Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

หัวเว่ย มอบซิมการ์ดพัฒนาฝีมือแรงงานออนไลน์ ช่วยเหลือแรงงานคนพิการและกลุ่มเปราะบาง ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19

บรรยายภาพ ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ (ที่ 4 จากซ้าย) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน รับมอบซิมแรงงานจากนายอาเบล เติ้ง (กลาง) ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด โดยมีหม่อมหลวงปุณฑริก สมิติ (ที่ 2 จากซ้าย) ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน นายสุชาติ พรชัยวิเศษกุล (ที่ 4 จากขวา) รองปลัดกระทรวงแรงงาน นางสาวจิราภรณ์ ปุญญฤทธิ์ (ที่ 3 จากขวา) รองอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และนายชูศักดิ์ จันทยานนท์ (ที่ 3 จากซ้าย) ประธานสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยตัวแทนผู้พิการและกลุ่มเปราะบาง ร่วมเป็นสักขีพยาน

กรุงเทพฯ/21 มิถุนายน 2564 — บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด มอบซิมการ์ดพัฒนาฝีมือแรงงานออนไลน์ จำนวน 500 ชุด ให้แก่กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน เพื่อนำไปแจกจ่ายให้แก่แรงงานคนพิการและกลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19

การบริจาคซิมการ์ดนี้จะช่วยให้แรงงานคนพิการในทุกสาขาอาชีพและกลุ่มเปราะบาง สามารถฝึกอบรมทักษะฝีมือแรงงานกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงานผ่านระบบออนไลน์ สอดคล้องกับแผนพัฒนาทักษะอาชีพของกระทรวงฯ โดยหัวเว่ยมุ่งหวังสนับสนุนให้ผู้ด้อยโอกาสสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลได้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น การมอบซิมแรงงานนี้ช่วยให้พวกเขาสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ในราคาย่อมเยา มอบโอกาสในการศึกษาหาความรู้ใหม่ๆ ได้จากโลกดิจิทัล พร้อมเชื่อมโยงผู้เรียนกับครูผู้สอนในห้องเรียนเสมือนทางออนไลน์ได้

โครงการนี้ยังย้ำให้เห็นถึงความร่วมมือระหว่างหัวเว่ยและรัฐบาลไทย ในการสนับสนุนการศึกษาด้านดิจิทัลที่เข้าถึงได้อย่างทั่วถึง และส่งเสริมการพัฒนาทักษะไอที การสร้างงานซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการอย่างมากในตลาด ตลอดจนการสร้างสรรค์อีโคซิสเต็มด้านบุคลากรไอซีทีอันจะช่วยให้ประเทศไทยก้าวไปสู่ยุค 4.0 อย่างสมบูรณ์

ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน ได้กล่าวในงานแถลงข่าวซึ่งจัดขึ้นที่กระทรวงแรงงาน เน้นย้ำถึงนโยบายของรัฐบาลในการจัดหลักสูตรฝึกอบรมทักษะออนไลน์ให้แก่กลุ่มเปราะบางในสังคมว่า “คนพิการและผู้ที่ต้องตกงานจากสถานการณ์โควิด สามารถใช้เวลาในช่วงนี้เพื่อเสริมทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อนำไปสู่การสร้างและการจ้างงานที่มีคุณค่าสูงและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นได้” เธอกล่าว “ดิฉันขอขอบคุณบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ที่ได้ให้การสนับสนุนแรงงานคนพิการและกลุ่มเปราะบาง ให้สามารถนำซิมการ์ดดังกล่าวไปใช้ฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ เพื่อให้ได้รับความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพ ซึ่งจะช่วยสร้างเศรษฐกิจดิจิทัลที่เข้มแข็งได้”

นายอาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “เราได้ทำงานประสานกับกระทรวงแรงงานมาโดยตลอด เพื่อให้ความช่วยเหลือที่ครอบคลุมคนทุกกลุ่มในยุคดิจิทัล การพัฒนาทักษะสามารถช่วยแก้ไขความท้าทายหลายรูปแบบ เพราะจะช่วยให้ผู้คนจำนวนมากขึ้นได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอีโคซิสเต็มด้านดิจิทัล เราเชื่อว่า ในโลกดิจิทัล ไม่ควรมีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง ดังนั้น เราจึงทุ่มเทสนับสนุนโครงการ ที่ช่วยสร้างบุคลากรด้านไอทีเพื่อรองรับอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้เปราะบาง เพื่อให้พวกเขาได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตได้เช่นกัน”

จากสถานการณ์การแพร่ระบาด หัวเว่ยมุ่งเน้นการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงโลกดิจิทัลแก่คนจำนวนมากขึ้น ผ่านการพัฒนาทักษะต่าง ๆ ที่จะช่วยให้พวกเขาได้มีส่วนร่วมในสังคมดิจิทัลได้ และการมอบซิมแรงงานก็เป็นเครื่องยืนยันภารกิจของหัวเว่ยที่มีมายาวนาน ที่อยากเห็นคนไทยทุกคนเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล และมีบุคลากรเก่ง ๆ ด้านดิจิทัลที่สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดที่กำลังโตขึ้นได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้ เพื่อสนับสนุนการสู้กับโควิด-19 และช่วยให้คนไทยปลอดภัยจากการติดเชื้อ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ยังได้บริจาคเจลล้างมือ หน้ากากอนามัย และอุปกรณ์ป้องกันโควิด-19 ต่าง ๆ ให้แก่กระทรวงแรงงาน หัวเว่ยหวังที่จะช่วยเหลือแรงงานไทยให้มีสุขภาพแข็งแรง และมีงานทำ และลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสในที่ทำงาน

ในฐานะผู้ให้บริการชั้นนำระดับโลกด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีทีและสมาร์ทดีไวซ์ ที่ดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่องยาวนานถึง 22 ปี หัวเว่ยเข้าไปมีส่วนร่วมในการผลักดันการทรานสฟอร์มไปสู่ระบบดิจิทัลของประเทศไทย บริษัทได้ทุ่มเทให้กับการมอบคุณค่าทางสังคมให้สังคมไทยมาอย่างต่อเนื่อง และช่วยบ่มเพาะบุคลากรด้านดิจิทัลของประเทศไทย ซึ่งนับเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศโดยเฉพาะในยุคนิวนอร์มอล หัวเว่ยได้ริเริ่มโครงการสถาบันหัวเว่ย อาเซียน อะแคเดมี่ (ประเทศไทย) หรือ Huawei ASEAN Academy (Thailand) โดยมีเป้าหมายที่จะผลิตบุคลากรด้านไอซีทีให้ได้ 50,000 คน ในระยะเวลาห้าปี โดยเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2563 ตามนโยบายการสร้างงานระยะยาวของกระทรวงแรงงาน หัวเว่ยได้เข้าร่วมงาน Job Expo Thailand และรับสมัครตำแหน่งงานราว 1,000 ตำแหน่ง ผ่านขั้นตอนการสมัครที่ง่ายและรวดเร็ว เพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และเมื่อเร็ว ๆ นี้ หัวเว่ยร่วมกับสถาบันพัฒนาบุคลากรดิจิทัล กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน ยังเปิดโครงการฝึกอบรมหลักสูตร “การสร้างและพัฒนา Application” แพลตฟอร์มการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาทักษะดิจิทัลให้แก่บุคลากรด้านดิจิทัลของไทยด้วย


