Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

การเติบโตของ ‘Digital Life & Commerce’ ต้องการนวัตกรรมมากขึ้นในปีนี้

โดยนายเติมศักดิ์ วีรขจรพงษ์ รองประธานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอาท์ซิสเต็มส์

การระบาดใหญ่ส่งผลให้องค์กรต่าง ๆ ทั่วโลกนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้อย่างรวดเร็วไม่ว่าจะใช้เพื่อทำงานหรือเพื่อความบันเทิงหรือในเรื่องอื่น ๆ ล้วนเปลี่ยนมาอยู่บนออนไลน์ ซึ่งได้สร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ  โดยเฉพาะผู้อยู่ในวงการเทคโนโลยี ข้อมูลจาก Gartner ระบุภายในปี 2567 ราว 65% ของการพัฒนาแอปพลิเคชันจะถูกพัฒนาขึ้นด้วยเทคโนโลยี Low-Code และเริ่มเห็นได้ชัดเจนว่าการพัฒนาบริการต่าง ๆ วันนี้นั้นกำลังปรับเปลี่ยนไปสู่รูปแบบของ Low-Code

เราเห็นความท้าทายมากมายที่บริษัทต่าง ๆ ต้องเผชิญในปีที่ผ่านมา รวมถึงวิธีการปรับตัวของธุรกิจเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลที่เกิดขึ้นรวดเร็วอย่างที่ไม่ปรากฎมาก่อน โดยธุรกิจจะยังให้ความสำคัญกับการนำนวัตกรรมดิจิทัลมาใช้ขับเคลื่อนกลยุทธ์ขององค์กรอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้มากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรม Digital Commerce ตามรายงานจาก Google คาดการณ์ไว้ว่า ภายในปี 2573 การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของประเทศไทยจะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงถึง 75,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี  และยังเพิ่มโอกาสใหม่ ๆ ให้แก่ประเทศ

เอาท์ซิสเต็มส์ ผู้นำด้านแพลตฟอร์มโมเดิร์นแอปพลิเคชั่นระดับโลก เผยแนวโน้มเทคโนโลยีในปี 2565 ที่มีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตและเศรษฐกิจดิจิทัล โดยมีทีมไอทีเป็นผู้ขับเคลื่อนสำคัญ ดังนี้

