Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

มิว สเปซ เผยแผนรุกธุรกิจในช่วง 10 ปีแรก ประกาศเดินหน้าสร้าง Space Supply Chain รายใหญ่ใน SEA กล่องจดหมาย

บริษัท มิว สเปซ แอนด์ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด [mu Space Corp] ผู้ผลิตชิ้นส่วนการบินและอวกาศ และผู้ให้บริการการสื่อสารผ่านดาวเทียม เผยแนวทางรุกธุรกิจช่วง 10 ปีแรก ประกาศเดินหน้าลงทุนสร้างเครือข่ายอุตสาหกรรมอวกาศ มุ่งเป็นผู้นำรายใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สร้างเครือข่ายด้านวัสดุอุปกรณ์และสินค้าเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอวกาศทั้งหมด ตั้งแต่ต้นจรดปลายน้ำ ไม่ว่าจะเป็น การจัดหาวัสดุผลิตดาวเทียม การจัดหาชิ้นส่วนอวกาศ การสร้างอุปกรณ์ ไปจนถึงประกอบออกมาเป็นสินค้า ยิ่งไปกว่านั้น  ยังเตรียมรุกธุรกิจดาวเทียมและธุรกิจที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ หลายด้าน  ทั้งนี้ ได้รับความสนใจทั้งจากสื่อมวลชน และองค์กรต่างๆ เป็นจำนวนมาก

นายเจมส์ วรายุทธ เย็นบำรุง กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทมิว สเปซ เปิดเผยว่า “ มิว สเปซ ประสบความสำเร็จอย่างสูงในด้านการพัฒนาดาวเทียมและระบบพลังงานประสิทธิภาพสูง (High Power System) โดยทำให้เล็งเห็นความสำคัญในลงทุน 3 ด้าน ที่เป็นส่วนสำคัญที่ต่อยอดให้เกิดการสร้างเครือข่ายในอุตสาหกรรมอวกาศ ได้แก่ Human Capital Knowledge (องค์ความรู้), Equipment & Machinery (เครื่องมือและเครื่องจักร) และ Raw Material (วัสดุอุปกรณ์และสารเคมี) อีกทั้ง ยังต้องได้รับความร่วมมือจากภาครัฐและภาคเอกชนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อที่จะก่อนให้เกิดเครือข่ายในอุตสาหกรรมอวกาศได้อย่างยั่งยืน ด้วยเหตุนี้ มิว สเปซ จึงมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่ม Start Up รุ่นใหม่ ให้ได้รับประสบการณ์และความรู้ที่ดี เพื่อที่จะก้าวเข้าสู่ธุรกิจอุตสาหกรรมอวกาศอย่างมั่นคง พร้อมมีส่วนช่วยในการขยายตลาดในอุตสาหกรรมอวกาศได้เติบโตอย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”

จากรายงานเศรษฐกิจเกี่ยวกับธุรกิจด้านอวกาศ  ได้มีสื่อมวลชนรายใหญ่และกลุ่มนักวิเคราะห์ระดับชั้นนำ ประเมินมูลค่าอุตสาหกรรมอวกาศทั่วโลก มีโอกาสที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยภายในปี 2569 จะเติบโตจากมูลค่า 3.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มไปถึง 7.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  และมีส่วนผลักดันให้ประเทศไทย กลายเป็นศูนย์กลางของเครือข่ายด้านอุตสาหกรรมอวกาศ อันเป็นปัจจัยบวกทั้ง ด้านเศรษฐกิจ, ด้านการศึกษา, ด้านความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ด้านการสร้างอาชีพและการจ้างงาน อีกทั้ง ขยายผลลัพธ์เชิงบวกให้กระจายขยายเป็นวงกว้าง ครอบคลุมไปจนถึงระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สำหรับการแถลงข่าว “Thailand Space Supply Chain 10 ปี กับแผนเดินหน้าสู่การเป็นอุตสาหกรรมอวกาศเต็มรูปแบบ” ที่จัดขึ้นครั้งนี้ ได้ได้รับความร่วมมืออย่างดีจากองค์กรระดับชั้นนำ ได้แก่  AIRBUS  บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนการบินระดับโลก โดยยินดีสนับสนุนและมีบทบาทร่วมสร้าง Space Supply Chain ให้เกิดขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือ GISTDA ได้กล่าวถึง “New Space Economy หรือ การสร้างเศรษฐกิจจากอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องอวกาศว่า ขณะนี้ บทบาทได้พลิกจากเดิมที่มีเพียง “ภาครัฐบาล” หรือ “ประเทศมหาอำนาจ” เป็นผู้ดำเนินการหลักเท่านั้น มาสู่กลุ่มภาคเอกชน ซึ่งเข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้น โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ สทอภ. นับได้ว่าเป็นองค์กรหลักที่มีส่วนในการสนับสนุนและผลักดัน New Space Economy ในการพัฒนาอุตสาหกรรมอวกาศ  พร้อมทั้งผลักดันนโยบายรัฐบาลผ่าน (ร่าง) แผนแม่บทอวกาศแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 – 2580) ซึ่งนำเสนอแนวทางในการสร้าง Thailand Space Supply Chain สู่การเป็นอุตสาหกรรมอวกาศเต็มรูปแบบ”