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

สถาบันพัฒนาบุคลากรดิจิทัล และหัวเว่ย เปิดงานฝึกอบรมหลักสูตร “การสร้างและพัฒนา Application”

กรุงเทพฯ/5 มิถุนายน 2564 – สถาบันพัฒนาบุคลากรดิจิทัล (DISDA) ภายใต้กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน ร่วมกับบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดตัวหลักสูตร “การสร้างและพัฒนา Application” แพลตฟอร์มการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาทักษะดิจิทัลให้แก่บุคลากรด้านไอทีกว่า 200 คน 

โครงการฝึกอบรมหลักสูตร “การสร้างและพัฒนา Application” นี้เป็นไปตามบันทึกความเข้าใจ ว่าด้วยการพัฒนาฝีมือแรงงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ระยะเวลาสามปี ระหว่างกรมพัฒนาฝีมือแรงงานและหัวเว่ย ซึ่งลงนามไปเมื่อเดือนตุลาคม 2563 เพื่อสร้างและจัดหาโอกาสการเรียนรู้ทางด้านดิจิทัล โดยหัวเว่ยพร้อมที่จะนำเทคโนโลยีชั้นนำมาเสริมแกร่งแรงงานด้านดิจิทัลของประเทศ ตั้งเป้าบ่มเพาะแรงงานทักษะดิจิทัล 3,000 คน และจัดอบรมคอร์สด้านไอซีทีให้แก่เจ้าหน้าที่ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานจำนวน 120 คน 

ทั้งนี้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา กระทรวงแรงงานและหัวเว่ย ได้ร่วมกันจัดหลักสูตรอบรม “การพัฒนาทักษะเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อยกระดับธุรกิจ” โดยมีผู้ประกอบการที่ผ่านการอบรมด้านเทคโนโลยีไอซีทีกว่า 100 คน โดยทั้งสองฝ่ายยังได้ทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างโอกาสในการแลกเปลี่ยนความรู้และสร้างทักษะดิจิทัลผ่านหลักสูตรใหม่ ๆ  อาทิเช่น หลักสูตรการสร้างและพัฒนา Application

หลักสูตรเร่งรัดระยะเวลา 48 ชั่วโมง จัดขึ้นทุกวันเสาร์และอาทิตย์ ระหว่างวันที่ 5 – 27 มิถุนายน นี้ จะถ่ายทอดความรู้ในการสร้าง พัฒนา และปรับแต่งแอปพลิเคชัน บนระบบปฏิบัติการทั้ง Android และ  Huawei App Gallery โดยแต่ละครั้งจะใช้ระยะเวลา 6 ชั่วโมง และจะครอบคลุมเนื้อหาทักษะและโซลูชันใหม่ ๆ ที่จำเป็น เพื่อให้ก้าวทันการใช้งานโมบายดีไวซ์ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้น การถ่ายทอดองค์ความรู้และความชื่นชอบจะช่วยสร้างรากฐานอันแข็งแกร่งให้กับบุคลากรด้านดิจิทัล เพื่อให้แน่ใจว่าประเทศไทยสามารถตอบโจทย์ความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นในอนาคต 

โปรแกรมนี้เปิดรับนักศึกษาด้านไอทีและนักพัฒนาที่มีความสนใจในการสร้างแอปพลิเคชันและความมุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งของอีโคซิสเต็มด้านดิจิทัลของประเทศ  คอร์สอบรมออนไลน์นี้ ซึ่งปรับรูปแบบการเรียนให้เหมาะกับช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 จะช่วยให้แน่ใจว่า เรามีบุคลากรไอทีที่มีทักษะที่กำลังเป็นที่ต้องการอย่างต่อเนื่อง และช่วยให้ประเทศไทยก้าวสู่เป้าหมายของการเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หลักสูตรนี้จะมีทั้งการสอนเชิงทฤษฎี การเขียนแอปขั้นสูง การสาธิต และแนวทางปฏิบัติที่ดีในอุตสาหกรรม ตลอดจนคำแนะนำในการทำงานจากผู้เชี่ยวชาญ ที่ปรึกษา และเทรนเนอร์ในอุตสาหกรรมทั้งในระดับประเทศและระดับโลก 

หลังจากจบหลักสูตรการพัฒนาแอปพลิเคชันระยะเวลา 4 สัปดาห์ตามเป้าหมาย ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้รับประกาศนียบัตรอย่างเป็นทางการจากสถาบันพัฒนาบุคลากรดิจิทัล  นอกจากนี้ ผู้ที่ผ่านการทดสอบทักษะที่จำเป็นของหัวเว่ย จะได้รับประกาศนียบัตรของหัวเว่ย ซึ่งเป็นที่ยอมรับจากบริษัทต่างชาติหลายแห่ง รวมถึงโอกาสที่จะได้ร่วมการแข่งขัน Apps Up Contest 2021 ระดับโลกของหัวเว่ย เพื่อชิงรางวัลมูลค่ารวมกว่า 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ในระหว่างการกล่าวเปิดงาน ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน ได้อธิบายถึงแนวคิด “สร้าง-ยก-ให้” ของรัฐบาล เพื่อพัฒนาแรงงานด้านดิจิทัลภายใต้กระทรวงแรงงาน “เราต้องการสร้างแรงงานให้มีทักษะมากขึ้น เพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรม S-Curve  ยกระดับความสามารถในการแข่งขัน และมอบโอกาสในการประกอบอาชีพ” ดร. นฤมล กล่าว “ดิฉันมั่นใจว่า คอร์สการฝึกอบรมออนไลน์นี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากในการช่วยสร้างและพัฒนาทักษะ ที่ผู้เข้าร่วมการอบรมทุกคนสามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ และมีรายได้มากขึ้นในยุคนิวนอร์มอลที่หลาย ๆ ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ต้องปรับตัว นี่เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญในการเตรียมแรงงานด้านไอทีของเราในการสนับสนุนการก้าวสู่ยุคดิจิทัลอย่างยั่งยืน”

นายอาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร ของหัวเว่ย ประเทศไทย กล่าวว่า “เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ทำงานร่วมกับสถาบันพัฒนาบุคลากรดิจิทัลและกระทรวงแรงงาน และต้องขอขอบคุณพันธมิตรต่าง ๆ ของเราเป็นอย่างยิ่งสำหรับความร่วมมือที่มีมายาวนาน”  ภายใต้พันธกิจ “Grow in Thailand, Contribute to Thailand”
หัวเว่ยมุ่งหวังที่จะสร้างบุคลากรใหม่ ๆ สำหรับอีโคซิสเต็มด้านดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง ผ่านการทำงานร่วมกับภาครัฐและผู้ประกอบการด้านไอซีที ซึ่งจะช่วยสร้างรากฐานที่ยั่งยืนแข็งแกร่งให้กับตลาดแรงงานทักษะสูง อันจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศให้เป็นไปตามนโยบายประเทศไทย 4.0”

ในฐานะผู้ให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานและสมาร์ทดีไวซ์ชั้นนำระดับโลกที่ดำเนินธุรกิจอย่างมั่นคงในประเทศไทยมายาวนานกว่า 22 ปี หัวเว่ยมุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนอนาคตดิจิทัลให้แก่ประเทศไทย ภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0 พร้อมมุ่งสู่การเป็นดิจิทัลฮับของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

