Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

IBM และ Mercedes พัฒนาบริการช่วยติดตามรถหาย Stolen Vehicle Help สำหรับแอพ Mercedes me

ไอบีเอ็ม (NYSE: IBM) และเมอร์เซเดส ประกาศความสำเร็จของบริการ “Urban Guard -Stolen Vehicle Help” ที่พึ่งเปิดตัวเมื่อเร็วๆ นี้บนแอพ Mercedes me ซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยค้นหาและนำยานพาหนะที่ถูกขโมยกลับคืน โซลูชันดังกล่าวสร้างขึ้นจากความร่วมมือก่อนหน้านี้ระหว่างไอบีเอ็มและเดมเลอร์ ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของเมอร์เซเดส เพื่อพัฒนาบริการด้าน Connected Car อย่าง “ready to
ข้อมูลของสำนักงานประกันภัยอาชญากรรมแห่งชาติ​ (NICB) ซึ่งเป็นหนึ่งในหน่วยงานสมาชิกอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ ระบุว่ามีการขโมยรถยนต์เพิ่มขึ้น 9.2% ในปี 2563 บริการรถยนต์ดิจิทัลและ Connected Car สามารถช่วยจัดการความเสี่ยงนี้ และเพิ่มโอกาสให้หน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมายสามารถนำยานพาหนะที่สูญหายหรือถูกขโมยไปกลับมาได้
บริการ “Urban Guard – Stolen Vehicle Help” ที่อยู่บนแอพ Mercedes me นี้ ได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยให้ลูกค้าและหน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมายสามารถติดตามและนำยานพาหนะที่ถูกขโมยไปกลับคืนมาได้ ความรวดเร็วเป็นสิ่งสำคัญมากเมื่อมีเหตุโจรกรรมเกิดขึ้น โดยบริการ “Stolen Vehicle Help” จะรวบรวมข้อมูลยานพาหนะและข้อมูลลูกค้าที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยให้หน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมายสามารถระบุและนำยานพาหนะกลับคืนมาได้ โดยหน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมายจะได้รับข้อมูลเหล่านี้ พร้อมกับข้อมูลตำแหน่งของยานพาหนะจากพันธมิตรผู้ให้บริการ ผู้ได้รับอนุญาตให้ติดต่อสื่อสารกับสถานีตำรวจทั่วโลกได้
IBM Global Business Services และเมอร์เซเดส ได้ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อวิเคราะห์และกำหนดกระบวนการแบบ End-to-end ตั้งแต่สถานการณ์ที่ลูกค้าต้องประสบในกรณีที่มีการขโมยเกิดขึ้น ไปจนถึงกระบวนการแชร์ข้อมูลแบบไลฟ์อย่างปลอดภัย และการประมวลผลในส่วนแบ็คเอนด์
IBM Global Business Services ทำหน้าที่พัฒนาระบบแบ็คเอนด์ด้วยเทคโนโลยีโอเพนซอร์สบนพื้นฐานของคลาวด์ อย่างเช่น Red Hat build ของ Quarkus เพื่อให้การทำงานเป็นไปภายใต้ความเร็วสูง โดยในฐานะพันธมิตรที่ดูแลการติดตั้งระบบ IBM Global Business Services ยังดูแลการสื่อสารแลกเปลี่ยนด้านเทคนิคระหว่างฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และระบบต่างๆ ที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็น API ของข้อมูลลูกค้า หรือเครื่องมือสำหรับคอลเซ็นเตอร์
“ผู้บริโภคคาดหวังและให้คุณค่าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แก่บริการดิจิทัลและการที่รถยนต์สามารถสื่อสารเชื่อมต่อกับสิ่งต่างๆ ได้ ไม่น้อยไปกว่าความสำคัญที่ให้กับประสิทธิภาพของรถยนต์ ซึ่งหมายความว่าประสบการณ์ด้าน Connected Car นั้น สำคัญพอๆ กับเรื่องของแรงม้าหรือเสถียรภาพการบังคับรถเลยทีเดียว” นายเยอร์เกน เบราน์ รองประธานและผู้นำกลุ่มอุตสากรรมและยานยนต์ กลุ่มประเทศ DACH กล่าว “การพัฒนาบริการ Connected Car เพื่อช่วยปกป้องรถที่เจ้าของลงทุน ถือเป็นเรื่องสำคัญที่เมอร์เซเดสจะทำได้ เพื่อเพิ่มสัมพันธภาพอันดีกับลูกค้า และเพื่อสร้างจุดต่าง”
บริการ “Urban Guard – Stolen Vehicle Help” เริ่มให้บริการแก่ลูกค้าในยุโรปเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2563 และหลังจากที่ได้เห็นประสิทธิภาพในการช่วยนำรถที่ศูนย์หายกลับคืน วันนี้จึงได้เริ่มเปิดบริการแก่ลูกค้าในบางประเทศในอเมริกาเหนือและเอเชียแปซิฟิคแล้ว
Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

‘ไออาร์พีซี’ จับมือ ‘ไอบีเอ็ม’ ดึงออโตเมชัน พลิกโฉมการเพิ่มประสิทธิภาพ ติดสปีดงานปฏิบัติการเร็วขึ้นเกือบเท่าตัว

วันนี้ ไอบีเอ็ม (NYSE: IBM) ประกาศว่าบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) (IRPC) หนึ่งในบริษัทปิโตรเคมีครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ประสบความสำเร็จในการนำ IBM Robotic Process Automation (RPA) with Automation Anywhere ไปใช้ในกระบวนการทำงานด้านการเงิน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความแม่นยำ ความรวดเร็ว และประหยัดต้นทุนอีกทั้ง ยังช่วยเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) ในการทำงานให้กับพนักงาน ท่ามกลางความท้าทายในยุคปัจจุบั
การผนึกพลังของเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำเข้ากับกระบวนการทางธุรกิจเป็นส่วนหนึ่งของแผนกลยุทธ์ IRPC 4.0 เพื่อยกระดับการดำเนินงาน และนำพาองค์กรก้าวสู่การเป็นบริษัทที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมและดิจิทัลชั้นนำของประเทศไทย ซึ่งการที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว IRPC จำเป็นต้องได้รับข้อมูลเชิงลึกในเวลาที่เหมาะสมทันท่วงที ด้วยการนำร่องใช้เทคโนโลยีออโตเมชัน โดยเริ่มจากสายงานบัญชีและการเงิน
ระบบ RPA ที่ติดตั้งโดย บริษัท เมโทรซิสเต็มส์คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ช่วยให้ IRPCสามารถดึงและจัดเตรียมข้อมูลรายงานต้นทุนการผลิตจากหลายระบบได้เร็วขึ้นถึง 86% โดยระบบยังสามารถติดตามงาน จัดระเบียบรายงานเป็นแฟ้มเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงส่งการแจ้งเตือนไปยังผู้ปฏิบัติการ เมื่อทำรายงานเสร็จ เทคโนโลยีของไอบีเอ็มช่วยให้ IRPCสามารถดำเนินกระบวนการทางการเงินแบบอัตโนมัติในระดับองค์กรขนาดใหญ่ได้อย่างง่ายดาย และรวดเร็ว โดยซอฟต์แวร์โรบ็อทหรือบ็อท หรือ IBOT (ชื่อที่ IRPC  ใช้) สามารถใช้ข้อมูลปัญญาประดิษฐ์เชิงลึกเพื่อทำงานให้เสร็จสิ้นได้เร็วขึ้น และช่วยสนับสนุน IRPC ในการเดินหน้าก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงทางด้านดิจิทัลได้สำเร็จ
นอกจากจะช่วยเพิ่มความแม่นยำแล้ว RPA ยังช่วยให้พนักงานทำงานได้มีประสิทธิภาพและรวดเร็วยิ่งขึ้นแม้ว่าจะต้องทำงานจากระยะไกล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาที่ต้องทำงานจากที่บ้าน (work from home) ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยพนักงานสามารถทำงานที่สร้างมูลค่าเพิ่มมากขึ้น และเรียนรู้ทักษะแห่งอนาคตใหม่รองรับงานด้านการวิเคราะห์ขั้นสูงที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญมากขึ้น
“เห็นได้ชัดว่าองค์กรที่มีนวัตกรรมและมีบุคลากรที่พร้อมรับนวัตกรรมใหม่ๆ อย่าง IRPC มีความพร้อมที่จะตอบสนองต่อภูมิทัศน์ทางธุรกิจที่เปลี่ยนไป และคว้าโอกาสทางธุรกิจที่ดีที่สุดที่มีอยู่ได้” ปฐมา จันทรักษ์ รองประธานด้านการขยายธุรกิจในกลุ่มประเทศอินโดจีน และกรรมการผู้จัดการใหญ่ ไอบีเอ็ม ประเทศไทย กล่าว “ในฐานะผู้นำตลาดที่ได้รับการจัดอันดับโดยทั้งฟอร์เรสเตอร์แอนด์เอเวอร์เรสต์กรุ๊ป ไอบีเอ็ม และพันธมิตรอย่างเมโทรซิสเต็มส์ มีความยินดีที่ได้นำเทคโนโลยีออโตเมชันชั้นนำและความเชี่ยวชาญเชิงอุตสาหกรรมของเรามาช่วย IRPC เร่งเครื่องสู่เส้นทางการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัล                     และการเติบโตด้านธุรกิจ”
ความสามารถในการทำงานแบบควบรวมหลายระบบเข้าด้วยกัน ทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร ทำให้วันนี้เทคโนโลยีออโตเมชันของไอบีเอ็มถูกนำมาใช้ในด้านอื่นด้วย การที่ออโตเมชันช่วยลดเวลาการทำงานลง 40 ชั่วโมง และช่วยให้การดำเนินการของสายงานบัญชีและการเงินเร็วขึ้น 86 % ต่อเดือน ถือเป็นการพลิกโฉมรูปแบบการจัดการงานต่างๆ ให้กับIRPC ได้อย่างมีนัยสำคัญ
“การปรับกระบวนการและการดำเนินงานให้เป็นรูปแบบดิจิทัลมากยิ่งขึ้น ช่วยให้เราได้รับข้อมูลเชิงลึกที่ถูกต้องแม่นยำและทันท่วงทีไม่ว่าจะอยู่ที่ใด ทำให้สามารถเข้าใจสาเหตุของปัญหาต่างๆ อย่างแท้จริง และตัดสินใจได้อย่างถูกต้องบนพื้นฐานของข้อมูล ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งโดยเฉพาะในช่วงเวลาแห่งความท้าทายนี้” นายชวลิต ทิพพาวนิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)กล่าว “การนำเทคโนโลยีออโตเมชันจากไอบีเอ็มมาใช้ และขยายการใช้งานทั่วทั้งบริษัทฯ ในวันนี้จะช่วยให้ธุรกิจพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น และช่วยเพิ่มความสามารถในการจัดการข้อมูลปริมาณมหาศาล ซึ่งเป็นอีกหนึ่งขั้นของการเดินหน้าบนเส้นทาง IRPC 4.0 ตามแผนกลยุทธ์ของเรา เทคโนโลยีนี้จะทำให้ IRPC เป็นผู้นำในทุกตลาดที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน”
“หลังจากประสบความสำเร็จกับการเริ่มใช้ RPA ในสายงานบัญชีและการเงิน IRPC จึงมองถึงการขยายการใช้ระบบออโตเมชันไปยังโครงการอื่นๆ อีก 60 โครงการ ครอบคลุมการทำงานของหลายหน่วยงาน อีกทั้งยังวางแผนที่จะนำเทคโนโลยีออโตเมชันอย่างปัญญาประดิษฐ์มาใช้กับกระบวนการทางธุรกิจ (business process automation: BPA) เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย” นายชวลิต กล่าวเพิ่มเติม
ข้อมูลอื่นเพิ่มเติม 
การศึกษาโดยสถาบันการศึกษาคุณค่าทางธุรกิจของไอบีเอ็ม (IBV) ร่วมกับอ็อกซ์ฟอร์ดอีโคโนมิกส์ ชี้ให้ เห็นว่าลักษณะของงานที่ใช้เทคโนโลยีจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญภายในปี 2567 โดยเปอร์เซ็นต์ของงานทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นงานธุรการ งานของแผนก งานขององค์กร และงานที่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ จะยังคงมีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยงานขององค์กรและงานที่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญมีสัดส่วนมากที่สุด เมื่อพิจารณาลงรายละเอียด หนึ่งในห้าของผู้ที่ตอบแบบสำรวจระบุว่าเทคโนโลยีจะถูกใช้ในการทำธุรกรรมข้ามแผนกทั่วทั้งองค์กร ขณะที่ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวนห้าเปอร์เซ็นต์มองว่าเทคโนโลยีจะถูกนำมาใช้ในงานที่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญอย่างการแก้ปัญหา โดยอาศัยข้อมูลแบบเรียลไทม์หรืออาศัยข้อมูลเพื่อใช้ในการวิเคราะห์หลายประเภท
ไอบีเอ็มได้เข้าซื้อกิจการ WDG Automation เมื่อไม่นานมานี้ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของระบบออโตเมชันสำหรับองค์กรที่ผสานความสามารถของเอไอ วันนี้บริการออโตเมชันของไอบีเอ็มได้เข้าช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และเพิ่มผลิตภาพในงานปฏิบัติการให้กับอุตสาหกรรมต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น เภสัชกรรม ยานยนต์ ประกันภัย การธนาคาร ฯลฯ
Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

