Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค รุกตลาดดาต้าเซ็นเตอร์ ด้วยนวัตกรรมไมโครดาต้าเซ็นเตอร์ และ Easy UPS แบบโมดูลาร์ 3 เฟส

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น ด้านการจัดการพลังงานและระบบอัตโนมัติ จัดทัพนวัตกรรมสำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ ยุคใหม่ ในงาน Future Energy Asia 2024  ด้วย EcoStruxure™ Micro Data Center R-Series มาพร้อมมาตรฐาน IP และ NEMA สำหรับสภาพแวดล้อมแบบเอดจ์ (Edge) ในโรงงาน ครบครันด้วยระบบปรับอากาศในตัว ตอบโจทย์ความต้องการในอุตสาหกรรม 4.0 ด้วยการทำให้ระบบไอทีในโรงงานมีความเสถียรมากขึ้น ถูกออกแบบเพื่อการใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ ให้ความปลอดภัย ช่วยบูรณาการระบบ IT และ OT เข้าด้วยกัน เพื่อสร้างศักยภาพการใช้งาน IIoT เพื่อทำให้ระบบไอทีในโรงงานมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น เหมาะสำหรับระบบอัตโนมัติทุกรูปแบบ

EcoStruxure™ Micro Data Center R-Series ใช้งานง่าย ช่วยในการบริหารจัดการระบบโครงสร้าง เอดจ์ คอมพิวติ้ง เป็นระบบห้องดาต้าเซนเตอร์พร้อมใช้ในขนาดหนึ่งตู้แร็คแบบปิด ที่ประกอบมาล่วงหน้า สามารถตั้งค่าการทำงานได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพลังงาน ระบบทำความเย็น ระบบรักษาความปลอดภัย รวมถึงการบริหารจัดการ มีโมเดลใหม่ให้เลือก 4 แบบทั้งในรุ่นขนาด 15U ขนาด 24U และ 42U สามารถทำความเย็นได้ตั้งแต่ 500 ถึง 2000 วัตต์

ไมโครดาต้าเซ็นเตอร์ ของชไนเดอร์ อิเล็คทริค ยังมาพร้อม EcoStruxure IT Expert ซึ่งเป็นคลาวด์ซอฟต์แวร์ (cloud-based software) ที่ใช้ในการมอร์นิเตอร์และบริหารจัดการสำหรับดาต้าเซ็นเตอร์โดยเฉพาะ สามารถมอร์นิเตอร์ ดูข้อมูลได้จากทุกที่ (remote monitoring)  แบบเรียลไทม์  มี mobile application ทำให้สามารถดูข้อมูลได้อย่างสะดวก รวดเร็วและไม่พลาดทุกการแจ้งเตือนผ่านสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต แม้ไม่ได้อยู่ที่ไซต์งาน ช่วยให้ง่ายต่อการแก้ปัญหา และด้วยฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของชไนเดอร์ อิเล็คทริค ร่วมกับความสมารถของ AI มาช่วยคาดการณ์แนวโน้มและความเสี่ยงของการใช้งานพร้อมให้คำแนะนำในการป้องกันแก้ไขปัญหา ทำให้สามารถลดความเสี่ยงของเหตุขัดข้องอันไม่พึงประสงค์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ให้ความยืดหยุ่นสำหรับสภาพแวดล้อมไอที เพื่อรองรับเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมในยุค 4.0

นอกจากนี้ในงาน ยังพบกับเทคโนโลยี Easy UPS แบบโมดูลาร์ 3 เฟส มาพร้อมระบบอัจฉริยะอาทิ Scalablepower module เป็นสิทธิบัตรของชไนเดอร์ อิเล็คทริค ช่วยให้เวลาในการสลับโหมดการทำงานเป็นศูนย์ ยกระดับความมั่นใจด้วยเทคโนโลยี Live Swap ออกแบบเพื่อการซ่อมบำรุงได้อย่างปลอดภัย ช่วยปกป้องพนักงาน และเสริมความต่อเนื่องให้กับธุรกิจมากขึ้น สามารถถอดเปลี่ยนได้โดยไม่ต้องกำหนดเวลาหยุดทำงาน จึงให้ประสิทธิภาพสูงสุดถึง 99 เปอร์เซ็นต์ รองรับการเพิ่มขนาดใช้งานได้ตั้งแต่ 50-250 กิโลวัตต์

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคโนโลยีอัจฉริยะสำหรับไมโครดาต้าเซ็นเตอร์ และ Easy UPS แบบโมดูลาร์ 3 เฟส ลงทะเบียนล่วงหน้าเพื่อร่วมงาน Future Energy Asia 2024 วันที่ 15 – 17 พฤษภาคม 2567 ณ บูธ EG02 ฮอลล์ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ผู้ประกอบการ และผู้ที่สนใจ สามารถรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญจากชไนเดอร์ อิเล็คทริค ฟรี!!! เพราะทุกเรื่องของพลังงานมีทางออกเสมอ


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำเสนอโซลูชั่นดิจิทัลลุยตลาดอาคารอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืน

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น ด้านการจัดการพลังงาน และระบบอัตโนมัติ เตรียมเปิดตัวเทคโนโลยีและโซลูชั่นซอฟต์แวร์ใหม่ๆ ด้านอาคารในงาน Future Energy Asia และFuture Mobility Asia พร้อมยกทัพระบบการบริหารจัดการพลังงาน สำหรับอาคาร ช่วยยกระดับธุรกิจในประเทศไทย ให้มีความมั่นคงด้านพลังงาน ประสิทธิภาพ และความยั่งยืน

สำหรับองค์กรที่ต้องการยกระดับอาคารไปสู่ความยั่งยืน ทั้งอาคารเก่า หรืออาคารที่กำลังดำเนินการสร้าง สามารถเยี่ยมชมนวัตกรรมไฮไลท์ ได้ที่บูธของชไนเดอร์ อิเล็คทริค ซึ่งจะมีโซลูชั่นทั้งซอฟต์แวร์ และฮาร์ดแวร์ โดยครอบคลุมทั้ง อาคารให้เช่า และอาคารสำนักงาน ห้างสรรพสินค้า โรงแรม โรงพยาบาล และคอนโดมิเนียม ช่วยให้ผู้บริหารสามารถบริหารจัดการอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ

  • อาคารสำนักงาน: โซลูชั่นในการบริหารจัดการพลังงานในอาคาร และระบบอัตโนมัติ ด้วยสถาปัตยกรรมที่ปลอดภัย ให้ศักยภาพด้าน IoT มีความยืดหยุ่น ให้ข้อมูลเชิงลึกและการวิเคราะห์พลังงาน เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ได้อย่างครบวงจรในหนึ่งเดียว ช่วยลดต้นทุนด้านการใช้พลังงาน ที่สำคัญช่วยลดคาร์บอนให้โลกของเราอีกด้วย
  • โรงแรม: โซลูชั่นห้องพักเชื่อมต่อ EcoStruxure สามารถช่วยสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าที่เข้าพัก ด้วยประสบการณ์ห้องพักส่วนตัวที่เชื่อมต่อกับความต้องการของลูกค้าอย่างสมบูรณ์ ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลที่ใช้งานง่าย และยังช่วยเจ้าหน้าที่ สามารถบริหารจัดการห้องพัก และสิ่งอำนวยความสะดวกได้อย่างราบรื่น ทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการห้อง โซนต่างๆ  ส่งผลต่อความสะดวกสบายแก่ผู้เข้าพัก เช่น การปรับแต่งซีน ความสว่าง ให้เหมาะกับผู้เข้าพัก หรือกิจกรรมตามโซนต่างๆ ของโรงแรม หรือห้องพักได้อีกด้วย โซลูชั่นของชไนเดอร์ อิเล็คทริค ไม่ได้มีความสามารถในการบริหารจัดการเพียงโรงแรมเดียว แต่ยังสามารถช่วยในการบริหารจัดการโรงแรมในเครือได้ทั่วโลก
  • เฮลธ์แคร์: ความปลอดภัย มีความมั่นใจ และความผ่อนคลายเป็นสิ่งสำคัญ  ชไนเดอร์ อิเล็คทริค จึงออกแบบโซลูชั่นที่เหมาะสมกับสถานพยาบาลโดยเฉพาะ อาทิ ห้องปฏิบัติการ ห้องผ่าตัด ห้องพักผู้ป่วย โซนไอโซเลชั่น ซึ่ง EcoStruxuture for Healthcare ช่วยให้ผู้ดูแลสามารถวิเคราะห์ และควบคุมในแต่ละโซน แต่ละห้องได้ตามความต้องการ และตามความจำเป็นตามเงื่อนไขทางสุขภาพของคนไข้ และยังสนับสนุนนโยบายเส้นทางสายกรีนที่ยั่งยืนอีกด้วย