บริษัทตั้งใจสร้างสรรค์คุณค่าทางสังคมให้แก่ประเทศไทย ร่วมบ่มเพาะการพัฒนาแรงงานทักษะดิจิทัล ผ่านโครงการ หัวเว่ย อาเซียน อะแคเดมี (ประเทศไทย) ตั้งเป้าหมายพัฒนาแรงงานด้านไอทีซี 50,000 คนภายใน 5 ปี โดยเมื่อเดือนกันยายน 2563 หัวเว่ยได้เข้าร่วมมหกรรมการจัดหางาน Job Expo Thailand และรับสมัครงานราว 1,000 ตำแหน่งผ่านขั้นตอนการรับสมัครที่สะดวกรวดเร็ว มุ่งหวังช่วยกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

หัวเว่ยผนึกกำลังมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดตัวมหาวิทยาลัยอัจฉริยะ 5G ขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยให้เป็นผู้นำการใช้เทคโนโลยีการเรียนรู้สำหรับอนาคต

บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ลงนามในบันทึกข้อตกลง (MoU) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เตรียมทรานสฟอร์มเป็นมหาวิทยาลัยอัจฉริยะ ผ่านการพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลล้ำสมัย โดยความร่วมมือในครั้งนี้นับเป็นเครื่องยืนยันความเป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หัวเว่ยพร้อมช่วยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานแบบบูรณาการขั้นสูง และนำเทคโนโลยี 5G พร้อมด้วยบิ๊กดาต้า และคลาวด์มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ครั้งนี้นับเป็นการลงนามในบันทึกข้อตกลงฉบับที่ 2 ระหว่างทั้งสองฝ่าย โดยก่อนหน้านี้เมื่อเดือนพฤศจิกายน หัวเว่ยและมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ร่วมลงนามใน MoU เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านไอซีที ภายใต้โครงการ Huawei ICT Academy เพื่อจัดหลักสูตรแนวปฏิบัติการและการฝึกงานให้แก่นักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เตรียมความพร้อมเข้าสู่ตลาดแรงงานในโลกยุคดิจิทัล

พิธีฯ ดังกล่าว ได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์คลินิค นพ. นิเวศน์ นันทจิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ นายอาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้ลงนาม โดยมี ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรีและนายกสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และผู้บริหารระดับสูงอีกหลายท่าน ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีฯ

ภายใต้ความร่วมมือเป็นระยะเวลา 5 ปี ทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันนำเทคโนโลยี 5G มาใช้ เพื่อผลักดันแนวคิดห้องเรียนและโซลูชันอัจฉริยะเพื่อการศึกษา เร่งขับเคลื่อนการเรียนการสอนที่เปี่ยมประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกเหนือจากการมีส่วนร่วมในการวิจัยที่กว้างขึ้น หัวเว่ยยังจะนำเทคโนโลยีดิจิทัลต่างๆ มาผสมผสานให้ตรงกับความต้องการของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อสร้างสรรค์มหาวิทยาลัยอัจฉริยะที่แท้จริง เร่งสนับสนุนการเรียนรู้ให้ก้าวกระโดด ช่วยขับเคลื่อนการใช้งานของเทคโนโลยีใหม่ๆ อาทิ บิ๊กดาต้า และบริการต่างๆ ผ่านคลาวด์ ซึ่งล้วนช่วยสร้างเสริมประสิทธิภาพและการเชื่อมต่ออย่างสมบูรณ์ระหว่างคณะและศูนย์ต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัย เช่น คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ ศูนย์การจัดการแคมปัสอัจฉริยะ และศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ

ภายใต้เอ็มโอยูฉบับนี้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่พร้อมเดินหน้าเป็นมหาวิทยาลัยอัจฉริยะ 5G ชั้นนำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีและการพัฒนาทักษะ นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยยังมีเป้าหมายในการเป็นแบบอย่างให้แก่มหาวิทยาลัยอื่นๆ ในการประยุกต์ใช้ประโยชน์จากโซลูชันล้ำสมัย ที่สะดวก รวดเร็ว น่าเชื่อถือ และพร้อมรองรับอนาคต

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรีและนายกสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวแสดงความยินดีแก่ความร่วมมือครั้งสำคัญ ระหว่างหัวเว่ยและมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ว่า “ถือเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มาร่วมในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ ความร่วมมือครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญสำหรับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยหัวเว่ยและมหาวิทยาลัยจะร่วมกันสร้างสรรค์ระบบการศึกษาที่สามารถแบ่งปันความรู้ให้เข้าถึงคนทุกกลุ่ม ผ่านโซลูชันการเรียนรู้ทางไกลอันล้ำสมัย ผมต้องขอขอบคุณหัวเว่ย เทคโนโลยี่ ที่เข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุนการใช้ดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการศึกษา ตลอดจนช่วยขับเคลื่อนประเทศไทยไปข้างหน้าและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศอย่างต่อเนื่อง”

ศาสตราจารย์คลินิค นายแพทย์นิเวศน์ นันทจิต อธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า “การผนึกกำลังในวันนี้นับเป็นการเริ่มต้นบทใหม่ที่สำคัญ การทำงานร่วมกับหัวเว่ยอย่างต่อเนื่องจะช่วยสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้แก่วงการการศึกษาในระดับอุดมศึกษา เราพร้อมเดินหน้าบ่มเพาะนักศึกษาที่เปี่ยมด้วยทักษะความสามารถ และเติบโตไปเป็นผู้บริหารในสาขาธุรกิจต่างๆ ปัจจุบันเทคโนโลยีอันล้ำสมัยได้กลายเข้ามามีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมการศึกษา ผมขอขอบคุณหัวเว่ย ที่ได้มาร่วมทำงานกับมหาวิทยาลัย อันจะช่วยรักษามาตรฐานระดับสูงของการศึกษาและคงไว้ซึ่งชื่อเสียงอันยาวนานของเราในการบ่มเพาะนักศึกษาที่พร้อมเข้าทำงานมากที่สุดในภูมิภาค”

“ภายใต้วิสัยทัศน์แห่งการเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำที่รับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาที่ยั่งยืน ผมมั่นใจว่ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีความพร้อมสำหรับการทรานสฟอร์มสู่ดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ” นายอาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว พร้อมเสริมว่า “ผมขอขอบคุณมหาวิทยาลัยที่ให้หัวเว่ยได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งบนเส้นทางสู่การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของภูมิภาคอาเซียน ตลอดจนการเป็นผู้นำด้านการพัฒนาการศึกษาและการพัฒนาทักษะที่ขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยี เราจะจับมือกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เพื่อสร้างสรรค์โมเดลให้แก่มหาวิทยาลัยแห่งอื่นๆ เพื่อสร้างโซลูชั่นที่สะดวก รวดเร็ว น่าเชื่อถือ และเพียบพร้อมด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัยให้แก่วงการการศึกษา หัวเว่ยพร้อมเดินหน้าทำงานภายใต้พันธกิจ Grow in Thailand, Contribute to Thailand ในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยี พาร์ทเนอร์ด้านไอซีทีที่ได้รับความไว้วางใจ และผู้ขับเคลื่อนการทรานสฟอร์มสู่ดิจิทัล บริษัทจะนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสู่ทุกคน ทุกบ้าน และทุกองค์กร เพื่อสร้างประเทศไทยอัจฉริยะที่เชื่อมโยงถึงกันได้อย่างเต็มรูปแบบ”