IBM จับมือ Adobe เปิดคอร์สสอนหลักการออกแบบเบื้องต้นให้นักเรียน-นักศึกษา โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

ไอบีเอ็ม (NYSE: IBM) เปิดเผยถึงความร่วมมือกับอะโดบีในการเปิดหลักสูตรออนไลน์พร้อมมอบประกาศนียบัตรดิจิทัล (digital badge) เมื่อเรียนจบ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียน-นักศึกษา โดยเฉพาะกลุ่มที่ขาดโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรด้านการเรียนรู้ ให้พร้อมประสบความสำเร็จทั้งในด้านการเรียนและการทำงาน ด้วยความรู้เกี่ยวกับหลักการออกแบบเบื้องต้นและเครื่องมือเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ต่างๆ ซึ่งล้วนเป็นทักษะที่นายจ้างให้ความสำคัญเป็นอย่างมากในปัจจุบัน โดยนักเรียน-นักศึกษาที่สนใจสามารถเข้าเรียนหลักสูตรเหล่านี้ได้ฟรี ผ่านโครงการ SkillsBuild for Students ของไอบีเอ็ม
“ไอบีเอ็มต้องขอขอบคุณอะโดบีที่ร่วมพัฒนาเนื้อหาเพื่อช่วยเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้เรียนทุกกลุ่ม ให้มีความพร้อมสำหรับการทำงานในสายอาชีพต่อไป” จัสตินา นิกซันเซนทิล รองประธานและหัวหน้างานกิจกรรมเพื่อสังคมทั่วโลกของไอบีเอ็ม กล่าว “นักเรียน-นักศึกษาที่กำลังเตรียมตัวเข้าสู่โลกการทำงานไม่ว่าในอุตสาหกรรมใด จำเป็นต้องมีความพร้อมทั้งทักษะเชิงเทคนิคและทักษะด้านคน ความร่วมมือระหว่างอะโดบีและไอบีเอ็มในครั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการคิดสร้างสรรค์ และช่วยให้ผู้เรียนสามารถสื่อสารและทำงานเป็นทีมได้ดีขึ้น ก่อนที่จะเข้าสู่โลกการทำงานจริง”
ตัวอย่างของหลักสูตร visual design ที่เปิดให้เยาวชนได้เรียนโดยไม่มีค่าใช้จ่ายที่ IBM SkillsBuild for Students อาทิ คอร์ส “หลักการออกแบบเบื้องต้น” ที่อะโดบีและไอบีเอ็มร่วมกันพัฒนา เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจว่าการออกแบบที่ดีเป็นอย่างไร ได้เรียนรู้จากนักออกแบบมืออาชีพที่มากประสบการณ์ และสามารถเข้าถึงทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับการนำหลักการออกแบบต่างๆ มาใช้ในโครงการจริงได้ โดยผู้เรียนจะได้เรียนรู้ประโยชน์ของการออกแบบ visual ที่มีความกลมกลืน สมดุล และได้สัดส่วน อีกทั้งยังสามารถเข้าถึงคอร์สเกี่ยวกับเครื่องมือออกแบบงานสร้างสรรค์ที่ใช้จริงในโลกธุรกิจอย่าง Adobe Photoshop, Adobe Illustratorและ Adobe InDesign
“ความคิดสร้างสรรค์และคอนเทนท์คือสิ่งที่จุดพลังให้กับเศรษฐกิจโลก” มาลา ชาร์มา VP & GM, Creative Cloud Product Marketing & Community ของอะโดบี กล่าว “ไม่ว่าแต่ละคนจะเลือกเดินในสายอาชีพใด การสื่อออกมาอย่างสร้างสรรค์และการเล่าเรื่องจะไม่เพียงแต่เป็นทักษะที่จำเป็น แต่เป็นสิ่งที่องค์กรคาดหวังให้ทุกคนต้องมี และนี่คือเหตุผลว่าทำไมทักษะเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์จะมีความสำคัญยิ่งยวดสำหรับคนทำงานในอนาคต อะโดบีมีความภูมิใจที่ได้ร่วมกับไอบีเอ็มผ่านโครงการ SkillsBuild for Students เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ที่จำเป็นอย่างยิ่งนี้ และเตรียมความพร้อมให้แก่นักเรียน-นักศึกษา ให้พร้อมประสบความสำเร็จในโลกที่กำลังเปลี่ยนไป”
ทักษะที่มีความสำคัญอย่างมากสำหรับคนทำงานในสายอาชีพและการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่โลกการทำงานในอนาคตให้กับผู้เรียนนี้ จะมีโปรแกรมการเรียนที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถนำเสนอไอเดียแก่ผู้อื่นและลูกค้าได้ พร้อมมัดใจผู้ฟังผ่านการเล่าเรื่องที่เข้าใจง่ายและน่าสนใจ โดยเมื่อเรียนจบหลักสูตร ผู้เรียนจะได้รับแบดจ์ Basic Principles of Design ที่สามารถบรรจุลงในเรซูเมสำหรับการสมัครงานได้ต่อไป
ความร่วมมือกับอะโดบียังครอบคลุมถึงกิจกรรมการเรียนรู้แบบอินเตอร์แอคทีฟและการประเมินความรู้ด้วยตนเอง เช่น การให้ผู้เรียนศึกษาบุคลิกภาพด้านความริเริ่มสร้างสรรค์ต่างๆ และถ่ายทอดผ่านชิ้นงานทัศนศิลป์ โดยแบบฝึกหัดที่พัฒนาขึ้นจากงานวิจัยเชิงจิตวิทยาเหล่านี้ จะช่วยให้ผู้เรียนได้ปลดล็อคศักยภาพด้านความคิดสร้างสรรค์อย่างเต็มที่ ในทุกมิติของทั้งการใช้ชีวิตและการทำงาน
การทดสอบจะประเมินนิสัยและลักษณะเฉพาะของผู้เรียน ว่ามีการคิด การกระทำ และการมองโลกอย่างไร โดยผู้เรียนสามารถค้นพบว่าตัวเองมีแนวโน้มเป็นศิลปิน นักคิด นักผจญภัย เมเกอร์ โปรดิวเซอร์ นักฝัน นวัตกร หรือผู้ที่มีหัวคิดสร้างสรรค์ ซึ่งคนแต่ละประเภทล้วนมีบทบาทเฉพาะในกลุ่มของตน ทั้งที่โรงเรียน ที่บ้าน และที่ทำงาน
ผลวิจัยได้ชี้ให้เห็นว่าความคิดสร้างสรรค์และ “4 Cs” ซึ่งประกอบด้วยการคิดเชิงวิพากษ์ การสื่อสาร การทำงานร่วมกับผู้อื่น และความริเริ่มสร้างสรรค์ ช่วยให้เยาวชนสามารถพัฒนาตนเองทั้งในแง่การเรียน การเป็นพลเมือง และการทำงาน โดยรายงานจากองค์การกองทุนเพื่อศิลปะแห่งชาติ ระบุว่ากลุ่มวัยรุ่นที่ขาดโอกาส แต่ได้สัมผัสกับศิลปะและงานทัศนศิลป์ต่างๆ จะประสบความสำเร็จเมื่อโตขึ้น มากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้มีโอกาสเรียนศิลปะเลย
หลักสูตรของอะโดบีได้รับการจัดทำขึ้นเป็นภาษาอังกฤษ บราซิล โปรตุเกส และสเปน โดยผู้เรียนสามารถเข้าถึงทั้งหลักสูตรข้างต้นและหลักสูตรอื่นๆ อีกมากมาย อาทิ คอร์สเกี่ยวกับเทคโนโลยีและทักษะการทำงานต่างๆ ได้ที่ https://skillsbuild.org/students
ผู้สอนที่ต้องการใช้คอร์สหลักการออกแบบเบื้องต้นในการเรียนการสอน สามารถรับหลักสูตรที่จะช่วยปลดล็อคความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนเหล่านี้ได้ที่ Adobe Education Exchange https://edex.adobe.com
Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