  • องค์กรธุรกิจจะปรับใช้แพลตฟอร์มการพัฒนาแอปพลิเคชั่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของนักพัฒนา  ทุกวันนี้บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีสามารถดึงดูดนักพัฒนาที่มีความรู้ความสามารถซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนน้อยให้เข้าไปทำงานได้มากกว่าบริษัทอื่น ๆ ดังนั้นองค์กรธุรกิจทั่วไปจึงจำเป็นต้องมองหาหนทางใหม่ ๆ ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันโดยอาศัยบุคลากรที่มีอยู่ และหลาย ๆ องค์กรก็เริ่มตระหนักถึงความจำเป็นในการปรับใช้เทคโนโลยีที่จะช่วยเพิ่มความสะดวกในการทำงานให้กับทีมงานฝ่ายพัฒนา เพื่อให้สามารถทุ่มเทเวลาและความพยายามไปกับการสร้างสรรค์นวัตกรรมได้อย่างเต็มศักยภาพ แทนที่จะต้องวุ่นวายกับแง่มุมที่ซ้ำซากจำเจของการพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยเทคโนโลยีที่ว่านี้จะรองรับงานทั่วไปที่สำคัญสำหรับการพัฒนา และมีการอัพเดตอย่างต่อเนื่องด้วยเทคโนโลยีคลาวด์รุ่นล่าสุด ทั้งยังสามารถปรับขนาดโดยอัตโนมัติ และใช้ประโยชน์จากคอนเทนเนอร์และ Kubernetes เพื่อให้ทีมงานฝ่ายพัฒนาสามารถนำเสนอสถาปัตยกรรมแอปพลิเคชั่นระดับโลก พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็วเพื่อตอบโจทย์ความต้องการทางธุรกิจที่เปลี่ยนไป โดยมีความเสี่ยงอยู่ในระดับต่ำ ทั้งยังสามารถหลีกเลี่ยงการทำงานหนักโดยไม่จำเป็น รวมไปถึงงานบำรุงรักษาที่เปล่าประโยชน์ และงานจุกจิกอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดหนี้ทางเทคนิค (Technical Debt)
  • นักพัฒนาจะมีความต้องการระบบรักษาความปลอดภัยที่เรียบง่ายและไว้ใจได้มากขึ้น
    • แม้ว่านักพัฒนาซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการรักษาความปลอดภัย แต่กลับอยู่ภายใต้แรงกดดันที่เพิ่มมากขึ้นในการสร้างโปรแกรมที่ปราศจากช่องโหว่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อองค์กรต่าง ๆ ถูกโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware) อย่างกว้างขวางในช่วงปี 2564  แรงกดดันที่เพิ่มขึ้นนี้ส่งผลให้กระบวนการพัฒนาช้าลงอย่างมาก ทั้งยังเป็นอุปสรรคต่อการเขียนโปรแกรมที่สร้างสรรค์และแปลกใหม่ ขณะที่บริษัทต่าง ๆ ต้องการให้ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นเองมีระดับความปลอดภัยและความสอดคล้องตามกฎระเบียบเทียบเท่ากับ SaaS  ด้วยเหตุนี้ นักพัฒนาจึงต้องการเครื่องมือด้านการพัฒนาที่ไว้ใจได้เพื่อรับมือกับช่องโหว่ที่อาจเกิดขึ้น รวมไปถึงแพลตฟอร์มการพัฒนาที่รวมความปลอดภัยไว้ภายในสแต็กของเทคโนโลยีแอปพลิเคชั่น และปรับเปลี่ยนได้อย่างยืดหยุ่นตามสภาพแวดล้อมทางธุรกิจและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป
  • มุ่งเน้นความหลากหลาย ความเท่าเทียม และการอยู่ร่วมกัน (Diversity, Equity and Inclusion – DEI) มากขึ้นสำหรับนักพัฒนา
    • องค์กรต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแวดวงเทคโนโลยี มีการพูดถึงประเด็นเรื่องความหลากหลายตลอดช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา และมีการดำเนินการที่ประสบความสำเร็จในระดับที่แตกต่างกันไป  และในช่วงปี 2565 ผู้บริหารฝ่ายไอทีมีหน้าที่ที่จะต้องดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายในเรื่องความหลากหลาย ความเสมอภาค และการอยู่ร่วมกัน ในส่วนที่เกี่ยวกับบุคลากรที่เป็นนักพัฒนา  ทั้งนี้เนื่องจากนักพัฒนามีหน้าที่แก้ไขปัญหาบางอย่างที่ซับซ้อนที่สุดในโลก ดังนั้นบริษัทจึงต้องตรวจสอบและปรับปรุงกระบวนการสรรหาบุคลากรเพื่อให้มีการรับสมัครและว่าจ้างบุคลากรที่มีความหลากหลายมากขึ้นสำหรับฝ่ายไอที  เอาต์ซิสเต็มส์มุ่งมั่นที่จะสนับสนุนการเติบโตของนักพัฒนาจากชุมชนที่หลากหลายสำหรับงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยได้ร่วมมือกับหลาย ๆ องค์กร เช่น Women Who Code, Blacks in Technology Foundation และ Australian Computer Society
  • ความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับ DevSecOps ในการกระตุ้นการปรับใช้แพลตฟอร์มพัฒนาแอปพลิเคชั่น
    • ข้อกังวลใจหลักสำหรับผู้บริหารที่กำกับดูแลทีมงานฝ่ายไอทีและฝ่ายวิศวกรรมซอฟต์แวร์จะยังคงเป็นเรื่องความสามารถของระบบรักษาความปลอดภัยขององค์กรในการรับมือกับความเสี่ยงทางธุรกิจที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก  การโจมตีของมัลแวร์เรียกค่าไถ่ที่เพิ่มมากขึ้น การปราศจากขอบเขตที่ชัดเจนสำหรับข้อมูลขององค์กร และความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากการเขียนโปรแกรมโดยผู้ใช้งานทั่วไป (Citizen Developer) ส่งผลให้ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ ถูกคุกคามอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน  ผู้บริหารฝ่ายรักษาความปลอดภัยสารสนเทศ (CISO) และผู้บริหารฝ่ายสารสนเทศ (CIO) จึงหันมาให้ความสำคัญกับการสร้างประสบการณ์ดิจิทัลรูปแบบใหม่บนแพลตฟอร์มที่สามารถจัดการทุกขั้นตอนของการพัฒนาและส่งมอบแอปพลิเคชั่นอย่างเป็นระบบ แทนที่จะพึ่งพาการทำงานที่ไม่เป็นระบบของทีมงานต่าง ๆ ซึ่งมีระดับความรู้และทักษะที่แตกต่างกันสำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ปลอดภัย
  • การใช้ DesignOps และระบบตรวจสอบเพิ่มขึ้นสำหรับแอปพลิเคชั่นที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย
    • ปี 2565 นับเป็นครั้งแรกที่งบประมาณด้านไอทีและการพัฒนาแอปพลิเคชั่นจะสะท้อนการทำงานในรูปแบบไฮบริด เนื่องจากประสบการณ์ของพนักงานและคู่ค้ามีความสำคัญเทียบเท่ากับประสบการณ์ของลูกค้าสำหรับการใช้งานแอปพลิเคชั่นในเชิงลึก ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจ  ด้วยเครื่องมือใหม่ ๆ ที่ช่วยให้สามารถทำการบูรณาการในระดับที่ลึกขึ้นระหว่างการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) และการพัฒนาแอปพลิเคชั่นส่วนหน้า (Front End) จึงมีแนวทางใหม่ ๆ สำหรับ DesignOps ซึ่งจะช่วยผลักดันการใช้แอปพลิเคชั่นอย่างแพร่หลายมากขึ้น  นอกจากนี้ ยังมีระบบตรวจสอบพฤติกรรมของผู้ใช้ รวมไปถึงการรองรับมาตรฐานเปิด เช่น Open Telemetry ซึ่งช่วยให้ทีมงานฝ่ายผลิตภัณฑ์ดิจิทัลสามารถยกระดับการใช้งานของผู้ใช้ได้ง่ายดายมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน
  • การจัดการทีมงานฝ่ายพัฒนาที่แยกกระจัดกระจายโดยใช้โมเดิร์นแพลตฟอร์ม
    • ทีมงานฝ่ายวิศวกรรมซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่ต้องเผชิญกับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่สืบเนื่องจากการแพร่ระบาดที่เกิดขึ้น เช่น การลาออกของพนักงานจำนวนมาก ขณะที่นักพัฒนาซอฟต์แวร์ก็ต้องทำงานในลักษณะที่แยกกระจัดกระจายมากขึ้น และมีการหลบเลี่ยงมาตรการควบคุมในหลาย ๆ เรื่อง ซึ่งทั้งหมดนี้ทำให้เกิดความยากลำบากมากขึ้นในการแนะแนว ฝึกสอน กำกับดูแล หรือแม้กระทั่งตรวจสอบคุณภาพและผลการปฏิบัติงานของทีมงานและพนักงานแต่ละคน  ผู้บริหารฝ่ายวิศวกรรมซอฟต์แวร์ต้องรับมือกับปัญหาท้าทายในเรื่องของความปลอดภัย การปฏิบัติตามกฎระเบียบ และการกำกับดูแลบุคลากรที่ไม่เคยพบปะกันเป็นการส่วนตัว  หน่วยงาน ผู้จัดการ และแม้กระทั่งพนักงานในฝ่าย CI/CD จึงต้องการที่จะทำงานบนแพลตฟอร์มที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการตรวจสอบทุกแง่มุมและทุกขั้นตอนของการพัฒนาอย่างใกล้ชิด ตั้งแต่งานที่ทำเสร็จไปจนถึงเทคโนโลยีการรักษาความปลอดภัยที่ถูกนำมาใช้  เนื่องจากฟีเจอร์จำนวนมากเหล่านี้พร้อมใช้งานอยู่แล้วในแพลตฟอร์มการพัฒนาโมเดิร์นแอปพลิเคชั่น ดังนั้นจึงคาดการณ์ว่าจะมีการปรับใช้แพลตฟอร์มดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น เมื่อเทียบกับการพัฒนาแบบเดิม ๆ โดยใช้ชุดเครื่องมือการพัฒนาที่แยกเป็นส่วนเล็กส่วนน้อย ซึ่งมักจะประกอบด้วยเครื่องมือโอเพ่นซอร์สที่ไม่เชื่อมต่อกัน และขาดแนวทางการจัดการองค์รวมอย่างรอบด้าน
  • การใช้สถาปัตยกรรมคลาวด์เนทีฟในระดับที่ลึกขึ้นสำหรับระบบงานที่องค์กรพัฒนาเอง
    • การตัดสินใจเลือกระหว่าง “สร้างหรือซื้อ” กลับมาอีกครั้ง หลังจากที่องค์กร “ปล่อยให้ผู้ใช้ซื้อบริการซอฟต์แวร์ SaaS ที่ตนเองต้องการ” ทั้งนี้เพราะการใช้ SaaS เพิ่มมากขึ้นนอกจากจะสิ้นเปลืองงบประมาณทางด้านธุรกิจแล้ว ยังอาจก่อให้เกิดหนี้ทางเทคนิคในอีกรูปแบบหนึ่งด้วยเช่นกัน โดยเป็นผลมาจากความยุ่งยากซับซ้อนในการบูรณาการระบบต่าง ๆ หลายร้อยระบบเข้าด้วยกัน  ในการฟื้นฟูความคล่องตัวให้กับธุรกิจด้วยระบบที่เหมาะกับงานที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งจะรองรับการใช้งานของพนักงาน คู่ค้า และลูกค้า จำเป็นที่จะต้องปรับใช้แพลตฟอร์มการพัฒนาแอปพลิเคชั่นแบบคลาวด์เนทีฟที่ปรับขนาดได้อย่างเหมาะสม รองรับการใช้งานในลักษณะกระจัดกระจาย และช่วยให้สามารถสร้างแอปพลิเคชั่นประดับองค์กรที่มีความยืดหยุ่นสูง ซึ่งจะช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการดำเนินงาน

