Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เปิดตัวโฮมออโตเมชั่น Wiser รังสรรค์บ้านยุคใหม่ให้เป็นอัตโนมัติ

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำระดับโลกด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นด้านการจัดการพลังงานและระบบออโตเมชั่น ปลุกประสบการณ์ระบบอัตโนมัติระดับโลก “สู่บ้านที่รู้ใจ” ด้วย Wiser ซึ่งเป็นเทคโนโลยีโฮมออโตเมชั่น หรือว่าบ้านอัจฉริยะ ที่เรียกได้ว่าเนรมิตความสะดวก ปลอดภัย สำหรับบ้านยุคดิจิทัล ด้วยอุปกรณ์อัจฉริยะที่ได้รับการออกแบบให้สามารถเชื่อมต่อได้อย่างไร้ขีดจำกัด เติมความรู้สึกและความต้องการของผู้อยู่อาศัยได้อย่างสมดุล พร้อมความสามารถในการควบคุมผ่านสมาร์ทโฟนด้วยแอป Wiser by SE หรือทำให้เป็นกลายเป็นบ้านอัตโนมัติทั้งหลังก็ได้

ปัจจุบันดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิต และการทำงานอย่างมากมาย แก้ pain point ที่เราต้องเผชิญเพื่อมาเติมความต้องการทั้งที่เราอยากได้ และที่เราคาดไม่ถึง  ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ไม่เพียงเป็นบริษัทระดับโลกด้านดิจิทัลทรานส์ฟฟอร์เมชั่นในจัดการพลังงาน และระบบออโตเมชั่นเท่านั้น แต่ยังคิดค้นนวัตกรรมการทรานส์ฟอร์มจากบ้านธรรมดาสู่ดิจิทัลอีกด้วย เรียกได้ว่าย่อนวัตกรรมสำหรับการทำงาน มาสู่การพักอาศัย เพื่อทำให้เป็นบ้านที่รู้ใจผู้พักอาศัยที่สุด มอบความสะดวกสบาย ความปลอดภัย การประหยัดพลังงาน และความมั่นใจ ด้วยอุปกรณ์ที่ติดตั้งเพียงไม่กี่ชิ้น ที่ทำงานสอดประสานกัน แต่สามารถทำให้บ้านตอบโจทย์ได้ทุกเรื่อง แม้บ้านนั้นจะมีความต้องการที่แตกต่างกันของผู้พักอาศัยหลากหลายเจนเนอเรชั่น

นายกุศล กุศลส่ง รองประธานกลุ่มธุรกิจ Home and Distributions ดูแลประเทศไทย ลาว และเมียนมา ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เผยว่า“สิ่งแรกที่ต้องคำนึงเมื่อนึกถึงระบบโฮมออโตเมชั่น คือ เราต้องการอะไรจากโฮมออโตเมชั่น ในตอนนี้ และในอนาคต เช่น เรื่องของความปลอดภัย ความสะดวกสบาย หรือปัจจัยอื่นๆ เช่น มีผู้สูงอายุ เด็กที่ต้องดูแลอยู่ที่บ้าน หรือการโฟกัสที่สุขภาพด้วย  หรือเพื่อความมั่นใจว่าบ้านเราปลอดภัยในช่วงเวลาที่เราไม่อยู่  หรืออยากรู้สถานะบ้าน ว่าน้ำท่วมหรือเปล่าในขณะที่เราทำงานอยู่ที่ออฟฟิศ และเทคโนโลยีไหนที่จะให้ความยืดหยุ่นสูงสุด เมื่อเรามีความต้องการเพิ่มเติมในอนาคต นั่นคือประเด็นที่ว่าอุปกรณ์โฮมออโตเมชั่น Wiser ของชไนเดอร์ อิเล็คทริค จึงต้องมีความเรียบง่าย ใช้งานไม่ยาก แต่สามารถเพิ่มเติมอุปกรณ์ได้ เพื่อเติมเต็มความต้องการของเราที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะบ้านเราต้องอยู่กันไปตลอดชีวิต”

ระบบโฮมออโตเมชั่น Wiser เป็นโฮมออโตเมชั่น ที่มีจุดเด่นในเรื่องการออกแบบที่เรียบง่าย ช่วยเปลี่ยนบ้านธรรมดาให้รู้ใจผู้พักอาศัย ด้วยเทคโนโลยีที่ผ่านการคิดค้นจากความต้องการของผู้คน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตอบโจทย์ความต้องการได้ 360 องศา ด้วยอุปกรณ์หลักเพียงไม่กี่ชนิด และควบคุมได้ง่ายดายผ่าน Wiser by SE ได้แก่

