Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

เมื่อผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค ต้องเผชิญกับความผันผวนรุนแรงในตลาด การเร่งสู่ระบบดิจิทัลเป็นเรื่องจำเป็นยิ่ง

โดย ไมเคิล จามีสัน ประธานฝ่ายอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภค ชไนเดอร์ อิเล็คทริค

ความปลอดภัยของผู้คนถือเป็นสิ่งสำคัญสุดสำหรับบริษัทด้านการผลิต การแพร่ระบาดผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านสถานที่ทำงาน เช่น การสร้างระยะห่างทางสังคมในส่วนบรรจุภัณฑ์ และการจำกัดการเข้าถึงเพื่อติดตั้งหรือดำเนินการซ่อมบำรุง คนทำงานลดน้อยลง เนื่องจากกฎระเบียบข้อบังคับในการกักตัว และอีกหลายปัญหาที่ต้องอาศัยการตอบสนองด้วยนวัตกรรมจากผู้มีส่วนร่วมในภาคการผลิต ตัวอย่างเช่น ในเดือนมีนาคม สถาบันด้านการจัดการซัพพลาย หรือ ISM (Institute of Supply Management) รายงานว่าเกือบ 75 เปอร์เซ็นต์ของบริษัทที่เข้ารับการสำรวจได้รายงานถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในซัพพลายเชนเรื่องกำลังการผลิตบางส่วน เนื่องจากข้อจำกัดด้านการขนส่งอันเนื่องมาจากไวรัสโคโรนา

เมื่อองค์ประกอบจากปัจจัยภายนอกร่วมกันบีบบังคับให้อุตสาหกรรมต้องเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงไม่มีเวลา (หรือเงินทุน)มาคาดหวังว่าเงินลงทุนจะช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ในทางกลับกัน โซลูชันที่ช่วยปรับปรุงเรื่องความยืดหยุ่น ความคล่องตัว และความสามารถในการมองเห็นทั่วซัพพลายเชนการผลิตคือสิ่งจำเป็น ความสามารถในการก้าวข้ามช่วงเวลาที่ยากลำบากเหล่านี้ขึ้นอยู่กับความสามารถในการดำเนินการได้มากขึ้นด้วยจำนวนคนเท่าที่มีอยู่ โดยใช้อุปกรณ์ต่างๆ ที่มีอยู่แล้ว

แนวทางใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการปรับกระบวนการดำเนินงานสู่ระบบดิจิทัล ช่วยให้พนักงานสามารถเพิ่มทักษะและการฝึกอบรมได้อย่างรวดเร็ว ช่วยให้ทำงานได้จากระยะไกล และเพิ่มประสิทธิภาพของสินทรัพย์ที่มีอยู่ในโรงงานผลิต

การปรับกระบวนการสู่ดิจิทัล ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของสินทรัพย์ และเพิ่มความยืดหยุ่นได้อย่างไร

หลายองค์กรกำลังตระหนักว่าการปรับกระบวนการดำเนินงานสู่ดิจิทัลสามารถให้วิธีการในการสร้างกระบวนการใหม่ได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งช่วยให้กระบวนการเดิมมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ตัวอย่างต่อไปนี้ แสดงให้เห็นว่าบรรดาบริษัทสินค้าอุปโภคบริโภค อาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงอุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์ ได้นำโซลูชันดิจิทัลซอฟต์แวร์มาใช้ เพื่อปรับตัวรับมือกับความท้าทายจากการแพร่ระบาดทั่วโลก

  • ติดตั้งระบบซ่อมบำรุงแบบคาดการณ์ล่วงหน้าได้ ในอุตสาหกรรมที่จำเป็นอย่าง อาหารและเครื่องดื่ม ที่มีความต้องการพุ่งสูงทำให้ผู้ผลิตอยู่ในสถานะที่ไม่สามารถปล่อยให้การดำเนินการต้องชะลอตัวหรือหยุดชะงักได้ ตัวอย่างเช่น ในการผลิตผลิตภัณฑ์จำพวกนมวัว ยังคงผลิตนมอยู่อย่างต่อเนื่อง และหากโรงงานโดนบังคับให้ต้องหยุดการดำเนินงาน นมที่ได้ก็จะถูกทิ้ง ส่งผลให้เกิดการสูญเสียสำคัญที่เป็นอาหารเหลือทิ้งไปอย่างน่าเสียดาย รวมถึงส่งผลกระทบต่อผลกำไร ด้วยเหตุนี้ สินทรัพย์เครื่องจักรจึงถูกเรียกเก็บภาษีเกินขีดจำกัดปกติ และต้องมีการเตรียมความพร้อมล่วงหน้าเพื่อลดการเกิดดาวน์ไทม์ แม้ว่าอุปกรณ์จะเกิดความเสียหายและล้มเหลวก็ตาม โดยในกรณีดังกล่าว โซลูชันระบบดิจิทัลจะให้ความสามารถในการคาดการณ์การซ่อมบำรุงล่วงหน้า ซึ่งช่วยให้พนักงานที่มีอยู่จำกัดมุ่งเน้นที่สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงมากที่สุด และสามารถวางแผนการซ่อมได้ ก่อนที่จะทำให้การดำเนินงานต้องหยุดชะงัก  บริษัทต่างๆ สามารถขยายอายุการใช้งานของอุปกรณ์ได้ด้วยการใช้ IIoT เซ็นเซอร์วัดเงื่อนไขการทำงาน หากไม่มีเหตุอันควรให้ต้องซ่อมบำรุง บริษัทก็สามารถเลื่อนการซ่อมบำรุงออกไปได้ไกลกว่าช่วงเวลาปกติที่เป็นมาตรฐาน สอดคล้องตามข้อมูลจาก McKinsey การตรวจสอบเงื่อนไขการซ่อมบำรุงได้ดียิ่งขึ้น โดยปกติแล้วจะช่วยลดค่าใช้จ่ายการซ่อมบำรุงได้ 10-15 เปอร์เซ็นต์
  • การเพิ่มศักยภาพให้กับคนทำงาน บรรดาองค์กรที่เผชิญกับความท้าทายในการที่ต้องลดคนทำงาน ต้องใช้คนทำงานที่เหลืออยู่ในการผลิตได้เต็มประสิทธิภาพ ตัวอย่างหนึ่งที่การปรับกระบวนการสู่ดิจิทัลช่วยได้คือ การมีผู้เชี่ยวชาญจากระยะไกล (เช่นผู้จัดการที่ดูแลพื้นที่ผลิต) ใช้แท็ปเล็ตในการช่วยชี้แนวทางให้กับพนักงานที่มีประสบการณ์น้อยและยังต้องทิ้งระยะห่างทางสังคม โดยอุปกรณ์ดังกล่าวจะใช้แอปพลิเคชัน AR ในการอธิบายกระบวนการในการใช้เครื่องจักรและบริหารจัดการด้านการทำงานให้เห็นเป็นภาพ

