Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

อีริคสันลุยเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่าย 5G ดีแทค

กรุงเทพฯ, ประเทศไทย, 4 มกราคม 2564 – ประมาณครึ่งหนึ่งของประชากร 70 ล้านคนในประเทศไทย อยู่ในพื้นที่รองรับบริการที่สามารถใช้งานจากโครงข่ายสถานีฐานไร้สายใหม่ หรือ Ericsson (NASDAQ: ERIC) 5G radio access network (RAN) ซึ่งให้บริการโดยดีแทค

ผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นของ Ericsson 5G RAN จากกลุ่มผลิตภัณฑ์ Ericsson Radio System ซึ่งรวมถึง Ericsson Spectrum Sharing ที่จะสนับสนุนการให้บริการของดีแทคทั้ง 4G และ 5G ในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล ภาคกลาง รวมถึงพื้นที่เศรษฐกิจและอุตสาหกรรมในภูมิภาคตะวันออกของประเทศไทย

Ericsson Spectrum Sharing จะช่วยให้ดีแทคสามารถแชร์การรับส่งข้อมูล 4G และ 5G แบบไดนามิกเพื่อรองรับการเปลี่ยนไปสู่การใช้งานบน 5G ได้อย่างราบรื่น รวดเร็วและคุ้มค่า กลุ่มผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นวิทยุของอีริคสันจะมอบประโยชน์ด้านประสิทธิภาพการใช้พลังงานให้กับดีแทค

ผู้ใช้บริการมือถือทุกกลุ่ม ทั้งกลุ่มลูกค้าทั่วไปที่ใช้งานรับชมผ่านสตรีมมิ่ง เกม การพัฒนาสู่นวัตกรรมที่อยู่อาศัย รวมทั้งกลุ่มลูกค้าองค์กร ภาคอุตสาหกรรม ในเขตพื้นที่ต่าง ๆ ในประเทศไทยจะได้รับประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ความหน่วงต่ำ และประสิทธิภาพการรับส่งข้อมูลจำนวนมากของ 5G

ดีแทคได้ติดตั้งโครงข่ายคลื่น 700 MHz เพื่อขยายประสิทธิภาพการใช้งานให้ครอบคลุมทั่วประเทศภายใต้กลยุทธ์ในการนำอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงมาสู่ลูกค้าทุกคน และพัฒนาสัญญาณครอบคลุมทั่วประเทศ

การบรรลุข้อตกลง 5G นี้เป็นความสำเร็จของความเป็นพันธมิตรระหว่างอีริคสันและดีแทคที่มีมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ซึ่งความร่วมมือเป็นพันธมิตรดังกล่าวยังครอบคลุมบริการ 3G, 4G และการจัดการบริการต่าง ๆ ด้วย Ericsson Operations Engine อีกด้วย

นายประเทศ ตันกุรานันท์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มเทคโนโลยี บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า “ดีแทคให้ความสำคัญกับกลยุทธ์ในการนำอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงมาสู่ลูกค้าทุกคน เราไม่หยุดพัฒนาและเร่งขยายโครงข่ายทั่วประเทศเพื่อรองรับบริการ 4G และ 5G ด้วยการจัดสรรร่วมกันทั้งคลื่นความถี่ต่ำ-กลาง-สูง โดยคลื่นความถี่ 700 MHz ซึ่งเป็นคลื่นความถี่ต่ำ จะเพิ่มประสิทธิภาพครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศและพื้นที่ใช้งานหนาแน่นในเมืองโดยเฉพาะพื้นที่อาคารสูง ลูกค้าดีแทคจะได้รับประสบการณ์ในการใช้บริการที่ดีขึ้นจากในการไม่หยุดพัฒนาโครงข่ายของเรา นอกจากนี้ดีแทคยังเร่งขยายเทคโนโลยี Massive MIMO เพื่อยกระดับประสบการณ์ของลูกค้าในการส่งและรับข้อมูลที่ดีกว่าเดิม 3 เท่า ดีแทคจะเชื่อมต่อทุกคนกับทุกสิ่งที่สำคัญที่สุด”

นางนาดีน อัลเลน ประธานบริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “5G จะมีส่วนสำคัญในการเร่งการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลและกระตุ้นนวัตกรรมยุคหน้าสำหรับผู้บริโภคและองค์กรในประเทศไทย ด้วยเหตุนี้เราจึงมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้ความร่วมมือกับ dtac ในการขยายเครือข่าย 5G ในประเทศไทยแข็งแกร่งยิ่งขึ้น ความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี 5G RAN ของเราจะช่วยเสริมความมุ่งมั่นของดีแทคในการส่งมอบประโยชน์ของ 5G ให้กับผู้บริโภคและองค์กรในประเทศไทย เราอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมที่สุดในการสนับสนุนประเทศไทยไปสู่เส้นทาง 5G ด้วยความเป็นผู้นำเทคโนโลยีและประสบการณ์การพัฒนาเครือข่าย 5G ทั่วโลก”

