Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

หัวเว่ยเผยแพร่รายงานปกขาวด้านทรัพย์สินทางปัญญา

เซิ่นเจิ้น, จีน/ 28 มิถุนายน 2562 – วันนี้ หัวเว่ยได้เผยแพร่รายงานสมุดปกขาวว่าด้วยนวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญา และเตือนไม่ให้นำเรื่องดังกล่าวไปโยงเป็นประเด็นทางการเมือง มร. ซ่ง หลิ่วผิง ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายของหัวเว่ย กล่าวในงานแถลงข่าวที่สำนักงานใหญ่ของบริษัทว่า ทรัพย์สินทางปัญญาคือรากฐานสำคัญของนวัตกรรม และการนำเรื่องดังกล่าวไปเป็นประเด็นทางการเมืองจะขัดขวางพัฒนาการความก้าวหน้าของทั่วโลกได้

“หากนักการเมืองใช้ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นเครื่องมือทางการเมือง พวกเขาจะทำลายความเชื่อมั่นในระบบการคุ้มครองสิทธิบัตร หากรัฐบาลบางประเทศเลือกที่จะตัดบริษัทต่างๆ ออกจากลิขสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญาของพวกเขา ก็ถือเป็นการทำลายรากฐานของนวัตกรรมระดับโลก” มร. ซ่ง กล่าว

รายงานสมุดปกขาวเรื่อง“ การเคารพและคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา: รากฐานของนวัตกรรม” ได้อธิบายเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติและการมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของหัวเว่ย

รายงานได้ตั้งข้อสรุปว่า การคุ้มครองนวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญาถือเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จของหัวเว่ยมานานกว่า 30 ปี หัวเว่ยได้รับอนุมัติสิทธิบัตร 87,805 ฉบับ ณ สิ้นปี พ.ศ. 2561 โดยเป็นสิทธิบัตรของสหรัฐอเมริกา 11,152 รายการ และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 หัวเว่ยมีรายได้จากการให้ลิขสิทธิ์กว่า 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

นอกเหนือจากการเก็บสะสมสิทธิบัตรของตัวเองแล้ว หัวเว่ยยังได้จ่ายเงินมากกว่า 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเป็นค่าลิขสิทธิ์สำหรับการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัทอื่นอย่างถูกกฎหมาย โดยเกือบร้อยละ 80 ของเงินค่าลิขสิทธิ์ทั้งหมดได้จ่ายให้กับบริษัทอเมริกัน ดังที่ปรากฎตามรายงานดังกล่าว

มร. ซ่ง กล่าวว่า ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทรัพย์สินส่วนบุคคลที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย และข้อพิพาทต่าง ๆ ควรได้รับการแก้ไขผ่านกระบวนการทางกฎหมาย พร้อมเสริมว่า ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ไม่เคยมีศาลใดตัดสินว่าหัวเว่ยมีส่วนในการขโมยทรัพย์สินทางปัญญาอันร้ายแรง และหัวเว่ยก็ไม่เคยถูกศาลสั่งให้ชดใช้ค่าเสียหายในเรื่องนี้ด้วย

แนวคิดเรื่องความร่วมมือและการเคารพในทรัพย์สินทางปัญญาของหัวเว่ย สะท้อนผ่านข้อเท็จจริงง่าย ๆ ที่ว่าความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของบริษัทหลายอย่างได้ถูกผสานรวมอยู่ในมาตรฐานอันเปิดกว้างต่าง ๆ ที่ใช้สำหรับเทคโนโลยี 3G, 4G และ 5G และแม้ว่าบางประเทศจะไม่ได้ซื้อผลิตภัณฑ์โดยตรงจากหัวเว่ย พวกเขาก็ยังใช้สิทธิบัตรที่สำคัญ ๆ ของหัวเว่ย และร่วมแบ่งปันประโยชน์ของเทคโนโลยีที่หัวเว่ยสร้างขึ้นมา มร. ซ่ง กล่าว