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

หัวเว่ยเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ Smart Modular Data Center ให้ทุกพื้นที่เป็นดาต้า เซ็นเตอร์

[สิงคโปร์, 12 มีนาคม 2564] หัวเว่ยเปิดตัวโซลูชันโมดูลาร์ ดาต้าเซ็นเตอร์ อัจฉริยะ (Smart Modular Data Center) 3 ผลิตภัณฑ์ใหม่ สำหรับการประมวลผลขนาดเล็กและการประมวลแบบเอดจ์ คอมพิวติ้ง (Edge Computing) ได้แก่ FusionModule500, FusionModule800 และ FusionModule2000 ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของอุตสาหกรรมที่แตกต่างกัน ภายใต้พันธสัญญา “ทำทุกพื้นที่ให้เป็นดาต้าเซ็นเตอร์” โดยมีผู้นำและพันธมิตรรายใหญ่ ๆ ในอุตสาหกรรมไอซีทีจากทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกร่วมในงานเปิดตัวทางออนไลน์

ในการกล่าวเปิดงาน นายแบรนดอน อู๋ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ หัวเว่ย เอเชียแปซิฟิก ได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นของการทำงานที่มีความยืดหยุ่นให้ทุกอุตสาหกรรมมากขึ้นเนื่องจากผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่เกิดขึ้นทั่วโลก นายอู๋ ยังได้พูดถึงเทรนด์สำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้นจากการประมวลผลแบบเอดจ์ คอมพิวติ้ง เช่น โครงสร้างพื้นฐานที่มีความเชื่อมโยงถึงกัน ระบบการทำงานที่ยืดหยุ่นมากขึ้นจากการใช้การประมวลผลแบบเอดจ์ คอมพิวติ้ง และการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น

อันที่จริง การคาดการณ์ของตลาดชี้ให้เห็นว่า ภายใน 4 ปีข้างหน้า ร้อยละ 75 ของข้อมูลทั้งหมดที่เกิดขึ้นในองค์กรจะเป็นการประมวลผลแบบเอดจ์ คอมพิวติ้ง ความต้องการในการติดต่อสื่อสารแบบเรียลไทม์จะผลักดันธุรกิจให้หาวิธีการที่จะสามารถประมวลผลข้อมูลได้ใกล้กับผู้ใช้ปลายทางมากขึ้น ผลที่เกิดขึ้นคือ เอดจ์ ดาตาเซ็นเตอร์ขนาดเล็ก จึงได้รับความนิยมมากขึ้นในหลากหลายอุตสาหกรรมและรูปแบบการใช้งาน

ภาคค้าปลีก: เอดจ์ ดาต้าเซ็นเตอร์ขนาดเล็ก จะติดตั้งในภายในร้านค้าปลีก เพื่อให้ผู้ขายสามารถลดช่องว่างในการขายระหว่างช่องทางออนไลน์และออฟไลน์

ภาคการผลิต: เอดจ์ ดาต้าเซ็นเตอร์ ที่ติดตั้งในคลังกระจายสินค้า จะรองรับการบริหารจัดการปริมาณข้อมูลสินค้าคงคลังและการจัดส่งสินค้าที่เพิ่มมากขึ้น ในโรงงานต่างๆ เอดจ์ ดาต้าเซ็นเตอร์จะบริหารจัดการข้อมูลที่มาจากตัวเซ็นเซอร์ รวมถึงระบบการสื่อสารต่าง ๆ ระหว่างอุปกรณ์ อันจะช่วยขับเคลื่อนการเติบโตของอินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ (IoT)

ภาคโทรคมนาคม: สำนักงานกลางหลายแห่งของบริษัทโทรคมนาคมกำลังเปลี่ยนสภาพเป็นห้องประมวลผล และนำมาใช้เป็น เอดจ์ ดาต้าเซ็นเตอร์ เพื่อทำให้เน็ตเวิร์กมีประสิทธิภาพ และรวดเร็วมากขึ้น

นายมาเอช โชวดารี่ สถาปนิกโซลูชันด้านผลิตภัณฑ์ แผนก Digital Power ของหัวเว่ย ได้แนะนำโซลูชันใหม่ที่ส่งตรงจาก Digital Power Innovation Experience Center ของหัวเว่ย นำเสนอการใช้งานจริงให้ผู้เข้าร่วมงานได้ชม ร่วมพลิกโฉมอุตสาหกรรมด้วย SmartLi Inside ซึ่งเป็นระบบสำรองไฟ (UPS) แบตเตอรี่ลิเธี่ยมอัจฉริยะของหัวเว่ย ที่ทำให้ห้องหรือพื้นที่ใด ๆ สามารถกลายเป็นดาต้าเซ็นเตอร์ โดยหัวเว่ย โมดูลาร์ ดาต้าเซ็นเตอร์ ไม่จำเป็นต้องมีการออกแบบให้มีพื้นยกระดับแบบเก่า ลดข้อจำกัดเดิมที่จะต้องวางในห้องที่มีเพดานสูง โดยให้ท่อแอร์ สายไฟฟ้า สายสื่อสาร มาจากด้านบนลงล่าง ทำให้อุปกรณ์สามารถใช้ได้กับห้องที่มีเพดานสูงเพียง 2.6 เมตร ซึ่งน้อยกว่าข้อจำกัดความสูงขั้นต่ำ 3 เมตรของดาต้าเซ็นเตอร์แบบเก่า

FusionModule2000 รองรับการออกแบบรูปแบบแถวเรียงเดี่ยว ด้วยการควบคุมทิศทางเดินของลมร้อนและลมเย็นที่ยืดหยุ่น และสถาปัตยกรรมที่เรียบง่าย ช่วยลดระยะเวลาการติดตั้งและใช้งานได้ราวร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับทางเลือกแบบเดิม ๆ

FusionModule800 รองรับระบบคูลลิ่งและไฟสำรองที่ติดตั้งในแร็คที่ประกอบสำเร็จ ทำให้สามารถติดตั้งที่ไซต์ได้เสร็จภายในสี่ชั่วโมง และเริ่มให้บริการได้ในเวลาเพียงสองวัน

FusionModule500 มาพร้อมการออกแบบดาต้าเซ็นเตอร์แบบตู้เดียว ที่มีการทำงานแบบสผานรวม โดยใช้เวลาในการติดตั้งเพียงสองชั่วโมง และเริ่มธุรกิจทางออนไลน์ได้ภายในสี่ชั่วโมง

ในงานเปิดตัว Smart Modular Data Center บริษัท เน็ตคราฟท์ อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี (มาเก๊า) จำกัด ซึ่งเป็นพันธมิตรของหัวเว่ย ได้แบ่งปันประสบการณ์การทำงานร่วมกับหัวเว่ย นายเบนจิมาน หว่อง ผู้อำนวยการฝ่ายขาย ของบริษัท ได้กล่าวว่า “ด้วยโซลูชันหัวเว่ย โมดูลาร์ ดาต้า เซ็นเตอร์ ที่มีส่วนประกอบที่สำคัญแบบโมดูลาร์ หรือสามารถเข้าใจได้ง่ายๆ คือ ให้มองว่าทุกชิ้นส่วนก็เหมือนกับชิ้นส่วนของตึกเป็นบล็อก คุณสามารถที่จะสร้างปราสาทของคุณได้ด้วยการต่อชิ้นส่วนต่างๆ เข้าด้วยกัน นอกจากนั้น คุณยังสามารถเพิ่มชิ้นส่วนเข้าไปได้อีกในอนาคตตามต้องการ หรือตามขนาดธุรกิจที่เติบโตขึ้น”

