Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

การ์ทเนอร์ชี้ความเสี่ยงทางภูมิศาสตร์การเมือง (Geopolitical Risk) สร้างโอกาสสู่ผู้นำในบริบทใหม่แก่ผู้บริหารไอที

กรุงเทพฯ ประเทศไทย 14 กันยายน 2565 – การ์ทเนอร์ชี้ผลกระทบของการกำกับดูแลทางเทคโนโลยีที่เกิดจากการเมืองระหว่างประเทศได้นำไปสู่ยุคภูมิศาสตร์การเมืองทางดิจิทัล (Digital Geopolitics) อย่างรวดเร็ว และกลายเป็นประเด็นสำคัญที่ผู้บริหารไอที (CIO) ในบริษัทข้ามชาติต้องแสดงบทบาทผู้นำ

จากการสำรวจของการ์ทเนอร์ ระบุว่าคณะกรรมการบริหารขององค์กรต่าง ๆ 41% มองประเด็นการเปลี่ยนแปลงอำนาจและความวุ่นวายทางภูมิศาสตร์การเมืองเป็นหนึ่งในความเสี่ยงใหญ่ที่สุดต่อการดำเนินธุรกิจ โดยการ์ทเนอร์ยังคาดด้วยว่าภายในปี 2569 องค์กรข้ามชาติถึง 70% จะปรับทิศทางการดำเนินงานในประเทศต่าง ๆ โดยมุ่งเน้นการป้องกันความเสี่ยงเพื่อลดการเปิดเผยข้อมูลทางภูมิศาสตร์การเมือง

ไบรอัน เพลนติส รองประธานฝ่ายวิจัยการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “ภูมิศาสตร์การเมืองดิจิทัลเป็นหนึ่งในแนวโน้มที่สร้างความปั่นป่วนที่สุดที่ผู้บริหารไอทีต้องรับมือ โดยเวลานี้มีผู้บริหารมากมายกำลังจัดการกับข้อพิพาททางการค้า หรือกฎหมายของประเทศใดประเทศหนึ่งที่กระทบต่อการดำเนินงานไปทั่วโลก และข้อจำกัดในการจัดหาและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่รัฐบาลเป็นผู้กำหนด ซึ่งผู้บริหารไอทีจำเป็นต้องทำความเข้าใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นนี้และเตรียมพร้อมรับมือกับผลกระทบ”

ภูมิศาสตร์การเมือง (Geopolitics) อธิบายถึงอิทธิพลทางภูมิศาสตร์ที่มีต่อความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างประเทศ อันเป็นผลจากการแข่งขันระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ ซึ่งเป็นการแข่งขันทาง เศรษฐกิจ การทหาร และทางสังคม เนื่องจากความสำคัญของเทคโนโลยีดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นในแต่ละพื้นที่ ภูมิศาสตร์การเมืองดิจิทัล (Digital Geopolitics) จึงเกิดขึ้นที่มีผลกระทบอย่างโดดเด่นชัดเจน

ผู้บริหารไอทีต้องแสดงบทบาทสำคัญเพื่อประเมินความเสี่ยงต่อองค์กร พร้อมจัดระบบโครงสร้างสถาปัตยกรรมดิจิทัลขึ้นใหม่ถ้าจำเป็น โดยพวกเขาจะต้องจัดการหรือใช้ประโยชน์จากภูมิศาสตร์การเมืองดิจิทัล 4 ด้านเด่น ดังนี้ (ตามภาพที่ 1)


ภาพที่
 1 ภูมิศาสตร์การเมืองดิจิทัล 4 ด้าน

ที่มา: การ์ทเนอร์ (สิงหาคม 2565)

  1. ปกป้องอธิปไตยดิจิทัล(Protect Digital Sovereignty) 

อธิปไตยดิจิทัลจะเป็นแหล่งหลักที่มีความซับซ้อน มีพลวัตและขยายตัวเรื่อยๆ ของแนวทางการปฏิบัติตามกฎระเบียบสำหรับบริษัทข้ามชาติ รัฐบาลของประเทศต่าง ๆ จัดการเรื่องนี้ผ่านอำนาจนิติบัญญัติและการกำกับดูแล เช่น กฎหมายความเป็นส่วนตัว หรือ GDPR และกำลังขยายขอบเขตการบังคับใช้กฎหมายนอกอาณาเขต (Extraterritorial Legislation) มากขึ้น โดยหน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ ที่ต้องติดต่อหรือทำธุรกรรมกับพลเมืองในเขตอำนาจศาลของประเทศหนึ่ง ๆ จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศนั้น ไม่ว่าองค์กรจะดำเนินธุรกิจที่ใดหรือพลเมืองนั้นอาศัยอยู่ที่ใด

ผู้บริหารด้านเทคโนโลยีสารสนเทศต้องมีส่วนร่วมในเชิงรุกเพื่อให้แน่ใจว่ารูปแบบการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กรและแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ นั้นเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับในปัจจุบัน ซึ่งบทบาทของพวกเขาคือการตระหนักถึงสภาพแวดล้อมทางกฎหมายและพูดคุยกับผู้บริหารอื่น ๆ ถึงแนวทางขององค์กรว่าเอื้อต่อการปฏิบัติตามข้อกำหนดทั่วทั้งองค์กรอย่างไร

  1. สร้างอุตสาหกรรมเทคโนโลยีท้องถิ่น(Build a local technology industry)

อุตสาหกรรมเทคโนโลยีอยู่ในสายตาและเป็นที่สนใจอย่างมากสำหรับผู้กำหนดนโยบายสาธารณะทั่วโลก ด้วยขนาด การเติบโต ความสำคัญเชิงกลยุทธ์ รายได้จากภาษี ความเป็นไปได้ของการจ้างงาน และไม่ค่อยมีการเรียกร้องเพื่อให้ได้มาซึ่งความได้เปรียบด้านทรัพยากรของประเทศในด้านใดโดยเฉพาะ

รัฐบาลหลายประเทศกำลังลงทุนในการพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีของตน ตัวอย่างเช่น สหรัฐฯ พยายามแก้ไขความไม่สมดุลระดับภูมิภาคของการผลิตชิปทั่วโลก ผ่านกฎหมายสร้างแรงจูงใจให้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์เพื่ออเมริกา ในชื่อกฎหมาย CHIPS for America Act (หรือ Creating Helpful Incentives to Produce Semiconductors for America Act) และรัฐบาลออสเตรเลียที่นำเสนอแผนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจดิจิทัลปี 2030 (Digital Economy Strategy 2030) รวมถึงการสร้างอุตสาหกรรมเทคโนโลยีเกิดใหม่และมีพลวัตเป็นเสาหลักสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ

ความพยายามในการจัดตั้งอุตสาหกรรมเทคโนโลยีภายในประเทศ ทำให้ผู้บริหารไอทีมีโอกาสสร้างการมีส่วนร่วมเชิงรุกกับภาครัฐฯ โดยต้องปรับแผนการดำเนินงานให้เหมาะสมกับท้องถิ่นและบูรณาการระหว่างความเชี่ยวชาญระดับท้องถิ่นกับการเข้าถึงการร่วมสนับสนุนทางนวัตกรรมของรัฐบาลให้เข้ากันอย่างที่สุด

  1. บรรลุขีดความสามารถทางทหารที่จำเป็น(Achieve necessary military capability)

การเติบโตและเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นของภารกิจทางการทหารและความมั่นคงแห่งชาติจะจำกัดความพร้อมของบางเทคโนโลยีในประเทศต่าง ๆ ซึ่งองค์กรและผู้บริหารไอทีต่างได้รับผลกระทบจากสงครามไซเบอร์ใหม่ ๆ ตลอดจนการใช้ประโยชน์ทางเทคโนโลยีที่มีอยู่ในด้านการสู้รบและเทคโนโลยีด้านความปลอดภัย

ซีไอโอไม่สามารถพึ่งพาความพร้อมของเทคโนโลยีที่องค์กรเคยใช้ได้กับการดำเนินงานในประเทศใด ๆ ก็ได้อีกต่อไป และมีแนวโน้มว่าจะต้องเผชิญกับซัพพลายเออร์ที่ถูกจำกัดและดำเนินงานตามคำสั่งเท่านั้น ดังนั้นเพื่อลดปัญหาการหยุดชะงัก พวกเขาต้องตั้งศูนย์กลางของผู้จัดจำหน่ายและความเป็นเลิศด้านความเสี่ยงทางเทคโนโลยี เพื่อใช้ประเมินความเสี่ยงของซัพพลายเออร์หลักร่วมกับข้อบังคับของรัฐบาลที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด

  1. ควบคุมโดยตรงให้ครอบคลุมธรรมาภิบาลของไซเบอร์สเปซ(Exert direct control over the governance of cyberspace)

การแข่งขันระหว่างประเทศเพื่อควบคุมการกำกับดูแลไซเบอร์สเปซจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัทข้ามชาติ ขณะที่เทคโนโลยีดิจิทัลหลอมรวมสังคมในทุก ๆ ด้านเข้าด้วยกัน ประเทศต่าง ๆ พยายามสร้างความมั่นใจว่าเทคโนโลยีของตนเองนั้นสะท้อนและสนับสนุนค่านิยมหลักรวมถึงการดำเนินชีวิตของพลเมืองของตน ซึ่งรัฐบาลต่าง ๆ ได้ข้อสรุปเพิ่มมากขึ้นว่าโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลระดับประเทศที่ได้รับการป้องกันคือสิ่งที่พวกเขาต้องการ

แม้แผนงานควบคุมกำกับดูแลไซเบอร์สเปซของภาครัฐจะอยู่นอกเหนือหน้าที่ของซีไอโอ แต่ผู้บริหารไอทียังมีบทบาทสำคัญกับความสามารถของการดำเนินธุรกิจในระดับสากล ที่ช่วยเพิ่มความเข้าใจให้แก่ผู้บริหารท่านอื่น ๆ เกี่ยวกับการแข่งขันระหว่างประเทศเพื่อควบคุมไซเบอร์สเปซ รวมถึงประเมินผลกระทบต่อการดำเนินงานขององค์กร ด้วยการทำบรรยายสรุปประจำปีเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของไซเบอร์สเปซใหม่ ๆ

ลูกค้าการ์ทเนอร์ สามารถคลิกอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ “What Forces Are Driving Digital Geopolitics and Where CIOs Should Focus” และ “3 Critical Actions for Executives to Cope With Long-Term Impacts of Geopolitical Tensions.”


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

การ์ทเนอร์เผยผลสำรวจ ผู้บริหาร 80% ชี้ระบบอัตโนมัติสามารถนำมาใช้กับการตัดสินใจเชิงธุรกิจใด ๆ ก็ได้

กรุงเทพฯ ประเทศไทย 5 กันยายน 2565 – การ์ทเนอร์เปิดผลสำรวจล่าสุด พบว่า 80% ของผู้บริหารคิดว่าระบบอัตโนมัติ (Automation) สามารถนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจใด ๆ ก็ได้ โดยการสำรวจนี้เผยให้เห็นรูปแบบขององค์กรต่าง ๆ ที่กำลังพัฒนาการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เมื่อระบบอัตโนมัติฝังตัวอยู่ในธุรกิจดิจิทัล โดยเป็นส่วนหนึ่งในกลยุทธ์ระบบอัตโนมัติขององค์กร

เอริค เบรทเดอนิวซ์ รองประธานฝ่ายวิจัยการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “จากผลสำรวจดังกล่าวนี้แสดงให้เห็นว่าองค์กรต่าง ๆ นั้นกำลังเปลี่ยนแนวทางเชิงยุทธศาสตร์แบบเดิม ๆ ไปสู่ AI และเริ่มนำเทคโนโลยี AI มาใช้ในเชิงกลยุทธ์ขององค์กรมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น หนึ่งในสามขององค์กรกำลังนำระบบ AI ไปใช้กับแผนกต่าง ๆ ในธุรกิจ เพื่อเสริมสร้างจุดแข็งและความต่างด้านการแข่งขัน และยังใช้ AI สนับสนุนการตัดสินใจในกระบวนการทางธุรกิจ”

องค์กรยังเผชิญความท้าทายกับการย้าย AI จากสนามทดสอบไปสู่การใช้งานจริง

จากการสำรวจของการ์ทเนอร์เผยว่า โครงการต่าง ๆ ด้าน AI เฉลี่ย 54% นั้นเกิดจากโครงการทดสอบต่าง ๆ ไปสู่การดำเนินงานจริง ซึ่งเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 53% ในปี 2562 ตามรายงาน Gartner 2019 AI in Organizations Survey