ในสถานการณ์ที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และโรงงานส่วนใหญ่ต้องอาศัยการดำเนินการด้วยตัวเอง พนักงานต้องห่างจากเครื่องจักรเพื่อเข้ารับการฝึกอบรมด้านกระบวนการดำเนินงาน เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาในพื้นที่การผลิต พนักงานเหล่านี้ต้องดูหน้าจอหลากหลายของเครื่องจักรแต่ละตัว เพื่อประเมินถึงต้นเหตุของปัญหาที่เจอ หากสายการผลิตหยุดทำงาน ก็ต้องโทรเข้าไปที่ฝ่ายสนับสนุนด้านเทคนิค ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ทั้งหมดกินเวลามากและทำให้มีเวลาไม่พอ

ในทางกลับกัน หากผู้ดำเนินงานเข้าถึงเครื่องมือ AR ในระบบดิจิทัลผ่านอุปกรณ์พกพา ตัวอย่างเช่น พนักงานสามารถระบุจากภาพที่เห็นได้อย่างรวดเร็วว่าเกิดปัญหาที่ไหนโดยที่ไม่ต้องทำการฝึกอบรมต่อ อีกทั้งยังได้รับคำแนะนำโดยทันที พร้อมเอกสารที่อัพเดตเกี่ยวกับการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง และเมื่อกระบวนการในระบบดิจิทัลทำให้งานของผู้ดูแลง่ายขึ้น บริษัทก็มีความพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์ที่ยุ่งยากและผันผวนได้ดียิ่งขึ้น

  • ปรับสู่ระบบอัตโนมัติเพื่อให้สามารถเปลี่ยนมาใช้ผลิตภัณฑ์ทางเลือกได้รวดเร็ว องค์กรธุรกิจที่ลงทุนในเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว จะไม่ค่อยได้รับผลกระทบจากวิกฤติปัจจุบัน เนื่องจากความยืดหยุ่นที่เพิ่มเข้ามา ช่วยให้ปรับตัวตามเงื่อนไขตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ ตัวอย่างเช่น ในการดำเนินการด้านการกลั่นและบรรจุขวดที่ออกแบบเพื่อการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หากมีระบบออโตเมชั่นที่เหมาะสมอยู่แล้ว ก็จะช่วยให้ปรับเปลี่ยนและออกเป็นสูตรใหม่สำหรับเจลทำความสะอาดมือได้ ซึ่งความคล่องตัวในการตอบสนองอย่างรวดเร็วนั้นช่วยให้บริษัทต่างๆ รองรับความต้องการของตลาดในปัจจุบันได้ โดยใช้สินทรัพย์ขององค์กรได้อย่างเต็มประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และช่วยรักษางานไว้ได้

ประโยชน์ของการปรับกระบวนการสู่ระบบดิจิทัล ที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤติ

ก้าวต่อไปก็คือ หลายองค์กรด้านการผลิตจะนำพาธุรกิจไปในแนวทางใหม่ สำหรับบางรายการจะมุ่งเน้นที่ความพอเพียงในองค์กรมากกว่า แต่สำหรับอีกหลายรายจะเน้นไปที่ช่องทางจัดหาและจัดจำหน่ายเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นกรณีไหนก็ตาม การปรับกระบวนการด้านการทำงานหลักสู่ระบบดิจิทัลและความสามารถในการเข้าถึงสินทรัพย์ต่างๆ ในโรงงานได้จากระยะไกลอย่างปลอดภัย จะกลายเป็นศักยภาพหลักที่จำเป็นต่อการให้บริการในตลาดที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ยิ่งขึ้น


เกี่ยวกับชไนเดอร์ อิเล็คทริค

เป้าหมายของชไนเดอร์ อิเล็คทริค คือการช่วยให้ทุกคนใช้พลังงานและทรัพยากรได้เกิดประโยชน์สูงสุด เชื่อมโยงความก้าวหน้าและความยั่งยืนเพื่อประโยชน์ของทุกคน เราเรียกสิ่งนี้ว่า Life Is On

ภารกิจของเราคือการเป็นพันธมิตรด้านดิจิทัลกับคุณ เพื่อสร้างประสิทธิภาพและความยั่งยืน

เราขับเคลื่อนการปฏิรูปสู่ดิจิทัล ด้วยการผสานรวมเทคโนโลยีชั้นนำของโลกด้านพลังงานและกระบวนการจัดการ เข้ากับผลิตภัณฑ์ตั้งแต่จุดเชื่อมต่อปลายทางไปยังคลาวด์ ระบบควบคุม รวมถึงซอฟต์แวร์และการบริการครอบคลุมตลอดวงจรชีวิตการทำงานทั้งหมด เพื่อสร้างศักยภาพในการบริหารจัดการองค์กรแบบบูรณาการ ทั้งสำหรับบ้าน อาคาร ดาต้าเซ็นเตอร์ ระบบโครงสร้างพื้นฐานและอุตสาหกรรม

เราคือบริษัทระดับโลกที่มีการดำเนินงานในระดับท้องถิ่นมากที่สุด เราสนับสนุนมาตรฐานระบบเปิดและระบบนิเวศของคู่ค้าที่มีความมุ่งมั่นแรงกล้าในการทำตามวัตถุประสงค์อย่างมีเป้าหมายร่วมกัน และคุณค่าในการรวมกันเป็นหนึ่งเดียวพร้อมขับเคลื่อนไปข้างหน้าด้วยกัน