KTB ดึง IBM บริหารจัดการโอเพนซอร์ส ติดสปีดนวัตกรรม รองรับโมบายล์แอพสำคัญให้บริการประชาชนนับล้านทั่วประเทศ

ธนาคารกรุงไทย (KTB) เดินหน้าเร่งเครื่องนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมสนับสนุนบริการทางการเงิน ดึงไอบีเอ็มช่วยบริหารจัดการเทคโนโลยีโอเพนซอร์สซึ่งเป็นกุญแจของแอพพลิเคชันสำคัญ​อาทิ เป๋าตัง ถุงเงิน เป็นต้น ช่วยร่นเวลาในการพัฒนาแอพ เพิ่มความรวดเร็วในการเสริมฟีเจอร์ใหม่ ลดต้นทุนการบริหารจัดการ พร้อมทีมงานไอบีเอ็มคอยบริการให้คำปรึกษาและแก้ปัญหาการใช้งานเทคโนโลยีโอเพนซอร์สทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง สร้างความมั่นใจและราบรื่นในการใช้งานให้ผู้ใช้บริการแอพหลายล้านรายทั่วประเทศ

โอเพนซอร์สเร่งสปีดนวัตกรรม แต่เพิ่มความกังวลในการจัดการ
ประโยชน์ของโอเพนซอร์สในแง่ความยืดหยุ่นในการใช้งาน การเปิดให้ใช้โดยไม่มีพันธะค่าใช้จ่าย รวมถึงการรองรับการใช้งานคอนเทนเนอร์และแอพแบบ cloud-based ทำให้เทคโนโลยีโอเพนซอร์สอย่าง Apache, OpenStack, Ansible, Python ฯลฯ รวมถึงเครื่องมือบริหารจัดการเวิร์คโหลดอย่าง Kubernetes และ Red Hat OpenShift เป็นต้น กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างนวัตกรรมขององค์กร และบางครั้งยังถูกนำไปเป็นเครื่องมือรองรับเวิร์คโหลด mission-critical โดยรายงานจากฟอร์เรสเตอร์ชี้ว่าองค์กร 53% ใช้เทคโนโลยีโอเพนซอร์สมากกว่าห้าชนิด
อย่างไรก็ดี การที่ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สพัฒนาขึ้นโดยคอมมิวนิตี้นักพัฒนา ทำให้ไม่มีผู้ดูแลและคอยให้คำแนะนำการแก้ปัญหากับผู้ใช้ โดยองค์กร 79% ต้องประสบปัญหาเรื่องการซัพพอร์ทแบบเรียลไทม์ [1] และเมื่อซื้อบริการซัพพอร์ท ก็มักเป็นบริการเฉพาะสำหรับซอฟต์แวร์เวอร์ชันนั้นๆ เมื่อเกิดปัญหาในระบบที่ใช้มากกว่าหนึ่งโอเพนซอร์ส พบช่องโหว่ด้านซิเคียวริตี้ ซอฟต์แวร์ที่ใช้ไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด หรือมีปัญหาด้านการตั้งค่าระบบที่ไม่สามารถแก้ไขได้โดยเจ้าหน้าที่หน้างาน จึงทำให้ระบบสะดุด ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการทำธุรกรรมต่างๆ สร้างความเสียหายมหาศาลให้กับทั้งองค์กรและผู้ใช้งาน
ส่งมืออาชีพดูแลหลังบ้าน ช่วยสนับสนุนการเดินหน้าดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน
บริษัท กรุงไทยคอมพิวเตอร์เซอร์วิสเซส จำกัด (KTBCS) หน่วยงานด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ดูแลระบบสารสนเทศให้ธนาคารกรุงไทยและบริษัทในเครือ ตระหนักถึงความจำเป็นในการสร้างความเชื่อมั่นในการให้บริการผ่านระบบที่มีเสถียรภาพและมีความปลอดภัยสูง และได้เลือกบริการ Open Source Support Services (OSS) จากไอบีเอ็ม เข้าช่วยบริหารจัดการเทคโนโลยีโอเพนซอร์สที่อยู่เบื้องหลังแอพสำคัญๆ ของธนาคาร

การมีทีมมืออาชีพจากไอบีเอ็มเข้ามาช่วยบริหารจัดการ แก้ปัญหาการใช้งาน ตรวจสอบเงื่อนไขการบำรุงรักษา ให้คำแนะนำการอัพเดทซอฟต์แวร์เวอร์ชันใหม่ที่มักออกมาทุกอาทิตย์หรือทุกเดือน ช่วยให้ KTBCS สามารถมุ่งเน้นที่การพัฒนาแอพและสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ได้เต็มที่ แทนที่จะต้องเสียเวลาไปกับการบริหารจัดการแก้ปัญหาโอเพนซอร์สซอฟแวร์จำนวนมาก โดย OSS ช่วยให้ KTBCS สามารถเปิดใช้แอพใหม่ได้เร็วขึ้นกว่าเดิมถึง 38% ขณะที่การแก้ปัญหาดาวน์ไทม์ที่ไม่คาดคิดสามารถทำได้เร็วขึ้น 44% ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ และตัดปัญหาค่าใช้โอเพนซอร์สบางอย่างที่ไม่คาดคิด

การทำงานร่วมกันยังเป็นการเปิดโอกาสให้ทีมงาน KTBCS ได้เรียนรู้ทักษะด้านโอเพนซอร์สใหม่ๆ จากผู้เชี่ยวชาญของไอบีเอ็ม อีกทั้งยังช่วยเพิ่มผลิตภาพในการทำงานของทีมดูแลระบบถึง 18%

“การระบาดของไวรัส Covid-19 ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงหลายแง่มุม ทั้งพฤติกรรมการทำงานและรูปแบบการใช้ชีวิต และตอกย้ำให้เห็นว่าการดำเนินการอย่างรวดเร็ว ภายใต้ความยืดหยุ่น ฟื้นตัวเร็ว และการบริหารจัดการต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ มีความสำคัญเพียงใด” นายแพทย์พลวรรธน์ วิทูรกลชิต รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน สายงานเทคโนโลยี บมจ.ธนาคารกรุงไทย และประธานกรรมการ บริษัท กรุงไทยคอมพิวเตอร์เซอร์วิสเซส จำกัด (KTBCS) กล่าว “ธนาคารกรุงไทยมีโครงสร้างเดิมที่ใหญ่และมีระบบเลกาซี ฉะนั้น การนำโอเพนซอร์สมาใช้ การเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติใหม่ และการนำทีมงานมืออาชีพจากไอบีเอ็มเข้ามาช่วยบริหารจัดการโอเพนซอร์ส จะช่วยให้เส้นทางการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันของธนาคารกรุงไทย เดินหน้าได้อย่างรวดเร็วและราบรื่น”

“เทคโนโลยีโอเพนซอร์สมีความก้าวล้ำและยืดหยุ่น และมีคอมมิวนิตี้ของนักพัฒนาเก่งๆ ทั่วโลกที่สามารถให้คำแนะนำ แต่สิ่งที่ไอบีเอ็มมีมากกว่า คือประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในมุมอุตสาหกรรมบริการทางการเงิน รวมถึงการดูแลรับผิดชอบในทุกมิติ ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง” นายวิสิทธิ์ รัตนสกุลดิลก กรรมการผู้จัดการ KTBCS กล่าว “ในอีกทาง สถาบันการเงินต้องเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการข้อมูลของลูกค้าจำนวนมาก อีกทั้งยังอยู่ภายใต้การกำกับดูแลที่เข้มงวด ซึ่งมาตรฐานการบริการและความปลอดภัยระดับสูงของไอบีเอ็มถือเป็นปัจจัยที่ช่วยให้เราเชื่อมั่นว่าระบบจะปลอดภัยและสอดคล้องกับกฎข้อบังคับต่างๆ”

“ไอบีเอ็มมีจุดยืนในการสนับสนุนชุมชนโอเพนซอร์สมานานกว่า 20 ปี และยังได้รับการยกย่องให้เป็นผู้นำด้านโอเพนซอร์ส เมื่อรวมกับความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมการเงินจากประสบการณ์การทำงานร่วมกับสถาบันการเงินชั้นนำของไทยและทั่วโลก สิ่งนี้จึงถือเป็นจุดที่ช่วยสร้างความแตกต่างให้กับไอบีเอ็ม” นายสุรฤทธิ์ วูวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มเทคโนโลยี บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด “วันนี้ ไอบีเอ็มมีความยินดีที่ได้รับความไว้วางใจให้บริหารจัดการเทคโนโลยีโอเพนซอร์สให้กับ KTB และ KTBCS ซึ่งถือเป็นส่วนหลักที่จะเป็นกลจักรสำคัญสู่การสร้างนวัตกรรมและก้าวย่างดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันของธนาคารกรุงไทยต่อไป”


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ไอบีเอ็มเปิดตัว Telum ชิปประมวลผลสำหรับเอไอตัวแรก เปิดมิติใหม่ด้วยระบบ On-Chip Acceleration