สำหรับ การสร้างเครือข่ายในอุตสาหกรรมด้านอวกาศ หรือ Space Supply Chain ให้มีความสมบูรณ์และครบวงจรอย่างแท้จริง ปกติต้องใช้ระยะเวลากว่า 30 – 40 ปี ในขณะที่ มิว สเปซ เดินหน้าขับเคลื่อนธุรกิจด้วยความมุ่งมั่นในจุดยืน ที่จะสร้างเครือข่ายในอุตสาหกรรมด้านอวกาศอย่างจริงจัง ประกอบกับได้รับการสนับสนุน จากกลุ่มนักลงทุนที่เล็งเห็นโอกาสในอุตสาหกรรมนี้ อาทิ นักลงทุนชั้นนำอย่างบริษัท บี.กริม จอยน์ เว็นเจอร์ – อุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้าเอกชนของไทย รวมถึงบริษัท Majuven Fund พร้อมกลุ่มนักธุรกิจเอกชนต่าง ๆ เช่น ผู้บริหารจากมูลนิธิมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส (UCLA) รวมทั้งนักลงทุนในภาคอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องอีกมากมายทั้งในและต่างประเทศ ส่งผล มิว สเปซ สามารถสร้างเครือข่ายในอุตสาหกรรมด้านอวกาศ หรือ Space Supply Chain ได้ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็วและยั่งยืน

ผู้สนใจ  สามารถรับชมภายในโรงงานบริษัท มิว สเปซ ได้ที่ https://www.facebook.com/muSpaceTech/videos/1272137476855975/


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

มิว สเปซ รุดหน้าเพิ่มพลังการแข่งขันในตลาดเทคโนโลยีอวกาศนานาชาติ หลังบีโอไอไฟเขียวอนุมัติการส่งเสริมการลงทุน

“บริษัท มิว สเปซ แอนด์ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด ผู้นำด้านดาวเทียมและเทคโนโลยีอวกาศ ของไทย ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ในชั้น A1 ซึ่งเป็นชั้น สูงสุดในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ประเภทกิจการผลิตหรือซ่อมอากาศยาน หรือ อุปกรณ์เกี่ยว กับอากาศ โดยทางมิว สเปซ ได้ใช้การผลิตชิ้นส่วนดาวเทียม ขนาดเล็กเพื่อยื่นขอการ ส่งเสริมแผนการลง ทุน ด้วยเป้าหมายที่ต้องการผลักดันประเทศไทย ให้ก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมอวกาศอย่างจริงจัง แผนการลงทุน ของมิว สเปซ จึงมุ่งเน้นไปที่ 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ เครื่องจักร และ การวิจัยและพัฒนา

ทั้งนี้ วัตถุประสงค์หลักในการลงทุนในเครื่องจักรของบริษัทฯ คือเพื่อใช้ในการผลิต ซึ่งรวมถึงวัสดุ อุปกรณ์ ต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ เช่น เครื่องพิมพ์สามมิติ (3D Printer / Additive Manufacturing) เครื่องกัด ซีเอ็นซี (CNC Machine) แขนกลเชื่อมโลหะ (Robotic Arms) ห้อง คลีนรูม ระบบทดสอบการทรงตัว (Attitude Control Test Bed) ซึ่งจะประกอบไปด้วยระบบแบริ่งลม (Air Bearing) ระบบขดลวดเฮล์มโฮลทซ์ (Helmholtz Cage) และระบบการจําลองแสงอาทิตย์ (Sun Simulator) ส่วนการลงทุนเพื่อการวิจัยพัฒนา และออกแบบ ระบบวิศวกรรมดาว เทียมนั้นจุดประสงค์ คือ เพื่อสร้างและต่อยอดองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง กับดาวเทียมและอวกาศ

นายเจมส์ วรายุทธ เย็นบำรุง กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มิว สเปซ แอนด์ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด กล่าวว่า “การทำสิ่งใหม่ๆ ที่รวมทั้งเทคโนโลยีและศิลปะ ใช้ทั้งความรู้ทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม และรากฐานทางความคิดที่ทีม มิว สเปซ ได้ลงมือปฏิบัติเองอย่างจริงจัง” ด้วยเหตุนี้ บริษัทฯ จึงสามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้องค์กรชั้นนำต่างๆ ไว้วางใจร่วมงานและลงทุนกับมิว สเปซ คุณวรายุทธ มองว่าจุดแข็งของ มิว สเปซ คือ คนรุ่นใหม่ “บริษัทของเรามีคนรุ่นใหม่ที่มีขีดความสามารถสูง นอกจาก นี้ เรายังได้เปรียบในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานที่ประเทศไทย มีในอดีตจากอุตสาหกรรมหนัก เพราะไทยเป็นฐาน ในการผลิตรถยนต์ อีกทั้งยังมีแหล่งทรัพยากร ธรรมชาติและพลังงานที่สำคัญอีกด้วย”