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ชไนเดอร์ ขยายศักยภาพ EcoStruxture™ Triconex™ Safety View ยกระดับความปลอดภัยสูงสุด

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค (Schneider Electric) ผู้นำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันด้านการจัดการพลังงาน และระบบออโตเมชัน ออก EcoStruxure™ Triconex™Safety View ในเวอร์ชันปรับปรุงใหม่ ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันซอฟต์แวร์ระบบบริหารจัดการระบบบายพาสและการส่งสัญญาณเตือนภัย โดยเป็นระบบแรกของอุตสาหกรรมที่ได้รับการรับรองความปลอดภัยสองด้าน ทั้งความปลอดภัยในการดำเนินงานและการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์

ระบบความปลอดภัยของกระบวนการในอุตสาหกรรม ออกแบบมาเพื่อช่วยป้องกันเงื่อนไขการดำเนินงานที่ไม่ปลอดภัย รวมถึงช่วยให้โรงงานมีการดำเนินงานที่ปลอดภัย เช่นในบางครั้งจะทำการปิดระบบหากสภาวะการทำงานเริ่มไม่ปลอดภัย โดยเป็นระบบที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยปกป้องคน สินทรัพย์ การผลิต และสภาพแวดล้อม ดังนั้นระบบความปลอดภัยจึงต้องทำงานอยู่ตลอดเวลา ซึ่งระหว่างการดำเนินงานในทุกวัน จะมีอยู่หลายกรณีที่ต้องดำเนินการบายพาส หรือการแจ้งเตือนสำคัญเพื่อระงับเหตุการณ์ซึ่งอาจส่งผลกระทบโดยตรงต่อความเสี่ยงในการดำเนินการทั้งหมด รวมถึงความปลอดภัยของโรงงาน ทุกครั้งที่เกิดเรื่องดังกล่าว ก็จะส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของฟังก์ชั่นด้านการป้องกัน ซึ่งทำให้เกิดความเสี่ยงมากขึ้น และมีแนวโน้มว่าจะเกิดเหตุการณ์ที่เพิ่มความเสี่ยงต่อคนในบริษัท รวมถึงการผลิต และผลกำไร

ระหว่างช่วงเวลาที่เกิดความเสี่ยงสูง ในการดำเนินการจำเป็นต้องทราบว่ามีการบายพาสส่วนไหน จากนั้นต้องบริหารจัดการความเสี่ยงที่ถูกยกระดับขึ้น ด้วยการให้ความใส่ใจกับเงื่อนไขของกระบวนการสำคัญและการแจ้งเตือนที่ส่งผลถึงการผลิตและการสร้างกำไร โดย EcoStruxure Triconex Safety View ช่วยให้ผู้ดำเนินการมองเห็นทั้งสถานะของการบายพาสที่ส่งผลให้ความเสี่ยงในสถานที่ลดลง รวมถึงการแจ้งเตือนสำคัญเพื่อเร่งการดำเนินการด้านความปลอดภัยในโรงงานเมื่อเกิดความเสี่ยงสูง  และเนื่องจากซอฟต์แวร์ได้รับการรับรองจาก TÜV Rheinland ซึ่งเป็น Security Level 1 (SL1) ที่บังคับการใช้งานสอดคล้องตาม IEC 62443-4-2 และ Systematic Capability 3 (SC3) ซึ่งบังคับใช้งานตาม IEC 61508 สำหรับการใช้งานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยตาม Safety Integrity Level 3 (SIL3) เพื่อให้สอดคล้องตามความต้องการที่เข้มงวดเรื่องความปลอดภัย การรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ การลดความเสี่ยงและการดำเนินงานที่ต่อเนื่องในภาคน้ำมันและก๊าซ โรงงานกลั่น ปิโตรเคมี ภาคพลังงาน และอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่มีความเสี่ยงสูง มีอันตรายสูง

การบริหารความเสี่ยงเรื่องความปลอดภัยได้ดีขึ้น ทำให้เกิดประสิทธิภาพที่เหนือชั้น

EcoStruxure Triconex Safety View ให้การบริหารจัดการระบบบายพาสได้ดียิ่งขึ้น ช่วยให้บริษัทต่างๆ สามารถบริหารจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัยได้ดีขึ้น รวมถึงความเสี่ยงที่คุกคามประสิทธิภาพการดำเนินงาน ดั้งนั้น จึงเป็นส่วนที่ช่วยให้ประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจดีขึ้นในภาพรวม ไม่ว่าจะเป็นผลิตผลที่ดีขึ้น ให้ผลกำไรมากขึ้น และให้ความยั่งยืนมากขึ้นเช่นกัน

“ลูกค้าของเราต่างอยู่ภายใต้ความกดดันที่ต้องตัดลดค่าใช้จ่าย ในขณะที่ต้องผลักดันให้ได้ผลกำไร และบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน” ฮานี่ ฟูดา รองประธานฝ่ายสายผลิตภัณฑ์ด้านระบบ Process Automation ชไนเดอร์ อิเล็คทริค กล่าว “การบรรลุเป้าหมายเหล่านี้ รวมถึงการช่วยให้ตัดสินใจทางธุรกิจและการดำเนินงานได้ดีขึ้นนั้น  บ่อยครั้งต้องนำกลยุทธ์ด้านดิจิทัลใหม่ๆ และการดำเนินงานด้านอื่นๆ มาช่วยเพิ่มผลิตผล เพิ่มประสิทธิภาพ ความน่าเชื่อถือและความปลอดภัยของสินทรัพย์และการดำเนินงาน แต่ไม่ว่าทิศทางด้านกลลยุทธ์จะเป็นอย่างไร และไม่ว่าจะอยู่ระหว่างจุดไหนของการปฏิรูปสู่ดิจิทัลก็ตาม ก็ห้ามละเลยเรื่องความปลอดภัยในการดำเนินการ และเนื่องจาก EcoStruxure Triconex Safety View ช่วยให้ผู้ดูแลมีมุมมองแบบเรียลไทม์เกี่ยวกับสภาวะการดำเนินการภายในโรงงาน จึงช่วยให้บริหารจัดการความเสี่ยงได้มากขึ้น เร็วขึ้น ทั้งเรื่องของบุคลากร การผลิต และผลกำไร ซึ่งท้ายที่สุด EcoStruxure Triconex Safety View สามารถช่วยขับเคลื่อนประสิทธิภาพความปลอดภัยได้สูงสุด ส่งผลให้เกิดการสร้างผลกำไรได้ดีขึ้น และให้ความยั่งยืนมากขึ้นในระยะยาว