 บริการคลาวด์คอมพิวติ้งจากผู้ให้บริการคลาวด์รายใหญ่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว จากที่เมื่อก่อนนี้ประมาณ 5 ปีที่แล้ว มีการนำเสนอบริการเพียงแค่ 20 บริการเท่านั้น แต่ปัจจุบันผู้ให้บริการ IaaS หนึ่งรายนำเสนอบริการเว็บและบริการที่แปลกใหม่เกือบ 250 บริการเลยทีเดียว ซึ่งสร้างความหนักใจให้กับนักพัฒนาในองค์กรธุรกิจทั่วไปที่จะต้องสร้างแอปพลิเคชั่นแบบคลาวด์เนทีฟ  ด้วยเหตุนี้ เพื่อเอาชนะปัญหาท้าทายดังกล่าว จึงต้องมีการปรับใช้แพลตฟอร์มการพัฒนาแบบคลาวด์เนทีฟ และ IDE ที่ใช้เบราว์เซอร์ ซึ่งจะช่วยให้ทีมงานฝ่ายวิศวกรรมซอฟต์แวร์สามารถโฟกัสไปที่การจัดการผลิตภัณฑ์ดิจิทัลเพื่อเพิ่มมูลค่า แทนที่จะต้องวุ่นวายอยู่กับการจัดการโครงสร้างพื้นฐานเพียงอย่างเดียว