พูดให้ง่ายคือ โซลูชั่น Smart Modular Data Center ของหัวเว่ย สร้างสรรค์มาให้เป็นตัวเลือกในอุดมคติสำหรับเอดจ์ ดาต้าเซ็นเตอร์


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

“หัวเว่ย” เปิดตัวโซลูชัน Smart PV สำหรับบ้านพักอาศัย ยกระดับการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในครัวเรือนของเวียดนาม

Huawei FusionSolar โซลูชัน Smart PV จากหัวเว่ย ซึ่งเป็นผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) และอุปกรณ์อัจฉริยะระดับโลก นำเสนอระบบบูรณาการที่สมบูรณ์แบบสำหรับโซลูชันพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับที่อยู่อาศัย ในงานเปิดตัวที่นครโฮจิมินห์เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2564

ความต้องการวิถีชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชาญฉลาดได้กระตุ้นตลาดพลังงานแสงอาทิตย์ในครัวเรือนของเวียดนาม เพิ่มความต้องการโซลูชันอัจฉริยะที่ติดตั้งได้ง่ายขึ้นด้วยมาตรฐานความปลอดภัยขั้นสูงและการใช้งานในระยะยาว ที่มีเป้าหมายเพื่อการบริโภคด้วยตนเองที่สูงขึ้น เมื่อปี 2563 ที่ผ่านมา หัวเว่ยได้ส่งมอบอินเวอร์เตอร์ที่มีความจุรวม 4.3 กิกะวัตต์ในเวียดนาม และเพื่อพัฒนาตลาดต่อไป Huawei FusionSolar ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่สำหรับระบบครบวงจรแก่เจ้าของบ้านในเวียดนาม ประกอบด้วย Smart Energy Controller SUN2000-2-5KTL-L1 และ SUN2000-5-10KTL-M1, ESS (ระบบเก็บพลังงานไฟฟ้า) LUNA2000- 5/10/15-S0 และ Smart PV Optimizer SUN2000-450W-P

ในงานเปิดตัวคุณ Alen Zhang ผู้อำนวยการฝ่ายขายของ Huawei FusionSolar Vietnamกล่าวว่า”ด้วยความเชี่ยวชาญถึง 30 ปีในเทคโนโลยีสารสนเทศดิจิทัล เราได้รวมเอาเทคโนโลยี ICT ล่าสุดจำนวนมากมาใช้เพื่อการผลิตพลังงานไฟฟ้าที่ดีที่สุด เพื่อสร้างรากฐานสำหรับพลังงานแสงอาทิตย์ให้กลายเป็นแหล่งพลังงานหลัก เวียดนามเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการใช้พลังงานแสงอาทิตย์สูง และเราหวังว่าจะมีส่วนร่วมในการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้มากขึ้นในครอบครัวชาวเวียดนามด้วยโซลูชัน Huawei FusionSolar”

เมื่อพูดถึงระบบหลังคาเซลล์แสงอาทิตย์แล้ว เจ้าของบ้านมักจะตั้งความหวังแก่ผู้ติดตั้งว่าจะมีการจัดหาระบบภายในครัวเรือนที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่าใช้จ่าย โดยคงไว้ซึ่งประสิทธิภาพสูง ยืดหยุ่น และติดตั้งง่าย มาพร้อมกับแอปพลิเคชันอัจฉริยะและการบริการลูกค้าที่เชื่อถือได้ นั่นทำให้กลุ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ของหัวเว่ยถูกพัฒนาขึ้น เพื่อมุ่งเน้นคุณประโยชน์หลัก 3 ประการ ได้แก่ค่าไฟฟ้าที่เหมาะสม ความปลอดภัยในการใช้งานและประสบการณ์ที่ดีกว่าเดิม

ค่าไฟฟ้าที่เหมาะสมที่สุด
พลังงานแสงอาทิตย์ที่สร้างโดยแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ตอบสนองความต้องการในการใช้ไฟฟ้าของครัวเรือนในเวลากลางวัน ขณะที่พลังงานส่วนเกินจะถูกใช้เพื่อชาร์จแบตเตอรี่ ซึ่งจะปล่อยออกมาเพื่อให้เพียงพอกับการใช้ไฟฟ้าสูงสุดในเวลากลางคืน ด้วยวิธีนี้ ระบบพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับครัวเรือนจึงสามารถบรรลุการใช้งานระดับสูงภายในบ้าน และนี่คือข้อดีของแบตเตอรี่ครัวเรือนอัจฉริยะของหัวเว่ยอย่าง Smart String ESS LUNA2000-5/10/15-S0 แบตเตอรี่แต่ละก้อนมาพร้อมตัวเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานในตัว และรองรับการจัดการประจุและการคายประจุแบบอิสระ

ความปลอดภัยในการใช้งาน
ระบบ AI-Powered Arc Fault Circuit Interrupter (AFCI) ช่วยลดความเสี่ยงจากอัคคีภัยในเชิงรุกด้วยเทคโนโลยีการปิดระบบอย่างรวดเร็ว โดยทำให้หลังคามีแรงดันไฟฟ้าเป็นศูนย์ และปลอดภัยจากอาร์คไฟฟ้าด้วยการป้องกันสองชั้น หัวเว่ยเป็นรายแรกในอุตสาหกรรมที่รวมอัลกอริทึมปัญญาประดิษฐ์เข้ากับ AFCI ทำให้สามารถใช้คุณสมบัติพิเศษ 3 ประการ ได้แก่ การตรวจจับอาร์คไฟฟ้าที่แม่นยำด้วยอัลกอริธึมเครือข่ายประสาท การป้องกันอาร์คไฟฟ้าที่รวดเร็วด้วยการปิดอินเวอร์เตอร์ภายใน 0.5 วินาที ซึ่งต่ำกว่า 2.5 วินาทีตามที่กำหนดไว้ใน UL1699B และการระบุจุดเกิดอาร์ค ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาหน้างานได้ถึง 80%

ผลิตภัณฑ์อินเวอร์เตอร์ FusionSolar ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์แบบเฟสเดียว (Smart Energy Controller SUN2000-2-5KTL-L1) และสามเฟส (Smart Energy Controller SUN2000-5-10KTL-M1) ซึ่งทั้งสองอย่างสามารถใช้ร่วมกับอุปกรณ์เพิ่มขีดความสามารถด้านพลังงาน SUN2000-450W-P ของหัวเว่ยได้

ประสบการณ์ที่ดีกว่าเดิม
และประการสุดท้าย ระบบการจัดการเซลล์แสงอาทิตย์อัจฉริยะ ซึ่งเปิดให้บริการทั้งบนเว็บพอร์ทัลและแอปพลิเคชันมือถือ จะมอบการอ่านค่าปริมาณพลังงานและการอ่านค่าสมดุลพลังงานแบบเรียลไทม์ รวมทั้งการจัดการประสิทธิภาพระดับแผงเซลล์แสงอาทิตย์


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

หัวเว่ย ผนึกกำลัง ซินเน็ค เปิดนวัตกรรมใหม่ล่าสุด “HUAWEI IdeaHub”

