะไม่ล้มเหลวเมื่อจำเป็นต้องใช้งาน สำหรับมุมมองของผู้ให้บริการ เรื่องนี้นับเป็นแนวทางในการเพิ่มรายได้ประจำในระยะยาว

จุดนี้ทำให้บริการดังกล่าวมีการเติบโตสูง เนื่องจากโดยทั่วไปลูกค้ามักไม่ค่อยถามถึงบริการด้านการจัดการพลังงาน แต่เมื่อได้ยินเกี่ยวกับเรื่องนี้ แม้ว่าอาจยังไม่รู้ว่านี่เป็นทางเลือกหนึ่ง หรืออาจยังไม่เคยคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็ตาม แต่ก็ชอบแนวคิดในการจ้างเอาต์ซอร์สมาช่วยบริหารจัดการพลังงาน เพื่อช่วยให้พนักงานมีเวลามากขึ้น ซึ่งโดยปกติ ลูกค้ามักจะมุ่งเน้นไปที่แอปพลิเคชันและความสามารถใหม่ๆ โดยไม่ได้เน้นที่ระบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการทำงาน ดังนั้นจึงอยู่ที่ผู้ให้บริการที่จะนำเสนอบริการ managed power ด้วยเหตุและผลเกี่ยวกับความสำคัญของเรื่องนี้

โอกาสในการสร้างรายได้ประจำ

การจัดการพลังงานจากระยะไกลมอบศักยภาพในการเพิ่มรายได้อย่างแท้จริง โดยในความเป็นจริง บริการด้านการบริหารจัดการพลังงาน สามารถคิดเป็นต้นทุนสินทรัพย์ต่อปีได้ถึง 40 เปอร์เซ็นต์ ที่นี้ ลองแจกแจงออกมาเป็นตัวเลขดู ถ้าคุณบริหารจัดการสินทรัพย์ 100 รายการสำหรับลูกค้าธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMB) หรือ 200 รายการสำหรับลูกค้าองค์กรในระดับเอ็นเตอร์ไพร์ซ ด้วยมูลค่า 1,200 บาท ต่อสินทรัพย์หนึ่งรายการ ก็จะเพิ่มรายได้ต่อเดือนได้ 12,000 บาท หรือ 24,000 บาทตามลำดับ และหากคุณบริหารจัดการสินทรัพย์ทั้งหมด 375 รายการ ก็จะคิดเป็นยอดรายได้รวมต่อเดือนอยู่ที่ 450,000 บาท

เมื่อต้องนำเสนอลูกค้าเกี่ยวกับการบริหารจัดการพลังงาน ผู้ให้บริการยังสามารถเปิดประเด็นไปสู่การขายบริการด้านไอทีอื่นๆ ได้อีก เช่น การประเมิน การวางระบบ และการปรับปรุงฮาร์ดแวร์ หากคุณสามารถแสดงให้เห็นได้ว่าลูกค้าไม่มีการบริหารจัดการพลังงานอย่างเหมาะสมหรือขาดความสามารถในการมองเห็น คุณก็สามารถชี้ให้เห็นได้อีกว่าอุปกรณ์ไอทีอื่นๆ ก็จะไม่สามารถมองเห็นหรือบริหารจัดการได้ดีเช่นกัน ถ้าลูกค้าไม่ได้ใช้บริการ MSP หรือไม่ได้รับบริการที่มีคุณภาพเนื่องจากไม่สามารถตรวจสอบการใช้พลังงานได้ เท่ากับคุณมีโอกาสที่จะเข้าถึงลูกค้าและสร้างรายได้เพิ่มได้

เส้นทางสู่การให้บริการ managed power

บริการด้านการบริหารจัดการพลังงาน แสดงให้เห็นถึงโอกาสสำหรับ MSPs และ VARs ที่มองหาโมเดลการสร้างรายได้ประจำอย่างต่อเนื่อง โดยชไนเดอร์ อิเล็คทริค และแพลตฟอร์ม EcoStruxureTM IT  ให้แนวทางที่หลากหลายในการมอบการบริการด้านการบริหารจัดการพลังงาน ควบคู่ไปกับการให้การสนับสนุนอย่างเต็มรูปแบบด้วยโปรแกรมด้านการฝึกอบรมและโปรแกรมที่ให้สิทธิประโยชน์มากมาย ซึ่งชไนเดอร์ฯ ได้มีการออกแบบข้อเสนอหลากหลายสำหรับการเปิดตัวสู่ตลาด เพื่อช่วยให้ผู้ให้บริการสามารถตอบรับได้อย่างมั่นใจ ในเวลาที่ลูกค้าขอให้ช่วยบริหารจัดการอุปกรณ์จ่ายพลังงาน และในบทบาทของคู่ค้า คุณสามารถเลือกทางเลือกที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพธุรกิจของคุณในปัจจุบันมากที่สุด รวมถึงเลือกการลงทุนในระดับที่คุณต้องการได้

คุณมีทางเลือกว่าจะให้ชไนเดอร์ฯ ช่วยดูแลทุกอย่างในนามของคุณ หรือคุณจะดูแลทั้งหมดเองก็ตาม หรือดูแลเองบางส่วนและให้ชไนเดอร์ฯ ดูแลบางส่วนก็ได้เช่นกัน  คุณสามารถเริ่มจากโมเดลหนึ่งก่อน แล้วค่อยขยับสู่โมเดลอื่นได้โดยง่ายเพื่อให้สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ทางธุรกิจที่เปลี่ยนไป

ข้อมูลเชิงลึกในลักษณะเชิงรุกแบบเรียลไทม์ของ EcoStruxure IT ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดความเสี่ยง รวมถึงการออกแบบให้เป็นระบบเปิด ช่วยให้สามารถมองเห็นและเข้าถึงได้ ตัวอย่างเช่น ผู้ให้บริการสามารถแจ้งให้ลูกค้าทราบว่าจำเป็นต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ UPS ก่อนที่เครื่องจะทำงานล้มเหลว หรือเตือนลูกค้าเกี่ยวกับความเสี่ยงด้านความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากเฟิร์มแวร์ที่ล้าสมัย  ทั้งนี้ สามารถเข้าไปดูทางเลือกต่างๆ ได้จากรายละเอียดด้านล่าง เพื่อเลือกข้อเสนอที่เหมาะกับธุรกิจของคุณ และลองทำแบบทดสอบเพื่อประเมินแนวทางที่ดีที่สุด เมื่อคุณพบทางเลือกที่เหมาะสมกับธุรกิจของคุณแล้ว คุณยังสามารถลงทะเบียนโปรแกรม Edge Software & Digital Services Program เพื่อเริ่มต้นให้บริการได้