เกี่ยวกับเอาท์ซิสเต็มส์

เอาท์ซิสเต็มส์ (OutSystems) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2544 ด้วยพันธกิจในการเสริมสร้างขีดความสามารถให้แก่องค์กรต่าง ๆ สำหรับการสร้างสรรค์นวัตกรรมผ่านซอฟต์แวร์  แพลตฟอร์มแอปพลิเคชัน OutSystems ประกอบด้วยเครื่องมือประสิทธิภาพสูงที่เชื่อมต่อกันและขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี AI ช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างและติดตั้งใช้งานแอปพลิเคชันที่หลากหลายได้อย่างรวดเร็ว ตอบโจทย์ความต้องการของทุกภาคส่วนภายในองค์กร  ด้วย Community member กว่า 435,000 ราย พนักงานมากกว่า 1,500 คน พันธมิตรกว่า 350 ราย และลูกค้าหลายพันรายใน 87 ประเทศ ใน 22 กลุ่มอุตสาหกรรม ธุรกิจของเอาท์ซิสเต็มส์ครอบคลุมทั่วโลก และช่วยให้องค์กรต่าง ๆ ปรับเปลี่ยนวิธีการพัฒนาแอปพลิเคชันให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เยี่ยมชมเว็บไซต์ของบริษัทฯ ได้ที่ www.outsystems.com หรือติดตามเราบน Twitter @OutSystems หรือ LinkedIn ที่ https://www.linkedin.com/company/outsystems


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ดีลอยท์และเอาท์ซิสเต็มส์ขยายความร่วมมือ นำเสนอโซลูชั่นที่มุ่งเน้นด้านอุตสาหกรรมบนระบบคลาวด์ AWS

บริษัทที่ปรึกษาระดับโลกและผู้ให้บริการด้านแพลตฟอร์มโมเดิร์นแอปพลิเคชั่นต่อยอดความสำเร็จในยุโรป ตั้งเป้าเร่งการปรับใช้ระบบคลาวด์และการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลแก่ลูกค้าทั่วโลก

กรุงเทพฯ – 25 ตุลาคม 2564 – เอาท์ซิสเต็มส์ (OutSystems) ผู้นำระดับโลกด้านการพัฒนาโมเดิร์นแอปพลิเคชั่น และดีลอยท์ คอนซัลติ้ง (Deloitte Consulting) ขยายขอบเขตความร่วมมือที่ยาวนานกว่า 13 ปี ด้วยการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศ (Center of Excellence – COE) ที่มุ่งเน้นการจัดหาโซลูชั่นที่มุ่งเน้นด้านอุตสาหกรรมบนระบบคลาวด์ด้วย Amazon Web Services (AWS) ระดับโลก  ภายใต้ความร่วมมือดังกล่าว ดีลอยท์ เอาท์ซิสเต็มส์ และ AWS ได้เสริมสร้างขีดความสามารถให้แก่ลูกค้าในการพัฒนาและติดตั้งใช้งานแอปพลิเคชั่นระดับองค์กรที่ก้าวล้ำภายในเวลาอันรวดเร็ว โดยใช้ทรัพยากรน้อยลงอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน

ดีลอยท์และเอาท์ซิสเต็มส์ผนึกกำลังร่วมกันเป็นครั้งแรกที่โปรตุเกสเมื่อปี 2550 และได้ดำเนินมากกว่า 100 โครงการดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น (Digital Transformation) และการพัฒนาซอฟต์แวร์ในยุโรป เอเชียแปซิฟิก ตะวันออกกลาง แคนาดา และสหรัฐฯ ด้วยบุคลากรของดีลอยท์กว่า 300 คนที่ผ่านการรับรองจากเอาท์ซิสเต็มส์  ทั้งนี้ ดีลอยท์เป็นพาร์ทเนอร์ด้านการให้คำปรึกษาระดับพรีเมียร์ (Premier Consulting Partner) ของ AWS โดยมีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษเกี่ยวกับโซลูชั่นธุรกิจบน AWS ซึ่งสามารถบูรณาการเข้าด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าทุกที่ทุกเวลา

เมื่อไม่นานมานี้ สภากาชาดของเนเธอร์แลนด์ใช้ประโยชน์จากความร่วมมือของเอาท์ซิสเต็มส์, ดีลอยท์ และ AWS เพื่อสร้างแอปพลิเคชั่นใหม่ ๆ อย่างรวดเร็วสำหรับการจัดการอาสาสมัครและการประสานงาน  และด้วยความร่วมมือของสามบริษัทนี่เอง ให้สภากาชาดสามารถปรับขนาดการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุมขอบเขตกว้างขวาง เพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของความต้องการและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19

ฮันส์ เกิดฮาร์ท ผู้จัดการฝ่ายจัดหาข้อมูลและไอซีทีของสภากาชาด กล่าวว่า “ด้วยประสิทธิภาพแพลตฟอร์มของเอาท์ซิสเต็มส์ ประสบการณ์ของดีลอยท์ และความสามารถการปรับขนาดที่ยืดหยุ่นของ AWS ที่เรานำมาปรับใช้ประโยชน์ ทำให้เราสามารถพัฒนาโซลูชั่นที่เหมาะสมกับผู้ใช้และรองรับการใช้งานในอนาคต โดยใช้เวลาในการพัฒนาเพียงไม่กี่สัปดาห์  แทนที่จะต้องใช้เวลาหลายเดือน ทุกวันนี้เราสามารถพัฒนาประสบการณ์ดิจิทัลได้ภายในเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ เพื่อเชื่อมต่ออาสาสมัครและคนทำงานกว่า 100,000 คนได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ด้วยความช่วยเหลือจากเอาท์ซิสเต็มส์และดีลอยท์ เรามั่นใจว่าองค์กรของเราจะสามารถปรับตัวและตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนไปในปี 2564 และในอนาคตได้อย่างแน่นอน”