นายโรเบ็น หวาง ประธานกลุ่มธุรกิจคลาวด์และเอไอ หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด(ที่ 3 จากซ้าย) ร่วมกับ นางสาวสุธิดา มงคลสุธี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซินเน็ค (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (กลาง) จัดงานเปิดตัวผลิตภัณฑ์ “HUAWEI IdeaHub” จออัจฉริยะสุดล้ำ ที่มาพร้อมการเชื่อมต่อแบบไร้สาย ดีไซน์-สมาร์ท สวยหรูและโซลูชันจอระบบสัมผัส ตอบโจทย์ลูกค้าองค์กรและกลุ่มธุรกิจ โดยใช้ประโยชน์จากโซลูชันสำนักงานที่ช่วยประหยัดพลังงานและมีความยืดหยุ่นปรับเปลี่ยนได้ตามต้องการ ช่วยเร่งกระบวนการทรานสฟอร์มเข้าสู่ยุคดิจิทัลขององค์กรให้เร็วขึ้น โดยมี มาร์กี้-ราศรี บาเล็นซิเอก้า ร่วมงาน ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เมื่อเร็ว ๆ นี้

องค์กรธุรกิจที่สนใจผลิตภัณฑ์ HUAWEI IdeaHub สามารถติดต่อผ่านตัวแทนจำหน่ายซินเน็คฯ ทั่วประเทศ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.synnex.co.th, fb/synnexthailand หรือโทร Synnex Care 1251


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

หัวเว่ย ลงนามเอ็มโอยูกับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ขยายโครงการการพัฒนาทักษะไอซีที เร่งป้อนแรงงานเทคโนโลยีชั้นสูงสู่อุตสาหกรรมในภาคใต้

กรุงเทพฯ 23 ธันวาคม 2563 — บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อสร้างเสริมศักยภาพด้านเทคโนโลยีเน็กซ์เจนเนอเรชั่นให้แก่นักศึกษา เตรียมความพร้อมรองรับตลาดงานในยุคดิจิทัล

ภายใต้โครงการ หัวเว่ย ไอซีที อะแคเดมี (Huawei ICT Academy) ความร่วมมือระหว่างสองฝ่ายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดความรู้ด้านไอทีระดับสูงให้แก่นักศึกษา ผ่านคอร์สการเรียนการสอนแบบปฏิบัติงานจริง พร้อมมอบโอกาสการฝึกงานในสายอาชีพด้านนวัตกรรมการศึกษาเพื่อดิจิทัล (Digital Educational Innovation)

โดยมีศาสตราจารย์ ดร. สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และนายอาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมพิธีเพื่อลงนามในบันทึกข้อตกลง ซึ่งจัดขึ้น

ที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พร้อมด้วยรองศาสตราจารย์ ดร. สุวิทย์ วุฒิสุทธิเมธาวี รองอธิการบดี ฝ่ายบริหาร รองศาสตราจารย์ ดร. จรัญ บุญกาญจน์ รองอธิการบดี ฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นายเควิน เฉิง ประธานบริหาร กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ และนายเจสัน เผิง รองประธานบริหาร กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมเป็นสักขีพยาน

ภายใต้ความร่วมมือนี้ หัวเว่ยจะทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้และจัดหาทรัพยากรการฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีเครือข่ายขั้นสูง โดยอาศัยความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมไอซีทีที่ยาวนานกว่าสองทศวรรษของหัวเว่ย

นักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จะได้รับการเรียนรู้ผ่านการสาธิตสถานการณ์การทำงานจริง ซึ่งจะนำมาซึ่งทักษะที่สามารถนำไปใช้งานได้จริง ผ่านอุปกรณ์เน็ตเวิร์กและทรัพยากรต่าง ๆ ในโครงการหัวเว่ย ไอซีที อะแคเดมี่ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับงานด้านดิจิทัล นักศึกษาที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์จะได้รับโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมโครงการส่งเสริมทักษะด้านไอซีทีหลักของหัวเว่ยสองโครงการ คือ การแข่งขัน Huawei ICT Competition และงาน Huawei Job Fair ซึ่งพื้นฐานของความร่วมมือนี้มาจากความมุ่งมั่นระยะยาวของหัวเว่ยในการสร้างบุคลากรคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความเข้าใจด้านไอซีทีอย่างลึกซึ้ง

ภายหลังพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ หัวเว่ยยังได้มอบอุปกรณ์เราเตอร์ อีเธอร์เน็ต สวิตช์ และไวท์บอร์ดอัจฉริยะ IdeaHub เพื่อการเรียนรู้ร่วมกัน ให้แก่ ศ. ดร. สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อใช้สนับสนุนการฝึกอบรมและบ่มเพาะสำหรับนักศึกษาด้านไอซีที สร้างอีโคซิสเต็มการเรียนรู้ที่แข็งแกร่ง

“หัวเว่ยรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้ทำงานกับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ตลอดจนภาคการศึกษาในภาคใต้” นายอาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว “เรามุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยทั่วประเทศอย่างใกล้ชิด เพื่อสร้างเสริมศักยภาพให้นักศึกษามีความรู้ด้านเทคโนโลยีใหม่ ๆ เราจึงได้จัดตั้ง หัวเว่ย อาเซียน อะแคเดมี่ (ประเทศไทย) ขึ้นมา เพื่อใช้เป็นแพลตฟอร์มเพื่อการศึกษา ปั้นเด็กรุ่นใหม่ให้พร้อมเป็นบุคลากรที่มีความสามารถด้านไอซีทีในตลาดแรงงานระดับโลก”

“เรามีความยินดีที่ได้ลงนามในเอ็มโอยูฉบับนี้ ซึ่งผสานรวมการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเข้าไว้ด้วยกัน การฝึกอบรมในลักษณะนี้จะสร้างแรงบันดาลใจให้นักศึกษาจำนวนมาก ผู้เป็นกลไกสำคัญในการพลิกโฉมอุตสาหกรรมไอทีของประเทศ” ศาสตราจารย์ ดร. สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กล่าว “ผมขอขอบคุณหัวเว่ยที่ได้ช่วยจัดหาโอกาสการเรียนรู้ให้แก่นักศึกษาของเรา เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาด้านดิจิทัล เรามั่นใจเหลือเกินว่าโครงการนี้จะช่วยเพิ่มจำนวนแรงงานไอซีทีที่มีทักษะระดับสูงและเปี่ยมศักยภาพให้แก่ประเทศไทยของเรา”

ภายใต้โครงการ หัวเว่ย ไอซีที อะแคเดมี่ หัวเว่ยมุ่งหวังที่จะขยายความร่วมมือที่เอื้อประโยชน์แก่ทุกฝ่าย ร่วมกับภาคการศึกษาของไทยให้มากขึ้น เพื่อจับมือกันพัฒนาสภาพแวดล้อมที่รองรับความก้าวหน้า นวัตกรรมและคุณค่าใหม่ๆ สำหรับเยาวชนรุ่นต่อๆ ไป รวมถึงเสาะหาบุคลากรที่จะมาช่วยประเทศไทยก้าวไปสู่การเป็น ประเทศไทย 4.0


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

หัวเว่ยเผยนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการทำงานแบบครบวงจร ในคอนเซปต์ Smart Workplace ที่วังจันทร์วัลเลย์ ในเขตอีอีซี