IP Gate way หัวใจหลักของโฮมออโตเมชั่นของ Wiser ใน 1 ตัวสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้ 40 อุปกรณ์เลยทีเดียวทำให้สามารถออกแบบฟังชั่นการทำงานของระบบโฮมออโตเมชั่นได้มากมายเกินกว่าจะจินตนาการถึง

Entertainment Control หรือ IR Control หรือเรียกว่าอุปกรณ์ควบคุมทีวี เครื่องเสียง และเครื่องปรับอากาศ เปลี่ยนความยุ่งยากในการควบคุมให้อยู่ในที่เดียวผ่านแอปพลิเคชั่น Wiser by SE และตรวจเช็คอุณหภูมิได้ ช่วยให้สามารถตั้งเวลาเปิดปิด อุปกรณ์ต่างๆ ได้ และยังสามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์อัจฉริยะอื่นๆ เพื่อเติมเต็มทั้งความสะดวกสบายในบ้าน และความปลอดภัยอีกด้วย

Presence Detection ระบบเซ็นเซอร์อัจฉริยะไร้สาย ติดตั้งง่าย สามารถประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย เช่น เดินผ่านแล้วไฟติดเหมาะสำหรับการออกจากห้องนอนในตอนกลางคืน ช่วยลดอุบัติเหตุ ในที่มืด หรือ เพิ่มฟังชั่นให้โฮมออโตเมชั่นเหนือระดับขึ้นไปด้วยการเซ็ตค่าช่วงเวลาให้มีการแจ้งเตือนเพื่อความปลอดภัยได้ เช่น ในช่วงเวลา 8.00 – 19.00 น. เป็นช่วงเวลาที่เราออกจากบ้านไปทำงาน แต่อุปกรณ์กลับตรวจจับความเคลื่อนไหวในบ้านได้ เราสามารถแจ้งตำรวจให้เข้าไปตรวจสอบ หรือเลือกตรวจสอบผ่านระบบ IP Camera ในระบบทั้งหมด นอกจากนี้ยังประยุกต์ใช้งานอื่นๆ ได้เช่น ติดตั้งในห้องคนชรา เมื่อเขาเดินผ่าน ให้ไฟติด เพื่อที่เขาจะได้ไม่ต้องคลำหาสวิตช์ไฟ ในเวลากลางดึก

Curtain/Shutter control หรือระบบควบคุมม่านผ่านระบบโฮมออโตเมชั่น หรือให้เป็นแบบอัตโนมัติก็ได้ เช่นการตั้งเวลา เปิด/ปิดตามเวลาที่กำหนด

Door windows open detection สามารถดูได้ว่าประตูมีการเปิดปิดกี่โมงผ่านแอป หรือ ติดตั้งเพื่อความปลอดภัยเช่นมีการเปิด/ปิดประตูยามวิกาล ให้แจ้งเตือนในสมาร์ทโฟน เป็นต้น หรือการตั้งค่าคู่กับระบบควบคุมแสงสว่าง และเครื่องปรับอากาศ เช่นเมื่อประตูเปิด ให้อุปกรณ์ที่เราต้องการเปิด เป็นต้น

Temperature and humidity detection สามารถตรวจสอบอุณหภูมิภายในห้อง เมื่อใช้คู่กับ IR Control สามารถให้เปิดแอร์อัตโนมัติ เมื่ออุณหภูมิร้อนเกินกว่าที่ตั้งค่าไว้ ซึ่งพื้นฐานของของตัววัดอุณหภูมินี้คือการอ่านค่าความชื้นและอุณหภูมิ แต่เมื่อนำมาผสานร่วมกับอุปกรณ์อื่นๆ เช่นตัว Curtain/Shutter control ซึ่งหัวใจหลักในการควบคุมมอเตอร์ ทำให้สามารถควบคุมระบบกันสาดอัตโนมัติได้ เมื่อความชื้นในอากาศตรงกับที่ตั้งค่าไว้ ให้กันสาดยืดออกมาบังฝนได้โดยไม่ต้องรอควบคุมเหมาะสำหรับผู้ที่ชอบลืมตากผ้าไว้กลางแจ้ง แล้วลืมเก็บเป็นประจำ