ภายใต้ข้อตกลงฉบับใหม่ ดีลอยท์ สหรัฐฯ บริษัทในเครือที่ใหญ่ที่สุดของดีลอยท์จะขยายธุรกิจการจัดทำผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์และการให้บริการผ่านศูนย์ COE ระดับโลกของดีลอยท์ โดยใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มการพัฒนาของเอาท์ซิสเต็มส์  ความร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยให้ลูกค้าดำเนินโครงการได้สะดวกง่ายดายมากขึ้น และได้รับประโยชน์ทางธุรกิจรวดเร็วกว่าเดิม ด้วยการเพิ่มความรวดเร็วในการนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด ลดค่าใช้จ่ายด้านการพัฒนาและสนับสนุนแอปพลิเคชั่นอย่างต่อเนื่อง และยกเลิกการใช้งานหรือเปลี่ยนแอปพลิเคชั่นและโครงสร้างพื้นฐานที่ไร้ประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าปรับเปลี่ยนการดำเนินงานได้รวดเร็วยิ่งขึ้น  ดีลอยท์จะจัดหาทรัพยากรและเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มความรวดเร็วสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพื่อนำเสนอคุณประโยชน์ทางธุรกิจโดยอาศัยแพลตฟอร์มของเอาท์ซิสเต็มส์

คาร์ลอส อัลเวส ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการของเอาท์ซิสเต็มส์ กล่าวว่า “เอาท์ซิสเต็มส์แก้ไขหนึ่งในปัญหาสำคัญที่สุดที่องค์กรธุรกิจต้องเผชิญในปัจจุบัน นั่นคือ การพัฒนาซอฟต์แวร์ด้วยวิธีการแบบเดิม ๆ ซึ่งขาดความคล่องตัวและต้องใช้เวลานาน  แพลตฟอร์มการพัฒนาที่ทันสมัยของเรามีประสิทธิภาพสูง รองรับการทำงานแบบอัตโนมัติ และลดความยุ่งยากซับซ้อน แต่ยังคงไว้ซึ่งพลังและโครงสร้างภาษาที่เรียบง่ายเช่นเดียวกับการพัฒนารูปแบบเดิม  แนวทางใหม่นี้ช่วยปรับปรุงการสร้าง การติดตั้งใช้งาน และการปรับเปลี่ยนแอปพลิเคชั่นได้อย่างมากเลยทีเดียว  ความเชี่ยวชาญที่ลึกซึ้งของดีลอยท์ ทั้งในเรื่องอุตสาหกรรมและระบบคลาวด์ บวกกับประสิทธิภาพที่เหนือชั้นของแพลตฟอร์มเอาท์ซิสเต็มส์ ช่วยให้ลูกค้าได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น”

ทิม สมิธ หุ้นส่วนของดีลอยท์ คอนซัลติ้ง และหัวหน้าฝ่ายโซลูชั่นอุตสาหกรรมหลักประจำสหรัฐฯ กล่าวว่า “ความรวดเร็ว สถาปัตยกรรมที่เหมาะสม และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง นับเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของตลาดและตอบโจทย์ความต้องการของบุคลากรได้อย่างลงตัว  เรานำเสนอโซลูชั่นที่หลากหลายบนแพลตฟอร์มเอาท์ซิสเต็มส์ ทั้งในส่วนของการพลิกโฉมประสบการณ์ลูกค้า นวัตกรรมสำหรับสถานที่ทำงาน เรื่อยไปจนถึงระบบงานอัตโนมัติ การปรับปรุงระบบรุ่นเก่าให้ทันสมัย และอื่น ๆ อีกมากมาย  ความสามารถในการสร้างและปรับเปลี่ยนแอปบนแพลตฟอร์มเดียวคือเหตุผลหลักที่เราตัดสินใจทำงานร่วมกับเอาท์ซิสเต็มส์”

เกี่ยวกับดีลอยท์ – ดีลอยท์ให้บริการด้านการตรวจสอบบัญชี ที่ปรึกษา ภาษี และการให้คำแนะนำแก่บริษัทชั้นนำระดับโลก รวมถึงเกือบ 90% ของบริษัทขนาดใหญ่ที่ติดอันดับ Fortune 500® และบริษัทเอกชนกว่า 7,000 แห่ง  บุคลากรของเราทำงานร่วมกันในหลากหลายกลุ่มอุตสาหกรรมเพื่อขับเคลื่อนและพัฒนาตลาดในปัจจุบัน โดยนำเสนอผลลัพธ์ที่ยั่งยืนและเป็นรูปธรรม ช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นในตลาดทุน สร้างแรงบันดาลใจให้แก่ลูกค้าในการพลิกวิกฤติเป็นโอกาสเพื่อปรับเปลี่ยนธุรกิจให้อยู่รอดและประสบความสำเร็จ และชี้นำแนวทางสู่การพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมที่เข้มแข็ง  ดีลอยท์ภาคภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายบริการด้านผู้เชี่ยวชาญระดับโลกที่ใหญ่ที่สุด ตอบสนองความต้องการของลูกค้าในตลาดสำคัญๆ  ด้วยประสบการณ์ที่ยาวนานกว่า 175 ปีในด้านงานบริการ เครือข่ายการดำเนินงานของดีลอยท์ครอบคลุมกว่า 150 ประเทศ และมีพนักงานกว่า 330,000 คนทั่วโลก  อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับดีลอยท์ได้ที่เว็บไซต์ www.deloitte.com/

