Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

DHL มองเห็นโอกาสใหม่ในประเทศไทยผ่าน ‘Strategy 2030’ พร้อมยืนยันพันธกิจในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย

กรุงเทพฯ, 4 มีนาคม 2568 – ดีเอชแอล (DHL) บริษัทโลจิสติกส์ชั้นนำของโลก ประกาศความมุ่งมั่นต่อประเทศไทยผ่านกลยุทธ์ ‘Strategy 2030 – Accelerate Sustainable Growth’ พร้อมโอกาสในการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสำคัญของภูมิภาค ขณะที่ธุรกิจจำนวนมากกำลังมุ่งสร้างซัพพลายเชนอันยืดหยุ่นที่สามารถรับมือวิกฤตการณ์และมีประสิทธิภาพในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ในประเทศไทย DHL ทั้งสี่หน่วยธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์อย่างเต็มรูปแบบ ได้แก่ DHL eCommerce, DHL Express, DHL Global Forwarding และ DHL Supply Chain  ช่วยให้ภาคธุรกิจไทยสามารถเข้าถึงเครือข่ายและโซลูชันระดับโลกของ DHL ในฐานะพันธมิตรโลจิสติกส์ที่ให้บริการแบบครบวงจร กลยุทธ์ ‘Strategy 2030’ ของ DHL มุ่งตอบสนองต่อ 5 เมกะเทรนด์สำคัญที่กำลังเปลี่ยนภูมิทัศน์ทางเศรษฐกิจของไทย ได้แก่ การค้าโลก อีคอมเมิร์ซ ความยั่งยืน การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล และการพัฒนาของแรงงาน

แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงในภาคอุตสาหกรรมเหล่านี้จะนำมาซึ่งความท้าทายใหม่ๆ แต่ด้วยการดำเนินงานที่แข็งแกร่งและเครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วโลกของ DHL ทำให้บริษัทสามารถคว้าโอกาสสำคัญในการทำให้ธุรกิจเติบโต นอกเหนือจากเมกะเทรนด์ดังกล่าว DHL ยังมองเห็นโอกาสในการเติบโตของประเทศไทยที่สำคัญดังต่อไปนี้:

ปัจจัยเกื้อหนุนจากการกระจายฐานการผลิต

DHL จะต่อยอดจากเครือข่ายระดับโลกอันแข็งแกร่งและความเชี่ยวชาญในท้องถิ่น เพื่อใช้ประโยชน์จากปัจจัยเกื้อหนุนจากการกระจายฐานการผลิต ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของเส้นทางการค้าที่เติบโต การปรับตัวของซัพพลายเชนทั่วโลกให้สนับ และความต้องการของธุรกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็วทั่วโลก

แม้ว่าเวียดนามและอินโดนีเซียจะได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในด้านการกระจายฐานการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านซัพพลายเชน แต่ศักยภาพการผลิตที่แข็งแกร่งของไทยในภาคยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ได้สร้างความได้เปรียบให้กับประเทศ กระทรวงพาณิชย์รายงานว่าการส่งออกของไทยเติบโตถึง 5.4% ตลอดปี 2567 ซึ่งนับเป็นยอดส่งออกที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจของประเทศ

ตลาดสำคัญอย่างสหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรปเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของการเติบโต โดยสหราชอาณาจักรกำลังก้าวขึ้นมาเป็นตลาดที่มีศักยภาพสูงสำหรับภาคธุรกิจไทย

พลังงานใหม่

การเปลี่ยนแปลงในภาคพลังงานหมุนเวียนและอุตสาหกรรมยานยนต์จำเป็นต้องมีโซลูชันโลจิสติกส์เฉพาะทาง ซึ่ง DHL มองเห็นโอกาสสำหรับประเทศไทยในฐานะศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากนโยบายภาครัฐในการดึงดูดผู้ผลิตจากต่างประเทศให้เข้ามาตั้งฐานการผลิตในประเทศ

โซลูชันที่ครอบคลุมซัพพลายเชนด้านยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ของ DHL จะช่วยสนับสนุนให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ได้ถึง 30% ของปริมาณการผลิตยานยนต์ทั้งหมดภายในปี 2573

อีคอมเมิร์ซ

ภาคอีคอมเมิร์ซของประเทศไทยกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย (Thailand E-commerce Association) คาดการณ์ว่ามูลค่าตลาดจะเติบโตจาก 26,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2566 เป็น 32,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในปี 2568 ซึ่งสะท้อนอัตราการเติบโตที่ประมาณ 21% ในช่วงสองปี เทียบเป็นอัตราเติบโตเฉลี่ยต่อปีแบบทบต้น (CAGR) ที่ประมาณ 10% อีกทั้ง DHL ยังมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนภาคธุรกิจ SME ที่เติบโตของไทย ซึ่งประกอบด้วยผู้ประกอบการกว่า 3.2 ล้านราย และมีส่วนสำคัญในการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ คิดเป็น GDP ถึง 35%

ความสำเร็จของแบรนด์อย่าง Gentlewoman และ Fairtex แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของแบรนด์ไทยในการใช้ประโยชน์จากโซลูชันโลจิสติกส์แบบครบวงจรของ DHL เพื่อขยายธุรกิจสู่ตลาดต่างประเทศ การผสานเครือข่ายระดับโลกของ DHL เข้ากับความเชี่ยวชาญในท้องถิ่น เสริมสร้างขีดความสามารถให้ธุรกิจไทยแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพในตลาดระดับสากล

โครงการสำคัญอย่าง GoTrade ของ DHL ได้พัฒนาศักยภาพให้แก่ผู้ประกอบการ SME กว่า 9,000 รายทั่วโลก สำหรับประเทศไทย DHL Express ได้พัฒนาโครงการนี้ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่สำคัญ อาทิ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (OSMEP) เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการไทยก้าวสู่โอกาสทางการค้าระหว่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกเหนือจากการสนับสนุนด้านการค้าระหว่างประเทศแล้ว DHL ยังมีบทบาทสำคัญในการเสริมศักยภาพให้กับผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-retailers) ธุรกิจ SME และแบรนด์ต่างๆ ในการขยายตลาดภายในประเทศไทย ผ่านบริการขนส่งที่น่าเชื่อถือ มีมาตรฐาน คุณภาพสูง ในราคาที่คุ้มค่าของ DHL eCommerce   ความมุ่งมั่นในการให้บริการที่เป็นเลิศของ DHL ทำให้มั่นใจได้ว่าธุรกิจทุกขนาดและทุกภาคส่วนจะสามารถเติบโตและประสบความสำเร็จในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงและขับเคลื่อนด้วยดิจิทัลมากขึ้น

DHL ยืนยันพันธกิจระยะยาวที่มีต่อประเทศไทย

DHL แสดงให้เห็นถึงพันธกิจระยะยาวที่มีต่อประเทศไทยผ่านเครือข่ายการดำเนินงานที่ครอบคลุม และการลงทุนอย่างต่อเนื่องในโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาศักยภาพบุคลากร ปัจจุบัน DHL มีบุคลากรรวมกว่า 9,300 คน จากทั้งสี่หน่วยธุรกิจที่ให้บริการในประเทศไทย

ปัจจุบัน DHL Supply Chain บริหารจัดการพื้นที่คลังสินค้ากว่า 678,000 ตารางเมตร ครอบคลุมมากกว่า 70 แห่ง รวมถึงในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ด้วยเครือข่ายการขนส่งที่ครอบคลุมทำให้บริษัทสามารถจัดการการขนส่งได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยรถขนส่งกว่า 4,800 คัน ปัจจุบันบริษัทกำลังลงทุนพัฒนาคลังสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และมีแผนขยายการใช้รถขนส่งไฟฟ้า (EV) เพิ่มขึ้น 300% ในอีกสามปีข้างหน้า

DHL Express บริหารเครือข่ายการบินและภาคพื้นดินที่แข็งแกร่ง ประกอบด้วยศูนย์กระจายสินค้าระดับภูมิภาค (regional hub) ที่สนามบินสุวรรณภูมิ ศูนย์บริการ 15 แห่ง และจุดให้บริการทั้งที่เป็นเจ้าของเองและผ่านพันธมิตร 131 แห่ง ทั้งหมดนี้รองรับการจัดส่งด่วนระหว่างประเทศแบบถึงมือผู้รับ มีเครื่องบินขนส่งสินค้าระหว่างประเทศให้บริการ 85 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ โดยศูนย์บริการทั้งหมด 100% ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพื่อผลิตพลังงานหมุนเวียน

DHL Global Forwarding มีความเชี่ยวชาญด้านบริการจัดการการขนส่งสินค้าทางอากาศ ทางทะเล ทางรางรถไฟ และทางถนน ด้วยสำนักงาน 7 แห่ง และคลังสินค้า 3 แห่ง รวมพื้นที่ 8,480 ตารางเมตรทั่วประเทศไทย DHL Global Forwarding ให้บริการลูกค้ากว่า 2,000 ราย ศูนย์ DHL International Multimodal Hub แห่งใหม่เป็นการลงทุนสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับประเทศไทยในฐานะศูนย์กลางการค้าของภูมิภาค ศูนย์นี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการขนส่ง โดยช่วยให้การเชื่อมต่อระหว่างรูปแบบการขนส่งต่างๆ เป็นไปอย่างราบรื่น และลดความซับซ้อนของพิธีการศุลกากรในจุดเดียว นอกจากนี้ ยังเป็นศูนย์เชื่อมต่อที่สำคัญให้กับประเทศเพื่อนบ้านที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล เช่น ประเทศลาว ด้วยทางเลือกการขนส่งที่หลากหลาย

DHL eCommerce มีเครือข่ายการจัดส่งครอบคลุมทั่วประเทศอย่างกว้างขวาง ประกอบด้วยศูนย์กระจายสินค้าปลายทาง 151 แห่ง ยานพาหนะกว่า 2,000 คัน และจุดให้บริการกว่า 230 แห่ง ทำให้สามารถให้บริการได้อย่างทั่วถึง พร้อมทั้งบริการจัดส่งถึงมือผู้รับภายในวันถัดไปสูงถึง 97% ของพื้นที่ทั่วประเทศ ด้วยความมุ่งมั่นในการพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง DHL eCommerce ลงทุนในโซลูชันที่ทันสมัยเพื่อยกระดับคุณภาพการบริการที่แตกต่างให้แก่ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-retailers) ธุรกิจ SME แบรนด์ต่างๆ และลูกค้าองค์กร โดยมีแผนปรับปรุงศูนย์กระจายสินค้าครั้งใหญ่ในปี 2569 เพื่อเสริมสร้างศักยภาพให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น

ผู้นำด้านโลจิสติกส์ที่ยั่งยืน: ผู้ให้บริการโลจิสติกส์สีเขียวที่เป็นตัวเลือกอันดับหนึ่งของลูกค้า

ด้วยเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ภายในปี 2593 DHL แสดงความมุ่งมั่นด้านความยั่งยืนในประเทศไทยผ่านโครงการริเริ่มที่ครอบคลุมทั้ง 4 หน่วยธุรกิจ โดยทุกหน่วยธุรกิจได้นำยานยนต์ไฟฟ้า (EV) มาใช้ในการดำเนินงานของตน

DHL Express Thailand เป็นผู้บุกเบิกในฐานะผู้ให้บริการโลจิสติกส์ด่วนระหว่างประเทศรายแรกที่นำจักรยานยนต์ไฟฟ้าและ EV มาใช้ในประเทศไทย บริษัทสามารถปรับเปลี่ยนยานพาหนะเป็น EV ได้ 21% คิดเป็น EV มากกว่า 50 คัน ซึ่งใช้ในการเข้ารับและจัดส่งสินค้า นอกจากนี้ DHL Express ยังสนับสนุนให้ลูกค้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในขอบเขตที่ 3 ผ่านการใช้เชื้อเพลิงการบินที่ยั่งยืน (SAF) ผ่านบริการ GoGreen Plus

