Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์ บทความ เทคโนโลยี

ทำไมหลายสนามบินจึงหันมาใช้ไมโครกริดเพื่อสร้างความยั่งยืน

โดย วัลเลอรี เลย์อัน ประธานฝ่ายการขนส่งดูแลทั่วโลก ชไนเดอร์ อิเล็คทริค

ทำอย่างไรสนามบินจึงจะสามารถบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางด้านคาร์บอน (carbon neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ได้ภายในปี 2050 โซลูชันที่ดีที่สุดคือการรวมไมโครกริดไว้ในแผนพลังงานสีเขียว ไมโครกริด Microgrids ได้รับการยอมรับว่าเป็นทางเลือกที่ชาญฉลาดสำหรับความพยายามเพื่อไปสู่การเป็นสนามบินคาร์บอนต่ำ เนื่องจากให้ความสามารถหลากหลายแง่มุม เพิ่มความยั่งยืนและความยืดหยุ่น อีกทั้งช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย

แม้ว่าในระยะหลังๆ สนามบินหลายแห่งเริ่มมีการปรับใช้ไมโครกริด ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการตอบสนองความท้าทายด้านความยั่งยืนและความน่าเชื่อถือของพลังงานในภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ อีกมากมาย ทั้งดาต้าเซ็นเตอร์ โรงพยาบาล การคมนาคมขนส่ง และอาคารพาณิชย์ ตัวอย่างเช่น ท่าเรือขนาดใหญ่ของแคลิฟอร์เนียหลายแห่งได้มีการปรับใช้ไมโครกริดเพื่อความปลอดภัยด้านพลังงาน และให้ความยืดหยุ่นได้ตามต้องการ เพื่อตอบโจทย์เรื่องกฎระเบียบด้านสภาพภูมิอากาศที่เข้มงวดของแคลิฟอร์เนีย ไมโครกริดของ Port of Long Beach เป็นตัวอย่างที่ช่วยให้มั่นใจได้ถึงการจัดหาพลังงานได้อย่างเสถียรโดยใช้ฟีเจอร์นวัตกรรม อย่างเช่น แบตเตอรี่เคลื่อนที่ ที่สามารถขยายการเข้าถึงไมโครกริดได้ทั่วอากาศยานระหว่างที่เกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน

ไมโครกริดมีเครือข่ายไฟฟ้าในตัวเอง ช่วยให้สนามบินต่างๆ สามารถบริหารจัดการไซต์พลังงานได้ด้วยตัวเอง รวมไปถึงการควบคุมการใช้งานได้ไม่ว่าจะใช้เมื่อไร หรือใช้อย่างไรก็ตาม โดยสามารถผสานรวมการใช้พลังงานหมุนเวียนร่วมกัน เช่น พลังงานลมและแสงอาทิตย์ และสามารถบริหารจัดการและใช้พลังงานได้อย่างเหมาะสมเต็มประสิทธิภาพ ด้วยคุณสมบัติอย่างการกักเก็บพลังงานไว้ที่ไซต์ เช่นแบตเตอรี่และเซลล์เชื้อเพลิง ที่สามารถกักเก็บพลังงานที่ผลิตในไซต์ได้ทำให้ไม่ต้องปล่อยทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์  การขับเคลื่อนไปสู่การผลิตไฟฟ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมคือสิ่งสำคัญ เพราะสนามบินมีผู้ใช้พลังงานจำนวนมหาศาล – การใช้พลังงานไฟฟ้าและพลังงานความร้อนของสนามบินขนาดใหญ่ ในแต่ละวันเทียบเท่ากับเมืองที่มีประชากรมากถึง 100,000 คน

ไมโครกริดสามารถรวมและบริหารจัดการแหล่งผลิตไฟฟ้าแบบกระจายศูนย์ (DER) ได้หลายประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังงานที่ได้จากแหล่งพลังงานหมุนเวียน ไมโครกริดจะให้ความสามารถในการสร้างสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน ผ่านฟีเจอร์การจัดการขั้นสูง เช่น การปลดโหลดได้อย่างชาญฉลาด และ/หรือความสามารถในการเรียกใช้หรือปิดเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแต่ละตัว

ไมโครกริดเป็นเสาหลักสำคัญของความยั่งยืนแห่งอนาคตของสนามบิน เพราะพลังงานที่ยืดหยุ่นและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ให้ความปลอดภัยด้านพลังงานที่ขาดไม่ได้

