Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

PIM และ Bitkub ลงนาม MOU สนับสนุนทางการศึกษา ตั้งเป้ายกระดับความรู้ธุรกิจและการเงินดิจิทัล เตรียมความพร้อมเยาวชนสู่โลก

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) ร่วมกับ บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด  (Bitkub) ลงนามความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.สมโรตม์ โกมลวนิช รองอธิการบดี ฝ่ายวิชาการและวิจัย สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (ที่ 4 จากขวา)  และ คุณสกลกรย์ สระกวี  Co-founder & Chairman บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (ที่ 5 จากซ้าย) เป็นประธานในพิธี  ผนึกกำลังสนับสนุนการจัดการศึกษา ภายใต้โครงการความร่วมมือทางด้านวิชาการและส่งเสริมการศึกษา มุ่งสร้างคนรุ่นใหม่โดย Bitkub Academy ศูนย์กลางการเรียนรู้สินทรัพย์ดิจิทัล เทคโนโลยีบล็อกเชน แบบครบจบในที่เดียว เติมประสบการณ์และทักษะใหม่ในโลกของเทคโนโลยีการเงิน พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน กิจกรรมทางวิชาการ เชื่อมโอกาสการฝึกปฎิบัติงานแก่ผู้เรียนหลักสูตรนานาชาติในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท รวมถึงแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญสู่การพัฒนางานวิจัย การพัฒนาศักยภาพบุคลากรและผู้เรียนทั้งสองฝ่ายให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อยกระดับความรู้ด้านธุรกิจและการเงินดิจิทัล เตรียมความพร้อมสู่โลกอนาคตต่อไป  ณ อาคาร CP ALL Academy สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม) ถนนแจ้งวัฒนะ


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

สาธิต พีไอเอ็ม เจ๋ง! คว้าที่ 1 โครงการ Pitch@School Competition 2021 ระดับมัธยมศึกษา โชว์ผลงาน OpenMirai แพลตฟอร์มเพื่อการศึกษาในงานสัปดาห์ผู้ประกอบการโลก GEW 2021 ประเทศไทย

โรงเรียนสาธิตสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (สาธิต พีไอเอ็ม)  ฟอร์มทีมสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ ส่งเสริมนักเรียนสู่นักคิด นักนวัตกรรม นักจัดการเชิงธุรกิจ โชว์ผลงาน OpenMirai แพลตฟอร์มเพื่อการศึกษา คว้า รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1” ในโครงการ Pitch@School Competition 2021 (Semester 1จัดโดย Global Entrepreneurship Network Thailand , (GEN Thailand) ร่วมกับ Global Entrepreneurship Network (GEN) ซึ่งเป็นองค์กรระดับโลกที่ดำเนินการโครงการกว่า 180 ประเทศ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและโอกาสให้คนรุ่นใหม่สามารถเริ่มต้นสิ่งใหม่ๆ เป็นนักประกอบการ และขยายธุรกิจสตาร์ทอัพได้ง่ายขึ้นอย่างไร้พรมแดน ผ่านแรงสนับสนุนของเครือข่ายทั่วมุมโลกทั้งภาคการศึกษา ภาคธุรกิจ องค์กรภาครัฐและเอกชนที่เปี่ยมศักยภาพ ล่าสุดได้จัดงานสัปดาห์ผู้ประกอบการโลก Global Entrepreneurship Week 2021 (GEW 2021) ประเทศไทย งานที่จะจุดประกายนักสร้างธุรกิจไทย มุ่งหวังสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้คนผ่านกิจกรรมต่างๆ ได้ค้นหาศักยภาพของตนเอง ปลูกฝังการเป็นผู้ริเริ่ม สร้างสรรค์นวัตกรรม ผู้ประกอบการรุ่นใหม่    

ทีม OpenMirai สาธิต พีไอเอ็ม โดยสมาชิกทั้ง คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนการเรียนวิทย์คณิต (Robotics and AI) ได้แก่ นายอภิภูมิ ชื่นชมภู, นายภาวิต ลิมปสุธรรมนางสาวภิญฐ์สิตา เนียมอินทร์นายปัณณ์ เภตรา และ นายณพสัญญ์ จีระวัฒนะนนท์ ได้รับเชิญร่วมงานและนำเสนอผลงานในฐานะผู้ชนะเลิศจากการแข่งขัน Pitch@School 2021

โครงการ Pitch@School  คือโปรแกรมส่งเสริมความคิดผู้ประกอบการและการแข่งขันนำเสนอโครงการธุรกิจ สำหรับเยาวชนรุ่นใหม่ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ตระหนักถึงปัญหาที่แท้จริง เกิดความคิดวิเคราะห์ และการระดมความคิดกับเพื่อนร่วมทีมเพื่อหาทางออกอย่างมีตรรกะ แก้ปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยโครงการได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มบริษัทสตาร์ทอัพ และพันธมิตรระดับโลกร่วมกันเป็นโค้ชเพื่อเสนอโซลูชันที่ดีที่สุด และกระบวนการเรียนรู้ ประสบการณ์ ที่มีประสิทธิภาพแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ โดยในปี 2021 นับเป็นปีแรกของการเปิดเวทีแข่งขันในระดับมัธยมศึกษา  ทีม OpenMirai นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิต พีไอเอ็ม เป็นทีมที่คว้า รางวัลชนะเลิศ (The Winner)” การนำเสนอผลงานเริ่มต้นด้วยแนวคิดที่สนใจอยากแก้ปัญหาด้านการศึกษา สำหรับผู้ที่ไม่รู้ว่าอยากเรียนอะไร ชอบอะไร หรือรู้แล้วว่าชอบทางไหนแต่จะทำอย่างไรเพื่อไปถึงอาชีพที่อยากทำในอนาคตได้ 

OpenMirai  (https://openmirai.com)  โดดเด่นด้วย Career Based Learning เป็นโมเดลการเรียนรู้ด้วยการลงมือทำจริง แพลตฟอร์มจะมีการเลือกสายงานด้วยเทคโนโลยี AI เพื่อวิเคราะห์ว่าผู้ใช้งานแมตช์กับสายงานไหน และจะจัดระบบเลือกวิชาต่างๆ ที่เหมาะสม มุ่งเน้นไปที่สายอาชีพ ไม่ใช่การเรียนแค่เนื้อหาในหนังสือเท่านั้น แต่เป็นการเพิ่มประสบการณ์ให้ผู้เรียนมั่นใจมากขึ้น โดยจะไม่มีการสอบข้อเขียน ไม่มีเกณฑ์ตัดสินผิดถูก เมื่อเรียนจบจะมี Project ให้ทำ เพื่อดูว่าผู้เรียนได้ใช้ความรู้กับสิ่งที่ตัวเองเรียนมากน้อยแค่ไหน ประยุกต์ใช้ได้ดีหรือไม่

หนึ่งในสมาชิกทีม กล่าวว่า “OpenMirai เกิดจาก Mirai แปลว่าอนาคตในภาษาญี่ปุ่น นำมารวมกับคำว่า Open ที่แปลว่าเปิดในภาษาอังกฤษ จึงแปลได้ว่า “เปิดทางสู่อนาคต และความตั้งใจตั้งชื่อให้มีความหมายด้านคอนเซ็ปต์ เพราะญี่ปุ่นขึ้นชื่อว่าเป็นชาติเเห่งความใส่ใจรายละเอียด อีกทั้งคำว่า Mirai หากเขียนจากหลังไปหน้าจะได้เป็นคอนเซ็ปต์ของโปรเจกต์ด้วยซึ่งก็คือ ย่อมาจาก Information, A ย่อมาจาก AI Analytics, R ย่อมาจาก Routing, I ย่อมาจาก In deep to career และ ย่อมาจาก Model ลงตัวที่ OpenMirai”