ให้ความสามารถในการมองเห็น ช่วยปรับปรุงอัพไทม์ การคืนทุน ต้นทุนการเป็นเจ้าของ ทุกอย่างดีขึ้น

เนื่องจาก EcoStruxure Triconex Safety View ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าช่วยปรับปรุงเรื่องอัพไทม์ ในขณะที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านวิศวกรรม การดำเนินการ และการซ่อมบำรุง โดยให้ความสามารถในการวัดผลในส่วนการสร้างกำไรจากการดำเนินการได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งให้การคืนทุนและต้นทุนการเป็นเจ้าของได้เร็วขึ้น

สร้างศักยภาพให้กับผู้ดูแลห้องควบคุมเพื่อให้ตัดสินใจได้ดีที่สุด ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการดำเนินงานที่ปลอดภัย โดย EcoStruxure Triconex Safety View ช่วยให้บริษัทต่างๆ บริหารจัดการได้ดียิ่งขึ้นและนอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงที่เป็นอันตรายต่อความปลอดภัยในการดำเนินงานแล้ว ยังช่วยระบุเพื่อลดและหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะเกิดในอนาคตได้เช่นกัน

ด้วยความสามารถด้านดิจิทัลที่ล้ำหน้า รวมถึงความสามารถในการดึงข้อมูลการดำเนินงานออกมาเป็นข้อความได้แบบเรียลไทม์ EcoStruxure Triconex Safety View จึงให้มุมมองแบบเรียลไทม์ที่ดียิ่งขึ้นในเรื่องความเสี่ยงที่มากับการเริ่มใช้ระบบและการปิดระบบ รวมถึงการเปลี่ยนผ่านสู่กระบวนการสำคัญอื่นๆ โดยการช่วยให้ผู้ดำเนินงาน วิศวกรที่ดูแลการซ่อมบำรุง รวมถึงบุคลากรในโรงงานมีข้อมูลที่ถูกต้องในเวลาที่เหมาะสม จึงช่วยให้คนเหล่านี้นำพาโรงงานไปสู่สภาวะการดำเนินงานที่ปลอดภัยได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

“เทคโนโลยีระบบดิจิทัล IIoT ที่เกิดใหม่ อย่าง Triconex Safety View มอบโอกาสใหม่ให้กับบริษัทต่างๆ ในการเพิ่มศักยภาพการดำเนินงานและตัดสินใจทางธุรกิจได้ดีขึ้น ในขณะเดียวกันก็อำนวยความสะดวกต่อการทำงานด้วยแนวทางใหม่” ฟูดา กล่าว “เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองความปลอดภัยสองด้าน และมีการตรวจสอบการทำงานอย่างเป็นอิสระ จึงทำให้ EcoStruxure Triconex Safety View ช่วยลดภาระด้านระบบวิศวกรรม ทำให้มั่นใจว่าโซลูชันการบายพาสเหมาะสมสำหรับการใช้งานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย ซึ่งการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ก็เป็นสิ่งจำเป็นเช่นกัน จึงเป็นโซลูชันในอุดมคติเนื่องจากสามารถให้แนวทางที่สอดคล้องกับการบริหารจัดการการบายพาสได้หลายไซต์งาน ทำให้ไม่ต้องใช้ความพยายามด้านวิศวกรรมมากนักเมื่อต้องมีการปรับเปลี่ยนหรืออัพเดต และช่วยให้ค่าใช้จ่ายด้านการซ่อมบำรุงและการสนับสนุนโดยรวมลดลง

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ EcoStruxure Triconex Safety View ของชไนเดอร์ อิเล็คทริค เข้าไปดูได้จากแหล่งข้อมูลเหล่านี้

–  เยี่ยมชมได้ที่ website

–  ดู video


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

สร้างดาต้าเซ็นเตอร์อย่างไร ให้ยืดหยุ่นและยั่งยืน

โดยปานกาจ ชาร์มา รองประธานบริหาร ธุรกิจ Secure Power ชไนเดอร์ อิเล็คทริค(Schneider Electric)

ผมเคยเขียนบทความก่อนหน้านี้เกี่ยวกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมดาต้าเซ็นเตอร์เพื่อรับมือกับความท้าทายด้านพลังงานที่ใกล้เข้ามาทุกที โดยมุ่งเน้นที่การสร้างเอดจ์ดาต้าเซ็นเตอร์ที่ให้ความยั่งยืน

ในขณะที่เรายังคงใช้ชีวิตแบบนิวนอร์มัลกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อรับมือกับวิกฤตด้านสุขภาพที่เกิดขึ้นทั่วโลก ผมคิดว่าสิ่งสำคัญคือการหันกลับมาทบทวนและเปิดมุมมองให้กว้างขึ้นจากจุดเริ่มต้น เพื่อให้ครอบคลุมการเรียกร้องให้มีการดำเนินการเพื่อเพิ่มความยั่งยืนให้กับดาต้าเซ็นเตอร์ทุกขนาด

เมื่อพิจารณาถึงการดำเนินกิจกรรมต่างๆ จากระยะไกลที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในทั่วทุกภาคส่วนและอุตสาหกรรมต่างๆ จะเห็นว่าดาต้าเซ็นเตอร์ กลายเป็นปัจจัยที่อยู่เบื้องหลังในการสร้างศักยภาพให้กับการดำเนินชีวิตในแบบนิวนอร์มัล

