Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

การ์ทเนอร์เผย 3 ปีจากนี้ ผลิตภัณฑ์และบริการเทคโนโลยีส่วนใหญ่จะมาจากมืออาชีพที่อยู่นอกวงการไอที

กรุงเทพฯ ประเทศไทย 4 สิงหาคม 2564 – ภายในปี 2567 ประมาณ 80% ของผลิตภัณฑ์และบริการเทคโนโลยีจะมาจากมืออาชีพนอกวงการเทคฯ

แนวโน้มนี้เป็นผลจากแรงผลักดันของนักลงทุนกลุ่มใหม่ที่อยู่นอกองค์กรไอทีทั่ว ๆ ไปที่ครองส่วนแบ่งที่ใหญ่กว่าของตลาดไอทีโดยรวม ปัจจุบันค่าใช้จ่ายด้านไอทีโดยเฉลี่ยของฝั่งธุรกิจสูงถึง 36% ของงบประมาณด้านไอทีทั้งหมด

ราเจช กานดาสวามี รองประธานฝ่ายวิจัยของการ์ทเนอร์กล่าวว่า “ซีอีโอบริหารธุรกิจดิจิทัลเหมือนเป็นทีมกีฬาที่ไม่ใช่หน่วยงานเดี่ยว ๆ ในสังกัดของฝ่ายไอทีอีกต่อไป การเติบโตของข้อมูลดิจิทัล เครื่องมือในการพัฒนาแบบ Low-Code และการพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เป็นหนึ่งในหลายปัจจัยที่ทำให้การพัฒนาเทคโนโลยีเป็นไปอย่างเสรีโดยไม่จำเป็นว่าต้องเป็นการพัฒนาโดยผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีเท่านั้น”

โควิด-19 ขับเคลื่อนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ

เทคโนโลยีเข้าไปมีบทบาทในทุกด้านของธุรกิจและผู้บริโภค ทำให้เกิดความต้องการผลิตภัณฑ์และบริการของผู้ใช้นอกแผนกไอที ซึ่งความต้องการของผู้ซื้อกลุ่มนี้ไม่จำเป็นต้องขึ้นอยู่กับรูปแบบของผลิตภัณฑ์หรือบริการเดิม ๆ ที่ได้รับเสมอไป

ประกอบกับวิกฤตโควิด-19 ที่มีส่วนทำให้เกิดการขยายทั้งปริมาณและประเภทของกรณีการใช้งานเทคโนโลยีที่จำเป็น การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่าในปี 2566 จะเกิดการสร้างรายได้ถึง 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากผลิตภัณฑ์และบริการที่ไม่เคยมีมาก่อนการระบาด

นักวิเคราะห์การ์ทเนอร์ยังกล่าวว่าการขยายตัวอย่างรวดเร็วของบริการคลาวด์ แนวคิดริเริ่มต่าง ๆ จากธุรกิจดิจิทัล และบริการระยะไกลได้เปิดประตูสู่ความเป็นไปได้ใหม่ ๆ เมื่อผสานรวมและเพิ่มประสิทธิภาพของเทคโนโลยี

ในปี 2567 กว่าหนึ่งในสามของผู้ให้บริการเทคโนโลยีต้องแข่งขันกับผู้ให้บริการนอกกลุ่มเทคฯ

โควิด-19 ยังช่วยลดกำแพงในการสร้างโซลูชันต่าง ๆ ที่ผูกกับเทคโนโลยีและกลายเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญให้ใครก็ตามที่สามารถตอบสนองความต้องการอันเป็นผลจากการระบาดใหญ่ได้ ซึ่งผู้ให้บริการหน้าใหม่เหล่านี้รวมถึงผู้ที่ทำงานสาขาวิชาชีพอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เทคโนโลยีภายในองค์กรต่าง ๆ หรือเป็น “นักเทคโนโลยีธุรกิจ – Business Technologists หรือ  พลเมืองนักพัฒนา (Citizen Developers) นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล และระบบ AI เพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์