เข้าถึง eguide ใหม่เกี่ยวกับบริการด้านการบริหารจัดการพลังงาน

บริการ Managed power คือโอกาสที่ดียิ่งสำหรับผู้ให้บริการ MSPs และผู้ที่ต้องการนำเสนอบริการดังกล่าว และในการตอบสนองความต้องการสำคัญสำหรับลูกค้า ผู้ให้บริการโซลูชันจะได้รับความไว้วางใจและความเชื่อมั่นจากลูกค้า สร้างความผูกพันอันเหนียวแน่นในบทบาทที่ปรึกษาด้านไอทีที่เชื่อถือได้ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโอกาสในการนำเสนอบริการ managed power และวิธีผนวกบริการดังกล่าวไว้ในธุรกิจของคุณ โดยลองเข้าไปดูคำแนะนำผ่านระบบอิเล็คทรอนิกส์ หรือ equide ใหม่ของเราได้ที่ “สุดยอดคัมภีร์การขยายธุรกิจของคุณด้วย Managed Power Services” ซึ่งคู่มือที่มีประโยชน์นี้ จะช่วยแนะนำผู้ให้บริการโซลูชันไอทีก้าวสู่กระบวนการที่ง่าย ทีละขั้นตอน เกี่ยวกับวิธีประเมินและผนวกบริการด้านการบริหารจัดการพลังงานเข้ากับธุรกิจ

เกี่ยวกับชไนเดอร์ อิเล็คทริค

เป้าหมายของชไนเดอร์ อิเล็คทริค คือการช่วยให้ทุกคนใช้พลังงานและทรัพยากรได้เกิดประโยชน์สูงสุด เชื่อมโยงความก้าวหน้าและความยั่งยืนเพื่อประโยชน์ของทุกคน เราเรียกสิ่งนี้ว่า Life Is On

ภารกิจของเราคือการเป็นพันธมิตรด้านดิจิทัลกับคุณ เพื่อสร้างประสิทธิภาพและความยั่งยืน

เราขับเคลื่อนการปฏิรูปสู่ดิจิทัล ด้วยการผสานรวมเทคโนโลยีชั้นนำของโลกด้านพลังงานและกระบวนการจัดการ เข้ากับผลิตภัณฑ์ตั้งแต่จุดเชื่อมต่อปลายทางไปยังคลาวด์ ระบบควบคุม รวมถึงซอฟต์แวร์และการบริการครอบคลุมตลอดวงจรชีวิตการทำงานทั้งหมด เพื่อสร้างศักยภาพในการบริหารจัดการองค์กรแบบบูรณาการ ทั้งสำหรับบ้าน อาคาร ดาต้าเซ็นเตอร์ ระบบโครงสร้างพื้นฐานและอุตสาหกรรม

เราคือบริษัทระดับโลกที่มีการดำเนินงานในระดับท้องถิ่นมากที่สุด เราสนับสนุนมาตรฐานระบบเปิดและระบบนิเวศของคู่ค้าที่มีความมุ่งมั่นแรงกล้าในการทำตามวัตถุประสงค์อย่างมีเป้าหมายร่วมกัน และคุณค่าในการรวมกันเป็นหนึ่งเดียวพร้อมขับเคลื่อนไปข้างหน้าด้วยกัน


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เปิดตัว EcoStruxure Micro Data Center C-Series 43U

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค (Schneider Electric) ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นด้านการจัดการพลังงานและระบบออโตเมชั่นเปิดตัว EcoStruxure™ Micro Data Center  C Series ขนาดใหม่ ให้ความจุถึง 43U โดดเด่นด้วยความจุสูงสุดในสายไมโครดาต้าเซ็นเตอร์ ของชไนเดอร์ อิเล็คทริค สำหรับตลาดคอมเมอร์เชียลและสำนักงาน โดยมาพร้อมเทคโนโลยีทำความเย็นอัจฉริยะเพื่อการปกป้องที่เหนือชั้นและให้ประสิทธิภาพด้านพลังงานที่ดียิ่งขึ้น โดย C-Series รุ่นใหม่ ขนาด 43U เป็นโซลูชันเดียวในตลาดที่สลับโหมดทำความเย็นได้โดยอัตโนมัติใน 3 โหมด ตามความต้องการใช้งานระบบได้แบบเรียลไทม์

โซลูชันใหม่นี้ ช่วยให้ลูกค้าประยุกต์ใช้ไอทีในสภาพแวดล้อมเอดจ์คอมพิวติ้ง หรือคอมเมอร์เชียลได้ง่าย ปลอดภัย และให้ความเสถียร โดยเป็นโซลูชันที่มีขนาดใหญ่สุด เป็นโมเดลที่ใช้งานได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้ไม่จำเป็นต้องสร้างห้องไอที ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการลงทุนถึง 48 เปอร์เซ็นต์ ใช้เวลาน้อยลง 20 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ ยังช่วยให้ผู้ใช้ประหยัดค่าใช้จ่ายด้านวิศวกรรมได้ถึง 40 เปอร์เซ็นต์ และช่วยลดค่าซ่อมบำรุงได้ 7 เปอร์เซ็นต์