Water leak detection อุปกรณ์เอาไว้ตรวจสอบน้ำรั่วไหล หากบ้านอยู่ในที่น้ำท่วมบ่อย หรือมีแนวโน้มน้ำท่วม เราสามารถวางเซ็นเซอร์นี้ไว้แถวบริเวณบ้าน ที่อยากให้แจ้งเตือนเมื่อมีน้ำเอ่อ ซึ่งเมื่อน้ำสัมผัสโดนตัวเซ็นเซอร์ จะส่งการแจ้งเตือนไปยังสมาร์ทโฟนเพื่อให้เราได้รับรู้ เพื่อที่จะได้กลับมาที่บ้านได้อย่างทันท่วงที หรืออาจวางไว้บริเวณปั๊มน้ำเพื่อเช็คสภาพว่าน้ำรั่วไหม หรือบริเวณที่เสี่ยง อื่นๆ เช่น บริเวณเครื่องซักผ้า เพื่อจะได้รู้ว่ามีน้ำรั่ว น้ำล้น หรือในจุดสำคัญของบ้าน เช่น แถวปลั๊กราง ใต้แอร์คอนดิชั่น เป็นต้น ฯลฯ

Moment control ทางเลือกสำหรับผู้ที่ไม่ชอบใช้สมาร์ทโฟนในการควบคุม สามารถพก Moment control ติดตัวในบ้านเพื่อควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ได้ เช่นระบบแสงสว่าง ระบบม่านเป็นต้น

ในมุมของชไนเดอร์ อิเล็คทริค การติดตั้งโฮมออโตเมชั่นที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุด ไม่ใช่เพียงแค่ซื้อมาติดเป็นชิ้นๆ แต่จำเป็นต้องมีโครงสร้างอย่างเป็นระบบ เพื่อให้อุปกรณ์ต่างๆ ทำงานสอดประสานกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ เพื่อมอบประโยชน์สูงสุดในแบบที่ต้องการอย่างแท้จริง และต้องสามารถเพิ่มฟังก์ชั่นในอนาคตได้โดยไม่ยุ่งยาก ทั้งยังสามารถช่วยมอเตอร์การใช้พลังงานในบ้านได้อีกด้วย  ซึ่งสิ่งเหล่านี้อยู่ในโซลูชั่น Wiser ของชไนเดอร์ อิเล็คทริค


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

บริการดูแลระบบไฟฟ้ายุค IoT กันไว้ดีกว่าแก้

โดย ยอน เรนาด หัวหน้าทีมผู้เชี่ยวชาญการปฏิบัติงานด้านบริการระดับโลก ชไนเดอร์ อิเล็คทริค

IoT ยังไม่ถูกใช้อย่างเต็มศักยภาพในปัจจุบัน

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค (Schneider Electric) พบว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เชื่อมต่อ IoT จะมีการเติบโตมหาศาล โดยคาดการณ์ว่าจะทะลุ 30.9 พันล้านอุปกรณ์ ภายในปี 2568  ทว่าอินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง หรือ IoT ยังคงอยู่ในช่วงเริ่มต้น แม้ว่าแนวคิดและการนำ IoT มาประยุกต์ใช้ จะพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญ นับตั้งแต่ที่มีการเริ่มใช้คำนี้มานานกว่าสองทศวรรษ ถึงกระนั้นก็ตาม หลายบริษัทยังคงพลาดโอกาสมากมายในการปรับปรุงธุรกิจให้มีความยืดหยุ่น ยั่งยืน และสร้างมูลค่าได้ดียิ่งขึ้น

ตัวอย่างเช่น  IoT มีศักยภาพในการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับเศรษฐกิจทั่วโลกในปี 2573 โดยประมาณอยู่ที่ 14 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ อย่างไรก็ตาม หากไม่มีการปรับปรุงด้านเทคโนโลยี ก็จะไม่สามารถบรรลุตัวเลขนี้ได้ เช่น การผสานรวมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) และเทคโนโลยีการดำเนินงาน (OT) ได้ดียิ่งขึ้น ด้วยการใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่มีเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกมากขึ้น การปรับปรุงความยั่งยืน การแก้ไขปัญหาโครงสร้างพื้นฐาน และการให้ความสำคัญกับการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์

เทคโนโลยียังคงพัฒนาและได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบโจทย์ความท้าทายใหม่ๆ

