Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ เน้นปั้นวิศวกร IT พร้อมลุยตลาดแรงงานดิจิทัล

มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ (SAU) เปิดหลักสูตร FutureX  โดยร่วมกับ “WeStride” บริษัท EdTech Startup  ชั้นนำด้าน IT และเทคโนโลยี ที่มี Courseware จากมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก เพื่อพัฒนาหลักสูตรปริญญาตรี วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ผ่านการเรียนการสอนแบบออนไลน์ 100% เน้นสร้างทักษะกลุ่มงาน Software Engineering, AI, Machine Learning, Data Analytics ป้อนตลาดงานสายเทคโนโลยีในองค์กรที่มีความต้องการสูงมากในปัจจุบัน

ดร.ฉัททวุฒิ พีชผล อธิการบดีมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ กล่าวว่า “มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ ได้เปิดหลักสูตรใหม่ร่วมกับ WeStride ที่มุ่งมั่นต้องการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเรียนรู้ระดับปริญญาตรีในรูปแบบออนไลน์ผ่านโครงการ FutureX ในหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (ออนไลน์) Action Based Learning ซึ่งจะเป็นการสร้างโอกาสทางการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์คนยุคใหม่ มุ่งปฏิวัติการเรียนรู้ด้วยการเน้นฝึกทักษะจริง ลงมือทำจริง และการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น สร้างโอกาสให้นักศึกษาก้าวสู่สายงานเทคโนโลยีได้อย่างมั่นใจ”

นายชวิน อัศวเสตกุล CEO ของ WeStride เปิดเผยว่า จุดเด่นของโครงการ FutureX ซึ่งเป็นหลักสูตร Action-Based Online Learning เรียนออนไลน์ 100% โดยผสานการเรียนรู้ที่ทันสมัยเข้ากับการฝึกปฏิบัติจริง มุ่งเน้นการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และประสบการณ์ที่จับต้องได้ พร้อมการฝึกงานในอุตสาหกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมสู่โลกเทคโนโลยีแห่งอนาคต

นายชวิน กล่าวว่า “ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาซอฟต์แวร์, วิเคราะห์ข้อมูล หรือสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ เราพร้อมช่วยให้คุณสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งและพัฒนาเส้นทางอาชีพของคุณในช่วงสองปีสุดท้ายของการศึกษา”

หลักสูตรนี้ใช้แพลตฟอร์มที่ใช้งานง่าย เนื้อหาครอบคลุมและเข้มข้น มีอาจารย์ที่ปรึกษาตัวต่อตัว (One to One) ผ่านการเรียนการสอนแบบ Action-Based Learning ซึ่งมีโจทย์และโปรแกรมฝึกงานที่ให้นักศึกษาฝึกทักษะจริงตลอดระยะเวลาหลักสูตร สามารถเลือกได้ทั้งแบบออนไลน์หรือ On-site เพื่อเตรียมพร้อมก่อนเข้าสู่ตลาดงาน ทั้งนี้นักศึกษายังมีที่ปรึกษาด้านอาชีพผ่าน Career Coaching พร้อมผลักดันให้นักศึกษาได้งานทำหลังจบการศึกษาผ่านโปรแกรม Job Guarantee ผู้สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ FutureX.sau.ac.th


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ม.เอเชียอาคเนย์สอบผ่านมาตรฐานวิชาชีพไอที ITPE มากเป็นอันดับ 1 จากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ

มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ร่วมกับ สวทช., ITPEC  หน่วยงานนานาชาติ ทั้งภาครัฐและเอกชน จัดสอบมาตรฐานวิชาชีพไอที (ITPE) โดยในปีนี้มีนักศึกษา ม.เอเชียอาคเนย์ (SAU) สอบผ่านมาตรฐานวิชาชีพ ITPE มากเป็นอันดับ 1 ของประเทศ คิดเป็น 65.638 เปอร์เซ็นต์จากผู้เข้าสอบของมหาวิทยาลัยและหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วประเทศ

ดร.ฉัททวุฒิ พีชผล อธิการบดีมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ เปิดเผยว่า ทางสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์และสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ได้ร่วมกับ สถาบันพัฒนาบุคลากรแห่งอนาคต (Career for the Future Academy), สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) ร่วมมือกับกลุ่มภาคี 7 ประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น มาเลเซีย  ฟิลิปปินส์ เวียดนาม พม่า มองโกเลียและไทย เพื่อยกระดับบุคลากรด้าน IT ให้มีความพร้อมกับความต้องการของตลาดแรงงานที่ต้องการนักศึกษาที่มีทักษะความชำนาญด้านไอทีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ภายใต้ชื่อ Information Technology Professionals Examination (ITPE) โดยความร่วมมือดังกล่าวฯ เป็นหนึ่งในมาตรฐานสากลที่ได้รับการยอมรับในระดับภูมิภาค เพื่อสอบวัดระดับความรู้และทักษะด้านไอทีแบบไม่อิงผลิตภัณฑ์ใดๆ นักศึกษา SAU ที่มีใบรับรองวิชาชีพไอที ย่อมมีความได้เปรียบเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่มี โดยเพิ่มโอกาสที่จะได้รับคัดเลือกเข้าทำงานในองค์กรที่มีชื่อเสียง รวมทั้งโอกาสที่จะได้รับการพิจารณาเงินเดือนหรือสิทธิพิเศษต่าง ๆ ที่มากขึ้นแตกต่างจากพนักงานทั่วไป