DHL Supply Chain ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการให้บริการโลจิสติกส์สีเขียวผ่านการขนส่งที่ยั่งยืนมากขึ้น ด้วยการนำรถขนส่งไฟฟ้า (EV) กว่า 30 คัน มาใช้งานโดยร่วมมือกับลูกค้าในภาคธุรกิจค้าปลีก สินค้าอุปโภคบริโภค และภาคยานยนต์ พร้อมกันนี้ยังดำเนินโครงการ Certified GoGreen Specialist ซึ่งได้ฝึกอบรมพนักงานของ DHL Supply Chain ไปแล้วกว่า 80% นอกจากนี้ บริษัทกำลังดำเนินการตามแนวทางการบริหารคลังสินค้าที่ยั่งยืน โดยวางแผนพัฒนาคลังสินค้าที่ใช้พลังงานหมุนเวียน 100% แห่งแรกของประเทศไทยในปี 2568

DHL Global Forwarding แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาการขนส่งทางถนนอย่างยั่งยืนมากขึ้นทั่วภูมิภาคเอเชีย ผ่านการเพิ่มประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ การขนส่งหลายรูปแบบ และการใช้ EV โดยคาดการณ์ว่า EV ที่ใช้ในประเทศไทยจะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 85,000 กิโลกรัมต่อปี  DHL Global Forwarding เป็นผู้นำนวัตกรรมโลจิสติกส์ที่ยั่งยืนผ่านบริการ GoGreen Plus ด้วยการนำเสนอทางเลือกในการลดการปล่อยคาร์บอนผ่านการใช้เชื้อเพลิงทางทะเลและการบินที่ยั่งยืน ช่วยให้ลูกค้าสามารถลดการปล่อยคาร์บอนได้อย่างมีประสิทธิภาพในทุกเส้นทางการค้า

DHL eCommerce ได้นำ EV มาใช้ในเส้นทางรับส่งระหว่างศูนย์กระจายสินค้าในกรุงเทพฯ และพื้นที่เขตเมือง ทั้งนี้ บริษัทมีแผนที่จะนำรถบรรทุกไฟฟ้าสำหรับการขนส่งระยะสั้นมาใช้ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2568 นอกจากนี้ยังตั้งเป้าหมายที่จะปรับเปลี่ยนยานพาหนะขนส่งปลายทางในกรุงเทพฯ ให้เป็น EV จำนวน 50% ภายในระยะเวลาสองปี

ข้อความจากผู้บริหาร

เกียรติชัย พิตรปรีชา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร DHL eCommerce เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “ภาคอีคอมเมิร์ซของไทยยังมีแนวโน้มการเจริญเติบโตที่ดี DHL มีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางอนาคตของอุตสาหกรรมนี้ ผ่านการยกระดับมาตรฐานคุณภาพการขนส่งให้ดียิ่งขึ้นและการขับเคลื่อนนวัตกรรมดิจิทัล ด้วยการผสานเครือข่ายการจัดส่งที่ครอบคลุมทั่วประเทศเข้ากับเทคโนโลยีล้ำสมัยและโซลูชันด้านโลจิสติกส์ที่ยั่งยืน เราสามารถส่งเสริมศักยภาพให้ธุรกิจไทยทุกขนาดและทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าองค์กรหรือบุคคลทั่วไป ให้เติบโตได้อย่างแข็งแกร่งในเศรษฐกิจดิจิทัล”

เฮอร์เบิต วงศ์ภูษณชัย กรรมการผู้จัดการ DHL Express ประเทศไทย และหัวหน้าภาคพื้นอินโดจีน กล่าวว่า “เครือข่ายของเราที่ครอบคลุม 220 ประเทศ พร้อมด้วยโครงสร้างพื้นฐานทางอากาศและภาคพื้นดินส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสำคัญของการค้าโลก เราช่วยเพิ่มศักยภาพธุรกิจทุกขนาดในประเทศไทยให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากโอกาสธุรกิจที่มีทั่วโลก และส่งเสริมอนาคตที่ยั่งยืนผ่านโซลูชันที่เชื่อถือได้และมีประสิทธิภาพ เช่น บริการ GoGreen Plus เราพร้อมเชื่อมต่อประเทศไทยกับทั่วโลกและเปิดตลาดใหม่ให้แก่ธุรกิจไทย”

วินเซนต์ ยอง กรรมการผู้จัดการ DHL Global Forwarding ประเทศไทย กล่าวว่า “การเปิดตัวศูนย์ DHL International Multimodal Hub ที่สนามบินสุวรรณภูมิเมื่อไม่นานมานี้ ถือเป็นก้าวสำคัญในการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ด้านโลจิสติกส์ของประเทศไทย ในขณะที่ประเทศไทยกำลังเป็นศูนย์กลางการผลิต EV ที่สำคัญของอาเซียนภายในปี 2568 โซลูชันของเรา เช่น เครือข่ายการขนส่งที่หลากหลายแบบบูรณาการ จะช่วยสนับสนุนเป้าหมายอันยิ่งใหญ่ของประเทศ”

สตีฟ วอล์กเกอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร DHL Supply Chain กลุ่มธุรกิจประเทศไทย กล่าวว่า “ประเทศไทยเป็นหนึ่งในผู้นำด้านการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลในซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยการที่ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตที่สำคัญสำหรับภาคยานยนต์ เทคโนโลยี และอุตสาหกรรมการผลิต ประกอบกับการมีตลาดค้าปลีกในประเทศขนาดใหญ่ เรามีความเชื่อมั่นอย่างยิ่งต่อโอกาสทางธุรกิจ และมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนการเติบโตของลูกค้าและความเป็นเลิศด้านซัพพลายเชนในประเทศไทยในอนาคต”


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ดีเอชแอล โกลเบิล ฟอร์เวิร์ดดิ้ง ประเทศไทย เปิดตัวรถขนส่งพลังงานไฟฟ้าในกรุงเทพฯ ก้าวสู่อนาคตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

กรุงเทพฯ, 16, ตุลาคม 2566 – ดีเอชแอล โกลเบิล ฟอร์เวิร์ดดิ้ง (DHL Global Forwarding) ผู้เชี่ยวชาญด้านการขนส่งสินค้าของกลุ่มบริษัทดีเอชแอล ประกาศก้าวสำคัญในเส้นทางสู่ความยั่งยืน ด้วยการเปิดตัวรถขนส่งพลังงานไฟฟ้า (EV) สำหรับการใช้งานในกรุงเทพฯ โดยรถไฟฟ้าเหล่านี้จะวิ่งขนส่งรวมระยะทางเกิน 28,000 กิโลเมตรต่อเดือน และจัดส่งสินค้าประมาณ 1,000 ตันให้กับลูกค้า

ด้วยการใช้รถขนส่งพลังงานไฟฟ้ารุ่นใหม่นี้ ดีเอชแอล โกลเบิล ฟอร์เวิร์ดดิ้ง ประเทศไทย ตั้งเป้าที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 85,000 กิโลกรัมต่อปี เทียบเท่ากับเที่ยวบินไป-กลับ 27 เที่ยวบินจากกรุงเทพฯ ไปยังลอนดอนสำหรับนักท่องเที่ยวหนึ่งคน รถ EV รุ่นใหม่มีความสามารถในการชาร์จที่รวดเร็ว โดยใช้เวลาในการชาร์จเกินกว่าหนึ่งชั่วโมงเล็กน้อย โดยรถตู้ไฟฟ้าที่ชาร์จไฟเต็มสามารถเดินทางไกลได้ถึง 200 กิโลเมตร และบรรทุกของได้มากถึง 800 กิโลกรัม ขณะที่รถบรรทุกไฟฟ้าสามารถวิ่งได้ไกลถึง 350 กิโลเมตร และบรรทุกของได้สูงสุด 5,000 กิโลกรัม โดยมีคุณสมบัติด้านความปลอดภัยมาตรฐาน ได้แก่ ระบบเบรก ABS, ระบบล็อคอัตโนมัติ, สัญญาณเตือนโดยใช้เซ็นเซอร์ และระบบควบคุมการกระจายแรงเบรก (EBD) เพื่อรับรองความปลอดภัยในการขับขี่ให้กับพนักงานขนส่ง

โธมัส ทีเบอร์ซีอีโอ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของดีเอชแอล โกลเบิล ฟอร์เวิร์ดดิ้ง นำเสนอรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการนี้ โดยกล่าวว่า “ที่ดีเอชแอล เราเชื่อมั่นอย่างแน่วแน่ในพลังของนวัตกรรมและความยั่งยืน ซึ่งเป็นแรงผลักดันให้เรามุ่งมั่นสร้างสรรค์อนาคตที่สดใสยิ่งขึ้นสำหรับทุกคน การที่เรานำรถ EV มาใช้ในการดำเนินงานในกรุงเทพฯ ทำให้เราใช้วิธีการขนส่งที่เป็นมิตรมากขึ้น และเป็นผู้นำในเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้ลูกค้าและประชาชนทั่วไปเข้าร่วมการเดินทางที่ดีกว่าไปกับเรา”

การริเริ่มใช้รถ EV ในกรุงเทพฯ เป็นส่วนหนึ่งในโครงการ GoGreen ในวงกว้างของบริษัทฯ โดยอีกตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจคือ แนวทางปฏิบัติที่มีมายาวนานของดีเอชแอล โกลเบิล ฟอร์เวิร์ดดิ้ง ในการช่วยเหลือลูกค้าในการประเมินการปล่อยก๊าซคาร์บอนผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์แบบครบวงจร MyDHLi ซึ่งมอบทางเลือกให้กับลูกค้าในการลดคาร์บอนแบบอินเซ็ต (Inset) และการชดเชยคาร์บอน (Offset) เพื่อช่วยลดการปล่อยคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการขนส่งของลูกค้า

ภายใต้ก้าวย่างที่สำคัญในการบรรลุวัตถุประสงค์ด้านความยั่งยืน ดีเอชแอลได้ลงทุนกับการดำเนินงานอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นในระดับโลก โดยกลุ่มบริษัทดีเอชแอลมีแผนที่จะลงทุน 7 พันล้านยูโรภายในปี 2573 ในโครงการริเริ่มที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยตั้งเป้าที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เหลือน้อยกว่า 29 ล้านตัน ซึ่งสอดคล้องกับโครงการ Science-Based Targets Initiative

การใช้รถขนส่งพลังงานไฟฟ้าในกรุงเทพฯ เป็นเพียงมุมหนึ่งของกลยุทธ์ของดีเอชแอล โดยดีเอชแอลได้เริ่มใช้ยานยนต์ไฟฟ้า 60% เพื่อการขนส่งลาสไมล์ ควบคู่ไปกับการปรับปรุงการใช้เชื้อเพลิงที่ยั่งยืนสำหรับการขนส่งทางอากาศและทางทะเล และดำเนินโครงการริเริ่มที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมภายใต้เครือข่ายทั่วโลกของบริษัทฯ


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ตอกย้ำผู้นำอุตสาหกรรมลอจิสติกส์ยั่งยืน ด้วยรถขนส่งพลังงานไฟฟ้า

