Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

หัวเว่ยเดินหน้าเสริมทักษะด้านไอซีทีให้เด็กรุ่นใหม่ผ่านโครงการ Seeds For The Future

กรุงเทพฯ 8 พฤศจิกายน 2563 — บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด จัดโครงการประจำปี “Seeds For the Future 2020” ในกรุงเทพฯ เพื่อเปิดโอกาสให้นิสิตนักศึกษาที่มีความสามารถ ได้เพิ่มพูนทักษะด้านดิจิทัลผ่านโปรแกรมการฝึกอบรมภาคปฏิบัติกับผู้เชี่ยวชาญด้านไอซีที โดยปีนี้ได้คัดเลือกนิสิตนักศึกษาจำนวน 15 คนจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มาเข้าร่วมคอร์สการฝึกอบรมด้านไอซีที เป็นระยะเวลา 5 วัน ครอบคลุมเทคโนโลยี 5G, AI, อินเทอร์เน็ตออฟธิงส์, คลาวด์ และ Huawei Mobile Services (HMS)

โครงการ “Seeds For the Future” ริเริ่มขึ้นที่กรุงเทพมหานครในปี 2551 มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยบ่มเพาะเยาวชน เพื่อให้มั่นใจว่าเด็กรุ่นใหม่ที่มีความคุ้นเคยกับเทคโนโลยีดิจิทัลอยู่แล้วนั้น จะมีทักษะและทัศนคติที่จำเป็นสำหรับการแข่งขันในตลาดงานในอนาคตได้ โดยทุก ๆ ปีตลอด 10 กว่าปีที่ผ่านมา นิสิตนักศึกษามากความสามารถจำนวน 10 คน จะมีโอกาสไปศึกษาดูงานด้านไอซีทีที่ประเทศจีนเป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ร่วมกับนักศึกษาจากอีก 125 ประเทศทั่วโลก พร้อมเยี่ยมชมศูนย์การเรียนรู้และเทคโนโลยีล้ำสมัยของหัวเว่ยในเมืองเซินเจิ้นและปักกิ่ง

จากเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่นั้น กิจกรรมในปีนี้จึงมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบและจัดขึ้นที่สำนักงานใหญ่ของหัวเว่ยในประเทศไทย โดยกิจกรรมตลอดทั้งสัปดาห์ยังคงเข้มข้นด้วยเนื้อหาที่มีประโยชน์มากมาย อาทิ คอร์สอบรมความรู้ด้านไอซีทีที่ถ่ายทอดสดมาจากสำนักงานใหญ่ของหัวเว่ยในเซินเจิ้น เวิร์กช็อปเกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมจีน การเรียนในคลาสแบบออนไลน์และออฟไลน์ที่จัดขึ้นที่สำนักงานของหัวเว่ย การเข้าชมศูนย์ Thailand 5G Ecosystem Innovation Center (5G EIC) และศูนย์นวัตกรรมและการเรียนรู้ CSIC

ผู้เชี่ยวชาญด้าน 5G, คลาวด์, ปัญญาประดิษฐ์ (AI), อินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ และ HMS ยังได้ร่วมแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกของอุตสาหกรรมและประสบการณ์ส่วนตัวในการช่วยสนับสนุนประเทศไทยในการทรานสฟอร์มด้วยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีขั้นสูง รวมไปถึงทีมงานจากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) ภายใต้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้มามอบความรู้เกี่ยวกับบทบาทของเทคโนโลยีไอซีทีในการพัฒนาโซลูชันและบริการต่าง ๆ สำหรับธุรกิจอี-คอมเมิร์ซในประเทศไทย

โครงการเพื่อการบ่มเพาะทักษะดิจิทัลของหัวเว่ยนั้นมีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนประเทศตรงกับนโยบายกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนความมุ่งมั่นของหัวเว่ยในการช่วยเหลือสังคมไทย ในปีนี้ นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ให้เกียรติเป็นแขกในพิธีมอบประกาศนียบัตรพร้อมกล่าวว่า “กระทรวงดิจิทัลฯ เห็นว่าการพัฒนาทักษะด้านไอซีทีเป็นสิ่งจำเป็นต่อเศรษฐกิจดิจิทัลในปัจจุบัน โครงการฝึกอบรมภาคปฏิบัติจะช่วยเพิ่มพูนทักษะด้านไอซีทีและช่วยเปิดโลกทัศน์ให้แก่นักศึกษา พันธกิจระยะยาวของหัวเว่ยในการบ่มเพาะคนรุ่นใหม่และปลดล็อกโอกาสเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนนั้นสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงฯ ดิฉันขอขอบคุณบริษัทหัวเว่ยที่ได้ริเริ่มโครงการ Seeds for The Future และมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศให้ก้าวสู่ยุคดิจิทัล อันจะขับเคลื่อนประเทศสู่การเป็นประเทศไทย 4.0 ต่อไป”

“หัวเว่ยมีความภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาประเทศไทย ภายใต้พันธกิจ ‘Grow in Thailand, Contribute to Thailand’ เราจึงมุ่งมั่นสนับสนุนประเทศไทยให้เป็นฮับด้านดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เราพร้อมเดินหน้าสานต่อโครงการ Seeds for the Future ซึ่งจะช่วยให้เยาวชนที่มีความสามารถได้รับความรู้และ
ทักษะเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ช่วยปูทางสู่เส้นทางอาชีพที่มั่นคงต่อไป” นายอาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร หัวเว่ย ประเทศไทย กล่าวสุนทรพจน์ระหว่างพิธีปิดงาน

ในฐานะผู้ขับเคลื่อนการทรานสฟอร์มสู่ดิจิทัล หัวเว่ยได้ทุ่มทุนจำนวนมหาศาลไปกับการพัฒนาบุคลากรด้านไอซีทีและทุ่มเทสนับสนุนการพัฒนาอีโคซิสเต็มที่สมบูรณ์สำหรับอุตสาหกรรมไอซีทีในประเทศ ตลอดระยะเวลากว่าสองทศวรรษ บริษัทริเริ่มโครงการต่าง ๆ มากมายอย่างเช่น Seeds for the Future, การแข่งขันด้านไอซีที เพื่อส่งเสริมศักยภาพของเยาวชน เร่งลดช่องว่างระหว่างความรู้ที่เรียนในห้องเรียนและทักษะที่นำไปใช้ได้จริงในอุตสาหกรรม หัวเว่ยเดินหน้าจับมือกับหน่วยงานภาครัฐเพื่อร่วมขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืนแท้จริง


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

มจธ. จับมือ หัวเว่ย สร้างบุคลากร AI ป้อนตลาดแรงงานทักษะสูง พร้อมมอบอุปกรณ์ระบบคลาวด์เพื่อเสริมทัพการเรียนการสอน ภายใต้โครงการ Huawei ICT Academy