EcoStruxure Micro Data Centers ของเรา ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและความปลอดภัยด้วยระบบโครงสร้างทางกายภาพที่เชื่อมต่อกัน ช่วยลดต้นทุนการดำเนินงาน ด้วยแพลตฟอร์มด้านการบริหารจัดการบนคลาวด์ อีกทั้งช่วยลดความซับซ้อนในการออกแบบและนำมาปรับใช้งาน โดย EcoStruxure Micro Data Center C-Series 43U เป็นโซลูชันล่าสุดที่เข้ามาเสริมทัพ โดยให้ความจุแร็คเพิ่มมากขึ้น ประหยัดขึ้น และมีฟีเจอร์ที่บิวด์-อินมาเยอะขึ้น ช่วยตอบโจทย์ความท้าทายด้านสภาพแวดล้อมการใช้งานในส่วนคอมเมอร์เชียล” นายฌอง เบพติสต์ ปลานย์ รองประธาน ฝ่ายบริหารจัดการในการนำเสนอผลิตภัณฑ์แร็คและระบบเอดจ์ ด้านการบริหารจัดการพลังงาน ชไนเดอร์ อิเล็คทริค “EcoStruxure Micro Data Center C-Series 43U ช่วยเติมเต็มช่องว่างในตลาด ด้วยการออกแบบที่คำนึงถึงมืออาชีพด้านไอทีและผู้ให้บริการโซลูชันไอที เพื่อช่วยให้มั่นใจได้ว่าสภาพแวดล้อมทางดิจิทัลจะยังคงรองรับการใช้งานได้ตลอดเวลา”

โซลูชันการบริหารจัดการเอดจ์ที่ครบวงจร

MDC C-Series ขนาด 43U เป็นโซลูชันบริหารจัดการเอดจ์ที่สมบูรณ์แบบ โดยสามารถตรวจสอบการทำงานได้จากระยะไกล ด้วยซอฟต์แวร์ EcoStruxure IT และบริการด้านดิจิทัล ซึ่งสายผลิตภัณฑ์ด้านซอฟต์แวร์และการบริการด้านดิจิทัลของชไนเดอร์ อิเล็คทริค มอบขุมพลังและความยืดหยุ่นให้ลูกค้าในการบริหารจัดการอุปกรณ์สำคัญในระบบโครงสร้างพื้นฐานได้อย่างราบรื่นด้วยตัวเอง ร่วมกับคู่ค้า หรือใช้บริการวิศวกรผู้เชี่ยวชาญของชไนเดอร์ อิเล็คทริค มาช่วยบริหารจัดการให้

MDC C-Series ขนาด 43U ออกแบบมาเพื่อผู้ให้บริการโซลูชันไอที ตัวแทนจำหน่าย และพันธมิตร ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีในภาคส่วนต่างๆ อาทิ ธนาคาร การบริการด้านการเงิน ค้าปลีก เฮลธ์แคร์ ภาครัฐฯ และสถาบันการศึกษา ซึ่ง MDC C-Series ขนาด 43U เหมาะสำหรับสภาพแวดล้อมและการดำเนินงานที่มีความหนาแน่นอยู่ในระดับต่ำจนถึงปานกลาง และเหมาะสำหรับสภาพแวดล้อมที่ไม่มีการควบคุมความเย็นและความชื้นตลอด 24 ชั่วโมง แต่มีระบบไอทีที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เช่น ห้องซัพพลาย ตู้สำหรับใส่อุปกรณ์ไอที และพื้นที่สำนักงาน

ประโยชน์ของ 43U C-Series ใหม่

  • เทคโนโลยีการทำความเย็นเปี่ยมประสิทธิภาพด้านพลังงาน สามารถสลับโหมดทำความเย็นได้โดยอัตโนมัติถึง 3 โหมด ได้แก่ โหมดแอคทีฟ โหมด Eco และในโหมดฉุกเฉิน ได้ตามความต้องการใช้งานระบบนั้นๆ ได้แบบเรียลไทม์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านพลังงาน และเสริมการป้องกันจากการสะสมของไฟฟ้าสถิต และความร้อนสูงที่เกินไป
  • ให้พื้นที่ในตู้มากขึ้น ให้ความจุภายในสูงสุดในสายผลิตภัณฑ์ EcoStruxure Micro Data Center รุ่น C-Series สำหรับคอมเมอร์เชียล โดยมีพื้นที่ใช้สอยสูงสุด 36U
  • เหมาะสำหรับสภาพแวดล้อมด้านคอมเมอร์เชียล และการใช้งานภายในอาคาร เพื่อตอบโจทย์ความท้าทายเรื่องปัญหาฝุ่น ความผันผวนของพลังงาน การควบคุมอุณหภูมิที่มีการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ฉับพลัน และสถานที่ตั้งที่ไม่ปลอดภัยซึ่งไม่ได้สร้างขึ้นมาโดยเฉพาะสำหรับอุปกรณ์ไอทีที่มีความละเอียดอ่อน

EcoStruxure Micro Data Center ช่วยให้ผู้ใช้สามารถกำหนดมาตรฐานการออกแบบในสภาพแวดล้อมที่หลากหลายและสั่งซื้อได้ทั้งที่เป็นโซลูชันเดี่ยว และแบบออล-อิน–วัน ช่วยให้นำมาปรับใช้งานได้โดยง่ายและบำรุงรักษาได้ง่ายขึ้นเช่นกัน ซึ่งชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้มอบทั้งเครื่องมือในการออกแบบที่ดีที่สุด รวมถึง Local Edge Configurator และจัดจำหน่ายระดับโลก ระบบนิเวศด้านคู่ค้าและพันธมิตรไอที ตลอดจนการรับรองมาตรฐานระดับโลกและการดำเนินงานที่สอดคล้องตามกฎระเบียบข้อบังคับ #EcoStruxure #LifeIsOn #IoT #EdgeComputing

สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมของ EcoStruxure Micro Data Center C-Series 43U ใหม่ล่าสุดได้ที่ https://bit.ly/3viDOEP


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ขยายศักยภาพ PowerTag Energy Sensor รองรับกระแสไฟฟ้าสูงถึง 2000A