จากการลงมือทำอย่างจริงจังและแผนการลงทุนทำให้ มิว สเปซ ได้รับการอนุมัติสิทธิและประโยชน์ โดยจะ ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติ บุคคลเป็นเวลา 8 ปี โดยไม่กำหนดวงเงิน ยกเว้นอากรนำเข้าเครื่องจักร ยกเว้น อากรขอนำเข้าเพื่อวิจัย ยกเว้นอากรวัตถุดิบผลิตเพื่อส่งออก รวมถึงสิทธิและประโยชน์เพิ่มเติมเพื่อกระจาย ความเจริญสู่ภูมิภาค ได้แก่ การลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล 50 เปอร์เซ็นต์เพิ่มเติม 5 ปี ตลอดจน สิทธิประโยชน์อื่นๆ ที่ไม่ใช่ภาษีอีกด้วย

สิทธิและประโยชน์ต่างๆ เหล่านี้มีส่วนช่วยในการดำเนินธุรกิจของ มิว สเปซ ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนที่ถูกลงทั้งใน เรื่องการนำเข้าวัตถุดิบและการยกเว้นภาษี ความรู้ความสามารถที่เกิดขึ้น ศักยภาพที่เพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลต่อ โอกาสในการเติบโตของบริษัทฯ นอกจากจะเป็นประโยชน์ทางด้านธุรกิจแล้ว การได้รับการสนับสนุนจาก บีโอไอยังสามารถพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยอุตสาหกรรมอวกาศนั้นจะสามารถสร้างอาชีพโดยเฉพาะ แรงงานทักษะสูง ซึ่งคุณวรายุทธกล่าวว่า “แผนของเราภายในระยะเวลา 3-5 ปีจะมีการจ้างพนักงานเพิ่มขึ้น เป็นหลัก 1,000 คน สร้างรายได้ที่สูงมากขึ้นให้กับคนในแวดวงที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ สร้างการซื้อขายใน สังคม ซึ่งในที่สุดจะกลายเป็นระบบนิเวศธุรกิจของเทคโนโลยีขั้นสูง และเพิ่มความตื่นตัวมากขึ้นในเรื่อง เทคโนโลยี”

กลุ่มลูกค้าหลักของมิว สเปซ คือบริษัทเอกชน เช่น ผู้ให้บริการโทรคมนาคมและอินเทอร์เน็ต ภาครัฐ เช่น หน่วยงานเกี่ยวกับอวกาศและ หน่วยงานความมั่นคง หรืออุตสาหกรรมหนัก และบริษัทการบินและอวกาศ รายอื่นๆ “ในภูมิภาค เราน่าจะเป็นผู้บุกเบิก เรามักจะถูกเปรียบ เทียบกับผู้เล่นทางฝั่งยุโรป อเมริกา และ ออสเตรเลีย ผมมองว่าในอีก 3-5 ปี สิ่งที่เราลงทุนไปจะเริ่มส่งผลสูงขึ้น”

ปัจจุบัน ทีมมิว สเปซ กำลังเร่งพัฒนาดาวเทียมต้นแบบภายในโรงงาน อีกทั้งยังกำลังขยายการปฏิบัติการ ไปที่โรงงานที่มีขนาดใหญ่ขึ้น (ขนาด M) ซึ่งใหญ่กว่าเดิมถึง 10 เท่า สามารถรองรับการผลิตได้มากขึ้น โดยเร็วๆ นี้ทางบริษัทฯ จะเตรียมเปิดตัวดาวเทียมซึ่งได้พัฒนาเองจนสำเร็จ ในงานแสดงเทคโนโลยีของมิว สเปซ ซึ่งจะทำการทดสอบยิงขึ้นสู่ชั้นอวกาศ และสามารถให้บริการได้ภายในปี 2564 นี้

อีกหนึ่งเป้าหมายหลักของคุณวรายุทธและทีม มิว สเปซ คือการผลักดันให้ประเทศไทยสามารถต่อยอด และ แข่งขันกับนานาชาติได้อย่างทัดเทียม คุณวรายุทธ กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า “ผมอยากดึงขีดความสามารถของ คนไทยให้สูงขึ้น ทำให้เรากลายเป็นพลเมืองโลก (global citizen) เพราะคนรุ่นใหม่ “คิดไกล ฝันไกล และทำจริง”


 

Exit mobile version