ไอบีเอ็ม (NYSE: IBM) เปิดเผยถึงระบบประมวลผลใหม่ IBM Telum ที่ได้รับการออกแบบให้นำการประมวลผลด้วยโมเดลดีพเลิร์นนิง (deep learning) มาสู่เวิร์คโหลดขององค์กร เพื่อให้สามารถรับมือการฉ้อโกงต่างๆ ได้แบบเรียลไทม์ Telum เป็นระบบประมวลผลแรกของไอบีเอ็มที่มี on-chip acceleration สามารถประมวลผลโมเดลเอไอ (AI) ในขณะที่มีการทำธุรกรรมเกิดขึ้น โดยนวัตกรรมฮาร์ดแวร์แบบ on-chip acceleration ที่เป็นผลมาจากการวิจัยพัฒนาระยะเวลาสามปีนี้ จะช่วยให้ลูกค้าได้รับมุมมองเชิงลึกทางธุรกิจ ไม่ว่าจะในการใช้งานในอุตสาหกรรมธนาคาร การเงิน การค้า ประกันภัย หรือในงานเกี่ยวกับการปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าก็ตาม ทั้งนี้ คาดว่าระบบที่ใช้ Telum จะพร้อมออกสู่ตลาดในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2565
ในการวิจัยล่าสุดของโดยมอร์นิงคอนซัลท์ ที่สนับสนุนโดยไอบีเอ็ม พบว่าสำหรับ 90% ของผู้ที่สำรวจ ความสามารถในการสร้างและรันโครงการเอไอในที่ที่ข้อมูลนั้นๆ อยู่  ถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ [1] IBM Telum ช่วยให้แอพพลิเคชันต่างๆ สามารถทำงานได้ ณ​ จุดที่ข้อมูลเหล่านั้นอยู่ ซึ่งเป็นการก้าวข้ามแนวทางแบบเดิมๆ ที่ต้องอาศัยหน่วยความจำและความสามารถในการเคลื่อนย้ายข้อมูลมหาศาล เพื่อประมวลผลโมเดลเอไอ Telum ทำให้accelerator อยู่ใกล้กับข้อมูล mission critical และแอพพลิเคชันต่างๆ ซึ่งหมายความว่าองค์กรจะสามารถรันโมเดลจำนวนมากสำหรับการทำธุรกรรมที่ข้อมูลมีความอ่อนโยนได้แบบเรียลไทม์ ​โดยไม่ต้องเรียกโซลูชันเอไอจากนอกแพลตฟอร์ม ที่จะส่งผลต่อศักยภาพการทำงานของระบบ นอกจากนี้ ลูกค้ายังสามารถสร้างและฝึกโมเดลเอไอได้จากนอกแพลตฟอร์ม และใช้งานหรือรันโมเดลบนระบบของไอบีเอ็มที่ใช้ Telum เพื่อการวิเคราะห์ได้
นวัตกรรมตอบโจทย์ทั้งธุรกิจธนาคาร การเงิน การค้า และประกันภัย
ปัจจุบันธุรกิจต่างๆ มักใช้เทคนิคเพื่อตรวจจับเหตุฉ้อโกงหลังจากที่เหตุได้เกิดขึ้นแล้ว ซึ่งเป็นกระบวนการที่กินเวลาและใช้พลังประมวลผลมากเมื่อเทียบกับข้อจำกัดด้านเทคโนโลยีในปัจจุบัน โดยเฉพาะเมื่อต้องทำการวิเคราะห์และตรวจจับการฉ้อโกงที่เกิดขึ้นห่างออกไปจากจุดที่มีข้อมูลและการทำธุรกรรม mission critical อยู่ นอกจากนี้ ข้อจำกัดเรื่องการดีเลย์ของข้อมูลขณะเดินทางในเน็ตเวิร์ค (latency) ทำให้มักไม่สามารถตรวจจับการฉ้อโกงที่มีความซับซ้อนได้แบบเรียลไทม์ และนั่นหมายความว่าผู้ประสงค์ร้ายอาจซื้อสินค้าด้วยบัตรเครดิตที่ขโมยมาเรียบร้อยแล้ว ก่อนที่ห้างร้านจะทราบว่ามีการฉ้อโกงเกิดขึ้น
รายงาน Consumer Sentinel Network Databook ปี 2563 โดยคณะกรรมการการค้ากลาง (Federal Trade Commission) ระบุว่าในปี 2563 ผู้บริโภคได้รับความเสียหายจากเหตุฉ้อโกงมากกว่า 3,300 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2562 ถึง 1,800 ล้านเหรียญสหรัฐ[2] Telum จะช่วยให้ลูกค้าเปลี่ยนโหมดจากการตรวจหาการฉ้อโกงเป็การป้องกันการฉ้อโกง ทำให้แทนที่จะต้องไล่จับการฉ้อโกงอย่างทุกวันนี้ องค์กรจะเข้าสู่ยุคใหม่ที่การป้องกันการฉ้อโกงสามารถเป็นไปได้ในวงกว้าง โดยไม่กระเทือน service level agreements (SLAs) ก่อนที่การทำธุรกรรมจะเสร็จสมบูรณ์
ชิปใหม่นี้ มาพร้อมการออกแบบที่เน้นนวัตกรรมเป็นศูนย์กลาง ช่วยให้ลูกค้าได้รับประโยชน์จากระบบประมวลผลเอไอสำหรับเวิร์คโหลดเฉพาะด้านเอไออย่างเต็มที่ ซึ่งสำคัญมากโดยเฉพาะสำหรับเวิร์คโหลดด้านการบริการทางการเงิน อย่างเช่นการตรวจจับการฉ้อโกง การประมวลผลระบบสินเชื่อ การชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์การค้า การป้องกันการฟอกเงิน และการวิเคราะห์ความเสี่ยง เป็นต้น โดยนวัตกรรมใหม่นี้จะช่วยให้ลูกค้าสามารถยกระดับการตรวจจับการฉ้อโกงแบบ rule-based หรือการใช้แมชชีนเลิร์นนิงในปัจจุบัน ช่วยเร่งกระบวนการอนุมัติบัตรเครดิต ปรับปรุงการบริการลูกค้าและเพิ่มความสามารถในการทำกำไร รวมถึงระบุได้ว่าการทำธุรกรรมหรือการซื้อขายรายการใดจะไม่สำเร็จ พร้อมนำเสนอกระบวนการชำระเงินที่มีประสิทธิภาพมากกว่าได้แทน
Telum และแนวทางการออกแบบชิปแบบ full-stack ของไอบีเอ็ม
Telum เป็นผลมาจากการออกแบบและวิศวกรรมนวัตกรรมที่สืบเนื่องมายาวนานของไอบีเอ็ม ตั้งแต่ฮาร์ดแวร์ การร่วมพัฒนาซอฟท์แวร์ ไปจนถึงการบูรณาการด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นซิลิกอน ฮาร์ดแวร์ เฟิร์มแวร์ ระบบปฏิบัติการ ไปจนถึงเฟรมเวิร์คของซอฟต์แวร์
ชิปดังกล่าวมีหน่วยประมวลผล 8 คอร์ มีชุดคำสั่งพิเศษเพื่อเน้นการประมวลผลข้อมูลเชิงลึกที่มาพร้อมกับความถี่ในการประมวลผลสูงกว่า 5GHz ซึ่งเหมาะกับความต้องการเวิร์คโหลดที่แตกต่างกันออกไปขององค์กร ด้วยแคชที่ออกแบบใหม่ทั้งหมด และโครงสร้างพื้นฐานการเชื่อมต่อชิปที่ 32 MB ต่อคอร์ และสามารถสเกลไปได้ถึง 32 ชิป Telum โดยการออกแบบโมดูล dual-chip ประกอบด้วยทรานซิสเตอร์จำนวน 2,200 พันล้านตัว และมีสายลวดความยาว 19 ไมล์บนชั้นโลหะ 17 ชั้น
ผู้นำการพัฒนาเซมิคอนดัคเตอร์
Telum เป็นชิปไอบีเอ็มตัวแรกที่ใช้เทคโนโลยีที่พัฒนาโดยศูนย์วิจัยฮาร์ดแวร์เอไอไอบีเอ็มโดยมีซัมซุงเป็นพาร์ทเนอร์ในการพัฒนาเทคโนโลยีของระบบประมวลผล Telum ด้วยการพัฒนาโหนดเทคโนโลยี 7 นาโนเมตร EUV
Telum เป็นอีกตัวอย่างความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ของไอบีเอ็ม โดยเมื่อไม่นานมานี้ศูนย์วิจัยไอบีเอ็ม ซึ่งเป็นหนึ่งในหน่วยงานวิจัยภาคอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดในโลก ได้ประกาศความสำเร็จในการพัฒนาชิป 2 นาโนเมตร ซึ่งเป็นมาตรฐานล่าสุดที่ไอบีเอ็มได้สร้างไว้ให้กับนวัตกรรมด้านซิลิกอนและเซมิคอนดัคเตอร์ โดยศูนย์วิจัยไอบีเอ็มยังได้สร้างอีโคซิสเต็มความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ-เอกชนชั้นนำขึ้น ที่ศูนย์วิจัยฮาร์ดแวร์เอไอของไอบีเอ็มและอัลบานีนาโนเทคคอมเพล็กซ์ ณ เมืองอัลบานี รัฐนิวยอร์ค เพื่อช่วยรับมือกับความต้องการด้านการผลิตทั่วโลก และเร่งการเติบโตของอุตสาหกรรมชิป
Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

The Weather Company ของไอบีเอ็ม รั้งแชมป์ผู้ให้บริการพยากรณ์อากาศที่แม่นยำที่สุดในโลกต่อเนื่อง

ไอบีเอ็ม (NYSE: IBM) และ The Weather Company บริษัทในเครือ ซึ่งรวมถึง The Weather Channel ได้รับเลือกเป็น “ผู้ให้บริการพยากรณ์อากาศที่แม่นยำที่สุดในโลก” โดย ForecastWatch หน่วยงานชั้นนำที่ทำหน้าที่ประเมินความแม่นยำของการพยากรณ์อากาศ

ในการศึกษาล่าสุด Global and Regional Weather Forecast Accuracy Overview, 2017-2020เกี่ยวกับความแม่นยำด้านการพยากรณ์อากาศiiที่สนับสนุนโดยไอบีเอ็ม ForecastWatch ได้ยกให้ The Weather Company ของไอบีเอ็ม เป็นผู้ให้บริการพยากรณ์อากาศที่มีผลการพยากรณ์โดยรวมแม่นยำที่สุดทั่วโลก เมื่อสรุปรวมจากการเปรียบเทียบภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ทั้งหมดในช่วงเวลาที่กำหนด นอกจากนี้ ข้อมูลยังแสดงให้เห็นว่าระยะห่างเรื่องความแม่นยำระหว่าง The Weather Company (ซึ่งในรายงานระบุว่าเป็น The Weather Channel) และผู้ให้บริการที่ได้รับการจัดอันดับรองลงไป เพิ่มขึ้นในทุกปีที่ศึกษา

