Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค มัดรวมสูตรสำเร็จ EcoStruxure™ IT ปี 2024 พร้อมเจาะลึกพัฒนาการก้าวต่อไป ในปี 2025

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ประเทศไทย ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น สำหรับการบริหารจัดการพลังงานและระบบอัตโนมัติ เปิดเผยถึงความสำเร็จของเส้นทางในการพัฒนา EcoStruxure IT ในปีที่ผ่านมา พร้อมแผนงานปี 2025 ว่ายังคงมุ่งเน้นที่การช่วยให้ลูกค้าใช้ซอฟต์แวร์ Data Center Infrastructure Management (DCIM) อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้โครงสร้างพื้นฐานด้านไอที มีความยืดหยุ่น ปลอดภัย และยั่งยืนมากที่สุด ในทุกที่

ท่ามกลางความท้าทายที่เต็มไปด้วยความซับซ้อนของการใช้งานไฮบริดไอที นับเป็นโอกาสดีที่จะหันมาทบทวนว่า EcoStruxure IT ช่วยให้องค์กรลูกค้าเติบโตอย่างไรบ้าง และระบบของเราช่วยให้โครงสร้างพื้นฐานไอทีมีความยืดหยุ่น ปลอดภัยและยั่งยืนอย่างไรบ้าง

การอัปเดตและพัฒนาต่อเนื่องเพื่อสร้างความยืดหยุ่นให้ระบบมากยิ่งขึ้น

ตัวอย่างความสำเร็จบางส่วนในการดำเนินการปีที่ผ่านมา ซึ่งทีมงาน EcoStruxure IT ได้มีการปรับปรุงและเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ให้กับผลิตภัณฑ์ทั้งสำหรับการใช้งานแบบ On-Premise และ Cloud-Based เพื่อช่วยให้การดำเนินงานของลูกค้าง่ายขึ้น ยืดหยุ่นมากขึ้น ได้แก่

  • นโยบายในการแจ้งเตือน (alarm threshold policies) ใน IT Expert สามารถตั้งค่าการแจ้งเตือนโดยใช้เงื่อนไขขั้นสูง เช่น กำหนดให้แจ้งเตือนหากอุณหภูมิสูงเกิน 25 องศาจากค่าปกตินานเกิน 30 นาที ช่วยลดจำนวนการแจ้งเตือนที่ไม่จำเป็นและทำให้มีความแม่นยำมากขึ้น
  • วิดเจ็ต “Service Contracts and Visits” บนแดชบอร์ดของ IT Expert ช่วยให้องค์กรดูภาพรวมของอุปกรณ์ทั้งหมดได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว พร้อมแจ้งให้ทราบว่าอุปกรณ์ใดอยู่ภายใต้สัญญาบริการ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะได้รับการอัปเดตทุกสัปดาห์
  • การบันทึกเหตุการณ์ (Windows event logging) สำหรับ PowerChute ช่วยให้สามารถบันทึกทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระบบได้ โดยจะรวบรวมข้อมูลไว้ที่ส่วนกลางเพื่อให้สามารถติดตามเหตุการณ์เหล่านั้นได้ง่ายขึ้น  นอกจากนี้ ยังรองรับ Syslog สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ที่ต้องการส่งบันทึกเหตุการณ์ไปที่ Syslog Server ส่วนกลางได้ด้วย
  • ขยายการรองรับ PowerChute vCLS สำหรับทุกการตั้งค่า UPSช่วยให้เลือกปิดระบบเฉพาะส่วนที่จำเป็นได้อย่างยืดหยุ่น
  • รองรับ LDAP (Lightweight Directory Access Protocol) บน Network Management Card (NMC) ช่วยให้ลูกค้าสามารถตั้งค่าอุปกรณ์เพื่อใช้ LDAP Server เพื่อยืนยันตัวตนได้จากระยะไกล เช่นในการใช้ Microsoft Active Directory และ OpenLDAP
  • PowerChute Network Shutdown สามารถตั้งค่าให้รันคำสั่งบนระบบได้จากระยะไกล เช่น Storage Array หรือ Backup Server ผ่านการเชื่อมต่อ SSH ซึ่งให้ประโยชน์ในการจัดการระบบจัดเก็บข้อมูลหรือระบบอื่นๆ ในลักษณะเดียวกัน ที่อาจจำเป็นต้องปิดระบบให้เรียบร้อย พร้อมกับอุปกรณ์ที่เหลืออื่นๆ
  • การรวมศูนย์ Syslog ของ Data Center Expert จากหลากหลายระบบ ช่วยให้จัดการเรื่องการบันทึกเหตุการณ์ในระบบได้ง่ายขึ้น

เหล่านี้ คือการดำเนินการสำหรับลูกค้าในปีที่ผ่าน ด้วยการอัปเกรดและเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ๆ ให้กับผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างความยืดหยุ่นให้ระบบโครงสร้างพื้นฐานไอทีทำงานได้ประสิทธิภาพมากขึ้น จัดการได้ง่ายขึ้น

ปรับปรุงฟีเจอร์ด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์อย่างต่อเนื่อง

ความปลอดภัยทางไซเบอร์คือสิ่งที่อุตสาหกรรมให้ความสำคัญมานาน และองค์กรธุรกิจ ก็ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากยิ่งขึ้น การรักษาโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีให้ปลอดภัยเป็นงานที่ท้าทายและมีความซับซ้อนมากขึ้น จึงทำให้ทีมงาน EcoStruxure IT เข้ามาช่วยดูแลเรื่องนี้

ด้วยการใช้งานยูพีเอสและตู้แร็คจำนวนนับหลายพันในดาต้าเซ็นเตอร์ ซึ่งแต่ละเครื่องมีรหัสผ่านเพื่อรักษาความปลอดภัย การดูแลเรื่องเหล่านี้ จึงเป็นงานที่ยากและท้าทายมาก โดยปัจจุบัน IT Expert มีตัวเลือกให้สามารถตั้งค่าเพื่อเชื่อมต่อและเปลี่ยนรหัสผู้ใช้ และรหัสผ่านของทุกอุปกรณ์ได้พร้อมกันทีเดียว จึงช่วยองค์กรลดเวลาในเรื่องดังกล่าว อีกทั้งสามารถดำเนินการระยะไกลผ่านระบบคลาวด์ได้

ในทำนองเดียวกัน ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้เพิ่มความปลอดภัยให้กับ Data Center Expert โดยเปลี่ยนโปรโตคอลการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์และ DCE จาก SNMPv1 เป็น SNMPv3 ได้อย่างง่ายดายเพียงกดปุ่ม ซึ่งเป็นสิ่งที่ลูกค้าเรียกร้อง และบริษัทฯ ยินดีที่ได้ช่วยให้ทำเรื่องนี้เป็นจริง

เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้มีการประกาศว่าแพลตฟอร์ม EcoStruxure IT NMC ได้รับการรับรองตามมาตรฐานที่กำหนดโดยคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐานอิเล็กทรอนิกส์ (IEC) และในเดือนตุลาคม ยังได้ประกาศความสำเร็จครั้งสำคัญของอุตสาหกรรม ว่า NMC ของเราได้รับการรับรองด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ในระดับสูง จน กลายเป็น DCIM NMC ตัวแรกที่ได้รับการรับรอง IEC 62443-4-2 Security Level 2 (SL2) จาก IEC

ชไนเดอร์ อิเล็คทริคมุ่งเน้นความสำคัญเรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์อย่างจริงจัง และการรับรองที่ยกระดับไปอีกขั้นจากหน่วยงานอิสระช่วยยืนยันว่าผลิตภัณฑ์ของผู้จำหน่ายรายนั้นๆ ที่ออกแบบมาสำหรับศูนย์ข้อมูลและสภาพแวดล้อมไอทีแบบกระจายศูนย์ ผ่านการทดสอบและประเมินเรื่องความปลอดภัยอย่างเข้มงวด นอกจากนี้ เรายังได้รับการรับรองว่ากระบวนการพัฒนาของเราสอดคล้องตามมาตรฐาน ISASecure® Secure Development Lifecycle Assurance (SDLA) อีกด้วย

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังช่วยบริษัทต่างๆ แก้โจทย์ที่เป็นปัญหาท้าทายในการตามอัปเดตเฟิร์มแวร์ โดยระบบ EcoStruxure IT Secure NMC System (SNS) ช่วยจัดการเรื่องของเฟิร์มแวร์ได้ในตัวด้วยเครื่องมือใหม่เฉพาะสำหรับดูแลเรื่องนี้  ซึ่ง SNS Tool ช่วยลดกระบวนการที่ยุ่งยากในการค้นหาและติดตั้งเฟิร์มแวร์ล่าสุดบนอุปกรณ์ทั้งหมด ช่วยให้ดำเนินการได้เร็วขึ้นถึง 90%

ในแง่ของความปลอดภัยทางไซเบอร์ ยังมีการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยทางไซเบอร์เหนือชั้นไปอีกขั้น ด้วยการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ พร้อมการรับรองมาตรฐานถึงสองรายการ ช่วยให้ลูกค้าจัดการและอัปเดตระบบได้สะดวกและง่ายดายขึ้น

การรายงานความยั่งยืนรูปแบบใหม่ด้วยระบบอัตโนมัติ

หนึ่งในการพัฒนาที่น่าจับตามองที่สุด ในช่วงต้นปีที่ผ่านมาก คือการที่ทีม EcoStruxure IT ได้นำเสนอฟีเจอร์การออกรายงานด้านความยั่งยืนแบบใหม่ด้วยระบบอัตโนมัติ ซึ่งเป็นฟีเจอร์ล้ำหน้าของสายผลิตภัณฑ์ EcoStruxure IT ที่ช่วยให้องค์กรสามารถคำนวณและรายงานข้อมูลด้านความยั่งยืนได้อย่างรวดเร็วเพียงปลายนิ้วสัมผัส ไม่ต้องเสียเวลานั่งทำเองนานๆ ขุมพลังของ AI ช่วยให้องค์กรควบคุมข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมภายในดาต้าเซ็นเตอร์