มร. ซ่ง ยังได้กล่าวถึงจุดยืนของหัวเว่ยเกี่ยวกับการใช้สิทธิบัตรว่า บริษัทจะไม่ใช้สิทธิบัตรของตัวเองเป็นอาวุธทำร้ายคนอื่น แต่หัวเว่ยจะใช้ทัศนคติที่เปิดกว้างและเน้นการทำงานร่วมกัน และปฏิบัติตามหลักการที่ “ยุติธรรม สมเหตุสมผล และไม่เลือกปฏิบัติ” เมื่อต้องมีส่วนร่วมในเรื่องการออกใบอนุญาตสิทธิบัตรกับฝ่ายที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรม

“และดังเช่นเคย หัวเว่ยพร้อมและเต็มใจที่จะแบ่งปันเทคโนโลยีของเราให้กับผู้คนทั่วโลก ซึ่งรวมถึง 5G รวมถึงบริษัทและผู้บริโภคในสหรัฐอเมริกา เมื่อเราร่วมมือกัน ก็จะสามารถขับเคลื่อนอุตสาหกรรมของเราให้เติบโตไปข้างหน้าและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อมนุษย์เราทุกคนได้” มร. ซ่งกล่าว

รายงานดังกล่าวยังอธิบายถึงเรื่องความยั่งยืนของนวัตกรรมที่ช่วยให้หัวเว่ยประสบความสำเร็จ ตลอดจนการที่นวัตกรรมของหัวเว่ยนำมาซึ่งคุณค่าทางสังคมขนานใหญ่ และจุดยืนของหัวเว่ยเกี่ยวกับการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาของบุคคลที่สามและของตัวเอง

สามารถดาวน์โหลดรายงานสมุดปกขาวนี้ได้ที่ 
https://www-file.huawei.com/-/media/CORPORATE/PDF/white%20paper/2019/Huawei_White_Paper_on_Innovation_and_Intellectual_Property.pdf


 

Categories
ทรัพย์สินทางปัญญา

ขั้นตอนการจดสิทธิบัตร

ต่อไปนี้เรามาดูขั้นตอนการขอจดสิทธิบัตรกันอย่างคร่าวๆ นะครับ ที่ต้องบอกว่าคร่าวๆ ก็เพราะว่า ถึงแม้เราจะเตรียมเอกสารไว้พร้อมเพียงใด บางกรณีการตีความของเรากับของเจ้าหน้าที่อาจคลาดเคลื่อนกัน เป็นผลให้เราต้องกลับมาเตรียมเอกสารใหม่อีกครั้งก็เป็นได้โดยเฉพาะข้อถือสิทธิที่บ่อยครั้งพบว่า นักประดิษฐ์เขียนไว้ครอบคลุมมากเกินไป พูดง่ายๆ ก็คือเกินจริงนั่นเองครับ

ขั้นตอนการจดสิทธิบัตร

การยื่นขอรับสิทธิบัตร-การประดิษฐ์ พร้อมทั้งชำระค่าธรรมเนียม ซึ่งในคำขอต้องประกอบด้วย

– แบบพิมพ์คำขอรับสิทธิบัตร (แบบ สป/สผ/อสป/001-ก) ซึ่งมี 2 หน้า
– รายละเอียดการประดิษฐ์
– ข้อถือสิทธิ
– บทสรุปการประดิษฐ์
– รูปเขียน (ถ้ามี)
– เอกสารอื่น ๆ (ถ้ามี) เอกสารประกอบอันแสดงถึงสิทธิของผู้ขอ เช่น หนังสือโอนสิทธิสัญญาการว่าจ้าง หนังสือมอบอำนาจ เป็นต้น
– เมื่อยื่นคำขอตามข้อ 1 แล้ว ถ้ามีสิ่งบกพร่องที่พอจะแก้ไขได้จะแจ้งให้ผู้ขอหรือตัวแทนทราบ เพื่อปฏิบัติหรือแก้ไขตามคำสั่งในหนังสือแจ้งนั้นๆ
– ขอต้องใช้แบบ สป/สผ/อสป/003-ก ในการยื่นขอแก้ไขเพิ่มเติมพร้อมทั้งชำระค่าธรรมเนียม
– ในกรณีคำขอตามข้อ 1 ถูกต้องหรือได้แก้ไขถูกต้องตามข้อ 3 แล้วจะส่งหนังสือแจ้งให้ผู้ขอชำระค่าธรรมเนียมการประกาศโฆษณาในหนังสือจดหมายเหตุสิทธิบัตร
– เมื่อประกาศโฆษณาแล้ว ผู้ขอต้องยื่นขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์โดยใช้ (แบบ สป.003-ก) ภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ประกาศโฆษณา
– ถ้าอธิบดีเห็นว่าคำขอถูกต้องตามกฎหมาย และสั่งให้รับจดทะเบียนสิทธิบัตร แล้วจะส่งหนังสือแจ้งให้ผู้ขอ มาชำระค่าธรรมเนียม
– เมื่อผู้ขอชำระค่าธรรมเนียมตามข้อ 1.6 แล้วจะออกสิทธิบัตรให้แก่ผู้ขอต่อไป