“ข้อมูลพยากรณ์จะเป็นประโยชน์ที่สุดก็ต่อเมื่อมาจากแหล่งที่ได้รับการยอมรับและเชื่อถือได้ และความถูกต้องแม่นยำของข้อมูลก็เป็นรากฐานที่เรามุ่งมั่นพัฒนาเพื่อช่วยให้ลูกค้า ผู้บริโภค และนักการตลาด สามารถทำการตัดสินใจที่สำคัญๆ ในแต่ละวันได้” เชรี่่ บัคสไตน์ ซีอีโอ The Weather Company และกรรมการผู้จัดการ IBM Watson Advertisingกล่าว “การศึกษาตอกย้ำให้เห็นความมุ่งมั่นของไอบีเอ็มในการช่วยพัฒนาวิทยาศาสตร์การพยากรณ์สภาพอากาศให้รุดหน้า โดยอาศัยนวัตกรรมเอไอ ข้อมูล คลาวด์คอมพิวติ้ง ที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง”

เกี่ยวกับรายงาน Global and Regional Weather Forecast Accuracy Overview, 2017-2020
รายงานนี้เป็นการศึกษาความแม่นยำของการพยากรณ์อากาศที่ครอบคลุมระยะเวลา 4 ปี จากโลเคชัน 1,424 จุด ใน 8 ภูมิภาคทั่วโลก ด้วยเมทริกซ์ความแม่นยำ 84 แบบ อาทิ ปริมาณน้ำฝน อุณหภูมิ การปกคลุมของเมฆ และตัวแปรการพยากรณ์ลม เป็นต้น โดย ForecastWatch ได้วิเคราะห์ข้อมูลพยากรณ์ประมาณ 140 ล้านรายการ จากผู้ให้บริการพยากรณ์สภาพอากาศต่างๆ 17 ราย โดยผู้ให้บริการแต่ละรายจะได้รับการบันทึกคะแนนเมื่อเสร็จสิ้นแต่ละเมทริกซ์ รายงานระบุว่า “The Weather Channel สร้างสถิติจบด้วยอันดับที่หนึ่งมากที่สุดทั่วโลกในทุกปีและทุกช่วงเวลา” เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ให้บริการอื่นๆ

การพยากรณ์ของ The Weather Company ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยไอบีเอ็ม และเผยแพร่ผ่าน IBM Cloud ผ่านแอพ The Weather Channel และ weather.com, แอพ Weather Underground และ wunderground.com รวมถึงผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสภาพอากาศสำหรับลูกค้าองค์กรของไอบีเอ็ม

ไฮไลต์สำคัญและข้อค้นพบของรายงานที่เปรียบเทียบผู้ให้บริการพยากรณ์อากาศยังระบุว่
• The Weather Company เป็นผู้ให้บริการพยากรณ์อากาศโดยรวมที่แม่นยำที่สุดทั่วโลก
• The Weather Company มีแนวโน้มที่จะมีความแม่นยำมากกว่าผู้ให้บริการรายอื่นที่ศึกษาถึง 3.5 เท่าi
• ระยะห่างเรื่องความแม่นยำระหว่าง The Weather Company และผู้ให้บริการอื่นๆ เพิ่มขึ้นในทุกปีที่ศึกษาiii
• The Weather Company เป็นผู้ให้บริการที่แม่นยำที่สุดเมื่อเปรียบเทียบในแต่ละภูมิภาค ทั้งสหรัฐอเมริกา แคนาดา อเมริกากลาง อเมริกาใต้ ยุโรป แอฟริกา ตะวันออกกลาง และเอเชียแปซิฟิกiii

ที่สุดแห่งความแม่นยำที่พัฒนาขึ้นจากวิทยาศาสตร์ เอไอและเทคโนโลยี
ปัญญาประดิษฐ์เป็นเครื่องมือที่สำคัญสูงสุด ที่ช่วยให้นักอุตุนิยมวิทยาทำความเข้าใจดาต้าพอยท์ของข้อมูลสภาพอากาศที่ไร้โครงสร้างนับพันล้านพอยท์จากดาวเทียม เซ็นเซอร์ภาคพื้นดิน เรดาร์ และอื่นๆ โดยอัลกอริธึมแมชชีนเลิร์นนิงขั้นสูงและพลังประมวลผลจากไอบีเอ็มช่วยให้นักอุตุนิยมวิทยาของ The Weather Company สามารถใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อจำลองสภาพบรรยากาศและคาดการณ์พยากรณ์อากาศได้ดีขึ้น

การลงทุนและพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่องของไอบีเอ็มได้ช่วยให้ทีมนักอุตุนิยมวิทยาและผู้เชี่ยวชาญสามารถพัฒนาเทคโนโลยีที่ทำให้ The Weather Company เป็นผู้นำในด้านความแม่นยำโดยรวมได้ เช่น
• เอ็นจินการพยากรณ์ที่ใช้เอไอเพื่อรวมข้อมูลจากแบบจำลองการพยากรณ์เกือบ 100 โมเดลทั่วโลก โดยอาศัยปัจจัยที่มีน้ำหนักจากแต่ละแบบจำลองตามภูมิศาสตร์ เวลา ประเภทของสภาพอากาศ และความแม่นยำของการพยากรณ์ล่าสุด จากนั้นระบบจะผนวกความมีน้ำหนักจากปัจจัยเหล่านั้นเข้าด้วยกันเพื่อให้ได้ผลสังเคราะห์การพยากรณ์หนึ่งเดียวซึ่งให้ความแม่นยำมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้สำหรับสถานที่นั้นๆ โดยทำการพยากรณ์ได้แบบ on-demand
• ความก้าวหน้าของการพยากรณ์อากาศทั่วโลกครั้งสำคัญที่มาพร้อมกับการเปิดตัว IBM GRAF (Global High-Resolution Atmospheric Forecasting) เมื่อปี 2562 ซึ่งเป็นโมเดลจำลองสภาพอากาศทั่วโลกที่มีการอัพเดตรายชั่วโมงเป็นครั้งแรก สามารถทำนายสิ่งที่มีขนาดเล็กอย่างพายุฝนฟ้าคะนองได้
• ความเป็นผู้นำด้านเรดาร์ระดับโลกอันเป็นผลมาจากการผสานข้อมูลและเทคโนโลยีเรดาร์ตรวจสภาพอากาศเอไอระดับใหญ่ที่สุดในโลก เพื่อให้สามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
• การประเมินสภาพอากาศทั้งในปัจจุบันและอนาคตได้แบบ on-demand ด้วยเทคโนโลยีที่เป็นกรรมสิทธิ์ของ The Weather Company
• ความก้าวล้ำในการผสานเนื้อหาด้านสภาพอากาศเข้ากับการปฏิสัมพันธ์ระหว่างเอไอและนักพยากรณ์มนุษย์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีกรรมสิทธิ์ ที่ถูกเรียกว่าการพยากรณ์แบบ “human over the loop”

ความแม่นยำในการพยากรณ์ เป็นข้อมูลเชิงลึกให้ธุรกิจ ประชาชน และนักการตลาด
The Weather Company เป็นผู้ให้บริการด้านสภาพอากาศชั้นนำของโลกivที่ส่งมอบข้อมูลพยากรณ์มากกว่า 25,000 ล้านรายการไปยังอุปกรณ์มากกว่าสองพันล้านชิ้นในแต่ละวัน โดย The Weather Channel ได้รับการจัดอันดับให้เป็นแบรนด์ผู้บริโภคที่น่าเชื่อถือที่สุดห้าอันดับแรกในสหรัฐอเมริกาvขณะที่แอพ The Weather Channel ก็ได้รับรางวัลแอพสภาพอากาศนานาชาติประจำปี 2563 ขององค์กรอุตุนิยมวิทยาโลกในด้านความมีประโยชน์ ความน่าเชื่อถือ และคุณภาพของข้อมูลvi

ความถูกต้องของการพยากรณ์ของกลุ่มผลิตภัณฑ์ด้านสภาพอากาศของไอบีเอ็มมีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยไม่เพียงช่วยให้ผู้บริโภคได้รับทราบข้อมูลที่แม่นยำ แต่ยังเป็นเครื่องมือเอไอให้กับนักการตลาดผ่านช่องทาง IBM Watson Advertising และเป็นข้อมูลที่ช่วยให้ลูกค้าในทุกอุตสาหกรรมสามารถเตรียมพร้อมและรับมือสภาพอากาศต่างๆ ได้

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ The Weather Company ซึ่งเป็นธุรกิจของไอบีเอ็ม สามารถดูได้ที่ https://newsroom.ibm.com/the-weather-companyสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับไอบีเอ็ม สามารถดูได้ที่ IBM.com


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

IBM และ SAP ช่วยสถาบันการเงินเร่งเครื่องสู่คลาวด์ เพื่อพลิกโฉมการดำเนินงานให้ทันสมัย ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย

กรุงเทพฯ​ ประเทศไทย – 3 สิงหาคม 2564: IBM (NYSE: IBM) และ SAP SE (NYSE: SAP) ประกาศถึงแผนที่ SAP เตรียมจะเปิดให้บริการโซลูชันการเงินและการจัดการข้อมูลสองรายการบน IBM Cloud for Financial Services เพื่อเร่งการใช้คลาวด์ภายในอุตสาหกรรมบริการทางการเงิน ความร่วมมือดังกล่าวได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยให้บริษัทต่างๆ รับมือกับข้อกำหนดของอุตสาหกรรมที่มีความเข้มงวด ทั้งในด้านการกำกับดูแล การรักษาความปลอดภัย รวมถึงความยืดหยุ่นฟื้นตัวได้เร็ว รวมถึงช่วยสนับสนุนองค์กรด้านบริการทางการเงินในการขับเคลื่อนดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันและนวัตกรรม

การที่ธนาคารและบริษัทประกันภัยจำเป็นต้องรักษาความสมดุลระหว่างการมอบบริการที่ก้าวล้ำ กับการดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกำหนดด้านการรักษาความปลอดภัยและการกำกับดูแลอันเข้มงวดของอุตสาหกรรม ทำให้สภาพแวดล้อมแบบไฮบริดคลาวด์ทวีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ IBM ได้เปิดตัว IBM Cloud for Financial Services ที่มาพร้อมระบบซิเคียวริตี้และการควบคุมการปฏิบัติตามกฎระเบียบแบบบิลด์อินในตัว เพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมในอุตสาหกรรมการเงิน พร้อมกับช่วยให้บริษัทลดความเสี่ยงและอุปสรรคด้านการกำกับดูแลที่ทำให้การทำ modernization ทรานส์ฟอร์เมชัน และการสร้างนวัตกรรม ไม่สามารถเดินหน้าได้อย่างเต็มที่

IBM Cloud for Financial Services ช่วยให้หน่วยงานด้านการบริการทางการเงินสามารถทำธุรกรรมกับพันธมิตรด้านเทคโนโลยีและฟินเทค ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ออกแบบมาเฉพาะและมีความปลอดภัยสูง การใช้งาน IBM Cloud for Financial Services จะทำให้ลูกค้าสามารถใช้งานโซลูชันของ SAP โดยมั่นใจได้ว่าการดำเนินการเป็นไปตามกฎข้อบังคับและมาตรฐานที่กำกับดูแลอยู่ โดยแพลตฟอร์มคลาวด์ที่ได้รับการสนับสนุนจากอีโคซิสเต็มของและฟินเทคมากกว่า 100 รายนี้ ได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยรับมือกับความเสี่ยงในซัพพลายเชนของสถาบันการเงิน และเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ใหม่ๆ เพื่อช่วยติดสปีดทรานส์ฟอร์เมชันให้กับองค์กรต่างๆ

“การก้าวสู่คลาวด์อย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแล อย่างอุตสาหกรรมบริการทางการเงิน นำสู่ความจำเป็นในการจัดการกับความท้าทายด้านการดำเนินงานและการปรับใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ” บ็อบ คัมมิงส์ Head of SAP Financial Services Sector กล่าว “การผนวกความสามารถของ IBM Cloud และ SAP จะช่วยให้ธนาคารและบริษัทประกันภัยทั่วโลกสามารถเร่งเดินหน้าสู่เส้นทางดิจิทัล และสเกลธุรกิจได้ทั่วโลก”

“การเพิ่มพันธมิตรใหม่ๆ อย่างเช่น SAP เข้าสู่อีโคซิสเต็มที่กำลังเติบโต ถือเป็นก้าวย่างที่ช่วยผลักดันให้เกิดการใช้คลาวด์ในอุตสาหกรรมมากขึ้น เพื่อช่วยลดความเสี่ยงตลอดทั้งซัพพลายเชน” โจเอล สปีธ กรรมการผู้จัดการ IBM Cloud for Industries กล่าว “เรากำลังช่วยสถาบันการเงินปรับเปลี่ยนการดำเนินงานให้ทันสมัยด้วยโซลูชัน SAP บน IBM Cloud for Financial Services ซึ่งจะเป็นการผลักดันนวัตกรรมและสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน”

SAP วางแผนให้บริการโซลูชันต่างๆ บน IBM Cloud for Financial Services ดังนี้

  • SAP’s intelligent suite รวมถึงโซลูชัน SAP S/4HANA®: SAP ให้บริการแอพพลิเคชันแบบบูรณาการ เทคโนโลยีอัจฉริยะ และแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้ธนาคารสามารถให้บริการลูกค้าปัจจุบันได้ดียิ่งขึ้น ภายใต้เฟรมเวิร์คองค์กรอัจฉริยะ
  • โซลูชันของ SAP สำหรับการจัดการข้อมูลเชิงกลยุทธ์ รวมถึงซอฟต์แวร์ SAP® Adaptive Server Enterprise และ SAP IQ: การรวมจุดเด่นของเทคโนโลยี in-memory กับโซลูชันเหล่านี้ จะช่วยให้ SAP สามารถนำเสนอแพลตฟอร์มข้อมูลที่แข็งแกร่งเพื่อช่วยเพิ่มความคล่องตัวให้ธุรกิจ

SAP และ IBM มีลูกค้าหลายร้อยรายและผลิตภัณฑ์กว่า 5,500 รายการร่วมกัน โดยทั้งสองบริษัทมุ่งเน้นที่การช่วยให้องค์กรปรับธุรกิจของตนให้ทันสมัย และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีก้าวล้ำให้มากที่สุด

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ IBM Cloud for Financial Services สามารถดูได้ที่ www.ibm.com/cloud/financial-services

ข้อความใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับทิศทางในอนาคตและเจตจำนงค์ของ IBM อาจมีการเปลี่ยนแปลงหรือเพิกถอนได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า และแสดงถึงเป้าหมายและวัตถุประสงค์เท่านั้น

เกี่ยวกับ SAP

กลยุทธ์ของ SAP คือการช่วยให้ทุกธุรกิจดำเนินงานในรูปแบบองค์กรอัจฉริยะ ในฐานะผู้นำตลาดในด้านแอพพลิเคชันซอฟต์แวร์สำหรับองค์กร เราช่วยบริษัททุกขนาดในอุตสาหกรรมให้ทำงานได้เต็มศักยภาพที่สุด โดย 77% ของรายได้จากธุรกรรมทั่วโลกมีการใช้งานผ่านระบบ SAP® เทคโนโลยีแมชชีนเลิร์นนิง อินเตอร์เน็ตอ็อฟธิงส์ (IoT) และการวิเคราะห์ขั้นสูงช่วยเปลี่ยนธุรกิจของลูกค้าให้เป็นองค์กรอัจฉริยะ SAP ช่วยให้บุคคลและองค์กรมีข้อมูลเชิงลึกทางธุรกิจ และส่งเสริมการทำงานร่วมกันเพื่อช่วยให้องค์กรก้าวนำในตลาด เราพัฒนาเทคโนโลยีให้ง่ายขึ้น เพื่อให้บริษัทต่างๆ สามารถใช้ซอฟต์แวร์ในแบบที่พวกเขาต้องการได้อย่างไม่มีสะดุด ชุดแอพพลิเคชันและบริการครบวงจรของเราช่วยให้ลูกค้าธุรกิจและลูกค้าทั่วไปใน 25 อุตสาหกรรมทั่วโลกสามารถดำเนินการได้อย่างมีผลกำไร ปรับตัวอย่างต่อเนื่อง และสร้างความแตกต่าง ด้วยเครือข่ายระดับโลกของลูกค้า พันธมิตร พนักงาน และผู้นำทางความคิด SAP ช่วยให้โลกทำงานได้ดีขึ้นและปรับปรุงชีวิตของคนให้ดียิ่งขึ้นสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ www.sap.com

ข้อมูลใดๆ ในข่าวนี้ที่ไม่ใช่ข้อเท็จจริงเชิงประวัติศาสตร์คือข้อความคาดการณ์อนาคตตามที่นิยามไว้ในกฎหมาย Private Securities Litigation Reform Act ปี 1995 ของสหรัฐอเมริกา ข้อความคาดการณ์อนาคตจะมีความเสี่ยงต่างๆ และความไม่แน่นอนที่หลากหลาย ตามที่ได้อธิบายไว้ในข้อมูลของ SAP ที่ให้ไว้ต่อ Securities and Exchange Commission (SEC) สหรัฐอเมริกา รวมถึงรายงานประจำปีล่าสุดในแบบฟอร์ม 20-F ซึ่งอาจทำให้ได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างจากความคาดหมาย SAP ขอเตือนผู้อ่านว่าไม่ควรเชื่อถือข้อความคาดการณ์อนาคตเหล่านี้มากเกินไป ซึ่ง SAP ไม่มีข้อผูกมัดในการอัพเดต และข้อมูลนี้เป็นข้อมูลของวันนี้เท่านั้น ชื่อผลิตภัณฑ์และบริการอื่นๆ ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัทที่เกี่ยวข้อง

SAP และผลิตภัณฑ์และบริการ SAP อื่นๆ ที่กล่าวถึงในที่นี้ รวมถึงตราสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องคือเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของ SAP SE ในเยอรมนีและประเทศอื่นๆ โปรดดูที่ https://www.sap.com/copyright สำหรับข้อมูลและคำประกาศเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าเพิ่มเติม


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

Amadeus ผนึก IBM Digital Health Pass เข้ากับเทคโนโลยีตรวจสอบความถูกต้องข้อมูลสุขภาพดิจิทัล

กรุงเทพฯ ประเทศไทย – 23 กรกฎาคม 2564: ไอบีเอ็ม (NYSE: IBM) และอะมาดิอุส (MCE: AMS) ประกาศถึงความร่วมมือในการรับมือกับความท้าทายที่บริษัทด้านการเดินทางท่องเที่ยวต้องเผชิญในปัจจุบัน ซึ่งก็คือการตรวจสอบและเช็คความถูกต้องของเอกสารด้านสุขภาพที่เกี่ยวกับโควิด-19 ของนักเดินทาง ณ จุดตรวจต่างๆ 

ภายใต้ความร่วมมือดังกล่าว จะมีการผนวกรวม IBM Digital Health Pass เข้ากับ Traveler ID for Safe Travel ซึ่งเป็นโซลูชันตรวจสอบข้อมูลความถูกต้องด้านสุขภาพดิจิทัลของอะมาดิอุส ทำให้สายการบินต่างๆ สามารถรวมเอกสารรับรองสุขภาพดิจิทัลต่างๆ เข้ากับระบบสำรองที่นั่งและจองที่ใช้อยู่ในปัจจุบันได้ และเปิดให้ผู้โดยสารของสายการบินมีทางเลือกในการสแกนหรืออัพโหลดเอกสารรับรองสุขภาพของตนได้ 

เมื่อผู้โดยสารผ่านกระบวนการออนไลน์เช็คอิน ระบบ Traveler ID for Safe Travel จะตรวจสอบคุณสมบัติที่ต้องมีตามกฎระเบียบของประเทศปลายทาง เมื่อถึงขั้นตอนนี้ ระบบจะเปิดให้ผู้โดยสารเลือกได้ว่าจะสร้างใบรับรองโควิด-19 แบบดิจิทัลที่มีความปลอดภัย โดยการสแกนจากเอกสารที่เป็นกระดาษ หรือจะเลือกอัพโหลดเอกสารดิจิทัลจากโทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์ 