ปัจจุบัน ผู้ให้บริการเทคโนโลยีพบว่าตนกำลังเข้าสู่ตลาดที่เกี่ยวข้องหรือแข่งขันกับผู้ให้บริการจากนอกสายเทคฯ มากขึ้น ซึ่งรวมถึงบริษัทที่มีนวัตกรรมด้านบริการทางการเงินและการค้าปลีก โดยอย่างหลังกำลังสร้างโซลูชันที่ขับเคลื่อนด้วยไอทีถี่ขึ้นและประกอบกับความทะเยอทะยานที่มากขึ้นเนื่องจากองค์กรจำนวนมากยังพยายามเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัล

การ์ทเนอร์คาดว่าภายในอีก 12 เดือนข้างหน้านี้ จะมีการประกาศเปิดตัวเทคโนโลยีใหม่ ๆ จากบริษัทที่ไม่ใช่สายเทคฯ แพร่หลายมากขึ้น

“ความพร้อมของนักเทคโนโลยีธุรกิจทำให้เกิดแหล่งข้อมูลใหม่ ๆ ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและยังสามารถทำงานให้เกิดผลสำเร็จได้ ดังนั้นผู้ให้บริการเทคโนโลยีจำเป็นต้องขยายขอบเขตแนวคิดและแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีเพิ่มเติมไปยังกลุ่มคนใหม่ ๆ อาทิ จากพื้นฐานการพัฒนามือสมัครเล่น หรือจากทีมงานที่ดูแลกลุ่มลูกค้าของบริษัทฯ และแผนกอื่น ๆ” กานดาสวามี กล่าวเพิ่มเติม

ลูกค้าการ์ทเนอร์สามารถคลิกอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่รายงาน Tech Providers 2025: Strategic Responses to Challenges From New (and Old) Entrants ซึ่งเป็นส่วนนึงของรายงาน Gartner Trends Insight report ในหัวข้อ Tech Providers 2025 Special Report ที่เก็บรวบรวมผลการวิจัยเพื่อช่วยให้ผู้ให้บริการเทคโนโลยี (TSP) เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของตลาดในระยะยาวและเตรียมพร้อมรับมือได้ตั้งแต่วันนี้

สามารถชมรายละเอียดการวิเคราะห์เพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวโน้มที่ส่งผลกระทบต่อผู้ให้บริการเทคโนโลยี ได้ที่เว็บบินาร์ของการ์ทเนอร์ หัวข้อ Prepare Now for the 6 Forces That Will Shape Tech Providers by 2025

เกี่ยวกับ Gartner for High Tech

Gartner for High Tech นำเสนอแนวทางปฏิบัติ ข้อมูลเชิงลึกของอุตสาหกรรม และมุมมองเชิงกลยุทธ์เกี่ยวกับแนวโน้มที่เกิดขึ้นใหม่รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของตลาด เพื่อให้ผู้นำและทีมงานด้านเทคโนโลยีเตรียมพร้อมรับมือตามบทบาทหน้าที่ อันนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายสำคัญทางธุรกิจและสร้างองค์กรให้ประสบความสำเร็จในอนาคต คลิกดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.gartner.com/en/industries/high-tech หรือติดตามข้อมูลและข่าวสารจาก Gartner for High Tech บน Twitter และ LinkedIn โดยใช้ #GartnerHT

เกี่ยวกับการ์ทเนอร์

บริษัท การ์ทเนอร์ (Gartner, Inc.) (NYSE: IT) คือบริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาชั้นนำของโลก และมีรายชื่ออยู่ในดัชนี S&P 500 บริษัทฯ ให้ข้อมูลเชิงลึก คำแนะนำ และเครื่องมือต่าง ๆ แก่ผู้บริหารองค์กรธุรกิจ เพื่อรองรับการดำเนินภารกิจสำคัญที่มีอยู่ในปัจจุบันและสร้างองค์กรให้ประสบความสำเร็จในอนาคต

การ์ทเนอร์นำเสนองานวิจัยที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญ และใช้แหล่งข้อมูลจากผู้ปฏิบัติงานจริง เพื่อชี้นำลูกค้าสำหรับการตัดสินใจที่ถูกต้องเหมาะสมในเรื่องที่สำคัญที่สุด การ์ทเนอร์ทำหน้าที่เป็นแหล่งข้อมูลที่เป็นกลางและเป็นที่ปรึกษาที่ได้รับความไว้วางใจจากองค์กรต่าง ๆ กว่า 14,000 แห่งในกว่า 100 ประเทศทั่วโลก ครอบคลุมทุกส่วนงานสำคัญ ๆ ในทุกกลุ่มอุตสาหกรรมและองค์กรทุกขนาด