Covid เป็นปัจจัยที่เร่งให้บริษัทต่างๆ นำ IoT มาใช้เร็วขึ้น ตัวอย่างเช่น มีรายงานว่า 48% ของระบบสาธารณูปโภค ได้เร่งปรับใช้ IoT เพื่อตอบสนองความท้าทายที่เกิดขึ้นโดยตรงจากการระบาดของโควิด จึงนับเป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่า IoT ให้ประโยชน์อย่างมากจนมีการนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาเป็นแนวทางหลักในการทำงาน

นั่นเป็นเพราะว่า IoT สามารถตอบโจทย์ปัญหาบางประการที่เป็นจุดบอดใหญ่ที่สุดของธุรกิจได้ เช่น การตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าจากระยะไกล และการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทั้งนี้การนำเทคโนโลยีและอุปกรณ์ IoT ระบบดิจิทัลที่เชื่อมต่อกันได้อย่างฉลาดมาใช้ จะช่วยให้บริษัทต่างๆ ปลดล็อกแหล่งข้อมูลใหม่เกี่ยวกับประสิทธิภาพของอุปกรณ์ได้ โดยสามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์เพื่อกำหนดแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งช่วยป้องกันปัญหา และเพิ่มอายุการใช้งานของอุปกรณ์ รวมถึงช่วยให้ดำเนินงานได้ยืดหยุ่นและให้ประสิทธิภาพด้านพลังงานมากขึ้น

ตัวอย่างเช่น IoT ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นจากแนวทางปฏิบัติด้านการบำรุงรักษาที่ดีขึ้น

IoT ช่วยเพิ่มความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงด้วยการช่วยให้พลังงาน อุปกรณ์ และกระบวนการต่างๆ ดำเนินไปตามแนวทางปฏิบัติด้านการบำรุงรักษาที่ดียิ่งขึ้น อาทิ เซ็นเซอร์วัดความชื้นหรืออุณหภูมิของอุปกรณ์ อย่าง หม้อแปลงไฟฟ้า และสวิตช์เกียร์ ซึ่งจะมีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นความรู้เพื่อใช้บ่งชี้และคาดการณ์ถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้

ข้อมูลดังกล่าว ช่วยลดต้นทุนการบำรุงรักษาโดยช่วยให้บริษัทต่างๆ สามารถคาดการณ์ความล้มเหลวของอุปกรณ์ และระบุระยะเวลาการซ่อมที่เหมาะสม แทนที่จะทำตามเวลาที่กำหนดไว้ล่วงหน้า โดยไม่ต้องรอให้อุปกรณ์เสียหายก่อน การเตือนล่วงหน้าช่วยป้องกันการหยุดทำงาน ยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ และสร้างระบบให้บริษัทต่างๆ กำหนดแนวทางในการเปลี่ยน ปรับปรุง และซ่อมแซมอุปกรณ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางที่สร้างความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน

ความสามารถด้านดิจิทัลของ IoT ยังช่วยขับเคลื่อนความริเริ่มด้านความยั่งยืนในหลายโครงการและช่วยให้ใช้พลังงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด

บริษัทที่เพิ่มความสามารถด้านดิจิทัล จะสามารถตรวจสอบ รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยข้อมูลพวกนี้ล้วนนำไปสู่การตัดสินใจที่ดีขึ้นและช่วยขับเคลื่อนการดำเนินการด้านการใช้พลังงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และช่วยลดการสูญเสีย

IoT ช่วยชี้ให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าพลังงานถูกใช้ไปในส่วนใดบ้าง รูปแบบการใช้เป็นอย่างไร และส่วนใดที่มีการใช้พลังงานมากที่สุด ซึ่งแดชบอร์ดและรายงานการใช้พลังงาน ช่วยให้ทีมสามารถกำหนดค่าพื้นฐาน พร้อมติดตามความคืบหน้าของโครงการในด้านประสิทธิภาพพลังงานได้อย่างแม่นยำ อีกทั้งช่วยประหยัดพลังงานอีกด้วย อีกทั้งยังแนะนำการปรับการดำเนินงานในไซต์งานได้อย่างเหมาะสมที่สุด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดและหลีกเลี่ยงการใช้พลังงานที่ไม่จำเป็น