โปรเจกต์นี้ยังมี Strategic Partner หรือพันธมิตรทางธุรกิจที่น่าเชื่อถือพร้อมร่วมทำงาน และมี Customer Journey ที่ชัดเจนว่าลูกค้าจะกลับมาใช้บริการซ้ำอีกได้อย่างไร สิ่งสำคัญคือมีทีมสตาร์ทอัพที่มีประสบการณ์ พร้อมจะทำแพลตฟอร์มนี้ขึ้นมาใช้จริงให้กรรมการได้เห็น โดยมีนักเรียนมัธยมฯ วัยที่อยากจะค้นหาตัวเอง คนที่ตอบยังไม่ได้ว่า “โตขึ้นจะเป็นอะไร” หรือคนที่รู้ว่าตัวเองชอบอะไรแต่อาจจะมีความชอบอื่นๆ อีกเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก สอดคล้องกับการเรียนสาธิตพีไอเอ็ม โรงเรียนจะเน้นให้ความสำคัญกับนักเรียนเรียนเป็นหลัก เรียนตามความถนัดผ่านการลงมือทำ ทุกคนมีส่วนร่วมลงมือปฏิบัติมากกว่าการเรียนแบบท่องจำ ส่งผลให้มีความรู้ความสามารถค้นพบตัวตน และได้ทักษะที่นำไปใช้ได้จริง

OpenMirai ถือได้ว่าเป็นสตาร์ทอัพรุ่นใหม่กล้าคิดนอกกรอบ ค้นหาไอเดียใกล้ตัวปรับเข้ากับความเปลี่ยนแปลงของเทรนด์โลก เพื่อเป็นแรงบันดาลใจแก่คนรุ่นใหม่ฝันอยากเป็นเจ้าของธุรกิจ และให้เกิดการสนับสนุน ส่งเสริม พัฒนาสู่นวัตกรรมขับเคลื่อนของประเทศ ซึ่งจุดเด่นของคนรุ่นใหม่ในปัจจุบันคือมีศักยภาพด้านความคิดสร้างสรรค์ หากได้รับการบ่มเพาะจากจุดเล็กๆ เช่น สถานศึกษาที่เป็นแหล่งจุดประกายและส่งเสริมองค์ความรู้ให้แก่นักเรียนได้ดีที่สุด ซึ่งสาธิตพีไอเอ็มได้เล็งเห็นความสำคัญของการเตรียมเด็กไทยสู่ศตวรรษที่ 21 โดยเน้นให้ผู้เรียนมีความสุขกับสิ่งที่ตนเองสนใจ ส่งเสริมการเรียนตามความถนัด เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกทักษะผ่านกิจกรรมหลากหลาย ด้วยรูปแบบการเรียนแบบ Active Learning นำเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการเรียนการสอน ทุกห้องเรียนเป็น Digital Classroom รองรับการใช้งานของครูและนักเรียน อำนวยความสะดวก เพิ่มพลังในการเรียนรู้ สนับสนุนให้การสอนและต่อยอดไอเดียใหม่ๆ อย่างไร้ขีดจำกัด คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานและนวัตกรรมได้อย่างเต็มศักยภาพ จากการได้ลงมือทำจริง พร้อมด้วยสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างเต็มที่ จึงเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่จุดประกายให้นักเรียนอีกหลายคนกล้าลงมือทำ เชื่อว่าการเริ่มต้นเล็กๆ นี้จะก่อให้เกิดผู้ประกอบการรุ่นใหม่ได้ในอนาคต ในขณะเดียวกันยังช่วยเสริมศักยภาพให้กับระบบเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดีพร้อม รวมทั้งมีส่วนสร้างกระแสความตื่นตัวในธุรกิจสตาร์ทอัพให้เป็นความสนใจของกลุ่มนักลงทุนรุ่นใหม่ และก้าวสู่สมรภูมิทางธุรกิจระดับนานาชาติให้เป็นที่ประจักษ์ได้อย่างเต็มภาคภูมิ


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

วิศวะ พีไอเอ็ม ขึ้นเวทีเด่น ด้านปัญญาประดิษฐ์ ร่วมแชร์วิชาการผลักดัน AI ประเทศไทย พร้อมรับรางวัลแห่งความภูมิใจ Super AI Engineer Season1

นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม) รับรางวัลเหรีญทองผู้มีความสามารถดีเด่นในโครงการ “สุดยอดวิศวกรปัญญาประดิษฐ์ (Super AI Engineer) ปี 2020” โครงการซึ่งเป็นศูนย์รวมนักพัฒนาปัญญาประดิษฐ์สายพันธ์ุใหม่ สำหรับผู้สนใจพิสูจน์ความสามารถของตัวเองเพื่อพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ จัดโดย สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (Artificial Intelligence Association of Thailand: AIAT) ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธรมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งได้รับเกียรติจาก ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) และ คุณอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานร่วมในพิธีพร้อมกันนี้ในช่วงบ่ายมีเวทีเสวนาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจาก ภาครัฐ ภาคการศึกษา ภาคงานวิจัย ในหัวข้อ“การผลักดันปัญญาประดิษฐ์ในประเทศไทย” โดย รศ.ดร. พิสิษฐ์ ชาญเกียรติก้อง คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี พีไอเอ็ม และ และ อุปนายก สมาคมสภาคณบดีคณะเทคโนโยลีสารสนเทศประเทศไทย ร่วมเป็นหนึ่งในวิทยากร แลกเปลี่ยนความรู้เพื่อยกระดับนวัตกรรม AI ให้ดียิ่งขึ้น ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้า สำนักงานปลัด อว.

โครงการพัฒนานวัตกร-วิศวกร-นักวิจัย-วิสาหกิจเริ่มต้น ด้านปัญญาประดิษฐ์” หรือ “สุดยอดวิศวกรปัญญาประดิษฐ์ (Super AI Engineer)” ดำเนินการเพื่อพัฒนาผู้ที่มีแรงบันดาลใจทำผลงาน AI หรือผู้ที่ต้องการ Upskill Reskill ในสาขาอาชีพ วิศวกร นวัตกร นักวิจัย Startup เข้าอบรมและ Workshop ตั้งแต่พื้นฐานจนถึงระดับสูงกับผู้เชี่ยวชาญในแวดวง AI โดยเฉพาะ พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ระหว่างเพื่อนสมาชิกหลากหลายอาชีพ โดยในปี 2020 ที่ผ่านมามีผู้พิสูจน์ความเป็นสุดยอดนักปัญญาประดิษฐ์ผ่านการประเมิน ได้แก่กลุ่มเหรียญทอง คน เหรียญเงิน 19 คน และเหรียญทองแดง 45 คน ซึ่งนายณัฐพร หงษ์เจริญ บัณฑิตสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ ปัจจุบันเป็นนักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม) ได้รับรางวัลในกลุ่มเหรียญทอง

นายณัฐพร กล่าวว่า “การที่ได้เข้าร่วมโครงการ Super AI Engineer ถือเป็นโอกาสดีในชีวิต ได้เรียนรู้อะไรหลายอย่างนอกเหนือจากในมหาวิทยาลัย เรียนรู้หลากหลายวิชาและได้รับความรู้ใหม่ ตลอดระยะเวลาที่เข้าร่วมโครงการ  อีกทั้งยังได้มีโอกาสเข้าฝึกงานในองค์กรและได้ทำหัวข้อที่ไม่เคยทำมาก่อน ส่วนตัวผมถนัดในด้าน Image แต่ได้ทำในด้าน NLP ซึ่งเป็นด้านที่เพิ่งเริ่มศึกษาจากในโครงการนี้ ทุกอย่างที่ได้รับมาจากการเรียนและการทำกิจกรรมต่างๆ ล้วนเป็นสิ่งที่ทำให้เราพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว

ทั้งนี้ภายในงานมีเสวนา “การผลักดันปัญญาประดิษฐ์ในประเทศไทย” ได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิจาก ภาครัฐ ภาคการศึกษา ภาคงานวิจัย ได้แก่ ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)รศ.ดร. ชิต เหล่าวัฒนา ที่ปรึกษาเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)รศ.ดร. พิสิษฐ์ ชาญเกียรติก้อง คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม)อุปนายก สมาคมสภาคณบดีคณะเทคโนโยลีสารสนเทศประเทศไทย และ ศ.ดร. ธนารักษ์ ธีระมั่นคง นายกสมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้ดำเนินรายการ โดยเนื้อหาการเสวนาพูดถึงความต้องการที่จะยกระดับนวัตกรรม ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ซึ่งถือเป็นศาสตร์ทางดิจิทัลที่ประเทศให้ความสำคัญและนำมาเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ชาติ โดยการอาศัยเครื่องมือดิจิทัลในการทำงาน อีกทั้งยังอยากผลักดันให้โครงการ Super AI Engineer เป็นแหล่งที่สามารถพัฒนาคนให้มีทักษะด้านปัญญาประดิษฐ์มากขึ้น