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางของการ์ทเนอร์ในการช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจอย่างถูกต้องเพื่อขับเคลื่อนอนาคตของธุรกิจได้ที่ gartner.com 


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

การ์ทเนอร์คาดการณ์ ภายในสิ้นปีนี้ กว่าครึ่ง (51%) ของพนักงานทั่วโลกที่เน้นทักษะความรู้จะทำงานระยะไกล

ประเทศไทย 13 กรกฎาคม 2564 – การ์ทเนอร์ อิงค์ คาดการณ์ว่าภายในสิ้นปี 2564 51% ของการทำงานของพนักงานที่เน้นทักษะทั่่วโลกจะเป็นแบบการทำงานระยะไกลโดยเพิ่มขึ้นจาก 27% ในปี 2563

การ์ทเนอร์ประเมินว่าภายในสิ้นปี 2564 พนักงานที่ทำงานระยะไกล (Remote Workers) จะมีสัดส่วนเป็น 32% ของพนักงานทั้งหมดทั่วโลก เพิ่มขึ้นจาก 17% ในปี 2562 โดยการ์ทเนอร์ได้ให้คำจำกัดความของพนักงานใช้ทักษะความรู้ หรือ Knowledge Workers ว่าเป็นผู้ที่ต้องใช้ความรู้หรือทักษะด้านวิชาชีพเป็นหลัก อาทิ นักเขียน นักบัญชี หรือ วิศวกร เป็นต้น และยังให้ความหมายของพนักงานที่ไม่ได้ทำงานในสำนักงานไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชนหรือที่หน้างานอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 วัน ว่าเป็นพนักงานกลุ่มไฮบริด (Hybrid Workers) กับพนักงานที่ต้องทำงานระยะไกลเต็มตัว (Fully Remote Workers)

มร. แรนจิท แอทวัล ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิจัยการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “แรงงานกลุ่มไฮบริดคืออนาคตของโลกการทำงานทั้งการทำงานระยะไกล (Remote) และการทำงานในสถานที่ต่าง ๆ (On-site) ล้วนเป็นแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและตอบโจทย์ความจำเป็นด้านแรงงานของนายจ้าง”

รูปแบบการทำงานระยะไกลขององค์กรต่าง ๆ ทั่วโลกมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับการนำเทคโนโลยีมาใช้ วัฒนธรรมและการผสมผสานของอุตสาหกรรม คาดว่าในปี 2565 31% ของการทำงานของพนักงานทั่วโลกจะเป็นการทำงานระยะไกล (ที่ผสมผสานกันระหว่างแบบไฮบริดและแบบเต็มเวลา) โดยในปี 2565 สหรัฐอเมริกาจะเป็นผู้นำกลุ่มพนักงานระยะไกลที่มีสัดส่วนสูงถึง 53% ของแรงงานในอเมริกาทั้งหมด ส่วนประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรป คาดว่าสหราชอาณาจักรจะมีสัดส่วนของพนักงานระยะไกลที่ 52% ขณะที่เยอรมนีและฝรั่งเศสมีสัดส่วนที่ 37% และ 33% ตามลำดับ

อินเดียและจีนเป็นสองประเทศที่จะผลิตพนักงานระยะไกลเพิ่มจำนวนมากที่สุด แต่อัตราการเติบโตโดยรวมยังค่อนข้างต่ำ โดยอินเดียอยู่ที่ 30% จีนอยู่ที่ 28%