กรุงเทพฯ 17 มีนาคม 2566: ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ผู้ให้บริการขนส่งด่วนระหว่างประเทศชั้นนำของโลก ขยายจำนวนยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่ใช้ในการขนส่งในประเทศไทย โดยเพิ่มรถขนส่งพลังงานไฟฟ้าอีก 16 คัน ในการจัดส่งแบบลาสไมล์ นอกเหนือจากรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า 50 คันที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน การขยายจำนวนการใช้งานรถ EV ในครั้งนี้ทำให้ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส เป็นผู้ให้บริการลอจิสติกส์รายแรกในประเทศไทยที่เปลี่ยนไปใช้รถ EV ในเชิงพาณิชย์อย่างเต็มรูปแบบ

รถขนส่งพลังงานไฟฟ้านี้เริ่มทำการขนส่งสินค้าในช่วงต้นเดือนมีนาคม 2566 โดยให้บริการในกรุงเทพฯ เขตพื้นที่ต่างๆ ได้แก่ สาทร, สีลม, ปทุมวัน, พระราม 3, ถนนสุขุมวิท, และถนนเพชรบุรีตัดใหม่ โดยดีเอชแอลมีแผนที่จะเพิ่มรถขนส่งพลังงานไฟฟ้าอีก 5 คันในเฟสถัดไป เพื่อใช้งานในเส้นทางภาคตะวันออก ซึ่งจะทำให้ดีเอชแอลมีรถ EV ที่ให้บริการทั้งหมดในประเทศไทยรวมจำนวน 71 คัน ภายในปี 2566 ทั้งนี้บริษัทฯ ตั้งเป้าที่จะเปลี่ยนมาใช้รถ EV เป็นจำนวน 60% ของยานพาหนะทั้งหมดในประเทศไทย ภายในปี 2573

เฮอร์เบิร์ต วงศ์ภูษณชัย กรรมการผู้จัดการ ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ประเทศไทย และหัวหน้าภาคพื้นอินโดจีน กล่าวว่า “ความยั่งยืนไม่ใช่เทรนด์ แต่เป็นภารกิจที่เราให้ความสำคัญมาเป็นอันดับหนึ่ง และดีเอชแอลมีแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ในฐานะผู้นำอุตสาหกรรมลอจิสติกส์ระดับโลก เราจำเป็นต้องผลักดันให้ทุกภาคส่วนในอุตสาหกรรมร่วมมือกันเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในการดำเนินงานด้านลอจิสติกส์ และเรากำลังเดินหน้าสู่เป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิให้เหลือศูนย์ ภายในปี 2593 โดยให้ความสำคัญกับการเป็นกรีนลอจิสติกส์ ด้วยการเปลี่ยนไปใช้รถขนส่งพลังงานไฟฟ้า ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ประเทศไทย ตั้งเป้าที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งสิ้น 436 ตันต่อปี โดยรถขนส่งพลังงานไฟฟ้าชุดนี้นับเป็นก้าวสำคัญในการนำเราไปสู่ลอจิสติกส์ที่ยั่งยืน และการสร้างอนาคตที่เอื้อประโยชน์ให้แก่ทุกคน”

รถขนส่งพลังงานไฟฟ้ารุ่นใหม่นี้ใช้เวลา 8 ชั่วโมงในการชาร์จไฟจนเต็ม โดยจะรองรับการเดินทางได้ 260 กิโลเมตร บรรทุกของได้ถึง 3.9 ลูกบาศก์เมตร หรือ 1.6 ตัน รถแต่ละคันจะวิ่งขนส่งรวมระยะทาง 3,000 กิโลเมตรต่อเดือน โดยมีระบบเบรก ABS, ระบบล็อคอัตโนมัติ, สัญญาณเตือนโดยใช้เซ็นเซอร์, และระบบควบคุมการกระจายแรงเบรก (EBD) ซึ่งเป็นคุณสมบัติมาตรฐานที่สร้างความปลอดภัยในการขับขี่ให้กับพนักงานขนส่ง

สแลมล็อค (Slam Lock) เป็นระบบรักษาความปลอดภัยเสริม โดยจะล็อคประตูรถทุกบานโดยอัตโนมัติเมื่อผู้ขับรถปิดเพียงประตูเดียว ซึ่งจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยเมื่อผู้ขับไม่ได้อยู่กับตัวรถ ระบบเทเลเมติกส์ที่ติดตั้งอยู่ในรถยนต์ไฟฟ้าทุกคันจะบันทึกข้อมูลจากกล้องด้านหน้า ด้านใน และด้านหลัง ทำให้สามารถตรวจสอบและแจ้งเตือนความปลอดภัยแบบเรียลไทม์เมื่อเกิดเหตุเกี่ยวกับรถและผู้ขับรถได้ทันที

ศิวเวศม์ หงษ์นคร รองประธานฝ่ายปฏิบัติการ ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ประเทศไทย กล่าวเสริมว่า “นับเป็นอีกก้าวที่สำคัญของเราในการเดินหน้าลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน ทำให้กรีนลอจิสติกส์และอนาคตที่ยั่งยืนมีความหมายมากขึ้น ภายในปีนี้ รถขนส่งพลังงานไฟฟ้าสำหรับการขนส่งลาสไมล์ของดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส จะเพิ่มเป็น 29 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนยานพาหนะทั้งหมด และเราจะยังคงมุ่งมั่นดำเนินการอย่างต่อเนื่องในฐานะผู้บุกเบิกตลาดในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อสภาพภูมิอากาศที่ดีขึ้น”

ด้วยการใช้รถขนส่งพลังงานไฟฟ้า ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ประเทศไทย จะสามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 436 ตันต่อปี ดีเอชแอลได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการใช้รถ EV รวมถึงการเพิ่มจุดชาร์จอัจฉริยะที่ศูนย์บริการเพื่อรองรับปริมาณรถ EV ที่จะเพิ่มขึ้นในปีนี้

ความริเริ่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายระดับโลกของกลุ่มบริษัทด๊อยช์โพสต์ ดีเอชแอลที่จะใช้ยานยนต์ไฟฟ้า 60% เพื่อการขนส่งลาสไมล์ภายในปี 2573 นอกจากการเปลี่ยนผ่านในการใช้รถ EV แล้ว บริษัทยังสร้างการขนส่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการตั้งเป้าผสมผสานการใช้เชื้อเพลิงยั่งยืนในการขนส่งด้วยเครื่องบิน (Sustainable Aviation Fuels) ให้ได้มากกว่า 30 เปอร์เซนต์ ภายในปี 2573, การออกแบบอาคารที่ลดคาร์บอน และนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น บริการ GoGreen Plus ที่ดีเอชแอลเพิ่งเปิดตัวไปเมื่อเร็วๆ นี้ เพื่อช่วยลูกค้าในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

เพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน กลุ่มบริษัทด๊อยช์โพสต์ ดีเอชแอลจะลงทุนเป็นจำนวน 7 พันล้านยูโร ในด้านมาตรการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จนถึงปี 2566 ซึ่งรวมถึงการเพิ่มจำนวนรถ EV ทั้งนี้ ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส วางแผนที่จะใช้รถ EV มากกว่า 1,000 คันในเอเชียแปซิฟิกภายในปี 2567

การขยายไปสู่การใช้รถขนส่งพลังงานไฟฟ้าในครั้งนี้ของดีเอชแอล ได้สอดคล้องกับนโยบาย 30@30 ของประเทศไทย ซึ่งมีเป้าหมายในการทำให้รถยนต์ 30% ในประเทศเป็นรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ (ZEV) ภายในปี 2573 โดยประเทศไทยมุ่งมั่นที่จะพัฒนาไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ และตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนยานยนต์ในภูมิภาคอาเซียน


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ประกาศความร่วมมือที่ยิ่งใหญ่ที่สุดด้านการใช้พลังงานเชื้อเพลิงทางการบินอย่างยั่งยืน ร่วมกับ bp และ Neste ด้วยปริมาณน้ำมันอากาศยานแบบยั่งยืนกว่า 800 ล้านลิตร

กรุงเทพฯ – 29 มีนาคม 2565: ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ประกาศก้าวสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการขนส่งทางอากาศให้เป็นไปอย่างยั่งยืนมากขึ้น โดยดีเอชแอลได้ยืนยันถึงความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับสองบริษัทคือ bp และ Neste ในการจัดหาน้ำมันเชื้อเพลิงที่สร้างจากวัสดุทางชีวภาพเพื่อการบินที่ยั่งยืน (SAF) มากกว่า 800 ล้านลิตรให้กับ ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรสภายในห้าปีข้างหน้า ภายใต้ข้อตกลงฉบับใหม่ที่เป็นหนึ่งในข้อตกลง SAF ที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน ข้อตกลงดังกล่าวมาพร้อมกับการเปิดตัว SAF บนเครือข่ายของดีเอชแอลก่อนหน้านี้ในซานฟรานซิสโก (SFO) อีสต์มิดแลนส์ของอังกฤษ (EMA) และอัมสเตอร์ดัม (AMS) ซึ่งจะทำให้บรรลุเป้าหมายมากกว่าครึ่งหนึ่งของเป้าหมายที่ตั้งไว้ในการใช้ SAF 10 เปอร์เซ็นต์สำหรับการขนส่งทางอากาศภายในปี 2569 ดีเอชแอลคาดว่าความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ครั้งนี้จะช่วยลดอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณสองล้านตัน ซึ่งเทียบเท่ากับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากรถยนต์โดยสารประมาณ 400,000 คันต่อปี1

ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ดำเนินการขนส่งเอกสารและพัสดุด่วนระหว่างประเทศมากกว่า 480 ล้านชิ้นต่อปี ครอบคลุม 220 ประเทศทั่วโลกผ่านเครือข่ายการบินของบริษัทที่มีอยู่ทั่วโลก กล่าวได้ว่าด้วยน้ำมันอากาศยานแบบยั่งยืนกว่า 800 ล้านลิตร จะสามารถใช้งานกับเที่ยวบินของดีเอชแอล 1,000 เที่ยวต่อปีโดยประมาณ ในเส้นทางบินจากเมืองซินซินนาติ สหรัฐอเมริกา ไปยังเมืองไลพ์ซิก เยอรมนี ด้วยเครื่องบินโบอิ้ง 777 บินได้ระยะเวลาประมาณ 12 ปี2 นับเป็นการใช้เชื้อเพลิง SAF 100 เปอร์เซ็นต์ 3 ซึ่งเทียบเท่ากับเที่ยวบินระยะไกล 12,000 เที่ยวบินที่ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นศูนย์ (carbon neutral long-haul flights)

แฟรงค์ แอพเพล ประธานกรรมการบริหารของกลุ่มบริษัท ดอยช์โพสท์ ดีแอชแอล กล่าวว่า “ในฐานะที่ดีเอชแอลเป็นผู้ให้บริการด้านลอจิสติกส์ชั้นนำของโลก เรามุ่งมั่นในการนำเสนอโซลูชันที่สร้างความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้กับลูกค้าของเรา ความร่วมมือด้านเชื้อเพลิงที่ใช้ในการบินที่ยั่งยืน (SAF) ที่ทางบริษัทได้ร่วมมือกับ bp และ Neste นับเป็นก้าวสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมการบิน และสอดคล้องกับแผนความยั่งยืนของเรา ปัจจุบันการใช้ SAF เป็นหนึ่งในแนวทางสำคัญของอุตสาหกรรมการบินเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนจากการใช้พลังงานเชื้อเพลิงในแต่ละชนิดของเครื่องบินที่มีอยู่ในปัจจุบัน”

 