นอกจากนี้ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ยังมีการจัดแสดงเทคโนโลยีใหม่ ด้านอาคาร ไม่ว่าจะเป็น

PowerLogic™ P7 Protection Relay แพลตฟอร์มการป้องกันและควบคุม ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ใช้งานง่ายขึ้นเพียงสัมผัส และปรับค่าที่ดีที่สุดให้โดยอัตโนมัติ ได้รับการออกแบบมาเพื่อความยืดหยุ่นที่เหนือชั้นและการใช้งานง่าย ทำให้มั่นใจในความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือของระบบไฟฟ้ากำลัง โดดเด่นด้วยการเชื่อมต่อแบบโมดูลาร์ขั้นสูง และความสามารถในการตรวจสอบสถานะในรูปแบบออนไซต์และออนไลน์ ทั้งยังมอบความปลอดภัยสำหรับเจ้าหน้าที่ที่ดูแล ตลอดจนสินทรัพย์ ขณะเดียวกันก็เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานด้านไฟฟ้าอีกด้วย

PowerTag Energy เซ็นเซอร์อัจฉริยะ ช่วยตรวจวัดกระแสไฟฟ้า รวมถึงแรงดัน กำลังไฟฟ้า ค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้า และค่าพลังงานไฟฟ้า โดยข้อมูลจากการตรวจจับจะถูกส่งให้กับระบบบริหารจัดการพลังงาน โดยผู้ดูแลสามารถดูผ่านหน้าเว็บเพจ หรือให้สามารถแจ้งเตือนไปยังผู้ดูแลระบบไฟฟ้าเมื่อระบบไฟฟ้ามีปัญหา พร้อมสามารถตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าได้จากระยะไกล สามารถติดตั้งและใช้งานได้อย่างง่ายดายในทันที

นอกจากนี้ยังมีนวัตกรรมใหม่สำหรับอาคารอาทิ ซอฟต์แวร์สำหรับการบริหารจัดการอาคาร เพาเวอร์มิเตอร์ดิจิทัลรุ่นใหม่ให้ค่าที่ละเอียดอีกด้วย

ธุรกิจอาคาร โรงงาน หรือผู้วางระบบอาคาร ที่ต้องการอัปเดตเทคโนโลยีสำหรับอาคารที่ยั่งยืน สามารถเข้าเยี่ยมชมได้ ใน วันที่ 15 – 17 พฤษภาคม 2567 ณ บูธ EG02 ฮอลล์ 2 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนล่วงหน้าเพื่อรับของรางวัลในงานได้ที่นี่


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ลุยตลาดดิจิทัลเซอร์วิส เสนอความล้ำในงาน Future Energy Asia

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น ด้านการจัดการพลังงาน และระบบอัตโนมัติ นำเสนอเทคโนโลยีการบริการยุคใหม่ ด้วยดิจิทัล หรือ ดิจิทัลเซอร์วิส ล้ำหน้าด้วยการยกระดับการจัดการระบบไฟฟ้าให้เป็นดิจิทัล ช่วยแก้ปัญหาระบบไฟฟ้าแบบเชิงรุก ให้สามารถคาดการณ์แนวโน้มการซ่อมบำรุงได้ ลดปัญหาการดาวน์ไทม์ของระบบไฟฟ้าแบบฉับพลัน รวมไปถึงการตรวจสอบการเสื่อมของอุปกรณ์ที่มีอยู่ หรือจากปัจจัยสภาวะแวดล้อมต่างๆ

การยกระดับระบบไฟฟ้าอยู่ในรูปแบบดิจิทัล ทำให้สามารถเข้าถึงและมองเห็นภาพรวมทั้งหมดของระบบไฟฟ้า รวมถึงประสิทธิภาพ ในแบบเรียลไทม์ และดูข้อมูลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเชิงป้องกัน วิเคราะห์สถานการณ์ย้อนหลัง และคาดการณ์แนวโน้มของระบบในอนาคตได้อย่างมั่นใจ พร้อมทั้งช่วยลดตุ้นทุนในการซ่อมบำรุง ลดความเสี่ยงและการชัตดาวน์ของระบบ

พบกับนวัตกรรมด้านการบริการและบำรุงรักษาในแบบดิจิทัลสุดล้ำ ของชไนเดอร์ อิเล็คทริค ในงาน Future Energy Asia และFuture Mobility Asia ทุกธุรกิจไม่ว่าจะเป็นอาคาร โรงงาน ห้างสรรพสินค้า หรือธุรกิจที่มีระบบไฟฟ้าขนาดใหญ่ ที่ทุกความล้มเหลวของระบบนับเป็นต้นทุน มาอัปเดตเทคโนโลยีดิจิทัลเซอร์วิสได้ ใน วันที่ 15 – 17 พฤษภาคม 2567 ณ บูธ EG02 ฮอลล์ 2 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ พร้อมลงทะเบียนล่วงหน้าที่ได้ที่นี่

งานนี้ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ยกทัพผู้เชี่ยวชาญมาพร้อมนำเสนอนวัตกรรมไฮไลท์ อาทิ

  • EcoStruxure Service Plans การบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าด้วยบริการดิจิทัลตลอดอายุสัญญา มาพร้อมการจัดหาอุปกรณ์จากชไนเดอร์ อิเล็คทริค รวมถึงอุปกรณ์ IoT และปรับปรุงอุปกรณ์เดิมที่ลูกค้ามีอยู่ ด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยในการทรานส์ฟอร์มระบบไฟฟ้ารูปแบบใหม่ด้วยซอฟต์แวร์ ระบบวิเคราะห์ และอุปกรณ์เชื่อมต่อกับดิจิทัล ช่วยลดความเสี่ยงจากกระแสไฟฟ้าขัดข้อง ลดกิจกรรมด้านการบํารุงรักษา ลดค่าใช้จ่ายในการดําเนินการ ช่วยยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์และสินทรัพย์
  • EcoStruxure Asset Advisor ช่วยเสนอแนวทางในการจ่ายไฟฟ้าและการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้า ประเมินผลข้อมูลแบบเรียลไทม์จากอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เชื่อมต่อ เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ขั้นสูง สามารถระบุปัญหาที่อาจเกิดขึ้น ทำให้สามารถวางแผนป้องกัน และหาแนวทางแก้ไขไว้ล่วงหน้า ให้ความปลอดภัย หลีกเลี่ยงการหยุดทำงานโดยไม่ได้วางแผน ซึ่งลูกค้าหรือผู้ใช้งานสามารถดำเนินการด้วยตนเอง อีกทั้งยังสามารถใช้บริการ Service Bureau ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญจาก ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ที่คอยดูแลและให้บริการตลอด 24×7
  • EcoConsult

o   Power Quality Audit บริการออดิตแบบดิจิทัล แบบเรียลไทม์ โดยวิศวกรที่ชำนาญเฉพาะทางด้าน Power Quality มาพร้อมรายงานการปฏิบัติตามข้อกำหนด พร้อมคำแนะนำในการแก้ปัญหา ช่วยในการวางแผนการป้องกันการเกิด Downtime โดยไม่ได้วางแผนล่วงหน้าอย่างตรงจุด และยังทำให้ระบบไฟฟ้าทันสมัยอยู่ตลอดเวลาอีกด้วย

o   Advanced Audit for Power เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานด้วยการตรวจสอบคุณภาพกำลังไฟฟ้า ช่วยตรวจสอบคุณภาพกำลังไฟฟ้าและประเมินเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ลดเวลาหยุดทำงาน ยืดอายุการใช้งานอุปกรณ์ และลดการปล่อยคาร์บอน