เมื่อต้องพึ่งพาดาต้าเซ็นเตอร์อย่างจริงจัง การหยุดชะงักของดาต้าเซ็นเตอร์จึงส่งผลกระทบอย่างมาก ทำให้ไม่สามารถประชุมทางวิดีโอ ไม่สามารถตรวจสอบการทำงานจากระยะไกล และไม่สามารถเข้าถึงการบริหารจัดการ หรือการสตรีมเนื้อหา ที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมากและเป็นที่จับตาของสาธารณชน

ในเวลาที่เราต้องพึ่งพาดาต้าเซ็นเตอร์มากขึ้นเรื่อยๆ สิ่งจำเป็นคือการทำให้ดาต้าเซ็นเตอร์มีทั้งความยืดหยุ่นและยั่งยืน ซึ่งเรามีทั้งวิสัยทัศน์และแผนงานที่จะช่วยให้บรรลุผลได้ทั้งสองด้าน

เมื่อเร่งการปฏิรูปสู่ดิจิทัลแล้ว ห้ามหันหลังกลับ

การปฏิรูปสู่ดิจิทัล ช่วยย่นระยะเวลาในการตอบสนองต่อการแพร่ระบาดของ โควิด-19 ได้เร็วขึ้น จากหลายปีเหลือแค่เพียงไม่กี่เดือน นับเป็นความก้าวหน้าที่พาเราเข้าใกล้โลกดิจิทัลทั้งหมดได้มากขึ้น และไม่สามารถย้อนกลับไปได้ ในทางกลับกันเราสามารถคาดหวังว่าจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ในการเปลี่ยนกระบวนการของกิจกรรมมากมายสู่ระบบดิจิทัล ทั้งในการทำงานและการใช้ชีวิตส่วนตัว

ดังเช่นที่ระบุไว้ในรายงานฉบับล่าสุดเรื่อง ‘บทบาทของสิ่งกระตุ้นโครงสร้างพื้นฐานในการฟื้นฟูของโควิด 19 และถัดไป’ ของ บอสตัน คอลซัลติ้ง กรุ๊ป และสภาเศรษฐกิจโลกที่ว่า “การเตรียมพร้อมสำหรับอนาคตดิจิทัลมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด เนื่องจากคาดว่าจะมีการเร่งนำเทคโนโลยีมาปรับใช้มากขึ้นหลังช่วงโควิด-19”

เพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่เพิ่มขึ้น ดาต้าเซ็นเตอร์จะต้องปรับเปลี่ยนได้ตามต้องการและมีความยืดหยุ่น ในขณะเดียวกัน ดาต้าเซ็นเตอร์ยังต้องให้ประสิทธิภาพและความยั่งยืน ซึ่งเป็นความย้อนแย้งที่น่าสนใจแต่ไม่ยากเกินไปที่จะทำ

เพื่อให้มั่นใจว่าดาต้าเซ็นเตอร์จะมีความยืดหยุ่นมากขึ้น แนวทางปฏิบัติทั่วไปก่อนหน้านี้ คือการเพิ่ม redundancy เพื่อสร้างความยืดหยุ่นมากขึ้น ซึ่งต้องแลกกับเรื่องของประสิทธิภาพและความยั่งยืน ด้วยย่างก้าวในปัจจุบันและจากการอิงฐานของการจำลองระบบภายใน โดยคาดว่าการใช้พลังงานจากดาต้าเซ็นเตอร์จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าภายในปี 2040 ซึ่งการเพิ่มส่วนใหญ่จะมาจากเอดจ์ดาต้าเซ็นเตอร์ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

การใช้พลังงานเพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมดาต้าเซ็นเตอร์จะไม่ถูกมองข้ามโดยภาครัฐหรือรัฐบาลของประเทศ เนื่องจากความยั่งยืนยังคงเป็นประเด็นสำคัญสำหรับทั้งภาครัฐและเอกชน

แม้เราจะอยู่ในช่วงเวลาของสถานการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ผมก็ดีใจที่ได้เห็นว่าความยั่งยืนยังคงเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก เพราะความก้าวหน้าในปัจจุบันไม่ควรเป็นสาเหตุที่สร้างความเดือดร้อนให้กับคนรุ่นถัดไปในอนาคต ซึ่งชไนเดอร์ อิเล็คทริคให้การสนับสนุนเรื่องที่ละเอียดอ่อนนี้อย่างจริงจัง

โดยทั่วไปการต่อต้านการลดความสำคัญของความยั่งยืนในช่วงที่เศรษฐกิจทั่วโลกในปัจจุบันอยู่ในความไม่แน่นอน (ส่วนใหญ่มาจากโควิด-19) ค่อนข้างเป็นเรื่องที่ขัดแย้งกันโดยสิ้นเชิงกับการผันผวนของเศรษฐกิจทั่วโลกด้านอื่นๆ ซึ่งทำให้ประเด็นความยั่งยืนถูกลดทอนความสำคัญลงไป

ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นตามรายงานการวิจัยฉบับล่าสุดของ 451 Research ที่สนับสนุนการจัดทำโดยชไนเดอร์ อิเล็คทริค(Schneider Electric) พบว่าผู้ให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์สำหรับผู้เช่าหลายราย (MTDC – Multi-Tenant Data Center) จำนวนกว่า 800 แห่งจาก 19 ประเทศ ถูกขอให้ชั่งน้ำหนักความสำคัญระหว่างแนวทางขององค์กรในเรื่องประสิทธิภาพและความยั่งยืน

ผู้ตอบสำรวจส่วนใหญ่ คิดเป็น 43 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ให้บริการ MTDC รายงานว่าองค์กรของตนมีโปรแกรมด้านความยั่งยืนในเชิงกลยุทธ์ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของโครงสร้างดาต้าเซ็นเตอร์ผ่านวงจรการทำงานส่วนใหญ่ โดยเฉพาะในขั้นตอนการออกแบบ สร้าง และดำเนินการ

แก้ปัญหาย้อนแย้งด้านความยืดหยุ่นและความยั่งยืนไปพร้อมๆ กัน

ดังที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ ความย้อนแย้งของการสร้างดาต้าเซ็นเตอร์ที่ให้ทั้งความยืดหยุ่นและความยั่งยืน ในสภาพการทำงานของระบบไอทีแบบไฮบริดสามารถแก้ไขได้ ที่ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เราเชื่อว่าการทำงานร่วมกัน จะช่วยให้อุตสาหกรรมดาต้าเซ็นเตอร์สามารถจัดการกับความท้าทาย 4 ปัจจัยหลักต่อไปนี้ได้