กรุงเทพฯ – 28 เมษายน 2564: ชไนเดอร์ อิเล็คทริค (Schneider Electric) ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นในการจัดการพลังงานและระบบออโตเมชั่นอัพเดต ผลิตภัณฑ์ PowerTag Sensor เพิ่มรุ่นที่รองรับกระแสไฟได้ถึง 2000A ซึ่งเป็นเซ็นเซอร์พลังงาน Class 1 แบบไร้สายที่เล็กที่สุดในโลก ออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบการใช้พลังงานไฟฟ้า มาพร้อมการเชื่อมต่อที่ง่ายและกะทัดรัดสำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าโดยใช้การสื่อสารแบบไร้สาย โดย PowerTag Energy ให้การตรวจสอบและการวัดพลังงานที่แม่นยำทั้งในการใช้พลังงานภาพรวมและระดับโหลด

ใหม่รองรับได้ถึง 2000 A
PowerTag Energy ใหม่ เพิ่มสมรรถนะในการรองรับกระแสไฟสูงขึ้น ด้วยผลิตภัณฑ์ใหม่ PowerTag Flex ที่รองรับกระแสได้ 160 A และ PowerTag Rope รองรับกระแสได้ตั้งแต่ 600 A ถึง 2000 A นับว่า PowerTag Energy ของชไนเดอร์ อิเล็คทริค มีความสามารถในการรองรับกระแสไฟได้อย่างครอบคลุมมากถึง 2000A ไม่ว่าจะเป็น PowerTag Energy รุ่นเดิมในระดับเริ่มต้นที่รองรับกระแสได้ 63 A และPowerTag Energy ชนิดที่ใช้กับ NSX Circuit Breaker ที่รองรับกระแสได้ 250/630 A นับเป็นการนำเสนอที่ครอบคลุมทุกความต้องการใช้งานอย่างแท้จริง

ครั้งแรกของเซ็นเซอร์ตรวจจับกระแสไฟฟ้า
PowerTag Energy ถูกออกแบบมาสำหรับอาคาร และโรงงานทุกประเภท ช่วยตรวจวัดกระแสไฟฟ้า รวมถึงแรงดัน กำลังไฟฟ้า ค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้า และค่าพลังงานไฟฟ้า โดยข้อมูลจะถูกส่งผ่านคลื่นวิทยุแบบไร้สายไปยัง concentrator ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นสัญญาณ Modbus TCP/IP ส่งข้อมูลให้กับระบบบริหารจัดการพลังงาน ระบบบริหารจัดการอาคาร หรือระบบ SCADA ของโรงงานได้ โดยผู้ใช้สามารถดูผ่านหน้าเว็บเพจ พร้อมปรับแต่งให้มีการแจ้งเตือนผ่านอีเมล และSMSได้ (โดยใช้อุปกรณ์เสริม) ทั้งยังช่วยให้ผู้ดูแลระบบไฟฟ้า สามารถตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าได้จากระยะไกล ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่เป็นการสื่อสารผ่านระบบไร้สายโดยไร้สิ่งรบกวน สามารถติดตั้งและใช้งานได้อย่างง่ายดายในทันที

PowerTag Energy เป็นส่วนหนึ่งของโซลูชัน EcoStruxure POWER ให้ศักยภาพใหม่สำหรับระบบพลังงาน และการดำเนินงานต่างๆ เพื่อการบริหารจัดการพลังงาน สำหรับตู้จ่ายไฟฟ้า โดยไม่ต้องเปลี่ยนตู้ หรือเบรกเกอร์ใหม่ เพียงแค่เพิ่ม PowerTag Energy เข้าไปก็เปลี่ยนระบบจ่ายพลังงานแบบธรรมดาให้สามารถมอนิเตอร์ได้ทันที เรียกได้ว่าเป็นการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นด้านพลังงาน โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่
• เซ็นเซอร์วัดค่าพลังงานไฟฟ้าแบบไร้สายที่เล็กที่สุดในโลก ระดับคลาส 1 สนับสนุนโปรแกรมด้านประสิทธิภาพพลังงาน (European EED and EPBD and standards IEC 60364-8-1, EN 17267, ISO 50001) มีฟีเจอร์บริหารจัดการพลังงาน (จัดสรรค่าใช้จ่าย และการเรียกเก็บเงินย่อย) ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานสากล IEC 61557-12
• การสื่อสารไร้สายที่มีเสถียรภาพ เป็นไปตามมาตรฐานสากล
• ฟีเจอร์การแจ้งเตือนเมื่อเกิดปัญหากับโหลด เช่น การสูญเสียแรงดันไฟฟ้า หรือไฟฟ้าเกินกำลัง
• การติดตั้งและการตรวจสอบระบบ ให้ความรวดเร็วและง่าย ใช้เวลาน้อยในการตรวจสอบระบบและการรวมระบ
• ปรับขยายความสามารถได้ ง่ายต่อการปรับเพื่อให้รองรับกฎระเบียบใหม่ ความต้องการในการใช้งาน หรือความจำเป็นทางธุรกิจที่เปลี่ยนไป

“PowerTag Energy เป็นระบบมอนิเตอร์พลังงานแห่งอนาคตอย่างแท้จริง ด้วยเทคโนโลยีไร้สายแบบแยกส่วน ที่มาในขนาดกะทัดรัด สามารถนำมาเสริมการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ป้องกันระบบจ่ายไฟฟ้าได้อย่างรวดเร็ว PowerTag Energy มีฟีเจอร์การวัดและการแจ้งเตือนที่ใกล้กับโหลดมากที่สุด พร้อมการสื่อสารในแบบที่ต้องยืนยันตัวตน และมีการเข้ารหัส” แพทริเซีย ลอบี ผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์ PowerTag Energy ชไนเดอร์ อิเล็คทริค กล่าว “ที่ผ่านมา การวัดพลังงานมักจะอยู่ที่วงจรหลักของเซอร์กิตเบรกเกอร์ และให้ภาพรวมระบบไฟฟ้าเพียงกว้างๆ แต่ปัจจุบัน ลูกค้าของเราต้องการรู้ถึงการทำงานที่เหมาะสมของโหลดหลัก การใช้พลังงานในแต่ละพื้นที่หรือในกระบวนการต่างๆ อีกทั้งต้องการสื่อสารร่วมกับอุปกรณ์ต่างๆ ที่ติดตั้งได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งในความเป็นจริง การดำเนินการทางธุรกิจ โดยไม่มีกลยุทธ์ด้าน IoT คือการมองข้ามโอกาสใหม่ๆ จำนวนมหาศาล ในการสร้างผลกระทบด้านประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การปรับปรุงความยืดหยุ่น และสร้างคุณค่าใหม่”