สิ่งอำนวยความสะดวกที่สำคัญ เช่น สนามบิน ไม่เพียงต้องการพลังงานสีเขียวเท่านั้น แต่ยังต้องเป็นพลังงานที่เชื่อถือได้ด้วย เพราะเป็นประเด็นเรื่องของความปลอดภัยอีกทั้งยังเกี่ยวข้องอย่างมากกับเรื่องการเงิน มีเหตุการณ์ที่เกิดเมื่อเร็วๆ นี้ หลายเหตุการณ์ ที่แสดงให้เห็นว่าการที่ไฟฟ้าดับทำให้เกิดการหยุดชะงักและเสียค่าใช้จ่ายได้มากเพียงใด เช่นการที่ Atlanta International ไฟฟ้าดับนานถึง 11 ชั่วโมง นั้นทำให้ Delta Airlines เสียค่าใช้จ่ายประมาณ 50 ล้านดอลลาร์ รวมถึงทำให้ผู้โดยสารหลายพันคนต้องรอเก้อ และนำไปสู่การยกเลิกเที่ยวบินประมาณ 1,500 เที่ยว

การมีแหล่งพลังงานทางเลือกที่เชื่อถือได้ เช่น ไมโครกริด สามารถป้องกันการสูญเสียเหล่านี้ได้โดยมั่นใจได้ว่าจะมีการจ่ายไฟอย่างต่อเนื่องแม้ในช่วงที่ไฟฟ้าดับ

ไมโครกริดยังช่วยประหยัดต้นทุนได้อย่างมาก

การตอบสนองความต้องการด้านพลังงานของสนามบิน ด้วยพลังงานหมุนเวียนจากไมโครกริดสามารถใช้ต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

  • ช่วยให้สนามบินมีความยืดหยุ่นในการเลือกใช้พลังงานที่มีราคาถูกกว่าทางเลือกอื่นๆ ด้วยการทำงานในโหมดกริดหรือ island mode เพื่อสร้างสมดุลด้านค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพในช่วงที่มีการใช้งานสูงสุด
  • สนามบินประหยัดเงินได้โดยการใช้พลังงานได้เกิดประโยชน์สูงสุด
  • สามารถหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายจากไฟฟ้าขัดข้องได้

แต่การที่จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด สนามบินต้องทำเทคโนโลยีอัจฉริยะเข้ามาช่วยบริหารจัดการไมโครกริด

ไมโครกริดและการสนับสนุนเทคโนโลยีช่วยให้มั่นใจถึงเงื่อนไขการทำงานที่เหมาะสมที่สุด และให้ข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญรวมถึงให้ความเสถียรของระบบ ตัวอย่างเช่น เทคโนโลยีไมโครกริดมอบเครื่องมือต่างๆ แก่สนามบินในการบริหารจัดการแหล่งผลิตพลังงานแบบกระจายศูนย์ในระยะไกลได้แบบไดนามิคโดยอัตโนมัติ ด้วยการใช้พลังงานหมุนเวียนได้อย่างเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุด และช่วยให้สนามบินควบคุมของพลังงานได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งให้ความสามารถในการสร้างสมดุลของโหลดเพื่อให้เกิดความเสถียร นอกจากนี้เทคโนโลยีที่เชื่อมต่อยังช่วยในการคาดการณ์ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการใช้งาน การผลิต การเก็บ และการขายพลังงาน เพื่อให้สนามบินมีทางเลือกด้านพลังงานที่ฉลาดและคุ้มค่าที่สุด

การประยุกต์ใช้ไมโครกริดและเทคโนโลยีอัจฉริยะ ตลอดจนสถาปัตยกรรมระบบดิจิทัลที่สมบรูณ์แบบ end-to-end นอกจากจะช่วยให้ระบบเหล่านี้ทำงานได้ดีแล้ว ยังช่วยสร้างความอุ่นใจเนื่องจากช่วยให้มั่นใจถึงความต่อเนื่องด้านพลังงานที่เชื่อถือได้ เนื่องจากเป็นแหล่งพลังงานที่จัดหาได้เองในพื้นที่ จึงทำให้ไมโครกริดสามารถแยกตัวเองออกจากโครงข่ายหลัก ทว่ายังคงจัดหาพลังงานป้อนสนามบินได้อย่างต่อเนื่องกระทั่งในช่วงที่เกิดความผันผวนด้านพลังงานก็ตาม นอกจากนี้ ไมโครกริดยังให้พลังงานที่สะอาดกว่าทางเลือกพลังงานสำรองแบบดั้งเดิมเช่นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานดีเซล ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานฉุกเฉินที่ใช้กันมากที่สุดโดยทั่วไปสำหรับสนามบิน แต่เป็นส่วนที่ปล่อยมลพิษที่เกี่ยวข้องในสนามบินซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายที่แพงในการดูแลและซ่อมบำรุง