ซึ่งจากการประกาศผลการสอบโครงการสอบมาตรฐานวิชาชีพไอที Information Technology Professional Examination (ITPE) ครั้งล่าสุด มีนักศึกษามหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ หรือ (SAU) สอบผ่านโครงการสอบมาตรฐานวิชาชีพไอที Information Technology Professional Examination (ITPE) มากเป็นอันดับที่ 1 จากผู้เข้าสอบจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วประเทศ ซึ่งเพิ่งได้รับการประกาศผลในปี 2564 ทั้งนี้นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ ประกอบด้วยสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจจำนวน 21 คน จากจำนวนผู้สอบผ่านของมหาวิทยาลัยเอกชนทั้งหมด  32  คน  นับเป็นครั้งแรกของ SAU ที่มีนักศึกษาผ่านการสอบเป็นจำนวนมากเป็นอันดับ 1 (65.638%) จากผู้เข้าสอบจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั้งหมด

มาตรฐานวิชาชีพไอที (ITPE) เป็นเครื่องมือชี้วัดของบริษัทชั้นนำทั้งในและต่างประเทศที่ต้องการรับนักศึกษาเข้าทำงานโดยสามารถมั่นใจได้ว่าผู้สอบผ่านมาตรฐาน ITPE ระดับสากลเป็นผู้มีความรู้ความสามารถด้านไอที นอกจากนี้ผู้สอบผ่าน ITPE ยังสามารถเสนอขอใบอนุญาตทำงานในญี่ปุ่น หรือมีสิทธิพิเศษในการพิจารณาคัดเลือกเข้ารับทุนการศึกษาด้านไอทีจากประเทศภาคีเครือข่ายมาตรฐานวิชาชีพไอที โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจุบันสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด 19 อาชีพทางด้านไอทีจึงเป็นที่ต้องการในตลาดจำนวนมาก

ผศ.ดร.ณัฏฐ์ โอธนาทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ กล่าวว่า เรามุ่งมั่น ผลักดันให้นักศึกษาสอบใบมาตรฐานวิชาชีพไอที (ITPE) ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ และคอมพิวเตอร์ธุรกิจ รวมถึงนักศึกษาในสาขาวิชาอื่น ๆ ที่มีความสนใจทางด้านไอที ให้สามารถเข้าร่วมสอบมาตรฐานวิชาชีพไอทีได้เช่นเดียวกัน เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสในการเข้าทำงานที่ต้องใช้ทักษะทางด้านไอทีอย่างเข้มข้น ทั้งหน่วยงานภาครัฐเอกชนชั้นนำในประเทศและนานาชาติ

“ไอทีพาสปอร์ตมีประโยชน์มากโดยจะเป็นเครื่องมือช่วยประเมินว่า ผู้สอบผ่านมีความรู้ความเข้าใจและความสามารถด้านไอทีอย่างแท้จริง รวมถึงผู้ที่สำเร็จการศึกษาไปแล้วและกำลังทำงานอยู่ในสถานประกอบการ มีความพร้อมด้านไอทีมากน้อยแค่ไหน ทั้งยังเป็นการปรับความรู้ด้านเทคโนโลยีให้ทันสมัย สร้างความมั่นใจและภาคภูมิใจให้แก่ผู้สอบ นอกจากนี้ผู้ที่สอบผ่านระดับ FE ยังสามารถขอใบขออนุญาตทำงาน (Work Permit) ไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นได้ด้วย” ผศ.ดร.ณัฏฐ์กล่าว

อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ต้องการสอบผ่านตามมาตรฐาน ITPE นี้ จะต้องฝึกฝนทักษะทางด้านไอทีให้เชี่ยวชาญเพื่อเตรียมเข้ารับการทดสอบ ในแต่ละปีทางสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติหรือ สวทช. เปิดสอบปีละ 2 ครั้ง คือ เดือนเมษายนและตุลาคม โดยโครงการสอบมาตรฐานวิชาชีพไอที  จัดขึ้นครั้งแรกในปี 2549 และจัดต่อเนื่องติดต่อกันทุกปี โดย สวทช. ได้ร่วมกับสถาบันการศึกษา และหน่วยงานนานาชาติ สนับสนุนให้นักศึกษาและบุคลากรทั้งภายในและเครือข่ายภายนอกเข้าร่วมสอบมาตรฐานวิชาชีพไอที โดยศูนย์สอบและศูนย์ติวสอบทั่วประเทศ ผู้สนใจสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์โครงการ หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์สอบมาตรฐานวิชาชีพไอที มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ หรือที่เว็บไซต์ www.sau.ac.th/itpe โทร. 02-807-4500 ต่อ 217