เกี่ยวกับเอาท์ซิสเต็มส์

เอาท์ซิสเต็มส์ (OutSystems) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2544 ด้วยพันธกิจในการเสริมสร้างขีดความสามารถให้แก่องค์กรต่าง ๆ สำหรับการสร้างสรรค์นวัตกรรมโดยอาศัยซอฟต์แวร์  แพลตฟอร์มโมเดิร์นแอปพลิเคชัน OutSystems ประกอบด้วยเครื่องมือประสิทธิภาพสูงที่เชื่อมต่อกันและขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี AI ช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างและติดตั้งใช้งานแอปพลิเคชันที่หลากหลายได้อย่างรวดเร็ว ตอบโจทย์ความต้องการของทุกภาคส่วนภายในองค์กร  ด้วย Community member กว่า 500,000 ราย พนักงานมากกว่า 1,600 คน พันธมิตรกว่า 400 ราย และลูกค้าใน 87 ประเทศ ครอบคลุมใน 22 กลุ่มอุตสาหกรรม ธุรกิจของเอาท์ซิสเต็มส์ครอบคลุมทั่วโลก และช่วยให้องค์กรต่าง ๆ ปรับเปลี่ยนวิธีการพัฒนาแอปพลิเคชันให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เยี่ยมชมเว็บไซต์ของบริษัทฯ ได้ที่ www.outsystems.com หรือติดตามเราบน Twitter @OutSystems หรือ LinkedIn ที่ https://www.linkedin.com/company/outsystems.


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ผู้บริหารไอทีจะปิดช่องโหว่พร้อมนำเสนอประสบการณ์ดิจิทัลที่ลื่นไหลกว่าแก่ลูกค้าได้อย่างไร?

โดย มาร์ค วีเซอร์ รองประธานประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกของเอาท์ซิสเต็มส์

ในปี 2563 ที่ผ่านมา โลกของเราได้ก้าวเข้าสู่ออนไลน์อย่างแท้จริง และการเปลี่ยนแปลงนี้จะดำเนินไปอย่างไม่มีวันถอยกลับ ดังนั้นองค์กรธุรกิจจึงจำเป็นต้องนำเสนอประสบการณ์ดิจิทัลที่เหนือกว่าให้แก่ลูกค้าเพื่อให้ธุรกิจอยู่รอดและประสบความสำเร็จทั้งในปีนี้และในอนาคต  แบรนด์ต่าง ๆ อาจคิดว่าตนเองนำเสนอประสบการณ์ได้ดีพอแล้ว แต่ลูกค้ากลับไม่คิดเช่นนั้น และด้วยเหตุนี้ผู้บริหารไอทีจึงต้องเข้ามามีบทบาทช่วยองค์กรปิดช่องโหว่ดังกล่าว

มาตรการล็อคดาวน์ส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนกับเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปอย่างถาวร ตัวอย่างเช่นปีที่แล้วมีลูกค้า 35 เปอร์เซ็นต์ใช้ออนไลน์แบงค์กิ้งเพิ่มมากขึ้น และส่วนใหญ่จะยังคงใช้ต่อไปหลังจากที่ธุรกิจเริ่มกลับเข้าสู่ ‘ภาวะปกติ’ ดังนั้นการนำเสนอประสบการณ์ที่ไร้รอยต่อให้แก่ลูกค้าบนระบบดิจิทัลจึงนับว่ามีความสำคัญอย่างมาก

ที่จริงแล้ว องค์กรต่าง ๆ ได้ให้ความสำคัญกับการลงทุนในเรื่องประสบการณ์สำหรับลูกค้า (Customer Experience – CX) และสร้างแอปพลิเคชันที่จำเป็นสำหรับการรองรับ CX โดยผลการสำรวจความคิดเห็นจาก Harvey Nash – KPMG CIO Survey ชี้ว่า ก่อนหน้าที่จะเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 มีเรื่องใหญ่ ๆ สองเรื่องที่องค์กรธุรกิจให้ความสำคัญมากที่สุด ได้แก่ ประสิทธิภาพการดำเนินงาน และ ประสบการณ์ของลูกค้า แม้กระทั่งหลังช่วงการแพร่ระบาดไปแล้ว องค์กรก็ยังคงมุ่งเน้นสองเรื่องนี้มากที่สุด  รายงานจากการ์ทเนอร์ยังระบุว่า 91% ขององค์กรที่ตอบแบบสอบถามกำหนดให้ CX เป็นเป้าหมายหลักสำหรับโครงการเปลี่ยนผ่านธุรกิจไปสู่ดิจิทัล  การใช้มาตรการล็อคดาวน์และการโยกย้ายสู่ระบบออนไลน์ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องตามมา นับเป็นปัจจัยเร่งที่กระตุ้นการลงทุนในส่วนนี้ โดยบริษัทที่เคยมองว่าการนำเสนอประสบการณ์ดิจิทัลให้แก่ลูกค้าเป็นเพียง ‘ทางเลือกหนึ่ง’ เพราะตอนนั้นธุรกรรมที่ทำกับลูกค้าส่วนใหญ่เป็นการติดต่อแบบพบปะเห็นหน้ากันโดยตรง แต่ทุกวันนี้ช่องทางดิจิทัลได้กลายเป็น ‘สิ่งที่ธุรกิจต้องมี’ สำหรับการรองรับธุรกรรมออนไลน์จำนวนมาก