  • ความยั่งยืน – ตอบสนองความต้องการทางธุรกิจอย่างรับผิดชอบ โดยไม่กระทบต่ออนาคตในการอยู่ร่วมกัน
  • ประสิทธิภาพ – ช่วยปรับปรุงค่าใช้จ่าย เพิ่มความเร็ว และข้อได้เปรียบที่ช่วยเพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • การปรับตัว – ด้วยการออกแบบที่พร้อมรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ในอนาคต
  • ความยืดหยุ่น – ลดภาวะเสี่ยงจากการดาวน์ไทม์ที่ไม่ได้วางแผนล่วงหน้า

การพัฒนาดาต้าเซ็นเตอร์ท่ามกลางความท้าทายถือเป็นความรับผิดชอบที่สำคัญ ที่ต้องดำเนินการด้วยความเร่งด่วนยิ่งขึ้น เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นในช่วงวิกฤตด้านสุขภาพที่เกิดขึ้นทั่วโลก

เกี่ยวกับชไนเดอร์ อิเล็คทริค

เป้าหมายของชไนเดอร์ อิเล็คทริค คือการช่วยให้ทุกคนใช้พลังงานและทรัพยากรได้เกิดประโยชน์สูงสุด เชื่อมโยงความก้าวหน้าและความยั่งยืนเพื่อประโยชน์ของทุกคน เราเรียกสิ่งนี้ว่า Life Is On

ภารกิจของเราคือการเป็นพันธมิตรด้านดิจิทัลกับคุณ เพื่อสร้างประสิทธิภาพและความยั่งยืน

เราขับเคลื่อนการปฏิรูปสู่ดิจิทัล ด้วยการผสานรวมเทคโนโลยีชั้นนำของโลกด้านพลังงานและกระบวนการจัดการ เข้ากับผลิตภัณฑ์ตั้งแต่จุดเชื่อมต่อปลายทางไปยังคลาวด์ ระบบควบคุม รวมถึงซอฟต์แวร์และการบริการครอบคลุมตลอดวงจรชีวิตการทำงานทั้งหมด เพื่อสร้างศักยภาพในการบริหารจัดการองค์กรแบบบูรณาการ ทั้งสำหรับบ้าน อาคาร ดาต้าเซ็นเตอร์ ระบบโครงสร้างพื้นฐานและอุตสาหกรรม

เราคือบริษัทระดับโลกที่มีการดำเนินงานในระดับท้องถิ่นมากที่สุด เราสนับสนุนมาตรฐานระบบเปิดและระบบนิเวศของคู่ค้าที่มีความมุ่งมั่นแรงกล้าในการทำตามวัตถุประสงค์อย่างมีเป้าหมายร่วมกัน และคุณค่าในการรวมกันเป็นหนึ่งเดียวพร้อมขับเคลื่อนไปข้างหน้าด้วยกัน


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ชไนเดอร์ เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่! EasyPact EZS เบรกเกอร์น้องใหม่

ชไนเดอร์ เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่! EasyPact EZS เบรกเกอร์น้องใหม่ ง่ายจนใครๆ ก็ยกนิ้วให้ ชูโรงง่ายๆ ด้วยแบบ โพล เฟรม ขนาด ความง่าย

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค (Schneider Electric) เปิดตัว EasyPact EZS เบรกเกอร์ MCCB (Molded-Case Circuit Breaker) รุ่นใหม่ผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม ‘ชไนเดอร์ อีซี่’ ที่ราคาคุ้มค่า ปรับตั้งค่ามาจากโรงงานแบบสำเร็จรูป พร้อมใช้งานทันที ลดเวลาในการติดตั้งและการปรับตั้งค่า เหมาะสำหรับตู้ ตู้ควบคุมไฟฟ้าที่ติดตั้งในอาคาร สำนักงานขนาดเล็ก เช่น อพาร์ทเมนท์ อาคารพาณิชย์ โรงงานขนาดเล็ก เป็นต้น EasyPact EZS รุ่นใหม่มาพร้อม 3 ความง่าย

ง่ายต่อการเลือกใช้ ไม่ต้องคิดเยอะ! ทุกรุ่นเป็นแบบ 3 โพล มี 3 เฟรม 3 ขนาด ได้แก่ ขนาดเล็ก 100A ทนกระแสลัดวงจร 25-50 kA ขนาดกลาง 160-250A ทนกระแสลัดวงจร 25/36 kA ขนาดใหญ่ 400-630A ทนกระแสลัดวงจร 36/50 kA

ง่ายต่อการติดตั้ง! เนื่องจากมีขนาดเฟรมที่ชัดเจน ช่วยให้ง่ายในการติดตั้งตามสเปคที่ต้องการ ทำให้งานเสร็จไว อีกทั้งเพิ่มความยืนหยุ่นในการเลือกใช้รุ่นกระแสทดแทนกันได้ โดยไม่ต้องเปลี่ยนแบบตู้ใหม่ เช่น การเปลี่ยน ขนาดเบรกเกอร์ 63A เป็นรุ่นขนาด 100A  ได้อย่างง่ายๆ โดยการใช้ตู้เดิม นอกจากนี้ สามารถติดตั้งอุปกรณ์เสริมต่างๆ เพื่อเพิ่มความสะดวก และเพิ่มศักยภาพการทำงานที่มากขึ้น เช่น Trip release coils, Auxiliary signaling, contacts และ Rotary handles และยังสามารถเข้าถึงข้อมูลผลิตภัณฑ์ วิดีโอแนะนำการติดตั้งเบรกเกอร์และอุปกรณ์เสริมต่างๆ ได้ง่าย ผ่านสติ๊กเกอร์ QR Code ข้างผลิตภัณฑ์ได้