ผู้ที่สนใจพบกันใน วันที่ 15 – 17 พฤษภาคม 2567 ณ บูธ EG02 ฮอลล์ 2 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ผู้ดูแลระบบไฟฟ้า และผู้ประกอบการสามารถรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญจากชไนเดอร์ อิเล็คทริค ฟรี!!! ทุกเรื่องของพลังงานมีทางออกเสมอ


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เดินหน้าปลดล็อกองค์กรไทยสู่ความยั่งยืน ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ผนึกซอฟต์แวร์ และ AI

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น ในการจัดการพลังงาน ระบบออโตเมชั่น และความยั่งยืน เผยผลประกอบการปี 2566 ทั่วโลกรายได้ 35,902 ล้านยูโร โตขึ้น ราว 13 เปอร์เซ็นต์ (Organic) และด้วยโซลูชั่นด้านความยั่งยืน ช่วยให้ลูกค้าทั่วโลกลดการปล่อยคาร์บอนในปี 2566 เพียงปีเดียว ได้ถึง 112 ล้านตัน พร้อมปักหมุดเดินหน้าสนับสนุนองค์กรในไทย จากผลการสำรวจ Green Action Gap

นายมงคล ตั้งศิริวิช ประธาน ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ดูแลกลุ่มคลัสเตอร์ ประเทศไทย ลาว และเมียนมา เผยว่า ปีที่ผ่านมา รายได้ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ทั่วโลก มีความเติบโตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง มาจากหลายๆ องค์กรที่เล็งเห็นถึงความสำคัญในการสร้างความยั่งยืน และได้นำเทคโนโลยีมาปรับใช้ ซึ่งผลประกอบการปี 2566 ของชไนเดอร์ อิเล็คทริค ทั่วโลกมีรายได้ 35,902 ล้านยูโร โตขึ้น 13 เปอร์เซ็นต์ โซลูชั่นของ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เป็นโซลูชั่นที่ช่วยให้องค์กรสร้างความยั่งยืน เราสามารถช่วยให้ลูกค้าทั่วโลกลดการปล่อยคาร์บอนได้ถึง 112 ล้านตันในปี 2566 ภายในเพียงปีเดียว เทียบเท่ากับการดูดซับคาร์บอนของต้นไม้ประมาณ 11,200 ล้านต้น หรือมากกว่า

ปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศนับเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ต้องอาศัยความร่วมมือกันในทุกระดับและทุกองค์กร เพื่อให้สามารถไปสู่ความยั่งยืนได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ชไนเดอร์ อิเล็คทริค จึงได้ทำการสำรวจเป้าหมายด้านความยั่งยืนโดยได้มีการพูดคุยกับผู้นำองค์กรจำนวน 4,500 ราย ใน 9 ประเทศ และ 500 องค์กร ในประเทศไทย เพื่อรวบรวมมุมมองของผู้นำธุรกิจในภูมิภาคเอเชียเกี่ยวกับความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อม โดยได้มีการดำเนินการสำรวจร่วมกับ Milieu Insight ซึ่งเป็นบริษัทวิเคราะห์และวิจัยข้อมูล ด้วยการให้ผู้บริหารระดับกลางถึงระดับสูงในภาคเอกชนเข้าร่วมการสำรวจตอบคำถาม 30 ข้อ เกี่ยวกับความยั่งยืน รวมถึงผลกระทบต่อธุรกิจของตนในประเทศต่างๆ ได้แก่ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน เวียดนาม และประเทศไทย

นายมงคล เผยว่า “จากการสำรวจกลุ่มองค์กรในประเทศไทย พบว่ามีข้อมูลและตัวเลขที่น่าสนใจ โดยเกือบทุกบริษัทหรือมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ตระหนักดีว่า การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญของความยั่งยืน รวมถึงหลายองค์กรให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพการใช้พลังงานเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของแผนความยั่งยืน”

นอกจากนี้ ยังพบอีกว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่ออุปทานหรืออุปสงค์ด้านพลังงาน ถึง 44เปอร์เซ็นต์ และความสามารถในการฟื้นตัว จำนวน 41 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการเบื้องต้นหรือเทคโนโลยีที่บริษัทต่างๆ ใช้เพื่อบรรลุเป้าหมายด้านพลังงาน ได้แก่ มาตรการด้านพลังงานและประสิทธิภาพของทรัพยากร จำนวน 51 เปอร์เซ็นต์และพลังงานหมุนเวียนในโรงงาน และการแปลงระบบและการดำเนินงานให้เป็นดิจิทัล ถึง 43 เปอร์เซ็นต์

หลายองค์กรมองว่า ความยั่งยืนสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ ถึง 44 เปอร์เซ็นต์ ช่วยสร้างนวัตกรรมและความสามารถในการแข่งขัน ถึง 42 เปอร์เซ็นต์ และช่วยลดต้นทุน ช่วยให้ประหยัด และผลประโยชน์ทางการเงิน ถึง 38 เปอร์เซ็นต์

อย่างไรก็ตาม ผู้ตอบแบบสอบถามในประเทศไทย  จำนวนถึง 98 เปอร์เซ็นต์ เผยว่าบริษัทมีแผนและมีเป้าหมายด้านความยั่งยืน ขณะที่มีเพียง 53 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น ที่ได้นำกลยุทธ์ความยั่งยืนที่ครอบคลุมไปปรับใช้อย่างชัดเจน ทำให้เกิด ช่องว่างสีเขียว หรือ Green Gap ที่ยังไม่ได้ถูกนำไปปฏิบัติ ถึง 45 เปอร์เซ็นต์ เลยทีเดียว

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ตอกย้ำและมุ่งมั่นนำเสนอนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนด้านความยั่งยืน และได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เสริมพอร์ตโฟลิโอด้านซอฟต์แวร์ นอกเหนือจาก EcoStruxure เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งและประสิทธิภาพที่จะนำลูกค้าไปสู่ความยั่งยืนได้อย่างครบวงจรยิ่งขึ้น อาทิ AVEVA, IGE+XAO และ ETAP สำหรับลูกค้าที่ใช้ระบบไฟฟ้าเป็นหลัก และซอฟต์แวร์ RIB, Planon สำหรับอาคาร เป็นต้น เพื่อมอบประสบการณ์ที่ครบวงจรให้กับลูกค้าในทุกกลุ่มอุตสาหกรรมที่ต้องการเดินทางไปสู่ความยั่งยืน

นายมงคลกล่าวว่า “ชไนเดอร์ อิเล็คทริค มีทิศทางที่ชัดเจน พร้อมเป็นเทคคอมพานี (Tech Company) นำเสนอโซลูชั่นและซอฟต์แวร์ตอบโจทย์ให้กับภาคธุรกิจในทุกอุตสาหกรรม ตั้งแต่การเริ่มต้นในการวางแผน การสร้าง ไปจนถึงกระบวนการดำเนินงานอย่างไรให้ยั่งยืน นอกจากนี้ ยังได้มีการลงทุนกับเทคโนโลยี AI และแมชชีนเลิร์นนิ่ง มาช่วยลูกค้าในการให้คำปรึกษาเพื่อนำเสนอบริการด้านพลังงานและความยั่งยืน ที่ให้มุมมองเชิงลึกและการวิเคราะห์ในส่วนของพอร์ตด้านพลังงานและความยั่งยืนของบริษัท”