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ม.เอเชียอาคเนย์ จับมือ Palo Alto Networks พัฒนานักศึกษาสู่งาน Cybersecurity ระดับโลก

มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ (SAU) ลงนามความร่วมมือกับ Palo Alto Networks ผู้นำระบบ Network Security อันดับท็อปของโลกจากซิลิคอน วัลเลย์ มุ่งพัฒนานักศึกษาและบุคลากรสู่งานด้าน Cybersecurity ระดับโลก

ดร.ธัชพล โปษยานนท์ ผู้อำนวยการบริษัท พาโล อัลโต เน็ตเวิร์ค ประเทศไทยและอินโดจีนกล่าวว่า การเซ็นสัญญาความร่วมมือกับ ม.เอเชียอาคเนย์ ในครั้งนี้ เป็นการพัฒนาศักยภาพให้กับนักศึกษาด้าน Cybersecurity ที่กำลังขาดแคลนบุคลากรอย่างมากทั้งปัจจุบัน และอนาคตในอีก ปีข้างหน้าถึงกว่า 10,000 ตำแหน่ง ดังนั้นจึงต้องร่วมกันจากหลายภาคส่วนที่จะพัฒนาบุคลากรเพื่อผลิตนักศึกษาด้าน Cybersecurity ให้ได้ 1,000 คนต่อปี โดยโครงการได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่มุ่งเน้นพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล รวมทั้งเรื่องของการพัฒนาศักยภาพแรงงานในด้านของดิจิทัลด้วย

ดร.ธัชพล กล่าวว่า การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้มีอยู่ ประเด็นหลักที่สำคัญ ได้แก่ (1) การถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยอบรมคณาจารย์เพื่อสร้าง Trainer ที่มีศักยภาพ (2) การจัดกิจกรรมร่วมกันกับทางมหาวิทยาลัยเพื่อสร้างความตื่นตัว ตระหนักรู้และความสนใจของนักศึกษา (3) การพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมใหม่ๆ โดยเน้นทักษะการสร้างเครื่องมือปกป้องภัยด้าน Cybersecurity เช่น AI Machine Learning, IoT Security สำหรับเซ็นเซอร์ใหม่ ๆ หรือการพัฒนา Smart Manufacturing Industry 4.0 หรือ Cloud Security รวมถึงงานวิจัยกับทางมหาวิทยาลัย เพื่อสร้าง Platform ใหม่ๆ ให้กับประเทศไทย (4) การสร้างความตระหนักรู้ถึงภัย Cyber โดยจัด Workshop ในเชิงเทคนิคให้กับนักศึกษา บุคลากร รวมถึงการจัดส่งนักศึกษาไปร่วม Bootcamp หรือ Hackatron กับผู้เชี่ยวชาญระดับแนวหน้าของไทยและระดับโลก โดยทั้งพาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์ค และมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์มีความตั้งใจร่วมกันอย่างยิ่งในการร่วมมือสร้างบุคลากรที่มีศักยภาพสู่สังคมและสู่ตลาดแรงงานของประเทศ

ด้านดร.ฉัททวุฒิ  พีชผล อธิการบดีมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ กล่าวว่า ความร่วมมือกับ Palo Alto Networks ผู้นำด้านระบบ Cyber Security ในครั้งนี้ถือเป็นการนำหลักสูตรมาพัฒนาร่วมกันกับผู้เชี่ยวชาญตัวจริงเรื่อง Cybersecurity ที่กำลังขาดแคลนบุคลากรด้านนี้เป็นจำนวนมาก เพื่อที่จะผลิตบุคลากรด้าน Cybersecurity ที่ออกไปทำงานได้จริงซึ่งเป็นสิ่งที่ท้าทายและเป็นสิ่งที่เรามุ่งมั่นว่าเราจะต้องพัฒนาและทำให้ได้

“ความร่วมมือครั้งนี้เป็นก้าวสำคัญที่จะช่วยกันสร้างบุคลากรด้าน Cybersecurity ที่มีคุณภาพ มีความสามารถ ทำงานได้จริง มีคุณธรรม และก้าวสู่งานที่มั่นคงต่อไปในอนาคต”ดร.ฉัททวุฒิ กล่าวทิ้งท้าย


 

Exit mobile version