ตัวอย่างสนามบิน JFK กำลังนำโซลูชันไมโครกริดมาใช้งาน เพื่อลดใช้การใช้พลังงานได้มากถึง 30 เปอร์เซ็นต์

สนามบิน JFK ของมหานครนิวยอร์ค ที่รองรับผู้โดยสารมากว่า 60 ล้านคนต่อปี ได้มีการพัฒนาอาคารผู้โดยสาร Terminal One ด้วยการนำไมโครกริดที่ล้ำหน้าและเครื่องมือเชื่อมต่อไมโครกริดมาใช้ ที่จะช่วยปรับปรุงเรื่องความยั่งยืนและเพิ่มความยืดหยุ่นของอาคารผู้โดยสาร โดยคาดว่าจะช่วยลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงทั้งหมดที่ใช้ในการดำเนินการในส่วนอาคารผู้โดยสารได้มากถึง 30 เปอร์เซ็นต์ อีกทั้งยังมีส่วนช่วยให้สนามบินสามารถบรรลุเป้าหมายการใช้งานงานพลังงานหมุนเวียนได้ 100 เปอร์เซ็นต์ภายในสิบปีข้างหน้า และยังเพิ่มเวลาทำงานหรือ uptime ได้ถึง 99.999 เปอร์เซ็นต์

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบทบาทสำคัญของไมโครกริดในการสร้างความยั่งยืนแห่งอนาคต

สนามบินและอุตสาหกรรมอื่นๆ จึงไม่ควรพลาดโอกาสสำคัญในการสร้างความก้าวหน้าไปสู่ความยั่งยืน และเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียนด้วยการนำโซลูชันเทคโนโลยีที่ได้รับการพิสูจน์และยอมรับมาใช้งาน เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคโนโลยีไมโครกริดและไมโครกริดช่วยให้สนามบินอย่าง JFK มั่นใจในพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและน่าเชื่อถือ


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เปิดตัวบริการให้คำปรึกษาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นครั้งแรก

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค (Schneider Electric) ผู้นำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันด้านการบริหารจัดการพลังงานและระบบออโตเมชัน เปิดตัว Climate Change Advisory Service บริการให้คำปรึกษาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นการต่อยอดบริการด้านคำปรึกษาของบริษัทฯ โดยเป็นบริการที่ออกแบบมาเพื่อมอบโซลูชันรวมที่ตอบโจทย์ความท้าทายขององค์กรในเรื่องความยั่งยืน รวมถึงการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ โดยนับเป็นครั้งแรกของบริการประเภทนี้ที่ช่วยสร้างสมดุลทั้งด้านวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์และการวางแนวทางด้วยการติดตั้งใช้เทคโนโลยีและการดำเนินการที่จับต้องได้จริง  ให้แนวทางแบบบูรณาการอย่างเต็มรูปแบบ ที่ครอบคลุมทั้งเรื่องการบริหารจัดการพลังงาน ประสิทธิภาพด้านการใช้ทรัพยากร การจัดซื้อพลังงานหมุนเวียน การชดเชยคาร์บอน การลดการปล่อยคาร์บอนในห่วงโซ่คุณค่า และการรวบรวมและเปิดเผยข้อมูลที่ขับเคลื่อนด้วย AI

แม้ว่าจะมีทั้งข้อตกลงปารีสและคำมั่นสัญญามากมายจากองค์กรระดับโลกนับหลายพันแห่งก็ตาม แต่ก็ยังคงต้องติดตามเรื่องการเพิ่มอุณหภูมิทั่วโลกที่อาจจะเกินเกณฑ์ที่แนะนำคือ 1.5 องศาเซลเซียส (อุณหภูมิร้อนขึ้นประมาณ 1.2 องศาเซลเซียสอยู่แล้วก่อนช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรม)  บริการให้คำปรึกษาอย่างครบวงจรของชไนเดอร์ อิเล็คทริค จะรวมเครื่องมือด้านการประเมินและการพัฒนากลยุทธ์ไว้ด้วยกัน พร้อมให้แนวทางในการนำไปการติดตั้งใช้งาน และให้การสนับสนุนเพื่อให้บริษัทขนาดใหญ่และขนาดเล็กสามารถตอบโจทย์เรื่องความยั่งยืนและบรรลุเป้าหมายการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศในระดับโลกได้สำเร็จ

“การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คือความท้าทายของทศวรรษนี้ และธุรกิจก็มีบทบาทสำคัญมากในการหยุดเรื่องดังกล่าว ผลที่ได้คือ ผู้บริหารระดับสูงต่างตระหนักกันมากยิ่งขึ้นว่าความยั่งยืนไม่ใช่เรื่องการลงทุนที่ช่วยให้รู้สึกดี แต่เป็นการดำเนินการเชิงกลยุทธ์ที่ช่วยป้องกันความเสี่ยงและพัฒนาความยั่งยืน” สตีฟ วิลไฮท์ รองประธานอาวุโสฝ่ายบริการด้านพลังงานและความยั่งยืน ชไนเดอร์ อิเล็คทริค กล่าว

“อย่างไรก็ตาม หากจะเร่งการดำเนินงาน ต้องมีการเปลี่ยนกรอบความคิด แม้ว่าปีที่บันทึกไว้สำหรับพันธสัญญาด้านสภาพภูมิอากาศคือ 2020 ก็ตาม แต่ก็ยังมีช่องว่างระหว่างความมุ่งมั่นกับการดำเนินการ บริการของเรามุ่งเป้าที่การเติมเต็มช่องว่างดังกล่าว ช่วยให้ลูกค้ากำหนดกลยุทธ์เชิงการแข่งขันในการลดการปล่อยคาร์บอนโดยอิงตามหลักวิทยาศาสตร์ ในขณะเดียวกันก็สร้างผลกระทบเชิงบวกในแง่ผลกำไร”

แม้ว่าการดำเนินการในส่วนขององค์กร กระตุ้นให้เกิดความคืบหน้าในการตอบสนองการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปัจจุบัน มีเพียง 23 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรที่ติดอันดับ Fortune 500 ที่ได้ให้คำมั่นสัญญาด้านสภาพภูมิอากาศต่อสาธารณะ เพื่อบรรลุในปี 2030 ทั้งนี้ บริการให้คำปรึกษาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของชไนเดอร์ อิเล็คทริค จะช่วยให้ลูกค้าเข้าใจความสำคัญของการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ เพื่อเป็นกลยุทธ์ในการลดความเสี่ยง ช่วยกำหนดหรือสร้างความก้าวหน้าในเส้นทางมุ่งสู่ความยั่งยืน และวางกลยุทธ์เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ บริการดังกล่าวประกอบไปด้วยเรื่องต่อไปนี้

  • การพัฒนากลยุทธ์เพื่อลดการปล่อยคาร์บอน
  • การบริหารจัดการแหล่งข้อมูลระดับโลกด้วย AI
  • การคาดการณ์และตั้งงบประมาณ
  • การบริหารจัดการความเสี่ยงขององค์กร
  • การกำหนดเป้าหมาย และการวางโร้ดแม็ป
  • การระบุศักยภาพและการดำเนินการด้านพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
  • การปรับใช้ไมโครกริดและเทคโนโลยีสะอาด
  • การประเมินโอกาสด้านพลังงานหมุนเวียนและการจัดซื้อ
  • การประเมินและจัดหาตลาดคาร์บอนในภาคสมัครใจ
  • การมีส่วนร่วมและการแก้ปัญหาด้านห่วงโซ่คุณค่าและห่วงโซ่อุปทาน