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ในประเทศไทย เป็นองค์กรที่มุ่งมั่นในการถ่ายทอดองค์ความรู้ และเทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืนอย่างจริงจัง โดยในปี 2565 ยังได้ริเริ่มโครงการ Green Heroes for life เป็นโครงการด้านความยั่งยืน มีเป้าหมายเพื่อช่วยผลักดันชุมชนของพลเมือง ธุรกิจ และสถาบันที่มีความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม ให้มีกิจกรรมร่วมกัน

โดยล่าสุด ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้ออกแคมเปญ Impact Maker ที่มุ่งสนับสนุนให้องค์กรต่างๆ ร่วมและลุกขึ้นมาเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงและสร้างโลกที่ยั่งยืนขึ้น ผลักดันเป้าหมายที่ตั้งไว้ ด้วยการดำเนินการปฏิบัติ ลด Green Gap ที่ยังคงมีอยู่ เพราะเรื่องความยั่งยืน เราไม่สามารถสร้างได้โดยเพียงลำพัง แต่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย และต้องนำเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วจริง นำมาปรับใช้และช่วยสร้างความยั่งยืน


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

มจพ. เปิดศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการ “TFII-Schneider Electric Center of Excellence” แห่งแรกในประเทศไทย

.ดร.ธีรวุฒิ บุณยโสภณ นายกสภามหาวิทยาลัย  .ดร.สุชาติ เซี่ยงฉิน อธิการบดี  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) เป็นประธานกล่าวเปิดศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการ“TFII-Schneider Electric Center of Excellence” และได้รับเกียรติ H.E. Ambassador Jean-Claude Poimbœuf เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย พร้อมด้วย ผศ.ดร.พรศักดิ์ ศรีสังสิทธิสันติ ผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทยฝรั่งเศส  นายมงคล ตั้งศิริวิช ประธานคลัสเตอร์ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ประเทศไทย เมียนมาร์ และลาว ดร.ยศศิริ อาริยะกุล ผู้แทนมูลนิธิชไนเดอร์ อิเล็คทริค ประเทศไทยและลาว Mr. Arumugaraj Davitdurai Pandian ผู้อำนวยการ ASSIST ดร.นิรุตต์ บุตรแสนลี ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวแสดงความยินดีถึงความร่วมมือของศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการ ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ชั้น 9  อาคารสำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มจพ.

ภายหลังจากร่วมตัดริบบิ้นเปิดศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านอุตสาหกรรมไฟฟ้า/ อิเล็กทรอนิกส์/  ระบบควบคุมอัตโนมัติและพลังงานทดแทนสมัยใหม่ “TFII-Schneider Electric Center of Excellence” อย่างเป็นทางการ ถือเป็นก้าวสำคัญในการเดินหน้าสู่ความเป็นเลิศด้านอุตสาหกรรม และเป็นแห่งแรกในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันพัฒนานักศึกษา คณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา สถาบันการอาชีวศึกษา ทั้งของรัฐและเอกชน และบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม เพื่อผลิตกำลังคนให้มีความเชี่ยวชาญในระบบ ควบคุมอัตโนมัติในงานอุตสาหกรรม ระบบการควบคุมมอเตอร์ไฟฟ้า ระบบการจัดการพลังงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ   จากนั้นคณะผู้บริหาร มจพ. ได้นำชมการสาธิต การบรรยาย ถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมหลากหลายสำหรับอุตสาหกรรมในยุคดิจิทัล เช่น  IOT Smart Control  Panel และ COBOT ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ผู้ช่วยในการทำงานที่เปี่ยมประสิทธิภาพ เป็นต้น รวมถึงการดำเนินงานสถาบันนวัตกรรมไทยฝรั่งเศสและสำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการ ด้านอุตสาหกรรมไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์/ระบบควบคุมอัตโนมัติ และพลังงานทดแทนสมัยใหม่” (TFII-Schneider Electric Center of Excellence) เกิดขึ้นด้วยร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และบริษัท ชไนเดอร์ (ไทยแลนด์)  โดยจะเป็นหน่วยงานของสถาบันนวัตกรรมไทยฝรั่งเศส ในระยะแรกของการดำเนินงาน TFII-Schneider Electric Center of Excellence จัดฝึกอบรมให้กับคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และฝึกอบรมหลักสูตรวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ ให้กับวิทยาลัยเทคนิค และวิทยาลัยการอาชีพ ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 13 แห่งทั่วประเทศ

ขวัญฤทัย : ข่าว


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

AI ช่วยโลกได้อย่างไร

ปีเตอร์ เฮอร์เว็ค ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ชไนเดอร์ อิเล็คทริค

เมื่อตอนที่ฉันเป็นนักเรียนในปี 1988 ฉันเขียนวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ และฉันแย้งว่า AI สามารถตรวจจับรูปแบบได้ดีกว่าการตรวจด้วยตา

ในช่วง 30 ปีต่อจากนั้น หัวข้อนี้แทบจะไม่ได้รับความสนใจจากคนทั่วไป ยกเว้นในโลกของวิศวกรด้านซอฟต์แวร์ จนเมื่อปีกว่ามานี่เอง ที่ AI ปรากฏตัวบนเวทีสาธารณะ และมาพร้อมกับเครื่องมือ AI เจนเนอเรชั่นใหม่ ที่สามารถใช้สร้างเนื้อหาที่เป็นลายลักษณ์อักษร ภาพ และเนื้อหาอื่นๆ ได้อย่างฉลาด

ที่จริงแล้ว AI อยู่รอบๆ เรามาระยะหนึ่งแล้ว การค้นหาเว็บแบบง่ายๆ ก็มีความเกี่ยวข้องกับ AI หรือการใช้แชทบอท นั่นก็คือ AI แต่เราจะเห็นการเติบโตแบบทวีคูณ ก็ต่อเมื่อมีการนำ AI มาใช้เพิ่มขึ้น และการใช้งานเพิ่มขึ้นแบบทวีคูณจะกำหนดรูปแบบการทำงานและการใช้ชีวิตที่เป็นพื้นฐานของเรา นอกจากนี้ ยังมีผลกระทบมากกับความท้าทายใหญ่ที่สุดที่มนุษยชาติต้องเผชิญอยู่ในปัจจุบัน นั่นคือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและวิธีที่เราผลิตและใช้พลังงาน

การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ไม่ได้ รอ AI

ถ้าจะกล่าวให้ชัดเจนก็คือ แม้ในปีที่ผ่านมาจะมีเรื่องน่าตื่นเต้นเกี่ยวกับ AI อยู่มากมายก็ตาม แต่ AI ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทุกเรื่อง และก็ไม่ใช่ตัวช่วยที่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างฉับพลันกับการจำกัดภาวะโลกร้อนให้หยุดอยู่ที่ไม่เกิน 1.5°C เหมือนช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรม

ดังนั้น การเกิดขึ้นของ AI จะต้องไม่เบี่ยงเบนความสนใจของเราจากการใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ เช่น พลังงานทดแทน ยานพาหนะไฟฟ้าและปั๊มความร้อน ตลอดจนซอฟต์แวร์ระบบอัตโนมัติและการจัดการอาคารที่ช่วยปรับปรุงกระบวนการและการใช้พลังงานในอาคาร โรงงานอุตสาหกรรม และโครงสร้างพื้นฐานให้ใช้งานได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

หากมองถึงอาคารและอุตสาหกรรมการก่อสร้าง ซึ่งคิดเป็นประมาณ 37% ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตและพลังงานทั่วโลก ตามรายงานล่าสุดจากโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ

อาคารใหม่ทุกหลังที่สร้างขึ้นในปัจจุบันสามารถเป็น Net Zero ได้จริง โดยใช้การผสมผสานพลังงานหมุนเวียนที่มีอยู่แล้วในท้องถิ่น (เช่น พลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา) รวมถึงเซ็นเซอร์และซอฟต์แวร์ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพกิจกรรมการใช้พลังงานได้สูงสุด นี่ไม่ใช่นิยายวิทยาศาสตร์ที่ต้องพึ่งพาการพัฒนา AI ในอนาคต แต่เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว ที่เรานำมาใช้ในอาคาร IntenCity ของเราในเมืองเกรอน็อบล์ ประเทศฝรั่งเศส และเรายังช่วยให้อีกหลายๆ อาคารนำแนวทางนี้มาปรับใช้ด้วยเช่นกัน