ทางด้าน รศ.ดร. พิสิษฐ์ ชาญเกียรติก้อง คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม) และอุปนายก สมาคมสภาคณบดีคณะเทคโนโยลีสารสนเทศประเทศไทย กล่าวว่า บทบาทการศึกษาสำหรับปัญญาประดิษฐ์ คือ การสร้างคน พัฒนาทักษะและองค์ความรู้แก่นักศึกษา พร้อมทั้งสนับสนุนทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาคนสู่ภาคธุรกิจอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการสร้างหลักสูตรที่ตรงความต้องการของภาคอุตสาหกรรม อาทิ AI Engineer, Robotics Engineer, Data science ให้เป็นไปตามเป้าหมายของประเทศที่จะสร้างบุคลากรและพัฒนาการศึกษาด้านปัญญาประดิษฐ์ภายใต้แผนแม่บทฯ ประมาณ 700,000 คนต่อปี ด้านพันธกิจของสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ มุ่งมั่นผลิตบัณฑิตดีมีคุณภาพ มีประสบการณ์ทำงานแบบมืออาชีพ ด้วยรูปแบบ Work-based Education นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ใช้ได้จริงกับภาคธุรกิจและสังคม เช่น เครื่องผลิตซาลาเปา เซเว่นอีเลฟเว่นโรบอท และหุ่นยนต์ทางการแพทย์ ในขณะเดียวกันการบริการวิชาการ มีการจัดอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวข้องเพื่อ Upskill, Reskill และ New-skill ส่งเสริมความรู้แก่ชุมชนและอุตสาหกรรม โดยเมื่อเร็วๆ นี้ได้ร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) สถาบันการศึกษา 12 สถาบัน และภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ จัดโครงการฝึกอบรมเพื่อชะลอการว่างงานภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ แก่บุคลากรให้ทำงานสอดคล้องกับอุตสาหกรรม 4.0 และเตรียมความพร้อมให้กับภาคอุตสาหกรรมยานยนต์หลังวิกฤต COVID-19”

โครงการ Super AI Engineer ถือว่าเป็นโอกาสนำไปสู่การสร้างชุมชนนักพัฒนาปัญญาประดิษฐ์อย่างแท้จริง และเป็นการเพิ่มศักยภาพของคนไทย ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี หรือศาสตร์อื่นๆ จะเห็นได้ว่าคนรุ่นใหม่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญหลายด้าน เหล่านี้จะเป็นเครื่องมือที่จะขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่จุดสูงสุดในระดับสากล และยกระดับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ของไทยให้ทัดเทียมกับต่างชาติได้

สำหรับโครงการดังกล่าวได้จัดขึ้นใน 2 รูปแบบ ทั้ง On site และ Online สามารถชมย้อนหลังได้ที่ Facebook; สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย

คลิก https://www.facebook.com/aiat2015/videos/150187127312735


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

สุดยอดนักธุรกิจวัยทีน เผยไอเดียแผนธุรกิจสร้างสรรค์ พิชิตรางวัลเวที PIM Innovative Biz Plan Challenge 2020

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม) จัดโครงการประกวดการเขียนแผนธุรกิจเชิงสร้างสรรค์ ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 “PIM Innovative Biz Plan Challenge 2020 ภายใต้หัวข้อ O2O MODEL SCALE UP BIZ เพิ่มมูลค่าธุรกิจ พลิกเศรษฐกิจชุมชน” เมื่อพฤติกรรมผู้บริโภค เข้ามามีบทบาทในการแข่งขันทางธุรกิจ การมีแพลตฟอร์มของการผสมผสานธุรกิจออนไลน์และออฟไลน์เข้าด้วยกันที่รองรับการเพิ่มมูลค่าของธุรกิจชุมชน ยิ่งทำให้คนรุ่นใหม่มีความฝันอยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง เกิดแรงบันดาลใจและต่อยอดเศรษฐกิจชุมชนให้เป็นจริง สำหรับเวทีรอบชิงชนะเลิศที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2563ที่ผ่านมา ได้รับเกียรติจาก อาจารย์พรวิทย์ พัชรินทร์ตนะกุล รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ พีไอเอ็ม เป็นประธานในพิธีและมอบรางวัลให้กับผู้ที่ได้รับรางวัล โดยทางบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ร่วมสนับสนุนโปรแกรมการศึกษาดูงานในต่างประเทศให้กับทีมผู้ชนะเลิศ ได้แก่ ทีมนวัตกรรมล้านนา จากโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย แผนกมัธยม จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมกับโล่และใบประกาศเกียรติคุณ ทุนการศึกษา และสำหรับทีมรองชนะเลิศอันดับ 1 คือ ทีม Lemniscate จากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย จังหวัดสตูล ทีมรองชนะเลิศอันดับ 2 คือ ทีม The Star Five จากโรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร จังหวัดระยอง ได้รับเงินรางวัล ใบประกาศเกียรติคุณ และทุนการศึกษา ตามลำดับ ซึ่งการแข่งขันในครั้งนื้ จัดโดยศูนย์ PIM Career Academy สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ศูนย์กลางในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการศึกษาและเยาวชน โดยคุณวรินทรา วิริยา ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารองค์กร พีไอเอ็ม นำทีมคณะผู้จัดงาน เปิดรับสมัครผู้เข้าประกวดตามภูมิภาคต่างๆ ทั้งภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ รวมผู้เข้าร่วมการประกวดกว่า 600 คน จำนวน 95 โรงเรียน รวม 127 ทีม จากทั่วประเทศ

ตลอดระยะเวลาของการดำเนินงาน โครงการประกวด PIM Innovative Biz Plan Challenge 2020 ใน 6 ภูมิภาค เริ่มต้นด้วยการอบรม ติดอาวุธเสริมความรู้ด้านธุรกิจให้กับผู้เข้าประกวดทุกคนได้เข้ามีส่วนร่วม เพื่อเรียนรู้การเขียนแผนธุรกิจรวมถึงกิจกรรมภาคปฏิบัติจริง Workshop สุดเข้มข้น จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้าน BUSINESS MODEL พร้อมทั้งฟังประสบการณ์ เส้นทางความสำเร็จเจ้าของธุรกิจตัวจริง เสียงจริง จนเกิดความเข้าใจ มั่นใจ เพื่อรวมพลังสมองของแต่ละทีม เข้าสู่กระบวนการคัดเลือกเป็นตัวแทนระดับภูมิภาค สำหรับการอบรมช่วง“The Inspiration” ได้รับเกียรติจากเครือข่ายพันธมิตรแวดวงธุรกิจชื่อดัง สนับสนุนร่วมเป็น Guest Speaker ในแต่ละภูมิภาค นำโดย คุณรัชวุฒิ พิชยาพันธ์ Chief Executive Officer & Co – Founder บริษัท ฟิกซิ จำกัด, ดร.วาริน รัชนานุสรณ์ Chief Operation Officer, Mellow Innovation, คุณธนพันธ์ วงศ์ชินศรี กรรมการผู้จัดการ บริษัท Penguin Group จำกัด และ บริษัท Penguin Digital จำกัด เจ้าของร้าน Penguin Eat Shabu, คุณปริญญ์ สุขสมิทธ์ ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท ฟีนิกซ์ ลาวา จำกัด คุณรังสรรค์ พรมประสิทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คิวคิว (ประเทศไทย) จำกัด และ คุณอยุทธ์ พจน์อนันต์ Co-Founder Shinsen Fish Market