อายุการให้ความคุ้มครอง
– สิทธิบัตรการประดิษฐ์ มีอายุ 20 ปี นับแต่วันที่ขอรับสิทธิบัตร
– สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ มีอายุ 10 ปี นับแต่วันที่ขอรับสิทธิบัตร

Categories
ทรัพย์สินทางปัญญา

ค้นสิทธิบัตรออนไลน์

ทุกวันนี้อาจกล่าวได้ว่าเป็นยุคเฟื่องฟูของนวัตกรรมก็เป็นได้ และเราก็ได้พบเห็นผลงานสร้างสรรค์มากมายออกสู่ตลาดในราคาที่พอจับต้องได้และเชื่อว่าผู้อ่านหลายท่านอาจกำลังมีแผนที่จะสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมของ ตัวเองออกสู่ตลาดอยู่เช่นกัน

แต่ช้าก่อน..ก่อนที่จะออกแบบหรือลงมือสร้างสิ่งที่ท่านคิดว่าเจ๋งสุดๆ แล้วขายได้ ท่านจะต้องค้นหาข้อมูลก่อนว่าสิ่งที่ท่านกำลังจะลงมือสร้าง นั้นมีผู้อื่นได้สร้างสรรค์หรือจดสิทธิบัตรเอาไว้ก่อนหน้านี้หรือไม่ มิฉะนั้นแล้วท่านอาจต้องตกเป็นจำเลยในข้อหาละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของผู้ อื่นโดยไม่รู้ตัวก็เป็นได้

เพราะจากประสบการณ์ของผมที่เคยอยู่ในแวดวงทรัพย์สินทางปัญญาได้พบเจอคดีความ ที่ไม่น่าจะเป็นคดีมามากมาย แต่ที่พบบ่อยพอๆ กับคดีละเมิดโดยเจตนาก็คือการยื่นจดซ้ำกับข้อถือสิทธิของผู้อื่น หมายความว่าลงมือทำแล้วค่อยไปจดทำให้ต้องเสียเวลาไปกับการพัฒนาสิ่งที่มีผู้ อื่นทำอยู่ก่อนแล้ว

ในกรณีดังกล่าวอาจเป็นไปได้ว่าในสมัยก่อนเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา โดยเฉพาะการสืบค้นนั้นทำได้ค่อนข้างลำบากและขาดการอัปเดตข้อมูลที่เพียง พอ เพราะต้องเบิกแฟ้ม(เสียเงิน)จากกรมทรัพย์สินทางปัญญามาเปิดดู แถมข้อมูลที่ได้ก็เป็นข้อมูลเฉพาะสิทธิบัตรในประเทศเท่านั้น แหมมันชั่งไม่สะดวกและเสียเวลามากจริงๆ ผมขอยืนยัน