ฟราสซิส คารามูซิส รองประธานฝ่ายวิจัยการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “การปรับสัดส่วน AI ให้เหมาะสมกับการดำเนินธุรกิจยังเป็นความท้าทายสำคัญ โดยองค์กรต่าง ๆ ยังประสบปัญหาการเชื่อมต่ออัลกอริธึมที่พวกเขาสร้างขึ้นกับคุณค่าของธุรกิจที่มอบให้กับลูกค้า (Business Value Proposition) ซึ่งกลายเป็นเรื่องยากสำหรับผู้บริหารฝ่ายไอทีและผู้บริหารธุรกิจในการวิเคราะห์และพิสูจน์ความคุ้มค่าของการลงทุนที่จำเป็นต่อโมเดลการทดสอบ”

องค์กร 40% ระบุว่ามีการนำแบบจำลอง AI หลายพันรายการไปใช้งาน ซึ่งสร้างความซับซ้อนให้กับการกำกับดูแลขององค์กรและยังเป็นความท้าทายต่อความสามารถของผู้บริหารด้านข้อมูลและการวิเคราะห์เพื่อแสดงผล ROI (Return On Investment) จากแบบจำลองแต่ละแบบ

บุคลากรไม่ใช่อุปสรรคสำคัญของการใช้ AI
แม้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรจะส่งผลกระทบต่อการริเริ่มโครงการ AI แต่จากผลสำรวจกลับพบว่า บุคลากรไม่ใช่อุปสรรคสำคัญในการนำ AI มาใช้ โดยผู้บริหารถึง 72% บอกว่า พวกเขามีบุคลากรที่มีทักษะด้านนี้พร้อมอยู่ในมือหรือสามารถจัดหาบุคลากร AI ที่มีความสามารถในแบบที่องค์กรต้องการได้

“องค์กรที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดผสมผสานการใช้บุคลากรที่พัฒนาขึ้นจากภายในกับการว่าจ้างบุคคลภายนอกที่มีความสามารถและเชี่ยวชาญด้าน AI ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวนี้ทำให้มั่นใจได้ว่าทีมจะสามารถเดินหน้าทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ด้วยการเรียนรู้ทักษะและเทคนิค AI ใหม่ ๆ รวมถึงไอเดียใหม่ ๆ ที่ได้มาจากบุคคลภายนอก” เบรทเดอนิวซ์ กล่าวเพิ่มเติม

ความกังวลด้าน AI กับความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวที่ผิดที่ผิดทาง
ความกังวลด้านความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวไม่ได้ถูกจัดอยู่ในอันดับต้น ๆ ของเรื่องอุปสรรคสำคัญต่อการนำ AI มาใช้ โดยมีผู้บริหารเพียง 3% เท่านั้นที่ระบุว่ารู้สึกกังวลกับประเด็นนี้ อย่างไรก็ตามองค์กร 41% เผยว่าเคยพบการละเมิดความเป็นส่วนตัวหรือเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยของ AI มาก่อน

เมื่อถามว่าส่วนใดขององค์กรธุรกิจที่กังวลด้านความปลอดภัยของ AI มากที่สุด ผู้ตอบแบบสอบถาม 50% กังวลเกี่ยวกับคู่แข่ง คู่ค้า หรือบุคคลที่สามอื่น ๆ และ 49% กังวลเรื่องอันตรายจากแฮ็กเกอร์ อย่างไรก็ตามกลับมีถึง 60% ขององค์กรที่เผชิญกับปัญหาความปลอดภัยหรือเหตุการณ์ความเป็นส่วนตัวของ AI  ที่เผยว่ามีการประนีประนอมในประเด็นของข้อมูลกันภายใน

“ข้อกังวลต่าง ๆ ในด้านความปลอดภัย AI ขององค์กรมักถูกเข้าใจผิด เนื่องจากการละเมิดที่เกิดจาก AI ส่วนใหญ่เกิดจากบุคคลภายใน ขณะที่การตรวจจับและป้องกันการโจมตีมีความสำคัญ ระบบความปลอดภัยของ AI ควรให้ความสำคัญกับการลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นโดยมนุษย์ด้วยเช่นกัน” เบรทเดอนิวซ์ กล่าวสรุป

ข้อมูลเชิงลึกการสำรวจเพิ่มเติมสามารถคลิกอ่านได้ที่ “The Gartner AI Survey Top 4 Findings.” และลูกค้าการ์ทเนอร์สามารถเรียนรู้เพิ่มเติมได้ใน  “TechWave: Artificial Intelligence Annual Survey Findings.”

Gartner Data & Analytics Summit
นักวิเคราะห์ของการ์ทเนอร์จะวิเคราะห์เพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวโน้มด้านข้อมูลและการวิเคราะห์ในงาน Gartner Data & Analytics Summits 2022 ที่จะจัดขึ้นทั่วโลก โดยระหว่างวันที่ 22-24 สิงหาคม จัดที่เมืองออร์แลนโด รัฐฟลอริดา ระหว่างวันที่ 14-16 กันยายน จัดขึ้นที่กรุงโตเกียว ระหว่างวันที่ 19-20 กันยายน จัดขึ้นที่เมืองมุมไบ และระหว่างวันที่ 7-8 พฤศจิกายน จัดที่ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ติดตามข่าวสารและความคืบหน้าการประชุมผ่านทาง Twitter โดยใช้แฮชแท็ก #GartnerDA

เกี่ยวกับแนวปฏิบัติด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของการ์ทเนอร์
แนวทางการปฏิบัติด้านไอทีของการ์ทเนอร์ช่วยให้ซีไอโอและผู้นำด้านไอทีมีข้อมูลเชิงลึกและเครื่องมือในการขับเคลื่อนองค์กรผ่านการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลเพื่อนำไปสู่การเติบโตทางธุรกิจ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.gartner.com/en/information-technology

ติดตามข่าวสารและข้อมูลอัปเดตจากแนวปฏิบัติด้านไอทีของ Gartner บน Twitter และ LinkedIn ได้ที่ #GartnerIT

เกี่ยวกับการ์ทเนอร์
บริษัท การ์ทเนอร์ (Gartner, Inc.) (NYSE: IT) คือบริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาชั้นนำของโลก มอบข้อมูลเชิงลึก คำแนะนำ และเครื่องมือต่าง ๆ แก่ผู้บริหารองค์กรธุรกิจ เพื่อรองรับการดำเนินภารกิจสำคัญที่มีอยู่ในปัจจุบันและสร้างองค์กรให้ประสบความสำเร็จในอนาคต ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางของการ์ทเนอร์ในการช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจอย่างถูกต้องเพื่อขับเคลื่อนอนาคตของธุรกิจได้ที่ gartner.com


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

การ์ทเนอร์ชี้แนวโน้มความปลอดภัยและจัดการความเสี่ยง ที่ธุรกิจต้องจับตาปีนี้

กรุงเทพฯ ประเทศไทย 1 เมษายน 2565 — การ์ทเนอร์ อิงค์ เผยผู้บริหารด้านความปลอดภัยและจัดการความเสี่ยงต้องจัดการกับ 7 แนวโน้มสำคัญเพื่อปกป้องร่องรอยดิจิทัลที่เพิ่มมากขึ้นในองค์กรสมัยใหม่จากภัยคุกคามเกิดใหม่ในปี พ.ศ. 2565 และในอนาคต

ปีเตอร์ เฟิร์สบรู๊ค รองประธานฝ่ายวิจัยของการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “องค์กรทั่วโลกกำลังเผชิญกับแรนซัมแวร์ที่มีความซับซ้อน มุ่งโจมตีระบบห่วงโซ่อุปทานดิจิทัลและสร้างช่องโหว่ที่ฝังลึก ซึ่งการแพร่ระบาดกระตุ้นให้เกิดการทำงานแบบไฮบริดและเปลี่ยนไปใช้ระบบคลาวด์ ท้าทายผู้บริหารไอทีในการรักษาความปลอดภัยแก่องค์กรที่มีการทำงานในลักษณะกระจายศูนย์เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันก็ต้องรับมือกับปัญหาการขาดแคลนทีมงานความปลอดภัยที่มีทักษะ”

ความท้าทายเหล่านี้ส่งผลต่อแนวทางปฏิบัติด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ 3 ประการ ดังนี้: (i) การตอบสนองใหม่ต่อภัยคุกคามที่มีความซับซ้อน (ii) วิวัฒนาการและการกำหนดรูปแบบเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติด้านความปลอดภัยและ (iii) การทบทวนด้านเทคโนโลยี ซึ่งแนวโน้มต่อไปนี้ก่อให้เกิดผลกระทบต่ออุตสาหกรรมในวงกว้างและครอบคลุม 3 แนวทางปฏิบัติฯ ข้างต้น ได้แก่:

แนวโน้มที่ 1: การขยายพื้นผิวการโจมตี (Attack Surface Expansion)

การโจมตีระดับพื้นผิวองค์กรกำลังแผ่ขยายมากขึ้น เป็นความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการใช้ระบบไซเบอร์ทางกายภาพและ IoT โค้ดโอเพ่นซอร์ส แอปพลิเคชันบนคลาวด์ ห่วงโซ่อุปทานดิจิทัลที่ซับซ้อน, โซเชียลมีเดียและอื่น ๆ ที่พาองค์กรออกไปจากสินทรัพย์ที่ควบคุมได้ โดยองค์กรต้องมองข้ามวิธีการแบบเดิม ๆ ในการตรวจสอบ ตรวจจับ และตอบสนองความปลอดภัยเพื่อจัดการกับความเสี่ยงด้านความปลอดภัยวงกว้าง

บริการป้องกันความเสี่ยงดิจิทัล (Digital risk protection services หรือ DRPS) เทคโนโลยีการจัดการพื้นผิวการโจมตีภายนอก (External attack Surface Management หรือ EASM) และการจัดการพื้นผิวการโจมตีสินทรัพย์ทางไซเบอร์ (Cyber Asset Attack Surface Management หรือ CAASM) จะช่วยให้ผู้บริหารด้านความปลอดภัยมองเห็นระบบธุรกิจทั้งภายในและภายนอก พร้อมค้นพบช่องโหว่ด้านความปลอดภัยอย่างอัตโนมัติ

แนวโน้มที่ 2: ความเสี่ยงด้านห่วงโซ่อุปทานดิจิทัล (Digital Supply Chain Risk)

อาชญากรไซเบอร์ค้นพบว่าการโจมตีห่วงโซ่อุปทานดิจิทัลให้ผลตอบแทนที่สูงในการลงมือ เนื่องจากมีช่องโหว่ต่าง ๆ เช่น ช่องโหว่ของ Log4j ที่แพร่กระจายไปทั่วห่วงโซ่อุปทาน และคาดว่าจะมีภัยคุกคามใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่าภายในปี พ.ศ.2568 องค์กรทั่วโลก 45% จะพบการโจมตีบนห่วงโซ่อุปทานเพิ่มขึ้นสามเท่าจากปี 2564

ความเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทานดิจิทัลต้องการแนวทางลดผลกระทบใหม่ ๆ ที่มีความละเอียดผ่านเกณฑ์การให้คะแนนและการแบ่งสัดส่วนของความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากทั้งผู้จัดจำหน่ายหรือพันธมิตร อาทิ การขอหลักฐานการควบคุมและแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดด้านความปลอดภัย รวมถึงการปรับแนวคิดให้มีความยืดหยุ่นและการเตรียมพร้อมล่วงหน้าก่อนที่กฎระเบียบใหม่ ๆ จะเกิดขึ้นเพิ่มเติม

เทรนด์ที่ 3: การตรวจจับและตอบสนองต่อภัยคุกคามการระบุตัวตน (Identity Threat Detection and Response)

ผู้ที่เป็นภัยคุกคามและมีความช่ำชองกำลังมุ่งเป้ามาที่การยืนยันตัวบุคคลและการเข้าถึงการจัดการโครงสร้างพื้นฐาน (Identity and Access Management หรือ IAM) ซึ่งการใช้ข้อมูลประจำตัวในทางที่ผิดกลายเป็นเป้าการโจมตีหลัก การ์ทเนอร์ได้แนะนำ “การตรวจจับและตอบสนองต่อภัยคุกคามการระบุตัวตน” (Identity Threat Detection and Response หรือ ITDR) เพื่ออธิบายถึงเครื่องมือต่าง ๆ ที่รวบรวมไว้พร้อมแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับใช้ปกป้องระบบการระบุตัวตน

“องค์กรต่าง ๆ ได้ใช้ความพยายามอย่างมากในการปรับปรุงความสามารถของ IAM แต่ส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่เทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงการตรวจสอบและยืนยันตัวตนผู้ใช้งาน ซึ่งแท้จริงเป็นการเพิ่มพื้นผิวการโจมตีในส่วนโครงสร้างพื้นฐานความปลอดภัยทางไซเบอร์ โดยเครื่องมือ ITDR สามารถช่วยปกป้องระบบการระบุตัวตน ตรวจจับเมื่อถูกบุกรุก และช่วยแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพ” เฟิร์สบรู๊ค กล่าวเพิ่มเติม

แนวโน้มที่ 4: การกระจายการตัดสินใจ (Distributing Decisions)