อีริคสันเป็นพันธมิตรกับดีแทคในด้านบริการที่มีการจัดการ (Managed Services) ตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 ผ่านการพัฒนาเครือข่าย Ericsson Operation Engine เพื่อให้ดีแทคนำเสนอบริการผ่านเครือข่ายที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล AI และที่เน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง

ปัจจุบันอีริคสันมีข้อตกลงสัญญา 5G เชิงพาณิชย์และสัญญากับผู้ให้บริการการสื่อสารที่โดดเด่นทั่วโลก 122 ฉบับ รวมถึงเครือข่าย 5G เชิงพาณิชย์ที่เปิดให้บริการแล้วถึง 77 เครือข่าย


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

อีริคสันเผยสิ้นปี 2563 จะมีผู้ใช้เข้าถึงเครือข่าย 5G มากกว่าหนึ่งพันล้านรายทั่วโลก

รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด ระบุว่าสี่ในสิบของจำนวนผู้ใช้มือถือในปี 2569 จะใช้ระบบเครือข่าย 5G เป็นหลัก จากปัจจุบันที่มีผู้สมัครใช้ 5G และเครือข่ายมีสัญญาณครอบคลุมมากขึ้น ตอกย้ำให้เห็นว่าเทคโนโลยี 5G คือ ปัจจัยสำคัญเชื่อมต่ออุปกรณ์มือถือที่ให้ความรวดเร็วที่สุด ตามรายงานยังระบุว่าภายในสิ้นปีนี้จะมีจำนวนผู้คนทั่วโลกมากกว่า 1 พันล้านรายอยู่ในพื้นที่ที่เครือข่าย 5G ครอบคลุม หรือคิดเป็น 15% ของจำนวนประชากรทั่วโลก และจะมีผู้ใช้ 5G ทั่วโลกเพิ่มขึ้นเป็น 220 ล้านราย

ในปี 2569 คาดว่า 60% ของประชากรทั่วโลกจะสามารถเข้าถึงระบบเครือข่าย 5G โดยมีผู้ใช้ 5G สูงถึง 3.5 พันล้านราย และมีปริมาณดาต้าอินเตอร์เน็ต 5G เกินกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณดาต้าทั้งหมดในเวลานั้น สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนีย เทคโนโลยี 5G จะกลายเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับสองรองจาก LTE โดยมียอดผู้ใช้งานกว่า 380 ล้านราย หรือคิดเป็น 32% ของจำนวนผู้ใช้มือถือทั้งหมด

นางนาดีน อัลเลน ประธานบริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “5G จะเพิ่มศักยภาพบริการดิจิทัลและการใช้งานรูปแบบต่าง ๆ ที่มีอยู่ เช่น การสตรีมวิดีโอ สตรีมมิ่งกีฬา เกมบนมือถือและบริการสมาร์ทโฮมหรือบ้านอัจฉริยะ เฉพาะ Augmented Reality (AR) เพียงอย่างเดียวก็มีแนวโน้มที่เป็นตัวสร้างรายได้มากกว่าครึ่งหนึ่งของรายได้จากสื่อต่าง ๆ ทั้งหมดของผู้ให้บริการเมื่อเทียบกับบริการอื่น ๆ เช่น เกมบนคลาวด์ คอนเทนท์แบบเสมือนจริงหรือ VR และบริการดิจิทัลในสถานที่ การเล่นเกมแบบ AR จะเป็นตัวขับเคลื่อนเริ่มต้นหลักให้กับ AR โดยที่การใช้งานแอปพลิเคชันอื่น ๆ สำหรับ AR เช่น การรับชมโทรทัศน์และวิดีโอ การใช้งานในบ้าน โรงเรียนและเพื่อการศึกษาจะตามมา”

“ผู้บริโภคในประเทศไทยได้เริ่มสัมผัสกับประโยชน์เด่น ๆ ที่สำคัญของ 5G เป็นชาติแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ในขณะเดียวกันอีริคสันประเทศไทยกำลังทำงานอย่างใกล้ชิดกับรัฐบาลไทยตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดของระบบนิเวศในประเทศไทยเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคดิจิทัลของประเทศที่มีความเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม 4.0 และ 5G สำหรับผู้ใช้ระดับองค์กร  ความสำเร็จของ 5G ในตลาดผู้บริโภคจะมีความสำคัญต่อผู้ให้บริการ เพราะจะสนับสนุนการขยายเครือข่ายเพื่อให้สามารถกำหนดเป้าหมายการใช้งานรูปแบบใหม่ ๆ สำหรับอุตสาหกรรมและองค์กรต่าง ๆ ได้”