กรุงเทพฯ — เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2563 บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) เพื่อการพัฒนาและส่งเสริมทักษะความรู้ด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาและบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านไอซีทีในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเร่งป้อนแรงงานทักษะสูงเข้าตลาดแรงงาน ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีขั้นสูงมาขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในโลกยุคดิจิทัล โดยมี รศ. ดร. สุวิทย์ แซ่เตีย อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และ นายเจสัน เผิง รองประธานบริหาร กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้แทนในการลงนาม

บรรยายภาพ: รศ. ดร. สุวิทย์ แซ่เตีย อธิการบดี (กลางซ้าย) อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และ นายเจสัน เผิง (กลางขวา) รองประธานบริหาร กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ ว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรด้าน AI โดยมี ผศ. ดร. ประเสริฐ คันธมานนท์ (ที่ 2 จากซ้าย) รองอธิการบดีอาวุโสฝ่ายบริหาร, ผศ. ดร. มณฑิรา นพรัตน์ (ซ้ายสุด) รองอธิการบดีฝ่ายอุตสาหกรรมและภาคีความร่วมมือ, นายชูโกะ ลี (ที่ 2 จากขวา) ผู้อำนวยการกลุ่มธุรกิจคอมพิวเตอร์ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด และนายคมเดช เรืองเดชวรชัย (ขวาสุด) ผู้อำนวยการฝ่ายขายอุตสาหกรรมการศึกษา กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด พร้อมทั้งคณะผู้บริหารทั้งสองฝ่าย ร่วมเป็นสักขีพยานพิธีลงนาม

ภายใต้เอ็มโอยูดังกล่าว หัวเว่ยจะทำงานร่วมกับมจธ. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการเรียนการสอนด้าน AI ของนักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากรของมหาวิทยาลัย รวมถึงดำเนินโครงการวิจัยและพัฒนาร่วมกัน โดยมุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีอันล้ำสมัยอย่างปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในเชิงสร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ต่อสังคม ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรและสร้างรากฐานทักษะและองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีขั้นสูง เตรียมความพร้อมให้นักศึกษาสามารถนำทักษะที่ได้ฝึกฝนผ่านโครงการไปใช้ในการทำงานจริงในอนาคต ตอบสนองความต้องการแรงงานทักษะสูงในตลาดเกิดใหม่ เพื่อเร่งให้เกิดนวัตกรรมและส่งเสริมการใช้ AI อย่างแพร่หลายในประเทศไทย

นอกจากนี้ ภายหลังพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ นายเจสัน เผิง ยังได้ส่งมอบอุปกรณ์ระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง (Huawei Cloud Computing Lab Equipment) เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย ภายใต้โครงการ Huawei ICT Academy โดยมี รศ. ดร.สุวิทย์ แซ่เตีย ให้เกียรติเป็นผู้รับมอบอุปกรณ์ดังกล่าว


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

“หัวเว่ย เทคโนโลยี่” ลุยอบรมการค้ายุคดิจิทัล ให้ SMEs และเด็กไทย GenZ เป็น CEO

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ โดยสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ (NEA) และ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จํากัด ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านวิชาการ (MOU) ในการร่วมมือพัฒนาหลักสูตรด้านดิจิทัล ช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจภาคธุรกิจ โดยมีนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และ นายอาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมเป็นสักขีพยานพุธที่ 28 ตุลาคม 2563 ณ อาคาร จี ทาวเวอร์ ชั้น 39 กรุงเทพมหานคร

นายจุรินทร์ กล่าวขอบคุณบริษัทหัวเว่ย ที่ได้ให้เกียรติกับกระทรวงพาณิชย์ในการลงนามทำ MOU ร่วมกันในการจัดให้มีหลักสูตรให้ความรู้ด้านดิจิทัลเทคโนโลยีแก่ SMEs และผู้ที่สนใจขึ้นในประเทศไทย เพื่อส่งเสริมให้ประเทศไทยสามารถที่จะมีตัวเลขทางการค้าเพิ่มขึ้นต่อไปในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบอีคอมเมิร์ซ ความสำคัญของการลงนาม MOU สอดคล้องกับสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไป และประเทศไทยก็มีความจำเป็นที่จะต้องก้าวให้ทันโลก และต้องพร้อมที่จะก้าวไปกับโลกที่เดินหน้าไปอย่างรวดเร็ว เพราะโลกยุคปัจจุบันกับสถานการณ์โควิดที่เกิดขึ้นทั่วโลก ส่งผลให้มีความจำเป็นที่จะต้องนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วและทวีความสำคัญยิ่งขึ้น ใครตามเทคโนโลยีไม่ทันก็จะถูกทิ้งไว้ข้างหลัง และใครสามารถพัฒนาเทคโนโลยีให้มีความก้าวหน้าและใช้ให้เกิดประโยชน์ก็จะเป็นผู้ได้เปรียบในเวที ไม่เฉพาะเศรษฐกิจ แม้แต่วิถีการเมืองและวิถีสังคมโลกก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือภาคเอกชน

นายอาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด เผย“หัวเว่ยรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้ผนึกกำลังร่วมกับสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ เพื่อร่วมกันพัฒนาหลักสูตรด้านเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับผู้ประกอบธุรกิจและกลุ่มสตาร์ทอัพ ความร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์ในครั้งนี้สอดคล้องกับพันธกิจระยะยาวของเราในการช่วยประเทศไทยขับเคลื่อนไปสู่การเป็น “ประเทศไทย 4.0” ผ่านการทรานสฟอร์มด้านดิจิทัล ด้วยความเชี่ยวชาญของเราในการพัฒนาหลักสูตรด้านเทคโนโลยีชั้นนำของอุตสาหกรรม ที่ครอบคลุมเทคโนโลยีด้านไอซีทีแบบครบวงจร เราเชื่อมั่นว่า ความรู้และทักษะที่เรานำมาแบ่งปันให้กับทุกคน จะสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันให้แก่ธุรกิจ SME สตาร์ทอัพ และบุคคลทั่วไปที่เข้าร่วมอบรมกับเรา ผู้ที่จบหลักสูตรนี้จะได้เรียนรู้ทักษะดิจิทัลที่สำคัญและช่วยให้พวกเขาสามารถคว้าโอกาสใหม่ ๆ ในยุคดิจิทัลได้”