ความต้องการและความคาดหวังด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ขององค์กรกำลังเติบโตถึงขีดสุด และผู้บริหารต้องการระบบความปลอดภัยที่คล่องตัวท่ามกลางพื้นผิวการโจมตีที่ขยายขอบเขตมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ทั้งขอบเขต ขนาด และความซับซ้อนของธุรกิจดิจิทัลจึงจำเป็นต้องใช้รูปแบบการกระจายการตัดสินใจ รวมถึงกำหนดบทบาทและความรับผิดชอบเพื่อรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ทั่วทั้งหน่วยงานในองค์กร โดยไม่ใช้การตัดสินใจแบบรวมศูนย์

“บทบาทของผู้บริหารด้านความปลอดภัย (CISO) เปลี่ยนจากผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิคเป็นผู้จัดการความเสี่ยง ภายในปี พ.ศ. 2568 ฟังก์ชันความปลอดภัยทางไซเบอร์แบบรวมศูนย์เพียงฟังก์ชันเดียวจะมีความไม่คล่องตัวเพียงพอที่จะตอบสนองความต้องการขององค์กรดิจิทัล ซึ่งผู้บริหารจะต้องกำหนดรูปแบบความรับผิดชอบของตนใหม่สำหรับให้คณะกรรมการในบอร์ดบริหาร ซีอีโอ และผู้นำธุรกิจอื่น ๆ เพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจเกี่ยวกับความเสี่ยงอย่างมีข้อมูล” เฟิร์สบรู๊ค กล่าวว่าเพิ่มเติม

แนวโน้มที่ 5: เหนือกว่าการรับรู้ (Beyond Awareness)

ข้อผิดพลาดของมนุษย์ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการละเมิดข้อมูลจำนวนมาก บ่งชี้ให้เห็นว่าแนวทางการฝึกอบรมแบบเดิม ๆ เพื่อให้ตระหนักถึงความปลอดภัยนั้นใช้ไม่ได้ผล องค์กรที่มีวิสัยทัศน์กำลังลงทุนในโครงการด้านวัฒนธรรมและพฤติกรรมการรักษาความปลอดภัยแบบองค์รวม (Security Behavior and Culture programs หรือ SBCPs) แทนที่จะจัดเป็นแคมเปญการรับรู้ด้านความปลอดภัยที่เน้นการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่ล้าสมัย แต่ SBCP กลับมุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมวิธีคิดและปลูกฝังพฤติกรรมใหม่ ๆ โดยมีเจตนากระตุ้นวิธีการทำงานที่ปลอดภัยยิ่งขึ้นทั่วทั้งองค์กร

แนวโน้มที่ 6: รวมเทคโนโลยีความปลอดภัยจากผู้จัดจำหน่าย (Vendor Consolidation)

การผสานรวมเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยได้รับแรงหนุนมาจากความต้องการลดความซับซ้อน ลดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการและเพิ่มประสิทธิภาพ แนวทางของแพลตฟอร์มใหม่ เช่น Extended Detection and Response (หรือ XDR), Security Service Edge (หรือ SSE) และ Cloud Native Application Protection Platforms (หรือ CNAPP) ที่กำลังมอบประโยชน์ให้แก่องค์กรด้วยการนำโซลูชันมาใช้อย่างผสมผสาน

การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่าภายในปี พ.ศ. 2567 องค์กร 30% จะใช้เว็บเกตเวย์ที่ปลอดภัยส่งข้อมูลผ่านคลาวด์ (Secure Web Gateway หรือ SWG) ใช้ผู้ให้บริการตรวจสอบและบริหารจัดการสิทธิด้านความปลอดภัย (Cloud Access Security Broker หรือ CASB) ใช้แนวคิดด้านความมั่นคงปลอดภัยแบบใหม่ที่ถือว่าระบบเครือข่ายทั้งหมดไม่ควรเชื่อถือซึ่งกันและกัน (Zero Trust Network Access หรือ ZTNA) และการใช้ไฟร์วอลล์ของสำนักงานสาขาเพื่อปกป้องระบบเครือข่ายของตนเอง (Firewall As A Service หรือ FWaaS) จากผู้จัดจำหน่ายเดียวกัน โดยการรวมฟังก์ชันความปลอดภัยหลาย ๆ อย่างจะช่วยลดต้นทุนโดยรวมของการเป็นเจ้าของ และปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานในระยะยาว อันนำไปสู่การรักษาความปลอดภัยโดยรวมที่ดีขึ้น

แนวโน้มที่ 7: ตาข่ายความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity Mesh)

เทรนด์การใช้ผลิตภัณฑ์ด้านความปลอดภัยร่วมกันนั้นกำลังผลักดันให้เกิดการผสมผสานขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมด้านความปลอดภัย อย่างไรก็ตาม ยังมีความจำเป็นต้องกำหนดนโยบายความปลอดภัยให้สอดคล้องกัน เปิดใช้งานเวิร์กโฟลว์และแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างโซลูชันที่นำมาใช้ด้วยกัน สถาปัตยกรรมตาข่ายความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity Mesh Architecture หรือ CSMA) ช่วยจัดเตรียมโครงสร้างและรูปแบบการรักษาความปลอดภัยแบบบูรณาการเพื่อรักษาความปลอดภัยแก่ทรัพย์สินทั้งหมด ไม่ว่าจะอยู่ในองค์กร ในดาต้าเซ็นเตอร์ หรือในระบบคลาวด์

“แนวโน้มความปลอดภัยทางไซเบอร์เหล่านี้ของการ์ทเนอร์จะไม่ถูกแบ่งเป็นแนวโน้มใดแนวโน้มหนึ่ง เนื่องจากทุกแนวโน้มจะมีส่วนส่งเสริมซึ่งกันและกัน เมื่อรวมกันแล้วจะช่วยให้ผู้บริหารไอทีด้านความปลอดภัยพัฒนาบทบาทเพื่อรับมือกับความท้าทายด้านความปลอดภัยและการจัดการความเสี่ยงในอนาคตได้ ที่สำคัญสามารถยกระดับจุดยืนภายในองค์กรได้ต่อไป” เฟิร์สบรู๊ค กล่าวสรุป

ลูกค้า Gartner สามารถเรียนรู้เพิ่มเติมในรายงาน “Top Trends in Cybersecurity 2022” หรือคลิกอ่านลำดับความสำคัญสูงสุดสำหรับผู้นำด้านความปลอดภัยในปี พ.ศ.2565 ได้ที่ 2022 Leadership Vision for Security & Risk Management Leaders

เกี่ยวกับ Gartner Security & Risk Management Summit 

นักวิเคราะห์ของการ์ทเนอร์นำเสนอผลวิจัยและคำแนะนำล่าสุดสำหรับผู้บริหารด้านความปลอดภัยและจัดการความเสี่ยงที่งาน Gartner Security & Risk Management Summits 2022 ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 14-15 กุมภาพันธ์ ในภูมิภาคตะวันออกกลาง และจัดขึ้นในวันที่ 7-10 มิถุนายนที่ National Harbor แมรี่แลนด์ ประเทศสหรัฐอเมริกา, 21-22 มิถุนายนใน จัดที่ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ระหว่าง 25-27 กรกฎาคม จัดที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และ ระหว่าง 12-14 กันยายนในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ติดตามข่าวสารและการอัพเดทจากการประชุมทาง Twitter โดยใช้ #GartnerSEC

เกี่ยวกับ Gartner for Information Technology Practice

Gartner for Information Technology Executives นำเสนอข้อมูลเชิงลึกที่สามารถนำไปใช้ได้จริงแก่ผู้บริหารและผู้นำด้านไอที สำหรับช่วยให้พวกเขาสามารถใช้ขับเคลื่อนองค์กรก้าวข้ามการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลและสร้างการเติบโตให้ธุรกิจ ชมข้อมูลเพิ่มเติมคลิก www.gartner.com/en/information-technology

ติดตามข่าวสารและข้อมูลล่าสุดจาก Gartner for IT Executives ได้ที่ Twitter และ LinkedIn. หรือเยี่ยมชมที่ IT Newsroom


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

Gartner ชูอีริคสันเป็นผู้นำด้านโครงสร้างพื้นฐานเครือข่าย 5G สำหรับผู้ให้บริการด้านการสื่อสาร ในรายงาน Gartner® Magic Quadrant™ ประจำปี 2565

อีริคสัน (NASDAQ: ERIC) ได้รับเลือกให้เป็นผู้นำโครงสร้างพื้นฐานเครือข่าย 5G สำหรับผู้ให้บริการด้านสื่อสาร ตามรายงาน Magic Quadrant for 5G Network Infrastructure for Communications Service Providers ประจำปี 2565 ที่จัดทำโดยบริษัท การ์ทเนอร์ อิงค์

จากรายงานที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมาอีริคสันได้รับเลือกให้เป็นผู้นำอันดับสูงสุดในด้านความสามารถในการดำเนินการด้านโครงสร้างพื้นฐานเครือข่าย 5G สำหรับผู้ให้บริการด้านการสื่อสาร ทั้งนี้อีริคสันเคยได้รับเลือกให้เป็นผู้นำในรายงานประจำปี 2564 ปีแรกที่การ์ทเนอร์จัดทำรายงานดังกล่าว

ผู้เชี่ยวชาญของการ์ทเนอร์ได้ประเมินและวัดผลอย่างครอบคลุมและตรงไปตรงมากับบริษัทต่าง ๆ ที่นำเสนอโซลูชัน 5G แก่ผู้ให้บริการด้านการสื่อสาร โดยครอบคลุมทั้งในภาพรวมวิสัยทัศน์และความสามารถในการดำเนินงานเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานเครือข่าย 5G เพื่อนำเสนอและสรุปเป็นภาพรวมตลาดถึงความสามารถในโครงสร้าง 5G

อีริคสันตระหนักดีว่าผู้ขายโครงสร้างพื้นฐานเครือข่าย 5G แบบครบวงจรถูกประเมินจากความสามารถในการเพิ่มประสิทธิภาพแก่ผู้ให้บริการไอทีเพื่อให้แข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  โดยส่งผลเชิงบวกต่อการสร้างรายได้ การรักษาฐานลูกค้า และชื่อเสียง ในมุมมองการตลาดของการ์ทเนอร์ ซึ่งการประเมินดังกล่าวยังรวมถึงความสามารถในการดำเนินการด้านผลิตภัณฑ์และบริการของอีริคสันที่ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดและติดตามบันทึก การดำเนินกิจกรรมทางการตลาด ประสบการณ์ที่ลูกค้าได้รับและภาพรวมของศักยภาพทางธุรกิจ

เฟรดริก เจดลิง รองประธานผู้บริหารและหัวหน้าเครือข่ายอีริคสัน กล่าวว่า “เป็นเรื่องน่ายินดีที่วิสัยทัศน์ด้าน 5G ของอีริคสันตั้งแต่ความเป็นผู้นำทางความคิดไปจนถึงการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพกับภาคอุตสาหกรรม และความสามารถในการดำเนินงานด้านโครงสร้าง 5G ที่โดดเด่นไม่เป็นรองใครของเราได้รับการยอมรับจากการ์ทเนอร์อีกครั้งในฐานะผู้นำของอุตสากรรม”

“การได้รับการยอมรับใน Magic Quadrant for 5G Network Infrastructure for Communications Service Providers โดยการ์ทเนอร์ตอกย้ำให้เห็นจุดยืนของบริษัทฯ และเป็นสิ่งยืนยันถึงความมุ่งมั่นของเรา โดยคำนึงถึงความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญเสมอ”

ปัจจุบันอีริคสันมีสัญญา 5G เชิงพาณิชย์กับผู้ให้บริการด้านการสื่อสาร (CSPs) มากกว่า 170 ฉบับ และเปิดให้บริการ 5G แล้วถึง 114 เครือข่ายทั่วโลก พร้อมพัฒนาการให้บริการ 5G แบบครบวงจรอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรวมถึง 5G RAN และการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพใน Ericsson Radio System, Cloud RAN, Ericsson Silicon, 5G Core, Orchestration, BSS และ 5G สำหรับคมนาคม (5G Transport) ตลอดจนบริการระดับมืออาชีพ นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้แนะนำโซลูชันนวัตกรรมซอฟต์แวร์ อาทิ Ericsson Spectrum Sharing, 5G Carrier Aggregation และ Uplink Booster ที่ช่วยเพิ่มความครอบคลุมของเครือข่ายสัญญาณ สมรรถนะในการทำงานของผู้ใช้ และประสิทธิภาพของคลื่นความถี่ อย่างมีนัยสำคัญ

โซลูชันเหล่านี้สนับสนุนผู้ให้บริการในการปรับใช้และพัฒนา 5G เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ใช้ปลายทางจะได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุด นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ Ericsson Radio System ที่มีจำหน่ายตั้งแต่ปี 2558 สามารถรองรับความสามารถ 5G New Radio (NR) ผ่านการติดตั้งด้วยซอฟต์แวร์จัดการจากระยะไกล

บริการ Ericsson Digital Services นำเสนอโซลูชัน 5G Core แบบดูอัลโหมดบนคลาวด์เนทีฟสำหรับเครือข่ายอัจฉริยะเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจอัจฉริยะโดยช่วยผู้ให้บริการด้านการสื่อสารสามารถนำเสนอโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ให้แก่ผู้ใช้มือถือและภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้

โซลูชัน 5G Core ของอีริคสันรวมฟังก์ชั่น Evolved Packet Core และฟังก์ชันเครือข่าย 5G Core เข้ากับแพลตฟอร์มคลาวด์เนทีฟปกติที่รองรับ 5G NR แบบสแตนด์อโลนและแบบไม่สแตนด์อโลน เช่นเดียวกับโซลูชันรุ่นก่อนหน้าที่ช่วยประหยัดต้นทุนทั้งหมดในการเป็นเจ้าของ และการย้ายไปยังเครือข่าย 5G อย่างราบรื่น 

ดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็มได้ที่the 2022 Gartner Magic Quadrant for 5G Network Infrastructure for Communications Service Providers

 

About Gartner

Gartner delivers actionable, objective insight to executives and their teams.