ฟีเจอร์การรายงานใหม่ที่ผ่านการปรับปรุงและพัฒนา และได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดีจากอุตสาหกรรม เปิดให้ใช้งานสำหรับผู้ใช้ EcoStruxure IT ทุกคนตั้งแต่เดือนเมษายนในปีที่ผ่านมา ก่อนที่ข้อบังคับด้านประสิทธิภาพพลังงานของสหภาพยุโรป (Energy Efficiency Directive หรือ EDD) จะมีผลบังคับใช้ เนื่องจาก EED เรียกร้องให้ประเทศในสหภาพยุโรปลดการใช้พลังงานพร้อมรายงานข้อมูลตัวชี้วัดประสิทธิภาพหลักของดาต้าเซ็นเตอร์ เพราะความยั่งยืนคือหนึ่งในวิธีที่ช่วยจำกัดการใช้พลังงาน ช่วยลดต้นทุนด้านพลังงาน และลดของเสียในดาต้าเซ็นเตอร์ ทำให้ DCIM มีบทบาทสำคัญมาก และชไนเดอร์ อิเล็คทริคก็เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว จึงเข้ามาช่วยลูกค้าจัดการทรัพย์สินไอที อีกทั้งให้การสนับสนุนเรื่องการรายงานที่สอดคล้องตามกูฏข้อบังคับ

ที่ ชไนเดอร์ อิเล็คทริคเราได้ดำเนินโครงการ Green IT ร่วมกับทีม CIO  และพบว่าเครื่องมือต่างๆ ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อให้ผู้ใช้ใช้งานได้ง่ายเสมอไป ทำให้ไม่สามารถจัดการกับข้อมูลได้ตามต้องการ และบางครั้งข้อมูลก็ไม่สมบูรณ์ เรื่องนี้ จึงเป็นแรงขับเคลื่อน ให้เราสร้างการเปลี่ยนแปลง และผลลัพธ์จากเรื่องนี้ ก็คือการที่เราออกมาตรวัดการรายงานความยั่งยืนแบบใหม่ ที่ช่วยให้ลูกค้าก้าวข้ามความท้าทายในการออกรายงานความยั่งยืน เพื่อช่วยให้จัดการพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

มุมมองของชไนเดอร์ อิเล็คทริค สำหรับปี 2025

เป็นการมองไปข้างหน้าด้วยความมุ่งมั่น เพราะที่ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เรามั่นใจว่าทีม EcoStruxure IT จะยังคงสร้างนวัตกรรมและต่อยอดจากความสำเร็จขึ้นไปอีก ด้วยการตระหนักดีว่า สภาพแวดล้อมไอทีแบบไฮบริดจะทวีความซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในเวลาที่ AI เข้ามามีบทบาทสำคัญในดาต้าเซ็นเตอร์ เป้าหมายหลักของเรามีความชัดเจนมาก นั่นคือการสนับสนุนและเป็นที่ปรึกษาให้กับลูกค้า เพื่อช่วยให้ลูกค้าเตรียมพร้อมในการรับมือกับทุกความท้าทาย พร้อมกับภารกิจในการสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานไอที ที่มีความยืดหยุ่น ปลอดภัย และยั่งยืนที่สุดในทุกที่ ทุกเวลา

Tags: DC ProfessionalDCIMEcoStruxure ITIT ProfessionalKevin Brown


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เปิดตัว โซลูชั่นสำหรับอาคารขนาดเล็ก และขนาดกลาง

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เปิดตัว EcoStruxure Building Activate โซลูชั่นอัจฉริยะที่ช่วยพลิกโฉมอาคารขนาดเล็กและกลางสู่ Smart & Sustainable Building ด้วยเทคโนโลยี IoT และ AI ในรูปแบบ SaaS ที่ช่วยลดต้นทุนด้านพลังงาน ปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน และมอบประสบการณ์ที่ดีขึ้นให้แก่ผู้ใช้งาน รองรับการบริหารจัดการแบบรวมศูนย์ ครอบคลุมตั้งแต่อาคารสำนักงาน ศูนย์การค้า โรงแรม ไปจนถึงมหาวิทยาลัย พร้อมระบบเปิดที่สามารถผสานการทำงานกับโครงสร้างเดิมได้อย่างราบรื่น ตอบโจทย์อนาคตของอาคารอัจฉริยะอย่างแท้จริง

นายเผดิมศักดิ์ รัตนเรืองศักดิ์ รองประธานฝ่ายธุรกิจ เพาเวอร์ โพรดักส์ ดูแลกลุ่มคลัสเตอร์ ไทย ลาว และเมียนมา ชไนเดอร์ อิเล็คทริค กล่าวว่า “EcoStruxure Building Activate เป็นก้าวสำคัญในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของอาคารสู่ยุคดิจิทัล ด้วยเทคโนโลยี IoT และขับเคลื่อนด้วย AI เราสามารถช่วยให้ลูกค้าลดต้นทุน ยกระดับประสบการณ์ของผู้ใช้งาน และเดินหน้าสู่เป้าหมายด้านความยั่งยืนได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

EcoStruxure Building Activate เป็นโซลูชั่นการจัดการพลังงานและสินทรัพย์สำหรับอาคารขนาดเล็กและขนาดกลาง ในรูปแบบ Software as a Service (SaaS) ให้ความยืดหยุ่น ช่วยให้มองเห็นความเป็นไปของระบบแบบรวมศูนย์ ช่วยลดความซับซ้อนในการดำเนินงานและการบำรุงรักษา สำหรับอาคารที่ขนาดต่ำกว่า 10,000 ตารางเมตร

  • ใช้งานง่าย: ปรับการดำเนินงานให้เหมาะสมด้วย Interface ที่ใช้งานง่าย การตรวจจับความผิดปกติอัจฉริยะ และรายงานอัตโนมัติ
  • ระบบเปิด: โซลูชั่นโปรโตคอลแบบเปิดที่สามารถรวมเข้ากับหลากหลายระบบอาคารที่มีอยู่อย่างได้อย่างราบรื่น แม้แต่ระบบยี่ห้ออื่น
  • มีความยืดหยุ่น: จัดการอาคารเดี่ยวและกลุ่มอาคารได้มากว่า 100 สาขา ได้ด้วยคุณสมบัติเพิ่มเติมที่สามารถเพิ่มได้ตามการเติบโตของกิจการ
  • ให้ความยั่งยืน:ช่วยลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ด้วยการวัด การจัดการ และการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานเพื่อบรรลุเป้าหมายการลดคาร์บอน

“เราสามารถเปลี่ยนอนาคตของอาคารดั้งเดิมที่ไม่เคยใช้ดิจิทัลเลย ให้เป็น Smart & Sustainable ด้วย EcoStruxure Building Activate อาทิ อาคารสำนักงาน ศูนย์การค้า โรงแรม โรงพยาบาล และมหาวิทยาลัย ที่ต้องการปฏิรูปสู่ Smart Building อย่างเต็มรูปแบบ โดยโซลูชั่นนี้สามารถช่วยให้เจ้าของอาคาร ลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน และเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานโดยรวม 

นอกจากนี้ ยังเป็นการเพิ่มมูลค่าด้านอสังหาริมทรัพย์ และสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในยุคเศรษฐกิจสีเขียว”นายเผดิมศักดิ์ กล่าวทิ้งท้าย


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เผยโฉมโซลูชั่นสำหรับ AI ดาต้าเซ็นเตอร์ เพื่อรับมือกับความท้าทายด้านพลังงานและความยั่งยืน

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น ด้านการบริหารจัดการพลังงานและระบบอัตโนมัติ เร่งผลักดันโซลูชั่นดาต้าเซ็นเตอร์ที่พร้อมรองรับ AI ได้ครบวงจร ด้วยการเปิดตัวโซลูชั่นใหม่เพื่อตอบโจทย์ความท้าทายเร่งด่วนด้านพลังงานและความยั่งยืน ที่เกิดจากความต้องการด้านระบบ AI ที่เติบโตแบบก้าวกระโดด

ประกาศเรื่องแรกคือการเปิดตัวการออกแบบอ้างอิงใหม่สำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ (New data center reference design) ซึ่งเป็นการพัฒนาร่วมกับ NVIDIA รองรับการระบายความร้อนด้วยของเหลว และคลัสเตอร์ AI ที่มี high-density ได้สูงสุดถึง 132 กิโลวัตต์ต่อแร็ค การออกแบบใหม่นี้ มีการประยุกต์ให้เหมาะกับชิป GB200 NVL72 และ Blackwell ของ NVIDIA โดยช่วยลดความซับซ้อนในกระบวนการวางแผนและการติดตั้ง ด้วยสถาปัตยกรรมที่ผ่านการพิสูจน์และรับรอง ซึ่งตอบโจทย์ความท้าทายเฉพาะในการใช้ระบบระบายความร้อนด้วยของเหลวในสเกลใหญ่

นอกจากนี้ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ยังเปิดตัว ยูพีเอสรุ่นใหม่  Galaxy VXL มี high-density สูง ในรูปทรงที่กะทัดรัดที่สุดในอุตสาหกรรม โดยยูพีเอสแบบ high-density ตัวนี้ ออกแบบมาเพื่อรองรับการใช้งาน AI ดาต้าเซ็นเตอร์และเวิร์กโหลดไฟฟ้าขนาดใหญ่ ซึ่ง Galaxy VXL นี้ช่วยให้สามารถประหยัดพื้นที่ได้ถึง 52% เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในอุตสาหกรรม และด้วยความหนาแน่นด้านพลังงานที่สูงถึง 1,042 กิโลวัตต์ ต่อตารางเมตร จึงเป็นยูพีเอสแบบโมดูลาร์ที่ปรับขยายได้ถึง 1.25 เมกะวัตต์ โดยออกแบบมาเพื่อให้พลังงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นในพื้นที่ขนาดเล็กที่มีความหนาแน่นสูง

ทั้งสองนวัตกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของโซลูชั่นดาต้าเซ็นเตอร์ที่รองรับ AI แบบครบวงจรของชไนเดอร์ อิเล็คทริค ที่มุ่งเน้น 3 เรื่องหลัก ได้แก่ การพัฒนากลยุทธ์ด้านพลังงานสำหรับยุค AI การปรับใช้โครงสร้างพื้นฐานขั้นสูง และการให้คำปรึกษาด้านความยั่งยืน เพื่อให้ประโยชน์สำหรับเจ้าของและผู้ประกอบการดาต้าเซ็นเตอร์ ในการติดตั้งโครงสร้างพื้นฐานที่มีความหนาแน่นสูงและประหยัดพลังงาน เพื่อรองรับเวิร์กโหลด AI ได้อย่างยั่งยืนที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

