Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

มจพ. ร่วมงานสัมมนา “AUTOMATION : ทางรอดของอุตสาหกรรมไทย ในยุค 4.0 จริงหรือ?

รศ.ดร. เชษฐวุฒิ ภูมิพิพัฒน์พงศ์ หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมเครื่องต้นกำลัง วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ได้รับเกียรติให้บรรยาย ในหัวข้อ “AUTOMATION : ทางรอดของอุตสาหกรรมไทย ในยุค 4.0 จริงหรือ?”

เมื่อวัที่ 26 พฤศจิกายน 2562 ณ SME Bank Tower (สถานีรถไฟฟ้าอารีย์) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจให้ทุกๆภาคส่วนเห็นความสำคัญระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์มีส่วนเข้ามาเสริมศักยภาพและสร้างประโยชน์ให้กับอุตสาหกรรม และเมื่อมีความต้องการใช้งานหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเพิ่มมากขึ้น กลุ่มอุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์จะสามารถเกิดขึ้นในประเทศไทยได้ กลุ่มเป้าหมายในการสัมนา เป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทุกประเภทอุตสาหกรรม

ทั้งนี้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ร่วมกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จัดงานดังกล่าว ซึ่งได้รับความสนใจเป็นจำนวนมากจากผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

มจพ. จับมือกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จัดสัมมนาชี้ทางรอดเครื่องจักรอัตโนมัติยุคไทยแลนด์ 4.0

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ร่วมกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จัดงานสัมมนาในหัวข้อ “AUTOMATION : ทางรอดของอุตสาหกรรมไทย ในยุค 4.0 จริงหรือ?”

วันที่ 26 พฤศจิกายน 2562 เวลา 09.30 – 12.00 น. ณ ห้องแก้ววิเชียร์ ชั้น 11 SME Bank Tower (สถานีรถไฟฟ้าอารีย์) โดย รศ.ดร. เชษฐวุฒิ ภูมิพิพัฒน์พงศ์ หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมเครื่องต้นกำลัง วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เป็นผู้บรรยาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจให้ทุกๆภาคส่วนเห็นความสำคัญระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์มีส่วนเข้ามาเสริมศักยภาพและสร้างประโยชน์ให้กับอุตสาหกรรม และเมื่อมีความต้องการใช้งานหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเพิ่มมากขึ้น กลุ่มอุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์จะสามารถเกิดขึ้นในประเทศไทยได้ กลุ่มเป้าหมายในการสัมนา เป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทุกประเภทอุตสาหกรรม

สืบเนื่องจาก ครม.เห็นชอบแผน “อุตสาหกรรมหุ่นยนต์” ทำให้ต้องพัฒนานวัตกรรมเพื่อเข้าสู่การเป็นเอสเอ็มอี 4.0 (Smart SMEs) ผ่านเครื่องมือสำคัญในการส่งเสริมและพัฒนาภายใต้นโยบาย 4 เครื่องมือ 1 กลยุทธ์
ได้แก่ เทคโนโลยีเป็นการให้บริการด้านการพัฒนาระบบข้อมูลและสารสนเทศ, Automation เป็นการพัฒนาระบบการผลิต เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลิต, หุ่นยนต์โดยการลดการใช้แรงงานในกระบวนการผลิตและสุดท้ายนวัตกรรมเป็นการพัฒนานวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และอีก 1 กลยุทธ์ คือ การมุ่งพัฒนาการรวมกลุ่มอุตสาหกรรม หรือ Cluster ซึ่งเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่สำคัญในการต่อยอดของ SMEs ไทยให้เข้มแข็ง

ผู้สนใจเข้าร่วมงานสัมมนา“Automation : ทางรอดของอุตสาหกรรมไทยในยุค 4.0 จริงหรือ?” สามารถสำรองที่นั่งก่อนวันที่ 25 พฤศจิกายน 2562 นี้ (ฟรีสัมมนารับจำนวนจำกัด) ผ่านระบบสแกน QR CODE ลงทะเบียนฟรี 70 ที่นั่ง ได้ตามวันและเวลาดังกล่าว สอบถามข้อมูลได้ที่ คุณสรไกร ไพธิกุล โทร. 094-996-5911 หรือ อีเมล์ : sorakrai1050@gmail.com