Gartner Disclaimer:
Gartner does not endorse any vendor, product or service depicted in our research publications, and does not advise technology users to select only those vendors with the highest ratings or other designation. Gartner research publications consist of the opinions of Gartner’s research organization and should not be construed as statements of fact. Gartner disclaims all warranties, expressed or implied, with respect to this research, including any warranties of merchantability or fitness for a particular purpose.

Gartner and Magic Quadrant are registered trademarks of Gartner, Inc. and/or its affiliates in the U.S. and internationally and is used herein with permission. All rights reserved

Attribution: Gartner, Magic Quadrant for 5G Network Infrastructure for Communications Service Providers, 23 February 2022; Analyst(s) Kosei Takiishi, Sylvain Fabre, Frank Marsala, Peter Liu, Susan Welsh de Grimaldo, Pulkit Pandey.


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์ บทความ เทคโนโลยี

เปิด 5 เทรนด์เทคโนโลยีสำคัญในอุตสาหกรรมยานยนต์ของปี 2565

เปิด 5 เทรนด์เทคโนโลยีสำคัญในอุตสาหกรรมยานยนต์ของปี 2565

ชี้ “ซอฟต์แวร์” เป็นปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนการเติบโตด้านผลกำไรให้กับผู้ผลิตรถยนต์

โดย เปโดร ปาเชโก ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยอาวุโสของการ์ทเนอร์

ในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา ผู้ผลิตรถยนต์ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเครื่องยนต์ โดยให้ผู้อื่นเป็นผู้พัฒนาซอฟต์แวร์แทน ขณะที่เทคโนโลยีดิจิทัลกลายเป็นตัวสร้างความแตกต่างในรถยนต์ และซอฟต์แวร์จะกลายปัจจัยขับเคลื่อนการเติบโตหลักของกำไรให้กับผู้ผลิต โดยผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์จะแปลงสภาพเป็นบริษัทเทคโนโลยีหรือบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ในที่สุด

การ์ทเนอร์ เปิด 5 แนวโน้มเทคโนโลยีสำคัญในปี 2565 ที่ผู้บริหารด้านไอทีควรพิจารณาเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนผ่านของซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และด้านดิจิทัลที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมยานยนต์

5 แนวโน้มเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมยานยนต์ประจำปี 2565

แนวโน้มที่ 1: ผู้ผลิตรถยนต์จะทบทวนแนวทางการจัดหาชิ้นส่วน (Hardware) 

ผู้ผลิตรถยนต์กำลังพิจารณากลยุทธ์จัดเก็บสินค้าคงคลังระยะยาวที่ยึดตามหลักการจัดการสินค้าคงคลังแบบทันเวลาพอดีหรือ Just-In-Time (JIT) ซึ่งส่งผลให้บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วน (OEM) รวมถึงซัพพลายเออร์ระดับ Tier 1 ไม่มีสินค้าสำรองในช่วงภาวะการขาดแคลนชิปต่าง ๆ ทำให้ผู้ผลิตรถยนต์ต้องทบทวนว่าจะจัดการกับผู้ผลิตชิปอย่างไร รวมถึงการพิจารณาพัฒนาชิปของตนเอง

การ์ทเนอร์คาดว่าในปี พ.ศ. 2568 ครึ่งนึง (50%) ของ 10 บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์รถยนต์ชั้นนำ จะผลิตชิปของตนเอง และสร้างกลยุทธ์รวมถึงความสัมพันธ์ระยะยาวร่วมกับผู้ผลิตชิปต่าง ๆ โดยตรง พร้อมยกเลิกระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี (JIT)

แนวโน้มที่ 2: บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่จะมีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศยานยนต์

ในปี พ.ศ.2565 นี้จะเห็นบริษัทดิจิทัลยักษ์ใหญ่ อาทิ Amazon Web Services (AWS), Google, Alibaba หรือ Tencent ขยายธุรกิจในด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์อย่างต่อเนื่อง บริษัทเทคโนโลยีเหล่านี้กำลังนำรถยนต์เข้าไปอยู่ในระบบนิเวศที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของตนเองมากขึ้น ซึ่งในที่สุดก็จะเปิดเป็นบริการเชื่อมต่อเทคโนโลยีเข้ากับรถยนต์ในรูปแบบใหม่ ๆ

การ์ทเนอร์คาดว่า ในปี พ.ศ.2571 70% ของยานพาหนะที่ขายออกไปจะใช้ระบบปฏิบัติการ Android ในรถยนต์ เพิ่มขึ้นจากเดิมที่วันนี้มีไม่ถึง 1%

เนื่องจากการพัฒนาเทคโนโลยีและซอฟต์แวร์ด้วยตนเองเป็นเรื่องยาก บริษัทรถยนต์จึงร่วมมือกับบริษัทดิจิทัลรายใหญ่เพื่อเปลี่ยนซอฟต์แวร์ให้กลายเป็นช่องทางสร้างรายได้หลัก หรือสร้างทรัพยากรภายในองค์กรจำนวนมากให้บรรลุเป้าหมายองค์กรได้ด้วยตนเอง

แนวโน้มที่ 3: โมเดลข้อมูลและความร่วมมือแบบเปิด (Open Data and Open-Source Collaboration) สร้างความสำเร็จต่อเนื่อง

เมื่อปีก่อนบริษัทเทคโนโลยีหลายแห่งได้สร้างระบบปฏิบัติการแบบโอเพนซอร์สและแพลตฟอร์มรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า (EV) แบบเปิด ซึ่งแนวทางนี้ได้กระตุ้นให้เกิดรูปแบบความร่วมมือใหม่ ๆ ในอุตสาหกรรมยานยนต์เพิ่มมากขึ้นในปีนี้

นอกจากนี้ บริษัทด้านยานยนต์ยังหันมาให้ความสำคัญกับข้อมูลในลักษณะเดียวกันกับที่โลกเทคโนโลยีมองมากยิ่งขึ้น “เป้าหมายของบริษัทไม่ใช่เพื่อขายข้อมูล แต่เพื่อนำข้อมูลมาสร้างหรือบูรณาการระบบนิเวศที่จะช่วยให้เข้าถึงข้อมูลหลากหลายยิ่งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาฟีเจอร์หรือบริการดิจิทัลที่น่าสนใจยิ่งขึ้น

แนวโน้มที่ 4: ผู้ผลิตรถยนต์เพิ่มระบบอัปเดตซอฟต์แวร์แบบ Over-The-Air (OTA) เป็นช่องทางสร้างรายได้หลักบนดิจิทัล

ปีที่แล้วมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในตลาดซอฟต์แวร์สำหรับยานยนต์แบบ Over-The-Air (OTA) เมื่อผู้ผลิตหลายรายเริ่มเสนอการอัปเดตซอฟต์แวร์ในรูปแบบดังกล่าว

ผู้ผลิตรถยนต์ส่วนใหญ่ได้อัปเดตฮาร์ดแวร์ของรถยนต์เพื่อเปิดรับการอัปเดตซอฟต์แวร์ ปัจจุบันพวกเขากำลังเริ่มเปลี่ยนไปใช้รูปแบบรายได้ที่อ้างอิงจากบริการมากกว่าการยอดขายสินค้า

นักวิเคราะห์ของการ์ทเนอร์คาดว่าภายในปี พ.ศ. 2566 ครึ่งหนึ่ง (50%) ของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำ 10 อันดับแรกจะนำเสนอความสามารถในการปลดล็อคและอัปเกรดผ่านการอัปเดตซอฟต์แวร์ที่สามารถซื้อได้หลังการจำหน่ายรถยนต์

แนวโน้มที่ 5: ยานยนต์ไร้คนขับ กับกฎระเบียบเพิ่มเติมและอุปสรรคเชิงพาณิชย์ที่ยังไม่หายไปไหน

แม้ว่าเทคโนโลยีการตรวจจับ (Sensing Technology) จะพัฒนาดีขึ้น แต่อัลกอริธึมของการรับรู้ก็มีความซับซ้อนยิ่งขึ้นตลอดจนกฎระเบียบและมาตรฐานการพัฒนาด้านต่าง ๆ ก็คืบหน้าไปเช่นกัน โดยที่ผู้พัฒนายานยนต์ไร้คนขับยังคงเผชิญความท้าทายในการขยายขอบเขตการดำเนินงานไปยังเมืองหรือพื้นที่ใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง

ผู้ผลิตรถยนต์ได้เริ่มเปิดตัวรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติในระดับ 3 และกำลังดำเนินการติดตั้งใช้งานรถบรรทุกไร้คนขับในระดับ 4 รวมถึง ระบบการให้บริการรถรับส่งแบบ Taxi (หรือ Robotaxis) สำหรับใช้ในเชิงพาณิชย์ อย่างไรก็ตามการทดสอบด้านความปลอดภัยและประสิทธิภาพของเทคโนโลยีอัตโนมัตินั้นยังคงต้องใช้เวลาและรูปแบบการจำลองการขับให้มีความครอบคลุมรวมถึงการทดสอบในท้องถนนจริง ๆ นั่นทำให้การผลิตเชิงพานิชย์เป็นไปได้ช้าและมีค่าใช้จ่ายสูง นอกจากนี้ ยังมีประเด็นต่าง ๆ อาทิ การรับผิดในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ กฎหมายที่เกี่ยวข้องและข้อพิจารณาทางสังคม เช่น วิธีการสื่อสารโต้ตอบระหว่างรถที่ขับเคลื่อนโดยมนุษย์และรถที่ขับเคลื่อนด้วย AI ที่กำลังเพิ่มความท้าทายให้สูงขึ้น

ต้นทุนด้านการวิจัยและพัฒนาที่สูงมากในระบบ Robotaxis หรือระบบอัตโนมัติระดับ 4 ในรถบรรทุกขนาดใหญ่ นอกจากเป็นสิ่งที่ขัดขวางความเร็วของการนำระบบอัตโนมัติมาปรับใช้ให้มีความแพร่หลายแล้ว ยังรวมถึงการส่งมอบผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) อีกด้วย ซึ่งมันดูย้อนแย้งกันอย่างสิ้นเชิง เนื่องจากข้อดีหลักอย่างหนึ่งของระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติก็คือการลดต้นทุนด้านการดำเนินงานของภาคการขนส่ง

นักวิเคราะห์ของการ์ทเนอร์ คาดว่าภายในปี พ.ศ. 2573 ทั่วโลกจะมีจำนวนรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติเชิงพาณิชย์ (Robotaxis) ระดับ 4 เปิดให้บริการสูงกว่ารถแท็กซี่ในปัจจุบันถึง 4 เท่า

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบทความการ์ทเนอร์ที่ Digital Transformation Insights in Manufacturing หรือลูกค้าการ์ทเนอร์สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่รายงาน “Top 5 Automotive Technology Trends for 2022.”