มุมมองด้าน IoT ที่เป็นตัวเปลี่ยนโฉมหน้าของเกมได้มากที่สุด คือความสามารถในการคาดการณ์อนาคต แทนที่จะใช้วิธีตั้งรับแบบเดิม IoT ช่วยให้บริษัทต่างๆ คาดการณ์อนาคตและตัดสินใจโดยอาศัยข้อมูลจริง

ตัวอย่างเช่น หลายอุตสาหกรรมล้วนพึ่งพาพลังงานที่ให้ความต่อเนื่อง เพื่อให้โครงสร้างพื้นฐานระบบสำคัญทำงานต่อไปได้ และหลีกเลี่ยงการเกิดไฟฟ้าขัดข้องและการหยุดชะงักของระบบโดยที่ไม่ได้วางแผนล่วงหน้า ทั้งนี้ ผลการวิจัยของการ์ทเนอร์ ยังระบุว่า ผลกระทบด้านค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการที่อุปกรณ์ไฟฟ้าทำงานบกพร่องเนื่องจากการเกิด Downtime ของเครือข่ายดาต้าเซ็นเตอร์เพียงอย่างเดียว อยู่ที่ประมาณ 5,600 เหรียญสหรัฐต่อนาที ซึ่งการนำ IoT มาช่วยปรับปรุงด้านการบำรุงรักษาช่วยลดความเสี่ยงเรื่อง Downtime ได้

สิ่งที่เป็นอันตราย อย่างการเกิดไฟไหม้จากระบบไฟฟ้าขัดข้อง ก่อให้เกิดความเสียหายได้มากกว่าเรื่องการเสียเงิน เพราะคุกคามถึงชีวิตและเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งการใช้แบบจำลองการคาดการณ์ที่สร้างขึ้นโดยใช้ข้อมูลจากเซ็นเซอร์ IoT ที่ติดอยู่ที่อุปกรณ์ เพื่อช่วยให้บริษัทต่างๆ สามารถระบุความเสี่ยงได้ เช่น ประกายไฟที่เกิดจากอาร์คหรือการเสื่อมสภาพที่อาจทำให้เกิดการระเบิด

เพื่อลดความเสี่ยงเหล่านี้ ธุรกิจควรนำบริการด้านข้อมูลจาก IoT มาใช้ให้ครอบคลุมทั้งในส่วนของกิจกรรมต่างๆ ในระบบอัตโนมัติของอุตสาหกรรมและการบริหารจัดการพลังงาน ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เป็นผู้นำบริการด้านข้อมูลที่ให้ความปลอดภัย ความน่าเชื่อถือ ให้ประสิทธิภาพและความยั่งยืน

เจาะลึกถึงวิธีการใช้ IoT สำหรับระบบการจ่ายไฟฟ้า

เรียนรู้เคล็ดลับเรื่องการบำรุงรักษาในยุคที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ในการช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือของระบบไฟฟ้า คลิก https://www.se.com/th/th/work/services/


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

จาร์ตัน เปิดตัว “JARTON Home” แพลตฟอร์ม IoT ครบวงจร..ใหญ่ที่สุดในอาเซียน

“จาร์ตัน เทคโนโลยี” เปิดตัวแอปพลิเคชัน “JARTON Home” แพลตฟอร์ม IoT หรือ Smart Home Super App สัญชาติไทย ที่ครบวงจรและใหญ่ที่สุดในอาเซียน แอปฯเดียวควบคุมอุปกรณ์ Smart Home ระดับชั้นนำทั่วโลก ได้ครอบคลุมกว่า 100 แบรนด์ ใช้งานได้ทั้ง Mobile Application และ Web Application รองรับการสั่งเสียงด้วยเสียง Google Assistant, Apple Siri และ Amazon Alexa สามารถสั่งงานผ่าน Apple Watch, Apple Home Kit, Samsung SmartThings ตั้งเป้า หาพันธมิตรร่วมทุน และ Strategic Partner เพิ่มเพื่อเสริมความแข็งแกร่ง โดยมุ่งขยายการใช้งาน JARTON Home สู่ระดับอาเซียน มั่นใจผลักดันตลาด Smart Home ที่มีมูลค่ากว่า 4,000 ล้านบาท ให้ขยายตัวเพิ่ม 3 – 5 เท่า ภายใน 2 ปี และผลักดันบริษัทแม่ จาร์ตัน โฮลดิ้งส์ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ภายในปี 2568