ขวัญฤทัยข่าว – ภาพ


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

หลักสูตรฝึกอบรม สถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส ปี 2563

สถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เผยหลักสูตรการฝึกอบรม ประจำปีการศึกษา 2563 จัดแน่นจัดเต็มทุกหลักสูตร เพื่อถ่ายทอดความรู้ในด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง ด้วยการวิจัย ฝึกอบรม ด้านการตรวจสอบและทดสอบตามมาตรฐานสากล ตลอดระยะเวลา 29 ปี สถาบันฯ ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาเทคโนโลยีและพัฒนากำลังคน โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมของประเทศให้มีศักยภาพและมีขีดความสามารถในระดับสากล เพื่อก้าวเข้าสู่การแข่งขันในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) และสถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส ยังเป็นหน่วยงานที่ได้รับการรับรองจากสถาบันการเชื่อมแห่งประเทศไทย (Welding Institute of Thailand, WIT) ให้มีสิทธิ์จัดฝึกอบรมในหลักสูตรสาขาวิศวกรรมงานเชื่อมต่างๆ ตามข้อกำหนดของสถาบันการเชื่อมสากล (International Institute of Welding, IIW) ซึ่งเป็นที่ยอมรับใน 70 ประเทศทั่วโลก

นอกจากนี้สถาบันฯ ยังได้ส่งเสริมงานวิจัยด้านเทคโนโลยีเพื่อยับยั้งการกัดกร่อน โดยได้ร่วมมือกับกลุ่มบริษัทสำรวจและผลิตน้ำมันและก๊าซชั้นนำของโลก เช่น PTTEP, TOTAL E&P Thailand อีกทั้งมีความร่วมมือกับบริษัท ชไนเดอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด ในด้านระบบการผลิตอัตโนมัติ เป็นต้น นอกจากนั้นยังได้จัดตั้งศูนย์วิจัยพลังงานทดแทน (Renewable Energy Research Center, RERC) โดยร่วมมือกับศูนย์วิจัย GREEN ซึ่งอยู่ภายใต้ Université de Lorraine ประเทศฝรั่งเศส เพื่อศึกษาและพัฒนาองค์ความรู้ใหม่โดยเฉพาะเทคโนโลยีการควบคุม การผลิต การส่งจ่ายและการสะสมพลังงานไฟฟ้า โดยบูรณาการแหล่งพลังงานทางเลือกต่างๆ เช่น เซลล์เชื้อเพลิง พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม เข้าด้วยกัน สำหรับการใช้งานในอาคารบ้านเรือน สำนักงาน และโรงงานอุตสาหกรรม

หลักสูตรของสถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส ประกอบด้วย งานฝึกอบรม งานทดสอบ ตรวจสอบและสอบเทียบ และงานวิจัย โดยมีฝ่ายฯ เพื่อรองรับการให้บริการ 8 ฝ่ายดังนี้
1. ฝ่ายเทคโนโลยีงานเชื่อม (Welding Technology Department)
2. ฝ่ายเทคโนโลยีไฟฟ้าและพลังงาน (Electrical and Energy Technology Department)
3. ฝ่ายคอมพิวเตอร์เพื่องานอุตสาหกรรม (Computer for Industrial Applications Department)
4. ฝ่ายระบบการผลิตอัตโนมัติ (Automated Manufacturing Systems Department)
5. ฝ่ายเทคโนโลยีการกัดกร่อน (Corrosion Technology Department)
6. ฝ่ายมาตรวิทยากรเชิงกล (Metrology Department)
7. ฝ่ายวิจัย พัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี (Research, Development and Technological Transfer Department)
8. ศูนย์ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม 4.0 (Industrial 4.0 Development Consultancy Center)