มาร์ติน ทอมป์สัน, รองประธานอาวุโส Air bp กล่าวว่า “เราภูมิใจที่ความร่วมมือสำคัญนี้สำเร็จด้วยดี ซึ่งจะช่วยกระชับความสัมพันธ์เชิงกลยุทธ์กับกลุ่มบริษัท ดอยช์โพสต์ ดีเอชแอล ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เมื่อ bp ได้เปลี่ยนผ่านสู่การเป็นบริษัทพลังงานแบบครบวงจร เราใช้ประโยชน์จาก value chain ของเราซึ่งครอบคลุมตั้งแต่วัตถุดิบ กระบวนการผลิตทั่วโลก การขนส่ง และโครงสร้างพื้นฐานในสนามบิน มีบริษัทเพียงไม่กี่แห่งที่มีความเชี่ยวชาญด้านการค้าและการทำธุรกิจด้าน SAF ซึ่งต้องอาศัยการออกแบบ และนำเสนอโซลูชันตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่ซับซ้อน เราหวังว่าจะได้ทำงานร่วมกับสนามบินและสายการบินต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด เพื่อเป็นทางเลือกของธุรกิจที่มีเป้าหมายในการใช้พลังงานที่ไม่ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (decarbonization) รวมถึงส่งเสริมกระบวนการ SAF เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมการบินทั่วโลกให้ตระหนักถึงความสำคัญในการลดปริมาณคาร์บอน”

แผนงานความยั่งยืนของกลุ่มบริษัท ดอยช์โพสต์ ดีเอชแอล มุ่งมั่นที่ใช้เชื้อเพลิงเพื่อการบินที่ยั่งยืนเป็นจำนวน 30 เปอร์เซ็นต์ของการขนส่งทางอากาศทั้งหมดภายในปี 2573 โดยบริษัทคู่ค้าทั้งสองรายจะเป็นผู้จัดหาเชื้อเพลิง SAF ที่ผลิตจากน้ำมันที่ใช้แล้วซึ่งสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากถึง 80 เปอร์เซ็นต์ตลอดวัฏจักรการใช้งานเมื่อเปรียบเทียบกับนํ้ามันเชื้อเพลิงที่ใช้กับเครื่องบินไอพ่น ซึ่งเป็นการลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของดีเอชแอล และเพื่อให้แน่ใจว่าเป็นเชื้อเพลิงที่ยั่งยืน จึงต้องหลีกเลี่ยงการใช้วัตถุดิบที่ได้มาจากกระบวนการผลิตอาหาร หรือการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินทางอ้อม (indirect land-use change)

จอห์น เพียร์สัน ประธานกรรมการบริหารของ ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส กล่าวว่า “ในทุกความร่วมมือของ SAF เราได้ตระหนักถึงงานใหญ่ที่รออยู่ข้างหน้าในการใช้โซลูชันที่ยั่งยืนเพื่อช่วยเหลือลูกค้าของเรามากขึ้น ไม่มีวันไหนเลยที่ไม่มีคำถามจากลูกค้าเกี่ยวกับโซลูชันการขนส่งที่ลดคาร์บอน และดีเอชแอลก็พร้อมให้ความร่วมมือสำหรับการสร้างอนาคตที่ยั่งยืน ความร่วมมือ SAF กับ bp และ Neste นี้เป็นก้าวสำคัญของการสร้างความยั่งยืน โดยเรามุ่งหวังที่จะสร้างแรงผลักดันให้กับซัพพลายเออร์ที่ทำธุรกิจด้าน SAF เพื่อช่วยกันเติมเต็มความต้องการในปัจจุบัน ขณะเดียวกัน เราก็เรียกร้องไปยังผู้กำหนดนโยบายให้กำหนดกรอบการทำงานที่เหมาะสมเพื่อเร่งการเติบโตของตลาด SAF ในสหภาพยุโรปและทั่วโลก รวมถึงกลไกด้านบัญชีที่อนุญาตให้ทำการซื้อขายและใช้งาน SAF ได้อย่างยืดหยุ่น”

ปีเตอร์ วาแนคเกอร์ ประธานกรรมการบริหารและซีอีโอ Neste กล่าวว่า “ข้อตกลงนี้เป็นข้อตกลงที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาในธุรกิจ SAF ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความต้องการและความเร่งด่วน รวมถึงพันธกิจของบริษัทในการแสดงจุดยืนต่อการปล่อยมลพิษที่เกี่ยวกับกิจกรรมการบิน เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ก้าวไปพร้อมกับดีเอชแอล ซึ่งแสดงถึงความมุ่งมั่นที่มีร่วมกันของทั้งสองบริษัท และนี่จะเป็นการขับเคลื่อนไปสู่เส้นทางแห่งการสร้างโลกที่ดีขึ้นสำหรับลูกหลานของเรา การประกาศในวันนี้สะท้อนให้เห็นถึงวิธีที่เราจะช่วยลูกค้าในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้อย่างน้อยที่สุด 20 ล้านตันต่อปีภายในปี 2573 ทั้งนี้ SAF นับเป็นรากฐานสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมการบินในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้มากที่สุดภายในปี 2593 ซึ่งต้องอาศัยการทำงานร่วมกันจากทุกฝ่ายในอุตสาหกรรมการบิน โดยใช้วัตถุดิบและโซลูชันที่มีอยู่ทั้งหมดเพื่อทำให้บรรลุเป้าหมาย”

ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรสตั้งเป้าหมายขยายความร่วมมือกับซัพพลายเออร์ SAF ในอนาคต และเพิ่มเปอร์เซ็นต์ของการใช้ SAF ในการขนส่งทางอากาศอย่างต่อเนื่อง ดีเอชแอลยังคงมุ่งมั่นในการสนับสนุนเทคโนโลยีนวัตกรรมที่มีส่วนช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสำหรับอุตสาหกรรมทางการบินอย่างต่อเนื่องตามที่ระบุไว้ในแผนงานด้านความยั่งยืนของกลุ่มบริษัท ดอยช์โพสต์ ดีเอชแอล


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส จับมือกลุ่มบุคลากรการแพทย์อาสา Thai CoCare สร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยให้บุคลากรการแพทย์ด่านหน้าสู้โควิด-19

กรุงเทพประเทศไทย, 16 พฤศจิกายน 2564: ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ผู้ให้บริการขนส่งด่วนระหว่างประเทศระดับโลก เดินหน้าเชื่อมต่อผู้คนและยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนให้ดีขึ้น (Connecting people, improving lives) เนื่องในโอกาสวันอาสาสมัครสากล (Global Volunteer Day) โดยดีเอชแอลสนับสนุนให้พนักงานมีจิตอาสา และช่วยเหลือสังคม นอกจากกิจกรรม CSR ต่าง ๆ ของบริษัทในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดแล้ว ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ยังบริจาคตู้ตรวจคัดกรองโควิด-19 ความดันบวกจำนวน 19 ตู้ รวมมูลค่า 1.2 ล้านบาท ให้กลุ่มบุคลากรการแพทย์อาสา Thai CoCare เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยให้กับบุคลากรด่านหน้าในระหว่างการปฏิบัติงาน

ตู้ตรวจคัดกรองโควิด-19 เหล่านี้มีน้ำหนักเบา ถูกออกแบบให้พับเก็บและประกอบง่าย เคลื่อนย้ายสะดวก เพื่อให้หน่วยบุคลากรการแพทย์อาสาได้ปฏิบัติงานอย่างรวดเร็วและสะดวก โดยสามารถตรวจโควิด-19 เชิงรุกในพื้นที่เสี่ยง และลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้มากขึ้น นอกจากนี้ ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ยังได้บริจาคถุงยังชีพให้แก่ผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างรอคิวรักษาตัวที่โรงพยาบาลจำนวน 300 ถุง ซึ่งบรรจุอาหารแห้งและอาหารที่ให้พลังงาน อีกทั้งอาสาสมัครดีเอชแอลยังช่วยสนับสนุนการทำงานของกลุ่มแพทย์อาสา Thai CoCare ในการตรวจคัดกรองโควิด-19 อีกด้วย

Thai CoCare คือกลุ่มบุคลากรการแพทย์อาสามากกว่า 2,000 ชีวิต ประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล เภสัชกร นักจิตวิทยา และผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ต่าง ๆ โดยให้คำปรึกษา และดูแลสุขภาพจิตแก่ผู้ป่วยระหว่างรอเตียงโรงพยาบาล หรือผู้ป่วยที่เข้าระบบ Home Insolation ผ่านแอพพลิเคชัน CoCare ในขณะเดียวกัน Thai CoCare ก็ยังมีทีมที่ลงพื้นที่สุ่มตรวจโควิด-19 เชิงรุกในพื้นที่ระบาดหนักในเขตชุมชนเพื่อควบคุมการแพร่เชื้อ

คุณเฮอร์เบิต วงศ์ภูษณชัย กรรมการผู้จัดการ ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ประเทศไทยและหัวหน้าภาคพื้นอินโดจีน กล่าวว่า “ช่วงสองปีที่ผ่านมา ไม่มีอะไรสำคัญไปกว่าการที่เราต้องช่วยเหลือกัน โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการแพร่ระบาด ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ได้ตระหนักถึงภารกิจนี้ แสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อสังคม บริษัทฯ ภูมิใจที่พนักงานของเราได้ช่วยเหลือสังคมในทันทีด้วยความเข้าอกเข้าใจ (empathy) และได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของ DNA ของพวกเขา พนักงานจากทุกแผนกได้ใช้ความสามารถของตนเพื่อช่วยเหลือผู้คนและชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดในช่วงปีที่ผ่านมา ยิ่งไปกว่านั้น เรายังมุ่งมั่นสานต่อวัตถุประสงค์ขององค์กร “เชื่อมต่อผู้คน และยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนให้ดีขึ้น” (Connecting people, improving lives) ผ่านโปรแกรม GoGreen, GoHelp, GoTeach และ GoTrade ในชุมชนที่เราอาศัยและดำเนินงาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแนวคิด ESG เพื่อความยั่งยืน”

นายแพทย์ก้องเกียรติ เกษเพ็ชร์ ผู้ก่อตั้ง Thai CoCare กล่าวว่า “ด้วยสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังไม่สงบ การเฝ้าระวังเชิงรุกและให้การรักษาทางการแพทย์แก่ผู้ติดเชื้อจึงยังจำเป็นอย่างยิ่ง ตู้ตรวจคัดกรองโควิด-19 ที่ได้รับจากดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส มีประโยชน์อย่างมากในการช่วยบุคลากรการแพทย์ของเราคัดกรองผู้ป่วย และยังช่วยประหยัดในการใช้ชุด PPE ของบุคลากร ที่สำคัญที่สุดคือ ทำให้บุคลากรทางการแพทย์ลดความเสี่ยงระหว่างการตรวจคัดกรอง และมีความปลอดภัยมากขึ้น เสริมความมั่นใจในการตรวจคัดกรองของทีมแพทย์ และสามารถช่วยประชาชนได้อย่างเต็มที่”

ตู้ตรวจโควิดความดันบวกนี้ มีระบบและการควบคุมความดันที่เหมาะสม เพื่อให้บุคลากรการแพทย์สามารถอยู่ในห้องตรวจโดยไม่มีเชื้อปนเปื้อนในอากาศ โดยด้านในเป็นระบบปิดด้วยการปรับแรงดันอากาศ มีประตูเปิด-ปิดอย่างแน่นหนาเพื่อความปลอดภัย และมีช่องสำหรับสอดมือเพื่อทำหัตถการ ซึ่งตู้นี้รองรับการใช้งานของเจ้าหน้าที่ได้ครั้งละ 3 คนในเวลาเดียวกัน โดยเจ้าหน้าที่ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนชุด PPE แบบเต็ม ทำให้การคัดกรองมีความสะดวก รวดเร็ว และเพิ่มระดับความสามารถในการให้บริการ