ประโยชน์สำคัญของ PowerTag Energy
• ประหยัดพื้นที่: PowerTag Energy คือนวัตกรรมชั้นนำในอุตสาหกรรมเซ็นเซอร์วัดพลังงาน ซี่งสามารถประกบติดกับเบรกเกอร์ได้โดยตรง โดยไม่ต้องใช้พื้นที่ติดตั้งทั้งในแนวนอน หรือในแผงไฟฟ้า ซึ่งเหมาะสำหรับการติดตั้งทั้งสำหรับโครงการใหม่ และเพิ่มเติมจากโครงการเดิม
• ติดตั้งง่าย: ลดเวลาในการติดตั้งได้ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ และด้วยคุณสมบัติการสื่อสารแบบไร้สาย ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาในการจัดวางสาย
• อุปกรณ์แบบแยกส่วน ให้ความยืดหยุ่น และปรับขยายได้: ปรับให้รองรับความต้องการทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลง และกฎระเบียบด้านพลังงานหรือมาตรฐานการรับรองต่างๆ และสามารถติดตั้งเพิ่มเติมได้ในทุกอุปกรณ์
• ความสามารถในการรองรับกระแสไฟ: สามารถรองรับกระแสได้สูงสุดถึง 2000A ด้วยระบบเซ็นเซอร์แบบไร้สาย
• ให้การเชื่อมต่อขั้นสูง: นวัตกรรมที่เพิ่มศักยภาพให้กับโซลูชัน EcoStruxure

PowerTag Energy เป็นหนึ่งในแพลตฟอร์ม EcoStruxure ของชไนเดอร์ อิเล็คทริค (Schneider Electric) ที่มอบโซลูชั่นการมอนิเตอร์และการควบคุมแบบครบวงจร สำหรับอาคาร ระบบส่งจ่ายไฟฟ้า โรงงานอุตสาหกรรม และดาต้าเซ็นเตอร์สำหรับลูกค้า ทั้งนี้ PowerTag Energy เป็นส่วนเสริมที่สำคัญสำหรับผลิตภัณฑ์เชื่อมต่อชั้นนำในอุตสาหกรรมของบริษัท ที่นำเสนอและเป็นแพลตฟอร์มใหม่ที่ให้คุณค่าภายในเครือข่ายการจ่ายพลังงานที่เชื่อมต่อและผสานการทำงานร่วมกัน

ข้อมูลเพิ่มเติมของ PowerTag Energy คลิก!!! https://www.se.com/th/th/product-range-presentation/63626-powertag/
Hashtags: #EcoStruxurePower #IIoT #LifeIsOn #PowerTag

เกี่ยวกับชไนเดอร์ อิเล็คทริค
เป้าหมายของชไนเดอร์ อิเล็คทริค คือการช่วยให้ทุกคนใช้พลังงานและทรัพยากรได้เกิดประโยชน์สูงสุด เชื่อมโยงความก้าวหน้าและความยั่งยืนเพื่อประโยชน์ของทุกคน เราเรียกสิ่งนี้ว่า Life Is On
ภารกิจของเราคือการเป็นพันธมิตรด้านดิจิทัลกับคุณ เพื่อสร้างประสิทธิภาพและความยั่งยืน
เราขับเคลื่อนการปฏิรูปสู่ดิจิทัล ด้วยการผสานรวมเทคโนโลยีชั้นนำของโลกด้านพลังงานและกระบวนการจัดการ เข้ากับผลิตภัณฑ์ตั้งแต่จุดเชื่อมต่อปลายทางไปยังคลาวด์ ระบบควบคุม รวมถึงซอฟต์แวร์และการบริการครอบคลุมตลอดวงจรชีวิตการทำงานทั้งหมด เพื่อสร้างศักยภาพในการบริหารจัดการองค์กรแบบบูรณาการ ทั้งสำหรับบ้าน อาคาร ดาต้าเซ็นเตอร์ ระบบโครงสร้างพื้นฐานและอุตสาหกรรม
เราคือบริษัทระดับโลกที่มีการดำเนินงานในระดับท้องถิ่นมากที่สุด เราสนับสนุนมาตรฐานระบบเปิดและระบบนิเวศของคู่ค้าที่มีความมุ่งมั่นแรงกล้าในการทำตามวัตถุประสงค์อย่างมีเป้าหมายร่วมกัน และคุณค่าในการรวมกันเป็นหนึ่งเดียวพร้อมขับเคลื่อนไปข้างหน้าด้วยกัน


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

อนาคตโครงสร้างพื้นฐานธุรกิจค้าปลีก ขึ้นอยู่กับเครือข่ายที่ยืดหยุ่น และเอดจ์ดาต้าเซ็นเตอร์

โดย ราเจช ธานการาจ Edge Solutions Evangelist หน่วยธุรกิจ Secure Power ชไนเดอร์ อิเล็คทริค (Schneider Electric)

สิ่งที่เกิดในปี 2020 ได้เปลี่ยนแนวทางการปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าในอุตสาหกรรมค้าปลีก ด้วยข้อจำกัดที่ยังคงเปลี่ยนแปลงอยู่อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนความไม่แน่นอนที่อาจทำให้เกิดการล็อคดาวน์ขึ้นอีกในอนาคต ทำให้เห็นได้ชัดเจนว่าผู้ค้าปลีกไม่สามารถพึ่งพาแค่การขายหน้าร้านอย่างเดียวเพื่อสร้างยอดขายได้อีกต่อไป

โดยเฉพาะผู้บริโภคในช่วงเวลานี้ ต่างกำลังมองหาทางเลือกอื่นในการช็อปปิ้ง เช่น การสั่งซื้อทางออนไลน์ ที่มีบริการจัดส่งให้ถึงบ้าน หรือการคลิกซื้อและไปรับสินค้าที่ร้านค้า หรือดูสินค้าจากเว็บและไปช้อปปิ้งที่ร้านค้า ผู้บริโภคล้วนต้องการหาทางเลือกที่มอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดและให้ความสะดวกสบายสูงสุดในการจับจ่ายสินค้า