นอกจากนี้สถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส ยังได้เริ่มนำระบบการบริหารงานคุณภาพมาตรฐานสากล ISO 9001 มาใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 และได้พัฒนาระบบการบริหารงานมาเป็นลำดับจนถึงปัจจุบัน ซึ่งได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานสากล ISO 9001:2015 เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับความพึงพอใจสูงสุด รวมถึงการมุ่งมั่นที่จะสร้างคุณภาพ งานบริการวิชาการแก่สังคม งานฝึกอบรม งานทดสอบ ตรวจสอบและสอบเทียบ และงานวิจัย โดยมีห้องปฏิบัติการทดสอบส่วนผสมทางเคมีที่ได้รับการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบ ตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 17025-2548 (ISO/IEC 17025:2005) เพื่อให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจด้วยคุณภาพระดับสากล และมุ่งมั่นพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป

ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดปฏิทินการฝึกอบรมได้ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นางวิยะดา ศรีวีระชัย (wiyada.s@tfii.kmutnb.ac.th) โทรศัพท์ 0-2585-4813, 0-2555-2503 หรือ www.tfii.kmutnb.ac.th

ขวัญฤทัย ข่าว/อัชณี ถ่ายภาพ


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

STRI จัดประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) จัดงานประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมพระจอมเกล้าพระนครเหนือประจำปี 2563 (KMUTNB INNOVATION AWARDS 2020) ระหว่างวันที่ 31 มกราคม – 1 กุมภาพันธ์ 2563 ณ หอประชุมประดู่แดง อาคารอเนกประสงค์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (Grand Prize) จำนวน 1 รางวัล

การประกวดแบ่งเป็น 3 ประเภทคือ 1. Innovative Student Projects (IS) 2. Innovative Ideas (ID) 3. Innovative Products (IP) ประเภท Innovative student Project สำหรับรางวัล แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่รางวัลชนะเลิศ รับโล่รางวัล เกียรติบัตร และเงินรางวัล 30,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 รับ โล่รางวัล เกียรติบัตร และเงินรางวัล 20,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 รับโล่รางวัล เกียรติบัตร และเงินรางวัล 10,000 บาท และรางวัลชมเชย จำนวน 3 รางวัล รับเกียรติบัตร และเงินรางวัล 5,000 บาท

ขอเชิญชวน นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย อาชีวะศึกษา และบุคคลทั่วไป สมัครการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ประจำปี 2563 (KMUTNB INNOVATION AWARDS 2020) เปิดรับสมัครตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2562

สอบถามรายละเอียดที่ สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ โทรศัพท์ 0-2555-2000 ต่อ 1548, 1506 ดูรายละเอียดและดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ www.stri.kmutnb.ac.th/innovation

ขวัญฤทัย ข่าว-ภาพ


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

มจพ. ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับบริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน)

ศ.ดร.สุชาติ เซี่ยงฉิน อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ กับคุณวันจักร์ บุรณศิริ ประธานผู้บริหารสายการเงินและสนับสนุนธุรกิจ นางสาวปิยะวดี วรรธนาคม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ และบริหารสำนักงาน บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วย รศ.ดร.สมนึก วิสุทธิแพทย์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนางานบริการวิชาการและอุตสาหกรรมสัมพันธ์ ผศ.สุรสิทธิ์ แสงสุริยะ คณบดีคณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ และรศ.ดร.อุดมเกียรติ นนทแก้ว คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมเป็นสักขีพยาน

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนางานด้านวิชาการ และสหกิจศึกษาของคณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เพื่อส่งเสริมและเพิ่มศักยภาพการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากลทั้งในด้านวิชาการและทักษะปฏิบัติงานในวิชาชีพด้านวิศวกรรมโยธา สถาปัตยกรรม ออกแบบภายใน และการจัดการงานออกแบภายใน อีกทั้งเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้อันก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนของคณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วันที่ 10 ตุลาคม 2562 ณ ห้องประชุมราชพฤกษ์ อาคารนวมินทรราชินี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ


 

Exit mobile version