ในทำนองเดียวกัน เราจำเป็นต้องเร่งนำเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านพลังงานและให้คาร์บอนต่ำ มาปรับใช้กับบรรดาอาคารที่มีอยู่ในการติดตั้งเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดทั้งต้นทุน รวมถึงช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากและเร็วกว่าที่หลายคนเคยรับรู้ โดยไม่จำเป็นต้องรอเครื่องมือ AI ใหม่ เพราะเรื่องเหล่านี้สามารถทำได้ทันที

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและ AI ช่วยลดการปล่อยคาร์บอนด้วยพลังเทอร์โบ

ความตื่นเต้นมากมายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ AI เป็นเรื่องที่สมเหตุสมผล เนื่องจากเมื่อจับคู่เทคโนโลยีดังกล่าว เข้ากับ AR (augmented reality) VR (virtual reality) รวมถึง digital twins และ IoT จะยิ่งทำให้  AI ช่วยให้เราเข้าถึงประสิทธิภาพได้มากขึ้น รวดเร็วยิ่งขึ้น และเมื่อเป็นเรื่องของพลังงาน การที่ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นย่อมหมายถึงการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่ลดลง

ตัวอย่างเช่น ไมโครกริดเป็นเครือข่ายไฟฟ้าแบบครบวงจรที่จ่ายไฟให้กับบ้าน ธุรกิจ และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ โดยใช้เครื่องกำเนิดพลังงานส่วนตัว (ตามหลักการเป็นพลังงานหมุนเวียน) และการกักเก็บพลังงานในรูปของแบตเตอรี่ โดยซอฟต์แวร์อัจฉริยะสามารถเชื่อมต่อองค์ประกอบต่างๆ เข้ากับระบบสายส่ง (Utility grids) ได้ ทำให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์เกี่ยวกับความน่าเชื่อถือและต้นทุนของพลังงาน อีกทั้งช่วยคาดการณ์ เพื่อให้สามารถใช้พลังงานอย่างเหมาะสมได้แบบอัตโนมัติ ทั้งเรื่องการผลิต การกักเก็บและนำมาใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และช่วยให้ผู้ใช้เข้าใจได้ง่าย ถึงเรื่องการประหยัดค่าใช้จ่าย รวมถึงจำนวนไฟฟ้าที่ผลิตได้ ตลอดจนการปล่อย CO2

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กับ AI และศูนย์ข้อมูล

เราจำเป็นต้องมองเพื่อให้เข้าใจได้อย่างชัดเจนว่า การเติบโตอย่างรวดเร็วของ AI และศูนย์ข้อมูลที่เป็นขุมพลังนั้น จำเป็นต้องอาศัยน้ำและพลังงาน รวมถึงมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างไรบ้าง เราคาดการณ์ว่าในขณะที่โลกเปลี่ยนไปสู่ระบบดิจิทัล การใช้พลังงานของศูนย์ข้อมูลจะเพิ่มขึ้นประมาณสองเท่าภายในปี 2571 และสัดส่วนในการใช้งานที่มาจาก AI จะคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ของทั้งหมดในเวลานั้น โดยเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันประมาณ 8 เปอร์เซ็นต์

สิ่งสำคัญก็คือ การใช้ AI จะต้องไม่นำไปสู่ปัญหาด้านพลังงานหรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น การเพิ่มประสิทธิภาพซอฟต์แวร์การประมวลผลอย่างต่อเนื่อง จะช่วยจัดการกับความท้าทายนี้ โดยการปรับเปลี่ยนการออกแบบและการบริหารจัดการศูนย์ข้อมูล เช่น การเปลี่ยนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบเครื่องยนต์ดีเซลให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น ทำความสะอาดสตอเรจ และใช้การระบายความร้อนที่มีประสิทธิภาพสูงเป็นพิเศษ เป็นต้น

เร่งดำเนินการด้านสภาพอากาศด้วย AI (และที่ไม่ใช้ AI)

บางคนชอบ AI ในขณะที่บางคนกลัว AI แต่ไม่ว่าเราจะชอบหรือไม่ก็ตาม พลังการเปลี่ยนแปลงของ AI นั้นยิ่งใหญ่กว่าการถือกำเนิดของอินเทอร์เน็ตในทศวรรษ 1990 เสียอีก และ AI ก็เหมือนกับอินเทอร์เน็ต นั่นคือ จะทำงานได้ดีที่สุดก็ต่อเมื่อถูกนำมาใช้งานอย่างมีจรรยาบรรณและรับผิดชอบ โดยให้ขุมพลังที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด และถูกใช้เป็นเครื่องมือที่ให้ความคล่องตัวในการทำงาน มากกว่าที่จะเป็นเป้าหมายปลายทางของผลลัพธ์ เป็นตัวช่วยมากกว่าการนำมาทดแทนผลลัพธ์จากมนุษย์ที่จำเป็นจะต้องผ่านการรับรองคุณภาพสูงสุด

นอกจากนี้ ยังไม่ควรให้ AI มาเบี่ยงเบนเราจากการใช้สิ่งที่มีอยู่แล้วในตอนนี้ เพราะไม่ว่าจะมีหรือไม่มี AI ก็ตาม เราก็ยังสามารถติดตั้งฟาร์มกังหันลมและสถานีชาร์จ EV ได้มากขึ้น และใช้เครื่องมือดิจิทัลที่มีอยู่ปรับปรุงวิธีการออกแบบ สร้างและดำเนินการด้านอาคารและโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ มากมาย รวมถึงการบำรุงรักษา

อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการใช้งาน AI อย่างเหมาะสม AI จะเป็นตัวเร่งที่จำเป็นและให้ขุมพลังแก่เทคโนโลยีที่มีอยู่ ช่วยเร่งการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้ ช่วยสนับสนุนความมุ่งมั่นพยายามของเราในการควบคุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

#Schneider Electric


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เปิดตัวเบรกเกอร์สายพันธุ์ฮีโร่ GoPact ซีรีย์

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เปิดตัวใหม่ เบรกเกอร์ GoPact MCCB พันธุ์แกร่ง พันธุ์ Go! สายพันธุ์ฮีโร่ ในราคาสุดคุ้ม สำหรับโครงการขนาดย่อม เล็งเจาะกลุ่ม  คอนโดมิเนียม ที่พักอาศัย อพาร์ทเมนต์ อาคารทั่วไป โรงงานขนาดย่อม คลังสินค้า ร้านสะดวกซื้อ ด้วยการใช้งานที่ง่าย และให้ความยืดหยุ่น โดยมีถึง 5 ขนาดให้เลือก มาพร้อมความกะทัดรัด และให้ความสะดวกสำหรับการเลือกใช้ในแต่ละโครงการ ส่วนของทริปยูนิตมีให้เลือกตั้งแต่ 16 แอมป์ ไปจนถึง 800 แอมป์ และในแต่ละขนาดยังสามารถปรับขยายทริปยูนิตได้ ทำให้เมื่อมีโหลดที่เพิ่มขึ้นหน้างานสามารถปรับตั้งค่าได้ทันที พร้อมให้ค่า กระแสลัดวงจรสูงสุด (Breaking Capacity) ที่ทนทานกระแสได้ตั้งแต่ 15 กิโลแอมป์ ถึง 70 KA เลยทีเดียว ขณะที่เบรกเกอร์รุ่นราคาเทียบเท่ากัน ทนกระแสเริ่มที่เพียง 5 KA นอกจากนี้ ยังมีอายุการใช้งานทางกลยาวนานสูงสุดถึง 30,000 ครั้ง ที่อุณหภูมิ 55 องศา