ง่ายต่อการใช้งาน! เนื่องจากทริปยูนิตเป็นแบบพร้อมใช้งาน ช่วยลดความยุ่งยาก และความผิดพลาด พร้อมการันตีความทนทานและอายุการใช้งานสูงที่สุดด้วย Ics = 100% Icu ตั้งแต่เฟรม160 ขึ้นไป ที่สำคัญมั่นใจด้วยคุณภาพมาตรฐานสากล และเป็นผลิตภัณฑ์ Green Premium

EasyPact EZS เบรกเกอร์ MCCB รุ่นใหม่แบบ 3 โพล 3 เฟรม 3 ขนาด 3 ความง่าย เหมาะสำหรับงานอาคารขนาดเล็กทั่วไป เช่น อพาร์ทเมนท์ หอพัก โรงแรมขนาดเล็ก โฮสเทล อาคารพาณิชย์ เป็นต้น และนับว่าเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผลิตออกมาเพื่อตอบโจทย์การใช้งานได้กว้างขวางขึ้น ง่ายขึ้น พร้อมราคาที่คุ้มค่า

หาซื้อได้แล้ววันนี้ที่ Schneider Easy Shop และร้านไฟฟ้าชั้นนำทั่วประเทศ หรือซื้อออนไลน์ได้ที่

ร้านค้าออนไลน์อย่างเป็นทางการ (LazMall Flagship Store) ของ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค: https://bit.ly/3iDLHzt

หรือ ตัวแทนจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์

Ucanbuys | Factomart | Electric2U Plug On

ดูวิดีโอ https://youtu.be/tmWj655EdrM

เยี่ยมชมเว็บไซต์ https://www.se.com/th/th/product-range/63301-easypact-ezs/


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เปิดตัวบริการให้คำปรึกษาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นครั้งแรก

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค (Schneider Electric) ผู้นำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันด้านการบริหารจัดการพลังงานและระบบออโตเมชัน เปิดตัว Climate Change Advisory Service บริการให้คำปรึกษาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นการต่อยอดบริการด้านคำปรึกษาของบริษัทฯ โดยเป็นบริการที่ออกแบบมาเพื่อมอบโซลูชันรวมที่ตอบโจทย์ความท้าทายขององค์กรในเรื่องความยั่งยืน รวมถึงการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ โดยนับเป็นครั้งแรกของบริการประเภทนี้ที่ช่วยสร้างสมดุลทั้งด้านวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์และการวางแนวทางด้วยการติดตั้งใช้เทคโนโลยีและการดำเนินการที่จับต้องได้จริง  ให้แนวทางแบบบูรณาการอย่างเต็มรูปแบบ ที่ครอบคลุมทั้งเรื่องการบริหารจัดการพลังงาน ประสิทธิภาพด้านการใช้ทรัพยากร การจัดซื้อพลังงานหมุนเวียน การชดเชยคาร์บอน การลดการปล่อยคาร์บอนในห่วงโซ่คุณค่า และการรวบรวมและเปิดเผยข้อมูลที่ขับเคลื่อนด้วย AI

แม้ว่าจะมีทั้งข้อตกลงปารีสและคำมั่นสัญญามากมายจากองค์กรระดับโลกนับหลายพันแห่งก็ตาม แต่ก็ยังคงต้องติดตามเรื่องการเพิ่มอุณหภูมิทั่วโลกที่อาจจะเกินเกณฑ์ที่แนะนำคือ 1.5 องศาเซลเซียส (อุณหภูมิร้อนขึ้นประมาณ 1.2 องศาเซลเซียสอยู่แล้วก่อนช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรม)  บริการให้คำปรึกษาอย่างครบวงจรของชไนเดอร์ อิเล็คทริค จะรวมเครื่องมือด้านการประเมินและการพัฒนากลยุทธ์ไว้ด้วยกัน พร้อมให้แนวทางในการนำไปการติดตั้งใช้งาน และให้การสนับสนุนเพื่อให้บริษัทขนาดใหญ่และขนาดเล็กสามารถตอบโจทย์เรื่องความยั่งยืนและบรรลุเป้าหมายการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศในระดับโลกได้สำเร็จ

“การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คือความท้าทายของทศวรรษนี้ และธุรกิจก็มีบทบาทสำคัญมากในการหยุดเรื่องดังกล่าว ผลที่ได้คือ ผู้บริหารระดับสูงต่างตระหนักกันมากยิ่งขึ้นว่าความยั่งยืนไม่ใช่เรื่องการลงทุนที่ช่วยให้รู้สึกดี แต่เป็นการดำเนินการเชิงกลยุทธ์ที่ช่วยป้องกันความเสี่ยงและพัฒนาความยั่งยืน” สตีฟ วิลไฮท์ รองประธานอาวุโสฝ่ายบริการด้านพลังงานและความยั่งยืน ชไนเดอร์ อิเล็คทริค กล่าว

“อย่างไรก็ตาม หากจะเร่งการดำเนินงาน ต้องมีการเปลี่ยนกรอบความคิด แม้ว่าปีที่บันทึกไว้สำหรับพันธสัญญาด้านสภาพภูมิอากาศคือ 2020 ก็ตาม แต่ก็ยังมีช่องว่างระหว่างความมุ่งมั่นกับการดำเนินการ บริการของเรามุ่งเป้าที่การเติมเต็มช่องว่างดังกล่าว ช่วยให้ลูกค้ากำหนดกลยุทธ์เชิงการแข่งขันในการลดการปล่อยคาร์บอนโดยอิงตามหลักวิทยาศาสตร์ ในขณะเดียวกันก็สร้างผลกระทบเชิงบวกในแง่ผลกำไร”

แม้ว่าการดำเนินการในส่วนขององค์กร กระตุ้นให้เกิดความคืบหน้าในการตอบสนองการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปัจจุบัน มีเพียง 23 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรที่ติดอันดับ Fortune 500 ที่ได้ให้คำมั่นสัญญาด้านสภาพภูมิอากาศต่อสาธารณะ เพื่อบรรลุในปี 2030 ทั้งนี้ บริการให้คำปรึกษาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของชไนเดอร์ อิเล็คทริค จะช่วยให้ลูกค้าเข้าใจความสำคัญของการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ เพื่อเป็นกลยุทธ์ในการลดความเสี่ยง ช่วยกำหนดหรือสร้างความก้าวหน้าในเส้นทางมุ่งสู่ความยั่งยืน และวางกลยุทธ์เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ บริการดังกล่าวประกอบไปด้วยเรื่องต่อไปนี้