ปัจจุบัน ตู้ตรวจโควิดความดันบวกทั้ง 19 ตู้ ได้ถูกส่งให้กับกลุ่มแพทย์อาสา Thai CoCare เพื่อจัดสรรไปยังสถานพยาบาลและหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ โรงพยาบาลศิริราช สำนักงานป้องกันโรคเขตเมือง มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ สมาคมเทคนิคการแพทย์แห่งประเทศไทย กลุ่มคลองเตยดีจัง โรงพยาบาลสันป่าตอง จ.เชียงใหม่ โรงพยาบาลกงหรา จ.พัทลุง โรงพยาบาลควนโดน จ.สตูล รวมถึงสำนักงานสาธารณสุขในจังหวัดสุราษฎร์ธานี กระบี่ และ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

พนักงานดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ยังได้จัดทำถุงยังชีพบรรจุอาหารแห้ง และเขียนข้อความมอบกำลังใจ ส่งมอบให้มูลนิธิ 12 แห่ง และชุมชนต่าง ๆ ทั่วประเทศ รวมถึงบริจาคข้าวสารมากกกว่า 5,000 กิโลกรัมผ่านมูลนิธิต่าง ๆ นอกจากนี้ พนักงานคอลล์เซ็นเตอร์ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส จำนวน 25 คน ยังได้อาสาช่วยหน่วยงานสายด่วนของภาครัฐ และดูแลสภาพจิตใจประชาชน โดยให้คำปรึกษากับประชาชนเป็นจำนวนทั้งสิ้น 8,042 ราย

ดีเอชแอลยังได้ทำหน้าที่สำคัญโดยการขนส่งวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 มากกว่า 1 พันล้านโดสไปมากกว่า 160 ประเทศทั่วโลก รวมถึงการดำเนินการจัดส่งวัคซีนไฟเซอร์-ไบออนเทคล็อตแรกจำนวน 1.5 ล้านโดสที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาบริจาคให้กับประเทศไทย

ชมวิดีโอ ที่มาความร่วมมือของตู้ตรวจโควิด-19 ความดันบวก คลิก ที่นี่


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ดีเอชแอลปล่อยแบรนด์แคมเปญฉลองการเปิดตัวภาพยนตร์เจมส์ บอนด์ ภาคใหม่ No Time To Die

กรุงเทพ, ประเทศไทย, 7 ตุลาคม 2564: ดีเอชแอลเปิดตัวแคมเปญใหม่เพื่อฉลองความร่วมมือที่มีมายาวนานกับภาพยนตร์เจมส์ บอนด์และโชว์จุดเด่นด้านบริการขนส่งที่เป็นเลิศ หัวใจสำคัญของแคมเปญนี้คือภาพยนตร์โฆษณาที่ผลิตขึ้นเพื่อเป็นการยกย่องแฟรนไชส์ภาพยนตร์ซึ่งเป็นที่จดจำของคนทั่วโลก โดยครั้งนี้เป็นครั้งที่ 5 ที่ดีเอชแอลได้ให้บริการขนส่งและโซลูชั่นด้านลอจิสติกส์ต่างๆ สำหรับภาพยนตร์เจมส์ บอนด์

“ดีเอชแอลภูมิใจที่ได้มอบการสนับสนุนด้านลอจิสติกส์สำหรับภาพยนตร์เจมส์ บอนด์มาถึง 5 ภาคด้วยกัน และสำหรับเบื้องหลังความสำเร็จของภาพยนตร์โฆษณาสุดยิ่งใหญ่ของดีเอชแอลนี้ เราได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากทีมงานมืออาชีพระดับโลกของภาพยนตร์ No Time To Die เพื่อให้เจมส์ บอนด์มีชีวิตโลดแล่นบนโฆษณาของดีเอชแอล ในขณะเดียวกันเราก็ต้องแสดงให้เห็นความสามารถทางการแข่งขันของเราในแบบที่สนุกสนานและดึงดูดใจผู้ชมด้วย เรารู้สึกเป็นเกียรติที่ได้แสดงให้โลกเห็นว่าดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรสสามารถนำประสบการณ์และความรู้ความชำนาญในแต่ละประเทศเพื่อรับมือกับความท้าทายในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างไร และเรายังคงเป็นลอจิสติกส์พาร์ทเนอร์ด้านการขนส่งด่วนระหว่างประเทศที่ผู้ใช้บริการไว้วางใจได้ ไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันหรือมีความซับซ้อนเพียงใดก็ตาม” คุณเฮอร์เบิต วงศ์ภูษณชัย กรรมการผู้จัดการ ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ประเทศไทยและหัวหน้าภาคพื้นอินโดจีน กล่าว

เพื่อให้สร้างสรรค์ภาพยนตร์โฆษณาที่เร้าใจและตื่นเต้นในระดับเดียวกับฉากขับรถไล่ล่าในภาพยนตร์เจมส์ บอนด์ การคัดเลือกทีมงานที่จะมาสร้างสรรค์ ดัดแปลง และผลิตภาพยนตร์จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก โฆษณาเรื่องนี้มีรถแอสตัน มาร์ติน DB5 เป็นจุดเด่น ซึ่งขับโดย เบน คอลลิน สตันท์ของตัวละครบอนด์ ผู้ทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กับ พีท ไวท์ ผู้ช่วยประสานงานด้านสตันท์ของภาพยนตร์ No Time To Die ภาพยนตร์โฆษณาของดีเอชแอลเรื่องนี้ถ่ายทำโดย อดัม เบิร์ก ไดเร็คเตอร์มือรางวัลแห่งสตูดิโอ Smuggler และยังได้ ไลนัส แซนด์เกรน แห่ง No Time To Die มาเป็นผู้กำกับภาพอีกด้วย แนวคิดของโฆษณามาจากการพัฒนาโดย 180 Amsterdam เอเจนซีหลักของดีเอชแอล

ภายใต้แคมเปญนี้ ดีเอชแอลได้เล่าเรื่องที่เพิ่มความตื่นเต้นเร้าใจให้กับแบรนด์ โดยโฆษณาเปิดฉากขึ้นในเซี่ยงไฮ้ เมื่อเจ้าหน้าที่คูเรียร์รายหนึ่งของดีเอชแอลต้องออกไปส่งพัสดุสำคัญให้ เจมส์ บอนด์ แต่พอไปถึงจุดนัดพบปรากฎว่าการส่งมอบของมีอันต้องสะดุด เป็นสาเหตุให้มีการขับรถไล่ล่ากันตามมา และในขณะที่ 007 กำลังถูกเหล่าร้ายไล่ล่าไปตามท้องถนนนั้น เจ้าหน้าที่คูเรียร์​ของดีเอชแอลต้องหลบหลีกความชุลมุนวุ่นวาย เพื่อไปส่งของให้ถึงจุดหมายใหม่ตามการเปลี่ยนแปลงผู้รับ โดยขนส่งอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

นอกจากภาพยนตร์โฆษณาที่ออกอากาศทางโทรทัศน์แล้ว แคมเปญนี้ยังออกอากาศทั่วโลกผ่านช่องทางดิจิทัล ทั้งในรูปแบบของแบนเนอร์โฆษณา วิดีโอ และสิ่งพิมพ์​ ข้อมูลเพิ่มเติมอื่นๆ เช่น เบื้องหลังการถ่ายทำ และภาพยนตร์โฆษณาฉบับเต็ม สามารถดูได้จากเว็บไซต์ NoTimeToDie.dhl

No Time To Die กำกับโดย แครี โจจิ ฟุกุนากะ และนำแสดงโดย แดเนียล เครก ผู้กลับมาเล่นภาพยนตร์เจมส์ บอนด์ ของเอียน เฟลมมิ่ง เป็นครั้งที่ 5 และเป็นครั้งสุดท้าย ภาพยนตร์เรื่องนี้จะเข้าฉายในโรงภาพยนตร์ประเทศไทยวันที่ 7 ตุลาคม 2564 โดย Universal Pictures International เป็นผู้จัดจำหน่าย

7 เรื่องไม่ลับ เบื้องหลังความร่วมมือระหว่าง No Time To Die กับดีเอชแอล

  1. นับตั้งแต่ Casino Royale (2006) ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 5 ที่ดีเอชแอลได้ให้บริการด้านการขนส่งและโซลูชั่นด้านลอจิสติกส์ต่างๆ สำหรับการถ่ายทำและการผลิตภาพยนตร์ 007
  2. ในการทำงานด้านการขนส่งให้กับภาพยนตร์ No Time To Die ที่แฟนๆ ตั้งตารอนี้ ดีเอชแอลได้ขนส่งอุปกรณ์การถ่ายทำและอุปกรณ์สตันท์ไปยังโลเคชั่นต่างๆ ทั้งในนอร์เวย์ จาไมก้า อิตาลี และโดยรอบประเทศอังกฤษ ของที่ดีเอชแอลช่วยขนส่งมีตั้งแต่รถแอสตัน มาร์ติน ในตำนาน ไปจนถึงอุปกรณ์ประกอบฉากสำคัญๆ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านลอจิสติกส์ ดีเอชแอลปฏิบัติหน้าที่อย่างถูกต้องในทุกขั้นตอนเพื่อขนส่งสิ่งของต่างๆ ให้ถึงมือผู้รับตรงเวลาเสมอ
  3. รถแอสตัน มาร์ติน DB5 จำลองจำนวน 8 คัน ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการถ่ายทำ No Time To Die!
  4. การถ่ายทำภาพยนตร์ No Time To Die เปรียบเสมือนการวิ่งมาราธอน ไม่ใช่การวิ่งระยะสั้น ตลอด 604 วันของการถ่ายทำ ดีเอชแอลขนส่งตั้งแต่คอสตูมชุดแรก ไปจนถึงฟุตเทจภาพยนตร์ในขั้นสุดท้าย
  5. ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรสได้ทำการบันทึกเอกสารการดำเนินพิธีศุลากรรวมถึง 948 รายการ สำหรับการขนส่งข้ามพรมแดนให้กับภาพยนตร์ No Time To Die
  6. ดีเอชแอลขนส่งเสื้อผ้าและคอสตูมรวมกว่า 11,039 กิโลกรัมทั่วโลกเพื่อภาพยนตร์เจมส์บอนด์ภาคที่ 25 เราได้จัดส่งบิกินี่ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของภาค DR.NO ไปยังวิลล่า GoldenEye ของเอียน เฟลมมิ่ง ในจาไมก้า เพื่อเปิดตัวการเริ่มต้นถ่ายทำภาพยนตร์
  7. แม้ว่าฉากของเรื่องจะอยู่ที่เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน แต่โฆษณาของดีเอชแอลเรื่องนี้ถ่ายทำที่ใจกลางกรุงเทพฯ ประเทศไทย! ไปดูโฆษณาอีกครั้งกันได้ที่ NoTimeToDie.dhl หรือชมผ่านโซเชียลมีเดียของดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ขนส่งด่วนระหว่างประเทศ

 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

การเดินทางของวัคซีน จากการวางแผนสู่การปฏิบัติการกระจายวัคซีนไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

บทความโดย คุณเฮอร์เบิต วงศ์ภูษณชัย กรรมการผู้จัดการ ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ประเทศไทยและหัวหน้าภาคพื้นอินโดจีน

เป็นที่ชัดเจนแล้วว่าหนึ่งในทางออกจากวิกฤตโควิด-19 คือวัคซีน และการที่จะสร้างภูมิคุ้มกันในระดับสูง จำเป็นที่จะต้องมีการฉีดวัคซีนราวหนึ่งหมื่นล้านโดสทั่วโลกภายในสิ้นปี 2564[1]  ตัวเลขดังกล่าวบ่งชี้ถึงความท้าทายครั้งใหญ่ด้านลอจิสติกส์อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน[2] สถานการณ์การแพร่ระบาดตอกย้ำถึงบทบาทที่สำคัญของเครือข่ายลอจิสติกส์ระหว่างประเทศในการรองรับระบบซัพพลายเชนให้ดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่องจนถึงการจัดส่งสิ่งของจำเป็นถึงปลายทาง