ผลกระทบการจัดหาและนำเทคโนโลยีไปใช้งานจนถึงปี 2567

ผลกระทบจากการทำงานระยะไกลกำลังส่งผลให้มีการประเมินโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีจากความต้องการที่เปลี่ยนไปของผู้ซื้อที่ต้องการทำงานได้จากทุกที่ มร. แอทวัล กล่าวว่า “ตลอดปี 2567 องค์กรต่าง ๆ จะถูกบังคับให้ต้องเตรียมแผนรับมือการเปลี่ยนแปลงธุรกิจไปสู่ดิจิทัลภายในห้าปีเป็นอย่างน้อย โดยแผนจะต้องปรับให้เข้ากับโลกยุคหลังโควิด-19 ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานระยะไกลและเชื่อมต่อกับเทคโนโลยีดิจิทัลรอบด้าน”  โดยผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัลจะมีบทบาทสำคัญกับการเปลี่ยนผ่านขององค์กร ในแผนระยะยาวจำเป็นต้องมีการลงทุนต่อเนื่องเพื่อดำเนินการจัดเตรียมเทคโนโลยีสำหรับใช้ทำงานระยะไกลเป็นอันดับแรก รวมถึงเทคโนโลยีใหม่ ๆ อาทิ ไฮเปอร์ออโตเมชั่น, AI และเทคโนโลยีการทำงานร่วมกัน เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในด้านสถานที่และบทบาทการทำงาน

การทำงานแบบไฮบริดจะเพิ่มความต้องการพีซีและแท็บเล็ตอย่างต่อเนื่อง คาดว่าในปี 2564 จะมีการจัดส่งพีซีและแท็บเล็ตสูงสุดเป็นประวัติการณ์มากกว่า 500 ล้านเครื่อง ซึ่งตอกย้ำถึงความต้องการของทั้งตลาดในกลุ่มองค์กรธุรกิจและกลุ่มผู้บริโภค

องค์กรต่าง ๆ ยังได้นำระบบคลาวด์มาปรับใช้เพื่อเร่งการเปิดใช้รูปแบบการทำงานระยะไกลให้มีความรวดเร็วมากขึ้น การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่าในปี 2564 มูลค่าการใช้จ่ายของผู้ใช้บริการคลาวด์สาธารณะทั่วโลกจะเพิ่มขึ้น 23.1% เนื่องจากซีไอโอและผู้บริหารด้านไอทีให้ความสำคัญกับแอปพลิเคชันบนคลาวด์ เช่น การให้บริการด้านซอฟต์แวร์ (SaaS) แอปพลิเคชันแบบ SaaS ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อการทำงานระยะไกลและพนักงานสามารถเข้าถึงได้จากทุกสถานที่ การติดต่อสื่อสารทางสังคมและเครื่องมือการทำงานร่วมกันยังเป็นสิ่งที่ “ขาดไม่ได้” ซึ่งทำให้ตลาดซอฟต์แวร์เพื่อการสื่อสารทางสังคมและเพื่อการทำงานร่วมกันทั่วโลกมีรายได้เพิ่มขึ้น 17.1% ในปี 2564

หลายองค์กรต้องเปลี่ยนและปรับใช้เทคโนโลยีการเชื่อมต่อหลายอย่างเพื่อให้มั่นใจว่าธุรกิจจะดำเนินต่อไปได้แม้พนักงานต้องทำงานระยะไกล และภายในปี 2567 การเข้าใช้งานเทคโนโลยีการทำงานระยะไกลทั้งหมดอย่างน้อย 40% จะผ่านระบบเครือข่ายแบบ Zero Trust Network Access (ZTNA) โดยเพิ่มขึ้นจากเดิมที่ต่ำกว่า 5% ณ สิ้นปี 2563 ขณะที่องค์กรส่วนใหญ่จะยังให้บริการลูกค้าผ่านระบบเครือข่าย VPN โดย ZTNA จะกลายเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาทดแทนหลัก

ลูกค้าการ์ทเนอร์สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ “Forecast Analysis: Remote and Hybrid Workers, Worldwide.”