  • การพัฒนากลยุทธ์เพื่อลดการปล่อยคาร์บอน
  • การบริหารจัดการแหล่งข้อมูลระดับโลกด้วย AI
  • การคาดการณ์และตั้งงบประมาณ
  • การบริหารจัดการความเสี่ยงขององค์กร
  • การกำหนดเป้าหมาย และการวางโร้ดแม็ป
  • การระบุศักยภาพและการดำเนินการด้านพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
  • การปรับใช้ไมโครกริดและเทคโนโลยีสะอาด
  • การประเมินโอกาสด้านพลังงานหมุนเวียนและการจัดซื้อ
  • การประเมินและจัดหาตลาดคาร์บอนในภาคสมัครใจ
  • การมีส่วนร่วมและการแก้ปัญหาด้านห่วงโซ่คุณค่าและห่วงโซ่อุปทาน

แนวทางด้านกลยุทธ์และการดำเนินการที่เน้นการปฏิบัติและขับเคลื่อนด้วยข้อมูล คือรากฐานการออกแบบและการบริหารจัดการโดยตรงขององค์กรที่มีจุดมุ่งหมายหลักในการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ ทั้งนี้ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้รับการยอมรับอย่างต่อเนื่องในการจัดอันดับสำคัญถึงความสำเร็จด้านความยั่งยืน โดยเมื่อไม่นานมานี้ บริษัทฯ ยังได้ประกาศถึงการมุ่งเน้นที่กลยุทธ์ระยะยาวอย่างจริงจัง ด้วยการยึดมั่นและคำนึงถึงสภาพแวดล้อม สังคม และหลักธรรมาภิบาลในทุกแง่มุมของกิจกรรม พร้อมช่วยให้ลูกค้าและพันธมิตรธุรกิจบรรลุวัตถุประสงค์เรื่องความยั่งยืนในองค์กร การประกาศครั้งนี้ เกิดขึ้นในเวลาเดียวกับที่ Corporate Knights บริษัทสื่อและการวิจัยของแคนาดา ได้ออกข่าวการจัดอันดับและการประเมินผลิตภัณฑ์ทางด้านการเงินโดยอิงตามศักยภาพในการสร้างความยั่งยืนขององค์กร นับเป็นครั้งแรกที่ชไนเดอร์ อิเล็คทริคได้รับการยกย่องให้เห็นเบอร์หนึ่งในดัชนีประจำปีของ 100 องค์กรระดับโลกที่มีความยั่งยืนมากที่สุดในโลก “the Global 100 most sustainable corporations in the world”

การผสานรวมความเชี่ยวชาญของบริษัทฯ ในฐานะที่ปรึกษารายใหญ่ที่สุดในโลก เรื่องข้อตกลงในการเจรจาซื้อพลังงานในระดับองค์กร พร้อมด้วยเครื่องมือและระบบบริหารจัดการที่ดีที่สุดด้านพลังงานและความยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็น EcoStruxure™ Resource Advisor, NEO Network™ และ EcoStruxure Microgrid Advisor ซึ่งทำให้ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้เชี่ยวชาญที่นำพาองค์กรต่างๆ ไปสู่อนาคตที่ยืดหยุ่นและยั่งยืนได้ในเชิงรุก

ผู้สนใจสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการที่ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ช่วยให้บริษัทชั้นนำอย่าง Faurecia และ Charles River Labs ก้าวสู่การดำเนินงานด้านสภาพภูมิอากาศ โดยสามารถเข้าไปที่ webinar ล่าสุดได้ที่ Climate Action in 2021: The Year of Breakthroughs.

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริการให้คำปรึกษาของชไนเดอร์ อิเล็คทริค สามารถเยี่ยมชมได้ที่ schneider-electric.com/ess  และเข้าไปดูข่าวสารเกี่ยวกับพลังงานและความยั่งยืน รวมถึงมุมมองเชิงลึกเกี่ยวกับแนวโน้มต่างๆ และแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด ได้ที่ Perspectives พร้อมทั้งติดตาม Schneider Electric Energy & Sustainability Services ได้ที่ LinkedIn

เกี่ยวกับชไนเดอร์ อิเล็คทริค

เป้าหมายของชไนเดอร์ อิเล็คทริค คือการช่วยให้ทุกคนใช้พลังงานและทรัพยากรได้เกิดประโยชน์สูงสุด เชื่อมโยงความก้าวหน้าและความยั่งยืนเพื่อประโยชน์ของทุกคน เราเรียกสิ่งนี้ว่า Life Is On

ภารกิจของเราคือการเป็นพันธมิตรด้านดิจิทัลกับคุณ เพื่อสร้างประสิทธิภาพและความยั่งยืน

เราขับเคลื่อนการปฏิรูปสู่ดิจิทัล ด้วยการผสานรวมเทคโนโลยีชั้นนำของโลกด้านพลังงานและกระบวนการจัดการ เข้ากับผลิตภัณฑ์ตั้งแต่จุดเชื่อมต่อปลายทางไปยังคลาวด์ ระบบควบคุม รวมถึงซอฟต์แวร์และการบริการครอบคลุมตลอดวงจรชีวิตการทำงานทั้งหมด เพื่อสร้างศักยภาพในการบริหารจัดการองค์กรแบบบูรณาการ ทั้งสำหรับบ้าน อาคาร ดาต้าเซ็นเตอร์ ระบบโครงสร้างพื้นฐานและอุตสาหกรรม

เราคือบริษัทระดับโลกที่มีการดำเนินงานในระดับท้องถิ่นมากที่สุด เราสนับสนุนมาตรฐานระบบเปิดและระบบนิเวศของคู่ค้าที่มีความมุ่งมั่นแรงกล้าในการทำตามวัตถุประสงค์อย่างมีเป้าหมายร่วมกัน และคุณค่าในการรวมกันเป็นหนึ่งเดียวพร้อมขับเคลื่อนไปข้างหน้าด้วยกัน


Exit mobile version