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของเทคโนโลยีดิจิทัลที่จะเข้ามาเป็นกุญแจสำคัญ เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการประสบความสำเร็จในการทำการค้าทั้งในและต่างประเทศ จึงได้เสาะหาพันธมิตรที่มีศักยภาพและมีความเชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยีเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ซึ่งภายใต้บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ ประเทศไทย จำกัด มีสถานฝึกวิชาชีพ หัวเว่ย อาเซียน อะคาเดมี่ (Huawei ASEAN Academy) ที่มีหลักสูตรฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีดิจิทัลมากกว่า 3,000 หลักสูตร โดยจะนําหลักสูตรที่มุ่งเน้นความรู้ในด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology) มาใช้ร่วมกับการฝึกอบรมของสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ หรือ NEA นำร่องด้วยหลักสูตร “SMEs ตามทันเทคโนโลยีดิจิทัล” (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) ให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) บุคลากรรุ่นใหม่ (Gen-Z) ธุรกิจที่เกิดขึ้นใหม่ (Start Up) รวมถึงผู้สนใจทั่วไปและผู้บริหารของทั้งภาครัฐและเอกชน

นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า กระทรวงพาณิชย์มีความเห็นว่าอย่างน้อยเทคโนโลยีที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างสูงในการพัฒนาธุรกิจภาคเอกชนของประเทศ อย่างน้อยควรจะประกอบด้วยเทคโนโลยี 5G ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งในอาเซียนที่เริ่มต้นได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนั้น IoT (Internet of Things) ก็มีความสำคัญอย่างยิ่ง มีบทบาทมาระยะหนึ่งแล้ว และจะต้องมีการพัฒนาไปอีกระดับหนึ่ง ขอให้พวกเราตามทัน เพราะหัวเว่ยไปเร็วมาก รวมทั้งระบบคลาวด์ก็จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยเก็บข้อมูลและบริหารจัดการข้อมูล เพื่อนำมาใช้ได้อย่างรวดเร็วแม่นยำทุกที่ทุกเวลา อย่างน้อย 3 ตัวนี้เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ สำหรับภาคธุรกิจในประเทศไทย SMEs มีความสำคัญอย่างยิ่ง ปัจจุบันนี้ SMEs ถือว่าเป็นธุรกิจฐานรากที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต และจะทวีความสำคัญยิ่งขึ้นไปเช่นเดียวกับหลายประเทศในโลก

ประเทศไทยมี SMEs กว่า 2-3 ล้านราย นโยบายของกระทรวงพาณิชย์ไม่ใช่แค่มุ่งพัฒนา SMEs ให้สามารถนำดิจิทัลเทคโนโลยีมาใช้เพื่อประกอบธุรกิจให้ทันโลกเท่านั้น แต่เรายังมีความเห็นเพิ่มเติมว่าเด็กรุ่นใหม่ โดยเฉพาะคนที่กำลังเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัยหรือกำลังจะเรียนจบในระดับมหาวิทยาลัยที่จะก้าวเข้าสู่วงการธุรกิจต่อไปในอนาคต จะเป็นอีกหนึ่งกลุ่มสำคัญที่จะต้องได้รับการพัฒนาหรือเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีเพื่อเตรียมตัวเป็น CEO ต่อไปในอนาคต เพราะฉะนั้นนอกจากนโยบายของกระทรวงพาณิชย์ ในการพัฒนา SMEs ให้สามารถใช้เทคโนโลยีด้านดิจิทัลได้อย่างคล่องตัว เด็กรุ่นใหม่ก็จะต้องได้รับการเตรียมการเช่นเดียวกัน ตามโครงการที่กระทรวงพาณิชย์ได้ริเริ่มขึ้นโดย NEA หรือสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เช่น การปั้น Gen Z ให้เป็น CEO หรือโครงการ CEO Gen Z ซึ่งได้กำหนดเป้าหมายไว้ชัดเจนว่าภายในหนึ่งปีจะปั้นให้เกิดขึ้นในประเทศไทยไม่น้อยกว่า 12,000 ราย ได้ริเริ่มไปแล้วระยะหนึ่งโดยได้รวบรวมนักศึกษาที่ให้ความสนใจในมหาวิทยาลัยภาคเหนือ 7 แห่งมารวมกัน แล้วจัดอบรมให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซทำการค้าออนไลน์ ให้ความรู้เรื่องเทคโนโลยีดิจิทัล ถัดจากนี้ไปก็จะไปทำในภาคใต้มหาวิทยาลัยทุกแห่งที่สนใจ และไปทำกับภาคอีสาน ภาคกลาง ในกรุงเทพมหานครและจะเปิดโอกาสให้มหาวิทยาลัยทำ MOU กับกระทรวงพาณิชย์ในการจัดให้มีการโอนหน่วยกิต ถ้ามาอบรม CEO Gen Z หลักสูตรนี้ของกระทรวงพาณิชย์จะได้รับหน่วยกิตสำหรับการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยไปด้วย ถือว่าเป็นความก้าวหน้า และเชื่อว่าภายในหนึ่งปี 12,000 คนนี้จะเป็นทัพคนรุ่นใหม่ที่จะเป็นกำลังสำคัญให้กับประเทศในการเพิ่มมูลค่าการค้า

ส่วนการฝึกอบรม SMEs ที่เราทำในวันนี้ได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่า จะอบรม SMEs ให้ได้ถึง 1,000 ราย โดยการอบรม 3 วันที่ผ่านมาทำได้ 250 ราย ประเทศไทยจะได้รับประโยชน์จากการพัฒนา SMEs ซึ่งจะเป็นฐานกำลังในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของประเทศต่อไปในยุค New Normal ที่สะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยเราจับมือกันพลิกโควิดให้เป็นโอกาสได้ทั้งในวันนี้และวันข้างหน้า

นอกจากนี้ สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ (NEA) และ Huawei ASEAN Academy ได้เตรียมจัดการอบรมให้ความรู้ในด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology) ขึ้นอีกในอนาคต สำหรับผู้ประกอบการและผู้ที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียดกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะจัดขึ้นได้ทาง https://www.facebook.com/familyditp, https://www.facebook.com/nea.ditp/, https://www.facebook.com/HuaweiTechTH/ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร 092-259-0953 หรือ https://nea.ditp.go.th/


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ก.แรงงาน จับมือหัวเว่ย สร้างแรงงานดิจิทัล สู่การขับเคลื่อนประเทศยุค 4.0

วันที่ 22 ตุลาคม 2563 ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการพัฒนาฝีมือแรงงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ระหว่าง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กับ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะฝีมือสูงขึ้น ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน รวมทั้งแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่มีความรู้ ความสามารถและทักษะในการปฏิบัติงานด้านดิจิทัล รองรับการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจในอนาคต และประเทศไทย 4.0 โดยมีนายชาคริตย์ เดชา รองอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และนายไบรอัน หลิว รองกรรมการผู้จัดการบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้ลงนาม มีนายอาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร ของหัวเว่ย ประเทศไทย และผู้บริหารกระทรวงแรงงาน เข้าร่วมพิธีฯ ณ อาคาร จีทาวเวอร์ ชั้น 39 กรุงเทพมหานคร