ปริมาณการใช้งานอินเตอร์เน็ตบนมือถือในภาพรวมของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนียยังมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง ในช่วงคาดการณ์มีอัตราการเติบโตต่อปีอยู่ที่ 33% และคาดว่าในปี 2569 จะเพิ่มสูงขึ้นถึง 32 เอกซะไบต์ (Exabyte) ต่อเดือน หรือราว 33 กิกะไบต์ (Gigabyte) ต่อเดือนต่อสมาร์ทโฟน โดยการเติบโตของปริมาณการใช้ดาต้าอินเตอร์เน็ตบนมือถือได้ถูกแปลงเป็นแผนข้อมูลที่มีความหลากหลายและกว้างมากขึ้น โดยผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือในพื้นที่แตกต่างกันทางด้านภูมิศาสตร์

มีการเปิดตัวบริการ 5G เชิงพาณิชย์จำนวนมากในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนียในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ อาทิ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และประเทศไทย และการเปิดประมูลคลื่นความถี่ที่กำลังจะมีขึ้นในปีหน้าที่เวียดนามและมาเลเซีย ซึ่งจะทำให้ระบบเครือข่าย 5G มีการเปิดใช้งานมากขึ้นเพิ่มเติม

ในรายงาน Ericsson Mobility Report ระบุถึงความสำเร็จของ 5G ที่ไม่ได้ลิมิตแค่จำนวนตัวเลขของผู้ใช้งานและความครอบคลุมของสัญญาณที่เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการนำ 5G ไปเพิ่มประสิทธิภาพให้กับธุรกิจและแอปพลิเคชันใหม่ ๆ ซึ่งได้เริ่มปรากฎให้เห็นแล้ว อย่างเช่น การนำ 5G ไปใช้ในอุปกรณ์ Critical IoT เพื่อรองรับการทำงานของแอปพลิเคชันที่ต้องการการรับ-ส่งข้อมูลอย่างฉับไวภายในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริโภค องค์กรและหน่วยงานของรัฐในหลายภาคส่วนสามารถพัฒนาระบบ 5G เป็นเครือข่ายสาธารณะหรือเครือข่ายที่ใช้เฉพาะ เพื่อสนับสนุนบริการสำคัญที่ต้องการความรวดเร็วสูง

การเล่นเกมบนคลาวด์ (Cloud Gaming) เป็นอีกหนึ่งหมวดหมู่ของแอปพลิเคชันเกิดใหม่ ด้วยความสามารถของระบบเครือข่าย 5G และเทคโนโลยีเอดจ์คอมพิวติ้งทำให้บริการสตรีมเกมบนสมาร์ทโฟนเข้าถึงประสบการณ์ที่มีคุณภาพ (QoE) เทียบเท่ากับการเล่นบนเครื่องพีซีหรือคอนโซล เปิดโอกาสให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมเกมที่มีความล้ำสมัย สมจริงในแบบโมบิลิตี้

สอดคล้องกับรายงานอีกฉบับ “Harnessing the 5G Consumer Potential” จากอีริคสัน คอนซูเมอร์ แลป ที่คาดการณ์ว่าในปี 2573 ตลาด 5G ของผู้บริโภคทั่วโลกจะมีมูลค่าราว 31 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  และผู้ให้บริการด้านการสื่อสาร (CSPs) ทั่วโลกจะสร้างรายได้จากการให้บริการ 5G สูง 3.7 ล้านล้านดอลลาห์สหรัฐฯ ซึ่งมีแนวโน้มสร้างรายได้เพิ่มขึ้นอีกหากมีบริการดิจิทัลใหม่ ๆ เกิดขึ้นตามมา
จากรายงานมีการคาดการณ์ว่า ภายในปี 2573 ผู้ให้บริการด้านการสื่อสารในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โอเชียเนียและอินเดียจะสร้างรายได้จากกลุ่มผู้บริโภคที่ใช้ระบบเครือข่าย 5G รวมอยู่ที่ 297 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และคาดว่า 79% ของรายได้ที่เกิดจากบริการดิจิทัล 5G ของผู้ให้บริการทั้งหมด (ประมาณ 7.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) จะมาจากบริการทางด้านวิดีโอและเพลงที่มีความคมชัดและคุณภาพเสียงระดับไฮไฟ (Hi-Fi) บริการดิจิทัล 5G อื่น ๆ ได้แก่ วิดีโอ เพลง เกม AR และ VR รวมถึงบริการ IoT สำหรับผู้บริโภค


 

Exit mobile version