Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

การควบรวมกิจการของ DTAC และ TrueMove H ทำให้ความเร็ว 5G เพิ่มขึ้น และมอบประสบการณ์วิดีโอดีขึ้น

โดย โรเบิร์ต วิซีคอฟสกี้ นักวิเคราะห์อาวุโส Opensignal

ประเทศไทย, 10 พฤษภาคม 2566 – ข้อมูลจาก Opensignal แสดงให้เห็นว่าผู้ใช้ได้สัมผัสกับความเร็ว 5G ที่สูงขึ้นพร้อมได้รับประสบการณ์วิดีโอ 5G ที่ดียิ่งขึ้นเมื่อเชื่อมต่อผ่านย่านความถี่ n41 (2.6GHz) และมีผู้ใช้ย่านความถี่นี้กันมากขึ้น ซึ่งเป็นความถี่ที่เกิดจากการควบรวมกิจการของ DTAC และ TrueMove H ส่งผลให้ผู้ใช้ได้รับประสบการณ์ดียิ่งขึ้น

การวิเคราะห์ครั้งใหม่นี้ Opensignal ได้เปรียบเทียบประสบการณ์การเชื่อมต่อ 5G ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนบนเครือข่ายมือถือของผู้ให้บริการต่าง ๆ ของประเทศไทยในเดือนธันวาคม 2565 และเดือนมีนาคม 2566 ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนและหลังการสิ้นสุดกระบวนการการควบรวมกิจการระหว่าง DTAC และ TrueMove H

ในเดือนมีนาคม 2566 ผู้ใช้เครือข่าย AIS ได้รับประสบการณ์การเชื่อมต่อ 5G ด้วยความเร็วเฉลี่ยสูงสุดด้วยคลื่นความถี่ 42.7 MHz จึงเป็นเครือข่ายที่มีความเร็วในการดาวน์โหลดสูงสุด ขณะเดียวกันเมื่อเดือนธันวาคม 2565 ผู้ใช้เครือข่าย DTAC ได้พบกับความเร็ว 5G ในระดับต่ำมาก เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ให้บริการเครือข่ายอีกสองรายในประเทศไทย ทว่าช่วงเวลาของการควบรวมกิจการในเดือนมีนาคม 2566 เราสังเกตเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงด้านความเร็วอย่างมีนัยยะของประสบการณ์ต่าง ๆ ของ DTAC เมื่อผู้ใช้เชื่อมต่อผ่านย่านความถี่ 2.6GHz

ผู้ให้บริการเครือข่ายในประเทศไทยใช้ย่านความถี่ 5G อยู่สองประเภทคือย่านความถี่ n28 (700MHz) และย่านความถี่ n41 (2.6 GHz) โดยแบบแรกจะให้ความถี่ครอบคลุมในช่วงกว้างกว่าและแบบที่สองจะให้ความจุข้อมูลสูงกว่า สิ่งนี้เองที่ทำให้มีปริมาณข้อมูลและความเร็วที่เพิ่มขึ้นสำหรับผู้ใช้มือถือ

มีความแตกต่างอย่างมีนัยยะสำคัญของการถือครองคลื่นความถี่ของผู้ให้บริการเครือข่ายทั้งสามรายในประเทศไทย ขณะที่ AIS และ TrueMove H เป็นผู้ถือครองกรรมสิทธิ์ความถี่100 MHz และ 90 MHz ในความถี่ 2.6GHz นั้น DTAC กลับไม่ได้ถือครองกรรมสิทธิ์ในคลื่นความถี่ใดในย่านความถี่นี้ในการประมูลคลื่นความถี่ประจำปี 2563 — จึงเป็นผลทำให้สามารถกระจายสัญญาณ 5G ในย่านความถี่ 700 MHz ได้เท่านั้น โดยข้อมูลนี้เป็นข้อมูลที่เราสังเกตมาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565 และในรายงานประสบการณ์เครือข่ายมือถือประจำประเทศไทยครั้งล่าสุดนี้ที่ผู้ใช้เครือข่าย DTAC ของเรา ได้พบกับค่าเฉลี่ยความเร็วในการดาวน์โหลด 5G ในระดับต่ำมากเมื่อเปรียบเทียบกับการเชื่อมต่อบน AIS และ TrueMove H ประมาณ 30Mbps