นายเผดิมศักดิ์ รัตนเรืองศักดิ์ รองประธานฝ่ายธุรกิจ เพาเวอร์ โพรดักส์ ดูแลกลุ่มคลัสเตอร์ ไทย ลาว และเมียนมา ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เผยว่า “สินค้ากลุ่มผลิตภัณฑ์เบรกเกอร์ ของชไนเดอร์ อิเล็คทริค สำหรับกลุ่มอาคาร มีให้เลือกหลายรุ่นตามความต้องการของโครงการต่างๆ สำหรับติดตั้งในตู้เมนดิสตริบิวชั่นบอร์ด (Main Distribution Board) ซับดิสตริบิวชั่นบอร์ด (Sub Distribution Board) ดิสตริบิวชั่นบอร์ด (Distribution Board) มีตั้งแต่รุ่นที่เชื่อมต่อกันได้ในแบบ IoT เพื่อมอนิเตอร์ข้อมูลการใช้พลังงานสำหรับอาคารขนาดใหญ่ และที่ต้องการทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัลแบบเต็มรูปแบบ อาทิ MasterPact ซีรีย์, Compact ซีรีย์ ขณะที่เบรกเกอร์ GoPact เป็นรุ่นใหม่ล่าสุด มุ่งเน้นที่อาคารขนาดย่อม ที่ไม่จำเป็นต้องลงทุนด้านการมอนิเตอร์พลังงานแบบเต็มรูปแบบ GoPact จึงถูกออกแบบมาเพื่อให้ใช้งานง่าย ทนทาน แต่มีความยืดหยุ่นในการใช้งานสำหรับผู้รับเหมาโครงการ และผู้ประกอบการโรงตู้ รวมไปถึงการที่ติดตั้งและการปรับใช้งานที่ง่ายสำหรับช่างไฟ ไม่มีความซับซ้อนในการติดตั้ง และช่วยให้งานเสร็จเร็ว และบำรุงรักษาง่าย ขณะที่ราคาคุ้มค่า”

โดย GoPact ซีรีย์ ใหม่จากชไนเดอร์ อิเล็คทริค มีให้เลือก 5 ขนาด ตามความต้องการของแต่ละโครงการ ตั้งแต่รุ่น GoPact 125 ขนาด 15 KA, 30 KA, GoPact 200 ขนาด 25 KA, 36 KA, GoPact 250 ขนาด 25 KA, 36 KA, GoPact 400 ขนาด 36 KA, 50 KA, GoPact 800 ขนาด 50 KA, 70 KA ทุกรุ่นผลิตจากเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีทริปยูนิตในตัว ผลิตจากวัสดุคุณภาพเยี่ยม และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ได้รับมาตรฐาน IEC60947-2 และได้รับฉลากอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม กรีนพรีเมี่ยม (Green Premium) ที่ให้ความปลอดภัย ทั้งเรา และทั้งโลก ทำให้มั่นใจได้ว่ารองรับโครงการที่มีนโยบายอาคารสีเขียวอีกด้วย

Go Pact ซีรีย์ ให้ความคุ้มค่าทั้ง ประสิทธิภาพ ฟังก์ชั่น และราคาที่พร้อม Go!!! สามารถหาซื้อได้ผ่านร้านขายอุปกรณ์ไฟฟ้าชั้นนำทั่วประเทศและช่องทางช้อปออนไลน์ต่างๆ ของ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม แอดไลน์ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ที่นี่ https://lin.ee/XukMLED หรือ ID @se-th


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค จับมือ วีเอสที อีซีเอส (ประเทศไทย) รุกตลาดไทย ขยายโอกาสทางดิจิทัลให้ครอบคลุมทั่วประเทศ

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค จับมือ วีเอสที อีซีเอส (ประเทศไทย) จัดทัพโซลูชั่นโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีแบบพร้อมใช้ ชูโซลูชั่นไมโครดาต้าเซ็นเตอร์ พร้อมเทคโนโลยี UPS แบบแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน (Lithium-ion) และซอฟต์แวร์อัจฉริยะ เพื่อเสริมแกร่งด้านโครงสร้างพื้นฐานไอทีให้กับภาคธุรกิจเป้าหมาย โดยความร่วมมือนี้ช่วยเสริมความแข็งแกร่งของทั้งสองบริษัท ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ด้านโครงสร้างพื้นฐานอินฟราสตรัคเจอร์ที่ครบวงจร และนวัตกรรมใหม่จากชไนเดอร์ อิเล็คทริค ให้ผสานกับผลิตภัณฑ์ในพอร์ตโฟลิโอของ วีเอสที อีซีเอส ตั้งแต่อุปกรณ์ UPS สำหรับธุรกิจตั้งแต่ เฟส ไปจนถึง 3 เฟส โดยโฟกัสรุ่นที่ใช้นวัตกรรมลิเธียมไอออน ครอบคลุมถึงโซลูชั่นไมโครดาต้าเซ็นเตอร์ พร้อมกับโซลูชั่นซอฟต์แวร์อัจฉริยะจากชไนเดอร์ อิเล็คทริค เพื่อให้เป็น End to End โซลูชั่นด้านไอที ที่ตอบโจทย์ผู้ประกอบการในแต่ละอุตสาหกรรม

นายมงคล ตั้งศิริวิช ประธานกลุ่มคลัสเตอร์ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ดูแลประเทศไทย ลาวและเมียนมา เผยว่า “ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เราเป็นผู้นำระดับโลกด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น ในการบริหารจัดการพลังงาน และระบบออโตเมชั่น เพื่อความยั่งยืน โดยมีความเชี่ยวชาญและเทคโนโลยีที่ครอบคลุมทุกกลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ ที่อยู่อาศัย อาคาร ไอที โรงงานอุตสาหกรรม โครงข่ายไฟฟ้า ซึ่งความร่วมมือกับทาง วีเอสที อีซีเอส เรามุ่งเน้นไปที่การเพิ่มช่องทางขยายผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นในกลุ่มธุรกิจไอทีและดิจิทัล และขยายให้ครอบคลุมทุกหัวเมืองหลักในประเทศไทย เพื่อเป็นการช่วยต่อยอดเพื่อให้ภาคธุรกิจเข้าถึงโซลูชั่นด้านโครงสร้างพื้นฐานไอทีได้ง่ายขึ้น ทั้งในส่วนของตลาดดาต้าเซ็นเตอร์ โคโลเคชั่น (Colocation) และตลาดในภาคอุตสาหกรรม 4.0  ที่ต้องใช้การประมวลผลด้านไอทีและการสำรองไฟเข้ามาเกี่ยวข้อง พวกเราจะทำงานร่วมกันในการนำเสนอโซลูชั่นและบริการด้านไอทีแบบครบวงจรให้กับลูกค้าในภาคธุรกิจทั่วประเทศ”

คุณสมศักดิ์ เพ็ชรทวีพรเดช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วีเอสที อีซีเอส (ประเทศไทย) จำกัด เผยว่า “วีเอสที อีซีเอส เป็นผู้แทนการจัดจำหน่ายสินค้าและโซลูชั่นไอทีของไทยมานานกว่า 35 ปี ปัจจุบันเราเป็นพันธมิตรกับแบรนด์ชั้นนำระดับโลกกว่า 70 แบรนด์ การร่วมมือกับทางชไนเดอร์ อิเล็คทริค ในครั้งนี้ วีเอสที อีซีเอส ได้เป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ APC อย่างเป็นทางการ โดยถือสินค้าทุกหมวดหมู่และยังมุ่งเน้นที่เทคโนโลยีล่าสุดอย่าง APC Smart-UPS Lithium-ion และโซลูชั่นซอฟต์แวร์อัจฉริยะ ซึ่งทางวีเอสทีได้มีโอกาสได้ใช้สินค้าเหล่านี้จริงในสาขาทั่วประเทศและจะสามารถเข้ามาช่วยเติมเต็มความต้องการของลูกค้าให้สามารถทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์มได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น บริษัทมีความพร้อมด้านบุคลากรการตลาด การขายเอ็นจิเนียร์ รวมถึงระบบการทำงานภายในที่มีประสิทธิภาพ และมีช่องทางการจัดจำหน่ายที่ครอบคลุมทั่วประเทศกว่า 6,000 ราย ที่สำคัญคือ เรามีสำนักงานสาขา ซึ่งเป็น Sales Office กระจายอยู่ใน 11 จังหวัดทั่วไทย ที่มีสินค้ารุ่น Exclusive พร้อมอำนวยความสะดวกให้ตัวแทนจำหน่ายได้สัมผัสสินค้าจริงทั้งในเมืองหลักและเมืองรองและยังสามารถติดต่อประสานงานกับทีมขายและ Engineer Team ได้อย่างใกล้ชิดเต็มที่ ผู้แทนจำหน่ายทั่วประเทศเชื่อมั่นได้เลยว่าด้วยศักยภาพทั้งหมดของเราจะช่วยต่อยอดขายผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นของชไนเดอร์ อิเล็คทริค ช่วยให้ยอดขายลูกค้าในภาคธุรกิจทั่วประเทศให้เติบโตได้อย่างแน่นอน”