ด้านคณะกรรมการตัดสินในการจัดโครงการครั้งนี้ นอกจากวิทยากรมืออาชีพ ยังมีผู้เชี่ยวชาญด้านการทำธุรกิจและคณาจารย์จากคณะบริหารธุรกิจ พีไอเอ็มให้เกียรติเป็นกรรมการ ผสานการพิจารณาตัดสินทั้งเชิงภาคธุกิจ ภาควิชาการอย่างครอบคลุม อาทิ คุณศุภฤกษ์ อาจราชกิจ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน), คุณธนพันธ์ วงศ์ชินศรี กรรมการผู้จัดการ บริษัท Penguin Group จำกัด และ Penguin Digital จำกัด เจ้าของร้าน Penguin Eat Shabu, คุณปริญญ์ สุขสมิทธ์ ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท ฟีนิกซ์ ลาวา จำกัด, คุณรังสรรค์ พรมประสิทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คิวคิว (ประเทศไทย) จำกัด, คุณปวีย์ภัทร วัฒนศิริเศรษฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ควอลิวูด จำกัด และรองเลขาธิการหอการค้าจังหวัดชลบุรี ฝ่ายอุตสาหกรรม คุณวัชระ พรหมพันธุ์ รองประธานหอการค้าจังหวัดพังงา ฝ่ายเทคโนโลยีและนวัตกรรม ประธานกลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่ YEC หอการค้าจังหวัดพังงา, อาจารย์.ดร. เพ็ญพัตรา ทาสระคู รองหัวหน้าสาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ คณะบริหารธุรกิจ พีไอเอ็ม, อาจารย์กฤตภพ วรอครรธรรม อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ คณะบริหารธุรกิจ พีไอเอ็ม, อาจารย์วรรณนัฎฐา ขนิษฐบุตร รองหัวหน้าสาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ คณะบริหารธุรกิจ พีไอเอ็ม ซึ่งเมื่อเร็วๆนี้ได้เฟ้นหาสุดยอด “นักธุรกิจวัยทีน” ที่คิดค้นไอเดียได้สุดเจ๋ง สร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบจำลองได้สอดคล้องกับโจทย์ จากโครงการดังกล่าว ตามลำดับดังนี้

ทีมชนะเลิศ ได้แก่ ทีมนวัตกรรมล้านนา ผลงาน : แต๋นแท่งน้ำซอส
โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย แผนกมัธยม จังหวัดเชียงใหม่
แต๋นแท่งน้ำซอส คือ ข้าวแต๋นรูปแบบใหม่ชนิดแท่ง ทานง่าย ซอสประกอบไปด้วย แกงฮังเล น้ำพริกอ่อง สังขยามันม่วงสามารถนำไปรับประทานได้หลายรูปแบบ เช่น ทานเป็นอาหารคาวกับสลัดแกงต่างๆ หรือทานเป็นขนมหวานกับไอติม และกินเป็นอาหารว่าง ซึ่งทำออกมาในรูปแบบแท่งเพื่อสะดวกต่อการรับประทาน
ทีมชนะเลิศ ได้รับเงินรางวัลมูลค่า 20,000 บาท, ตั๋วเครื่องบินไป – กลับ พร้อมที่พักในการศึกษาดูงานบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์และคู่ค้าพันธมิตร ณ ประเทศญี่ปุ่น โล่และใบประกาศเกียรติคุณ รวมถึงผู้เข้าแข่งขันทุกคนในทีมรับสิทธิในการเลือกศึกษาต่อปริญญาตรี ทุนการศึกษาคณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ หลักสูตรนานาชาติ มูลค่า 381,000 บาทต่อคน หรือ หลักสูตรภาษาไทย มูลค่าทุนละ 278,000 บาทต่อคน

ทีมรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ทีม Lemniscate ผลงาน : GOHAN แผ่นห้ามเลือดจากแป้งข้าวจ้าว
โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย จังหวัดสตูล
GOHAN แผ่นห้ามเลือดจากแป้งข้าวจ้าว คือ แผ่นห้ามเลือด ผลิตภัณฑ์นี้เพิ่มมูลค่าให้กับชุมชน ลดการนำเข้าจากตปท. รับซื้อข้าวจากชาวนา ผลิตภัณฑ์มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถย่อยสลายได้ ช่วยสมานแผลวิธีใช้งานคือ ดึง ลอก แปะ ป้องกันน้ำและเชื้อโรค ย่อยสลายได้ มีรูระบายอากาศได้ดี ไม่เกิดแผลกดทับ ทีมรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้รับเงินรางวัลมูลค่า 15,000 บาท ใบประกาศเกียรติคุณ รวมถึงผู้เข้าแข่งขันทุกคนในทีมรับสิทธิในการเลือกศึกษาต่อปริญญาตรี ทุนการศึกษาคณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ หลักสูตรนานาชาติ มูลค่า 190,500 บาทต่อคน หรือ หลักสูตรภาษาไทย มูลค่า 252,000 บาทต่อคน

ทีมรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ทีม The Star Five ผลงาน : BOOTSCY ครีมขัดรองเท้า
โรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร จังหวัดระยอง
BOOTSCY ครีมขัดรองเท้า คือ ครีมขัดรองเท้าผลิตภัณฑ์ที่ทำจากน้ำมันเครื่องที่ผ่านใช้งานมาเเล้ว เเละมีส่วนผสมจากเทียนเเละน้ำมันมะกอก นำน้ำมันเครื่องที่ผ่านการใช้แล้วมาผ่านกระบวนการคิดจนกลายเป็นครีมขัดรองเท้าที่ปราศจากการปรุงแต่งด้วยสารเคมีอื่นๆ นอกจากน้ำมันเครื่องไม่ก่อให้เกิดอันตรายจนกลายเป็นครีมขัดรองเท้าที่มีคุณภาพและราคาย่อมเยา ไม่มีอันตรายต่อผู้ใช้เเละรองเท้า เเละมีเนื้อครีมที่นุ่มใช้ง่าย เหมาะกับรองเท้าหนังสีดำเท่านั้น ทีมรองชนะเลิศอันดับ 2 จะได้รับเงินรางวัลมูลค่า 10,000 บาท ใบประกาศเกียรติคุณ รวมถึงผู้เข้าแข่งขันทุกคนในทีมรับสิทธิในการเลือกศึกษาต่อปริญญาตรี ทุนการศึกษาคณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ หลักสูตรนานาชาติ มูลค่า 114,300 บาทต่อคน หรือ หลักสูตรภาษาไทย มูลค่า 224,000 บาทต่อคน

พีไอเอ็มขอชื่นชมและสนับสนุน เยาวชนรุ่นใหม่ ผู้เข้าร่วมประกวดทุกคนที่กล้าลงมือทำตามความฝัน สู่การเป็น สุดยอดนักธุรกิจวัยทีน และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการประกวดในครั้งนี้จะเป็นแรงผลักดันให้ทุกคนนำความรู้ที่ได้รับจากโครงการฯ สร้างสรรค์แนวคิดเชิงนวัตกรรม พัฒนาไปสู่แนวทางในการริเริ่มทำธุรกิจ ในอนาคตต่อไป


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

PIM V-LED 2 สานต่อโครงการด้านวิชาการออนไลน์ต่อเนื่อง ดึงเครือข่ายมหาวิทยาลัยนานาชาติเข้าร่วมคับคั่ง

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) สานต่อโครงการ “PIM V-LED” สร้างความร่วมมือด้านวิชาการออนไลน์อย่างต่อเนื่องกับมหาวิทยาลัยเครือข่ายต่างประเทศ เชื่อมโยงเทคโนโลยีสู่การเรียนรู้ เพื่อปรับตัวให้เข้ากับการศึกษายุค New Normal จากหลักสูตรความร่วมมือออนไลน์เสมือนจริง ที่ประสบความสำเร็จในเดือนกันยายน 2563 ผ่านโปรแกรม V-LED (Virtual-Leadership Entrepreneurship Development) ล่าสุดทำให้เกิดโครงการ “PIM V-LED 2” ตามนโยบายหัวข้อ “มหาวิทยาลัยแห่งองค์กรธุรกิจชั้นนำของอาเซียน” (Asian’s Leading Corporate University) เสนอแนวทางสร้างความยั่งยืนในธุรกิจอาหารและเกษตรนวัตกรรม เมื่อวันที่ 27-30 ตุลาคม 2563 ผ่านช่องทาง True V Room และ Zoom โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมจำนวน 40 ท่าน จากมหาวิทยาลัยชั้นนำพันธมิตรของพีไอเอ็ม 12 แห่ง รวม 9 ประเทศ ดังนี้

– ประเทศเบลเยียม (Belgium) University Colleges Leuven-Limburg
– ประเทศกัมพูชา (Cambodia) CamEd Business School
– ประเทศอินโดนีเซีย (Indonesia) Diponegoro University
– ประเทศญี่ปุ่น (Japan) Chuo University และ Mie University
– ประเทศเนเธอร์แลนด์ (Netherlands) Avans Hogeschool
– ประเทศฟิลิปปินส์ (Philippines) Ateneo de Davao University
– ประเทศเกาหลีใต้ (South Korea) Hankuk University of Foreign Studies
– ไต้หวัน (Taiwan) Chinese Culture University, Cheng Shiu University และ Ming Chuan University
– ประเทศไทย (Thailand) Panyapiwat Institute of Management