เรียนรู้วิธีการตัดสินใจที่รวดเร็วและชาญฉลาดยิ่งขึ้น พร้อมสร้างประสิทธิภาพความแข็งแกร่งให้องค์กรที่ Gartner Future of Work Resource Center

เกี่ยวกับ Gartner for High Tech

Gartner for High Tech นำเสนอแนวทางปฏิบัติ ข้อมูลเชิงลึกของอุตสาหกรรม และมุมมองเชิงกลยุทธ์เกี่ยวกับแนวโน้มที่เกิดขึ้นใหม่รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของตลาด เพื่อให้ผู้นำและทีมงานด้านเทคโนโลยีเตรียมพร้อมรับมือตามบทบาทหน้าที่ อันนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายสำคัญทางธุรกิจและสร้างองค์กรให้ประสบความสำเร็จในอนาคต คลิกดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.gartner.com/en/industries/high-tech หรือติดตามข้อมูลและข่าวสารจาก Gartner for High Tech บน Twitter และ LinkedIn โดยใช้ #GartnerHT

เกี่ยวกับการ์ทเนอร์ 

บริษัท การ์ทเนอร์ (Gartner, Inc.) (NYSE: IT) คือบริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาชั้นนำของโลก และมีรายชื่ออยู่ในดัชนี S&P 500 บริษัทฯ ให้ข้อมูลเชิงลึก คำแนะนำ และเครื่องมือต่าง ๆ แก่ผู้บริหารองค์กรธุรกิจ เพื่อรองรับการดำเนินภารกิจสำคัญที่มีอยู่ในปัจจุบันและสร้างองค์กรให้ประสบความสำเร็จในอนาคต

การ์ทเนอร์นำเสนองานวิจัยที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญ และใช้แหล่งข้อมูลจากผู้ปฏิบัติงานจริง เพื่อชี้นำลูกค้าสำหรับการตัดสินใจที่ถูกต้องเหมาะสมในเรื่องที่สำคัญที่สุด การ์ทเนอร์ทำหน้าที่เป็นแหล่งข้อมูลที่เป็นกลางและเป็นที่ปรึกษาที่ได้รับความไว้วางใจจากองค์กรต่าง ๆ กว่า 14,000 แห่งในกว่า 100 ประเทศทั่วโลก ครอบคลุมทุกส่วนงานสำคัญ ๆ ในทุกกลุ่มอุตสาหกรรมและองค์กรทุกขนาด

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางของการ์ทเนอร์ในการช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจอย่างถูกต้องเพื่อขับเคลื่อนอนาคตของธุรกิจได้ที่ gartner.com


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

การ์ทเนอร์เผยปัญหาชิปขาดแคลนทั่วโลกจะลากยาวจนถึงไตรมาส 2 ปี 2565

กรุงเทพฯ ประเทศไทย 13 พฤษภาคม 2564 – การ์ทเนอร์ อิงค์ คาดการณ์ว่าปัญหาขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลกจะส่งผลกระทบตลอดทั้งปีนี้ และจะกลับคืนสู่ภาวะปกติช่วงไตรมาส 2 ปี 2565

คานิสกัส ชัวฮาน นักวิเคราะห์หลัก ฝ่ายวิจัยของการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “ปัญหาการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์จะส่งผลกระทบรุนแรงต่อห่วงโซ่อุปทานและการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลาย ๆ ประเภทในปีนี้ ขณะที่โรงงานผลิตขึ้นราคาแผ่นเวเฟอร์ที่เป็นส่วนประกอบหลักในการผลิตชิป และมีผลต่อเนื่องไปถึงบริษัทผู้ผลิตชิปก็ขึ้นราคาตามไปด้วย”

ปัญหาการขาดแคลนชิปเริ่มเกิดกับอุปกรณ์ประเภทต่าง ๆ ก่อน อาทิ อุปกรณ์สำหรับการจัดการพลังงาน จอแสดงผล และไมโครคอนโทรลเลอร์ ที่ผลิตจากบนโหนดการทำงานแบบเดิม ๆ ของโรงงานผลิตชิปขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8 นิ้ว ซึ่งมีวัตถุดิบจำกัด เวลานี้ปัญหาการขาดแคลนส่งผลต่อไปยังอุปกรณ์อื่น ๆ และมีข้อจำกัดด้านความจุ รวมถึงขาดสารตั้งต้นในการผลิต กระบวนการเชื่อมลวดทองคำ  ส่วนประกอบแบบพาสซีฟ วัสดุและการทดสอบ ทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานที่กำลังเป็นปัญหานอกจากเรื่องโรงงานผลิตชิป เนื่องจากส่วนประกอบเหล่านี้เป็นสินค้าในอุตสาหกรรมโภคภัณฑ์ขั้นสูงและมีความยืดหยุ่นน้อย และส่งผลต่อความสามารถในการเพิ่มการลงทุนเชิงรุกในระยะเวลาสั้น ๆ