แนวทางด้านกลยุทธ์และการดำเนินการที่เน้นการปฏิบัติและขับเคลื่อนด้วยข้อมูล คือรากฐานการออกแบบและการบริหารจัดการโดยตรงขององค์กรที่มีจุดมุ่งหมายหลักในการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ ทั้งนี้ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้รับการยอมรับอย่างต่อเนื่องในการจัดอันดับสำคัญถึงความสำเร็จด้านความยั่งยืน โดยเมื่อไม่นานมานี้ บริษัทฯ ยังได้ประกาศถึงการมุ่งเน้นที่กลยุทธ์ระยะยาวอย่างจริงจัง ด้วยการยึดมั่นและคำนึงถึงสภาพแวดล้อม สังคม และหลักธรรมาภิบาลในทุกแง่มุมของกิจกรรม พร้อมช่วยให้ลูกค้าและพันธมิตรธุรกิจบรรลุวัตถุประสงค์เรื่องความยั่งยืนในองค์กร การประกาศครั้งนี้ เกิดขึ้นในเวลาเดียวกับที่ Corporate Knights บริษัทสื่อและการวิจัยของแคนาดา ได้ออกข่าวการจัดอันดับและการประเมินผลิตภัณฑ์ทางด้านการเงินโดยอิงตามศักยภาพในการสร้างความยั่งยืนขององค์กร นับเป็นครั้งแรกที่ชไนเดอร์ อิเล็คทริคได้รับการยกย่องให้เห็นเบอร์หนึ่งในดัชนีประจำปีของ 100 องค์กรระดับโลกที่มีความยั่งยืนมากที่สุดในโลก “the Global 100 most sustainable corporations in the world”

การผสานรวมความเชี่ยวชาญของบริษัทฯ ในฐานะที่ปรึกษารายใหญ่ที่สุดในโลก เรื่องข้อตกลงในการเจรจาซื้อพลังงานในระดับองค์กร พร้อมด้วยเครื่องมือและระบบบริหารจัดการที่ดีที่สุดด้านพลังงานและความยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็น EcoStruxure™ Resource Advisor, NEO Network™ และ EcoStruxure Microgrid Advisor ซึ่งทำให้ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้เชี่ยวชาญที่นำพาองค์กรต่างๆ ไปสู่อนาคตที่ยืดหยุ่นและยั่งยืนได้ในเชิงรุก

ผู้สนใจสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการที่ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ช่วยให้บริษัทชั้นนำอย่าง Faurecia และ Charles River Labs ก้าวสู่การดำเนินงานด้านสภาพภูมิอากาศ โดยสามารถเข้าไปที่ webinar ล่าสุดได้ที่ Climate Action in 2021: The Year of Breakthroughs.

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริการให้คำปรึกษาของชไนเดอร์ อิเล็คทริค สามารถเยี่ยมชมได้ที่ schneider-electric.com/ess  และเข้าไปดูข่าวสารเกี่ยวกับพลังงานและความยั่งยืน รวมถึงมุมมองเชิงลึกเกี่ยวกับแนวโน้มต่างๆ และแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด ได้ที่ Perspectives พร้อมทั้งติดตาม Schneider Electric Energy & Sustainability Services ได้ที่ LinkedIn

เกี่ยวกับชไนเดอร์ อิเล็คทริค

เป้าหมายของชไนเดอร์ อิเล็คทริค คือการช่วยให้ทุกคนใช้พลังงานและทรัพยากรได้เกิดประโยชน์สูงสุด เชื่อมโยงความก้าวหน้าและความยั่งยืนเพื่อประโยชน์ของทุกคน เราเรียกสิ่งนี้ว่า Life Is On

ภารกิจของเราคือการเป็นพันธมิตรด้านดิจิทัลกับคุณ เพื่อสร้างประสิทธิภาพและความยั่งยืน

เราขับเคลื่อนการปฏิรูปสู่ดิจิทัล ด้วยการผสานรวมเทคโนโลยีชั้นนำของโลกด้านพลังงานและกระบวนการจัดการ เข้ากับผลิตภัณฑ์ตั้งแต่จุดเชื่อมต่อปลายทางไปยังคลาวด์ ระบบควบคุม รวมถึงซอฟต์แวร์และการบริการครอบคลุมตลอดวงจรชีวิตการทำงานทั้งหมด เพื่อสร้างศักยภาพในการบริหารจัดการองค์กรแบบบูรณาการ ทั้งสำหรับบ้าน อาคาร ดาต้าเซ็นเตอร์ ระบบโครงสร้างพื้นฐานและอุตสาหกรรม

เราคือบริษัทระดับโลกที่มีการดำเนินงานในระดับท้องถิ่นมากที่สุด เราสนับสนุนมาตรฐานระบบเปิดและระบบนิเวศของคู่ค้าที่มีความมุ่งมั่นแรงกล้าในการทำตามวัตถุประสงค์อย่างมีเป้าหมายร่วมกัน และคุณค่าในการรวมกันเป็นหนึ่งเดียวพร้อมขับเคลื่อนไปข้างหน้าด้วยกัน


Exit mobile version