เกี่ยวกับ Gartner for Information Technology Executives 

Gartner for Information Technology Executives นำเสนอข้อมูลเชิงลึกที่สามารถนำไปใช้ได้จริงแก่ผู้บริหารและผู้นำด้านไอที สำหรับช่วยให้พวกเขาสามารถใช้ขับเคลื่อนองค์กรก้าวข้ามการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลและสร้างการเติบโตให้ธุรกิจ ชมข้อมูลเพิ่มเติมคลิก www.gartner.com/en/information-technology

ติดตามข่าวสารและข้อมูลล่าสุดจาก Gartner for IT Executives ได้ที่ Twitter และ LinkedIn. หรือเยี่ยมชมที่ IT Newsroom

เกี่ยวกับการ์ทเนอร์ 

บริษัท การ์ทเนอร์ (Gartner, Inc.) (NYSE: IT) คือบริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาชั้นนำของโลก มอบข้อมูลเชิงลึก คำแนะนำ และเครื่องมือต่าง ๆ แก่ผู้บริหารองค์กรธุรกิจ เพื่อรองรับการดำเนินภารกิจสำคัญที่มีอยู่ในปัจจุบันและสร้างองค์กรให้ประสบความสำเร็จในอนาคต ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางของการ์ทเนอร์ในการช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจอย่างถูกต้องเพื่อขับเคลื่อนอนาคตของธุรกิจได้ที่ gartner.com


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์ บทความ บทความพิเศษ เทคโนโลยี

การ์ทเนอร์คาดการณ์ยอดจัดส่งรถยนต์ไฟฟ้าปี 65 พุ่งแตะ 6 ล้านคัน

การ์ทเนอร์คาดการณ์ยอดจัดส่งรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า (แบบใช้พลังงานจากแบตเตอรี่และแบบปลั๊กอิน-ไฮบริด) ในปี 2565 จะเพิ่มขึ้นเป็น 6 ล้านคัน จาก 4 ล้านคันในปี 2564

โจนาธาน ดาเวนพอร์ท ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “จากที่ประชุม COP26 เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว สมาพันธ์ Zero Emission Vehicle Transition Council มีข้อตกลงเห็นพ้องตรงกันว่า ภายในปี 2583 ผู้ผลิตรถยนต์จะเดินหน้าผลิตและจำหน่ายยานพาหนะที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ จากที่ก่อนหน้านี้ได้กดดันให้ผู้ผลิตในตลาดรถยนต์ชั้นนำเตรียมพร้อมรับมือกับแนวทางการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ กับภาคการขนส่ง ทั้งนี้ยานยนต์ไฟฟ้า (หรือ EVs) นั้นเป็นเทคโนโลยีระบบส่งกำลังที่มีความสำคัญต่อการช่วยลดการปล่อย CO2 ในภาคการขนส่ง ภาวะขาดแคลนชิปยังส่งผลกระทบต่อเนื่องกับยอดการผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในปีนี้ แม้สัดส่วนการจัดส่งรถยนต์พลังไฟฟ้าประเภทรถตู้ (Vans) และรถบรรทุก (Trucks) ยังมีขนาดเล็กในปัจจุบัน แต่การจัดส่งยานยนต์ในกลุ่มนี้จะเติบโตอย่างรวดเร็วเมื่อเจ้าของกิจการเล็งเห็นถึงประโยชน์ทั้งต่อสิ่งแวดล้อมและด้านการเงิน เมื่อเปลี่ยนมาใช้พลังงานไฟฟ้า”

การ์ทเนอร์คาดว่ารถยนต์ (Cars) จะมีสัดส่วนจัดส่งสูงถึง 95% ของตลาดยานยนต์พลังงานไฟฟ้าทั้งหมดในปี 2565 ส่วนที่เหลือจะแบ่งเป็น รถโดยสาร (Buses) รถตู้ (Vans) และรถบรรทุกขนาดใหญ่ (Heavy Trucks) (ดูตามตารางที่ 1)

ตารางที่ 1: ปริมาณการจัดส่งยานยนต์ไฟฟ้าทั่วโลก ปี 2564-2565 (หน่วยตามจริง)

  ยอดจัดส่ง ปี 2564 ยอดเติบโต ปี 2564 (%) ยอดจัดส่ง ปี 2565 ยอดเติบโต ปี 2565 (%)
รถยนต์ 4,473,907 38.3 6,022,147 34.6
รถโดยสาร 165,551 18.1 198,353 19.8
รถตู้ 86,274 56.1 126,607 46.8
รถบรรทุกขนาดใหญ่ 15,171 41.5 22,663 49.4
รวม 4,740,903 37.7 6,369,769 34.4

เนื่องจากการปัดเศษ ทำให้ตัวเลขบางตัวรวมกันแล้วไม่ตรงกับจำนวนรวมทั้งหมด

ที่มา: การ์ทเนอร์ (มกราคม 2565)

ประเทศจีนและยุโรปตะวันตกมียอดจัดส่งยานยนต์พลังงานไฟฟ้าสูงสุดในปีนี้

ด้วยนโยบายของสาธารณรัฐประชาชนจีนที่มีคำสั่งให้ภายในปี 2573 ผู้ผลิตรถยนต์ต้องผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในสัดส่วน 40% ของยอดจำหน่ายรถยนต์ทั้งหมด รวมถึงการจัดตั้งโรงงานผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้าขึ้นใหม่ การ์ทเนอร์คาดว่าประเทศจีนจะกลายเป็นผู้นำอันดับ 1 ที่ครองยอดการจัดส่งรถยนต์พลังงานไฟฟ้า โดยมีสัดส่วนราว 46% ของการจัดส่งรถยนต์พลังงานไฟฟ้าทั้งหมดทั่วโลกในปีนี้ โดยมียอดจัดส่งสูงถึง 2.9 ล้านคัน ขณะที่ฝั่งยุโรปตะวันตกจะอยู่ในอันดับที่ 2 ด้วยยอดการจัดส่งที่ 1.9 ล้านคัน และตามมาด้วยอันดับสามคือผู้ผลิตจากอเมริกาเหนือ ที่คาดว่าจะมียอดจัดส่งอยู่ราว 855,300 คัน

“แผนของสหภาพยุโรป (EU) ที่ต้องการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จากการใช้รถยนต์ให้ได้ที่ 55% และรถตู้ที่ 50% ภายในปี 2573 เป็นการกระตุ้นตลาดรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่สำคัญในยุโรป” ดาเวนพอร์ท กล่าวเพิ่มเติมว่า

จากการที่รัฐบาลในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกหันมาให้ความสำคัญ ออกกฎระเบียบและใช้มาตรการกระตุ้นต่าง ๆ เพื่อผลักดันยอดจำหน่ายรถยนต์พลังงานไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น นั่นทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์เพิ่มการลงทุนในบริษัทที่เป็นผู้วางโครงสร้างพื้นฐานจุดชาร์จไฟและเทคโนโลยีแบตเตอรี่ในรถยนต์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้บริโภคและภาคธุรกิจเปลี่ยนมาใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า การ์ทเนอร์คาดว่า ในปีนี้จะมีจำนวนจุดชาร์จไฟฟ้าสาธารณะทั่วโลกเพิ่มขึ้นเป็น 2.1 ล้านจุด จากเดิม 1.6 ล้านจุด เมื่อปี 2564

ปัจจัยท้าทายการใช้รถยนต์ไฟฟ้ายังมีอยู่อีกมาก 

เพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนมาใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า ผู้ผลิตจะต้องจัดการกับปัจจัยหลายประการ อาทิ การลดราคารถยนต์พลังงานไฟฟ้าและแบตเตอรี่ การรีไซเคิลแบตเตอรี่ การนำเสนอรถยนต์พลังงานไฟฟ้ารุ่นต่าง ๆ ที่หลากหลายกว่าเดิม พร้อมยืดระยะการขับให้ได้ระยะไกลขึ้น รวมถึงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานในเรื่องจุดชาร์จไฟฟ้า

ดาเวนพอร์ท กล่าวเพิ่มเติมว่า “นอกจากนี้ ยังมีความท้าทายสำคัญที่ต้องเร่งแก้ไข นั่นคือ จำนวนจุดชาร์จไฟฟ้าแบบเร็วที่บ้านและตามพื้นที่สาธารณะต่าง ๆ ที่ยังขาดแคลน โดยผู้ให้บริการสาธารณูปโภคจะต้องเพิ่มการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานไฟฟ้าสมาร์ทกริดเพื่อรับมือกับปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น และตอบสนองต่อเป้าหมายทางด้านสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยประเทศที่ยังใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเพื่อผลิตไฟฟ้าจะต้องออกแบบระบบการผลิตไฟฟ้าใหม่เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว”

เกี่ยวกับการ์ทเนอร์ 

บริษัท การ์ทเนอร์ (Gartner, Inc.) (NYSE: IT) คือบริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาชั้นนำของโลก มอบข้อมูลเชิงลึก คำแนะนำ และเครื่องมือต่าง ๆ แก่ผู้บริหารองค์กรธุรกิจ เพื่อรองรับการดำเนินภารกิจสำคัญที่มีอยู่ในปัจจุบันและสร้างองค์กรให้ประสบความสำเร็จในอนาคต ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางของการ์ทเนอร์ในการช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจอย่างถูกต้องเพื่อขับเคลื่อนอนาคตของธุรกิจได้ที่ gartner.com

#ev

#รถไฟฟ้า


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

10 สุดยอดหัวข้อเทคโนโลยีที่เหล่าผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญไอทีทั่วโลกและในประเทศไทย ค้นหาผ่านเว็บไซต์ Gartner.com ประจำปี 2564

กรุงเทพฯ, 20 ธันวาคม 2564 – ในปี 2564 (1 มกราคม – 30 พฤศจิกายน 2564) Cybersecurity/security เป็นหัวข้อที่ผู้บริหารไอทีในประเทศไทยค้นหามากที่สุดใน Gartner.com ซึ่งสอดคล้องเทรนด์จากทั่วโลก

ผลสำรวจ Gartner 2021 CIO Agenda Survey พบว่าความปลอดภัยไซเบอร์มีความสำคัญสูงสุดสำหรับงบประมาณใหม่ โดย 61% ของ CIO มากกว่า 2,000 คนที่สำรวจ เพิ่มการลงทุนด้านความปลอดภัยในโลกไซเบอร์  โดยมีการค้นหา “Cybersecurity” และ “Security” พุ่งสูงสุดในปีนี้  ในส่วนของประเทศไทยนั้น คำค้นหา “APIs และ Culture” ที่อยู่เป็น 10 อันดับแรกของประเทศ ไม่ติดอันดับ 10 คำค้นหาแรกของโลก

10 หัวข้อด้านไอทีที่ผู้บริหารไอทีในประเทศไทยค้นหามากที่สุดใน Gartner.com ระหว่าง 1 มกราคม – 30 พฤศจิกายน 2564

  1. Cybersecurity/security
  2. API/API management
  3. Data analytics
  4. Digital transformation
  5. Enterprise architecture
  6. Data governance
  7. RPA
  8. Cloud
  9. Culture
  10. DevOps

เช่นเดียวกับประเทศไทย เทรนด์การค้นหาใน Gartner.com เรื่อง Cybersecurity/security จากทั่วโลก ในปี 2564 (1 มกราคม – 30 พฤศจิกายน 2564) ได้รับความสนใจจากผู้บริหารไอทีทั่วโลกมากที่สุด

โดยที่การค้นหาเกี่ยวกับ “Cloud” และ “Digital Transformation” ติดอันดับ 2 และ 3 ในชาร์ทคำค้นที่มาแรงในปีนี้ เนื่องจากผู้บริหารด้านไอทียังมุ่งปรับเปลี่ยนการดำเนินงานในสองเรื่องนี้เป็นสำคัญเพื่อเร่งมือและเพิ่มประสิทธิภาพนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้ท่ามกลางการแพร่ระบาด

10 หัวข้อด้านไอทีที่ผู้บริหารไอทีทั่วโลกค้นหามากที่สุดใน Gartner.com ระหว่าง 1 มกราคม – 30 พฤศจิกายน 2564

  1. Cybersecurity/security
  2. Cloud
  3. Digital transformation
  4. RPA
  5. AI
  6. Data governance
  7. Data analytics
  8. Change management
  9. Enterprise architecture
  10. DevOps

* การ์ทเนอร์ (Gartner, Inc.) (NYSE: IT) คือบริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาชั้นนำของโลก บริษัทฯ ให้ข้อมูลเชิงลึก คำแนะนำ และเครื่องมือต่าง ๆ แก่ผู้บริหารองค์กรธุรกิจ เพื่อรองรับการดำเนินภารกิจสำคัญที่มีอยู่ในปัจจุบันและสร้างองค์กรให้ประสบความสำเร็จในอนาคต การ์ทเนอร์ทำหน้าที่เป็นแหล่งข้อมูลที่เป็นกลางและเป็นที่ปรึกษาที่ได้รับความไว้วางใจจากองค์กรต่าง ๆ กว่า 14,000 แห่งในกว่า 100 ประเทศทั่วโลก ครอบคลุมทุกส่วนงานสำคัญ ๆ ในทุกกลุ่มอุตสาหกรรมและองค์กรทุกขนาด ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางของการ์ทเนอร์ในการช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจอย่างถูกต้องเพื่อขับเคลื่อนอนาคตของธุรกิจได้ที่ www.gartner.com

เกี่ยวกับการ์ทเนอร์

บริษัท การ์ทเนอร์ (Gartner, Inc.) (NYSE: IT) คือบริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาชั้นนำของโลก มอบข้อมูลเชิงลึก คำแนะนำ และเครื่องมือต่าง ๆ แก่ผู้บริหารองค์กรธุรกิจ เพื่อรองรับการดำเนินภารกิจสำคัญที่มีอยู่ในปัจจุบันและสร้างองค์กรให้ประสบความสำเร็จในอนาคต ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางของการ์ทเนอร์ในการช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจอย่างถูกต้องเพื่อขับเคลื่อนอนาคตของธุรกิจได้ที่ gartner.com