“ผลกระทบด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมจาก AI กำลังขยายตัวรวดเร็วอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และสิ่งสำคัญที่สุดคือเราต้องลดปริมาณการใช้พลังงานให้น้อยลง ด้วยการหาวิธีการใหม่ๆ เพื่อลดการปล่อยคาร์บอนจากดาต้าเซ็นเตอร์และโครงสร้างพื้นฐานระบบดิจิทัล” ปานกาจ ชาร์มา รองประธานบริหาร กลุ่มดาต้าเซ็นเตอร์ และเครือข่าย ชไนเดอร์ อิเล็คทริค กล่าว “ที่ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เรามุ่งมั่นที่จะก้าวข้ามขีดจำกัด ด้วยการยกระดับมาตรฐานใหม่ และกำหนดทิศทางอนาคตของ AI ควบคู่กับการปกป้องสิ่งแวดล้อม ซึ่งต้องอาศัยกลยุทธ์ที่ครอบคลุมตั้งแต่ระบบกริด ไปจนถึงชิป เครื่องทำความเย็น และอื่นๆ อีกมากมาย”

การเป็นพันธมิตรกับ NVIDIA

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้พัฒนาการออกแบบอ้างอิงด้านดาต้าเซ็นเตอร์ล่าสุดร่วมกับ NVIDIA โดยรองรับคลัสเตอร์ AI ที่ใช้ระบบระบายความร้อนด้วยของเหลว พร้อมทั้งแก้ปัญหาท้าทายในการติดตั้งระบบระบายความร้อนด้วยของเหลวในสภาพแวดล้อมดาต้าเซ็นเตอร์ประเภท Hyperscale, Colocation และ Enterprise โดยเฉพาะ

การออกแบบอ้างอิงนี้ สร้างจากความร่วมมือระหว่างสองบริษัท โดยให้ทางเลือกทั้งสำหรับระบบกระจายของเหลวหล่อเย็น (Liquid-to-liquid Coolant Distribution Units หรือ CDUs) ไปยังจุดต่างๆ ของระบบระบายความร้อน และระบบระบายความร้อนด้วยของเหลวหล่อเย็นให้ไหลผ่านโดยตรงไปยังชิป (Direct-to-Chip) ซึ่งเป็นจุดที่มีความร้อนสูง นอกจากนี้ยังแบ่งปันแผนงานด้านกลไกการทำงานและระบบไฟฟ้าอย่างครบถ้วน เพื่อให้มั่นใจถึงการดำเนินงานของ AI ดาต้าเซ็นเตอร์ ในอนาคตที่มีประสิทธิภาพด้านพลังงานและยั่งยืนมากยิ่งขึ้น

การออกแบบดังกล่าว พัฒนาขึ้นโดยใช้เครื่องมือด้านซอฟต์แวร์ของชไนเดอร์ อิเล็คทริค เช่น Ecodial และ EcoStruxure™ IT Design CFD โดยสามารถปรับแต่งให้ตรงกับความต้องการเฉพาะด้านเวิร์กโหลด AI ขณะเดียวกันยังช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถใช้ประโยชน์จากการออกแบบโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืนและให้ประสิทธิภาพด้านพลังงานสูงสุดสำหรับการใช้งานแบบ high-density

การสร้างอนาคตของการประมวลผลแบบเร่งความเร็ว และ AI จำเป็นต้องอาศัยความเร็วและระบบโครงสร้างที่มั่นคง” เจนเซนหวง ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ NVIDIA กล่าว “ความร่วมมือของเรากับ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ช่วยให้ลูกค้าสามารถออกแบบนวัตกรรมเทคโนโลยีของโลกบนโครงสร้างพื้นฐานที่เสถียรและมีความยืดหยุ่น เรากำลังร่วมกันสร้างศูนย์ข้อมูล AI ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับการประมวลผลแบบเร่งความเร็ว รองรับสถาปัตยกรรมที่ซับซ้อน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการส่งมอบระบบอัจฉริยะทางดิจิทัลให้กับทุกบริษัทและทุกอุตสาหกรรม”

โซลูชั่น AI ดาต้าเซ็นเตอร์ แบบครบวงจร

การประกาศเปิดตัวนวัตกรรมเหล่านี้ นับเป็นการตอกย้ำความมุ่งมั่นของ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ในการสร้างโซลูชั่นดาต้าเซ็นเตอร์แบบครบวงจร ให้ความยั่งยืน และพร้อมรองรับ AI อย่างเต็มรูปแบบ เพื่อช่วยลูกค้าลดการปล่อยคาร์บอนจากโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลทุกที่ทั่วโลก โดยเน้นที่ 3 ประเด็นสำคัญ ได้แก่

กลยุทธ์พลังงานสำหรับยุค AI: ชไนเดอร์ อิเล็คทริค สนับสนุนบริษัทต่าง ๆ ในการจัดหาพลังงานหมุนเวียนและเพิ่มประสิทธิภาพด้านการผลิตพลังงานไฟฟ้าในสถานที่ได้อย่างเหมาะสม ด้วยแหล่งพลังงานที่หลากหลาย เช่น ลม แสงอาทิตย์ และไฮโดรเจน โดยให้บริการหลากหลาย เช่น การเลือกสถานที่ และการวิเคราะห์ภูมิศาสตร์ตามแผนการติดตั้งของลูกค้า รวมถึงสนับสนุนการผลิตพลังงานในสถานที่ผ่าน AlphaStruxure ซึ่งช่วยให้มั่นใจถึงความรวดเร็วในการออกสู่ตลาด ความน่าเชื่อถือ ความยืดหยุ่น และความยั่งยืนของแหล่งพลังงานที่เลือกใช้

โซลูชั่นโครงสร้างพื้นฐานขั้นสูง ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้พัฒนาพอร์ตโฟลิโอที่ครอบคลุมระบบโครงสร้างพื้นฐานที่มีความหนาแน่นสูง และประหยัดพลังงาน เพื่อรองรับความต้องการด้าน AI ที่เกินกว่า 100 กิโลวัตต์ ต่อแร็ค ซึ่งรวมถึงส่วนประกอบโครงสร้างพื้นฐานของดาต้าเซ็นเตอร์ตั้งแต่กริดไปจนถึงชิป และจากชิปไปจนถึงชิลเลอร์ รวมถึงซอฟต์แวร์บริหารจัดการพลังงาน และการมอนิเตอร์ระยะไกลด้วยขุมพลังของ AI และการบริการด้านดิจิทัลสำหรับเพิ่มประสิทธิภาพตลอดวงจรการทำงานของระบบเหล่านี้

Galaxy VXL UPS รุ่นใหม่ของ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ที่เปิดตัวในวันนี้ เป็นผลิตภัณฑ์ล่าสุดที่เสริมเข้ามาในสายผลิตภัณฑ์ด้านระบบโครงสร้างพื้นฐานขั้นสูงที่ครบวงจรของบริษัทฯ

นอกจากนี้ เพื่อรับมือกับอุณหภูมิที่สูงขึ้นจากเวิร์กโหลดที่มี high-density สูง ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เพิ่งลงนามในข้อตกลงเพื่อเข้าซื้อหุ้นส่วนใหญ่ใน Motivair Corporation ซึ่งจะช่วยเสริมสายผลิตภัณฑ์ด้านการระบายความร้อนด้วยของเหลวของบริษัทและเสริมความเชี่ยวชาญในระบบระบายความร้อนด้วยของเหลวแบบ Direct-to-Chip และโซลูชั่นความร้อนที่มีความจุสูง

ให้ประสิทธิภาพและความยั่งยืน ธุรกิจที่ปรึกษาด้านความยั่งยืนของชไนเดอร์ อิเล็คทริค ช่วยลูกค้าลดคาร์บอนได้เกินเป้าหมายด้วยกลยุทธ์ความยั่งยืนที่ปรับให้เหมาะต่อความต้องการเฉพาะ รวมถึงการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และโปรแกรมการมีส่วนร่วมกับซัพพลายเออร์ โดยบริการให้คำปรึกษาระดับโลกเหล่านี้ ยังให้ข้อมูลเชิงลึกที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลผ่าน EcoStruxure Resource Advisor และได้รับการสนับสนุนจากผู้เชี่ยวชาญ 2,400 ราย ในกว่า 100 ประเทศ

เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานของ AI

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ยังสนับสนุนแนวทางที่ยึดตามหลักวิทยาศาสตร์ในการ ‘bend the curve’ ซึ่งเป็นการลดการใช้พลังงาน หัวใจสำคัญของแนวทางนี้คือการนำ ‘ความฉลาดด้านพลังงานสำหรับ AI ที่ยั่งยืน’ มาช่วย ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เชื่อว่าสามารถบรรลุเป้าหมายนี้ได้ ด้วยการผสานโครงสร้างพื้นฐานของศูนย์ข้อมูลเข้ากับการดำเนินงานที่ขับเคลื่อนด้วย AI

วิธีนี้นอกจากจะช่วยให้อุตสาหกรรมต่างๆ ลดการปล่อยคาร์บอนจากการใช้พลังงานของ AI แล้ว ยังเป็นการนำความสามารถของ AI มาช่วยในการตรวจสอบและให้ข้อมูลเชิงลึก เสมือนเป็นเครื่องมือที่ช่วยลดการปล่อยคาร์บอนในวงกว้างได้อีกด้วย การบรรลุวิสัยทัศน์นี้ต้องอาศัยความมุ่งมั่นร่วมกันในการติดตั้งโซลูชั่นที่ให้ความยั่งยืนและใช้ศักยภาพของ AI มาช่วยขับเคลื่อนประสิทธิภาพในทุกภาคส่วน
“ภายในปี 2027 คาดว่าการใช้พลังงานไฟฟ้าของดาต้าเซ็นเตอร์จะคิดเป็น 2.5% ของความต้องการพลังงานทั่วโลก โดยส่วนที่เหลือ 97.5% จะกระจายอยู่ตามอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น อาคาร ภาคการผลิต ภาคขนส่ง และภาคพลังงาน” นายฌอน เกรแฮมกรรมการผู้จัดการฝ่ายวิจัย ด้าน Cloud to Edge Datacenter Trends จาก IDC กล่าว “ในขณะที่ดาต้าเซ็นเตอร์ต่างมุ่งสู่เป้าหมายการเป็น Net Zero ท่ามกลางการเติบโตอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน คำมั่นสัญญาด้านความยั่งยืนที่แท้จริงอยู่ที่การใช้ AI เพื่อลดการปล่อยคาร์บอนในห่วงโซ่คุณค่าทั้งหมดในอุตสาหกรรมต่างๆ ดังที่ชไนเดอร์ อิเล็คทริค และ NVIDIA ได้ให้เห็นว่าความร่วมมือในระยะยาว และนวัตกรรม คือสิ่งจำเป็นในการขับเคลื่อนประสิทธิภาพและความยั่งยืน”