วันนี้ ประเทศไทยได้รับวัคซีนไฟเซอร์ไบออนเทคแล้วรวม 3.5 ล้านโดส ซึ่งขนส่งโดยดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส โดยในจำนวนนี้เป็นวัคซีน 2 ล้านโดสที่มาถึงไทยในวันที่ 29 กันยายน

จนถึงปัจจุบันดีเอชแอลได้จัดส่งวัคซีนโควิด-19 กว่า 1 พันล้านโดสไปยัง 160 ประเทศทั่วโลก นับได้ว่าดีเอชแอลมีบทบาทสำคัญในการผลักดันเรื่องนี้มาตลอด บริษัทได้ส่งมอบบริการที่รวดเร็ว และน่าเชื่อถือสำหรับการขนส่งวัคซีนซึ่งมีข้อกำหนดที่เข้มงวดในการรักษาระดับอุณหภูมิที่เหมาะสม เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการเชื่อมต่อผู้คนและยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนให้ดียิ่งขึ้น ดีเอชแอลจะยังเดินหน้าพัฒนาโครงสร้างการขนส่งแบบควบคุมอุณหภูมิ (cold chain infrastructure) ทำงานร่วมกับเครือข่ายระดับโลกที่แข็งแกร่ง เพิ่มพูนความรู้ด้านลอจิสติกส์ และประสบการณ์ของพนักงานดีเอชแอลอย่างต่อเนื่อง

โลกจะสามารถเอาชนะการแพร่ระบาดได้เร็วเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับ “การกระจายวัคซีนอย่างมีประสิทธิภาพ” ดีเอชแอลดำเนินการอย่างจริงจังตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาในการสร้างและขยายเครือข่ายระดับโลกสำหรับการขนส่งด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพและการสินค้าเพื่อสุขภาพ (Life Sciences & Healthcare – LSH) และตอนนี้ถึงเวลาที่ต้องเริ่มจริงจังกับการแก้ไขอุปสรรคด้านลอจิสติกส์ในอนาคตอันใกล้

จากผลการศึกษาของดีเอชแอลเรื่อง Revisiting Pandemic Resilience โครงสร้างระบบลอจิสติกส์และความสามารถในการรองรับสถานการณ์แพร่ระบาดเป็นสิ่งที่ยังคงต้องรักษาระดับคุณภาพไว้ เพราะประชากรโลกยังคงต้องการวัคซีนถึง 7-9 พันล้านโดสในปีต่อๆ ไป เพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำ และทำให้อัตราการติดเชื้อลดลง รวมถึงชะลอระยะการกลายพันธุ์ของไวรัสที่ไม่รวมการผันผวนที่เกิดขึ้นตามฤดูกาล

ข้อกำหนดด้านการควบคุมอุณหภูมิที่เคร่งครัด

หนึ่งในความท้าทายสำคัญที่สุดสำหรับการกระจายวัคซีนคือ การขนส่งวัคซีนภายใต้อุณหภูมิที่กำหนด โดยวัคซีนบางยี่ห้อจะต้องจัดเก็บในระดับอุณหภูมิต่ำมากที่ -80°C ซึ่งก่อให้เกิดความท้าทายด้านการขนส่งในระบบซัพพลายเชนทางการแพทย์ที่โดยปกติจะรองรับการจัดส่งวัคซีนที่อุณหภูมิประมาณ 2–8°C และในบางภูมิภาคไม่มีการจัดเก็บที่เอื้ออำนวยต่อการรักษาวัคซีน นอกจากนี้ ดีเอชแอลประเมินว่าจะต้องใช้พาเลทในการขนส่งมากถึง 200,000 พาเลท กล่องเก็บความเย็น 15 ล้านกล่อง และเที่ยวบินขนส่ง 15,000 เที่ยวบินไปยังจุดต่าง ๆ เพื่อรองรับการขนส่งวัคซีนหนึ่งหมื่นล้านโดสตามที่ได้ตั้งเป้าไว้

วัคซีนเป็นสินค้าที่มีมูลค่าสูง อ่อนไหวต่อสภาพแวดล้อม และจำเป็นต้องมีการควบคุมอุณหภูมิอย่างเข้มงวด ซึ่งนั่นหมายถึงความเสี่ยงที่สูงมาก ความผิดพลาดใด ๆ ในขั้นตอนการขนส่ง อาจหมายถึงความสูญเสียชีวิต ดังนั้นการขนส่งวัคซีนจึงต้องมีการประสานงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด และต้องอาศัยบุคลากรที่ผ่านการฝึกอบรมมาเป็นอย่างดี รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานที่ผ่านการรับรองตามมาตรฐาน ความรู้เชิงลึกเกี่ยวกับรายละเอียดต่าง ๆ เช่น การบรรจุหีบห่อ การจัดเก็บ การกำหนดเส้นทางการขนส่งทางอากาศและทางบก การกำหนดกรอบเวลา การเลือกบริษัทขนส่ง ข้อกำหนดการขนย้ายที่เฉพาะเจาะจง และอื่นๆ

เราใช้จุดแข็งของเราจากการมีช่องทางการขนส่งที่หลากหลาย เช่น บริการจัดส่งพัสดุ บริการขนส่งทางอากาศ และเครื่องบินเช่าเหมาลำ ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านลอจิสติกส์ควบคู่กับการขนส่งด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ และเครือข่ายซัพพลายเออร์ที่มีอยู่เพื่อรองรับการขนส่งวัคซีนให้เป็นไปอย่างราบรื่น ตามข้อกำหนดด้านอุณหภูมิอย่างเคร่งครัด เราได้ลงทุนในโครงสร้างการขนส่งแบบควบคุมอุณหภูมิเพิ่มขึ้น เช่น การจัดซื้อตู้แช่แข็งสำหรับอุณหภูมิที่ต่ำมาก รวมถึงขยายการให้บริการด้าน LSH, การรับรองจาก IATA CEIV Pharma สำหรับการปฏิบัติตามกฎข้อบังคับ GxP (การปฏิบัติงานที่เหมาะสม) ในประเทศเยอรมัน

การจัดส่งเวชภัณฑ์ที่สำคัญไปยังสถานที่และเวลาตามกำหนด เป็นภารกิจที่เราต้องทำให้สำเร็จลุล่วงในแต่ละวัน โดยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญดังกล่าวได้ก่อเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม สถานการณ์แพร่ระบาดในปัจจุบันย้ำให้เห็นถึงความจำเป็นในการมีระบบซัพพลายเชนที่ก้าวล้ำโดยสามารถขนส่ง จัดเก็บยาและเวชภัณฑ์อย่างปลอดภัย และน่าเชื่อถือ

การกระจายวัคซีนจำเป็นต้องอาศัยโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสม

โครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายคลังสินค้า และความสามารถด้านการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความต่อเนื่องในการการขนส่งสินค้าเวชภัณฑ์ โซลูชั่นซัพพลายเชนแบบครบวงจร (end-to-end) และการตรวจสอบจำนวนสินค้าแบบเรียลไทม์ นั้นมีความสำคัญมากเพราะทำให้ความต้องการซื้อและความต้องการขายอยู่ในจุดที่สมดุล

เครือข่ายลอจิสติกส์ระดับโลกที่มีความแข็งแกร่ง ผ่านการรับรองตามมาตรฐานการขนส่ง และสามารถจัดเก็บผลิตภัณฑ์ด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ อย่างเช่นวัคซีน มีความจำเป็นเพื่อให้มั่นใจว่าเงื่อนไขต่าง ๆ และการตรวจสอบคุณภาพอยู่ในทุกขั้นตอนของซัพพลายเชน ทีมงานของดีเอชแอลประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้าน LSH กว่า 9,000 คนในเครือข่ายระดับโลก รวมถึงเภสัชกรกว่า 150 คน คลังจัดเก็บสำหรับการวิจัยทางการแพทย์กว่า 20 แห่ง สถานีกระจายสินค้าที่ผ่านการรับรองกว่า 100 แห่ง คลังสินค้าที่ผ่านการรับรอง GDP กว่า 160 แห่ง ศูนย์บริการที่ผ่านการรับรอง GMP กว่า 15 แห่ง และศูนย์บริการขนส่งด่วนทางการแพทย์กว่า 135 แห่ง  ด้วยเครื่องบินที่จัดเตรียมไว้สำหรับภารกิจนี้โดยเฉพาะกว่า 280 ลำ ทั้งจากดีเอชแอล สายการบินมากมายที่เป็นพาร์ทเนอร์ และเครือข่ายเกตเวย์และศูนย์กระจายสินค้าที่ครอบคลุมกว่า 220 ประเทศทั่วโลก ดีเอชแอลจึงพร้อมในการขนส่งวัคซีนโควิด-19 ไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การกระจายวัคซีนเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับการแพร่ระบาด

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ครั้งนี้ไม่ใช่การแพร่ระบาดครั้งแรกที่โลกของเราต้องเผชิญ และแน่นอนว่าจะไม่ใช่ครั้งสุดท้าย เพื่อรองรับการจัดหาเวชภัณฑ์อย่างมั่นคงปลอดภัยทั้งในปัจจุบันและอนาคต รัฐบาลประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกจำเป็นต้องสร้างความร่วมมือและมีระบบจัดการวิกฤตการณ์ด้านสาธารณสุข

การระบุและป้องกันวิกฤตการณ์ด้านสุขภาพแต่เนิ่น ๆ เป็นสิ่งจำเป็นโดยต้องอาศัยความร่วมมืออย่างจริงจัง ระบบเตือนภัยทั่วโลกที่จำต้องขยายขอบเขตเพิ่มมากขึ้น แผนป้องกันการแพร่ระบาดที่ครอบคลุม และการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D) แบบเจาะจงเป้าหมาย ดีเอชแอลสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในแวดวงวิทยาศาสตร์ชีวภาพและสาธารณสุข ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ เอ็นจีโอ บริษัทยา ผู้ผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ หรือบริษัทลอจิสติกส์ เริ่มดำเนินการทันที


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส เดินหน้าเปิดจุดบริการใหม่ สาขาเซ็นทรัล พลาซ่า เวสต์เกต หนุนการเติบโตของอีคอมเมิร์ซทั่วโลก ส่งกลยุทธ์ Walk-Click-Call รองรับความต้องการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ

กรุงเทพฯ 24 พฤษภาคม 2564: ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ผู้ให้บริการขนส่งด่วนระหว่างประเทศระดับโลก เปิดจุดบริการใหม่ล่าสุดที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล พลาซ่า เวสต์เกต บางใหญ่ จ.นนทบุรี เพื่อยกระดับประสบการณ์การส่งของไปต่างประเทศให้ลูกค้าในย่านบางใหญ่ บางบัวทองและรัตนาธิเบศร์ จุดบริการดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรสนี้แห่งนี้เป็นสาขาลำดับที่ 69 ในประเทศไทย รองรับความต้องการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นจากอานิสงค์การเติบโตของอีคอมเมิร์ซทั่วโลก โดยเฉพาะตั้งแต่ช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 การขยายสาขาเพิ่มของดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรสนี้เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การให้บริการส่งของไปต่างประเทศผ่านสามช่องทาง Walk-Click-Call เพื่อขยายการบริการให้ครอบคลุมลูกค้ายิ่งขึ้น และสร้างประสบการณ์การส่งของไปต่างประเทศให้ง่ายและสะดวกยิ่งกว่าเดิมผ่านจุดบริการลูกค้าที่มีทั่วประเทศ เว็บไซต์ที่ให้ลูกค้าทำรายการส่งของไปต่างประเทศได้ด้วยตัวเอง และศูนย์บริการลูกค้าผ่านโทรศัพท์ตลอด 24 ชั่วโมง

ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก อีคอมเมิร์ซระหว่างประเทศเติบโตขึ้นอย่างแข็งแกร่งและต่อเนื่อง และเป็นปัจจัยขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรสด้วย คาดการณ์ว่าการค้าปลีกผ่านออนไลน์ในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิกจะโตถึง 2.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในปีพ.ศ. 2567 และจะทวีความคึกคักเนื่องจากผู้ซื้อสบายใจและคุ้นเคยกับการซื้อของผ่านออนไลน์บนโทรศัพท์มือถือ

คุณปาริชาติ ประมุขกุล รองประธานฝ่ายขาย ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ประเทศไทย กล่าว “อีคอมเมิร์ซมีอิทธิพลต่อโลกอย่างมาก การเติบโตอย่างรวดเร็วของอีคอมเมิร์ซจะเพิ่มความคาดหวังต่อประสิทธิภาพการให้บริการ รวมถึงความรวดเร็วในการขนส่งของผู้ขาย การเพิ่มจุดบริการดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรสสาขาที่ 69 นี้จะเป็นประโยชน์กับธุรกิจ B2B และ C2C ทุกขนาด รวมถึงลูกค้าทั่วไปในย่านบางใหญ่ บางบัวทองและรัตนาธิเบศร์ ที่กำลังมองหาพาร์ทเนอร์ด้านลอจิสติกส์เพื่อช่วยขับเคลื่อนธุรกิจระหว่างประเทศให้เดินหน้าต่อ และช่วยให้การขนส่งด่วนไปต่างประเทศเป็นไปได้อย่างราบรื่น”

ข้อมูลจากดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ประเทศไทยระบุว่าสินค้าที่ส่งไปต่างประเทศมากที่สุดจากผู้ส่งประเภท B2C และ C2C ในย่านบางใหญ่ บางบัวทองและรัตนาธิเบศร์ ได้แก่ อาหารแห้งและอาหารแปรรูป เสื้อผ้า อุปกรณ์ตกแต่งรถยนต์ และสินค้าส่วนบุคคล

“ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส มุ่งมั่นนำเสนอบริการขนส่งด่วนระหว่างประเทศมาตรฐานโลกแก่ทั้งลูกค้าธุรกิจและลูกค้าทั่วไป แม้ว่าพื้นที่ขนส่งทางอากาศจะจำกัดเนื่องจากสายการบินพาณิชย์ยังคงงดให้บริการ แต่การที่ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรสมีเครื่องบินสำหรับขนส่งสินค้าภายในเน็ตเวิร์คของเราเอง จึงทำให้บริษัทฯ ยังคงให้บริการส่งออกและนำเข้าได้ตามปกติ รวมถึงขนส่งสินค้าแบบ door to door ระหว่างประเทศไทยเชื่อมต่อประเทศปลายทางทั่วโลกได้ตรงเวลาแม้ในสถานการณ์ที่ท้าทาย” คุณปาริชาติ กล่าวเพิ่ม

จุดบริการดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส สาขาเซ็นทรัล พลาซ่า เวสต์เกต ตั้งอยู่ในห้างสรรพสินค้า ชั้น G กรีนโซน ตรงข้ามสำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว บางใหญ่ เปิดทุกวัน ตั้งแต่เวลา 10.30 น. – 20.00 น. ให้บริการขนส่งเอกสารและพัสดุด่วนจากประเทศไทยไปยัง 220 ประเทศทั่วโลก

ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ประเทศไทย ฉลองเปิดจุดบริการสาขาใหม่ มอบของที่ระลึกให้ลูกค้าที่ใช้บริการขนส่งด่วนระหว่างประเทศที่สาขาเซ็นทรัล พลาซ่า เวสต์เกต ตั้งแต่วันนี้ถึง 31 พฤษภาคม 2564 หรือจนกว่าของจะหมด นอกจากนี้ ลูกค้าที่มีคะแนน   Mcard หรือใช้บัตรเครดิตกสิกรไทย ซิตี้แบงค์และไทยพาณิชย์ รับส่วนลด 400 บาท เมื่อใช้บริการขนส่งด่วนระหว่างประเทศที่จุดบริการของดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรสทุกสาขา เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด

ลูกค้าที่ต้องการส่งของไปต่างประเทศกับดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส สามารถใช้บริการได้ที่จุดบริการดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรสทั่วประเทศ หรือทำรายการส่งของไปต่างประเทศผ่านเว็บไซต์ mydhl.express.dhl หรือทำรายการส่งของไปต่างประเทศทางโทรศัพท์ผ่านศูนย์บริการลูกค้าตลอด 24 ชั่วโมงที่เบอร์ 02-345-5000

เยี่ยมชมจุดบริการดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส สาขาเซ็นทรัล พลาซ่า เวสต์เกต คลิกตามแผนที่นี้ https://goo.gl/maps/JtUzr7K3suDtEbZs6  หรือดูรายชื่อสาขาที่ให้บริการขนส่งระหว่างประเทศใกล้บ้านได้ที่นี่ https://dhltoyou.com/th/service_point

ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มบริษัทดอยช์โพสต์ ดีเอชแอล กรุ๊ป โดยให้บริการขนส่งสินค้าด่วนระหว่างประเทศแบบ door-to-door รับส่งพัสดุและเอกสารสำหรับองค์กรธุรกิจและลูกค้ารายย่อย ปัจจุบัน ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส มีเครื่องบินขนส่ง 280 ลำทั่วโลก ครอบคลุมสนามบินกว่า 500 แห่ง โดยมีการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศให้ลูกค้ากว่า 2.7 ล้านราย ครอบคลุม 220 ประเทศทั่วโลก สำหรับดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ในประเทศไทย เริ่มดำเนินงานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 โดยมีเที่ยวบินขนส่งระหว่างประเทศราว 285 เที่ยวบินต่อสัปดาห์จากศูนย์กลางที่ฮับและเกตเวย์ สนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นหนึ่งในศูนย์ขนส่งสินค้าระดับภูมิภาคของดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส และเป็นเกตเวย์เชื่อมต่อสู่อินโดจีน


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส เปิดบริการนำเข้าจาก 200 ประเทศทั่วโลก ให้กับลูกค้าเอสเอ็มอีและลูกค้าทั่วไปโดยไม่ต้องมีบัญชีสมาชิกเป็นครั้งแรก

กรุงเทพฯ, 3 มีนาคม 2564: ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ผู้ให้บริการขนส่งด่วนระหว่างประเทศระดับโลก เปิดตัวบริการนำเข้าใหม่สำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีรายย่อยที่ไม่ได้นำเข้าสินค้าบ่อยครั้ง และไม่มีบัญชีนำเข้ากับดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส รวมถึงบุคคลทั่วไปที่ต้องการนำเข้าสินค้า หรือสิ่งของจากต่างประเทศโดยผู้ส่งต้นทางอาจมีข้อจำกัดในการส่งของมายังประเทศไทย ให้สามารถจัดการการนำเข้าทุกขั้นตอนได้ด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการระบุวันกำหนดส่งและรับสินค้า รวมถึงการจ่ายค่าบริการนำเข้าล่วงหน้าผ่านบัตรเครดิต บริการนำเข้าดังกล่าวจะช่วยให้ทุกขั้นตอนของการนำเข้าสินค้าจาก 200 ประเทศทั่วโลกสะดวก ง่ายดายอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน และนับเป็นครั้งแรกในไทยที่ให้บริการนำเข้าสำหรับผู้ใช้โดยไม่ต้องสมัครเป็นสมาชิก 

จากการขยายตัวของธุรกิจอีคอมเมิร์ซระหว่างประเทศ ผลสำรวจระบุว่าคนไทยนิยมช้อปออนไลน์ข้ามประเทศเพิ่มขึ้น โดยเกือบครึ่งของนักช้อปชาวไทยอายุระหว่าง 24-34 ปีที่ได้รับการสำรวจมีแนวโน้มซื้อของออนไลน์ต่อไปและซื้อบ่อยขึ้นกว่าเดิม[1] ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส คาดว่าจะเห็นการเติบโตของอีคอมเมิร์ซ และความต้องการในการส่งสินค้าระหว่างประเทศมากขึ้น บริการนำเข้าของดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส เป็นแพลตฟอร์มที่ให้ผู้ใช้ดำเนินการนำเข้าสินค้ามายังประเทศไทยด้วยตนเองผ่านเว็บไซต์ ใช้งานง่าย สามารถชำระค่าบริการนำเข้าผ่านบัตรเครดิต ผู้ใช้งานจะได้รับความสะดวกจากบริการรับและส่งสินค้าแบบ Door-to-Door พร้อมรับความช่วยเหลือจากคอลล์เซ็นเตอร์ตลอด 24 ชั่วโมง

เฮอร์เบิต วงศ์ภูษณชัย กรรมการผู้จัดการ ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ประเทศไทยและหัวหน้าภาคพื้นอินโดจีน กล่าวว่า “บริการนำเข้ารูปแบบใหม่นี้เป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้กับผู้ใช้บริการ ตอกย้ำว่าดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส เข้าใจความต้องการของลูกค้าและให้ความสำคัญกับลูกค้าทุกกลุ่ม การนำเข้าเป็นแกนหลักสำคัญที่ทำให้การค้าระหว่างประเทศเติบโต ปัจจุบัน ธุรกิจจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั่วโลกเพื่อให้ธุรกิจดำเนินการต่อได้ ในขณะที่การเดินทางระหว่างประเทศเป็นเรื่องที่ท้าทายและทำให้การค้าระหว่างประเทศมีความสำคัญมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการนำเข้าวัตถุดิบ สินค้า หรือของใช้ที่จำเป็น ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรสเชื่อว่าบริการนำเข้านี้จะช่วยเชื่อมโยงผู้คน ธุรกิจ และกระตุ้นเศรษฐกิจให้กลับมาเฟื่องฟูอีกครั้งในไม่ช้า”

สถานการณ์การแพร่ระบาดที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ผู้บริโภคต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่การใช้ชีวิตแบบไฮบริด โดยบ้านเป็นทั้งสถานที่ทำงานและพักผ่อน รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ให้ความสำคัญกับสุขอนามัย และสุขภาพมากขึ้น

สุณิสา ทิวากรดำรง ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ทำธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ และใช้บริการนำเข้ากับดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส กล่าวว่า “เราใช้บริการนำเข้ากับดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรสประมาณ 4-5 ครั้งในช่วงที่ยังไม่เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ เพื่อนำเข้าเครื่องครัวจากประเทศฟิลิปปินส์เข้ามาในไทย เราสามารถบริหารจัดการการนำเข้าด้วยตัวเองได้อย่างง่ายดาย โดยคุณภาพของการให้บริการ และการแสดงค่าบริการที่ชัดเจนเป็นสิ่งที่เราประทับใจมากที่สุดจากการใช้บริการ DHL Express Import Service”

สำหรับสินค้าที่ต้องชำระภาษีนำเข้า ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรสจะดำเนินการจ่ายค่าภาษีศุลกากร (ไม่เกิน 50,000 บาท) ในนามของลูกค้าเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า และทำให้สินค้าสามารถส่งถึงมือผู้รับได้เร็วขึ้น ทั้งนี้ ก่อนที่สินค้าจะถูกส่งถึงมือผู้รับ บริการ Advance Duty Collection ของดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส จะส่งข้อความแจ้งยอดภาษีนำเข้าที่ผู้รับจะต้องชำระผ่าน SMS หรืออีเมล โดยผู้รับสามารถจ่ายภาษีทางออนไลน์ด้วยบัตรเครดิตหรือเงินสด