ค้นหาสิทธิบัตรผ่านอินเทอร์เน็ต

นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีกับนักประดิษฐ์ไทย เพราะด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน พัฒนาไปมาก ทำให้เราสามารถสืบค้นข้อมูลสิทธิบัตรที่คาดว่าจะเกี่ยวข้องกับผลงานของเรา ได้จากเว็บไซต์ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา โดยท่านสามารถเข้าไปที่

http://patentsearch.ipthailand.go.th/DIP2013/simplesearch.php

โดยในเว็บนี้ ได้มีการเชื่อมโยงคำที่เราต้องการค้นหาไปยังฐานข้อมูลของสำนักสิทธิบัตรทั่วโลกเลยทีเดียว

เมื่อเข้าไปยังหน้าเว็บ จะพบกับช่องให้กรอกคำค้น และเรายังสามารถเลือกได้ว่าต้องการค้นสิทธิบัตรจากแหล่งใดบ้าง หรือต้องการค้นหาแบบใด วิธีการค้นก็สุดแสนจะง่ายดายเพียงใส่คำที่ต้องการค้นหาหรือ Keyword ลงไป แล้วกดปุ่มค้นหา รอสักครู่สิทธิบัตรในฐานข้อมูลของกรมทรัพย์สินทางปัญญาและฐานข้อมูลสิทธิ บัตรจากต่างประเทศ ก็พรั่งพรูออกมา ผมทดลองค้นหาคำว่า “ล็อคเบรค” ผลก็ปรากฏออกมาดังรูปด้านบนครับ ทำให้เราได้เห็นว่า ยุคนี้โจรขโมยมันเยอะขนาดต้องมีอุปกรณ์กันขโมยจดสิทธิบัตรกันมากมายขนาดนี้ เลยทีเดียว

ยังไงก็ทดลองค้นหากันก่อนจะลงไม้ลงมือกันนะครับ จะได้ไม่เสียเวลาไปขึ้นศาลด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์

หมายเหตุ

Categories
ทรัพย์สินทางปัญญา

สิทธิบัตรอาวุธสำคัญของนักประดิษฐ์

การได้รับฟังสื่อต่างๆ ที่ประโคมกันอยู่ทุกวัน เกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์ก็ดี สิทธิบัตรก็ดี ท่ามกลางความสนใจของประชาชนผู้มีรายได้น้อยที่อาศัยการจับจ่ายของใช้ละเมิดลิขสิทธิเหล่านี้ เนื่องจากราคาถูกกว่าของที่จดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฏหมาย

อันนี้คงต้องเป็นเรื่องที่ต้องชี้แจงให้ประชาชนได้รับรู้ถึงความจำเป็น ดังกล่าวมากขึ้น ก็ควรจะมากกว่าข่าวการจับแล้วทำลาย (อันนี้ถือเป็นการแก้ไขที่ปลายเหตุ ) บางคนอาจมองว่าการจดสิทธิบัตรทำให้ตนเองเสียเวลา เสียเงิน เสียประโยชน์จากการประกาศโฆษณา

:: ทำไมต้องจดสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร ::

ตามความเข้าใจโดยทั่วไป การจดสิทธิบัตรก็เพื่อเป็นการป้องกัน มิให้ผู้อื่นสามารถนำแนวความคิดของเราที่สู้อุตส่าห์พัฒนาขึ้นมา ไปกระทำการใดๆ ในเชิงพาณิขย์ แต่ท่านทราบหรือไม่ว่ายังมีความสำคัญอื่นๆ ที่น่าสนใจอีก อันได้แก่
1. คุ้มครองเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์ และกิจการ เพื่อป้องกันการลอกเลียนแบบเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ และป้องกันการถูกกล่าวหาในกรณี ขัดแย้งทางสิทธิบัตร
2. เครื่องมือในการสร้างพันธมิตร
3. เผยแพร่เทคโนโลยี เพื่อเป็นความรู้อันเนื่องจาก สิทธิบัตรนั้นมีอายุจำกัดอย่างเช่น จอแสดงผลชนิดบางที่ใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ แบบพกพา หรือ โน๊ตบุ๊ค ปัจจุบันหมดอายุสิทธิบัตรแล้ว ใครก็สามารถนำเทคโนโลยีเดิมนี้ไปพัฒนาต่อได้ ผลที่ได้รับก็คือ ราคาคอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊ค ราคาถูกลง
4. ส่งเสริมการลงทุน ให้มีการตั้งฐานการผลิตในประเทศ และให้มีการส่งเสริมการลงทุนด้านการวิจัย
5. ปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ให้มีการมุ่งมั่นที่จะพัฒนา อย่างไม่หยุดนิ่ง ยังส่งผลต่อให้ราคาถูกลง การส่งออกมากขึ้นตามลำดับ