สิ่งที่ทำอยู่ตอนนี้ดีพอแล้วหรือยัง?

ข้อเท็จจริงก็คือ การนำเสนอบริการดิจิทัลเพียงแค่ในระดับพื้นฐานไม่ใช่สิ่งที่เพียงพออีกต่อไป องค์กรจำเป็นต้องจัดหาบริการระดับชั้นนำที่ดีที่สุด ข้อมูลจากการ์ทเนอร์ชี้ว่า บริษัทกว่าสองในสาม แข่งขันกันนำเสนอ CX ระดับพื้นฐานเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งถ้าหากบริษัทนำเสนอประสบการณ์ที่ไม่ค่อยดี ลูกค้าก็จะหันไปซื้อสินค้าหรือบริการจากบริษัทคู่แข่งในทันทีได้อย่างง่ายดายด้วยการคลิกหน้าจอเพียงไม่กี่ครั้ง แม้ว่าแบรนด์ต่าง ๆ จะเข้าใจความจริงดังกล่าว แต่ 80% ก็ยังเชื่อว่าตนเองนำเสนอประสบการณ์ที่เหนือกว่าคู่แข่ง

อย่างไรก็ตาม การมองโลกในแง่ดีนี้กลับสวนทางกับความเป็นจริง เพราะข้อมูลจากการ์ทเนอร์ยังระบุว่า ราว 65% ของบริษัทที่ทำธุรกิจแบบ B2C และ 75% ของบริษัทที่ทำธุรกิจแบบ B2B ยังล้าหลังในแง่ของการปรับเปลี่ยน CX ซึ่งนั่นก่อให้เกิดปัญหา “ช่องว่างในการให้บริการ” โดยมีลูกค้าเพียงแค่ 8% เท่านั้นที่ยอมรับว่าตนเองได้รับประสบการณ์ที่เหนือกว่า  เนื่องจากองค์กรส่วนใหญ่ให้ความสำคัญอย่างมากต่อประสบการณ์ลูกค้า ดังนั้นผู้บริหารไอทีจึงมองว่าการแก้ไขปัญหาช่องว่างดังกล่าวถือเป็นภารกิจสำคัญอย่างหนึ่ง แต่การดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ว่านี้นับเป็นเรื่องยาก ดังนั้นผู้บริหารไอทีจึงตกอยู่ในภาวะกดดันเพิ่มมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน

แน่นอนว่าฝ่ายไอทีต้องเผชิญกับแรงกดดันมาโดยตลอดทั้งในเรื่องของการดูแลรักษาระบบไอทีที่มีอยู่ และการพัฒนาแอปพลิเคชัน ระบบ และโครงสร้างพื้นฐานใหม่ที่จำเป็นสำหรับการนำเสนอประสบการณ์ดิจิทัลให้แก่ลูกค้าเพื่อรองรับอนาคต และทุกวันนี้แรงกดดันดังกล่าวไปถึงจุดแตกหักที่ฝ่ายไอทีไม่สามารถแบกรับได้อีกต่อไป  ก่อนหน้านี้ที่พนักงานยังทำงานอยู่ในองค์กรที่มีระบบรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวด ‘การดูแลระบบให้ทำงานได้อย่างต่อเนื่อง’ ก็ถือเป็นงานที่ยากพอแล้ว แต่ปัจจุบันยังต้องเจอโจทย์ใหม่ เมื่อพนักงานหลายร้อยหรือหลายพันคนทำงานจากที่บ้าน ส่งผลให้ฝ่ายไอทีทำงานหนักขึ้น จนไม่มีเวลาตอบสนองต่อความต้องการหรือความจำเป็นในอนาคตของธุรกิจ

ยกระดับจากแนวทางแบบ Agile ไปสู่แนวทางใหม่

แนวทางการพัฒนาแอปพลิเคชันแบบเก่าที่เป็นขั้นตอนแบบไล่ระดับลงมาหรือที่เรียกว่าแนวทางแบบ ‘Waterfall’ กลายเป็นเรื่องล้าสมัยไปแล้ว และแม้กระทั่งแนวทางการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบ ‘Agile’ ก็ยังไม่สามารถตอบสนองต่อตารางเวลาที่เร่งรีบในการติดตั้งใช้งานแอปพลิเคชันเพื่อรองรับความต้องการของธุรกิจในปัจจุบั  ทางที่ดีผู้บริหารไอทีควรพัฒนาต่อยอดไปให้ไกลกว่าแนวทางแบบ Agile โดยปรับใช้แนวทางใหม่ในการพัฒนาแอปพลิเคชันที่มีการใช้ระบบอัตโนมัติขั้นสูง ระบบอัจฉริยะ และความสามารถในการนำมาใช้ซ้ำได้  ฝ่ายไอที และองค์กรธุรกิจโดยรวม จะต้องเลิกมองว่าช่องทางติดต่อและแอปพลิเคชันต่าง ๆ สำหรับขั้นตอนการดำเนินการของลูกค้าเป็นระบบที่แยกออกจากกัน ซึ่งแต่ละระบบจะถูกพัฒนาและจัดการโดยทีมงานที่กำหนดไว้เฉพาะเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีที่แตกต่างกัน