ในกรณีที่สินค้าที่นำเข้ามีราคาศุลกากร (CIF) ไม่เกิน 1,500 บาทและไม่ใช่ของต้องห้ามหรือต้องกำกัด จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระอากรขาเข้า เพื่อให้การนำเข้าเป็นไปอย่างราบรื่น กรุณาตรวจสอบรายละเอียดเกี่ยวกับของต้องห้าม ของต้องกำกัด ระเบียบการนำเข้าและเอกสารที่ต้องใช้ในการนำเข้าได้ที่เว็บไซต์ของกรมศุลกากรที่ www.customs.go.th

สำหรับผู้สนใจใช้บริการนำเข้าของดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส สามารถทำตาม 4 ขั้นตอนง่ายๆ ข้างล่างนี้

  1. เข้าเว็บไซต์ https://mydhl.express.dhl ผ่านเดสก์ท็อป และกรอกข้อมูลสถานที่รับสินค้า สถานที่ส่งสินค้าปลายทาง รายละเอียดและประเภทของสินค้า
  2. ตรวจสอบค่าบริการ แล้วทำการชำระค่าบริการนำเข้าผ่านบัตรเครดิต ระบบจะแจ้งเลขหมาย Tracking Number เพื่อติดตามสถานะการจัดส่งสินค้า
  3. ยืนยันวัน เวลา และสถานที่ที่ให้เข้าไปรับพัสดุ พนักงานดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรสจะไปรับสินค้าตามสถานที่ที่ระบุไว้ (door to door service)
  4. ผู้รับรอให้สินค้ามาส่ง โดยสามารถติดตามสถานะของสินค้าผ่านระบบออนไลน์ จากหมายเลข Waybill ที่เป็นตัวเลข 10 หลัก

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริการนำเข้าจากดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ได้ที่ https://bit.ly/dhl-import-th หรือรับชมวิดีโอสาธิตการทำรายการนำเข้าโดยละเอียดทุกขั้นตอนที่ https://youtu.be/Rl-pkg_mA0U


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส เผยรายงานการศึกษา ชี้ความสำเร็จในการขนส่งวัคซีนโควิด-19 ต้องมาจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน

ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส เผยรายงานการศึกษา ชี้ความสำเร็จในการขนส่งวัคซีนโควิด-19 ต้องมาจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน

กรุงเทพฯ, 5 ตุลาคม 2563 – ดีเอชแอล ผู้ให้บริการขนส่งระดับโลก ร่วมมือกับแมคคินซีย์แอนด์คอมปะนี พันธมิตรด้านการวิเคราะห์ เผยแพร่รายงานเรื่องการจัดการการขนส่งวัคซีนและอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้มีประสิทธิภาพในระหว่างการแพร่ระบาดของโควิด-19 และรับมือวิกฤตด้านภัยสุขภาพในอนาคต โดยจากการคาดการณ์ว่าจะมีการใช้วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เป็นครั้งแรกในไตรมาสสุดท้ายของปี 2563 นับเป็นความท้าทายของผู้ให้บริการลอจิสติกส์ที่ต้องเตรียมจัดตั้งระบบซัพพลายเชนเพื่อสาธารณสุขขึ้นอย่างฉับพลันเพื่อให้สามารถขนส่งวัคซีนที่คาดว่าจะมีจำนวนมากกว่า 1 หมื่นล้านโดสได้ทั่วโลก

ปัจจุบัน ทั่วโลกมีการพัฒนาและทดสอบวัคซีนมากกว่า 250 ชนิด บน 7 แพลตฟอร์มการผลิต ในขณะที่วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ได้พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว วัคซีนบางประเภทจำเป็นต้องเก็บในอุณหภูมิที่กำหนดอย่างเคร่งครัด (ต่ำกว่า -80 °C) เพื่อคงประสิทธิภาพระหว่างการขนส่งและเก็บรักษาที่คลังสินค้า จากทั่วไปที่ระบบซัพพลายเชนเพื่อการแพทย์สามารถจัดระบบการขนส่งและควบคุมอุณหภูมิระหว่างการขนส่งวัคซีนที่อุณหภูมิ 2–8 °C โดยประมาณ จึงเป็นความท้าทายใหม่ในวงการลอจิสติกส์ในยุคปัจจุบัน

ในรายงานการศึกษานี้ ดีเอชแอลได้ประเมินแล้วว่าจะสามารถจัดการการขนส่งวัคซีนหรือผลิตภัณฑ์ที่มีความอ่อนไหวด้านอุณหภูมิในระดับสูงให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไรเพื่อร่วมป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทั้งนี้ ขอบเขตการศึกษาอยู่ในวงกว้าง เพราะการจะสร้างซัพพลายเชนที่รองรับการขนส่งเพื่อรับมือกับการควบคุมการแพร่ระบาดนี้ ต้องครอบคลุมความสามารถในการขนส่งวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 สำหรับคนทั่วโลก คิดเป็นการจัดส่งชิปเมนต์บนพาเลทกว่า 200,000 พาเลท จัดส่งในกล่องควบคุมความเย็นกว่า 15 ล้านกล่อง และขนส่งผ่านเครื่องบินขนส่งสินค้ากว่า 15,000 เที่ยวบิน

“วิกฤตโควิด-19 เกิดขึ้นและมีผลกระทบในวงกว้างอย่างคาดไม่ถึง ภาครัฐ ภาคธุรกิจรวมถึงอุตสาหกรรม
ลอจิสติกส์ต้องปรับตัวอย่างรวดเร็วกับความท้าทายใหม่นี้ ในฐานะผู้นำระดับโลกด้านลอจิสติกส์ เราจึงอยากจะแบ่งปันประสบการณ์ในการปฏิบัติงานท่ามกลางวิกฤตด้านสุขอนามัยที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ครั้งนี้ เพื่อพัฒนากลยุทธ์สำหรับโลกที่ไร้พรมแดนและเชื่อมต่อกันมากยิ่งกว่าเคย” คัทยา บุสช์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรกิจ ดีเอชแอล กล่าว “เพื่อปกป้องชีวิตให้ปลอดภัยจากโรคระบาด หน่วยงานรัฐบาลจึงได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในด้านซัพพลายเชนเพื่อสาธารณสุข ไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ดีเอชแอลได้แสดงให้เห็นแล้วว่าการวางแผนที่ครอบคลุม รวมถึงความร่วมมือด้านซัพพลายเชนที่มีประสิทธิภาพมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง ในขณะที่ภาครัฐทำหน้าที่จัดสรรอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นในภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขอย่างที่ได้เกิดขึ้นนี้”

การจัดการวิกฤตด้านสาธารณสุขในอนาคตต้องเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน

ตั้งแต่โรคโควิด-19 แพร่ระบาด ความต้องการอุปกรณ์การแพทย์พุ่งสูงขึ้นมาก จากข้อมูลของยูนิเซฟระบุว่า ปีนี้ ยูนิเซฟสรรหาหน้ากากอนามัยและถุงมือสำหรับใช้ในการแพทย์มากกว่าปี 2562 ถึง 100 เท่าและ 2,000 เท่า ตามลำดับ การจัดหาอุปกรณ์การแพทย์จากแหล่งต่างๆ กันมาให้บุคลากรทางการแพทย์ใช้งานกลายเป็นภารกิจสำคัญในช่วงต้นของการจัดการรับมือโรคระบาดใหญ่สำหรับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) ที่ประสบความท้าทายอย่างหนักในเชิงลอจิสติกส์ขาเข้าเนื่องจากโรงงานผลิตกระจุกตัวอยู่แหล่งเดียว พื้นที่ขนส่งทางอากาศที่จำกัด และความท้าทายเรื่องการตรวจสอบคุณภาพระหว่างการนำเข้าสู่ประเทศ ในอนาคต หากเกิดวิกฤตด้านสาธารณสุขขึ้นอีก การเตรียมกลยุทธ์และโครงสร้างในการจัดการวิกฤตด้านสาธารณสุขที่ครอบคลุมจะช่วยสร้างอุปทานด้านการแพทย์ที่แข็งแกร่งได้ จากรายงานการศึกษาระบุว่ากลยุทธ์และโครงสร้างดังกล่าวจำเป็นต้องตั้งขึ้นมาจากหน่วยงานรัฐบาล โดยภาครัฐและเอกชนต้องให้ความร่วมมือกัน

“ทั่วโลกต่างกำลังเร่งผลิตวัคซีนให้สำเร็จโดยเร็ว และวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 จำนวนหนึ่งได้เริ่มเข้าสู่กระบวนการทดลองขั้นสุดท้าย วัคซีนเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในการปกป้องมนุษย์จากโรคระบาดใหญ่อย่างโควิด-19 และที่สำคัญไม่แพ้กัน คือการมีระบบซัพพลายเชนที่มีประสิทธิภาพที่สามารถเอื้อให้การขนส่งวัคซีนครอบคลุมทุกพื้นที่ในโลกภายในเวลาอันรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ห่างไกลหรือยากจะเข้าถึง โดยที่ต้องคงประสิทธิภาพของวัคซีนอย่างสมบูรณ์ในระหว่างการขนส่ง ในฐานะผู้ให้บริการลอจิสติกส์ระหว่างประเทศ ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรสมีความมุ่งมั่นให้บริการเพื่อเชื่อมต่อผู้คนและยกระดับคุณภาพชีวิตโดยการทำหน้าที่ในภาคธุรกิจ พัฒนาระบบการขนส่งให้สามารถจัดส่งวัคซีนและอุปกรณ์ทางการแพทย์ไปยังผู้รับปลายทางที่จำเป็นต้องใช้ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก” เฮอร์เบิต วงศ์ภูษณชัย กรรมการผู้จัดการ ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ประเทศไทยและหัวหน้าภาคพื้นอินโดจีนกล่าว

จากรายงานการศึกษาเรื่องการปรับตัวของลอจิสติกส์ในภาวะโรคระบาดใหญ่ ชี้ให้เห็นถึงความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการปรับตัวของลอจิสติกส์เพื่อการขนส่งทางการแพทย์ท่ามกลางภาวะโรคระบาดใหญ่ ดีเอชแอลนำเสนอกรอบความร่วมมือของบริษัทลอจิสติกส์กับหน่วยงานต่าง ๆ ภาครัฐ องค์กรไม่แสวงผลกำไร รวมถึงอุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์ กรอบความร่วมมือนี้จะช่วยกำหนดมาตรการเพื่อควบคุมให้ระบบซัพพลายเชนแข็งแกร่งและปลอดภัยมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ นอกเหนือจากแผนรับมือภาวะฉุกเฉินแล้ว กรอบความร่วมมือหมายรวมถึงเครือข่ายความร่วมมือ โครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพที่แข็งแกร่งด้านลอจิสติกส์และความโปร่งใสของซัพพลายเชนผ่านระบบไอที ท้ายที่สุดต้องมีหน่วยงานฉุกเฉินที่มีอำนาจสั่งการเพื่อลงมือทำสิ่งสำคัญภายในระยะเวลาตัดสินใจอันสั้น

ดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็มเรื่องการปรับตัวของลอจิสติกส์ในภาวะโรคระบาดใหญ่ได้ที่นี่ https://www.dhl.com/pandemic-resilience หรือติดตามความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการขนส่งระหว่างประเทศได้ที่เฟซบุ๊ค DHL Express Thailand ขนส่งด่วนระหว่างประเทศ


 

Exit mobile version