ศาสตราจารย์ นฤมล กล่าวว่า รัฐบาลโดยการนำของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ตระหนักถึงความจำเป็นในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาเป็นองค์ประกอบสำคัญในการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ สู่การเป็นประเทศไทย 4.0 เพื่อสร้างระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม และให้ความสำคัญการพัฒนากำลังคนให้มีความพร้อมรองรับการเข้าสู่ยุคดิจิทัล เพื่อให้เกิดการจ้างงานในธุรกิจใหม่ สอดคล้องกับภารกิจหลักของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน ในการพัฒนาและยกระดับฝีมือให้แก่กำลังแรงงานให้มีความรู้และทักษะฝีมือที่สูงขึ้น สอดคล้องกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ การลงนามความร่วมมือของทั้ง 2 หน่วยงาน มีเป้าหมายในการบูรณาการภารกิจ เพื่อร่วมกันพัฒนาบุคลากรฝึกของ กพร. นำไปขยายผลให้ความรู้แก่แรงงานในแต่ละพื้นที่ต่อไป

นายอาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร ของหัวเว่ย ประเทศไทย กล่าวว่า ตลอดระยะเวลาสามปีข้างหน้า จะร่วมกันสร้างโอกาสการเรียนรู้และจัดการฝึกอบรมที่เน้นการพัฒนาทักษะแรงงาน รวมไปถึงการสร้างทักษะใหม่ที่จำเป็นในการทำงาน (ReSkill) และการยกระดับทักษะเดิมให้ดียิ่งขึ้น (UpSkill) เพื่อให้มั่นใจว่าประเทศไทยจะพร้อมตอบโจทย์ความต้องการของตลาดแรงงาน ช่วยลดอัตราการว่างงาน เพิ่มรายได้แรงงานไทย และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรให้ดีขึ้น พัฒนาด้านดิจิทัลให้แข็งแกร่ง เพิ่มจำนวนแรงงานที่มีทักษะสูงให้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve) ที่ได้รับการสนับสนุนภายใต้นโยบายประเทศไทย 4.0

“เราเชื่อมั่นว่าแรงงานที่แข็งแกร่งและมีทักษะสูง โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมไอซีที จะเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวไปสู่ยุคดิจิทัลได้สำเร็จ หัวเว่ยรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยในช่วงการเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญ และช่วยพัฒนาศักยภาพของประเทศไทยในการเป็นดิจิทัลฮับของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น” นายเติ้ง กล่าว

ในวันนี้ ยังได้จัดพิธีมอบวุฒิบัตรให้แก่ผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมอาชีพเสริม สาขาการติดตั้งระบบส่งสัญญาณโทรคมนาคมในระบบ 4G และ 5G รุ่นแรก ที่ได้ผ่านการฝึกอบรมเป็นเวลา 18 ชั่วโมง ระหว่างวันที่ 19-21 ตุลาคม ที่ผ่านมา การจัดฝึกอบรมดังกล่าว เป็นหนึ่งในโครงการนำร่องภายใต้ความร่วมมือนี้ ตั้งเป้าที่จะฝึกอบรมให้แก่ผู้ที่สนใจ จำนวน 300 คน ภายในระยะเวลา 3 ปี โดยครอบคลุมหัวข้อหลัก ๆ อาทิ เครือข่าย 4G และ 5G รวมไปถึงการลงพื้นที่จริง ณ สถานีฐาน (Base Station) อีกด้วย

นอกจากนี้ ยังตั้งเป้าฝึกอบรมให้กับบุคลากรฝึกของกรม จำนวน 120 คน และฝึกอบรมออนไลน์ให้แก่บุคคลทั่วไปจำนวน 3,000 คน ซึ่งภายหลังการฝึกอบรมครบตามข้อกำหนด ผู้จบหลักสูตรจะได้รับวุฒิบัตรรับรองทักษะความรู้ที่สามารถนำไปเป็นหลักฐานในการ สมัครงานและยกระดับการประกอบอาชีพในอนาคต

“ขอขอบคุณหัวเว่ย ที่ได้มาผนึกกำลังกับภาครัฐในวันนี้ ทั้งสองฝ่าย นับว่ามีเป้าหมายร่วมกัน เพื่อพัฒนาบุคลากรของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน นำไปขยายผลและจัดโครงการให้ความรู้แก่แรงงานในแต่ละพื้นที่ต่อไป เรามุ่งมั่นที่จะกระตุ้นทั้งเศรษฐกิจและสังคมให้มีการเติบโตอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน พร้อม ๆ ไปกับการขับเคลื่อนประเทศให้ก้าวสู่การเป็นประเทศไทย 4.0” รมช.แรงงาน กล่าวในท้ายสุด


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

หัวเว่ย ประเทศไทย ประกาศสร้างงานและลงทุนด้านการพัฒนาไอซีที เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาการว่างงาน

ในงาน Job Expo Thailand 2020 บริษัทเทคยักษ์ใหญ่ตอกย้ำพันธกิจในการช่วยประเทศไทยรับมือปัญหาการว่างงาน ผลพวงจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และสภาพเศรษฐกิจที่ซบเซา

กรุงเทพฯ/ 28 กันยายน 2563 – บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารชั้นนำ ประกาศพร้อมสนับสนุนภารกิจของประเทศไทยในการสร้างงานให้แก่นักศึกษาจบใหม่ และผู้ถูกเลิกจ้างงานในภาคส่วนต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เพื่อช่วยขับเคลื่อนนโยบายการสร้างงานในระยะยาวของกระทรวงแรงงาน หัวเว่ยได้เข้าร่วมงาน Job Expo Thailand 2020 มหกรรมการจัดหางานครั้งยิ่งใหญ่ ระหว่างวันที่ 26-28 กันยายน 2563 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา นำเสนอโอกาสในการทำงานและสร้างอาชีพที่มั่นคงแก่ผู้ที่กำลังหางาน ผ่านขั้นตอนการสมัครที่สะดวกและรวดเร็ว

นายเอเบล เติ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของหัวเว่ย ประเทศไทย

ที่บูธขนาด 60 ตารางเมตรของหัวเว่ย นายอาเบล เติ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของหัวเว่ย ประเทศไทย ได้มีโอกาสต้อนรับพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมด้วย พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี, นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ, นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ศาสตราจารย์นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน และนายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในระหว่างการเยี่ยมชมบูธต่างๆ

โดยในงานมหกรรมดังกล่าวที่จัดขึ้นโดยกระทรวงแรงงาน หัวเว่ยประกาศเปิดรับสมัครตำแหน่งงานจำนวนมากทั้งพนักงานแบบฟูลไทม์ และนักศึกษาฝึกงานที่แบบมีค่าตอบแทน ครอบคลุมสายงานในหลายส่วน อาทิ วิศวกรไอที/คลาวด์ การบริหารจัดการอีโคซิสเต็ม 5G การตลาด การขาย ทรัพยากรบุคคล การเงิน และประชาสัมพันธ์ ทั้งนี้หัวเว่ยประกาศว่าในปีนี้บริษัทตั้งเป้ารับสมัครนิสิตนักศึกษาจบใหม่เป็นจำนวนมากเพื่อมอบโอกาสการทำงานในช่วงเวลาที่ท้าทายสำหรับนักศึกษาจบใหม่