เมื่อเร็ว ๆ นี้ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้จัดแสดงนวัตกรรมเทคโนโลยีสำนักงานอัจฉริยะ (Smart Office) ใหม่ล่าสุด ที่จะช่วยให้องค์กรต่าง ๆ ได้ใช้ประโยชน์จากโซลูชันสำนักงานที่ช่วยประหยัดพลังงานและมีความยืดหยุ่นปรับเปลี่ยนได้ตามต้องการ อันจะช่วยเร่งกระบวนการทรานสฟอร์มด้านดิจิทัลของไทยให้เดินหน้าเร็วขึ้น

การจัดแสดงนวัตกรรมอันล้ำสมัยของหัวเว่ยจัดขึ้นที่งานเปิดอาคารศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะ (Intelligent Operation Center – IOC) ในโครงการพัฒนาพื้นที่วังจันทร์ วัลเลย์ เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor of Innovation – EECi) จังหวัดระยอง

โดยนวัตกรรมแรกคือ Huawei IdeaHub เครื่องมือที่ใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกันของคนในสำนักงานหรือองค์กรที่อาศัยเครื่องมือสื่อสารหลากหลายรูปแบบ ในสถานการณ์ที่ท้าทาย อย่างเช่น ช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งหลายคนต้องทำงานจากที่บ้าน โซลูชันนี้คือคำตอบที่ลงตัว ใช้เป็นระบบการทำงานประสานจากส่วนกลางสำหรับการประชุมผ่านวิดีโอและการเรียนการสอนที่ใช้มัลติมีเดีย

นอกจากนี้ยังได้จัดแสดง โซลูชัน Intelligent Operation Center (IOC) ซึ่งเป็นระบบดาต้าแบบโอเพนซอร์ส ที่สามารถบริหารจัดการและควบคุมดีไวซ์ต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงข้อมูลและกระบวนการต่าง ๆ สำหรับบริษัทหรือองค์กร แพลตฟอร์มนี้จะติดตามและจำลองการปฏิบัติงานได้ในแบบเรียลไทม์ เร่งการตอบสนองและทำให้เกิดการทำงานแบบสอดประสานระหว่างทีมงานต่าง ๆ เพื่อช่วยให้องค์กรทำการตัดสินใจอย่างชาญฉลาดผ่านการใช้ข้อมูลในการวิเคราะห์ ระบบควบคุมการเข้าถึงโดยใช้การจดจำใบหน้าของหัวเว่ยออกแบบมาเพื่อดูแลความปลอดภัยให้พื้นที่สำคัญในสำนักงานและป้องกันการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต มอบความปลอดภัยระดับสูงเพื่อความปลอดภัยของพนักงานทุกคน

ในนิทรรศการของหัวเว่ยยังได้จัดแสดงโซลูชันและบริการอันทันสมัย ตลอดจนเครือข่ายความเร็วสูง ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีของหัวเว่ย อาทิ 5G, สตอเรจคลาวด์, บิ๊กดาต้า และ Wi-Fi 6 ซึ่งพลิกโฉมสถานที่ทำงานให้มีความอัจฉริยะ เชื่อมโยงการทำงานของเทคโนโลยีที่หลากหลาย และพร้อมสำหรับการใช้งานทุกรูปแบบ

แนวคิด Smart Workplace ของหัวเว่ย แสดงให้เห็นถึงบทใหม่ในการผลักดันดิจิทัลทรานสฟอร์เมชันให้เกิดขึ้นจริงในที่ทำงาน เพื่อให้คนจำนวนมากขึ้นได้ใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมบริการที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล หัวเว่ยมีความมุ่งมั่นที่จะนำเสนอเทคโนโลยีอันล้ำสมัยที่มีความสามารถในการให้บริการเต็มรูปแบบ เพื่อพัฒนาอีโคซิสเต็มด้านไอซีที ที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงโลกดิจิทัลของประเทศไทย


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

หัวเว่ย จับมือ ศิริราช ลงนาม MOU พัฒนาโรงพยาบาลอัจฉริยะ 5G ยกระดับบริการสาธารณสุขด้วย Cloud และ AI

กรุงเทพฯ/ 2 ธันวาคม 2563 — บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ลงนามบันทึกความร่วมมือว่าด้วยการพัฒนาบริการอัจฉริยะ 5G ที่ขับเคลื่อนด้วย Cloud และ AI (5G Powered Smart Hospital Enabled with Cloud and AI) สร้างแพลตฟอร์มอัจฉริยะที่ช่วยพัฒนาบริการทางการแพทย์โดยนำนวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ ตลอดระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า ทั้ง 2 ฝ่ายจะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลอันทันสมัย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริการและการดำเนินงานทางการแพทย์ อันจะช่วยพัฒนาคุณภาพบริการสาธารณสุขของไทยให้ดียิ่งขึ้น

พิธีลงนามบันทึกความร่วมมือดังกล่าวจัดขึ้น ณ ศูนย์วิจัยการแพทย์ศิริราช โดยมี นายอาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด และ ศ. ดร. นพ. ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้ลงนาม

ความร่วมมือฯ ดังกล่าว สอดคล้องกับพันธกิจของโรงพยาบาลศิริราช ที่ต้องการยกระดับบริการด้วยการก้าวสู่การเป็นศูนย์การแพทย์อัจฉริยะที่จะใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการผสมผสานโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยี 5G, AI, Big Data และการประมวลผลแบบ Cloud Edge เพื่อเสนอบริการที่เหนือระดับกว่า เทคโนโลยีดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานในหลายด้าน เช่น การติดตามผู้ป่วย การวิเคราะห์โรคด้วยการใช้เทคโนโลยี AI บน Cloud การเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล และการจัดสรรทรัพยากร ซึ่งล้วนเป็นการตอบโจทย์ความต้องการของโรงพยาบาลศิริราช ในการก้าวเข้าสู่การเป็นศูนย์กลางด้านการแพทย์ชั้นนำและเป็นผู้นำด้านการดูแลรักษาสุขภาพของประเทศไทย

ภายใต้ข้อตกลงระยะเวลา 5 ปีนี้ หัวเว่ยจะสนับสนุนด้านเทคโนโลยี 5G ให้แก่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เพื่อยกระดับโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ รวมถึงแบ่งปันความรู้ และร่วมมือกับนักวิจัยและคณาจารย์ทางการแพทย์ของศิริราชในการจัดทำโครงการ เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยทั้ง 2 ฝ่ายจะทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนาโครงการที่จะเกิดขึ้นในระหว่างความร่วมมือภายใต้บันทึกข้อตกลงฉบับนี้

นอกจากนี้ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และหัวเว่ย ยังร่วมผนึกกำลังเพื่อพัฒนาอีโคซิสเต็ม 5G ต่อไป มุ่งส่งเสริมการใช้งานเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ ในรูปแบบของการจัดกิจกรรมสาธิตและนิทรรศการ ทั้งยังเสาะหาความร่วมมือด้านวิชาการ ตลอดจนจัดการฝึกอบรมหรือถ่ายทอดความรู้ด้านเทคโนโลยี เพื่อศึกษานวัตกรรมใหม่ ๆ ซึ่งรวมถึงเทคโนโลยี 5G, AI, Cloud และอื่น ๆ

โอกาสนี้ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ยังได้รับรางวัล CommunicAsia 2020 ในสาขา “การทดสอบ 5G ที่มีนวัตกรรมสร้างสรรค์ที่สุดในเอเชียแปซิฟิก” (Most Innovative 5G Trial in Asia Pacific) จากความสำเร็จในการนำโซลูชันการตรวจวิเคราะห์โควิด-19 ด้วยเทคโนโลยี 5G+Cloud+AI มาใช้ในการวินิจฉัยโรค เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความแม่นยำในการตรวจวิเคราะห์ ในช่วงการแพร่ระบาดของโรค