ข้อมูลเพิ่มเติมด้านการออกแบบอ้างอิง ที่พัฒนาร่วมกับ NVIDIA ในยูพีเอสรุ่น Galaxy VXL หรือ โซลูชั่นดาต้าเซ็นเตอร์ที่พร้อมสำหรับ AI แบบครบวงจร เยี่ยมชมได้ที่เว็บไซต์


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำจัดงาน Innovation Day เปิดตัว MasterPacT MTZ Active เบรกเกอร์ขุมพลังดิจิทัล

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำทีมโดย นายเผดิมศักดิ์ รัตนเรืองศักดิ์ (กลาง) รองประธานฝ่ายธุรกิจ เพาเวอร์ โพรดักส์ ดูแลกลุ่มคลัสเตอร์ ไทย ลาว และเมียนมา  ได้จัดงาน Innovation Day เปิดตัว MasterPacT MTZ Active เซอร์กิตเบรกเกอร์มาพร้อมขุมพลังแห่ง IoT รุ่นใหม่ล่าสุด ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบไฟฟ้า ยกระดับความปลอดภัยและความยั่งยืน มาพร้อม Energy Reduction Maintenance Setting (ERMS) ภายในตัว ช่วยปกป้องอันตรายจากประกายไฟ ที่อาจเกิดกับเจ้าหน้าที่บำรุงรักษา และด้วยการออกแบบที่ใช้งานง่ายของชุดควบคุม ช่วยให้การตั้งค่าฟังก์ชั่นการป้องกันทั้งหมดสะดวกขึ้น รวมถึงเรื่องของกระแสไฟฟ้า การทดเวลา และการแจ้งเตือน อีกทั้งตอกย้ำความมุ่งมั่นด้านการคิดค้นนวัตกรรมของชไนเดอร์ อิเล็คทริค งานนี้ได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมงานจำนวนมาก อาทิ ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมพลังงาน และพันธมิตรทางธุรกิจ โดยงานมีขึ้น ณ QUARTIER CineArt, ชั้น 4, ศูนย์การค้า EmQuartier เมื่อเร็วๆ นี้


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ปลื้ม คว้าใบรับรองความปลอดภัยทางไซเบอร์ขั้นสูง ให้โซลูชั่น EcoStruxure™ IT DCIM ได้สำเร็จเป็นเจ้าแรกในอุตสาหกรรม

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นในการจัดการพลังงานและระบบอัตโนมัติ ประกาศการเป็นเจ้าแรกในอุตสาหกรรมที่ Network Management Card 3 (NMC3) ของแพลตฟอร์ม EcoStruxure IT ได้รับใบรับรองความปลอดภัยทางไซเบอร์ในระดับที่เหนือชั้นขึ้นไปอีก โดยเป็นการ์ดจัดการเครือข่ายสำหรับการบริหารโครงสร้างดาต้าเซ็นเตอร์ หรือ Data Center Infrastructure Management (DCIM) รายแรกในอุตสาหกรรมที่ได้รับมาตรฐาน IEC 62443-4-2 Security Level 2 (SL2) จาก IEC ซึ่งเป็นคณะกรรมการอิเล็กโทรเทคนิคระหว่างประเทศ (IEC)

TÜV Rheinland หนึ่งในผู้ให้บริการด้านการทดสอบชั้นนำรายใหญ่ที่สุดของโลก ได้ให้การรับรองแพลตฟอร์ม NMC3 ด้วยความเป็นกลาง เพื่อให้มั่นใจว่าสินค้าจากผู้ผลิตที่ออกแบบมาสำหรับดาต้าเซ็นเตอร์และสภาพแวดล้อม IT แบบกระจายศูนย์ จะเป็นไปตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด โดยผ่านการทดสอบ และการประเมินอย่างละเอียด

การรับรองความปลอดภัยไซเบอร์ใหม่ในระดับสูงนี้ นับเป็นการตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของชไนเดอร์ อิเล็คทริค ในการเป็นผู้นำอุตสาหกรรมด้านการดำเนินงานด้วยความปลอดภัย และเพิ่มการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ โดยการรับรอง SL2 มีข้อกำหนดที่เข้มงวดมากขึ้น และให้ความยืดหยุ่นด้านความปลอดภัยที่สูงกว่าระดับ SL1 ที่ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้รับในปีที่ผ่านมา

นอกจากมาตรฐานใหม่แล้ว TÜV Rheinland ยังให้การรับรองชไนเดอร์ อิเล็คทริค และกระบวนการทำงานด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ อาทิ NMC3 ว่าเป็นไปตามข้อกำหนด ISASecure® Secure Development Lifecycle Assurance (SDLA)

เทคโนโลยี NMC3 ถูกผสานรวมอยู่ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ภายใต้ EcoStruxure IT DCIM ส่วนใหญ่ของชไนเดอร์ อิเล็คทริค โดยให้การทำงานและการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถเข้าถึงได้จากระยะไกลผ่านเครือข่าย สำหรับการควบคุมระบบไฟฟ้าและระบบโครงสร้างด้านการระบบความร้อนที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง

“จากรายงาน Allianz Risk Barometer ประจำปี 2024 พบว่าปัญหาทางไซเบอร์ถูกจัดอันดับให้เป็นความกังวลอันดับหนึ่งของธุรกิจ โดยมีการรายงานค่าใช้จ่ายเฉลี่ยที่มากกว่า 4 ล้านดอลลาร์ต่อเหตุการณ์ เราจึงเข้าใจได้ว่าทำไมความปลอดภัยไซเบอร์ถึงเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้น ๆ สำหรับ CIOs” เควิน บราวน์ รองประธานอาวุโสด้าน EcoStruxure IT และธุรกิจศูนย์ข้อมูลของชไนเดอร์ อิเล็คทริค กล่าว “การได้รับการรับรองความปลอดภัยไซเบอร์ด้วยมาตรฐาน IEC 62443-4-2 SL2 และ ISASecure® SDLA ทำให้ชไนเดอร์ อิเล็คทริคเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมที่มีการรับรองทั้งสองด้าน จึงช่วยลดความเสี่ยงต่อโครงสร้างพื้นฐานหลัก”

ลดความซับซ้อนในกระบวนการติดตั้งเฟิร์มแวร์

หลายบริษัทต่างพบอุปสรรคในการคอยติดตามการอัปเดตเฟิร์มแวร์ ลูกค้าองค์กรหลายรายบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน และระบบทำความเย็นหลัก ด้วยเครื่องมือการบริหารจัดการภายในองค์กร เครื่องมือบริหารจัดการเครือข่ายจากผู้ให้บริการรายอื่นๆ หรือระบบบริหารจัดการอาคาร ซึ่งระบบเหล่านี้ไม่รู้ว่าเมื่อใดที่เฟิร์มแวร์ที่มีการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ปลายทาง โดยเฉพาะในสภาพแวดล้อมเอดจ์และการทำงานแบบกระจายศูนย์ จึงจำเป็นต้องมีการอัปเดต ระบบ EcoStruxure IT Secure NMC มีการจัดการเฟิร์มแวร์ที่ฝังอยู่ภายในได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยเครื่องมือใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยเฉพาะ โดยเครื่องมือ Secure NMC System Tool จะเปลี่ยนแปลงกระบวนการที่ยุ่งยาก ทั้งการค้นหา และการติดตั้งเฟิร์มแวร์เวอร์ชั่นล่าสุดบนอุปกรณ์ทั้งหมด ทำให้กระบวนการทำงานเร็วขึ้นถึง 90% ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องค้นหาเฟิร์มแวร์แบบเฉพาะกิจอีกต่อไป ไม่ต้องตรวจสอบว่าเฟิร์มแวร์นั้นเป็นเวอร์ชั่นล่าสุดสำหรับอุปกรณ์หรือไม่ และไม่ต้องอ่านบันทึกการเปลี่ยนแปลงเพื่อทำความเข้าใจว่ามีอะไรรวมอยู่ในเวอร์ชั่นใหม่ก่อนที่จะดาวน์โหลดและอัปเดตอุปกรณ์ เพราะเครื่องมือ Secure NMC System Tool จะแจ้งเตือนลูกค้าเมื่อมีเฟิร์มแวร์ใหม่ที่พร้อมใช้งาน และแนะนำขั้นตอนการติดตั้งเวอร์ชั่นใหม่

ประโยชน์ของระบบ Secure NMC ได้แก่

  1. หมดปัญหากังวลใจเรื่องระบบไม่ทันสมัย โดยช่วยให้บริหารจัดการเฟิร์มแวร์ได้ง่ายขึ้น เร็วขึ้นถึง 90% และช่วยลดความเสี่ยง
  2. ดำเนินการสอดคล้องตามข้อบังคับอย่างต่อเนื่องโดยลูกค้าจะมีแนวทางในการอัปเดตความปลอดภัยทางไซเบอร์สำหรับโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานและระบบทำความเย็นหลักที่เป็นระบบและได้มาตรฐาน
  3. ลดความเสี่ยงต่อการโจมตีที่อาจเกิดขึ้น การรับรองมาตรฐานความปลอดภัยทางไซเบอร์ IEC 62443-4-2 SL2 และ ISASecure® SDLA เมื่อมารวมกับเครื่องมือระบบ Secure NMC ช่วยให้มั่นใจได้ว่าอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อได้รับการป้องกันอีกระดับ ด้วยการอัปเดตความปลอดภัยล่าสุด

“EcoStruxure IT มอบแนวทางที่มีประสิทธิภาพให้กับลูกค้า ให้ความยืดหยุ่นในการจัดการโครงสร้างพื้นฐานไอทีได้ตามต้องการโดยง่ายดาย รวมถึงการบริหารจัดการได้สอดคล้องตามข้อบังคับด้านความปลอดภัยไซเบอร์ เพราะการรักษาความปลอดภัยไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องยุ่งยาก” บราวน์กล่าว “เราเป็นรายแรกในอุตสาหกรรมที่นำเสนอทางออกดังกล่าว ขณะที่เรายังคงมุ่งมั่นในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานไอทีที่ให้ความยืดหยุ่น ปลอดภัย และยั่งยืน”