โครงการ PIM V-LED 2 จัดขึ้นเป็นหลักสูตรต่อเนื่อง 4 วัน ผู้เข้าอบรมได้ศึกษาถึงภาพรวมของประเทศไทย แลกเปลี่ยนแบ่งปันวัฒนธรรม เรียนภาษาไทยขั้นพื้นฐาน รวมถึงได้มีโอกาสเยี่ยมชมบริษัทในเครือซีพีออลล์แบบเสมือนจริง จากนั้น ผู้เข้าอบรมได้ฟังการบรรยายในหัวข้อ ธุรกิจด้านนวัตกรรมการเกษตร (Innovative Agriculture Business) ที่ผสมผสานความใส่ใจด้านการเกษตรกับผู้บริโภค ให้ตระหนักถึงคุณภาพของสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่จะส่งผลถึงสุขภาพของตัวเองและคุณภาพชีวิตของคนในสังคม สอดแทรกความสำคัญเกี่ยวกับห่วงโซ่อาหารและนวัตกรรมแห่งอนาคต นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมยังได้แบ่งกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมที่อิงรูปแบบ Work-based Education ภายใต้หัวข้อความยั่งยืนในธุรกิจอาหาร (Sustainability in Food Business) โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจของเครือซีพี/เจริญโภคภัณฑ์ (CP Group) ช่วยแสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะแก่ผู้เข้าอบรม เป็นการเสริมสร้างการเรียนรู้และสร้างเครือข่ายกับนักศึกษานานาชาติอย่างกว้างขวาง

หลักสูตร PIM V-LED 2 โดยสำนักวิเทศสัมพันธ์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ได้รับความร่วมมือและสนับสนุนจากเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) ศูนย์การจัดการเครือข่ายทางธุรกิจระหว่างประเทศ ซีพีออลล์ (International Business Networking Management 2) ส่วนงานการตลาดหลักสูตรนานาชาติ สำนักส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม และคณะนวัตกรรมจัดการเกษตร
สำหรับผู้สนใจเข้าร่วมโครงการสามารถติดตามข่าวสารโครงการกิจกรรรมที่ : https://www.facebook.com/international.pim


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

PIM เปิดตัว V-LED โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการออนไลน์ ร่วมกับ 9 มหาวิทยาลัยเครือข่ายต่างประเทศ

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) เปิดตัว “PIM V-LED” สร้างความร่วมมือทางด้านวิชาการออนไลน์ กับมหาวิทยาลัยเครือข่ายต่างประเทศ จากสถานการณ์โควิด-19 ทั่วโลกขณะนี้ พีไอเอ็มจึงมองหาแนวทางความร่วมมือด้านการศึกษาอย่างสร้างสรรค์ เพื่อรักษาความสัมพันธ์กับมหาวิทยาลัยต่างๆทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง จึงริเริ่มโครงการ “PIM V-LED” เพื่อเชื่อมต่อด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับมหาวิทยาลัยพันธมิตรเครือข่ายนานาชาติผ่านโปรแกรม V-LED (Virtual–Leadership Entrepreneurship Development) บนโลกออนไลน์ นำร่องประเดิมโครงการดังกล่าวครั้งแรกในโซนเอเชีย ซึ่งมีผู้สนใจตอบรับเข้าร่วมโปรแกรม เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโทจาก 9 มหาวิทยาลัยชั้นนำ จากประเทศญี่ปุ่น(Japan) 4 มหาวิทยาลัย ได้แก่ Waseda University, Mie University, Kansai University, Osaka Prefecture University, เกาหลีใต้ (South Korea) จาก Hankuk University of Foreign Studies, สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (Lao People’s Democratic Republic) จาก National University of Laos, สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า (Republic of the Union of Myanmar) จาก Myanmar Noble University ในโอกาสเดียวกันนี้ได้รับการตอบรับจาก 2 มหาวิทยาลัยเข้าร่วมสังเกตุการณ์ คือ ประเทศนิวซีแลนด์ (New Zealand) จาก Auckland University of Technology และ เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (Hong Kong Special Administrative Region of the People’s Republic of China) มหาวิทยาลัย Vocational Training Council

หัวข้อการเรียนรู้และโปรแกรม V-LED (Virtual – Leadership Entrepreneurship Development) ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก โดยมีอาจารย์ ผู้บริหาร เข้าร่วมเป็นผู้สังเกตการณ์ทั้งหมด 29 ท่าน ในหลักสูตรออนไลน์เสมือนจริง เป็นระยะเวลา 3 วัน เมื่อวันที่ 1 – 3 กันยายน 2563 ที่ผ่านมา เพื่อสร้างความร่วมมือทางวิชาการรูปแบบออนไลน์ นับเป็นมิติใหม่ที่สอดคล้องกับยุค New Normal เอื้อให้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันกับเครือข่ายทางการศึกษาในต่างประเทศเป็นไปได้ อย่างไร้พรมแดน ประกอบด้วยการบรรยายเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP Group) ทั่วโลก บอกเล่าข้อมูลที่น่าสนใจโดยบุคลากรมืออาชีพ และการประชุมเชิงปฏิบัติการ(Workshop) ภายใต้หัวข้อการจัดการธุรกิจค้าปลีกในยุคโควิด -19 (New Normal Retail Strategies) กิจกรรมทั้งหมดจัดขึ้นโดยอิงรูปแบบโมเดลการเรียนรู้ Work-based Education การเรียนในห้องเรียนควบคู่การฝึกปฏิบัติจริง นอกจากนี้ยังเสริมกิจกรรมพิเศษเยี่ยมชมองค์กร เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เห็นกระบวนการทำงาน ภายในโรงงานผลิตที่ได้มาตรฐานโลก ของบริษัท ซีพีแรม จำกัด (CPRAM) หนึ่งในกลุ่มธุรกิจการตลาดและการจัดจำหน่าย เครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP Group) ดำเนินงานด้านการผลิตและจัดจำหน่ายอาหารพร้อมรับประทาน และเบเกอรี่อบสด แบบ Virtual Tour ซึ่งเป็นการทัวร์เสมือนจริง โดยแบ่งผู้เข้าร่วมโปรแกรมออกเป็น 4 กลุ่ม มอบหมายให้พัฒนาโครงการพิเศษ ครอบคลุมกลยุทธ์แบบปกติใหม่ในอุตสาหกรรมค้าปลีกช่วงโควิด-19 นอกจากนี้ยังได้ฝึกฝนและเรียนรู้ทักษะการใช้ภาษาไทยเบื้องต้น เพื่อการแลกเปลี่ยนทางด้านภาษาและวัฒนธรรมไปพร้อมกัน

สำหรับหลักสูตรโครงการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศครั้งนี้ จัดทำโดยสำนักวิเทศสัมพันธ์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ โดยผ่านการปรึกษาหารือร่วมกับคณะศิลปศาสตร์ คณะการจัดการโลจิสติกส์และการขนส่ง คณะศึกษาศาสตร์ และงานการตลาดหลักสูตรนานาชาติ พร้อมด้วยการสนับสนุนจาก สำนักบริหารเครือข่ายทางธุรกิจระหว่างประเทศ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)

ปัจจุบันท่ามกลางสถานการณ์โลก มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา พีไอเอ็มยังคงเป็นสถาบันอุดมศึกษาแนวหน้าชั้นนำ ที่มุ่งมั่นรักษาความสัมพันธ์กับมหาวิทยาลัยเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศอยู่ตลอดเวลา และขยายเครือข่ายพันธมิตรไปยังนานาชาติ เพื่อขับเคลื่อนองค์ความรู้ใหม่ๆให้ทันสมัย ยกระดับความร่วมมือของการศึกษาไทยสู่สากล และในอนาคตอันใกล้นี้ พีไอเอ็มจะมีโครงการต่อเนื่องสู่ภูมิภาคตะวันออกและตะวันตกของโลกต่อไป


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์ สิ่งประดิษฐ์ สิ่งประดิษฐ์ในประเทศ

วิศวะ พีไอเอ็ม ผุดไอเดีย “HAND ON” แอปพลิเคชันสำหรับผู้พิการทางการได้ยิน คว้ารางวัล INNO for Change 2020 by NIDA

เราไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่าเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ซึ่งนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือสังคมก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งได้ถูกพัฒนาเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถือว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้ผู้ใช้งานทุกกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้พิการ ปัจจุบันผู้พิการทางการได้ยินพบมากที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ตามประเภทความพิการ ซึ่งมีผู้พิการประเภทการได้ยินหรือสื่อความหมายจำนวน 372,189 คน จากจำนวนทั้งหมด 1,995,767 คน จากข้อมูลดังกล่าวนักศึกษาชั้นปีที่3 สาขาวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม) มีความมุ่งหวังที่จะใช้ศักยภาพ ความรู้ เพื่อต้องการเป็นส่วนหนึ่งช่วยเหลือสังคม ยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้พิการทางการได้ยินให้มีชีวิตที่ดีขึ้น จึงระดมสมองเกิดเป็นแนวคิดนวัตกรรมสร้างสรรค์สังคม “HAND ON” แอปพลิเคชันสำหรับผู้พิการทางการได้ยินที่เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เพียงใช้งานผ่านสมาร์ทโฟน ส่งแข่งขันพร้อมรับรางวัลชนะเลิศจากงาน INNO for Change 2020 by NIDA โครงการประกวดแนวคิดนวัตกรรมของเยาวชนคนรุ่นใหม่เพื่อสร้างสรรค์สังคม ภายใต้คอนเซปต์ “Innovation for Change” นำเสนอผลงานผ่านวิดีโอความยาว 10-15 นาที โดยการทำงานของแอปพลิเคชันแบ่งออกเป็น 5 ส่วนได้แก่

1. ส่วนการแปลภาษามือ สามารถแปลภาษาภาษามือเป็นตัวอักษร และแปลจากตัวอักษรเป็นภาษามือ ซึ่งอ้างอิงข้อมูลจากพจนานุกรมภาษามือไทยอิเล็กทรอนิกส์ โดยสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ใช้หลักการ Machine Learning และ Image Processing ได้แบบเรียลไทม์เพื่อลดช่องว่างการสื่อสารระหว่างผู้พิการทางการได้ยินและคนทั่วไป ทำให้ติดต่อสื่อสารได้รวดเร็ว เช่น การติดต่อราชการ การเข้ารับการรักษาพยาบาล

2. ส่วนของกระดานข่าว เป็นส่วนแสดงวิดีโอภาษามือรูปแบบของข่าวหรือเหตุการณ์ เกร็ดความรู้ต่างๆ เช่น การทำอาหาร การประดิษฐ์ของใช้ และอัดโหลดคลิปวิดีโอตัวเองลงได้เพื่อเป็นการแชร์ข้อมูล หรือขายสินค้าออนไลน์ได้

3. ส่วนของการแจ้งเหตุฉุกเฉิน เป็นส่วนที่คอยแจ้งเหตุฉุกเฉินต่างๆ ผ่านการแปลภาษามือเป็นข้อความและรูปภาพเพื่อส่งไปขอความช่วยแหลือ พร้อมส่งสถานที่ปัจจุบันเพื่อระบุตำแหน่งที่ต้องการความช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที

4. ส่วนของการประกาศหางานและจัดหางาน คือส่วนที่โพสต์เกี่ยวกับคุณสมบัติของตัวเองสำหรับผู้ว่าจ้างพิจารณา และยังเป็นส่วนที่หน่วยงานต่างๆ สามารถประกาศรับสมัครงานสำหรับคนพิการได้ เพื่อลดจำนวนอัตราการว่างงานของผู้พิการลง

5. ส่วนการแจ้งเตือนด้วยการสั่น สำหรับในกรณีที่อยู่ในที่สาธารณะ หรือเวลาข้ามถนน ส่วนนี้จะทำการสั่นเมื่อได้ยินเสียงดัง เช่น เสียงบีบแตร เสียงระเบิด เสียงปืน เป็นการป้องการเกิดอุบัติเหตุสำหรับผู้พิการทางการได้ยิน

“HAND ON” เป็นอีกโปรเจกต์หนึ่งที่นำความรู้ด้านวิศวกรรมหลายวิชาจากที่ได้เรียน เช่น การเขียนโปรแกรมและปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาผสมผสานกับประสบการณ์ตรงจากการฝึกปฎิบัติงาน ตามแบบฉบับ Work-based Education สร้างสรรค์จนเป็นผลงาน เกิดจากการรวมตัวของนักศึกษาชั้นปีที่3 ทั้ง 3 คน จากสาขาวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี พีไอเอ็ม โดยนายศานติ ภูมิกาล 1 ในทีมผู้คิดค้นเล่าที่มาที่ไปว่า “เราเเบ่งงานเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือส่วนของการทำเเอปพลิเคชัน โดยเริ่มจากศึกษาข้อมูลและปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้พิการทางการได้ยิน และดีไซน์หน้าตาของแอปฯ ให้เข้าใจง่าย ไม่ยุ่งยาก กดไม่กี่ครั้งต้องเข้าถึงโหมดที่ต้องการได้เลย จากนั้นเขียนข้อมูลลงเว็บแอปพลิเคชั่น Pingendo และทำการแปลภาษามือและตรวจสอบผ่าน AI ที่ Teachable Machine เพื่อส่งข้อมูลไปยัง Cloud และสามารถประมวลผลไปยังแอปฯ ได้ทันที ส่วนการทำวิดีโอนำเสนอผลงาน เริ่มจากทำวางโครงเรื่องให้สะท้อนถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้พิการทางการได้ยิน เพื่อสร้างความเข้าใจให้คนทั่วไปได้เห็นภาพ การถ่ายทำ การเเสดง หาเสียงประกอบ เเละการตัดตัดต่อ เพื่อจะสื่อสารให้ทุกคนเข้าใจในแบบที่ต้องการ”

ทางด้านนางสาวเพ็ญนภา สุขเพ็ง สมาชิกในทีมกล่าวหลังจากที่ได้ทำผลงานชิ้นนี้ว่า “ได้พัฒนาตนเองมากขึ้น ได้ทำอะไรที่ไม่เคยทำ ก้าวข้าม Comfort Zone ของตัวเอง เคยกลัวสิ่งที่ไม่เคยทำ เช่น กลัวการเขียนโค้ดดิ้ง (Coding) เเต่พอได้ลองทำเเล้วมันไม่ยากอย่างที่คิด เพียงเเค่กล้าที่จะเรียนรู้เเละลงมือทำ และที่สำคัญมี ดร.ศรัณย์ ฉัตรธัญญกิจ และอาจารย์ภาคภูมิ ปฐมภาคย์ อาจารย์ประจำสาขาฯ เป็นที่ปรึกษาโครงการ คอยสอนเขียนโปรแกรม เขียนแอปฯ ช่วยในการจัดสรรงาน เเนะนำว่าต้องทำอะไรบ้าง สนับสนุนทุกขั้นตอนในการถ่ายทำวิดีโอ”

ปิดท้ายด้วย นายศิฎฒิภัต ธรรมเกสร กล่าวว่า “ชิ้นงานตอนนี้ยังถือว่าเป็น Prototype ซึ่งในระยะแรกแอปพลิเคชันรองรับเฉพาะระบบแอนดรอยด์ หลังจากนี้วางแผนคิดต่อยอดให้สามารถใช้งานได้จริงสมบูรณ์เเบบ 100% ในขั้นตอนต่อไปอยากจะลงพื้นที่เก็บข้อมูลของผู้พิการเพิ่มว่าเขามีความต้องการความช่วยเหลืออะไรบ้าง เราสามารถนำเทคโนโลยีมาอำนวยความสะดวกเขาในด้านใดอีก และเก็บรวบรวมข้อมูลการใช้งานภาษามือจากผู้เชี่ยวชาญเป็นจำนวนมาก เพื่อให้ได้ข้อมูลที่แม่นยำมากขึ้นเเละครอบคลุม”

นับเป็นอีกหนึ่งผลงานของนักศึกษาพีไอเอ็ม ที่นำการศึกษาและเทคโนโลยีมาประยุกต์สร้างสรรค์ขึ้นเป็นนวัตกรรมเพื่อสังคม ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีถือเป็นความหวังของกลุ่มผู้พิการอย่างมาก เพราะจะเข้ามามีบทบาทให้ความเป็นอยู่ของพวกเขาสะดวกขึ้น สามารถช่วยเหลือตนเอง ดำเนินชีวิตได้อย่างเต็มศักยภาพ มีคุณภาพชีวิตที่เท่าเทียม อยู่ในสังคมอย่างไร้อุปสรรค ในขณะเดียวกันโครงการนี้ยังเป็นการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาด้านวิศวกรรมไปอีกขั้น และจุดประกายความคิด ปลุกความเป็นนักสร้างนวัตกรรม ริเริ่มทำสิ่งต่างๆ ด้วยวิธีใหม่ทั้งความคิด การผลิต ทำงานร่วมกัน ไปจนถึงการพัฒนาต่อยอดไปสู่งานในอนาคต ทั้งนี้เทคโนโลยียังมีศักยภาพอีกมหาศาลที่จะนำมาใช้เพื่อสร้างสิ่งดีๆ เป็นประโยชน์ให้แก่สังคม และทำให้ชีวิตเราดีขึ้นได้อีกมาก