การ์ทเนอร์คาดว่าปัญหาขาดแคลนอุปกรณ์แทบทุกหมวดหมู่จะกระทบต่อเนื่องไปจนถึงไตรมาสที่ 2 ปี 2565 (ดูรูปภาพที่ 1) ในขณะที่ข้อจำกัดด้านปริมาณของสารตั้งต้นในการผลิตชิปอาจใช้เวลาไปถึงไตรมาส 4 ปี 2565


ภาพที่ 
1. Gartner Index of Inventory Semiconductor Supply Chain Tracking – คาดการณ์การเคลื่อนไหวของดัชนีสินค้าคงคลังเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลกปี 2564-2565

Note: ข้อมูลไตรมาส 1 ปี 2564 เป็นแบบจำลองการคาดการณ์ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงตามฐานข้อมูลการเงินตามรายงานของผู้จำหน่ายช่วงไตรมาส 2 ปี 2564 และแถบดัชนีชี้วัดไตรมาส 1 ปี 2564 – ไตรมาส 4 ปี 2565 เป็นเพียงการคาดการณ์ทิศทางที่จะเกิดขึ้นเท่านั้น

ที่มา: การ์ทเนอร์ (พฤษภาคม 2564)

นักวิเคราะห์การ์ทเนอร์แนะนำ 4 แนวทางการดำเนินธุรกิจให้แก่บริษัทผู้ผลิต OEM ที่พึ่งพาเซมิคอนดักเตอร์ทั้งจากทางตรงและทางอ้อม สำหรับลดความเสี่ยงและการสูญเสียรายได้ในช่วงภาวะขาดแคลนชิปทั่วโลก ดังนี้

  • ขยายมุมมองในห่วงโซ่อุปทาน – ภาวะการขาดแคลนชิปทำให้ผู้นำห่วงโซ่อุปทานจำเป็นต้องขยายมุมมองด้านห่วงโซ่อุปทาน โดยมองข้ามช็อตไปจนถึงระดับซิลิคอนนอกเหนือจากระดับซัพพลายเออร์ ซึ่งจะมีความสำคัญอย่างยิ่งในการคาดการณ์ข้อจำกัดด้านอุปทานและปัญหาคอขวด หรือแม้แต่ช่วยคาดการณ์สถานการณ์วิกฤตว่าจะฟื้นกลับมาอยู่ในภาวะปกติได้เมื่อไร
  • รับประกันการจัดหาด้วยโมเดลธุรกิจร่วม และ/หรือ เพิ่มการลงทุนล่วงหน้า – ธุรกิจ OEM ที่มีขนาดเล็กกว่าและต้องการส่วนประกอบสำคัญต้องมองหาพันธมิตรที่ทำธุรกิจคล้ายคลึงกัน และร่วมมือกับผู้ผลิตชิป และ/หรือ ผู้เล่นในธุรกิจบริการเข้าแพ็กเกจชิป (Outsourced Semiconductor Assembly and Test or OSAT) ในฐานะพันธมิตรเพื่อรับผลประโยชน์ร่วมกัน นอกจากนี้หากเป็นไปได้ เพิ่มการลงทุนล่วงหน้าในส่วนที่เป็นสินค้าโภคภัณฑ์ของห่วงโซ่อุปทานชิป และ/หรือโรงงานผลิตชิปเพื่อรับประกันว่าบริษัทจะมีสินค้าสำรองในระยะยาว
  • การติดตามตัวชี้วัด – แม้ไม่มีพารามิเตอร์ใด ๆ ที่เกี่ยวข้องแสดงให้เห็นว่าสถานการณ์การขาดแคลนจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร แต่การนำพารามิเตอร์หลาย ๆ ตัวที่เกี่ยวข้องมาใช้ร่วมกัน สามารถนำองค์กรไปในทิศทางที่ถูกต้องได้