คุณอาทิตยา สูรพันธุ์ รองประธานกลุ่มธุรกิจ Secure Power ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ดูแลประเทศไทย ลาว และเมียนมา ระบุว่า ”โดยความร่วมมือในครั้งนี้ ทาง VST ECS จะมุ่งเน้นทำการตลาดสำหรับกลุ่มโซลูชั่นด้านไอที ครอบคลุม ผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม UPS แบบแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน ไมโครดาต้าเซ็นเตอร์ รวมไปถึง ซอฟต์แวร์ EcoStruxure IT ซึ่งโซลูชั่นเหล่านี้จะช่วยให้องค์กรธุรกิจสามารถลดค่าใช้จ่ายในการลงทุน (CAPEX) และ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (OPEX) ในระยะยาวได้ ทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพด้านไอที ลดการเกิดดาวน์ไทม์ และการชัตดาวน์ที่ไม่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า

เทคโนโลยี UPS แบบลิเธียมไอออนครบไลน์ ให้ขนาดที่บางลง อายุการใช้งานนานกว่า 3 เท่า ชาร์จแบตเตอรี่ได้เร็วขึ้น 2 เท่า อายุการใช้งานราว 10 ปี เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีเดิม ช่วยลดต้นทุนตลอดอายุการใช้งาน นอกจากนี้ UPS ยังมาพร้อมระบบอัจฉริยะอาทิ  eConversion เป็นโหมดสำหรับ UPS แบบ 3 เฟส ที่เป็นสิทธิบัตรของชไนเดอร์ อิเล็คทริค ช่วยให้เวลาในการสลับโหมดการทำงานเป็นศูนย์ จึงให้ประสิทธิภาพสูงสุดถึง 99%

โซลูชั่นไมโครดาต้าเซ็นเตอร์ หรือ MDC (Micro Data Center) มาพร้อมเทคโนโลยีโซลูชั่นที่ครบครัน ในตู้เดียว อาทิ UPS ระบบปรับอากาศ ระบบเซ็นเซอร์ ระบบตรวจจับอุณหภูมิ ความชื้น ระบบ PDU ระบบการมอนิเตอร์ และระบบการทำงานระยะไกล เป็นต้น ซึ่งมีให้เลือกหลายแบบหลายขนาด สำหรับสภาพแวดล้อมด้านไอทีและการใช้งานที่แตกต่างกัน เช่น ในสำนักงาน โรงงานอุตสาหกรรม หรือพื้นที่ไอทีในอาคารทั่วไป

ซอฟต์แวร์อัจฉริยะ เครื่องมือที่ช่วยเปลี่ยนวิถีการทำงานแบบดั้งเดิม ให้ไปสู่ชีวิตการทำงานแบบดิจิทัล และมีความแม่นยำมากขึ้น ช่วยในการควบคุม สั่งงาน มอนิเตอร์ระยะไกล เพื่อการตัดสินใจในกรณีที่คาดไม่ถึง โดยไม่ต้องเข้าไปที่ไซต์งาน อาทิ Network Management Card for Easy UPS, EcoStruxure IT Expert ช่วยให้ง่ายในการแก้ปัญหา และคาดการแนวโน้มการใช้พลังงานได้ ให้ความยืดหยุ่นสำหรับสภาพแวดล้อมไอที และอุตสาหกรรมในยุค 4.0

วีเอสที อีซีเอส และชไนเดอร์ อิเล็คทริค มีวิสัยทัศน์ร่วมกันและเล็งเห็นถึงหัวใจสำคัญที่องค์กรต่างๆ จะนำพาธุรกิจให้เติบโตได้อย่างคล่องตัวมากขึ้น นั่นคือการทรานส์ฟอร์มองค์กรสู่ดิจิทัล  ด้วยระบบไอทีที่มีประสิทธิภาพ ใช้งานง่าย และระบบสำรองไฟเชื่อถือได้ และเสริมให้ธุรกิจไปสู่ความเติบโตแบบยั่งยืนในอนาคต ความร่วมมือในครั้งนี้นับว่าเป็นก้าวสำคัญในการขยายตลาด และเพื่อให้องค์กรธุรกิจที่กำลังมองหาระบบโครงสร้างไอทีที่มีประสิทธิภาพ ลดการใช้พลังงาน และมีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผลักดันให้เร่งลดคาร์บอน โดยมุ่งเน้นที่พลังงานไฟฟ้าและการเปลี่ยนสู่ระบบดิจิทัลในการประชุม World Economic Forum ณ เมืองดาวอส

กรุงเทพ (ประเทศไทย) วันที่ 29 มกราคม 2567 – ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำระดับโลกด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นด้านการจัดการพลังงานและระบบอัตโนมัติ เร่งผลักดันความจำเป็นในการนำเทคโนโลยีที่มีอยู่มาปรับใช้มากยิ่งขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกลายเป็นเรื่องลุกลามจนไม่สามารถควบคุมได้

การเร่งแก้ไขเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change) ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์และราคาพลังงานที่ผันผวน รวมถึงความกดดันจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อให้เร่งจัดการความเสี่ยงเหล่านี้ ล้วนเป็นปัจจัยผลักดันให้ความยั่งยืนทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและความสามารถในการฟื้นฟูพลังงานกลายเป็นวาระสำคัญขององค์กร รวมถึงนโยบายในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา สิ่งเหล่านี้กลายเป็นประเด็นหลักในการประชุมประจำปีของ World Economic Forum ที่จัดขึ้น ณ เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 15-19 มกราคม โดยมีผู้บริหารระดับสูงของชไนเดอร์ อิเล็คทริคหลายคนที่ได้เข้าร่วมงานนี้เช่นกัน

“เนื่องจากการใช้พลังงานทำให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนมากถึง 80% ฉะนั้นการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานจึงเป็นปัจจัยหลักสำคัญที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน” ปีเตอร์ เฮอร์เวค ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ชไนเดอร์ อิเล็คทริค กล่าว “ศักยภาพของ AI กำลังดึงความสนใจของทุกคนอยู่ในขณะนี้ แต่ต้องไม่ลืมว่าเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบัน ทั้งการผลิตพลังงานทดแทน เครื่องมือดิจิทัลและการใช้พลังงานไฟฟ้า ช่วยลดความต้องการใช้พลังงานได้ ด้วยการทำให้ไซต์งานและการดำเนินงานมีประสิทธิภาพด้านพลังงานมากขึ้น โดยสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปัจจุบันได้อย่างรวดเร็ว  เพราะโลกไม่มีเวลารอวิธีการแก้ปัญหาของวันพรุ่งนี้ ในเมื่อสิ่งที่เรามีอยู่ในปัจจุบันสามารถทำอะไรได้มากมาย”