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

PIM Innovation Contest & Showcase 2019 “นวัตกรรมกับความอยู่รอดในยุค New Normal”

สำนักบริหารกลยุทธ์และนวัตกรรม สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม) จัดงาน PIM Innovation Contest & Showcase 2019 พบกับเนื้อหาแน่นๆจากการเสวนาพิเศษ ในหัวข้อ “นวัตกรรมกับความอยู่รอดในยุค New Normal” โดย Speaker ชื่อดังจาก 3 ธุรกิจชั้นนำ

• Mr. Felix Goh Tze Ghim AWS Educate Lead นักจัดการ Ecosystem ด้านการศึกษา ของ Amazon ใน 3 ประเทศ
• คุณนิติ มุขยวงศา ผู้เชี่ยวชาญด้าน Marketing จาก Techsauce
• คุณสรรควร สัตยมงคล True Lab (ทรูแล็บ) บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จํากัด)
• คุณอนุรักษ์ แสงเอมจิตต์ องค์กรระดับประเทศที่ขับเคลื่อนนวัตกรรมเคียงคู่สังคม 1 ใน Partner ของ พีไอเอ็ม

ผ่านช่องทาง Facebook Live Page : PIM Ready to Work https://www.facebook.com/PIM-Ready-to-Work-105980867528679/
ในวันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ.2563 เวลา 13.00 – 15.30 น.

พร้อมชมไอเดียด้านนวัตกรรมสุด WOW! ของนักศึกษาและคณาจารย์พีไอเอ็ม ที่ถูกคัดเลือกเป็น The Best Project ขอเชิญสถานประกอบการและบุคลากรในวงการการศึกษาที่ต้องการไอเดียและแลกเปลี่ยนในมุมมองด้านนวัตกรรม ร่วมเข้าฟังแนวคิดในเชิงนวัตกรรมเพื่อต่อยอดในธุรกิจ และเตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน (ดำเนินเสวนาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)

ลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ที่ https://forms.gle/Dy3yav6hKjX4cdcM7


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

เด็กสายวิทย์ – คณิต กับคณะเด็ดงานดีที่พีไอเอ็ม

เด็กสายวิทย์ – คณิต อุ่นใจได้เลยว่าแผนการเรียนของตัวเองมีตัวเลือกเยอะ สามารถสอบเข้าคณะอะไรก็ได้ แต่ถึงอย่างไรก็เครียดและกดดันไม่น้อยไปกว่าสายอื่นๆเพราะต้องเจอกับสมรภูมิรบฝ่าฟันแย่งชิงเก้าอี้ที่นั่งเรียนกับอีกหลายพันคน ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่เด็กวัยรุ่นอายุพึ่งอายุ 18 ปีต้องเลือกอนาคต ยังไม่รู้หัวใจตัวเองว่าจะไปทางไหน ขอบอกว่าก่อนอื่นให้คิดว่าชอบอะไร จบมาจะทำอาชีพอะไร ซึ่งอาจจะดูจากลักษณะนิสัยของตัวเองก็ได้ ปรึกษารุ่นพี่หรือเข้าร่วมค่ายที่จัดโดยมหาวิทยาลัย มาเตรียมตัวกันตั้งแต่เนิ่นๆ และสร้างแพสชันให้ตัวเองกับ 3 คณะเด็ดที่พีไอเอ็ม จบแล้วได้งานเป็น Specialist ที่ท้าทายและมีรายได้ดี เผื่อว่าอ่านจบแล้วจะตรงสเปค ตอบตัวเองได้ว่านี่ล่ะ ใช่ฉันเลย!

คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี

ฮอตฮิตตลอดกาล เป็นคณะที่น้องๆ เทใจให้เป็นอันดับต้นๆ ผู้หญิงเรียนได้ ผู้ชายเรียนดี เหมาะมากสำหรับหนุ่มสาวไอที เครซี่เทคโนโลยี ดิจิทัล ชอบการคิด สร้าง ออกแบบ ซึ่งผู้เรียนต้องลุยประมาณหนึ่ง มีความพยายามและอดทนก็ไม่แพ้การเรียนในคณะอื่นๆ แถมบางครั้งยังต้องสมบุกสมบันอีกด้วย นี่แหละเสน่ห์ของคณะนี้ พีไอเอ็มเปิดสอน 5 สาขา

• วิศวกรรมอุตสาหการ คุมทุกโรงงาน วางแผนทุกการผลิตประสบการณ์วิชาชีพ เก่งเฉพาะทาง สร้างวิศวกรอุตสาหการ วิศวกรประเมินคุณภาพ วิศวกรฝ่ายผลิต วิศวกรซ่อมบำรุง
• วิศวกรรมการผลิตยานยนต์ รู้ลึกรู้ดีทุกซอกทุกมุมขององค์ประกอบของรถยนต์ ระบบการทำงานของเครื่องยนต์ และการผลิตยานยนต์ในปัจจุบัน เป็นได้ทั้งวิศวกรยานยนต์ วิศวกรการผลิตยานยนต์และชิ้นส่วน ส่วนประกอบ วิศวกรโรงงานอุตสาหกรรม
• วิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เรียนหลายศาสตร์ทั้งไฟฟ้า เครื่องกล และคอมพิวเตอร์ ปฏิบัติจริงกับโรโบติกส์ตัวจริงและเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุด ในศูนย์นวัตกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (iCRAS) เรียนจบทำงาน วิศวกรหุ่นยนต์ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ระบบหุ่นยนต์ วิศวกรระบบแมคคาโทรนิกส์
• วิศวกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลและสารสนเทศ เน้นเรียนสื่อดิจิทัล ลงมือปฏิบัติจริง เชี่ยวชาญงานด้านพัฒนาโปรแกรม สื่อกราฟิก Data Science, Digital Infrastructure, AI, Blockchain, Cloud, และ IoT ที่กำลังมาแรง มีอาชีพใหม่ๆ รองรับเช่น ผู้ดูแลระบบโครงข่าย Network & Cloud, ผู้ออกแบบดิจิทัลกราฟิกและแอนิเมชัน นักวิเคราะห์ข้อมูล นักวิทยาการข้อมูล
• วิศวกรรมคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ สาขานี้มีวิชา “AI Hardware Accelerator” เพื่อสร้างคนเป็น Computer Engineering ที่เก่ง AI และมีความเชี่ยวชาญในสาขานี้โดยเฉพาะ สามารถเขียนโปรแกรมรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ มาใช้วิเคราะห์และสามารถมองเห็นปัญหาที่มีอยู่จริงทั้งในและนอกองค์กรได้ จบแล้วไปทำงานวิศวกรปัญญาประดิษฐ์, วิศวกรการเรียนรู้ของเครื่อง, นักวิทยาการข้อมูล, วิศวกรคอมพิวเตอร์, นักวิเคราะห์และออกแบบระบบงานสารสนเทศ, นักโปรแกรมและระบบ/ นักพัฒนาระบบและทดสอบระบบ

แต่ละสาขาเป็นที่ต้องการในทุกอุตสาหกรรม ส่วนเรื่องผลตอบแทนได้รับสมน้ำสมเนื้อแน่นอน แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับศักยภาพของแต่ละคนด้วยนะ ถ้าใครชอบการควบคุมดูแล วิเคราะห์ วางแผน แนะนำเลย