จากนั้น ใบรับรองโควิด-19 แบบดิจิทัลเหล่านี้จะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องโดย IBM Digital Health Pass ที่ใช้เทคโนโลยีการเข้ารหัสและบล็อกเชนในการรับรองความถูกต้องของใบรับรองโควิด-19 แบบดิจิทัล กับอีโคซิสเต็มของห้องแล็บ ศูนย์ฉีดวัคซีน และผู้ให้บริการด้านเฮลธ์แคร์ทั่วโลก เมื่อเรียบร้อยแล้ว สายการบินจะได้รับการแจ้งสถานะเพื่อยืนยันว่าผู้โดยสารดังกล่าวพร้อมขึ้นครื่องบินได้ โดยวิธีการที่มีความปลอดภัยนี้จะช่วยปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของผู้โดยสาร เพราะเป็นการตรวจสอบว่าเงื่อนไขตามข้อกำหนดการเข้าประเทศนั้นๆ โดยที่สายการบิน ไอบีเอ็ม และอะมาดิอุส ไม่ได้จัดเก็บข้อมูลสุขภาพส่วนบุคคลใดๆ  

“ในวันที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังเริ่มเปิดรับนักท่องเที่ยวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ข้อกำหนดการเข้าประเทศก็ยังคงแตกต่างกันออกไปในแต่ละประเทศ ยังไม่นับความจำเป็นในการตรวจสอบเอกสารด้านสุขภาพที่เกี่ยวกับโควิด-19 ที่ทำให้เกิดความล่าช้าระหว่างการเดินทาง ทั้งต่อสายการบินและผู้ให้บริการอื่นๆ” นายเกร็ก แลนด์  Travel and Transportation Industry Lead ของไอบีเอ็ม กล่าว “การผนวกรวมระบบ IBM Digital Health Pass เข้ากับระบบ Traveler ID for Safe Travel ของอะมาดิอุส ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้สายการบินสามารถเพิ่มเทคโนโลยีแบบเปิดเหล่านี้เข้ากับโซลูชันดิจิทัลที่มีอยู่แล้วได้ ซึ่งจะช่วยให้ระบบความปลอดภัยของสายการบินเป็นไปตามข้อกำหนดการเข้าประเทศต่างๆ ขณะเดียวกันก็ช่วยให้ผู้โดยสารได้รับประสบการณ์ที่ราบรื่นไม่มีสะดุดด้วย”


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

IBM Watson Advertising เดินหน้าวิจัย ใช้ AI ตรวจจับและลดอคติงานโฆษณา

IBM Watson Advertising(NYSE: IBM) ประกาศถึงงานวิจัยใหม่ที่จะใช้เทคโนโลยีเอไอแบบโอเพนซอร์สที่พัฒนาโดยไอบีเอ็ม ในการสำรวจว่าอคติที่ไม่พึงประสงค์ในงานโฆษณามีมากเพียงใด พร้อมวางแนวทางเพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น

อุตสาหกรรมโฆษณากำลังอยู่ภายใต้การทรานส์ฟอร์มครั้งสำคัญ โดยการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบด้านความเป็นส่วนตัวและการเพิ่มความโปร่งใส เป็นปัจจัยที่ผลักดันให้เอไอกลายเป็นเทคโนโลยีหลักของอุตสาหกรรม ท่ามกลางช่วงเวลาของการรีแบรนด์ธุรกิจในก้าวย่างทรานส์ฟอร์เมชัน จึงเป็นจังหวะที่เหมาะสมอย่างยิ่งที่จะจัดการกับปัญหาอคติที่ไม่พึงประสงค์ในงานโฆษณา โดยผลการศึกษาของสถาบันจีนาเดวิสที่ศึกษาเรื่องเพศในสื่อเผยให้เห็นว่านักแสดงชายปรากฏอยู่ในโฆษณามากกว่านักแสดงหญิง 12%  และแม้ว่าวิดีโอที่มีนักแสดงหญิงเป็นฝ่ายนำและมีความสมดุลเท่าเทียมทางเพศจะมีจำนวนการเข้าชมมากกว่าวิดีโออื่นๆ ถึง 30% แต่ก็ยังแสดงให้เห็นถึงความจำเป็นในการมีเนื้อหาที่ครอบคลุมทุกเพศมากขึ้น

อคติที่ไม่พึงประสงค์ในโฆษณาอาจส่งผลเสียต่อผู้บริโภค ทำให้พลาดโอกาสทางเศรษฐกิจหรือรู้สึกว่าตกเป็นเป้าหมายตามภาพกำหนดที่สังคมวางไว้ ขณะเดียวกันยังส่งผลเสียต่อแบรนด์เพราะอาจนำสู่ผลลัพธ์การทำแคมเปญที่ไม่ดีนัก จุดมุ่งหมายการวิจัยของ IBM Watson Advertising คือการผลักดันให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นเกี่ยวกับปัจจัยที่นำสู่อคติที่ไม่พึงประสงค์ในงานโฆษณา และแนวทางที่เอไอจะสามารถช่วยได้ โดยศึกษาครอบคลุมกลุ่มผู้ชมต่างๆ รูปแบบการสื่อสารด้วยข้อความเชิงสร้างสรรค์ การเพิ่มประสิทธิภาพของแคมเปญ รวมถึงผลกระทบจากแคมเปญ ข้อมูลเหล่านี้จะทำให้นักการตลาดและไอทีเวนเดอร์สามารถพัฒนาโร้ดแม็ปนสำหรับการใช้งานเอไออย่างมีความรับผิดชอบ เพื่อลดอคติที่ไม่พึงประสงค์ รวมถึงสร้างสรรค์และลงมือทำแคมเปญต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

“เรากำลังอยู่ในช่วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์ ที่วาทกรรมที่ล่วงเลยมานานเกี่ยวกับความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจและสังคม กำลังโน้มนำวาระแห่งชาติและการดำเนินงานต่างๆ” บ๊อบ ลอร์ด รองประธานอาวุโสด้านเวิลด์ไวด์อีโคซิสเต็มของไอบีเอ็มกล่าว “ความหวังของเราคือการที่เอไอสามารถเป็นตัวเร่งการลดอคติที่ไม่พึงประสงค์ในงานโฆษณาได้ พร้อมกับช่วยพลิกโฉมอุตสาหกรรมโฆษณา สร้างยุคใหม่ที่ไม่มีคุกกี้ของบุคคลที่สามในหน้าเว็บไซต์ที่เราเยี่ยมชม การวิจัยครั้งนี้เป็นก้าวแรกที่สำคัญสู่เป้าหมายเหล่านั้น โดยวิทยาศาสตร์จะชี้ให้เห็นว่าเอไอสามารถสร้างแรงกระเพื่อมได้มากเพียงใด”

IBM Watson Advertising จะทำงานร่วมกับนักวิจัยจากสถาบันวิจัยไอบีเอ็ม เพื่อทำการศึกษานี้ร่วมกับ Ad Council รวมถึงองค์กรชั้นนำในอุตสาหกรรมและสถาบันการศึกษาต่างๆ  โดยกรอบการศึกษาครอบคลุมถึง
อัตราการเกิดอคติในโฆษณา– การศึกษาความแพร่หลายและความถี่ของอคติในแคมเปญโฆษณาต่างๆ ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลผลดำเนินการ ตัวอย่างเช่น การใช้ชุดเครื่องมือ AI Fairness 360 ซึ่งเป็นชุดเครื่องมือ AI แบบโอเพนซอร์สที่พัฒนาโดยไอบีเอ็ม และได้บริจาคให้กับ Linux Foundation เพื่อศึกษาว่ากลุ่มที่ได้รับการสื่อสารแคมเปญในอดีตและแคมเปญปัจจุบัน ถูกกำหนดให้เป็นเป้าหมายของเนื้อหาโฆษณานั้นๆ ได้อย่างไร และมีอคติปรากฎอยู่หรือไม่
บทบาทของสัญญาณต่อการเกิดอคติ– ความถี่ในการส่งสัญญาณ ซึ่งหมายถึงบริบทที่โฆษณานั้นๆ ได้รับการถ่ายทอด ส่งผลต่ออคติอย่างไร  ตัวอย่างเช่น หากข้อความโฆษณาที่ได้รับการพิจารณาว่าไม่มีอคติ แต่ได้รับการส่งผ่านช่องทางดิจิทัลที่มีสัญญาณความเอนเอียงอยู่ โฆษณานั้นอาจถูกมองว่ามีอคติ
ความสามารถของปัญญาประดิษฐ์อาจทำให้อคติลดลงเอไอสามารถระบุการมีอคติได้มากแค่ไหน และต้องทำอย่างไรจึงจะสามารถใช้ประโยชน์จากพลังของเอไอไดอย่างเต็มที่ เพื่อลดการเกิดอคติในงานโฆษณา

ข้อมูลจากโครงการศึกษาวัคซีนโควิด-19 ที่ชื่อ “It’s Up to You” ของ Ad Council จะถูกใช้ในการวิจัยเฟสแรก  โดยจะใช้ชุดเครื่องมือ AI Fairness 360 เพื่อตรวจสอบข้อมูลและพิจารณาว่ามีวิธีใดบ้างที่เอไอจะช่วยลดการเลือกปฏิบัติและอคติ

“อคติแบบกลุ่มเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมของเราในวงกว้างมาเนิ่นนานเกินไปแล้ว และสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องศึกษาจุดกำเนิดและผลกระทบต่างๆ เพื่อให้เราสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนำสู่ความก้าวหน้ายิ่งขึ้น” ลิซ่า เชอร์แมน ประธานและซีอีโอของ Ad Council กล่าว “Ad Council ภูมิใจที่ได้เป็นพันธมิตรภาคอุตสาหกรรมรายแรก จากอีกหลายๆ องค์กรที่กำลังทำงานร่วมกับไอบีเอ็ม เพื่อช่วยขับเคลื่อนภารกิจการวิจัยที่น่าสนใจนี้”

IBM Watson Advertising มีพันธกิจในการใช้เอไอเป็นตัวเร่งการพัฒนาโซลูชัน รวมถึงปรับปรุงบริการและความน่าเชื่อถือในอีโคซิสเต็มงานโฆษณา โดยต่อยอดจากความเป็นผู้นำของไอบีเอ็มในการทรานส์ฟอร์มธุรกิจในอุตสาหกรรมต่างๆ ด้วยเอไอ