ในงาน Job Expo ที่จัดขึ้นเป็นเวลา 3 วัน ณ ไบเทคบางนา มีตำแหน่งงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ จากหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน จำนวนกว่า 1,000,000 อัตรา สำหรับผู้ที่พลาดงานดังกล่าว ยังสามารถค้นหาตำแหน่งงานของบริษัท หัวเว่ย ประเทศไทย ที่ยังเปิดรับอยู่ได้ผ่านช่องทางออนไลน์ที่เว็บไซต์: ไทยมีงานทำ.com

แม้ประเทศไทยจะต้องเผชิญกับปัญหาความท้าทายต่าง ๆ จากโรคโควิด-19 หัวเว่ยยังย้ำว่า อุตสาหกรรมไอซีทีของประเทศไทยยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก “ทีมในประเทศไทยของเราเติบโตขึ้นทุก ๆ ปี โดยจากข้อมูล ณ เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา บริษัทของเรามีการรับพนักงานจบใหม่เพิ่มมากขึ้นถึงร้อยละ 36 เมื่อเทียบกับปีก่อน” นายเอเบล เติ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของหัวเว่ย ประเทศไทย เผย “เรามุ่งหวังที่จะช่วยรัฐสร้างงานสร้างอาชีพให้มากขึ้นจากการเปิดบูธที่งาน Job Expo ในปีนี้ การสมัครงานผ่านขั้นตอนที่สะดวกรวดเร็วจะช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้เร็วขึ้นหลังสถานการณ์โรคระบาดเริ่มคลี่คลาย เราพร้อมต้อนรับทั้งคนที่เพิ่งจบการศึกษาและผู้ที่มีประสบการณ์ มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของทีม สานต่อพันธกิจระยะยาวในการช่วยคนไทยขับเคลื่อนการทรานสฟอร์มด้านดิจิทัลของประเทศ” เขากล่าวเสริม

ปี 2562 ที่ผ่านมา หัวเว่ย ประเทศไทย ได้ฉลองครบรอบ 20 ปีของการดำเนินธุรกิจในประเทศ บริษัทเป็นผู้นำระดับโลกด้านเทคโนโลยี 5G ที่มอบความเร็วในการเชื่อมต่อในระดับอัลตร้า เป็นตัวเร่งการใช้งานระบบอัตโนมัติที่ขับเคลื่อนด้วย AI ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ อาทิ ด้านการดูแลรักษาสุขภาพ อุตสาหกรรมการผลิต โทรคมนาคม และอีกมากมาย นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้ร่วมกับกระทรวงแรงงานสนับสนุนการสร้างทักษะใหม่ (ReSkill) และพัฒนายกระดับทักษะเดิมของแรงงานให้ดีขึ้น (UpSkill) รวมถึงได้มีการทุ่มทุนจำนวนมหาศาลในโครงการพัฒนาบุคลากรด้านไอซีทีเพื่อช่วยประเทศไทยสร้างบุคลากรที่มีทักษะสูงป้อนเข้าสู่ตลาด นอกจากนี้ โครงการ หัวเว่ย อะแคเดมี่ ประเทศไทย ซึ่งได้จับมือร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำต่าง ๆ ที่เตรียมจะเปิดตัวในเดือนพฤศจิกายนนี้ จะช่วยบ่มเพาะบุคลากรด้านไอซีทีผ่านโครงการฝึกอบรมและการรับรองมาตรฐานวิชาชีพด้านไอซีที ประกาศนียบัตรชั้นนำในอุตสาหกรรมนี้จะเป็นใบเบิกทางด้านอาชีพในอนาคตให้แก่นักศึกษา เนื่องจากบริษัทเทคโนโลยีต่าง ๆ มองหาผู้สมัครที่มีความรู้ความสามารถที่นำมาปรับใช้ได้จริง

“ในช่วงที่ยากลำบาก ทุกภาคส่วนต้องทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อหาทางออกที่ยั่งยืนต่อปัญหาที่เกิดขึ้น เราหวังว่าธุรกิจทุกภาคส่วนจะกลับมาฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วระหว่างที่วิกฤตเศรษฐกิจกำลังค่อยๆ คลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น ในระหว่างนี้ หัวเว่ย ตระหนักดีถึงหน้าที่รับผิดชอบต่อสังคมในการช่วยพัฒนาบุคลากร เพื่อสร้างอีโคซิสเต็มดิจิทัลที่สมบูรณ์ ผ่านการผนึกกำลังกับรัฐบาลไทย ผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคม และมหาวิทยาลัยมากมาย” ซีอีโอหัวเว่ย กล่าวทิ้งท้าย


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

หัวเว่ยเปิดตัวโครงการประกาศนียบัตรด้านไอซีที ระดับเอเชียแปซิฟิก ประจำปี 2020 เร่งพัฒนาอีโคซิสเต็มด้านบุคลากรไอซีที

กรุงเทพฯ/ 23 กันยายน 2563 – บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ส์ จำกัด ผู้จัดหาเทคโนโลยีไอซีทีชั้นนำของโลกเดินหน้าเปิดตัวโครงการประกาศนียบัตรมาตรฐานวิชาชีพด้านไอซีที ระดับเอเชียแปซิฟิก ประจำปี 2020 (Huawei Asia Pacific ICT Certification Program 2020) เพื่อฝึกอบรมนิสิตนักศึกษาและบุคลากรด้านไอซีทีทั่วทั้งภูมิภาค แม้ว่าจะมีความท้าทายหลากหลายจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โครงการฝึกอบรมฟรีนี้เปิดรับนักศึกษาและบุคลากรด้านไอซีทีที่ได้เข้าร่วมหรือวางแผนที่จะเข้าร่วมโครงการหัวเว่ย อะแคเดมี่ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ผู้เข้าร่วมที่ผ่านเกณฑ์จะมีโอกาสคว้ารางวัลใหญ่ ซึ่งรวมถึงสมาร์ทโฟน Huawei P40 และแล็ปท็อป Huawei Matebook Pro

เพื่อให้เป็นไปตามพันธกิจระดับโลกของบริษัทในการสนับสนุนการพัฒนาแรงงานด้านไอซีที หัวเว่ยได้เปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรมาตรฐานวิชาชีพชั้นนำของอุตสาหกรรมขึ้นมาในชื่อว่า “Huawei Certification” โดยเป็นประกาศนียบัตรมาตรฐานด้านเทคนิคที่ครอบคลุมการสอบรับรองความรู้ถึง 100 หัวข้อ และสาขาเทคนิค 22 สาขา ซึ่งออกแบบมาเพื่อส่งเสริมเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองผ่านคอร์สด้านเทคโนโลยีออนไลน์มาตรฐานมากมาย