กัวราฟ กุปต้า รองประธานฝ่ายวิจัยการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนชิปมีความผันผวนอยู่ตลอด ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำความเข้าใจว่าสถานะของชิปเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร การติดตามตัวชี้วัด เช่น การลงทุนในสินทรัพย์ประเภททุน ดัชนีสินค้าคงคลังและการคาดการณ์การเติบโตรายได้ของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์จะเป็นตัวบ่งชี้สถานการณ์ในช่วงเริ่มแรก ที่สามารถช่วยองค์กรให้ได้รับข้อมูลความคืบหน้าเกี่ยวกับปัญหาและเห็นว่าอุตสาหกรรมโดยรวมนั้นเติบโตขึ้นอย่างไร”

  • สร้างฐานซัพพลายเออร์ให้หลากหลาย – การคัดสรรชิปจากแหล่งที่มาแตกต่างกัน และ/หรือ พาร์ทเนอร์ในธุรกิจบริการเข้าแพ็กเกจชิป (OSAT) ต้องมีการทำงานและการลงทุนเพิ่มเติม แต่ในระยะยาวจะช่วยลดความเสี่ยงได้ นอกจากนี้ยังต้องสร้างความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นและเชิงกลยุทธ์กับผู้จัดจำหน่าย ผู้ค้าปลีกและผู้ค้าทั่วไป เพื่อช่วยให้องค์กรสามารถสรรหาส่วนประกอบในปริมาณไม่มากในช่วงที่ต้องการเร่งด่วนได้

ลูกค้าการ์ทเนอร์สามารถคลิกอ่านรายงานเพิ่มเติมได้ที่ “Semiconductor Inventory Analysis Worldwide, 1Q21 Update,” “Expert Insight Video: Global Chip Shortage Impacting the Automotive Sector,” และ “Quick Answer: What Supply Chains at OEMs Dependent on Semiconductors Must Do in Wake of Current Chip Shortages.”

เกี่ยวกับแนวปฏิบัติด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของการ์ทเนอร์

แนวทางการปฏิบัติด้านไอทีของการ์ทเนอร์ช่วยให้ซีไอโอและผู้นำด้านไอทีมีข้อมูลเชิงลึกและเครื่องมือในการขับเคลื่อนองค์กรผ่านการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลเพื่อนำไปสู่การเติบโตทางธุรกิจ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.gartner.com/en/information-technology ติดตามข่าวสารและข้อมูลอัปเดตจากแนวปฏิบัติด้านไอทีของ Gartner บน Twitter และ LinkedIn ได้ที่ #GartnerIT

เกี่ยวกับการ์ทเนอร์

บริษัท การ์ทเนอร์ (Gartner, Inc.) (NYSE: IT) คือบริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาชั้นนำของโลก และมีรายชื่ออยู่ในดัชนี S&P 500 บริษัทฯ ให้ข้อมูลเชิงลึก คำแนะนำ และเครื่องมือต่าง ๆ แก่ผู้บริหารองค์กรธุรกิจ เพื่อรองรับการดำเนินภารกิจสำคัญที่มีอยู่ในปัจจุบันและสร้างองค์กรให้ประสบความสำเร็จในอนาคต

การ์ทเนอร์นำเสนองานวิจัยที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญ และใช้แหล่งข้อมูลจากผู้ปฏิบัติงานจริง เพื่อชี้นำลูกค้าสำหรับการตัดสินใจที่ถูกต้องเหมาะสมในเรื่องที่สำคัญที่สุด การ์ทเนอร์ทำหน้าที่เป็นแหล่งข้อมูลที่เป็นกลางและเป็นที่ปรึกษาที่ได้รับความไว้วางใจจากองค์กรต่าง ๆ กว่า 14,000 แห่งในกว่า 100 ประเทศทั่วโลก ครอบคลุมทุกส่วนงานสำคัญ ๆ ในทุกกลุ่มอุตสาหกรรมและองค์กรทุกขนาด

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางของการ์ทเนอร์ในการช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจอย่างถูกต้องเพื่อขับเคลื่อนอนาคตของธุรกิจได้ที่ gartner.com


Exit mobile version