นายธีธัช จึงกานต์กุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) บริษัท จาร์ตัน กรุ๊ป จำกัด ผู้นำด้านการผลิต ติดตั้งและส่งออก ระบบบ้านและอาคารครบวงจร เปิดเผยว่า “ตลาด Smart Home ประเทศไทยภาพรวมมีอัตราเติบโตค่อนข้างช้า เมื่อเทียบกับต่างประเทศ เนื่องจากมีผู้ผลิตและนำเข้าสินค้าอุปกรณ์ IoT ที่หลากหลายจากทั้งในและต่างประเทศ ส่งผลให้มีการพัฒนาแอปพลิเคชันของตนเองเพื่อควบคุมอุปกรณ์ที่หลากหลายตามไปด้วย แต่ลูกค้าไม่สะดวกที่จะใช้งานมากกว่า 1 แอปพลิเคชันในการควบคุมอุปกรณ์ในบ้านทั้งหมด จาร์ตัน กรุ๊ป จึงได้จัดตั้ง บริษัท จาร์ตัน เทคโนโลยี จำกัด ขึ้นมาเพื่อพัฒนา JARTON Home ให้กลายเป็นแอปพลิเคชันกลาง (IoT Platform) ที่สามารถควบคุม อุปกรณ์ Smart Home ทุกแบรนด์ได้บนแอปพลิเคชันเดียว เริ่มจากสินค้า Smart Home ของ JARTON และพัฒนาจนสามารถใช้งานกับสินค้า ทุกแบรนด์ทั้งในและต่างประเทศได้ทั้งหมด

“JARTON Home” ถือเป็น Smart Home Super App ที่สามารถควบคุมอุปกรณ์ในบ้านและอาคารได้อย่างครบวงจร สามารถใช้งานได้ทั้ง Mobile Application และ Web Application (www.JARTONHome.com) รองรับการสั่งงานผ่านคำสั่งเสียงทั้ง Google Assistant, Apple Siri, Amazon Alexa และสั่งงานผ่าน Apple Watch,  Apple Home Kit, Samsung SmartThings ได้อีกด้วย ทั้งนี้  มีสินค้าแบรนด์ชั้นนำจากไทยและทั่วโลกที่อยู่ระหว่างการพัฒนา หรือสามารถสั่งงานผ่าน Application JARTON Home ได้แล้ว จำนวนมากกว่า 100 แบรนด์ อาทิ AIS, Anitech, COTTO, DATA, Delight, Eminent, Ener Saver, Euro, Fascino, GATA, Hatari, JARTON, Chaiyo Sprinkler, Divana, LAMPTAN, Lamptitude, Lesasha, LRL by Let’s Relax Spa, Lucky Flame, LUMAX by L&E, Marathon, Mazuma, MEX, Mogen, Monowheel, NANO, Panpuri, Safe, Safety Smart by Safe-T-Cut, SANWA, Schneider Electric, Siam Steel, Somfy, Sparkle, SVOA Robotics, Super Products, Tecno+, Toshino, Uni-Aire และ VC Fabric เป็นต้น ที่ได้ให้เกียรติเข้าร่วมเป็นพันธมิตร จากหลากหลายวงการ ทั้งกลุ่มการเชื่อมต่อเครือข่าย, กลุ่มรักษาความปลอดภัย, กลุ่มปรับอากาศและไฟฟ้า, กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า, กลุ่มสินค้าสุขภาพ และ กลุ่มอุปกรณ์ควบคุม ส่งผลให้

“JARTON Home” กลายเป็นแอปพลิเคชันกลาง (IoT Platform) ขนาดใหญ่และครบวงจรที่สุดในอาเซียน
ยิ่งไปกว่านั้น JARTON Home เป็น IoT Platform เดียวที่ได้รับการสนับสนุนจาก Depa (ดีป้า) หรือ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ในสังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในการผลักดันให้เกิดความร่วมมือกับพันธมิตรจากทุกวงการ เพื่อส่งเสริมให้คนไทยสามารถเข้าถึงระบบ IoT หรือ Smart Home ได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุด เป็นการลดช่องว่างทางเทคโนโลยี (Digital Divide) และขยายการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างแท้จริงและเป็นรูปธรรม