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

การ์ทเนอร์คาดการณ์มูลค่าตลาดไอทีทั่วโลกปี 65 เติบโตเกินกว่า 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่ไทยเติบโต 6.4% มูลค่า 8.7 แสนล้าน

กรุงเทพฯ, ประเทศไทย 8 ธันวาคม 2564 — การ์ทเนอร์คาดการณ์แนวโน้มการใช้จ่ายไอทีทั่วโลกปี 2565 จะมีมูลค่า 4.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเป็น 5.5% จากปี 2564

นายจอห์น-เดวิด เลิฟล็อค รองประธานฝ่ายวิจัย บริษัท การ์ทเนอร์  กล่าวว่า “องค์กรธุรกิจจะพัฒนาสร้างเทคโนโลยีและซอฟต์แวร์ใหม่ ๆ เพิ่มมากขึ้น แทนที่จะเป็นการซื้อและเอาไปใช้ ซึ่งส่งผลให้มูลค่าการใช้จ่ายไอทีปี 2565 เติบโตลดลง เมื่อเทียบกับปี 2564”

อย่างไรก็ตาม การสร้างสรรค์เทคโนโลยีดิจิทัลยังเป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจที่สำคัญอันดับต้น ๆ ขององค์กรต่าง ๆ เนื่องจากพวกเขายังมุ่งมั่นสร้างและพัฒนาวิถีการทำงานในอนาคตอย่างต่อเนื่อง และเน้นการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเสริมเกราะความปลอดภัย รวมถึงรองรับการทำงานในแบบไฮบริดของพนักงานที่จะทวีความซับซ้อนมากขึ้นในปีหน้า”

ในปี 2565 คาดว่ามูลค่าใช้จ่ายซอฟต์แวร์ระดับองค์กรจะเติบโตสูงที่สุดถึง 11.5% (ตามตารางที่ 1) ที่ได้แรงขับจากการใช้จ่ายในซอฟต์แวร์โครงสร้างพื้นฐานที่เติบโตแซงหน้าซอฟต์แวร์แอปพลิเคชั่น  และการใช้จ่ายด้านอุปกรณ์ดีไวซ์ทั่วโลกพุ่งแตะระดับสูงสุดในปีนี้ (15.1%) เป็นผลมาจากกิจกรรมแบบรีโมทต่าง ๆ อาทิ การทำงาน การดูแลสุขภาพและการเรียนการสอนทางไกลที่ขยายตัวต่อเนื่อง แต่การ์ทเนอร์คาดว่าในปี 2565 จะยังเห็นการเพิ่มขึ้นขององค์กรที่อัปเกรดอุปกรณ์และ/หรือลงทุนในอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อหลากหลายเพื่อสร้างการเติบโตและใช้ตั้งค่าการทำงานแบบไฮบริด

ตารางที่ 1. คาดการณ์มูลค่าการใช้จ่ายด้านไอทีทั่วโลก (หน่วย: ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)

  มูลค่าการใช้จ่าย 

ปี 2563 

มูลค่าการเติบโต

ปี 2563 (%)

มูลค่าการใช้จ่าย 

ปี 2564

มูลค่าการเติบโต

ปี 2564 (%)

มูลค่าการใช้จ่าย 

ปี 2565

มูลค่าการเติบโต

ปี 2565 (%)

ดาต้าเซ็นเตอร์ 178,836 2.5 196,142 9.7 207,440 5.8
ซอฟต์แวร์ระดับองค์กร 529,028 9.1 600,895 13.6 669,819 11.5
อุปกรณ์ดีไวซ์ 696,990 -1.5 801,970 15.1 820,756 2.3
บริการทางด้านไอที 1,071,281 1.7 1,191,347 11.2 1,293,857 8.6
บริการด้านการสื่อสาร 1,396,334 -1.5 1,451,284 3.9 1,482,324 2.1
มูลค่าการใช้จ่ายด้านไอทีทั้งหมด 3,872,470 0.9 4,241,638 9.5 4,474,197 5.5

ที่มา: การ์ทเนอร์ (ตุลาคม 2564)

คาดการณ์มูลค่าการใช้จ่ายด้านไอทีของประเทศไทย

การใช้จ่ายผลิตภัณฑ์และบริการเทคโนโลยีในประเทศไทยในปีหน้าจะเติบโตเพิ่มขึ้น 6.4% เทียบจากปีนี้ หรือคิดเป็นมูลค่า 8.7 แสนล้านบาท

โดยบริการด้านการสื่อสารเป็นตลาดที่มีมูลค่าการใช้จ่ายไอทีที่ใหญ่ที่สุด แต่คาดว่าจะเติบโตต่ำสุดในปี 2565

มูลค่าใช้จ่ายในหมวดอุปกรณ์ดีไวซ์ (สำหรับคอมพิวเตอร์พีซีและแท็บเล็ตเป็นหลัก) จะโตสูงสุดที่ 21.7% ในปี 2564 ตามที่การทำงานระยะไกลและการเรียนรู้ทางไกลกลายเป็นวิถีใหม่ โดยผู้บริโภคและองค์กรธุรกิจต่างอัปเกรดอุปกรณ์และ/หรือลงทุนในอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อหลากหลายเครื่องเพื่อใช้ทำงานระยะไกลและแบบไฮบริด

การ์ทเนอร์ยังคาดการณ์ด้วยว่าซอฟต์แวร์ระดับองค์กรจะเป็นกลุ่มที่มีมูลค่าการใช้จ่ายเติบโตสูงที่สุดในปี 2565 เพิ่มขึ้นที่ 14.8% จากปีก่อน (ตามตารางที่ 2)

ตารางที่ 2. คาดการณ์มูลค่าการใช้จ่ายด้านไอทีประเทศไทย (หน่วย: ล้านบาท)

  มูลค่าการใช้จ่าย 

ปี 2563 

มูลค่าการเติบโต

ปี 2563 (%)

มูลค่าการใช้จ่าย 

ปี 2564

มูลค่าการเติบโต

ปี 2564 (%)

มูลค่าการใช้จ่าย 

ปี 2565

มูลค่าการเติบโต

ปี 2565 (%)

ดาต้าเซ็นเตอร์ 19,432 -1.0% 20,709 6.6% 21,656 4.6%
ซอฟต์แวร์ระดับองค์กร 45,777 12.6% 53,480 16.8% 61,381 14.8%
อุปกรณ์ดีไวซ์ 165,988 11.5% 202,028 21.7% 220,106 9.0%
บริการทางด้านไอที 70,695 3.0% 77,866 10.1% 85,466 9.8%
บริการด้านการสื่อสาร 461,241 14.6% 465,345 0.9% 482,844 3.8%
มูลค่าการใช้จ่ายด้านไอทีทั้งหมด 763,134 6.1% 819,428 7.4% 871,453 6.4%

ที่มา: การ์ทเนอร์ (พฤศจิกายน 2564)

“สิ่งที่เปลี่ยนแปลงในปีที่แล้วและปีนี้กลับไม่ใช่ตัวเทคโนโลยีแต่เป็นผู้คนที่มีความตั้งใจจริงและกระตือรือร้นในการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งในปี 2565 ผู้บริหารไอทีจำเป็นต้องกำหนดและตั้งค่าวิธีการทำงานใหม่ ๆ โดยนำความสามารถในการประกอบธุรกิจแยกย่อยและเทคโนโลยีที่รองรับเวิร์กโฟลว์ที่ไม่สอดประสานกัน” นายเลิฟล็อคกล่าวเพิ่มเติม

ชมรายละเอียดการวิเคราะห์เพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวโน้มการใช้จ่ายด้านไอทีทั่วโลกจากเว็บบินาร์ของ Gartner หัวข้อ “IT Spending Forecast, 3Q21 Update: Help Employees and Customers Stay Connected’

การคาดการณ์แนวโน้มการใช้จ่ายด้านไอทีของการ์ทเนอร์ ใช้วิธีการวิเคราะห์ยอดขายอย่างเข้มข้นของผู้ค้าหลายพันรายโดยครอบคลุมผลิตภัณฑ์และบริการด้านไอทีทั้งหมด การ์ทเนอร์ใช้เทคนิคการวิจัยขั้นต้นซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยแหล่งข้อมูลทุติยภูมิที่เชื่อถือได้ในการสร้างฐานข้อมูลที่ครอบคลุมข้อมูลขนาดตลาดซึ่งเป็นฐานการพยากรณ์

การคาดการณ์มูลค่าการใช้จ่ายด้านไอทีของการ์ทเนอร์ รายไตรมาสนำเสนอมุมมองที่แตกต่างครอบคลุมกลุ่มฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ บริการทางด้านไอทีและในกลุ่มของการสื่อสารโทรคมนาคม รายงานเหล่านี้ช่วยให้ลูกค้าของการ์ทเนอร์ ตระหนักถึงโอกาสและความท้าทายทางการตลาด  ลูกค้าของการ์ทเนอร์สามารถอ่านรายงานการคาดการณ์การใช้จ่ายด้านไอทีล่าสุดได้จาก “Gartner Market Databook, 3Q21 Update.”  การคาดการณ์การใช้จ่ายไอทีไตรมาสนี้รวมลิงก์ข้อมูลของรายงานการใช้จ่ายด้านไอทีล่าสุด เว็บบินาร์ บล็อกโพสต์ และข่าวประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ ไว้ด้วย

เกี่ยวกับการ์ทเนอร์ 

บริษัท การ์ทเนอร์ (Gartner, Inc.) (NYSE: IT) คือบริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาชั้นนำของโลก มอบข้อมูลเชิงลึก คำแนะนำ และเครื่องมือต่าง ๆ แก่ผู้บริหารองค์กรธุรกิจ เพื่อรองรับการดำเนินภารกิจสำคัญที่มีอยู่ในปัจจุบันและสร้างองค์กรให้ประสบความสำเร็จในอนาคต ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางของการ์ทเนอร์ในการช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจอย่างถูกต้องเพื่อขับเคลื่อนอนาคตของธุรกิจได้ที่ gartner.com


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

การ์ทเนอร์เผยเทรนด์เทคโนโลยีมาแรงแห่งปี 2565

กรุงเทพฯ ประเทศไทย 23 พฤศจิกายน 2564 – การ์ทเนอร์ อิงค์ เผยเทรนด์เทคโนโลยีมาแรงที่องค์กรธุรกิจต้องจับตาดูและศึกษาเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในปีหน้า

นายเดวิด กรูมบริดจ์ นักวิจัยอาวุโสของการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “ความมุ่งมั่นของซีอีโอและบอร์ดบริหารที่ต้องการสร้างการเติบโตแก่องค์กรผ่านการเชื่อมต่อเทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ ร่วมกับลูกค้าโดยตรงเป็นภารกิจสำคัญของผู้บริหารด้านไอทีที่ต้องวางแผนและดำเนินการให้ไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งสามารถพิจารณาและปรับใช้แต่ละแนวโน้มเทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์ที่มาแรงในปี 2565 ของการ์ทเนอร์ได้”

“ผู้บริหารไอทีต้องหาตัวคูณที่เป็นกำลังสนับสนุนด้านไอทีเพื่อสร้างการเติบโตแก่องค์กรและสร้างสรรค์นวัตกรรม ตลอดจนสร้างรากฐานทางเทคนิคที่มีความยืดหยุ่น ปรับขนาด และสร้างสภาพคล่องทางการเงินในด้านการลงทุนดิจิทัลได้ ส่งผลให้เกิดเทรนด์เทคโนโลยีในปีนี้เป็น 3 ธีมหลัก ๆ ได้แก่: ความน่าเชื่อถือทางวิศวกรรม (Engineering trust) การเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปร่าง (Sculpting change) และการเติบโตอย่างเร่งด่วน (Accelerating growth)”

แนวโน้มเทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์มาแรงแห่งปี 2565 ได้แก่

กำเนิดใหม่ปัญญาประดิษฐ์ [Generative Artificial Intelligence (AI)]

หนึ่งในเทคนิคของการพัฒนา AI ที่เป็นที่รู้จักและมีประสิทธิภาพมากที่สุดและกำลังเข้าสู่ตลาดคือ Generative AI ซึ่งเป็นแมชชีนเลิร์นนิ่งที่เรียนรู้เกี่ยวกับคอนเทนท์หรือ Data Object และใช้เพื่อสร้างนวัตกรรมรวมถึงผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่เป็นต้นฉบับและมีความเสมือนจริง