การจะประสบความสำเร็จได้ ผู้ค้าปลีกต้องนำเทคโนโลยีดิจิทัล และทางเลือกเรื่องของระบบออนไลน์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างตัวตนในระบบดิจิทัลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งผู้ค้าปลีกสามารถขยายกลุ่มเป้าหมายได้มากกว่าฐานลูกค้าที่มีอยู่ตามปกติ โดยใช้โฆษณาดิจิทัลเพื่อมุ่งเป้าไปยังผู้บริโภคที่ต้องการเจาะจง และเข้าถึงฐานข้อมูลในรถเข็น (cart) ที่ไม่เคยได้ใส่ใจดู และอื่น ๆ อีกมากมายเพราะความเป็นไปได้นั้นมีอยู่อย่างไม่สิ้นสุด

นำเสนอในร้านค้าให้มากกว่า
การนำเสนอที่ครอบคลุมและสอดคล้องกันในทุกภาคส่วน เป็นสิ่งที่ลูกค้าต้องการและเพื่อให้ได้ผลที่ดีเยี่ยม ร้านค้าปลีกจำต้องลงทุนในเทคโนโลยีเช่น IoT, AR และ AI

เนื่องจากลูกค้ากลายเป็นผู้ซื้อที่ฉลาดขึ้น พื้นที่ในร้านค้าปลีกจึงจำเป็นต้องนำเสนอมากกว่าแค่การโชว์สินค้า ร้านค้าต้องนำเสนอประสบการณ์ด้านแบรนด์สินค้าที่น่าประทับใจและเป็นที่จดจำ ประสบการณ์ของแบรนด์เหล่านี้อาจเกิดจากการสร้างความผูกพันของลูกค้าด้วยตัวคน (human touch) หรือเทคโนโลยี เช่น VR และ AR ลองนึกภาพร้านค้าที่คุณสามารถเล่นเกมบาสเก็ตบอลด้วยรองเท้าคู่ใหม่ของคุณ หรือคุณได้ลองเสื้อผ้าผ่านกระจก AR โดยไม่ต้องเปลี่ยนเสื้อผ้าจริงๆ

พื้นที่ค้าปลีกที่คิดค้นขึ้นใหม่นี้ จะต้องใช้โครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น แต่ก็ไม่ได้อยู่บนคลาวด์ซะทั้งหมด

ประโยชน์ของเอดจ์ (Edge)
…ทำไมต้องใช้ เอดจ์คอมพิวติ้ง (Edge Computing)
…ทำไมไม่ใช่แค่ระบบคลาวด์
แม้การประมวลผลแบบคลาวด์ให้ประโยชน์ต่างๆ มากมาย รวมถึงศักยภาพในการปรับขยายระบบ พร้อมให้ความยืดหยุ่นก็จริง อย่างไรก็ตามก็ยังมีข้อจำกัดในเรื่องการเชื่อมต่อเครือข่าย และความล่าช้าในการตอบสนอง (latency) ในขณะที่การประมวลผลแบบเอดจ์ ให้ประสิทธิภาพ และการเชื่อมต่อที่น่าเชื่อถือยิ่งขึ้น ช่วยให้ระบบทำงานต่อไปได้แม้ว่าเครือข่ายจะล้มเหลวก็ตาม

สำหรับผู้ประกอบการร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมเกือบ 90 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ทั่วโลกยังคงมาจากการขายในร้านค้าปกติ ด้วยเหตุนี้ร้านค้าประเภทนี้จึงลงทุนในเรื่องของ อุปกรณ์ช่วยในการประมวลผลที่อยู่ใกล้กับผู้ซื้อมากที่สุด ในส่วนของหน้าร้านของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม จะมีเครือข่ายที่ประกอบด้วย ห้องเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็ก และเครื่องบันทึกเงินสด พร้อม UPS หรือเครื่องสำรองไฟฟ้าเฉพาะสำหรับร้าน ซึ่งสภาพแวดล้อมเอดจ์แบบใหม่ของร้านค้า จะมุ่งเน้นที่การมอบประสบการณ์ดิจิทัลให้กับลูกค้า และต้องอาศัยแอปพลิเคชันเอดจ์แบบใหม่ที่ให้ข้อมูลที่นำไปใช้งานได้ ในการดำเนินการดังกล่าวฝ่ายไอทีของร้านค้าปลีก ต้องออกแบบจัดวางอุปกรณ์ไอทีไปไว้ที่เอดจ์ หรือใกล้ตำแหน่งการใช้งานที่มากขึ้น เพื่อให้มั่นใจว่าองค์ประกอบทางกายภาพและในระบบดิจิทัลจะผสานการทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น นอกจากนี้การโฮสต์แอปพลิเคชันเหล่านี้ไว้ที่เอดจ์จะช่วยปรับปรุงเรื่องการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ สินค้าคงคลังและซัพพลายเชน เพื่อช่วยลดต้นทุนได้ด้วย

เนื่องจากเอดจ์ได้กลายเป็นจุดเชื่อมต่อที่สำคัญสำหรับการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลในพื้นที่ ซึ่งไมโครดาต้าเซ็นเตอร์จะให้ระบบโครงสร้างพื้นฐานแบบบูรณาการที่สามารถตั้งค่าการทำงานล่วงหน้าได้ในแบบ plug and play ซึ่งโหนดของเอดจ์เหล่านี้จะถูกบริหารจัดการผ่านซอฟต์แวร์ระยะไกล ช่วยให้เจ้าหน้าที่ไอทีสามารถดูแลให้ระบบทำงานต่อไปได้ แม้ว่าจะไม่ได้อยู่ที่หน้างานก็ตาม