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไปในเดือนมีนาคม 2566 ในช่วงการสิ้นสุดกระบวนการการควบรวมกิจการระหว่าง DTAC และ TrueMove H  ขณะที่ทั้งสองบริษัทยังไม่ได้ถูกควบรวมให้อยู่ภายใต้เครื่องหมายการค้า True Corp ใหม่อย่างเต็มรูปแบบและการควบรวมเครือข่ายยังคงอยู่ในขั้นตอนการดำเนินงาน เราสังเกตเห็นว่าผู้ใช้ 5G บนเครือข่าย DTAC ในย่านความถี่ 2.6 GHz ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของ TrueMove H ในเวลานี้ได้รับประสบการณ์ความเร็วในการดาวน์โหลด 5G เป็น 105.7 Mbps ซึ่งมีความเร็วสูงกว่าย่านความถี่ 700 MHz ถึงสามเท่า ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ ในเดือนมีนาคม 2566 ค่าเฉลี่ยโดยรวมในการดาวน์โหลด 5G ของ DTAC เพิ่มขึ้น 2.8 เท่า หากเทียบกับในเดือนธันวาคม 2565 แล้วนับว่ามีความเร็วเพิ่มขึ้นจาก 29.6Mbps เป็น 82.1Mbps สิ่งที่น่าสนใจคือ ความเร็วในการดาวน์โหลด 5G ของ TrueMove H บนความถี่ 2.6GHz นั้นลดลงจากในเดือนธันวาคม 2565 ที่ 102.5Mbps เหลือเพียง 83.9Mbps ในเดือนมีนาคม 2566 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการใช้ย่านความถี่ 2.6GHz ร่วมกันของทั้งสองบริษัท

Opensignal ได้พิจารณาพัฒนาการด้านแบนด์วิธคลื่นความถี่โดยเฉลี่ยของการเชื่อมต่อ 5G บนเครือข่ายของผู้ให้บริการในประเทศไทยระหว่างเดือนธันวาคม 2565 และเดือนมีนาคม 2566 พบว่าแบนด์วิธคลื่นความถี่ 5G โดยเฉลี่ยของเครือข่าย DTAC เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดจาก 19.5MHz ในเดือนธันวาคม 2565 เป็น 22.9MHz ในเดือนมีนาคมซึ่งเพิ่มขึ้น 3.4MHz (17.1%) นับตั้งแต่เดือนธันวาคมเป็นต้นมา สำหรับผู้ใช้ที่เชื่อมต่อ 5G บนเครือข่าย AIS และ TrueMove H นั้นยังไม่พบการเปลี่ยนแปลงทางสถิติของค่าเฉลี่ยแบนด์วิธคลื่นความถี่ใด ๆ ในช่วงเดือนดังกล่าว

เมื่อพิจารณาสัดส่วนของการเปลี่ยนแปลงของ 5G ต่อย่านความถี่ในเดือนธันวาคม 2565 และเดือนมีนาคม 2566 ของผู้ให้บริการเครือข่ายต่าง ๆ แล้ว พบว่าเครือข่าย DTAC มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากโดยเปลี่ยนจากความถี่ 700MHz (n28) เป็น 2.6 GHz (n41) ขณะที่ในเดือนธันวาคม 2565 นั้น DTAC ยังคงใช้คลื่นความถี่ 700MHz ให้บริการ 5G แต่ในเดือนมีนาคม 2566 ในการอ่านค่า 5G ของเครือข่าย DTAC พบว่ามีการให้บริการบนคลื่นความถี่ 2.6GHz เพิ่มขึ้นเกือบ 80% ซึ่งเราไม่พบการเปลี่ยนแปลงลักษณะนี้กับเครือข่าย AIS และ TrueMove H ด้วยสัดส่วนของ 5G ในคลื่นความถี่ 700MHz ยังคงเป็นไปอย่างปรกติทั้งในเดือนธันวาคม 2565 และเดือนมีนาคม 2566 ซึ่งอยู่ในช่วง 8.6% และ 15.2% ตามลำดับ

แบนด์วิธความถี่ที่เพิ่มขึ้นไม่เพียงแต่ทำให้ความเร็วในการดาวน์โหลด 5G สูงขึ้นเท่านั้น แต่ยังช่วยพัฒนาคุณภาพการบริการมือถือในด้านอื่น ๆ อีกด้วย Opensignal ได้วิเคราะห์คะแนนด้านประสบการณ์วิดีโอ 5G ตามคลื่นความถี่ 5G ที่ผู้ให้บริการเครือข่ายในประเทศไทยใช้เป็นหลัก พบว่าการเชื่อมต่อ 5G บนย่านความถี่ 2.6MHz ทำให้ผู้ใช้ 5G ชาวไทยได้รับประสบการณ์วิดีโอที่ดีกว่าการเชื่อมต่อบนย่านความถี่700MHz ด้วยค่าคะแนนที่แตกต่างกันในเดือนมีนาคม 2566 ในช่วงคะแนน 2.9 และ 3.2 สำหรับ DTAC และ TrueMove H ตามลำดับ และ 6 คะแนนสำหรับ AIS