คอร์สและประกาศนียบัตรต่าง ๆ ของหัวเว่ยครอบคลุมสาขาเทคนิคสำคัญทั้งหมดของอุตสาหกรรมไอซีที อาทิ บิ๊กดาต้า, คลาวด์คอมพิวติ้ง, LTE, 5G, การเงิน เป็นต้น ผู้เข้าร่วมโครงการจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ผ่านการทดสอบในเวลาอันรวดเร็วที่สุดของแต่ละระดับจะมีโอกาสได้รับรางวัลเป็นผลิตภัณฑ์สุดพรีเมียมจากหัวเว่ย

โครงการปีนี้เปิดให้ลงทะเบียนได้ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2563 ซึ่งขณะนี้มีผู้สมัครเข้าร่วมแล้วถึง 1,885 คนจากทั่วทั้งภูมิภาค และคาดว่าในราวปี 2566 หัวเว่ยจะสามารถป้อนแรงงานที่ผ่านการฝึกอบรมเข้าสู่อุตสาหกรรมไอซีทีได้กว่า 700,000 คนทั่วโลก

ภายใต้ยุทธศาสตร์ระยะยาวในการสร้างระบบนิเวศด้านบุคลากรไอซีทีอันยั่งยืน หัวเว่ยมุ่งมั่นพัฒนาโปรแกรมการเรียนการสอนด้านไอซีทีนี้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งรวมถึงการจัดการแข่งขัน Huawei ICT Competition, หัวเว่ย อะเคเดมี่ และโครงการ Learn ON ของหัวเว่ย ท่ามกลางวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า 2019 การแข่งขัน Huawei ICT Competition ประจำปี 2020 มีนักศึกษากว่า 150,000 คน จากสถาบันระดับอุดมศึกษากว่า 2,000 แห่งใน 70 ประเทศทั่วโลกเข้าร่วมโครงการ โดยการแข่งขันระดับภูมิภาคและรอบชิงชนะเลิศระดับโลกปีนี้จะมีขึ้นในวันที่ 18 ตุลาคม และ 30 ตุลาคม นี้ ตามลำดับ

แม้จะมีความไม่แน่นอนจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 หัวเว่ยยังเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าว่าการเรียนรู้ไม่เคยหยุดนิ่ง ปีนี้ โครงการหัวเว่ย อะแคเดมี่ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาและองค์กร โดยดึงเอาสถาบันการศึกษาและองค์กรชั้นนำในระดับอุตสาหกรรมมาร่วมโครงการ ได้ต้อนรับพันธมิตรใหม่จากสถาบันการศึกษาขั้นสูงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเพิ่มอีก 78 แห่ง ทำให้ในปัจจุบันมีจำนวนพันธมิตรทั้งสิ้น 134 แห่งแล้ว และเพื่อรับมือกับการปิดโรงเรียนเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 บริษัทได้จัดทำแพลตฟอร์มการเรียนการสอนแบบออนไลน์ขึ้นภายใต้ชื่อโปรแกรม Learn ON ทั้งสำหรับผู้สอนและนักศึกษา

โดยแพลตฟอร์มเปิดนี้จะมีทรัพยากรคุณภาพสูงและคลาสเรียนต่างๆ เพื่อให้สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง รวมถึงการพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนร่วมชั้นและผู้ฝึกอบรมได้ผ่านวิดีโอแชทสด

หัวเว่ยจะยังคงทุ่มเทเพื่อพัฒนาแรงงานทักษะสูงอย่างรอบด้านเพื่อสร้างโลกอัจฉริยะที่เชื่อมโยงถึงกันอย่างเต็มรูปแบบ สำหรับวิธีการเข้าร่วมโครงการประกาศนียบัตรมาตรฐานวิชาชีพด้านไอซีทีของหัวเว่ย ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ประจำปี 2020 สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://e.huawei.com/en/talent/#/news/details?consultationId=717


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

แอคเซสพอยต์อัจฉริยะตัว Top จากหัวเว่ย ผสานเทคโนโลยี 5G เชื่อมต่อไร้สายเต็มสปีด

สัมผัสความเร็วไร้สายในระดับ 10.75 Gbps เสมือนใช้สายไฟเบอร์ ด้วยผลิตภัณฑ์แอคเซสพอยต์รุ่นแฟล็กชิป Huawei AirEngine 8760-X1 Pro มาตรฐานล่าสุด IEEE 802.11ax รองรับงานทราฟฟิกหนักๆ ได้อย่างมั่นใจ โดดเด่นกว่าใครด้วยการผสานอัลกอริธึ่มการทำงานแบบอัจฉริยะจากนวัตกรรม 5G พร้อมให้บริการเครือข่ายที่ครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างกว่าเคย ตอบโจทย์การเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สายได้อย่างราบรื่นเต็มประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นห้องประชุมขนาดใหญ่ ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล รวมถึงพื้นที่ที่มีผู้ใช้งานหนาแน่น

คุณสมบัติเด่น:

  • 16 Spatial Streams: เสาอากาศอัจฉริยะ 16 Spatial Streams รับประกันการรับส่งข้อมูลพร้อมกันอย่างต่อเนื่อง พร้อมช่วยเพิ่มอัตราขยายสัญญาณอย่างมีประสิทธิภาพ
  • IoT Slot แบบ Built-in: เชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT ต่างๆ ได้ทันที เช่น BLE 5.0, ZigBee, RFID และ Thread
  • รองรับ GPON ได้อย่างสะดวกง่ายดายด้วยพอร์ต SPF+ ที่ติดตั้งมาในตัว แอคเซสพอยต์
  • ความเร็วสูง: มอบความเร็วที่เสถียรในระดับ 10.75 Gbps เปิดประสบการณ์ไร้สายสำหรับการใช้งานหนักๆ หลากหลายรูปแบบ ทั้ง AR, VR, Video Conference รวมถึง Application IoT

ข้อมูลเพิ่มเติม: e.huawei.com/th, ช่องทางติดต่อ: Facebook.com/HuaweiEnterpriseThailand


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

โครงการรับรองมาตรฐานวิชาชีพของหัวเว่ย เสริมแกร่งระบบนิเวศด้านบุคลากรไอซีทีในเอเชียแปซิฟิก

โครงการรับรองมาตรฐานวิชาชีพของหัวเว่ยเสริมแกร่งระบบนิเวศด้านบุคลากรไอซีทีในเอเชียแปซิฟิกบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่เผยแผนระยะยาวเพื่อลดช่องว่างด้านบุคลากรไอซีที เร่งทุกภาคส่วนทำงานร่วมกันในงานประชุม Huawei Asia Pacific ICT Talent Forum 2020