เทคโนโลยีช่วยให้ทุกอย่างดำเนินต่อไปได้
ไม่มีอะไรเลวร้ายไปกว่าการต้องเสียลูกค้าไปในระหว่างขั้นตอนการชำระเงิน ไม่ว่าจะเป็นร้านค้าออนไลน์หรือในร้านค้าปกติก็ตาม ลูกค้ามักจะไม่อดทนรอในเวลาที่ซอฟต์แวร์ประมวลผลการขายมีปัญหา และต้องใช้เวลานานกว่าจะกลับมาทำงานได้ตามปกติ อย่าปล่อยให้เรื่องนี้เกิดขึ้นกับการขายของคุณ ควรลงทุนในเทคโนโลยีที่จำเป็นเพื่อให้ทุกอย่างใช้งานได้ดีและต่อเนื่อง เทคโนโลยี อย่างตู้แร็ก หรือ ระบบไมโครดาต้าเซ็นเตอร์ UPS ระบบรักษาความปลอดภัย ตลอดจนเครื่องมือบริหารจัดการแบบคลาวด์เบส ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของสถาปัตยกรรมเอดจ์ที่แข็งแกร่ง


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ผนึกกระบวนการดิจิทัลเข้ากับพลังงานไฟฟ้า เพื่ออนาคตอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน

การแพร่ระบาดเข้ามาเปลี่ยนวิถีชีวิตประจำวันของเราและโลกที่แวดล้อมเราตลอดกาล เราทุกคนต่างมีมุมมองต่อสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันไป เพราะภัยจากปรากฏการณ์ธรรมชาติกลายเป็นเรื่องที่สัมผัสได้ชัดเจนมากขึ้นทุกวัน

ในขณะที่จำนวนประชากรมีการขยายตัวมากขึ้น ความเป็นสังคมเมืองและโลกาภิวัฒน์ ก็ก่อให้เกิดการแพร่กระจายของไวรัส องค์ประกอบเหล่านี้ ยังทำให้เกิดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนมากขึ้น และเป็นสาเหตุที่สร้างผลกระทบในแง่ลบต่อสภาพแวดล้อม  แม้ว่าเราต้องการมุ่งเน้นที่ปัญหาท้าทายในปัจจุบัน แต่ก็ต้องไม่ลืมความท้าทายที่จะเกิดในอนาคตด้วย การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นความท้าทายครั้งใหญ่ที่สุดมาโดยตลอด โดยผู้คนจำนวนเกือบหนึ่งในสามของโลกกำลังมองว่าปัญหาดังกล่าว ถือเป็นความเร่งด่วนระดับโลกในตอนนี้ ซึ่งไม่สามารถละเลยได้อีกต่อไป

ในความเป็นจริง เราเป็นคนรุ่นที่สามารถแก้ไขสิ่งต่างๆ ได้มากที่สุด จริงๆ แล้ว เราอาจจะเป็นคนรุ่นสุดท้ายที่สามารถเปลี่ยนแปลงอนาคตและทำสิ่งที่ถูกต้องต่อไปในการแก้ไขเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หน้าที่ของเราคือการใช้ความรู้และเครื่องมือที่มีอยู่รอบตัว นำพาเราไปสู่การต่อสู้เพื่อทำให้สภาพภูมิอากาศมีความเสถียรมากที่สุด เครื่องมือเหล่านี้ประกอบด้วยเทคโนโลยีใหม่ที่สามารถนำเราไปสู่ความยืดหยุ่นได้อย่างมั่นคงยิ่งขึ้น หัวใจหลักสองประการที่ช่วยแก้สถานการณ์ที่ยากลำบากนี้ คือเทคโนโลยีดิจิทัล และพลังงานไฟฟ้า


ปีเตอร์ เฮอร์เว็ค
รองประธานบริหาร ฝ่ายออโตเมชั่นสำหรับอุตสาหกรรม ชไนเดอร์ อิเล็คทริค(
Schneider Electric)

อนาคตที่ไร้ขีดจำกัดอย่างแท้จริง

นวัตกรรมที่โดดเด่นมากที่สุดที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงมนุษยชาติ ก็คือเทคโนโลยีดิจิทัล  ลองนึกถึงการที่เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาปฏิวัติวิถีการทำงานและการใช้ชีวิตร่วมกัน ปฐมบทแรกของอินเตอร์เน็ต คือเรื่องเกี่ยวกับการเชื่อมต่อระหว่างผู้คน ส่วนบทต่อไป จะเป็นเรื่องการปฏิวัติแนวทางการใช้ชีวิตและการเชื่อมต่อกับสภาพแวดล้อมของเรา ซึ่งจะเป็นเรื่องระหว่างแมชชีนด้วยกันเอง และระหว่างมนุษย์กับแมชชีน ความเป็นไปได้ในเรื่องเหล่านี้มาจากการผสมผสานที่ลงตัวของ Internet of Things ซึ่งเชื่อมต่อทุกสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา และ big data ซึ่งเป็นการเก็บและรวบรวม อีกทั้งวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ในดาต้าเซ็นเตอร์ เพื่อเปลี่ยนเป็นมุมมองเชิงลึกที่สำคัญ และในวันนี้ ความสามารถในการฝึกฝนแมชชีนและใช้อัลกอริธึมมาช่วยให้ข้อมูลทั้งหมดมีความหมาย กลายเป็นความสามารถที่ไร้ขีดจำกัดอย่างแท้จริง

การเปลี่ยนกระบวนการสู่ดิจิทัล สร้างอนาคตที่พึงปรารถนาได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นการดำรงชีวิตโดยมีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง พร้อมด้วยบ้านอัจฉริยะ อาคารอัจฉริยะ โรงงานอัจฉริยะ ระบบโครงสร้างพื้นฐานอัจฉริยะ และเมืองอัจฉริยะ นวัตกรรมเหล่านี้ล้วนใช้ข้อมูลและเทคโนโลยีส์ดิจิทัล มาช่วยให้เราแบ่งปันและอนุรักษ์ทรัพยากรที่เราใช้กันอยู่ได้ดียิ่งขึ้น