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ EcoStruxure IT ระบบ Secure NMC คลิกได้ที่นี่ การรับรองความปลอดภัยไซเบอร์ IEC 62443-4-2 SL2 ใหม่สามารถดูได้ที่นี่ การใช้งานเฟิร์มแวร์ต้องสมัครสมาชิก Secure NMC ก่อนเพื่อเข้าถึงเฟิร์มแวร์ที่ได้รับการรับรอง IEC ผ่านเครื่องมือ Secure NMC System


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค จับมือ กรีนเยลโล่ ปรับโซลูชั่นระบบปรับอากาศใหม่ทั้งโรงงานเพื่อประสิทธิภาพที่ยั่งยืน

นายมงคล ตั้งศิริวิช ประธาน ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ดูแลกลุ่มคลัสเตอร์ ประเทศไทย ลาว เมียนมา ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง กับ นายสเตฟาน ดูเฟรน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายพาณิชย์และพันธมิตร กรีนเยลโล่ ประเทศไทย เพื่อยกระดับระบบปรับอากาศ HVAC ด้วยการออกแบบใหม่ตามเทคโนโลยีล่าสุดในโรงงานผลิตของ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ณ นิคมอุตสาหกรรมบางปู เพื่อลดต้นทุนด้านพลังงาน และลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ พร้อมทั้งรองรับสายการผลิตในอนาคต โดย กรีนเยลโล่ จะใช้โซลูชั่นจาก ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ที่มีจุดเด่นในการสร้างความยั่งยืน พร้อมกันนี้ กรีนเยลโล่ จะดูแลเรื่องการบริการ การบำรุงรักษา ตามมาตรฐานของ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค อีกด้วย

ความร่วมมือในครั้งนี้ของ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค และ กรีนเยลโล่ มีเจตนารมณ์เดียวกัน คือ การยกระดับและตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนการทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัล เพื่อสร้างความยั่งยืน โดยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานและค่าบำรุงรักษา พร้อมทั้งลดการปล่อยคาร์บอนได้ในคราวเดียวกัน ซึ่งได้คาดการณ์ไว้ว่า หลังจากการติดตั้งระบบต่างๆ พร้อมใช้งาน จะช่วยให้โรงงานชไนเดอร์ อิเล็คทริค ในประเทศไทย ลดการปล่อยคาร์บอนได้ถึง 720 ตัน ต่อปี

เทคโนโลยีที่ กรีนเยลโล่ ใช้ในการปรับปรุงและยกระดับระบบปรับอากาศ HVAC ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ที่เชื่อมต่อกันได้แบบ IoT เซ็นเซอร์ที่ใช้ในการตรวจจับและรวบรวมข้อมูล โดยใช้ซอฟต์แวร์ EcoStruxure Building Operation รุ่นล่าสุด ช่วยในการบริหารจัดการอาคาร สามารถให้ข้อมูลเชิงลึกและวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพในแบบเรียลไทม์ ลดกระบวนการทำงานที่ซ้ำซ้อน ลดต้นทุนด้านการซ่อมบำรุง และที่สำคัญช่วยให้สามารถใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ยังมีความพร้อมในการถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านผู้เชี่ยวชาญของโรงงาน โดยใช้โรงงานเป็นต้นแบบและกรณีศึกษา ในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน เพื่อให้คู่ค้าและลูกค้าที่มีเป้าหมายเดียวกัน ได้เห็นผลลัพธ์ที่แท้จริงตามเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน และ Net Zero ในอนาคตอีกด้วย


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ปรับโฉมดาต้าเซ็นเตอร์ ให้พร้อมสำหรับ AI

โดย นาตาลยา มากาโรชกีนา รองประธานอาวุโส, Secure Power International, ชไนเดอร์ อิเล็คทริค

ในปีที่ผ่านมา ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เติบโตอย่างรวดเร็วเหมือนการมาถึงของยุคดิจิทัล ที่สะท้อนภาพการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วสู่การใช้งานอินเทอร์เน็ตในช่วงปลายทศวรรษ 1990 ปัจจุบันปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เข้ามาปฏิวัติอุตสาหกรรม และนิยามการใช้ชีวิตประจำวันในรูปแบบใหม่ อีกทั้งสร้างผลกระทบมากมายอย่างรวดเร็ว

แรงกระเพื่อมของ AI มีแนวโน้มที่จะขยายตัวเพิ่มอย่างมากมายภายในไม่กี่ปีข้างหน้า การลงทุนด้าน generative AI ในปี 2023 มีมูลค่าสูงถึง 25,200 ล้านดอลลาร์ สูงกว่าเม็ดเงินที่ลงทุนในปี 2022 ถึงเกือบ 9 เท่า และเมื่อเทียบเงินลงทุนในปี 2019 นับว่าเป็นอัตราเพิ่มที่สูงในราว 30 เท่า ทีเดียว เหล่านี้คือข้อเท็จจริงที่ถูกหยิบยกมาไฮไลท์ในรายงาน AI Index ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด

การเติบโตของ AI ยังชี้ให้บรรดาบริษัทดาต้าเซ็นเตอร์ เห็นถึงโอกาสในการสร้างนวัตกรรมและขยายการนำเสนอบริการใหม่ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการในการเปลี่ยนมาใช้แอปพลิเคชั่นที่ขับเคลื่อนด้วย AI รวมถึงตัวองค์กรเองเช่นกัน ซึ่งการนำเทคโนโลยี AI มาใช้ พร้อมปรับโครงสร้างพื้นฐานและการดำเนินการให้เหมาะสม จะช่วยให้ศูนย์ข้อมูลมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการใช้งาน AI ในภาคส่วนต่างๆ อย่างแพร่หลายได้ประสบความสำเร็จ

อย่างไรก็ตาม เรื่องเหล่านี้มาพร้อมต้นทุนที่ต้องจ่าย ปัจจุบัน AI ต้องการพลังงานจากศูนย์ข้อมูล 4.3 กิกะวัตต์ โดยคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 18 กิกะวัตต์ภายในปี 2028 ซึ่งจะทำให้ความต้องการพลังงานจากศูนย์ข้อมูล แซงหน้าอัตราเติบโตของความต้องการด้านพลังงานในปัจจุบัน ทำให้ผู้ให้บริการศูนย์ข้อมูลต้องพบกับความท้าทายทั้งเรื่องของสมรรถนะ และความยั่งยืน ศูนย์ข้อมูลจึงต้องปรับตัวเพื่อให้สอดรับกับความต้องการด้านพลังงานที่เปลี่ยนสู่การขับเคลื่อนด้วย AI ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

การขับเคลื่อนด้วย AI ต้องอาศัยศูนย์ข้อมูลแห่งอนาคต ไม่ใช่แค่การเพิ่มแอปพลิเคชั่นเข้าไปในศูนย์ข้อมูลที่มีอยู่ แต่ต้องใช้สถาปัตยกรรมที่แตกต่างจากเดิมอย่างสิ้นเชิง รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานไอทีเฉพาะด้าน ระบบไฟฟ้า และระบบระบายความร้อนที่ออกแบบมาเฉพาะเช่นกัน

สร้างความยั่งยืน ให้ AI ดาต้าเซ็นเตอร์

เราคาดการณ์ว่าเวิร์กโหลด AI จะโตเร็วกว่าเวิร์กโหลดของศูนย์ข้อมูลแบบเดิมถึง 2-3 เท่า และคิดเป็น 15-20 เปอร์เซ็นต์ ของความจุของศูนย์ข้อมูลทั้งหมดภายในปี 2028  โดยจะมีเวิร์กโหลดจำนวนมากย้ายมาที่เอจด์ ซึ่งอยู่ใกล้ผู้ใช้ปลายทางมากขึ้น

การฝึกฝนโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLM – Large Language Models) ต้องใช้ GPU หลายพันตัวทำงานร่วมกันในคลัสเตอร์ AI ขนาดใหญ่ ขนาดของคลัสเตอร์จะอยู่ที่ประมาณ 1 – 2 เมกะวัตต์ โดยที่ความหนาแน่นของแร็คจะอยู่ระหว่าง 25 -120 กิโลวัตต์ ขึ้นอยู่กับรุ่นและปริมาณของ GPU ซึ่งลักษณะเฉพาะเหล่านี้ส่งผลกระทบอย่างมากในเรื่องการใช้พลังงาน

ปัจจุบันศูนย์ข้อมูลส่วนใหญ่สามารถรองรับความหนาแน่นของพลังงานในแร็คสูงสุดได้เพียง 10 ถึง 20 กิโลวัตต์ ฉะนั้นในการติดตั้งแร็คจำนวนหลายสิบหรือหลายร้อยแร็ค โดยที่แต่ละแร็คใช้พลังงานเกิน 20 กิโลวัตต์ จะทำให้ศูนย์ข้อมูลในคลัสเตอร์ AI ต้องเจอกับความท้าทายด้านโครงสร้างพื้นฐานอย่างมาก ซึ่งชไนเดอร์ อิเล็คทริค มีความเชี่ยวชาญในการปรับโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพให้ตอบสนองความต้องการด้าน AI ได้อย่างเหมาะสม โดยใช้ความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมในไซต์มาช่วย จึงสามารถสนับสนุนให้ลูกค้าเปลี่ยนการตั้งค่าจากความหนาแน่นต่ำ (low-density) เป็นความหนาแน่นสูง (high-density) ได้เหมาะสมต่อการใช้งาน

ล่าสุดชไนเดอร์ อิเล็คทริคได้ร่วมมือกับ NVIDIA เพื่อปฏิวัติโครงสร้างพื้นฐานของศูนย์ข้อมูล ซึ่งช่วยสร้างความก้าวหน้าในเทคโนโลยี edge AI และ digital twin ซึ่งนอกจากชไนเดอร์ อิเล็คทริคจะเปิดตัวดีไซน์อ้างอิง สำหรับงานดัดแปลง หรือ retrofit ถึงสามแบบ สำหรับผู้ให้บริการศูนย์ข้อมูลที่ต้องการเพิ่มคลัสเตอร์ AI ในสถานที่เดิมที่มีอยู่ ยังได้เปิดตัวดีไซน์ใหม่ที่สามารถปรับขยายได้ สำหรับผู้ให้บริการที่ต้องการสร้างพื้นที่ไอทีสำหรับคลัสเตอร์ AI โดยเฉพาะ  ซึ่งเป็นดีไซน์สำหรับคลัสเตอร์เร่งการประมวลผลของ NVIDIA โดยดีไซน์เหล่านี้ ได้ถูกปรับให้เหมาะกับการใช้งานด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการประมวลผลข้อมูล การจำลองทางวิศวกรรม การออกแบบอิเล็กทรอนิกส์อัตโนมัติ การออกแบบยาโดยใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย รวมถึง Generative AI