เช่นเดียวกับด้านความเร็วในการดาวน์โหลด 5G ในเดือนธันวาคม 2565 Opensignal ยังไม่พบการให้บริการ 5G บนย่านความถี่ 2.6GHz ของ DTAC แต่เดือนมีนาคม 2566 เราพบว่ามีการเชื่อมต่อ 5G บนเครือข่าย DTAC บนย่านความถี่นี้ และยังได้รับคะแนนประสบการณ์วิดีโอ 5G ที่เพิ่มขึ้นมากกว่าการเชื่อมต่อบนย่านความถี่ 700MHz

ผู้ให้บริการรายใหม่มีศักยภาพเขย่าตลาดมือถือ

​เราพบว่าในประเทศอื่น ๆ ที่มีผู้ให้บริการรายใหม่เกิดขึ้นจากการควบรวมกิจการได้เปลี่ยนตำแหน่งของตนเองไปอย่างสิ้นเชิง จากการวิเคราะห์ล่าสุดถึงแนวโน้มการแข่งขันในอิตาลี แสดงให้เห็นว่าการควบรวมกิจการของ Wind และ Tre ในปี 2563 นำไปสู่การเกิดขึ้นของผู้ให้บริการใหม่ที่พลิกโฉมตลาดอิตาลีได้และยังคว้ารางวัลประสบการณ์เครือข่ายมือถืออีกหลายรางวัลในรายงานของ Opensignal

AIS ครองรางวัลในรายงานประสบการณ์เครือข่ายมือถือของประเทศไทยจาก Opensignal ที่เผยแพร่เมื่อเดือนพฤษภาคม 2565 และ พฤศจิกายน 2565 โดยคว้ารางวัลชนะเลิศด้านความเร็ว 5G และรางวัลด้านประสบการณ์ทั้งหมด ส่วน DTAC และ TrueMove H จากกรณีการควบรวมกิจการที่ทำให้มีกรรมสิทธิ์ในคลื่นความถี่และโครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนฐานผู้ใช้ที่มากขึ้น ทำให้บริษัทกลายเป็นคู่แข่งสำคัญของ AIS ในด้านประสบการณ์เครือข่ายมือถือ

เกี่ยวกับ Opensignal 

เป็นผู้ให้บริการอิสระระดับโลกด้านข้อมูลเชิงลึกและประสบการณ์เครือข่ายที่ผสมผสาน รวมถึงข้อมูลภาพรวมการเติบโต การให้บริการของผู้ให้บริการเครือข่ายไร้สายและบรอดแบนด์อินเตอร์เน็ต รายงานสาธารณะของบริษัทฯ ได้รับการยอมรับระดับโลกในมาตรฐานการเปรียบเทียบประสบการณ์เครือข่าย โดยใช้โซลูชันการวิเคราะห์แบบองค์รวมและการยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลางเพื่อสร้างข้อมูลเชิงลึกในรูปแบบใหม่ๆ ที่ไม่มีมาก่อน และยังช่วยผู้ให้บริการด้านการสื่อสารสามารถปรับปรุงเครือข่าย พร้อมเพิ่มประสิทธิภาพเชิงพาณิชย์ของตนได้สูงสุด ปรับปรุงประสบการณ์เชื่อมต่อให้กับทุกคน

บริษัทฯ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ประเทศสหรัฐฯ แคนาดา สหราชอาณาจักร และมีสำนักงานขายในอเมริกาใต้และเอเชีย


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

อีริคสันลุยเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่าย 5G ดีแทค

กรุงเทพฯ, ประเทศไทย, 4 มกราคม 2564 – ประมาณครึ่งหนึ่งของประชากร 70 ล้านคนในประเทศไทย อยู่ในพื้นที่รองรับบริการที่สามารถใช้งานจากโครงข่ายสถานีฐานไร้สายใหม่ หรือ Ericsson (NASDAQ: ERIC) 5G radio access network (RAN) ซึ่งให้บริการโดยดีแทค

ผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นของ Ericsson 5G RAN จากกลุ่มผลิตภัณฑ์ Ericsson Radio System ซึ่งรวมถึง Ericsson Spectrum Sharing ที่จะสนับสนุนการให้บริการของดีแทคทั้ง 4G และ 5G ในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล ภาคกลาง รวมถึงพื้นที่เศรษฐกิจและอุตสาหกรรมในภูมิภาคตะวันออกของประเทศไทย