กรุงเทพฯ/ 4 สิงหาคม 2563 – หัวเว่ย เทคโนโลยี่ จัดงานประชุม Huawei Asia Pacific ICT Talent Forum 2020 สำรวจเทรนด์แรงงานด้านไอซีทีและกลยุทธ์การพัฒนาบุคลากรในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก ในงานประชุมออนไลน์ดังกล่าวซึ่งมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 2,000 คน

หัวเว่ยได้ประกาศแผนระยะยาวในการพัฒนาระบบนิเวศด้านบุคลากรไอซีทีที่ครบรอบด้าน พร้อมโครงการรับรองมาตรฐานวิชาชีพใหม่เพื่อพัฒนาระบบนิเวศด้านบุคลากรไอซีที ปูทางสู่การทรานสฟอร์มด้านดิจิทัลอย่างยั่งยืน

งานสัมมนาได้รวบรวมผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมและศาสตราจารย์ด้านไอทีมาร่วมพูดคุยถึงความต้องการแรงงานทักษะสูงที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งยังได้นำเสนอแผนดำเนินงานที่จะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานด้านไอซีทีในภูมิภาคได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย

ในงานยังได้ประกาศเปิดโครงการ Huawei Asia Pacific ICT Certification ให้แก่นักศึกษาหรือผู้ทำงานในสาขาไอซีทีที่เคยเข้าร่วมหรือสนใจเข้าร่วมโครงการหัวเว่ย ไอซีที อะแคเดมี่ (Huawei ICT Academy) โดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม ถึง 30 พฤศจิกายน 2563 ผู้เข้าร่วมโครงการที่สอบผ่านโดยใช้เวลาที่น้อยที่สุดจะได้รับรางวัลตามลำดับเวลาที่ทำได้

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เทคโนโลยีได้พัฒนาไปอย่างก้าวกระโดดเพียงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเราได้เห็นความสำเร็จในการคิดค้นเทคโนโลยีมากมายที่เข้ามาเปลี่ยนโลกของเรา “รากฐานของอุตสาหกรรมไอซีทียุคใหม่ในปัจจุบันประกอบด้วยคลาวด์คอมพิวติ้ง บิ๊กดาต้า อินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ และปัญญาประดิษฐ์” นายไมเคิล แมคโดนัลด์ ประธานเจ้าหน้าที่ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและที่ปรึกษาผู้บริหารของหัวเว่ย เอเชีย แปซิฟิก เผยในระหว่างการกล่าวสุนทรพจน์เรื่องการสร้างอีโคซิสเต็มด้านไอซีทีที่รอบด้าน

การใช้เทคโนโลยีขั้นสูงที่มีความแพร่หลายมากขึ้นทำให้ทักษะด้านไอทีพื้นฐานไม่เพียงพออีกต่อไป “องค์กรทั้งหลายเริ่มปรับเปลี่ยนคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของพนักงาน ภูมิทัศน์ไอซีทีโฉมใหม่จะทำให้ตลาดขาดแรงงานที่มีทักษะขั้นสูงราว 5 ล้านคน เราตั้งเป้าที่จะพัฒนาแรงงานไอซีทีให้ได้ 2 ล้านคนในอีก 5 ปีข้างหน้า เพื่อป้อนแรงงานที่มีทักษะซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการเข้าสู่ตลาด ในปี 2563 เราจะตั้งโครงการ Huawei ICT Academy อีกกว่า 200 แห่ง ตลอดจนฝึกอบรมและออกใบรับรองมาตรฐานวิชาชีพให้แก่นักศึกษาและพนักงานกว่า 10,000 คนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกระบบนิเวศบุคลากรด้านไอซีทีเป็นกลยุทธ์ระยะยาวของหัวเว่ย และเราจะทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยและพันธมิตรด้านการฝึกอบรมของหัวเว่ย (HALP – Huawei Authorized Learning Partner) ในแต่ละประเทศ เพื่อช่วยเสริมทักษะวิชาชีพให้แก่นักศึกษาและคนที่ทำงานด้านไอซีที”
นายไมเคิล กล่าว

ในฐานะผู้ให้บริการโซลูชันไอซีทีชั้นนำระดับโลก หัวเว่ยมุ่งมั่นที่จะสร้างอีโคซิสเต็มด้านบุคลากรไอซีทีที่ครอบคลุมรอบด้าน ซึ่งจะช่วยให้ห่วงโซ่อุตสาหกรรมเติบโตไปได้อย่างต่อเนื่อง ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาปัญหาการขาดแคลนแรงงานทักษะสูงกลายมาเป็นความท้าทายของหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งในเอเชียแปซิฟิก ซึ่งเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่อุตสาหกรรมไอซีทีมีการเติบโตเร็วที่สุดในโลก ในขณะที่เทคโนโลยีใหม่ ๆ อาทิ AI และ 5G
มีการใช้งานแพร่หลายมากขึ้น ภูมิภาคนี้จำเป็นต้องทำงานร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อกำหนดมาตรฐานที่ช่วยจับคู่บุคลากรกับโอกาสในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัล

เพื่อรับมือกับความท้าทายนี้ หัวเว่ยได้สร้างระบบนิเวศด้านบุคลากร เพื่อสนับสนุนการสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพเข้าสู่อุตสาหกรรมไอซีทีอันสอดคล้องกับกลยุทธ์การบ่มเพาะบุคลากรของบริษัท ระบบนิเวศนี้ประกอบไปด้วยกิจกรรมหลัก 3 โครงการด้วยกัน คือ ประกาศนียบัตรมาตรฐานวิชาชีพของหัวเว่ย (Huawei Certification), โครงการหัวเว่ย ไอซีที อะแคเดมี่ (Huawei ICT Academy) และการแข่งขัน Huawei ICT Competition

ประกาศนียบัตรมาตรฐานวิชาชีพของหัวเว่ย (Huawei Certification) ซึ่งเป็นประกาศนียบัตรมาตรฐานด้านบุคลากรที่ครอบคลุมการสอบรับรองความรู้ถึง 100 หัวข้อ และสาขาเทคนิค 22 สาขา ที่ผ่านมาได้ออกใบรับรองนักศึกษาและพนักงานด้านไอซีทีไปแล้วกว่า 260,000 คน รวมถึง 19,000 คนในเอเชียแปซิฟิก โครงการ Huawei ICT Academy ซึ่งเปิดตัวในปี 2556 ได้จับมือกับสถาบันการศึกษาระดับสูงกว่า 900 แห่ง เพื่อเปิดคอร์สการสอนและฝึกอบรมด้านไอซีทีให้แก่นักศึกษากว่า 45,000 คนในแต่ละปี ปัจจุบัน หัวเว่ยได้จัดตั้งโครงการความร่วมมือไอซีทีอะแคเดมี่ ไปแล้ว 103 แห่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หัวเว่ยยังได้เริ่มจัดการแข่งขันด้านไอซีทีในปี 2558 เพื่อส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรผ่านการแข่งขันวัดความรู้ในระดับนานาชาติ “การแข่งขันจะช่วยให้นักศึกษาได้รับการยอมรับและมีโอกาสได้ทำงานที่มีคุณค่าในองค์กรชั้นนำ” มร. ไมเคิล กล่าว

ตลาดไอซีทีในประเทศไทยกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว หัวเว่ยได้ประกาศการทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำหลายสิบแห่งเพื่อตั้งโครงการหัวเว่ย อะแคเดมี่ ในประเทศไทย การแข่งขัน Huawei ICT Competition ครั้งแรกในประเทศไทย จัดขึ้นเมื่อปี 2561 มีนักศึกษาจากทั่วประเทศเข้าร่วมการแข่งขันกว่า 2,000 คน ทีมผู้ชนะระดับประเทศจำนวน 3 คน ได้รับโอกาสเป็นตัวแทนประเทศในเวทีการแข่งขันระดับโลกที่เซินเจิ้น ประเทศจีน

หัวเว่ยมุ่งมั่นแสวงหาวิธีใหม่ ๆ ในการบ่มเพาะบุคลากรด้านไอซีทีอยู่เสมอ พร้อมสนับสนุนรัฐบาลในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีทีด้วยเป้าหมายสูงสุดในการเติมเต็มช่องว่างระหว่างความต้องการจากองค์กรและการจัดหาบุคลากรด้านไอซีทีของมหาวิทยาลัย หัวเว่ยมุ่งหวังที่จะช่วยหลากหลายประเทศในเอเชียแปซิฟิก วางรากฐานไอซีทีที่แข็งแกร่งมั่นคงเพื่อรองรับอนาคตที่จะมาถึง


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

เร็ว แรง ไร้จุดอับสัญญาณ ทุกการเชื่อมต่อกับ AirEngine 6760 X1 Series

แอคเซสพอยต์ความเร็วสูง Wi-Fi 6 สำหรับใช้ภายในอาคารรุ่นใหม่ล่าสุด AirEngine 6760-X1 และ AirEngine 6760-X1E มาตรฐาน IEEE 802.11ax ตอบโจทย์ความต้องการของยุคดิจิทัลทรานสฟอร์เมชั่น การันตีคุณภาพสัญญาณที่ครอบคลุมทุกพื้นที่แบบไร้จุดอับ เหมาะสำหรับติดตั้งในพื้นที่ที่มีผู้ใช้งานเป็นจำนวนมากและมีความซับซ้อนของพื้นที่ เช่น ห้างสรรพสินค้า สำนักงาน สนามกีฬา รวมถึงทางเดินในอาคาร

คุณสมบัติเด่น:
Smart Antenna: เป็นเทคโนโลยีเฉพาะของหัวเว่ยซึ่งช่วยรักษาความเสถียรของสัญญาณได้ตลอดเวลา รวมถึงในขณะที่ผู้ใช้งานเคลื่อนที่ พร้อมลดสัญญาณรบกวนโดยอัตโนมัติ และให้ระยะการครอบคลุมที่กว้างกว่า

  • IoT Slot แบบ Built-in: รองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT ต่าง ๆ อาทิเช่น BLE 5.0, ZigBee, RFID และ Thread
  • Triple Radio (Dual 5GHz ): รองรับการใช้งาน 3 คลื่นความถี่ ได้แก่ 2.4GHz (4×4) + 5GHz (4×4) + 5GHz (4×4) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้สามารถรองรับผู้ใช้งานได้มากขึ้น
  • Right to Use RTU: สามารถอัพเกรดจากความเร็ว 8.35Gbps ที่ 10 spatial stream ให้เป็นความเร็วสูงสุดถึง 10.75Gbps ที่ 12 spatial stream โดยการอัพเกรดความสามารถด้วย RTU license
  • บริหารจัดการได้ทุกรูปแบบ: สามารถเลือกการทำงานได้ในโหมดสแตนด์อโลน หรือจะเป็นการทำงานร่วมกับ Controller รวมถึง การทำงานร่วมกับระบบบริหารจัดการผ่าน Cloud ได้ด้วย
  • ความเร็วระดับ 10 Gbps: เพิ่มความยืดหยุ่นในการเชื่อมต่อด้วยความเร็ว 10 Gbps โดยรองรับได้ทั้งสาย UTP และสายไฟเบอร์ออพติค

ข้อมูลเพิ่มเติม: e.huawei.com/th, ช่องทางติดต่อ: Facebook.com/HuaweiEnterpriseThailand


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

Huawei AirEngine 5760-51 แอคเซสพอยท์ความเร็วสูง Wi-Fi 6 ใหม่ล่าสุด

อบโจทย์ยุค Social distancing ด้วยผลิตภัณฑ์แอคเซสพอยท์ความเร็วสูง Wi-Fi 6 ใหม่ล่าสุด สนับสนุนมาตรฐาน IEEE 802.11ax ที่มาพร้อมความอัจฉริยะของระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) และอัลกอริธึม 5G อันโดดเด่นของหัวเว่ย ด้วยดีไซน์ล้ำสมัย เรียบหรู ติดตั้งภายในอาคารได้อย่างกลมกลืน ลดปัญหากวนใจเมื่อใช้งานที่เครือข่ายหนาแน่น (High-Density) หรือเมื่อต้องใช้แอพพลิเคชันที่ต้องการความต่อเนื่อง เช่น การประชุมทางวิดีโอ

คุณสมบัติเด่น

  • Smart Antennas : ให้พื้นที่ครอบคลุมมากขึ้น และความสามารถในการกำจัดสัญญาณรบกวนซึ่งสูงกว่าเสาอากาศแบบรอบทิศทางทั่วไปถึง 5 เท่า
  • IoT module slot: รองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT ต่าง ๆ อาทิ BLE 5.0, ZigBee, RFID และ Thread พอร์ต USB สำหรับการเชื่อมต่อแหล่งจ่ายไฟ, อุปกรณ์ IoT และอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลจากภายนอกสะดวกง่ายดาย
  • Automatic application identification: รองรับการจัดลำดับความสำคัญบนแอปพลิเคชันลึกถึงระดับ Layer 4- Layer 7
  • Right to Use RTU: ให้ความเร็วสูง 5.37 Gbps ด้วย 6 spatial stream และสามารถอัพเกรดเป็น 8 spatial streams ที่ให้ความเร็วสูงสุดถึง 5.95 Gbps เมื่ออัพเกรดความสามารถด้วย RTU license
  • Software-Defined Radio (SDR): เพิ่มความยืดหยุ่นในการสลับสัญญานระหว่าง dual-radio, triple-radio และ radio scanning modes

 

Exit mobile version