Generative AI สามารถใช้กับกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ การสร้างโค้ดซอฟต์แวร์ เร่งกระบวนการพัฒนายาและการทำตลาดที่เน้นกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ (Targeted Marketing) อย่างไรก็ดียังพบว่ามีการนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้อย่างไม่เหมาะสม เช่น ใช้เพื่อละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาผู้อื่น ปลอมแปลงข้อมูลประจำตัว หลอกลวง ฉ้อโกง บิดเบือนข้อมูลทางการเมือง และอื่น ๆ การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่า ภายในปี 2568 เทคโนโลยี Generative AI จะมีสัดส่วนเป็น 10% ของข้อมูลทั้งหมดที่ได้รับการผลิตขึ้นมา สูงกว่าปัจจุบันที่มีปริมาณน้อยกว่า 1%

โครงข่ายข้อมูล [Data Fabric]

จำนวนข้อมูลและแอปพลิเคชันแบบไซโลเพิ่มขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ขณะที่จำนวนบุคลากรที่มีทักษะในด้านข้อมูลและการวิเคราะห์ (Data and Analytics – D&A) กลับคงที่หรือลดลง

Data Fabric ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการรวมข้อมูลที่ยืดหยุ่นและรองรับการทำงานระหว่างแพลตฟอร์มและระหว่างธุรกิจได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อทำให้โครงสร้างพื้นฐานในการรวมข้อมูลขององค์กรง่ายขึ้น และสร้างสถาปัตยกรรมที่พร้อมสำหรับการขยายขนาดซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาสะสมทางเทคนิคที่เกิดขึ้นหรือที่เราเรียกกันว่า “หนี้ทางเทคนิค” (Technical Debt) ซึ่งพบบ่อยในทีม D&A โดยปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากความท้าทายในการรวมข้อมูลที่เพิ่มขึ้นเข้าด้วยกัน

ประสิทธิภาพที่แท้จริงของ Data Fabric คือความสามารถในการปรับปรุงการใช้ข้อมูลแบบไดนามิกด้วยการวิเคราะห์ภายในตัวมันเอง ลดความซับซ้อนในการจัดการข้อมูลได้มากถึง 70% ซึ่งช่วยให้ใช้เวลาได้อย่างคุ้มค่า

องค์กรแบบกระจาย [Distributed Enterprise]

ด้วยปัจจุบันรูปแบบการทำงานระยะไกลและไฮบริดที่เพิ่มมากขึ้น เช่นเดียวกันกับองค์กรที่เคยเน้นการทำงานในออฟฟิศเป็นศูนย์กลางก็ปรับตัวไปสู่องค์กรแบบกระจาย (Distributed Enterprise) ที่รองรับรูปแบบการทำงานที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น และเปิดโอกาสให้พนักงานสามารถทำงานได้จากทั้งในออฟฟิศและนอกสถานที่

กรูมบริดจ์ กล่าวว่า “การเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้ผู้บริหารไอทีต้องปรับเปลี่ยนเทคนิคและการบริการที่สำคัญเพื่อมอบประสบการณ์การทำงานที่ราบรื่น อย่างไรก็ดีเหรียญมักมีสองด้านเสมอ เพราะรูปแบบการทำงานดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อโมเดลธุรกิจ ไม่ว่าจะองค์กรใด ตั้งแต่กลุ่มค้าปลีกไปจนถึงกลุ่มองค์กรทางด้านการศึกษาที่จำเป็นต้องปรับกลยุทธ์และสร้างประสบการณ์ใหม่เพื่อรองรับการทำงานในรูปแบบกระจายเช่นนี้ เพราะคนทั้งโลกไม่เคยมีใครคาดมาก่อนว่าภายในช่วงเวลาแค่สองปีเราต้องเปลี่ยนการไปลองเสื้อผ้าที่ร้านไปเป็นการลองผ่านระบบดิจิทัลแทน”

การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่าภายในปี 2566 75% ขององค์กรที่ใช้ประโยชน์จากการสร้างประสบการณ์ทำงานในรูปแบบกระจายจะมีรายได้เร็วเติบโตไวกว่าคู่แข่ง 25%

แพลตฟอร์ม Cloud-Native (CNPs)

เพื่อนำเสนอความสามารถด้านดิจิทัลได้อย่างแท้จริงจากทุกที่ องค์กรจำเป็นต้องทิ้งกลยุทธ์การถ่ายโอนการทำงานแบบเดิม “ยกและเปลี่ยนใหม่” ไปสู่ CNP โดยการปรับใช้ CNP นั้นจะใช้ความสามารถหลักของคลาวด์คอมพิวติ้งเพื่อสร้างบริการในรูปแบบ “As A Service” ซึ่งจะเพิ่มความสามารถแก่ระบบไอทีให้มีความยืดหยุ่นและรองรับการปรับขยายให้แก่บริษัทเทคโนโลยีที่ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต รวมทั้งเพิ่มมูลค่าจากการส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการไปยังตลาดและผู้บริโภคได้รวดเร็วกว่า ขณะที่ลดต้นทุนไปพร้อมกัน

การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่าภายในปี 2568 แพลตฟอร์ม Cloud-Native จะทำหน้าที่เป็นเทคโนโลยีหลักที่เป็นรากฐานสำหรับการสร้างนวัตกรรมหรือเครื่องมือดิจิทัลใหม่ ๆ มากถึง 95% เพิ่มขึ้นจากเดิมที่น้อยกว่า 40% ในปี 2564

ระบบอัตโนมัติขั้นกว่า (Autonomic Systems)

เมื่อองค์กรเติบโตขึ้น การเขียนโปรแกรมแบบดั้งเดิมหรือใช้ระบบอัตโนมัติแบบเก่าอาจไม่ตอบโจทย์ Autonomic Systems เป็นระบบทางกายภาพหรือระบบซอฟต์แวร์ที่สามารถจัดการและเรียนรู้สภาพแวดล้อมของการใช้งานได้ด้วยตนเอง จะต่างจากระบบอัตโนมัติทั่ว ๆ ไป หรือระบบอัติโนมัติที่ไม่ต้องอาศัยมนุษย์ควบคุม (Autonomous System) โดย Autonomic Systems สามารถปรับเปลี่ยนอัลกอริธึมของตัวเองได้แบบไดนามิก ไม่ต้องอัปเดตซอฟต์แวร์ภายนอก ทำให้สามารถปรับให้เข้ากับเงื่อนไขหรือการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ในรูปแบบเดียวกับที่มนุษย์สามารถทำได้

“ระบบ Autonomic ได้ถูกปรับใช้กันแพร่หลายในปัจจุบันตามสภาพแวดล้อมการรักษาความปลอดภัยที่ซับซ้อน แต่ในระยะยาวระบบนี้จะกลายเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นทั่วไปในแบบที่จับต้องได้ เช่น หุ่นยนต์ โดรน เครื่องจักรที่ใช้ในภาคการผลิต และพื้นที่อัจฉริยะ” กรูมบริดจ์ กล่าว

การตัดสินใจอัจฉริยะ [Decision Intelligence (DI)]

ความสามารถในการตัดสินใจขององค์กรมีความจำเป็นมากยิ่งขึ้น เนื่องจากเป็นทรัพยากรเชิงกลยุทธ์สำคัญที่สามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันให้องค์กรได้

โซลูชั่นที่เพิ่มความสามารถในการตัดสินใจได้อัจฉริยะ (Decision Intelligence) เป็นแนวทางปฏิบัติที่นำไปใช้ได้จริงเพื่อเพิ่มความสามารถในการตัดสินใจโดยการทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ รวมทั้งการออกแบบวิธีการตัดสินใจ และประเมินผลลัพธ์ จัดการ และปรับปรุงจากคำติชมได้ การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่าในอีก 2 ปีข้างหน้า หนึ่งในสามขององค์กรขนาดใหญ่จะใช้การตัดสินใจอัจฉริยะเป็นโครงสร้างในการตัดสินใจเพื่อเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขัน

แอปพลิเคชั่นแบบประกอบแยกส่วน (Composable Applications)

ในบริบทของทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ความต้องการในการปรับตัวทางธุรกิจจะนำองค์กรไปสู่สถาปัตยกรรมเทคโนโลยีที่สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการพัฒนาแอปพลิเคชันที่เน้นความรวดเร็ว ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ซึ่งสถาปัตยกรรมแอปพลิเคชั่นแบบประกอบแยกส่วน (หรือ Composable application architecture) ได้ช่วยเสริมความสามารถให้กับการปรับตัวดังกล่าว และธุรกิจที่ใช้ปรับใช้แนวทางดังกล่าวจะนำหน้าคู่แข่งถึง 80% ในด้านความเร็วของการนำเสนอฟีเจอร์ใหม่ ๆ แก่ผู้บริโภค

“ตลอดช่วงการระบาดที่สร้างความปั่นป่วน หลักการทางธุรกิจที่ยืดหยุ่นจะช่วยให้องค์กรสามารถรับมือต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วได้ ซึ่งจำเป็นต่อความยืดหยุ่นและการเติบโตของธุรกิจ หากไม่มีสิ่งนี้ องค์กรสมัยใหม่เสี่ยงที่จะสูญเสียโมเมนตัมของตลาดและความภักดีของลูกค้าไป” กรูมบริดจ์ กล่าว

เครื่องมืออัตโนมัติแบบยิ่งยวด [Hyperautomation]

Hyperautomation ช่วยเร่งเครื่องให้ธุรกิจเติบโตอย่างรวดเร็วและยืดหยุ่นด้วยความสามารถในการแปลผลลัพธ์ เพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบอย่างรวดเร็ว และทำให้กระบวนการต่าง ๆ เป็นไปโดยอัตโนมัติให้ได้มากที่สุด

“งานวิจัยของการ์ทเนอร์ชี้ให้เห็นว่าทีม Hyperautomation ที่มีประสิทธิภาพสูงให้ความสำคัญกับสามประเด็นหลัก: ได้แก่ 1.การปรับปรุงคุณภาพงาน 2.การเร่งกระบวนการทางธุรกิจ และ 3.การเพิ่มความคล่องตัวในการตัดสินใจ ขณะเดียวกัน ยังพบว่ามีนักเทคโนโลยีทางธุรกิจสนับสนุนความคิดริเริ่มในด้านระบบอัตโนมัติโดยเฉลี่ย 4.2 โครงการ ในปีที่ผ่านมา” กรูมบริดจ์ กล่าว

เพิ่มประสิทธิภาพประมวลผลความเป็นส่วนตัว [Privacy-Enhancing Computation (PEC)]

เนื่องจากการประกาศใช้กฎหมายด้านความเป็นส่วนตัวและการปกป้องข้อมูลระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้น จึงเป็นหน้าที่ของผู้บริหารที่ต้องรักษาความไว้วางใจของลูกค้าที่อาจเกิดจากความกังวลเรื่องความเป็นส่วนตัว โดยการ์ทเนอร์คาดการณ์ว่า 60% ขององค์กรขนาดใหญ่จะใช้เทคนิคการประมวลผลข้อมูลเพื่อเพิ่มความเป็นส่วนตัวอย่างน้อยหนึ่งเทคนิคภายในปี 2568

PEC เป็นเทคนิคการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อน ครอบคลุมการปกป้องตั้งแต่ระดับข้อมูลซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ การแบ่งปัน การรวบรวม และการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างปลอดภัยขณะที่ยังคงปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความเป็นส่วนตัว ปัจจุบันมีการปรับใช้เทคนิคดังกล่าวแล้วในหลายองค์กรจากอุตสาหกรรมที่แตกต่างกันไป เช่นเดียวกับโครงสร้างพื้นฐานพับบลิกคลาวด์ (อาทิ สภาพแวดล้อมการดำเนินการที่เชื่อถือได้)

ตาข่ายความปลอดภัยไซเบอร์ [Cybersecurity Mesh]

กรูมบริดจ์ กล่าวว่า “ในปีนี้นอกจากปริมาณดาต้าที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดาต้ายังเป็นเทรนด์ที่ถูกพูดถึงกันตลอดทั้งปี แต่ดาต้าจะมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อองค์กรต่าง ๆ สามารถนำข้อมูลไปใช้งานได้อย่างถูกต้องและแม่นยำเท่านั้น วันนี้สินทรัพย์และผู้ใช้กระจายตัวอยู่ทุกหนแห่ง หมายความว่าเราไม่สามารถใช้การรักษาความปลอดภัยในรูปแบบเดิม ๆ ได้อีกต่อไป จึงต้องอาศัยสถาปัตยกรรมที่ป้องกันและจัดการภัยคุกคามทางไซเบอร์ในรูปแบบตาข่ายหรือ Cybersecurity Mesh Architecture (CSMA)”

CSMA ช่วยเตรียมโครงสร้างและแนวทางการรักษาความปลอดภัยแบบบูรณาการเพื่อรักษาความปลอดภัยให้กับทรัพย์สินทั้งหมด โดยไม่คำนึงถึงแหล่งของสินทรัพย์ ภายในปี 2567 องค์กรต่าง ๆ ที่นำ CSMA มาใช้บูรณาการเครื่องมือและระบบรักษาความปลอดภัยต่าง ๆ เพื่อให้สามารถทำงานเป็นระบบนิเวศแบบมีส่วนร่วมจะช่วยลดผลกระทบทางการเงินจากเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยส่วนบุคคลได้เฉลี่ยถึง 90%