“นับเป็นโอกาสดีที่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลได้จับมือเป็นพันธมิตรกับหัวเว่ยในบันทึกข้อตกลงฉบับนี้ ซึ่งจะช่วยยกระดับมาตรฐานด้านบริการของเรา และเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานให้ดีขึ้น ทั้งยังถือเป็นก้าวแรกในการพัฒนาโรงพยาบาลรัฐอัจฉริยะ 5G แห่งแรกในประเทศไทย โอกาสนี้ ผมขอขอบคุณหัวเว่ยที่ให้ความร่วมมือในการนำนวัตกรรมบนรากฐานเทคโนโลยี 5G, Cloud และ AI มาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมด้านการแพทย์ และร่วมผลักดันให้เกิดการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลเสมอมา” ศ. ดร. นพ. ประสิทธิ์ กล่าว

ด้านนายอาเบล เติ้ง กล่าวว่า “ภาคการดูแลสุขภาพจะได้ประโยชน์มหาศาลจากนวัตกรรมและโครงสร้างพื้นฐานอัจฉริยะในยุคดิจิทัล เราต้องการที่จะเดินเคียงข้างไปกับประเทศไทยเพื่อพัฒนาอีโคซิสเต็มด้านการดูแลรักษาสุขภาพที่แข็งแกร่งและเชื่อมโยงถึงกัน เพื่อให้ชุมชนที่อยู่ห่างไกลมีโอกาสเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้มากยิ่งขึ้น และช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดียิ่งขึ้นต่อไป”


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

หัวเว่ย และแอสเสท เวิรด์ คอร์ปอเรชั่น ลงนามบันทึกข้อตกลง จับมือร่วมพัฒนาอีโคซิสเต็มเพื่อขับเคลื่อนแพลตฟอร์ม “สมาร์ทลีฟวิ่ง” แบบครบวงจร

กรุงเทพฯ/ 19 พฤศจิกายน 2563 — บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ให้บริการระบบโครงสร้างพื้นฐานและโซลูชันไอซีทีชั้นนำ ลงนามในบันทึกข้อตกลงร่วมกับ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของไทยที่มุ่งเน้นตอบสนองไลฟ์สไตล์แบบครบวงจร เพื่อความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนความเชี่ยวชาญ และมองหาความเป็นไปได้ในการพัฒนาอีโคซิสเต็มสำหรับสมาร์ทลีฟวิ่งและอาคารอัจฉริยะต้นแบบ ที่จะถูกนำมาใช้งานจริงในโครงการอสังหาริมทรัพย์ของ AWC เพื่อแสวงหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ และริเริ่มโครงการด้านอาคารอัจฉริยะ (Smart Building), การบริหารจัดการสินทรัพย์อัจฉริยะ (Smart Asset Management), ธุรกิจโรงแรมและการค้าปลีกอัจฉริยะ (Smart Hospitality and Retail), สมาร์ทแคมปัสและสมาร์ทลีฟวิ่ง (Smart Campus and Living) รวมไปถึงการเชื่อมต่อเชิงอัจฉริยะ (Intelligent Connectivity) ต่าง ๆ ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการเสริมสร้างศักยภาพให้กับธุรกิจเพื่อสร้างสรรค์อนาคตที่ดีกว่าอย่างยั่งยืน

ภายใต้บันทึกข้อตกลงนี้ AWC และหัวเว่ยจะร่วมกันแลกเปลี่ยนความเชี่ยวชาญ และมองหาความเป็นไปได้ในการพัฒนาและศึกษานวัตกรรมที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตของผู้คน รวมถึงยกระดับวงการอสังหาริมทรัพย์ไทยให้ดียิ่งขึ้นในอนาคต อาทิ โซลูชันที่ขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยี 5G, เทคโนโลยีแอคเซสพอยท์ Wi-Fi 6 ความเร็วระดับอัลตร้าไฮสปีด, โมดูล IoT, อุปกรณ์เชื่อมต่ออัจฉริยะ, พื้นที่เก็บข้อมูลในคลาวด์ เป็นต้น ด้วยโครงสร้างพื้นฐานไอซีทีที่มีความยืดหยุ่นและเชื่อถือได้จากหัวเว่ย จะช่วยเร่งกระบวนการทรานสฟอร์มด้านดิจิทัลของโครงการในกลุ่มธุรกิจโรงแรมและบริการ และกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ ทั้งศูนย์การค้า สถานที่ท่องเที่ยวแนวไลฟ์สไตล์ และอาคารสำนักงานของ AWC เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผู้มาใช้บริการ

AWC มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาศักยภาพด้านต่าง ๆ ผ่านกลยุทธ์ที่ไม่เคยหยุดนิ่ง และสร้างคุณค่าที่เหนือระดับให้แก่ลูกค้า ตลอดจนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์โดยรวม โดยภายใต้ความร่วมมือแลกเปลี่ยนความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี พร้อมทั้งสมาร์ทดีไวซ์และโซลูชันชั้นนำระดับเวิร์ลคลาสของหัวเว่ย จะช่วยให้ AWC สามารถพัฒนาโครงสร้างดิจิทัลได้อย่างมั่นใจ พร้อมคงความผู้นำในธุรกิจท่ามกลางยุคดิจิทัลที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

“การผนึกกำลังกับ AWC ในวันนี้นับเป็นความสำเร็จก้าวสำคัญของหัวเว่ย ประเทศไทย” นายอาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวในระหว่างพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง “ที่หัวเว่ย เราเดินหน้าเสาะหากลยุทธ์ที่จะช่วยขับเคลื่อนการเติบโตของภาครัฐและเอกชนของประเทศไทย บริษัทมีเป้าหมายแน่วแน่ในการช่วยปูทางสู่การพัฒนาด้านดิจิทัลของไทยในอนาคต เรามั่นใจว่าการสนับสนุนด้านเทคโนโลยีและการแบ่งปันองค์ความรู้ด้านไอซีทีที่เรามอบให้แก่ AWC จะช่วยเสริมศักยภาพให้โรงแรม ธุรกิจค้าปลีก และอาคารสำนักงาน รวมไปถึงโครงการมิกซ์ยูสรูปแบบต่าง ๆ ของ AWC พร้อมช่วยขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจในแบบสมาร์ทที่มีประสิทธิภาพสูงสุด” นายอาเบล กล่าวเสริม

“AWC มีความมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์นวัตกรรมเสริมความก้าวหน้าให้กับอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ไทย ด้วยการมุ่งมั่นในการศึกษา แสวงหา และนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ในการพัฒนาโครงการคุณภาพใหม่ ๆ อย่างไม่หยุดยั้ง เรามีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับหัวเว่ย พันธมิตรเชิงกลยุทธ์ของเรา ในการเดินหน้าพันธกิจการมุ่งสร้างสรรค์อนาคตที่ดีกว่า ด้วยความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนความเชี่ยวชาญด้านนวัตกรรม และมองหาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีทีที่แข็งแกร่งร่วมกัน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจ สอดคล้องกับความต้องการและไลฟ์สไตล์ของผู้คน ในโลกยุคดิจิทัล” นางวัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าว


 

Exit mobile version