คณะนวัตกรรมการจัดการเกษตร

การเกษตร วิทยาศาสตร์ นวัตกรรม เศรษฐศาสตร์และนักบริหารจัดการทั้งหมดครบในคณะเดียว อธิบายให้เห็นภาพ คือ เรียนการเกษตรด้านธุรกิจพืชครบวงจร พืชเศรษฐกิจ บวกกับนวัตกรรม เทคโนโลยี และมีการเงินการบริหารเข้ามาเกี่ยวข้อง แน่นอนคนที่เลือกเรียนคณะนี้ต้องมีใจรักด้านเกษตรเป็นอันดับแรก มีความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ค่อนข้างดี ใครเรียนคณะนี้จะลืมการเกษตรแบบดั้งเดิมไปเลยเพราะนี่คือ “Young Smart Farmer” นักจัดการเกษตรสมัยใหม่ นักธุรกิจเกษตรที่รู้ทุกขั้นตอนตั้งแต่การผลิตในฟาร์ม การปลูกพืช ดูแล เก็บเกี่ยว ด้วยระบบดิจิทัล กระบวนการแปรรูปวัตถุดิบ และทำธุรกิจเป็น นอกจากนี้ยังเรียนการเพิ่มผลกำไร ลดต้นทุน บริหารจัดการได้อยู่หมัด ซึ่งจะต่างกับนักการเกษตรทั่วไป เรียนสนุกทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ ใส่เสื้อกาวน์เรียนในห้องแล็บกับอาจารย์และผู้เชี่ยวชาญด้านพืชครบวงจรจากเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) ได้ฝึกปฏิบัติงานฟาร์มอยู่กับพืช เพื่อให้มีความรู้และความสามารถทางการเกษตรอย่างสมบูรณ์ที่สุด อย่าลืมนะว่าไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม มีอาชีพที่รอคนมาพัฒนาและสร้างมูลค่าให้ผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มสูงขึ้นอยู่นะ เช่น ผู้นำเข้าและส่งออกผลผลิตทางการเกษตร นักแปรรูปเกษตร นักวิชาการเกษตร นักการจัดการวัตถุดิบเพื่อการแปรรูป นักบริหารงานฟาร์ม ใครอ่านแล้วสนใจ พีไอเอ็มยินดีต้อนรับนักศึกษาไทยหัวใจเกษตร

คณะอุตสาหกรรมเกษตร

เรียนเป็นเด็กฟาร์มรุ่นใหม่เพื่อพัฒนาปศุสัตว์ไทยให้ก้าวหน้า รับเฉพาะเด็กสายวิทย์-คณิต เท่านั้น เพราะนอกจากจะเก่งวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์แล้ว จะได้เรียนทั้ง ชีววิทยา ฟิสิกส์ เคมี จุลชีววิทยา เศรษฐศาสตร์ เข้มข้นมากๆ ถือว่าเก่งพอตัวเลยล่ะเด็กคณะนี้ ใส่เสื้อกาวน์เรียนในห้องแล็บเหมือนกัน วิชาความรู้มาจากอาจารย์ที่คร่ำหวอดในอุตสาหกรรมการผลิตและการแปรรูปอาหารระดับโลกอย่างเครือเจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF) ส่วนฝึกปฏิบัติงานก็ได้คลุกคลีอยู่กับสัตว์ในฟาร์มหรือโรงงาน และไม่ต้องแปลกใจถ้าเห็นเพื่อนร่วมชั้นเป็นชาวต่างชาติ เพราะคณะนี้สอนเป็น English Program ฉะนั้นใครอยากเข้าคณะนี้เตรียมภาษามาให้แน่นๆ มี 2 สาขา ให้เลือกเรียนดังนี้

• การจัดการเทคโนโลยีฟาร์ม เรียนการจัดการธุรกิจฟาร์มเลี้ยงสัตว์ สรีรวิทยา อาหารและโภชนาการสัตว์ การปรับปรุงพันธุ์สัตว์ จบไปทำงานในวงการปศุสัตว์ได้สบาย เช่น สัตวบาล นักจัดการฟาร์ม ผู้จัดการฟาร์มเลี้ยงสัตว์ นักวิชาการด้านอาหารสัตว์ อาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย
• การจัดการเทคโนโลยีแปรรูปอาหาร เรียนวิทยาศาสตร์อาหาร วิศวกรรมอาหาร เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ และการจัดการกระบวนการผลิต ตรวจสอบคุณภาพอาหารทุกขั้นตอนก่อนถึงมือผู้บริโภค ถ้ามาสายนี้เรียนจบปุ๊บก็ทำอาชีพธุรกิจด้านอาหารแปรรูปเลยนะ เช่น ผู้ควบคุมหรือตรวจสอบคุณภาพอาหาร นักพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ผู้วางแผนหรือควบคุมการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการอาหาร

อ่านมาถึงจุดนี้แล้วพอจะจุดไฟการเรียนให้กับตัวเองได้บ้างไหม? เห็นแนวทางกันบ้างหรือเปล่า? ใครยังคิดไม่ตกลองนั่งคุยกับพ่อแม่ เพื่อนๆ ค้นหาตัวเองจากสิ่งใหม่รอบตัวหรือไปงาน Open House ของมหาวิทยาลัย เพื่อสร้างความมั่นใจและลดแรงกดดันลง เมื่อไหร่ที่รู้ใจตัวเองแล้วว่าคณะนี้แหละใช่ก็ Go on! ได้เลยเมื่อได้เข้าไปแล้วใช้ชีวิต 4 ปี เก็บเกี่ยวประสบการณ์ทั้งในและนอกห้องเรียนให้คุ้ม ความสำเร็จไม่ได้อยู่ที่เรียนจบมีงานทำเพียงอย่างเดียวนะ แต่อยู่ที่ระหว่างทางนั้นเราเรียนแล้วมีความสุข สนุก ทำให้เต็มที่แค่ไหนด้วยต่างหากล่ะ

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม) เปิดรับสมัครนักศึกษาเข้าเรียนปริญญาตรีแล้ววันนี้ มีทุนให้ทุกคณะ คลิก! https://www.pim.ac.th/pim/archives/7101
ศึกษาข้อมูลสาขาอื่นๆ ได้ที่ https://www.pim.ac.th/pim/faculty/bachelor
สอบถามเพิ่มเติม https://www.facebook.com/pimfanpage/


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

“CONTACT ME” อยู่ที่ไหนก็สมัครเรียนได้ สมัครเรียนปริญญาโท PIM

สมัครเรียนปริญญาโท สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม) อยู่ที่ไหนก็สมัครเรียนได้ CONTACT ME โทรปุ๊บรอรับส่วนลดการศึกษาปั๊บ หลักสูตรที่ก้าวทันทุกเทรนด์ธุรกิจ ตอบโจทย์ทุกสถานการณ์ ปรับรูปแบบการเรียนให้ทันสมัย พร้อมสร้างคุณสู่เป้าหมาย การเป็น Professional Leader สำหรับองค์กรธุรกิจในยุคดิจิทัล พิเศษกับส่วนลดการศึกษาให้ผู้ที่สนใจแบบไม่มีข้อผูกมัด สาขาการสื่อสารเชิงนวัตกรรมเพื่อองค์กรสมัยใหม่ (MCA) รับส่วนลดการศึกษา 50,000 บาท มีจำนวนจำกัด หลักสูตรการสร้างความเป็นผู้นำกลยุทธ์การสื่อสาร สร้าง Track เพื่อนักวางแผนกลยุทธ์การสื่อสารทางธุรกิจและผู้เชี่ยวชาญวิชาชีพสื่อมวลชน และหลักสูตรปริญญาโท (MBA) สาขาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่และสาขาการบริหารคนและกลยุทธ์องค์การ ส่วนลดการศึกษา 30,000 บาท สร้างผู้นำพัฒนาองค์กรและ Up Skill เป็น Future Leader เพื่อผู้นำบริหารธุรกิจ สร้าง Track พัฒนา Entrepreneur หรือ Top Executive หลักสูตรปริญญาโท Panyapiwat พัฒนาผู้เรียนสู่การเป็น THE NEXT LEADER ขององค์กร

“เปิดสัมภาษณ์ออนไลน์ แบบ VDO Conference” อยู่ที่ไหนก็สมัครเรียนได้ สะดวก ปลอดภัย เเจ้งผลสัมภาษณ์วันถัดไป แบ่งชำระค่าเทอมได้ 22 งวด

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
คุณเพ็ญนภา กมลาสน์มรกต (เพ็น) โทร 06-18514414 E-mail: phennaphakam@pim.ac.th
คุณอมรรัตน์ ไกรทองสุข (น้ำฝน) โทร 084 9272693 E-mail: amornrutkri@pim.ac.th
Panyapiwat MBA Fanpage https://www.facebook.com/mbapanyapiwat/
Website www.pim.ac.th


 

Exit mobile version