Ericsson Spectrum Sharing จะช่วยให้ดีแทคสามารถแชร์การรับส่งข้อมูล 4G และ 5G แบบไดนามิกเพื่อรองรับการเปลี่ยนไปสู่การใช้งานบน 5G ได้อย่างราบรื่น รวดเร็วและคุ้มค่า กลุ่มผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นวิทยุของอีริคสันจะมอบประโยชน์ด้านประสิทธิภาพการใช้พลังงานให้กับดีแทค

ผู้ใช้บริการมือถือทุกกลุ่ม ทั้งกลุ่มลูกค้าทั่วไปที่ใช้งานรับชมผ่านสตรีมมิ่ง เกม การพัฒนาสู่นวัตกรรมที่อยู่อาศัย รวมทั้งกลุ่มลูกค้าองค์กร ภาคอุตสาหกรรม ในเขตพื้นที่ต่าง ๆ ในประเทศไทยจะได้รับประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ความหน่วงต่ำ และประสิทธิภาพการรับส่งข้อมูลจำนวนมากของ 5G

ดีแทคได้ติดตั้งโครงข่ายคลื่น 700 MHz เพื่อขยายประสิทธิภาพการใช้งานให้ครอบคลุมทั่วประเทศภายใต้กลยุทธ์ในการนำอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงมาสู่ลูกค้าทุกคน และพัฒนาสัญญาณครอบคลุมทั่วประเทศ

การบรรลุข้อตกลง 5G นี้เป็นความสำเร็จของความเป็นพันธมิตรระหว่างอีริคสันและดีแทคที่มีมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ซึ่งความร่วมมือเป็นพันธมิตรดังกล่าวยังครอบคลุมบริการ 3G, 4G และการจัดการบริการต่าง ๆ ด้วย Ericsson Operations Engine อีกด้วย

นายประเทศ ตันกุรานันท์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มเทคโนโลยี บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า “ดีแทคให้ความสำคัญกับกลยุทธ์ในการนำอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงมาสู่ลูกค้าทุกคน เราไม่หยุดพัฒนาและเร่งขยายโครงข่ายทั่วประเทศเพื่อรองรับบริการ 4G และ 5G ด้วยการจัดสรรร่วมกันทั้งคลื่นความถี่ต่ำ-กลาง-สูง โดยคลื่นความถี่ 700 MHz ซึ่งเป็นคลื่นความถี่ต่ำ จะเพิ่มประสิทธิภาพครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศและพื้นที่ใช้งานหนาแน่นในเมืองโดยเฉพาะพื้นที่อาคารสูง ลูกค้าดีแทคจะได้รับประสบการณ์ในการใช้บริการที่ดีขึ้นจากในการไม่หยุดพัฒนาโครงข่ายของเรา นอกจากนี้ดีแทคยังเร่งขยายเทคโนโลยี Massive MIMO เพื่อยกระดับประสบการณ์ของลูกค้าในการส่งและรับข้อมูลที่ดีกว่าเดิม 3 เท่า ดีแทคจะเชื่อมต่อทุกคนกับทุกสิ่งที่สำคัญที่สุด”

นางนาดีน อัลเลน ประธานบริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “5G จะมีส่วนสำคัญในการเร่งการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลและกระตุ้นนวัตกรรมยุคหน้าสำหรับผู้บริโภคและองค์กรในประเทศไทย ด้วยเหตุนี้เราจึงมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้ความร่วมมือกับ dtac ในการขยายเครือข่าย 5G ในประเทศไทยแข็งแกร่งยิ่งขึ้น ความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี 5G RAN ของเราจะช่วยเสริมความมุ่งมั่นของดีแทคในการส่งมอบประโยชน์ของ 5G ให้กับผู้บริโภคและองค์กรในประเทศไทย เราอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมที่สุดในการสนับสนุนประเทศไทยไปสู่เส้นทาง 5G ด้วยความเป็นผู้นำเทคโนโลยีและประสบการณ์การพัฒนาเครือข่าย 5G ทั่วโลก”

อีริคสันเป็นพันธมิตรกับดีแทคในด้านบริการที่มีการจัดการ (Managed Services) ตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 ผ่านการพัฒนาเครือข่าย Ericsson Operation Engine เพื่อให้ดีแทคนำเสนอบริการผ่านเครือข่ายที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล AI และที่เน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง

ปัจจุบันอีริคสันมีข้อตกลงสัญญา 5G เชิงพาณิชย์และสัญญากับผู้ให้บริการการสื่อสารที่โดดเด่นทั่วโลก 122 ฉบับ รวมถึงเครือข่าย 5G เชิงพาณิชย์ที่เปิดให้บริการแล้วถึง 77 เครือข่าย


 

Exit mobile version