ดีไซน์อ้างอิงเหล่านี้ จะให้เฟรมเวิร์กที่มั่นคงเพื่อตอบโจทย์ความต้องการเวิร์กโหลด AI ที่เพิ่มขึ้น โดยผสานการทำงานของแพลตฟอร์มเร่งการประมวลผลของ NVIDIA ร่วมกับดาต้าเซ็นเตอร์ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน รองรับการปรับขยายและให้ความยั่งยืน

การที่ศูนย์ข้อมูลมีต้นทุนพลังงานที่สูงขึ้นและใส่ใจด้านสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น จึงต้องให้ความสำคัญเรื่องฮาร์ดแวร์และโครงสร้างพื้นฐานที่ประหยัดพลังงาน รวมถึงแหล่งจ่ายไฟที่มีประสิทธิภาพสูง และแหล่งพลังงานหมุนเวียน เพื่อลดต้นทุนการดำเนินงาน ลดปริมาณการปล่อยคาร์บอน ซึ่งการออกแบบโครงสร้างพื้นฐานของชไนเดอร์ อิเล็คทริค นอกจากจะช่วยรองรับการทำงานของ AI ยังช่วยแก้ไขปัญหาพลังงานในอนาคต เอื้อต่อการพัฒนาศูนย์ข้อมูลที่ปรับขยายได้

การรักษาศูนย์ข้อมูล AI ให้เย็นอยู่เสมอ

ศูนย์ข้อมูล AI สร้างความร้อนในปริมาณมาก จึงต้องใช้การระบายความร้อนด้วยของเหลว เพื่อให้ประสิทธิภาพการทำงาน ที่ดีที่สุด ให้ความยั่งยืน และเชื่อถือได้

ในอีกมุมหนึ่ง ระบบระบายความร้อน ที่ไม่ได้รวมอยู่ในโครงสร้างพื้นฐานไอที ยังใช้พลังงานมากเป็นอันดับสองสำหรับศูนย์ข้อมูลแบบดั้งเดิม โดยคิดเป็น 20 ถึง 40 เปอร์เซ็นต์ ของการใช้พลังงานทั้งหมดในศูนย์ข้อมูล

การระบายความร้อนด้วยของเหลวเป็นสถาปัตยกรรมที่ให้ประโยชน์มากสำหรับบริษัทที่ให้บริการศูนย์ข้อมูล เช่น การช่วยให้ใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ใช้พื้นที่น้อยลง มีต้นทุนต่ำกว่า เสียงรบกวนน้อยลง และอื่นๆ อีกมากมาย โดยบริษัทศูนย์ข้อมูลในเอเชียกำลังเปลี่ยนมาใช้การระบายความร้อนด้วยของเหลวอย่างจริงจัง เพื่อลดการใช้พลังงาน

เมื่อความต้องการพลังประมวลผล AI เพิ่มมากขึ้น ทำให้ต้องแบกรับความร้อนที่เพิ่มขึ้นตาม การระบายความร้อนด้วยของเหลวจึงกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญในการออกแบบศูนย์ข้อมูล การใช้แนวทางที่สร้างสรรค์ ครอบคลุม และยืดหยุ่นจึงเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งชไนเดอร์ ให้การสนับสนุนลูกค้าเรื่องการนำระบบระบายความร้อนด้วยของเหลวมาใช้ มีโซลูชั่นหลากหลาย ครอบคลุมทั้งในส่วนพื้นที่ที่ไม่มีการใช้งาน (white space solutions) ตลอดจนกลยุทธ์ด้านการระบายความร้อน

นอกจากนี้ ชไนเดอร์ อิเล็คทริคยังได้เผยแพร่เอกสารฉบับใหม่เมื่อไม่นานมานี้ ชื่อว่า “การนำร่องด้วยสถาปัตยกรรมระบบระบายความร้อนด้วยของเหลวสำหรับศูนย์ข้อมูลสำหรับเวิร์กโหลด AI” ข้อมูลนี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยนำร่องให้บริษัทศูนย์ข้อมูลสามารถก้าวข้ามความซับซ้อนของระบบระบายความร้อนด้วยของเหลว พร้อมให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการออกแบบระบบ การนำไปใช้งาน และข้อควรพิจารณาในการปฏิบัติงาน

AI กับผลกระทบด้านความยั่งยืน

ผลกระทบของ AI เหมือนเหรียญสองด้าน แม้ AI ให้ศักยภาพในการเพิ่มประสิทธิภาพด้านพลังงาน แต่ก็สร้างความกังวลเรื่องการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นเช่นกัน

ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมบางรายคาดการณ์ว่าการประมวลผลแบบเร่งความเร็ว ซึ่งเป็นแรงขับเคลื่อนการปฏิวัติ AI จะช่วยให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น ในขณะที่ใช้ทรัพยากรโครงสร้างพื้นฐานของศูนย์ข้อมูลน้อยลง เมื่อการประมวลผลถูกเร่งความเร็ว ความหนาแน่นของแต่ละแร็คก็จะเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจทำให้จำนวนแร็คในศูนย์ข้อมูลลดลงมาก โดยหลักๆ คือการประมวลผลแบบเร่งความเร็วให้ศักยภาพในการเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมได้มาก

อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือการประเมินผลกระทบของ AI ในวงกว้างอย่างรอบคอบทั้งเรื่องสิ่งแวดล้อมและการใช้พลังงาน โดย Gartner เปิดเผยว่า 80% ของซีไอโอ จะใช้ตัวชี้วัดประสิทธิภาพที่เชื่อมโยงกับความยั่งยืนขององค์กรไอทีภายในปี 2027 การที่บริษัทต่างๆ ตั้งเป้าเพื่อลดการใช้พลังงานและลดการปล่อยคาร์บอนในระบบไอที รวมถึงในศูนย์ข้อมูล จำเป็นจะสร้างพื้นฐานข้อมูลจากข้อเท็จจริง สามารถเข้าถึงข้อมูลแบบเรียลไทม์ และเข้าถึงข้อมูลในอดีตได้

ซอฟต์แวร์ช่วยให้บริษัทต่างๆ สามารถวัดผล และรายงานประสิทธิภาพของศูนย์ข้อมูล โดยอิงจากข้อมูลในอดีต และวิเคราะห์แนวโน้มในอนาคต ซอฟต์แวร์ EcoStruxure IT สำหรับการจัดการโครงสร้างพื้นฐานศูนย์ข้อมูลของชไนเดอร์ อิเล็คทริค มีการผสานรวม AI และการมอนิเตอร์แบบเรียลไทม์ เพื่อเปลี่ยนเป็นข้อมูลเชิงลึกให้ลูกค้านำมาใช้ดำเนินการเพื่อปรับปรุงความยั่งยืน ซึ่งจากการศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจโดยรวมของ Forrester จัดทำโดย ชไนเดอร์ อิเล็คทริค พบว่าบริษัทต่างๆ สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าได้มากถึง 22.5% โดยใช้ความสามารถในการจัดการพลังงานขั้นสูงของ จาก EcoStruxure ที่ช่วยปรับการใช้พลังงานและประสิทธิภาพการระบายความร้อนได้เหมาะสมที่สุด

การเปิดตัวฟีเจอร์การรายงานความยั่งยืนอัตโนมัติรูปแบบใหม่ล่าสุด สำหรับซอฟต์แวร์ EcoStruxure IT ช่วยให้มองเห็นการใช้พลังงานและทรัพยากร มีการวิเคราะห์ข้อมูลในอดีต และการวัดผลโดยละเอียดได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ฟีเจอร์เหล่านี้ผสานความเชี่ยวชาญด้านความยั่งยืน กฎระเบียบข้อบังคับ ศูนย์ข้อมูล รวมถึงความเชี่ยวชาญในการการพัฒนาซอฟต์แวร์ มากว่า 20 ปี รวมถึงแมชชีนเลิร์นนิ่ง เพื่อช่วยให้องค์กรต่างๆ ปฏิบัติตามข้อกำหนดการรายงานด้านกฎระเบียบที่กำลังจะมีผลบังคับใช้ในอนาคต

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค มุ่งสร้างความยั่งยืนให้ศูนย์ข้อมูล

การที่ศูนย์ข้อมูลทำงานโดยอาศัยพลังงานจำนวนมาก ทำให้เกิดความท้าทายต่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ชไนเดอร์ อิเล็คทริค มุ่งมั่นในการช่วยให้ศูนย์ข้อมูลดำเนินการอย่างรับผิดชอบ เพื่อส่งเสริมอนาคตที่ยั่งยืนยิ่งขึ้น ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน ลดการปล่อยคาร์บอน และเพิ่มความยืดหยุ่นในการดำเนินงาน

ตัวอย่างหนึ่งของความมุ่งมั่นด้านความยั่งยืนของชไนเดอร์ อิเล็คทริค คือการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในความร่วมมือกับอุตสาหกรรม โดยชไนเดอร์ อิเล็คทริค เป็นสมาชิกผู้ก่อตั้ง Infrastructure Masons Climate Accord ร่วมกับบริษัท 50 แห่ง โดยมีข้อตกลงและจุดมุ่งหมายเพื่อลดการปล่อยคาร์บอนในวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ และพลังงานของโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล นอกจากนี้ ข้อตกลงดังกล่าวยังมุ่งที่การกำหนดมาตรฐานระดับโลก สำหรับบัญชีคาร์บอนในโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล เพื่อผลักดันอุตสาหกรรมให้บรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน

นอกจากนี้ ชไนเดอร์ ยังได้เปิดตัวคู่มือฉบับแรกของอุตสาหกรรม เพื่อรับมือกับความท้าทายในการออกแบบโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพสำหรับศูนย์ข้อมูลใหม่ เพื่อรองรับเวิร์กโหลดที่เกิดจาก AI ซึ่งกำหนด gold standard ด้วยการออกแบบศูนย์ข้อมูลที่ปรับให้เหมาะกับ AI เอกสารเผยแพร่ดังกล่าวมีชื่อว่า “การเปลี่ยนแปลงของ AI: ความท้าทายและแนวทางสำหรับการออกแบบศูนย์ข้อมูล” จะให้ข้อมูลเชิงลึกที่มีคุณค่าและทำหน้าที่เป็นต้นแบบที่สมบูรณ์สำหรับบริษัทต่างๆ ที่ต้องการนำ AI มาสร้างศักยภาพสูงสุดให้ศูนย์ข้อมูลของตน รวมถึงมุมมองเชิงคาดการณ์ของเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อรองรับคลัสเตอร์ AI แห่งอนาคตได้