JARTON Home มีระบบการใช้งานที่สะดวกและไม่มีค่าใช้จ่าย โดยมีระบบบริหารผ่านทั้ง Mobile และ Web Application เพื่อให้สินค้าแต่ละแบรนด์ สามารถเชื่อมต่อระบบการใช้งาน, การใช้คำสั่งเสียงและการใช้อุปกรณ์เสริมได้อย่างอิสระโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ สำหรับการใช้งานพื้นฐานทุกอุปกรณ์ โดยมีการใช้งานเพียง 3 ขั้นตอนคือ ดาวน์โหลด Application JARTON Home ได้ทั้งระบบ iOS และ Android พร้อมลงทะเบียนโดยใช้เบอร์โทรศัพท์ หรือ อีเมล, เชื่อมต่ออุปกรณ์ เข้ากับระบบ Wi-Fi วงเดียวกับโทรศัพท์ (เฉพาะครั้งแรก)  และ เริ่มสั่งงานควบคุมอุปกรณ์ ได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนบนโลก

สำหรับ ภาพรวมตลาด Smart Home ในประเทศไทย แม้เติบโตไม่เท่ากับประเทศแถบยุโรปหรือสหรัฐอเมริกา แต่ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จากการระบาด Covd-19 ทำให้คนใช้เวลาอยู่บ้าน จึงมีส่วนผลักดันให้ตลาดเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ โดย Smart Home ในประเทศ มีมูลค่ารวมประมาณ 4,000 ล้านบาทต่อปี โดยมีอุปกรณ์ Smart Home ในบ้านรวมทั้งหมดประมาณ 2.5 ล้านชิ้น ทั้งนี้ คาดว่า หลังจากเปิดตัว JARTON Home ที่ได้รับความร่วมมือจากพันธมิตรกว่า 100 แบรนด์ และพันธมิตรระดับโลกอย่าง Apple HomeKit และ Samsung SmartThings เข้ามาร่วมกันทำการตลาด มั่นใจว่าตลาด Smart Home จะขยายตัวเพิ่มมากขึ้น 3-5 เท่าภายใน 2 ปี อย่างแน่นอน

ในด้านทิศทางการดำเนินธุรกิจ จาร์ตัน กรุ๊ป ได้ปรับโครงสร้างธุรกิจ เพื่อรองรับการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยตั้ง JARTON Holdings เป็นบริษัทแม่ ถือหุ้นในบริษัทลูก และ เตรียมหาผู้ร่วมทุนและ Strategic Partner ในแต่ละธุรกิจภายในเครือทั้งหมด 6 บริษัท ซึ่งจะแยกกันตามประเภทธุรกิจ ได้แก่

• JARTON Industry ธุรกิจผลิตและวิจัยสินค้าระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร เช่น เครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด กล้องวงจรปิด เครื่อง X-Ray
• JARTON Group ธุรกิจ Trading สินค้าระบบบ้านและอาคารครบวงจร เช่น ระบบ Smart Home
• JARTON Technology ธุรกิจ Technology พัฒนาและบริหารระบบ Software และ Application ทั้งหมด เช่น JARTON Home / JARTON Lock / JARTON CCTV
• Nexitt ธุรกิจรับติดตั้งงานระบบอาคารครบวงจร แบบ Turnkey
• JARTON Network ธุรกิจเครือข่ายด้านสินค้าเทคโนโลยีและสินค้าสุขภาพ
• Life Elevated ธุรกิจเพื่อสังคมด้านการฝึกอบรมและพัฒนาตนเอง

สำหรับ ผลการดำเนินงานของกลุ่ม จาร์ตัน โฮลดิงส์ ในช่วงที่ผ่านมา ได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจและการระบาด Covid-19  ทำให้ต้องปรับลดลง 30% จากที่ตั้งเป้ารายได้รวมไว้ที่  1,000 ล้านบาท โดยสินค้าหลักยังคงเป็น ระบบบ้านและอาคารอัจฉริยะ ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นระบบ Smart Home, ระบบตรวจจับความปลอดภัยแบบอุโมงค์เดินผ่าน, ระบบกล้องวงจรปิดอัจฉริยะ โดยมีสัดส่วน 25% ¬ของยอดขายทั้งกลุ่ม ทั้งนี้ ในส่วนของการปรับโครงสร้าง จาร์ตัน กรุ๊ป คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 9-12 เดือน ที่จะสรรหาผู้ร่วมทุนและ Strategic Partner จากทั้งในและต่างประเทศ เพื่อมาเสริมความแข็งแกร่ง จากนั้น จะนำบริษัทแม่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์  ภายใน ปี 2568” นายธีธัช กล่าวในที่สุด


 

Exit mobile version