การดำเนินการจากภาคเอกชนที่เป็นบริษัทต่างๆ ในทั่วโลก คือหัวใจสำคัญที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จึงนับเป็นสิ่งที่น่าส่งเสริมให้โลกธุรกิจให้คำมั่นสัญญาต่อความยั่งยืนและการลดคาร์บอนมากขึ้น โดยในเดือนมกราคม 2024 มีบริษัทมากกว่า 4,200 แห่งทั่วโลกได้กำหนดเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งได้รับการตรวจสอบโดยโครงการริเริ่ม Science Based Targets (SBTi) เป็นต้น

โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมเรื่องประสิทธิภาพด้านพลังงานกำลังได้รับการยอมรับมากขึ้น โดยในปีที่ผ่านมา ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้ร่วมมือกับสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศในการนำพารัฐบาลและผู้นำจากหลายธุรกิจมารวมตัวกันเพื่อการประชุมใหญ่ในหัวข้อดังกล่าว

รายงานใหม่ที่เผยแพร่โดย World Economic Forum เมื่อวันที่ 8 มกราคม พบว่า การดำเนินการด้านการใช้พลังงานด้วยการประหยัดพลังงานและเพิ่มประสิทธิภาพด้านพลังงาน รวมถึงความร่วมมือที่ช่วยสร้างคุณค่าในเรื่องดังกล่าว สามารถช่วยปลดล็อกต้นทุนด้วยการประหยัดเงินให้กับระบบเศรษฐกิจในวงกว้างได้มากถึง 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ อีกทั้งยังช่วยหลีกเลี่ยงให้ไม่ต้องมีการสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มเติมได้อีก 3,000 แห่ง หากสามารถดำเนินการในเรื่องดังกล่าวได้ก่อนปี 2030

นอกจากนี้ การวิจัยที่ดำเนินการโดย ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เมื่อเร็วๆ นี้ แสดงให้เห็นว่าการติดตั้งโซลูชันบริหารจัดการพลังงานและอาคารด้วยระบบดิจิทัลให้กับอาคารที่มีอยู่ สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในการปฏิบัติงานได้มาก อีกทั้งให้การคืนทุนได้อย่างรวดเร็วในระยะเวลาไม่ถึงสามปี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพอันมหาศาลจากแค่ส่วนนี้เพียงส่วนเดียว

โอกาสและความท้าทายในการจัดการกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก Scope 3

ส่วนอื่นๆ ที่ต้องมุ่งเน้น คือการจัดการกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากบริษัทต่างๆ ที่เกิดจากการดำเนินกิจกรรมที่จัดอยู่ใน Scope 3 ซึ่งเป็นการดำเนินงานตามกระบวนการต่างๆ ในห่วงโซ่คุณค่า หรือ value chain ขององค์กรตั้งแต่กระบวนการก่อนการผลิต เริ่มจากการจัดหาวัตถุดิบ (upstream) ไปจนถึงกระบวนการในการจัดส่งจนสินค้าถึงมือผู้บริโภค (downstream) และนับเป็นกระบวนการที่ปล่อยคาร์บอนมากที่สุดขององค์กร มากกว่า 70% สอดคล้องตามข้อมูลจาก UN Global Compact

การปฏิรูปด้านซัพพลายเชนทั่วโลกในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา ช่วยผลักดันให้หัวข้อนี้กลายเป็นวาระสำคัญขององค์กร กว่าสองในสามของผู้นำธุรกิจที่เข้าร่วมการสัมภาษณ์เพื่อจัดทำเป็นรายงาน โดยชไนเดอร์ อิเล็คทริค ในปีที่ผ่านมา กล่าวว่าความกดดันด้านกฏระเบียบทำให้ผู้บริหารเหล่านี้ต้องเร่งคิดแผนงานในการลดคาร์บอนร่วมกับพันธมิตรด้านซัพพลายเชน บรรดาผู้ที่เข้าร่วมการสำรวจยังกล่าวว่า ตนกำลังเห็นว่าบรรดานักลงทุนและหน่วยงานด้านการเงินทั้งหลายมีความต้องการข้อมูลด้านการลดคาร์บอนในซัพพลายเชนเพิ่มขึ้น

“องค์กรธุรกิจต่างๆ ที่กำลังให้ความสนใจอย่างจริงจังเกี่ยวกับการลดคาร์บอน ต้องมองไปให้ไกลกว่าเรื่องการดำเนินงานในองค์กรของตัวเอง พร้อมกับต้องจัดการเรื่องนี้ใน value chain ทั้งหมด และต้องตระหนักว่า การผลักดันพร้อมให้การช่วยเหลือซัพพลายเชนและพันธมิตรทางธุรกิจอื่นๆ จะช่วยสร้างประสิทธิภาพด้านพลังงานมากขึ้น ด้วยการใช้พลังงานไฟฟ้าและเทคโนโลยีระบบดิจิทัล รวมถึงการจัดซื้อพลังงานที่สะอาดขึ้น เหล่านี้คือประเด็นสำคัญที่ช่วยแก้โจทย์เรื่องนี้” โอลิเวียร์ บลูม รองประธานบริหาร ฝ่ายบริหารจัดการพลังงาน ชไนเดอร์ อิเล็คทริค กล่าว


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ประเทศไทย คว้า “สถานที่ทำงานที่ยอดเยี่ยม ปี 2567” จาก Great Place to Work®

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ประเทศไทย ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นด้านการจัดการพลังงาน และระบบออโตเมชั่น ได้รับการรับรองมาตรฐานในการเป็นสถานที่ทำงานที่ยอดเยี่ยม จาก Great Place to Work® อย่างต่อเนื่อง โดยการรับรองดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องในการที่ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ต้องการสร้างองค์กรที่ดีที่สุดเพื่อพนักงาน โดยมีเป้าหมายที่ให้คุณค่าในเรื่องการทำงาน ตลอดจนการสนับสนุนให้เกิดวัฒนธรรมการยอมรับความแตกต่าง และการเพิ่มขีดความสามารถ และเสรีภาพในการทำงานของพนักงาน

นายมงคล ตั้งศิริวิช ประธานกลุ่มคลัสเตอร์ ดูแลประเทศไทย ลาว และเมียนมา ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เผยว่า “ผมรู้สึกภูมิใจที่เราได้รับการรับรองให้เป็นสถานที่ทำงานที่ยอดเยี่ยม หรือ Great Place to Work ความสำเร็จนี้นับเป็นภาพสะท้อนถึงความพยายามและความมุ่งมั่นในการสร้างสภาพแวดล้อมเชิงบวก ที่ทุกคนสามารถสร้างแรงบันดาลใจที่ดีต่อกันและกัน เจริญเติบโตไปด้วยกัน แบ่งปันองค์ความรู้ซึ่งกันและกัน เรียกได้ว่าเป็นทีมเวิร์กที่ดีที่สุด ทำให้เราสามารถเป็นที่ไว้วางใจแก่ลูกค้า คู่ค้า ตลอดทั้ง Ecosystem ที่เราให้บริการ”

สิ่งที่ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ยึดถือเสมอคือการต้องทำให้พนักงานรู้สึกมีคุณค่าและปลอดภัย และสิ่งนี้คือกุญแจสำคัญในการสร้างนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ ประสิทธิภาพ และความคล่องตัวที่มากขึ้น และจะนำพวกเขาไปสู่ความสำเร็จ นอกจากนี้ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ยังสนับสนุนให้พนักงานมอบสิ่งที่มีคุณค่าสู่สังคม ชุมชน และโลกอีกด้วย

Great Place to Work® เป็นองค์กรระดับโลกที่มุ่งเน้นการวิจัยไปที่วัฒนธรรมองค์กร ที่ผ่านมาได้สำรวจพนักงานมากกว่า 100 ล้านคนทั่วโลก ตั้งแต่ปี 1992 และใช้ข้อมูลเชิงลึกนั้นเพื่อพิจารณาว่าอะไรที่เป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้เป็นบริษัทที่ยอดเยี่ยมและได้รับความไว้วางใจ


Exit mobile version