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ภาคอุตสาหกรรมนำ AI มาช่วยสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันได้หรือไม่

โดย ฮีทเธอร์ ไซโคสกี รองประธานอาวุโส ธุรกิจอุตสาหกรรมและกระบวนการอัตโนมัติ

การใช้งาน AI เติบโตอย่างมหาศาลในช่วงหนึ่งปีครึ่งที่ผ่านมา และเป็นที่ประจักษ์ชัดเจนอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นผลพวงจากการพัฒนาที่ล้ำหน้าของโมเดลภาษาขนาดใหญ่ หรือ large language models (LLMs) นั่นเอง การเติบโตนี้ยังส่งแรงกระเพื่อมไปยังทุกอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นกรณีการใช้งานโดยตรงที่พร้อมเปิดตัวสู่ตลาด หรือโดยอ้อมจากการปฏิรูปที่เกิดขึ้นรุนแรงและรวดเร็วเพื่อช่วยให้ธุรกิจเติบโตและสร้างความยั่งยืนได้ดีในโลกของ AI

แม้ว่า ชไนเดอร์ อิเล็คทริค จะเป็นผู้นำด้านการปฏิรูปสู่ดิจิทัลและถือว่าเป็นผู้มาก่อนกาล ที่ประยุกต์ใช้ AI ตั้งแต่ยุคแรกๆ และ AI ก็แทรกซึมอยู่ในทุกที่ไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นในบ้าน ห้องนั่งเล่น  อาคารและกระทั่งในโรงงานของชไนเดอร์เองก็ตาม เราได้เห็นพัฒนาการของ AI ที่ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วแบบที่ไม่เคยเห็นมาก่อน จนมาวันนี้ แทนที่บริษัทต่างๆ จะตั้งคำถามว่า “เราจะใช้ AI กันเมื่อไหร่ดี” ต้องเปลี่ยนเป็นคำถามที่ว่า “เราจะใช้ AI ได้เร็วแค่ไหน”

ภาคอุตสาหกรรมไม่สามารถหลีกเลี่ยงกระแสของการผสานรวม AI ที่ขยายสู่วงกว้างได้ พร้อมกับต้องคิดว่าจะใช้ AI ให้สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกับกลยุทธ์หลักทางธุรกิจได้อย่างไร ซึ่งสำหรับชไนเดอร์ อิเล็คทริค เราได้ค้นหาแนวทางที่เป็นนวัตกรรมในการประยุกต์ใช้ระบบดิจิทัลที่มีอยู่แล้ว มาผสานรวมกับ AI เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก และระบบธุรกิจอัจฉริยะที่ทำงานได้ดียิ่งขึ้นจากข้อมูล ด้วยการนำข้อมูลหลายสิบปีมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ บางอย่างอยู่ในรูป AI สิ่งเหล่านี้แฝงอยู่ในเทคโนโลยีทั้งหมดของชไนเดอร์ ไม่ว่าจะเป็นในโรงงาน ภายในอุปกรณ์ หรือเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรก็ตาม ตั้งแต่อัลกอริทึมของแมชชีนเลิร์นนิ่ง ที่ช่วยสนับสนุนการวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ ตลอดจนการผสานรวม LLM แบบบูรณาการ โดยทำหน้าที่เสมือนผู้ช่วยนักบิน ซึ่ง AI ช่วยเร่งการดำเนินงานตามแผนบริหารจัดการพลังงานและระบบอัตโนมัติด้านอุตสาหกรรมของชไนเดอร์ได้เร็วยิ่งขึ้น

ตัวอย่างเช่น เมื่อไม่นานมานี้ชไนเดอร์ ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกับ Hy Stor Energy เพื่อพัฒนาการผลิตไฮโดรเจนสีเขียวแบบ off-grid และระบบกักเก็บพลังงานขนาดใหญ่ ภายใต้บันทึกความเข้าใจนี้ นอกจากชไนเดอร์จะมอบโซลูชันระบบอัตโนมัติ โซลูชันความปลอดภัย และแพลตฟอร์มควบคุมกระบวนการดำเนินงานของ AVEVA แล้ว ยังมอบซอฟต์แวร์เพิ่มประสิทธิภาพ AI ที่ช่วยปรับปรุงการวิเคราะห์สภาพอากาศ ช่วยให้ดำเนินงานในเชิงคาดการณ์ได้ และปรับปรุงโซลูชันการจัดการพลังงานแบบดิจิทัลให้แม่นยำขึ้นอีกด้วย การผสานกลยุทธ์ดิจิทัลที่ขับเคลื่อนด้วย AI ช่วยให้ Hy Stor Energy สามารถส่งมอบพลังงานปลอดคาร์บอน 100 เปอร์เซ็นต์ ให้แก่ลูกค้า รวมถึงพลังงานหมุนเวียนที่ปลอดภัย และเชื่อถือได้ในทันทีที่ต้องการ

โครงการ AI จะประสบความสำเร็จได้ ต้องคำนึงถึง 3 ปัจจัย

องค์ประกอบด้านมนุษย์ของ AI

ปีเตอร์ เฮอร์เวค ซีอีโอของชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้เคยกล่าวถึงมุมมองดังกล่าวในงาน CERA Week เมื่อตอนต้นปีว่า AI ทุกตัวเริ่มต้นและจบลงด้วยองค์ประกอบของมนุษย์ โดยอธิบาย AI ในแง่มุมที่เป็นการผสานปัญญาของมนุษย์ เข้ากับ AI หรือที่เรียกว่า “HI กับ AI” เมื่อรวมกันถึงจะสัมฤทธิ์ผลได้

ประการแรก มนุษย์มีความสำคัญต่อการสร้างและฝึกอบรมโมเดล AI เพื่อให้แน่ใจถึงความแม่นยำที่มากขึ้น และมีการป้อนข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้กับโมเดล AI ซึ่งเป็นข้อมูลจากประสบการณ์ความรู้ความเชี่ยวชาญของมนุษย์ ประการที่สอง มนุษย์เป็นแกนกลางในการเปลี่ยนแปลงการทำงาน ซึ่งจำเป็นต่อการผสานการทำงานร่วมกับ AI ได้สำเร็จ การบริหารการเปลี่ยนแปลงประเภทนี้ อาจหมายถึงการเอาคนใหม่มาร่วมในทีม หรือให้การสนับสนุนในการเรียนรู้ และพัฒนาทักษะให้ทีมงานที่มีอยู่ เพื่อช่วยสร้างความก้าวหน้าให้ AI ได้เร็วขึ้น การมุ่งเน้นที่องค์ประกอบสำคัญด้านมนุษย์ จะช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากชไนเดอร์จะใช้ประโยชน์ของนวัตกรรมเหล่านี้ในโรงงานของเราเองแล้ว ยังนำเรื่องเหล่านี้มาช่วยลูกค้าเช่นกัน  ขอให้ตระหนักว่าไม่ว่าพนักงานเจนไหนก็ตาม จะต้องใช้ AI เป็นตัวช่วยในการทำงานได้ง่ายขึ้น และจะดีมากหากพนักงานสามารถใช้ AI จัดการงานทุกอย่างได้อย่างสะดวก ปลอดภัย รับผิดชอบ และยั่งยืน

ในการใช้งานและผสานการทำงานร่วมกับ AI หากไม่มีการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่ดี แม้จะใช้โมเดล AI ที่ดีที่สุด ทำงานได้ลื่นไหลที่สุด ก็อาจล้มเหลวได้ ซึ่งนำไปสู่ประเด็นต่อไป นั่นคือ AI จะไม่มีทางประสบความสำเร็จได้หากขาดความน่าเชื่อถือ

ความเชื่อมั่นใน AI

สำหรับภาคอุตสาหกรรมสำคัญๆ อย่าง พลังงาน ความเชื่อมั่นใน AI ถือเป็นสิ่งจำเป็น และต้องให้ความสำคัญในระดับเดียวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์ ในขณะที่จุดเริ่มต้น อยู่ที่คุณภาพของข้อมูลที่ใช้ในการสร้างและฝึกโมเดล แต่ความเชื่อมั่นใน AI ก็จะต้องเกิดจากการแนวทางออกแบบที่คำนึงถึงความปลอดภัยตั้งแต่แรกเริ่ม ซึ่งหมายความว่า โปรโตคอลด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์จะต้องถูกสร้างและฝังไว้ในเครื่องมือ ในโซลูชัน AI รวมถึงกระบวนการต่างๆ ไม่ใช่ค่อยมาทำเพิ่มภายหลัง

การเสริมสร้างความเชื่อมั่นใน AI ยังหมายถึงการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา และสิ่งมีค่าสูงสุดขององค์กร สำหรับภาคพลังงาน ความเชื่อมั่นในระดับนี้มีความสำคัญสูงสุด เนื่องจากภาคพลังงาน มีการลงทุนกับการวิจัยและพัฒนา เพื่อสร้างหรือพัฒนาเทคโนโลยีและแหล่งพลังงานใหม่ๆ ที่จำเป็นต่อการเร่งการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงาน

ตัวอย่างเช่น EcoStruxure™ Automation Expert ของ Schneider เป็นโซลูชันระบบอัตโนมัติสำหรับอุตสาหกรรมที่ใช้ซอฟต์แวร์เป็นตัวกำหนดในการสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย ซึ่งลูกค้าสามารถนำข้อมูลหรือแหล่งความรู้จากชไนเดอร์ หรือส่วนอื่นๆ ขององค์กร ไปใช้ปรับปรุงการดำเนินงานได้ตลอดอายุการใช้งาน ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ให้ความปลอดภัยทางไซเบอร์

ความร่วมมือในโครงการ AI

อย่างที่เคยกล่าวไปว่า AI มีบทบาทอยู่ในทุกสิ่งที่ชไนเดอร์ทำ และในการผสานรวม AI อย่างเต็มรูปแบบได้สำเร็จ ความร่วมมือกับพันธมิตรคือสิ่งสำคัญ ซึ่งในความเป็นจริง ความร่วมมือ คือจุดเริ่มต้นในการทรานส์ฟอร์มสู่ AI เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในโลกที่ให้ความสำคัญกับ AI เป็นอันดับแรก