ทั้ง 5 ข้อนั้นก็เป็นอีกสาระหนึ่งที่นอกเหนือจากความเข้าใจเดิมในเรื่องของผล ประโยชน์ หากจะว่าไปแล้ว แค่ข้อ 1. ก็น่าจะเป็นเหตุผลเพียงพอที่เราจะได้ประโยชน์จาการจดสิทธิบัตร

:: ทรัพย์สินทางปัญญาคืออะไร :: 
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับคำ ๆ นี้ก่อน สำหรับคำว่า ” ทรัพย์สินทางปัญญา ” นั้นแท้จริงแล้วก็คือสิ่งประดิษฐ์ ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ที่คนเราสร้างขึ้นมา ก็มีทั้งสังหาริมทรัพย์หรือสิ่งที่เคลื่อนย้ายได้ เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องคิดเลข หม้อหุงข้าว ฯลฯ และอสังหาริมทรัพย์ หรือสิ่งของที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ เช่น ตึกอาคาร บ้านเรือน หรือที่ดิน เป็นต้น เหล่านี้ถือว่าเป็นทรัพย์สินทางปัญญาทั้งสิ้น แต่ก็แยกประเภทออกไปตามลักษณะของผลงาน ซึ่งโดยส่วนมากแล้วคนไทยมักจะคุ้นเคยกับคำว่า ” ลิขสิทธิ์ ” มาใช้เรียกทรัพย์สินปัญญาทุกๆ ประเภท แต่ที่ถูกต้องแล้วทรัพย์สินทางปัญญาจะมีการแบ่งแยกประเภทออกไปอีก สำหรับความเข้าใจผิดเรื่อง ” ลิขสิทธิ์ ” ก็มาทำความเข้าใจกันใหม่ในบทความนี้

ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม อันถือว่าเป็นความคิดสร้างสรรค์ที่เกี่ยวข้องกับสินค้า ด้านอุตสาหกรรม ก็คือการประดิษฐ์คิดค้น การออกแบบผลิตภัณฑ์ รวมถึงการออกแบบเครื่องหมายการค้า ตราสัญลักษณ์ ชื่อและที่อยู่ทางการค้า และการป้องกันการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม โดยสามารถแบ่งออกได้ดังนี้

สิทธิบัตร (Patent)
เครื่องหมายการค้า (Trademark)
แบบผังภูมิของวงจรรวม (Latout – Designs of Integrated Circle)
ความลับทางการค้า (Trade Secrets)
ชื่อทางการค้า (Trad Name)
สิ่งที่บ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication)

:: ประเภทของทรัพย์สินทางปัญญา :: 
ได้กล่าวไปแล้วเมื่อตอนต้น เรื่องความเข้าใจผิด หรือการเหมารวมของคนไทยเรื่องลิขสิทธิ์ ในหัวข้อนี้เรามาดูรายละเอียดกัน
ลิขสิทธิ์ (Copy right) หมาย ถึง งานหรือความคิดสร้างสรรค์ ในสาขา วรรณกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม งานภาพยนตร์ หรืองานอื่นใดใน แผนกวิทยาศาสตร์ เช่นค่ายเทปเพลงต่างๆ ที่ออกเทปมาจำหน่ายตามแผงนั้นก็จะได้รับความคุ้มครองทางด้านลิขสิทธิ์โดย อัตโนมัติ ตั้งแต่วันที่เผยแพร่โดนไม่ต้องไปยื่นจดทะเบียนแต่อย่างใด ซึ่งผู้อื่นที่ไม่ใช้เจ้าของผลงานจะมาทำซ้ำในรูปแบบเดียวกันไม่ได้ แต่สามารถนำเอาเนื้อหาไปใช้ได้ และลิขสิทธิ์ยังรวมทั้งลิขสิทธิ์ข้างเคียง (Neigh bouning Right ) คือการนำเอางานด้านลิขสิทธิ์ออกแสดง เช่น นักแสดง ผู้บันทึกหรือถ่ายทอดเสียงหรือภาพ ที่สำคัญยังรวมไปถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ส่งผลกระทบอย่างหนัก ต่อผู้ประกอบการร้านอินเทอร์เน็ตทั่วประเทศในขณะนี้ ในกรณีที่เจ้าของลิขสิทธิ์ อย่างไมโครซอฟต์ และอีกหลายราย ออกมาเอาจริงเอาจังกับผู้ที่นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ละเมิดลิขสิทธิ์ ไปติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเอง

สิทธิบัตร (Patent) 
หมายถึง หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้ เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ (Invention) ที่เป็นความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับลักษณะองค์ประกอบโครงสร้างหรือกลไก รวมทั้งกรรมวิธีในการผลิต การปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่เดิม และยังรวมไปถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design ) หรือผลิตภัณฑ์อรรถประโยชน์ต่างๆ (Utility Model) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า (Petty Patent) จะมีลักษณะคล้ายกับการประดิษฐ์ แต่จะมีระดับการพัฒนาเทคโนโลยีที่ไม่สูงมากนัก

สำหรับสิทธิบัตรนั้น จัดว่าเป็นอาวุธที่สำคัญของนักประดิษฐ์ในการปราบปรามพวกสิงปืนไวชอบลอกเลียน แบบทั้งหลาย มีกรณีศึกษาอยู่หลายกรณี สำหรับนักประดิษฐ์ที่ไม่เห็นความสำคัญของการจดสิทธิบัตร ผลสุดท้ายคนที่ไม่ได้ประดิษฐ์ แต่นำผลงานไปจดสิทธิบัตรก็กลับกลายเป็นผู้มีอำนาจถือครองอย่างถูกต้องตาม กฏหมาย และยังสามารถฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้ประดิษฐ์ตัวจริงได้อีกด้วย มีเพียงไม่กี่รายที่สามารถฟ้องร้องเรียกสิทธิของตัวเองกลับคืนมาได้

ดังนั้น นักประดิษฐ์ทุกท่านจึงไม่ควรจะนิ่งเฉย แต่กรณีที่ยกตัวอย่างมาเป็นเพียงผลเสียอย่างหนึ่งที่กระทบต่อนักประดิษฐ์ เท่านั้น ยังมีผลกระทบทางอ้อมอีกมากหากเราไม่สนใจจดสิทธิบัตร เช่น เทคโนโลยีในการประดิษฐ์ของประเทศมีการเติบโตช้า หรือไม่มีการพัฒนาผลงานให้สูงขึ้น

แบบผังภูมิของวงจรรวม (Layout – Designs of Integrated Circuit) 
หมายถึง ผังการเชื่อมต่อของวงจรไฟฟ้า หรือวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การนำตัวนำไฟฟ้า หรือตัวต้านทาน มาต่อกันเป็นวงจรที่สมบูรณ์โดยที่ผู้ออกแบบบได้สร้างสรรค์ขึ้นมาเอง และต้องไม่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป ในอุตสาหกรรมวงจรรวม ยกตัวอย่างง่ายๆ ก็ ช่นวงจรไฟกระพริบ 2 ดวง หากนำมาเปลี่ยนแค่ LED แบบ 2 in 1 หรือ สองสีในหนึ่งดวง นั้นไม่สามารถได้รับความคุ้มครอง เนื่องจากว่ายังไม่จัดเป็นการคิดค้นหรือออกแบบใหม่ ยังเป็นลักษณะวงจร โมโนสเตเบิล ที่เป็นมาตรฐานที่ใช้กันมานาน