เพื่อตอบโจทย์ความต้องการด้านธุรกิจโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ผู้บริหารไอทีจำเป็นต้องปรับใช้แพลตฟอร์มที่ทันสมัยซึ่งขับเคลื่อนด้วยระบบ AI เพื่อเร่งการทำงานที่มีอยู่ และก้าวให้ทันกับเทคโนโลยีใหม่แพลตฟอร์มนี้จะช่วยเพิ่มความรวดเร็วให้กับกระบวนการพัฒนาแอปพลิเคชันทุกประเภทสำหรับลูกค้า โดยครอบคลุมทุกช่องทางการติดต่อ พร้อมทั้งให้ความยืดหยุ่นอย่างเต็มที่ และแพลตฟอร์มดังกล่าวยังรองรับการสร้าง “ระบบประสบการณ์” (Experience System) ซึ่งหมายถึงชุดคอมโพเนนต์หรือโมดูลที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้อย่างง่ายดายสำหรับพัฒนาช่องทางและแอปพลิเคชันต่าง ๆ  ช่วยให้บุคลากรไอทีไม่ต้องทำงานพัฒนาที่ซ้ำซ้อนกัน ทั้งยังช่วยลดความยุ่งยากซับซ้อน และเพิ่มความรวดเร็วในการนำแอปพลิเคชันและบริการออกสู่ตลาด โดยทั้งหมดนี้มีความสอดคล้องกันสำหรับทุกขั้นตอนการดำเนินการของลูกค้าบนระบบดิจิทัล  คอมโพเนนต์ของแอปพลิเคชันที่ประกอบด้วย Experience System ที่สร้างขึ้นบนแพลตฟอร์มดังกล่าว นอกจากจะมี UI และองค์ประกอบด้านภาพแล้ว ยังประกอบด้วยตรรกะทางธุรกิจ (Business Logic), กระบวนการข้อมูล และการบูรณาการโดยสามารถเชื่อมต่อกับระบบอื่น (เข้ากับบริการของบริษัทอื่น, API หรือระบบหลักที่มีอยู่ เป็นต้น)  และเนื่องจากคอมโพเนนต์ที่ว่านี้ถูกนำกลับมาใช้สำหรับแอปพลิเคชันต่าง ๆ ทั้งหมด ดังนั้นเมื่อต้องการปรับเปลี่ยนเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไป กฎระเบียบ หรือพลวัตด้านการแข่งขัน ก็สามารถปรับเพียงครั้งเดียว แล้วคัดลอกไปยังส่วนอื่น ๆ ที่มีการใช้งานคอมโพเนนต์นั้น ๆ ได้ทันที

สรุปก็คือ เพื่อเพิ่มความคล่องตัวให้กับธุรกิจ ฝ่ายไอทีจะต้องเปลี่ยนย้ายจากแนวทางการพัฒนาแบบ Agile ไปสู่แนวทางใหม่สำหรับการนำเสนอซอฟต์แวร์ ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาช่องว่างระหว่างสิ่งที่องค์กรธุรกิจเชื่อว่าตนเองกำลังนำเสนอ กับประสบการณ์จริงที่ลูกค้าได้รับ รวมไปถึงการตอบสนองที่รวดเร็วอย่างที่ลูกค้าต้องการ

เกี่ยวกับเอาท์ซิสเต็มส์

เอาท์ซิสเต็มส์ (OutSystems) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2544 ด้วยพันธกิจในการเสริมสร้างขีดความสามารถให้แก่องค์กรต่าง ๆ สำหรับการสร้างสรรค์นวัตกรรมผ่านซอฟต์แวร์  แพลตฟอร์มแอปพลิเคชัน OutSystems ประกอบด้วยเครื่องมือประสิทธิภาพสูงที่เชื่อมต่อกันและขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี AI ช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างและติดตั้งใช้งานแอปพลิเคชันที่หลากหลายได้อย่างรวดเร็ว ตอบโจทย์ความต้องการของทุกภาคส่วนภายในองค์กร  ด้วย Community member กว่า 435,000 ราย พนักงานมากกว่า 1,500 คน พันธมิตรกว่า 350 ราย และลูกค้าหลายพันรายใน 87 ประเทศ ใน 22 กลุ่มอุตสาหกรรม ธุรกิจของเอาท์ซิสเต็มส์ครอบคลุมทั่วโลก และช่วยให้องค์กรต่าง ๆ ปรับเปลี่ยนวิธีการพัฒนาแอปพลิเคชันให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เยี่ยมชมเว็บไซต์ของบริษัทฯ ได้ที่ www.outsystems.com หรือติดตามเราบน Twitter @OutSystems หรือ LinkedIn ที่ https://www.linkedin.com/company/outsystems.


 

Exit mobile version