ตัวอย่างเช่น ชไนเดอร์ กำลังร่วมมือกับ Intel เพื่อนำเสนอโมดูล AI ที่เป็นส่วนหนึ่งในโซลูชัน EcoStruxure™ Automation Expert ตามที่กล่าวถึงก่อนหน้านี้ การทำงานร่วมกับ Intel ช่วยให้เราสามารถขยายศักยภาพของระบบอัตโนมัติที่ใช้ซอฟต์แวร์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของอุตสาหกรรมตั้งแต่การออกแบบ ไปจนถึงการบำรุงรักษา การเป็นพันธมิตรถือเป็นแนวทางของทั้งภาคอุตสาหกรรมในการผสานรวมการทำงานกับ AI ได้อย่างแท้จริง

หากคุณเป็นบริษัทที่รวบรวมข้อมูลมานานหลายทศวรรษ เช่นเดียวกับชไนเดอร์ อิเล็คทริค คุณจะต้องแน่ใจว่าได้มีการจัดวางบริบทให้กับข้อมูลนั้น นั่นคือสิ่งที่เราทำ ในเวลาที่ทำงานร่วมกับลูกค้าในฐานะพันธมิตร ต้องมั่นใจได้ว่าข้อมูลจะช่วยให้ลูกค้าสามารถตัดสินใจแก้ไขปัญหาที่เร่งด่วนที่สุดได้อย่างถูกต้อง

ขยายผลลัพธ์ของโอกาสที่ได้จาก AI

สิ่งที่แน่นอนที่สุด ก็คือ ถ้าใช้งาน AI ได้อย่างถูกต้อง จะช่วยสร้างผลลัพธ์ที่ดีขึ้น ยกระดับประสิทธิภาพการทำงาน และความคล่องตัว ด้วยการเชื่อมต่อฮาร์ดแวร์ในระบบอัตโนมัติ และซอฟต์แวร์อุตสาหกรรม ให้ทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น แม้ว่าจะมาจากซัพพลายเออร์คนละรายก็ตาม กุญแจสำคัญของความสำเร็จคือการหาพันธมิตรที่มีประสบการณ์เชิงลึกด้าน AI อีกทั้งมีความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เพื่อขยายผลลัพธ์ของโอกาสที่ AI นำเสนอให้กับคุณ และธุรกิจของคุณได้มากที่สุด


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค จับมือ AIS ส่ง APC Back-UPS Connect เสริมแกร่งหนุนเครือข่าย WiFi อัจฉริยะ ไฟตก ไฟดับ ให้ลูกค้ามั่นใจทำงานไม่สะดุด

การทำงานยุคดิจิทัล มีการดำเนินงานบนอินเทอร์เน็ตเป็นส่วนใหญ่ อาทิ การประชุม หรือ พรีเซนต์งานออนไลน์ การโทรแบบ VoIP (Voice over Internet Protocol) การค้าออนไลน์ การอัพโหลดคอนเทนต์ การแคสเกม เกมเมอร์ การ Live & Stream หรือการทำงานบนคลาวด์เป็นต้น ดังนั้นสปีดของอินเทอร์เน็ต และ WiFi ที่มีความเสถียรจึงเป็นเรื่องสำคัญเพื่อให้การทำงานราบรื่น ไม่สะดุด แต่ก็มีปัจจัยที่ยากแก่การควบคุมนั่นคือ ไฟตก ไฟดับ

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค จึงออกผลิตภัณฑ์ APC Back-UPS Connect สำหรับสำรองพลังงานเพื่อเราเตอร์ และโมเด็มที่รองรับระบบ VoIP รวมถึง Smart Home Assistant ทำให้การทำงานทั้งหมดที่อยู่บนโลกออนไลน์ไม่ขาดตอน ในระหว่างที่ไฟตก หรือไฟดับ มาพร้อมการออกแบบตัวอุปกรณ์ให้มีขนาดกะทัดรัด รองรับการเข้าและออกของกระแสไฟได้ถึง 36 วัตต์ แบบ DC 12 โวลต์ ล้ำหน้าด้วยแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนให้ รันไทม์สูงสุด 4 ชั่วโมง (สำหรับเราเตอร์ทั่วไป) เพื่อให้มั่นใจในการเชื่อมต่อที่เชื่อถือได้ มีทิป DC เพิ่มเติมให้มาในกล่องช่วยให้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์เครือข่ายได้หลากหลายแบรนด์

ล่าสุด ชไนเดอร์ อิเล็คทริค จับมือกับ AIS สานเจตนารมณ์ร่วมกัน สำหรับโซลูชั่นที่สามารถรองรับการทำงานยุคใหม่ได้อย่างไร้รอยต่อ ด้วยแพ็กเกจ SME AI-Powered Smart Router (เอสเอ็มอี เอไอ พาวเวอร์ สมาร์ท เราเตอร์) และ Office FibreLAN (ออฟฟิศ ไฟเบอร์แลน) ผ่านเครือข่าย WiFi อัจฉริยะ ตอบโจทย์ทุกการใช้งานเพื่อธุรกิจแต่ละขนาดได้อย่างลงตัว มาพร้อมความมั่นใจ ว่าการทำงานบนเครือข่าย WiFi ความเร็วสูงจะไม่สะดุดด้วย  APC Back-UPS Connect ฟรี มูลค่า 2,150 บาท ในทุกแพคเกจดังกล่าว


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เปิดโครงการ Schneider Electric Sustainability Impact Awards ปี3 ย้ำคำมั่น มุ่งสนับสนุนความยั่งยืนของพันธมิตร

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น ด้านการจัดการพลังงาน และระบบอัตโนมัติ เปิดตัวโครงการ Schneider Electric Sustainability Impact Awards เป็นปีที่ 3 เพื่อยกย่องผลงานของพันธมิตร คู่ค้า ในระบบนิเวศของชไนเดอร์ ในการสร้างโลกที่ยั่งยืนและกระตุ้นการใช้พลังงานไฟฟ้า ที่มาจากพลังงานสะอาดให้มากขึ้น โดยสามารถส่งผลงานได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 15 ตุลาคม 2024 โดยจะมีการประกาศผลผู้ชนะระดับโลกในช่วงต้นปี 2025

การรับสมัครและเกณฑ์การคัดเลือก สะท้อนถึงแนวทางด้านความยั่งยืนของชไนเดอร์ในแบบบูรณาการ โดยยังคงมุ่งเน้นที่ความพยายามในการลดคาร์บอนของผู้เข้าร่วมโครงการในเรื่องการใช้พลังงานไฟฟ้า ทั้งการลดและแทนที่ ขณะเดียวกันก็มีการพิจารณาให้ครอบคลุมวงกว้างมากขึ้น สำหรับความพยายามขององค์กรต่างๆ ในการสร้างอนาคตไฟฟ้า 4.0 (Electricity 4.0) ผ่านการดำเนินงาน ทั้งเรื่องการวางกลยุทธ์ การปรับใช้ดิจิทัล การลดการปล่อยคาร์บอน การปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ตลอดจนการติดตั้งเครื่องมือดิจิทัล และเทคโนโลยี รวมไปถึงตัวอย่างของผลกระทบและนวัตกรรมอื่นๆ นอกจากผู้ชนะจะได้รับการยอมรับอันทรงคุณค่าแล้ว ยังได้ประโยชน์ในแง่ของการเป็นที่ประจักษ์จากทั่วโลก ซึ่งอาจนำไปสู่โอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ

“เราเชื่อว่าเมื่อนวัตกรรมเดินหน้าไปพร้อมคำมั่นสัญญา เราจะสามารถขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมายและสร้างผลกระทบที่ยั่งยืนได้อย่างถาวร โครงการมอบรางวัลนี้ถือเป็นการเชิดชูเกียรติและฉลองชัยให้กับ #ImpactMakers ผู้ที่เดินหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง และมีแรงผลักที่กล้าแกร่งในการเปลี่ยนความปรารถนาอันแรงกล้า ให้กลายเป็นการกระทำที่นำไปสู่โลกที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าและดิจิทัลได้อย่างยั่งยืนมากขึ้น” คริส ลีออง ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด และคณะกรรมการบริหาร กล่าว

Pia Oelze ผู้จัดการใหญ่ฝ่ายดูแลลูกค้าหลัก ของ Henkel ผู้ได้รับรางวัลระดับโลกประจำปี 2023 เผยว่า “รางวัลนี้แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จทั้งในแง่ส่วนตัว และการทำงานเป็นทีมที่ยอดเยี่ยมระหว่าง Henkel และ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ในการสร้างโปรแกรมความยั่งยืนที่มุ่งเน้นการแก้ปัญหา และความก้าวหน้าร่วมกันเพื่อสร้างวันพรุ่งนี้ที่ดีกว่า”

การเข้าร่วมโครงการ

ผู้สนใจสามารถสมัครได้ตั้งแต่วันนี้ โดยต้องส่งผลงานภายในวันที่ 15 ตุลาคม 2024 (สมัครที่นี่) โดยชื่อที่ได้รับการเสนอพร้อมผลงานทั้งหมดจะถูกคัดเลือกให้เข้ารอบสุดท้ายเพื่อรับรางวัลระดับประเทศ และผู้ชนะระดับประเทศจะได้เข้าสู่รอบชิงชนะเลิศระดับภูมิภาค ก่อนที่จะได้รับการพิจารณาเพื่อชิงรางวัลระดับโลก โดยจะมีการประกาศผลผู้ชนะเลิศระดับโลกในเดือนเมษายน ปี 2025

โครงการในปี 2023 ได้มีผลงานเข้าประกวดมากกว่า 400 ชิ้น จาก 60 ประเทศ โดยมีบริษัท 12 แห่ง ที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าชิงรางวัล Sustainability Impact Awards ในระดับโลก และมีการประกาศผลในงาน Schneider Electric Innovation Summit ณ กรุงปารีส ไปเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2024

โครงการ Sustainability Impact Awards 2024 ยังคงเป็นแรงผลักดันอย่างต่อเนื่องสำหรับโครงการ Partnering for Sustainability initiative ของชไนเดอร์ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างระบบนิเวศพันธมิตรอันกว้างขวางของชไนเดอร์ เพื่อมอบอนาคตที่ยั่งยืนมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีอีกก้าวที่สำคัญคือการเปิดตัว Schneider Electric Sustainability School ซึ่งเป็นทรัพยากรด้านการศึกษาที่พร้อมให้บริษัทต่างๆ ทั่วโลกเข้ามาใช้ได้ฟรี เพื่อเร่งกระบวนการลดคาร์บอนของแต่ละองค์กรได้เร็วขึ้น


Exit mobile version