เครื่องหมายการค้า (Trademark) 
หมายถึง เครื่อง หมายที่เกี่ยวข้องกับสินค้า หรือ ทรัพย์สินทางปัญญา อีกประเภทหนึ่ง ที่ต้องได้รับการคุ้มครอง เช่น โค้ก เป๊บซี่ ฯลฯ ทั้งนี้เครื่องหมายทางการค้า ยังหมายรวมไปถึง เครื่องหมายบริการ (Service Mark ) ที่แสดงถึงประเภทการบริการที่แตกต่าง จากการบริการประเภทอื่นๆ เช่น สายการบิน โรงแรม ฯลฯ เครื่องหมายรับรอง ( Certify caption Mark ) อันนี้ตรงตัว ก็อย่างเช่น เชลล์ชวนชิม แม่ช้อยนางรำ ฯลฯ เครื่องหมายร่วม (Collective Mark) เป็นเครื่องหมายการค้า หรือเครื่องหมายบริการ ที่ใช้โดยบริษัทหรือ รัฐวิสาหกิจในกลุ่มเดียวกัน เช่น ตราช้าง หรือปูนซีเมนต์ไทย เป็นต้น

อย่าง เช่นที่ DTAC เปิดตัวใหม่ๆ ได้มีธุรกิจประเภทซีดีเพลงที่ละเมิดลิขสิทธิ์ นำเอาเครื่องหมาย DTAC ไปโชว์ไว้ตรงหน้าปกซีดี ก็กลายเป็นเรื่องฟ้องร้องดำเนินคดีกันไปเป็นที่เรียบร้อย แท้จริงแล้ว หากจะกระทำการในลักษณะนี้ ก็ควรจะขออนุญาตเจ้าของเป็นลายลักษณ์อักษร ก็คงไม่มีปัญหาอะไร

ความลับทางการค้า (Trade Secrets) 
หมายถึง ข้อมูลการค้าที่ไม่เป็นที่รู้จักของผู้คนทั่วไป และมีมูลค่าในเชิงพานิชย์เนื่องจากข้อมูลนั้นเป็นความลับ และมีการดำเนินการกันตามสมควร

ชื่อทางการค้า (Trade Name) 
หมายถึง ชื่อที่ใช้ในการประกอบกิจการ เช่น โกดัก ฟูจิ เป็นต้น

สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์(Geographical Indication) 
หมายถึง ชื่อหรือสัญลักษณ์ หรือสิ่งอื่นใดที่ใช้เรียกหรือใช้แทนแหล่งภูมิศาสตร์ และสามารถ บ่งบอกว่าสินค้าที่เกิดขึ้นมาจากแหล่งภูมิศาสาตร์นั้น เป็นสินค้าที่มีคุณภาพ ชื่อเสียง หรือคุณลักษณะเฉพาะ ของแหล่งภูมิศาสตร์นั้น เช่น ส้มบางมด ผ้าไหมไทย แชมเปญ เป็นต้น

จากรายละเอียด รวมทั้งข้อคิดต่างๆ ในบทความนี้ คงจะพอชี้ให้เห็นว่าการจดสิทธิบัตรนั้น แท้จริงแล้ว นักประดิษฐ์ทั้งหลายไม่ได้เสียประโยชน์แต่อย่างใด มันกลับจะเพิ่มความมั่นใจในการทำการค้ากับเรามากขึ้นเสียด้วยซ้ำ และยังเกิดข้อดีอีกมากมาย ในการพัฒนาการประดิษฐ์คิดค้น ส่วนที่สำคัญที่สุดก็คือช่วยเป็นแหล่งการสืบค้นข้อมูล สำหรับนักลงทุนที่กำลังต้องการ ผลิตภัณฑ์ใหม่ออกมาจำหน่าย นักประดิษฐ์ก็จะได้รับเงินจากการอนุญาตให้นักลงทุนหรือพ่อค้าที่สนใจ สามารถใช้สิทธิจากสิทธิบัตรของตนไปผลิตเป็นสินค้าจำหน่ายได้ (ในกรณีนี้สำหรับนักประดิษฐ์ที่ไม่ได้เป็นเจ้าของกิจการหรือไม่มีเงินลงทุน เอง )

เอื้อเฟื้อข้อมูลโดย : กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์

Exit mobile version