IBM Watson Advertising วางแผนที่จะเผยแพร่ผลการวิจัยเบื้องต้นและข้อมูลอัพเดทหลังจากที่โครงการได้คืนหน้าไปแล้วในระดับหนึ่ง

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ IBM Watson Advertising ที่ https://www.ibm.com/watson-advertising

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับชุดเครื่องมือ AI Fairness 360 ได้ที่ https://ai-fairness-360.org/


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ไอบีเอ็มส่งออโตเมชันพลังเอไอช่วยบริหารจัดการเครือข่ายโทรคมนาคม เร่งการนำ 5G มาใช้ในวงกว้าง

ที่งาน Mobile World Congress 2021 ที่ผ่านมา ไอบีเอ็ม (NYSE:IBM) ได้เปิดตัวซอฟต์แวร์ไฮบริดคลาวด์ออโตเมชันพลังเอไอ (AI-powered) สำหรับผู้ให้บริการโทรคมนาคม (communications service provider หรือ CSP) เพื่อให้สามารถส่งมอบบริการก้าวล้ำให้กับลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว บนพื้นฐานของการปฏิบัติการแบบ zero-touch และต้นทุนที่ต่ำลง การใช้ IBM Cloud Pak for Network Automationช่วยให้ CSP สามารถให้บริการและบริหารจัดการเน็ตเวิร์คได้อย่างรวดเร็วไม่ว่าในสภาพแวดล้อมแบบใด ช่วยให้สามารถเปิดตัวบริการใหม่ๆ ได้ในไม่กี่วันแทนที่จะต้องใช้เวลาเป็นเดือน

CSP ถือเป็นกลจักรสำคัญของประชาชนและองค์กรทั่วโลก โดยเฉพาะในปัจจุบันที่เหตุไม่คาดคิดสามารถส่งผลกระทบอย่างมากต่อความต้องการใช้เน็ตเวิร์คและแพทเทิร์นของทราฟฟิค CSP ชั้นนำที่สำรวจโดยสถาบันการศึกษาคุณค่าทางธุรกิจของไอบีเอ็ม (IBV) มองว่าการส่งบริการใหม่ๆ ออกสู่ตลาดได้รวดเร็วขึ้นเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุดสำหรับต่อความสำเร็จของโครงการด้านออโตเมชัน [1]

“ท่ามกลางการแข่งขันที่ดุเดือด ผู้ให้บริการโทรคมนาคมจำนวนมากพยายามทรานส์ฟอร์มเน็ตเวิร์คให้เป็นแพลตฟอร์ม software-defined เพื่อให้สามารถสร้างคุณค่าจาก 5G และระบบประมวลผลแบบ edge ได้มากที่สุด แต่ข้อจำกัดด้านออโตเมชันและการขาดมุมมองครอบคลุมทุกเน็ตเวิร์คแบบเรียลไทม์กลายเป็นข้อจำกัดของการสร้างนวัตกรรมบริการใหม่ๆ ที่เร็วพอให้กับลูกค้า” นายแอนดรูว์ โควาร์ด กรรมการผู้จัดการ งาน Software Defined Networking ของไอบีเอ็ม กล่าว “ซอฟต์แวร์ Cloud Pak for Network Automation ใหม่ของไอบีเอ็ม ได้ใช้ออโตเมชันพลังเอไอเพื่อให้ตอบโจทย์ดีมานด์ที่กำลังเติบโตนี้ เพื่อให้ CSP สามารถเปิดบริการใหม่ๆ ในแบบ zero-touch ซึ่งจะช่วยให้การบริหารจัดการฟังก์ชันของเน็ตเวิร์คง่ายขึ้นไม่ว่าจะเป็นที่ศูนย์หลักหรือที่ edge

IBM Cloud Pak for Network Automation บน Red Hat OpenShift ที่ได้รับการออกแบบมาให้สามารถใช้งานได้บนสภาพแวดล้อมที่หลากหลายนี้ มาพร้อมกับฟีเจอร์ออโตเมชันพลังเอไอเต็มรูปแบบ เพื่อการเปิดใช้บริการ 5G และ edge ผ่านฟังก์ชันเน็ตเวิร์คแบบ multi-vendor software-based ที่สนับสนุนก้าวย่างสู่การปฏิบัติการแบบอัตโนมัติเต็มตัว โดยซอฟต์แวร์ดังกล่าวผสานเทคโนโลยีอนาไลติกส์ แมชชีนเลิร์นนิง และ AIOps ที่ก้าวล้ำ เพื่อช่วยให้ CSP สามารถเห็นแพทเทิร์นและเทรนด์ข้อมูลบนเน็ตเวิร์คที่ซ่อนอยู่ ทำให้สามารถปรับระบบปฏิบัติการและประสิทธิภาพให้เหมาะสมที่สุด โดยใช้คนเข้ามาเกี่ยวข้องน้อยที่สุด การผนวกเอา IBM Cloud Pak for Watson AIOps และโซลูชัน edge ที่รวมถึง IBM Edge Application Manager เข้ามาด้วย ช่วยให้ CSP สามารถออโตเมทการส่งมอบทรัพยากรไปยังจุดที่ต้องการได้อย่างฉับไว

IBM Cloud Pak for Network Automation ยังช่วยให้ CSP ได้รับประโยชน์อื่นๆ อาทิ
1. การทำโมเดล Network Lifecycle: ช่วยสร้างและออโตเมทโมเดลการวิเคราะห์เวนเดอร์ในฟังก์ชันเน็ตเวิร์คทั้งแบบฟิสิคัล เวอร์ชวล และคอนเทนเนอร์
2. การทำ Orchestration แบบ Intent-driven:การกำหนดโมเดลการปฏิบัติการของเน็ตเวิร์คในแบบที่ต้องการได้แบบอัตโนมัติ แทนที่จะเป็นการสร้างเวิร์คโฟลว์จากรูปแบบที่ได้กำหนดไว้ก่อนหน้าแล้ว
3.  การออกแบบและทดสอบบริการอัตโนมัติ: การออโตเมทบริการและทรัพยากรที่เกี่ยวเกี่ยวข้องทั้งหมดเพื่อรองรับสภาพแวดล้อมสำหรับการทดสอบ pre-production และโปรดัคชัน
4. มุมมองการทำงานเน็ตเวิร์คแบบเรียลไทม์: การเห็นภาพการทำงานของเน็ตเวิร์คและระบบคลาวด์ทั้งหมดแบบเรียลไทม์ ช่วยให้สามารถมอนิเตอร์เน็ตเวิร์คอัพไทม์ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และสามารถออโตเมทการแก้ปัญหาต่างๆ ได้เร็วขึ้น
5. การปฎิบัติการแบบ Closed-loop: การผนวก IBM Cloud Pak for Watson AIOps เข้ามา ทำให้ CSP สามารถทราบฟีดแบ็คทั้งลูป ในขณะที่ใช้การปฏิบัติการแบบ Zero-touch หรือ lights-out

IBM Cloud Pak for Network Automation ได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยให้วิศวกรเน็ตเวิร์คสามารถเปิดบริการแต่ละจุดได้ในเวลาเพียง 4-5 วัน ช่วยจัดระเบียบและผสานฟังก์ชันเน็ตเวิร์คนับร้อยพันรายการแบบเรียลไทม์ ไม่ว่าจะเป็นรายละเอียดชื่อโฮสต์ พอร์ทเซิร์ฟเวอร์ สถาปัตยกรรมของเน็ตเวิร์ค ผู้ใช้ แผน IP address เป็นต้น นำสู่บริการเน็ตเวิร์คแบบองค์รวม

ไอบีเอ็มยังวางแผนที่จะใช้ศักยภาพด้านอนาไลติกส์และการมอนิเตอร์ที่จำเป็นสำหรับการทำเน็ตเวิร์คเวอร์ชวลแบบออโตเมทของ Turbonomicที่ไอบีเอ็มได้เข้าซื้อกิจการเมื่อเร็วๆ นี้ โดยวางแผนจะให้บริการ IBM Cloud Pak for Network Automation ที่มาพร้อมกับการบริหารจัดการประสิทธิภาพของเน็ตเวิร์คจาก Turbonomic โดย Turbonomic มีความสามารถในการย่อยข้อมูลการวัดและส่งข้อมูลทางไกลปริมาณมหาศาล เพื่อประมวลออกมาเป็นมุมมองประสิทธิภาพและบริการเชิงลึกสำหรับการบริหารจัดการงานปฏิบัติการในแต่ละวัน การผนวกความสามารถดังกล่าวเข้ามาจะทำให้ลูกค้าสามารถใช้การวิเคราะห์เพื่อเข้าถึงเน็ตเวิร์คที่แนะนำได้

IBM Cloud Pak for Network Automation เป็นส่วนหนึ่งของ IBM Automation ซึ่งเป็นกลุ่มบริการออโตเมชันที่สนับสนุนโดยอีโคซิสเต็มพาร์ทเนอร์กว่า 30 ราย เพื่อช่วยให้องค์กรสามารถออโตเมทภาระงานซ้ำๆ ได้ด้วยตัวเอง เพื่อที่จะสามารถปรับโฟกัสไปยังงานที่เพิ่มคุณค่าให้กับองค์กรมากกว่า โดยการเปิดตัวในวันนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากการเปิดตัว IBM Watson Orchestrateเพื่อนำออโตเมชันพลังเอไอเข้าสนับสนุนบุคลากรในองค์กรธุรกิจ รวมถึงการเข้าซื้อกิจการ TurbonomicmyInvenioInstanaและ WDG Automationเพื่อสร้างพอร์ทโฟลิโอซอฟต์แวร์ออโตเมชันพลังเอไอแบบครบวงจร เพื่อทรานส์ฟอร์มกระบวนการทางธุรกิจและการปฏิบัติการด้านไอที

IBM Cloud Pak for Network Automation สร้างขึ้นบนRed Hat OpenShift®และสามารถรันบนสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย ซึ่งรวมถึงสภาพแวดล้อมแบบไฮบริดมัลติคลาวด์และมัลติเวนเดอร์ อีกทั้งยังสามารถบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานเน็ตเวิร์คของเวนเดอร์ที่หลากหลาย รวมถึงเน็ตเวิร์คแบบ edge ได้ ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ IBM Cloud Pak for Network Automation ได้ที่  https://www.ibm.com/cloud/cloud-pak-for-network-automation


 

Exit mobile version