ปัญญาประดิษฐ์ทางวิศวกรรม [AI Engineering]

ผู้นำด้านไอทีติดปัญหาในการผสานรวมระบบ AI เข้ากับแอปพลิเคชัน ทำให้เสียเวลาและเงินไปกับโครงการ AI ที่ไม่เคยนำไปสู่การผลิต หรือการพยายามรักษาคุณภาพของโซลูชัน AI เมื่อเปิดตัว ซึ่ง AI Engineering เป็นแนวทางแบบบูรณาการสำหรับการดำเนินงานโมเดล AI ในรูปแบบต่าง ๆ

กรูมบริดจ์ กล่าวว่า “สำหรับทีมฟิวชั่นที่ทำงานด้าน AI ตัวสร้างความต่างที่แท้จริงสำหรับองค์กรพวกเขาก็คือความสามารถในการเพิ่มมูลค่าได้อย่างต่อเนื่องผ่านการเปลี่ยนแปลงของระบบ AI อย่างรวดเร็ว ภายในปี 2568 จะพบว่า 10% ขององค์กรที่สร้างแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดด้านวิศวกรรม AI จะสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างน้อยสามเท่าจากความพยายามปรับใช้ AI หรือมากกว่า 90% ขององค์กรที่ไม่ได้ทำ”

ประสบการณ์เต็มรูปแบบ [Total Experience (TX)]

TX เป็นกลยุทธ์ธุรกิจที่ผสมผสานประสบการณ์ลูกค้า (CX) ประสบการณ์พนักงาน (EX) ประสบการณ์ผู้ใช้ (UX) และประสบการณ์หลากหลาย (Multiexperience – MX) เข้าด้วยกัน เป้าหมายของกลยุทธ์ TX คือการสร้างความมั่นใจ ความพึงพอใจ ความภักดี และการสนับสนุนมากขึ้นจากลูกค้าและพนักงานที่พึงพอใจกับประสบการณ์ที่ได้รับการยกระดับ ขณะเดียวกันองค์กรต่าง ๆ สามารถเพิ่มรายได้และสร้างผลกำไรจากการบรรลุประสิทธิผลทางธุรกิจของ TX ที่ปรับตัวและยืดหยุ่น

แนวโน้มเทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์ชั้นนำของปีนี้ได้มุ่งเน้นไปที่แนวโน้มที่จะผลักดันให้เกิดการหยุดชะงักหรือโอกาสการเติบโตในอีก 5-10 ปีข้างหน้า ลูกค้าของการ์ทเนอร์สามารถอ่านรายงานเพิ่มเติมได้ใน “แนวโน้มเทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์ประจำปี 2565” พร้อมเรียนรู้เกี่ยวกับข้อมูลด้านเทคโนโลยีของปีนี้ในเชิงลึกได้ที่ Gartner e-book

เกี่ยวกับการ์ทเนอร์ 

บริษัท การ์ทเนอร์ (Gartner, Inc.) (NYSE: IT) คือบริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาชั้นนำของโลก มอบข้อมูลเชิงลึก คำแนะนำ และเครื่องมือต่าง ๆ แก่ผู้บริหารองค์กรธุรกิจ เพื่อรองรับการดำเนินภารกิจสำคัญที่มีอยู่ในปัจจุบันและสร้างองค์กรให้ประสบความสำเร็จในอนาคต ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางของการ์ทเนอร์ในการช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจอย่างถูกต้องเพื่อขับเคลื่อนอนาคตของธุรกิจได้ที่ gartner.com


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

การ์ทเนอร์เผย 3 ปีจากนี้ ผลิตภัณฑ์และบริการเทคโนโลยีส่วนใหญ่จะมาจากมืออาชีพที่อยู่นอกวงการไอที

กรุงเทพฯ ประเทศไทย 4 สิงหาคม 2564 – ภายในปี 2567 ประมาณ 80% ของผลิตภัณฑ์และบริการเทคโนโลยีจะมาจากมืออาชีพนอกวงการเทคฯ

แนวโน้มนี้เป็นผลจากแรงผลักดันของนักลงทุนกลุ่มใหม่ที่อยู่นอกองค์กรไอทีทั่ว ๆ ไปที่ครองส่วนแบ่งที่ใหญ่กว่าของตลาดไอทีโดยรวม ปัจจุบันค่าใช้จ่ายด้านไอทีโดยเฉลี่ยของฝั่งธุรกิจสูงถึง 36% ของงบประมาณด้านไอทีทั้งหมด

ราเจช กานดาสวามี รองประธานฝ่ายวิจัยของการ์ทเนอร์กล่าวว่า “ซีอีโอบริหารธุรกิจดิจิทัลเหมือนเป็นทีมกีฬาที่ไม่ใช่หน่วยงานเดี่ยว ๆ ในสังกัดของฝ่ายไอทีอีกต่อไป การเติบโตของข้อมูลดิจิทัล เครื่องมือในการพัฒนาแบบ Low-Code และการพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เป็นหนึ่งในหลายปัจจัยที่ทำให้การพัฒนาเทคโนโลยีเป็นไปอย่างเสรีโดยไม่จำเป็นว่าต้องเป็นการพัฒนาโดยผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีเท่านั้น”

โควิด-19 ขับเคลื่อนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ

เทคโนโลยีเข้าไปมีบทบาทในทุกด้านของธุรกิจและผู้บริโภค ทำให้เกิดความต้องการผลิตภัณฑ์และบริการของผู้ใช้นอกแผนกไอที ซึ่งความต้องการของผู้ซื้อกลุ่มนี้ไม่จำเป็นต้องขึ้นอยู่กับรูปแบบของผลิตภัณฑ์หรือบริการเดิม ๆ ที่ได้รับเสมอไป

ประกอบกับวิกฤตโควิด-19 ที่มีส่วนทำให้เกิดการขยายทั้งปริมาณและประเภทของกรณีการใช้งานเทคโนโลยีที่จำเป็น การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่าในปี 2566 จะเกิดการสร้างรายได้ถึง 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากผลิตภัณฑ์และบริการที่ไม่เคยมีมาก่อนการระบาด

นักวิเคราะห์การ์ทเนอร์ยังกล่าวว่าการขยายตัวอย่างรวดเร็วของบริการคลาวด์ แนวคิดริเริ่มต่าง ๆ จากธุรกิจดิจิทัล และบริการระยะไกลได้เปิดประตูสู่ความเป็นไปได้ใหม่ ๆ เมื่อผสานรวมและเพิ่มประสิทธิภาพของเทคโนโลยี

ในปี 2567 กว่าหนึ่งในสามของผู้ให้บริการเทคโนโลยีต้องแข่งขันกับผู้ให้บริการนอกกลุ่มเทคฯ

โควิด-19 ยังช่วยลดกำแพงในการสร้างโซลูชันต่าง ๆ ที่ผูกกับเทคโนโลยีและกลายเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญให้ใครก็ตามที่สามารถตอบสนองความต้องการอันเป็นผลจากการระบาดใหญ่ได้ ซึ่งผู้ให้บริการหน้าใหม่เหล่านี้รวมถึงผู้ที่ทำงานสาขาวิชาชีพอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เทคโนโลยีภายในองค์กรต่าง ๆ หรือเป็น “นักเทคโนโลยีธุรกิจ – Business Technologists หรือ  พลเมืองนักพัฒนา (Citizen Developers) นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล และระบบ AI เพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์

ปัจจุบัน ผู้ให้บริการเทคโนโลยีพบว่าตนกำลังเข้าสู่ตลาดที่เกี่ยวข้องหรือแข่งขันกับผู้ให้บริการจากนอกสายเทคฯ มากขึ้น ซึ่งรวมถึงบริษัทที่มีนวัตกรรมด้านบริการทางการเงินและการค้าปลีก โดยอย่างหลังกำลังสร้างโซลูชันที่ขับเคลื่อนด้วยไอทีถี่ขึ้นและประกอบกับความทะเยอทะยานที่มากขึ้นเนื่องจากองค์กรจำนวนมากยังพยายามเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัล

การ์ทเนอร์คาดว่าภายในอีก 12 เดือนข้างหน้านี้ จะมีการประกาศเปิดตัวเทคโนโลยีใหม่ ๆ จากบริษัทที่ไม่ใช่สายเทคฯ แพร่หลายมากขึ้น

“ความพร้อมของนักเทคโนโลยีธุรกิจทำให้เกิดแหล่งข้อมูลใหม่ ๆ ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและยังสามารถทำงานให้เกิดผลสำเร็จได้ ดังนั้นผู้ให้บริการเทคโนโลยีจำเป็นต้องขยายขอบเขตแนวคิดและแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีเพิ่มเติมไปยังกลุ่มคนใหม่ ๆ อาทิ จากพื้นฐานการพัฒนามือสมัครเล่น หรือจากทีมงานที่ดูแลกลุ่มลูกค้าของบริษัทฯ และแผนกอื่น ๆ” กานดาสวามี กล่าวเพิ่มเติม

ลูกค้าการ์ทเนอร์สามารถคลิกอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่รายงาน Tech Providers 2025: Strategic Responses to Challenges From New (and Old) Entrants ซึ่งเป็นส่วนนึงของรายงาน Gartner Trends Insight report ในหัวข้อ Tech Providers 2025 Special Report ที่เก็บรวบรวมผลการวิจัยเพื่อช่วยให้ผู้ให้บริการเทคโนโลยี (TSP) เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของตลาดในระยะยาวและเตรียมพร้อมรับมือได้ตั้งแต่วันนี้

สามารถชมรายละเอียดการวิเคราะห์เพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวโน้มที่ส่งผลกระทบต่อผู้ให้บริการเทคโนโลยี ได้ที่เว็บบินาร์ของการ์ทเนอร์ หัวข้อ Prepare Now for the 6 Forces That Will Shape Tech Providers by 2025

Gartner Tech Growth & Innovation

นักวิเคราะห์การ์ทเนอร์จะนำเสนอบทวิเคราะห์เพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางในการเร่งการเติบโตของผู้ให้บริการเทคโนโลยี การขับเคลื่อนนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์และการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเกิดใหม่ที่งาน  Gartner Tech Growth & Innovation Conference 2021 ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 20-21 กรกฎาคมในอเมริกา ติดตามข่าวสารและอัปเดตเนื้อหาจากการประชุมได้ทาง Twitter โดยติดแฮชแท็ก #GartnerTGI

เกี่ยวกับ Gartner for High Tech

Gartner for High Tech นำเสนอแนวทางปฏิบัติ ข้อมูลเชิงลึกของอุตสาหกรรม และมุมมองเชิงกลยุทธ์เกี่ยวกับแนวโน้มที่เกิดขึ้นใหม่รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของตลาด เพื่อให้ผู้นำและทีมงานด้านเทคโนโลยีเตรียมพร้อมรับมือตามบทบาทหน้าที่ อันนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายสำคัญทางธุรกิจและสร้างองค์กรให้ประสบความสำเร็จในอนาคต คลิกดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.gartner.com/en/industries/high-tech หรือติดตามข้อมูลและข่าวสารจาก Gartner for High Tech บน Twitter และ LinkedIn โดยใช้ #GartnerHT

เกี่ยวกับการ์ทเนอร์

บริษัท การ์ทเนอร์ (Gartner, Inc.) (NYSE: IT) คือบริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาชั้นนำของโลก และมีรายชื่ออยู่ในดัชนี S&P 500 บริษัทฯ ให้ข้อมูลเชิงลึก คำแนะนำ และเครื่องมือต่าง ๆ แก่ผู้บริหารองค์กรธุรกิจ เพื่อรองรับการดำเนินภารกิจสำคัญที่มีอยู่ในปัจจุบันและสร้างองค์กรให้ประสบความสำเร็จในอนาคต

การ์ทเนอร์นำเสนองานวิจัยที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญ และใช้แหล่งข้อมูลจากผู้ปฏิบัติงานจริง เพื่อชี้นำลูกค้าสำหรับการตัดสินใจที่ถูกต้องเหมาะสมในเรื่องที่สำคัญที่สุด การ์ทเนอร์ทำหน้าที่เป็นแหล่งข้อมูลที่เป็นกลางและเป็นที่ปรึกษาที่ได้รับความไว้วางใจจากองค์กรต่าง ๆ กว่า 14,000 แห่งในกว่า 100 ประเทศทั่วโลก ครอบคลุมทุกส่วนงานสำคัญ ๆ ในทุกกลุ่มอุตสาหกรรมและองค์กรทุกขนาด

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางของการ์ทเนอร์ในการช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจอย่างถูกต้องเพื่อขับเคลื่อนอนาคตของธุรกิจได้ที่ gartner.com 


Exit mobile version