มุ่งไปข้างหน้าด้วยพลังงานไฟฟ้าสีเขียว

เทคโนโลยีอันดับสอง ซึ่งอาจจะดูไม่ค่อยน่าตื่นตาตื่นใจเท่าไหร่ เพราะเป็นเทคโนโลยีที่มาหลายปีแล้ว นั่นคือ พลังงานไฟฟ้าสีเขียว (green electricity)  ให้คิดถึงเรื่องพลังงานแสงอาทิตย์ ไมโครกริด อาคารที่ใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์ (net-zero building) และยานยนต์ไฟฟ้า ทั้งนี้ พลังงานไฟฟ้า นับเป็นหนทางเดียวที่จะช่วยให้ใช้พลังงานได้แบบปลอดคาร์บอน ดั้งนั้นจึงควรเตรียมพร้อมสำหรับโลกที่เป็นระบบไฟฟ้ามากยิ่งขึ้น แต่สิ่งที่จะมุ่งไป ไม่ใช่พลังงานไฟฟ้าเหมือนแต่ก่อน แต่จะเป็นพลังงานไฟฟ้าทดแทน นั่นคืออนาคตสีเขียว

ขั้นตอนสำคัญสู่อนาคตที่ยั่งยืน

ที่ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เราได้ทำงานร่วมกับบุคคลระดับสมองและบริษัทอื่นๆ เพื่อหาสมการที่ช่วยผลักดันจากสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันไปสู่อนาคตที่ยั่งยืนได้ตามต้องการ

เรามองเห็นตัวแปรที่เรียบง่าย 4 ประการในสมการดังกล่าว

  1. ดิจิทัล เราสามารถสร้างประสิทธิภาพมากขึ้นได้ในทุกที่ ต้องขอบคุณดิจิทัล เพราะการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ ไม่ว่าจะใช้กับอาคารอัจฉริยะ โรงงานอัจฉริยะ หรือเมืองอัจฉริยะในทุกที่ ช่วยให้เราสามารถบรรลุการเปลี่ยนแปลงเรื่องประสิทธิภาพจากจุดที่เราเป็นอยู่ในปัจจุบันได้
  2. การหมุนเวียน เป็นเรื่องของการสร้างความมั่นใจว่าทุกสิ่งที่เราทำเป็นการปลูกฝั่งเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียนให้ได้มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
  3. ไฟฟ้า ในอีกไม่กี่ปีที่จะถึงนี้ สัดส่วนของพลังงานไฟฟ้าในทุกเรื่องจะขยายเพิ่มเป็นสองเท่า เราพูดกันมามากถึงเรื่องพลังงานไฟฟ้า แต่ปัจจุบันไฟฟ้าคิดเป็นอัตราแค่ 20 เปอร์เซ็นต์ของพลังงานที่เราใช้กันอยู่ โดยในอีก 20 ปี คาดว่าจะเพิ่มเป็นสองเท่าคือ 40 เปอร์เซ็นต์
  4. สามารถทดแทนได้ ปัจจุบัน พลังงานไฟฟ้าสามารถทดแทนได้ 6 เปอร์เซ็นต์ โดยในอีกไม่ช้า จะสามารถทดแทนได้ 40 เปอร์เซ็นต์

และไม่ใช่การนั่งรอให้ตัวแปรใดหนึ่งในสมการเหล่านี้ เกิดขึ้น ถึงจะเริ่มมุ่งเน้นที่เรื่องนั้น เราต้องทำทุกอย่างไปในแบบคู่ขนาน เราไม่สามารถรอให้ทุกสิ่งที่เราสร้างขึ้นในวันนี้ อยู่ไปอีกหลายๆ ปีข้างหน้า เพราะถ้าเราต้องการแก้ปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เราต้องเริ่มดำเนินการเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดตั้งแต่วันนี้

ความยั่งยืน สร้างความยืดหยุ่น

การแพร่ระบาด และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นับเป็นภัยคุกคามที่ใหญ่ที่สุดต่ออนาคตของสังคมที่เราอยู่ จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่เราจะต้องลุกขึ้นมาและสร้างโลกที่ยั่งยืน โดยยึดความยืดหยุ่นเป็นศูนย์กลาง ก้าวไปข้างหน้าด้วยแรงขับเคลื่อนที่ต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการบรรลุสู่อนาคตที่ยืดหยุ่นและยั่งยืนได้อย่างแท้จริง และเป็นสิ่งสำคัญสำหรับโลกใบนี้

โควิด-19 อาจจะเปลี่ยนจุดมุ่งเน้นของเรา แต่ก็ช่วยย้ำให้เราเห็นถึงความจำเป็นในการปรับเปลี่ยนและสร้างความคล่องตัว ด้วยสภาพเศรษฐกิจที่อยู่ภายใต้ความกดดัน โควิดจึงเป็นเสมือนเสียงเรียกที่ปลุกให้เราตระหนักมากขึ้นและสร้างความยั่งยืนในระยะยาว บริษัทต่างๆ ต้องยอมรับว่าตัวเองสามารถทำให้ทุกอย่างดีขึ้นได้ และต้องให้ความสำคัญกับเรื่องความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจทั้งหมด

สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจว่าใช้พลังงานจากที่ไหนและใช้อย่างไร พลังงานสูญหายหรือเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ที่ไหนและอย่างไรเช่นกัน และด้วยประเด็นนี้ จึงทำให้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทสำคัญ ระบบเซ็นเซอร์ช่วยมอนิเตอร์เรื่องประสิทธิภาพ ซอฟต์แวร์ที่เชื่อมงานส่วนปฏิบัติการเข้ากับระบบไอที ระบบออโตเมชั่นและการวิเคราะห์จะช่วยให้องค์กรและบุคคลทั่วไปสามารถบริหารจัดการและใช้สภาพแวดล้อมได้อย่างเหมาะสมไม่ว่าจะที่ทำงานหรือที่บ้านก็ตาม ข่าวดีก็คือเรามีเทคโนโลยีเหล่านี้อยู่แล้ว ขึ้นอยู่กับว่าองค์กรจะตอบรับและนำมาใช้งานเพื่อการันตีเรื่องความยั่งยืนในอนาคตหรือไม่


Exit mobile version