Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

How to ขับเคลื่อน SME สู่โรงงานแห่งอนาคต

ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือเอสเอ็มอี (SME) นับเป็นธุรกิจที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ในเอเชียแปซิฟิก อาทิ เพิ่มอัตราการจ้างงานจำนวนมาก เร่งการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ กระตุ้นให้เกิดการบริโภคสูงขึ้น และมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการแข่งขันในภาคอุตสาหกรรม

ข้อมูลจากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ประจำปี พ.ศ. 2562 ระบุว่า ในปี พ.ศ. 2561 มีเอสเอ็มอีประมาณ 3 ล้านบริษัท ซึ่งคิดเป็น 86% ของการจ้างงานในประเทศไทย และคิดเป็น 45% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือจีดีพี (GDP) อย่างไรก็ตามพบว่า ตัวเลขการเติบโตของจีดีพีจากภาคเอสเอ็มอีปรับลดลงเหลือ 35% ในไตรมาสแรกของปี พ.ศ. 2564 จากข้อมูลของ สสว. ซึ่งรายงานภาพรวมของเศรษฐกิจไทยและกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบหนักจากการระบาดใหญ่ของโควิด-19

อุตสาหกรรมการผลิตในกลุ่มเอสเอ็มอีทั่วประเทศไทยจำเป็นต้องก้าวข้ามการทำธุรกิจรูปแบบเดิม ๆ และต้องเร่งนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาในปัจจุบัน โดยดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันจะเปิดโอกาสใหม่ ๆ ทำให้พวกเขามีส่วนร่วมในนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ที่ล้ำหน้าและยกระดับบริการเพื่อให้บริการแก่ลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น สร้างแหล่งมูลค่าใหม่ ๆ และท้ายที่สุดคือเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันพร้อมความยืดหยุ่นในการดำเนินธุรกิจทั้งตลาดในระดับประเทศและในระดับโลก

โดย Dassault Systèmes ขอเสนอมุมมองเกี่ยวกับความท้าทายในการรับมือปัญหาที่อาจเกิดขึ้นของผู้ประกอบการโรงงานเอสเอ็มอี และข้อเสนอแนะในการปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ความคล่องตัว และความสามารถในการแข่งขันในตลาดได้มากขึ้น

เอสเอ็มอีจะรับมือความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงเร็วโดยเฉพาะด้านการขอปรับงานดีไซน์ได้อย่างไร?

เมื่อความต้องการลูกค้าเปลี่ยนแปลงตลอด และคาดหวังการตอบสนองที่รวดเร็ว นั่นคือเหตุผลที่การทำงานเป็นทีมจึงมีความสำคัญอย่างมากในปัจจุบัน และระบบงานวิศวกรรมช่วยให้ทีมสามารถทำงานร่วมกันได้ผ่านแพลตฟอร์มหนึ่งเดียวกันซึ่งช่วยขจัดปัญหาการทำงานแบบไซโลได้อย่างสิ้นเชิง เมื่อคำนึงถึงความท้าทายดังกล่าว เอสเอ็มอีจำเป็นต้องมองหาแพลตฟอร์มเพื่อให้พนักงานทำงานร่วมกันผ่านฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ โดยใช้แพลตฟอร์มเดียวที่เปิดโอกาสให้ทีมงานทุกคนสามารถเข้าถึงและทำงานร่วมกันได้ ยกระดับธุรกิจและทีมงานให้สร้างสรรค์สิ่งใหม่ รวมทั้งคิดค้นผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ ได้อย่างเต็มที่ ตัวอย่างเช่น ผู้ออกแบบแม่พิมพ์จะสามารถใช้ฟีเจอร์ต่าง ๆ เช่น การจำลองการฉีดพลาสติกในสภาพแวดล้อมเดียว และทำงานในแบบจำลองเดียว เอสเอ็มอียังสามารถใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติขั้นสูงเพิ่มเติม เช่น การออกแบบอัตโนมัติ ซึ่งช่วยให้ประหยัดเวลามากขึ้น นอกจากนี้ยังเพิ่มความมั่นใจในการปกป้องข้อมูล โดยกำหนดผู้ใช้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าถึงข้อมูลได้ ไม่ว่าจะเป็นแบบกลุ่มหรือรายบุคคล

ฝ่ายผลิตสามารถจัดการกับแบบที่มีการแก้ไขและรับมือกับตัวแปรอื่น ๆ ได้อย่างไร?

การถอดองค์ความรู้แบบเฉพาะเจาะจง (Capturing knowledge) เป็นสิ่งสำคัญหากต้องการเพิ่มความเร็วในการทำโปรเจกต์หรือเตรียมการปรับแต่ง โดยสามารถนำเข้าข้อมูลจากโครงการที่ผ่านมา เช่น ชนิดของอุปกรณ์เสริม การกำหนดค่า หรือรหัสเครื่อง NC ที่ใช้สำหรับผลิตภัณฑ์ที่คล้ายคลึงกัน สำหรับการเปลี่ยนแปลงการออกแบบ เนื่องจากทีมงานทั้งหมดทำงานอยู่บนแพลตฟอร์มดิจิทัลตัวเดียวกัน ข้อมูลจะถูกส่งต่อจากทีมงานออกแบบไปสู่ทีมงานการผลิตอย่างราบรื่น ซึ่งฝ่ายผลิตจะได้รับการแจ้งเตือน และสามารถอัปเดตตามโมเดลที่ได้รับการอัปเดตได้อย่างง่ายดาย ด้วยชุดแอปพลิเคชันที่ทำงานสอดประสานกันเพื่อกำหนดรูปแบบการใช้งานของเครื่องมือ จำลองการนำวัสดุออก และการเคลื่อนไหวของเครื่องจักร โดยเอสเอ็มอีไม่ต้องจัดการกับความซับซ้อนของการใช้เครื่องมือและรูปแบบข้อมูลที่หลากหลายเพื่อตรวจสอบความถูกต้องในการปฏิบัติงาน

ฝ่ายผลิตควรดำเนินการอย่างไรเพื่อลดความซับซ้อนในการใช้งานหุ่นยนต์ในกระบวนการผลิต?

ด้วยแพลตฟอร์มการทำงานร่วมกัน เอสเอ็มอีสามารถเขียนโปรแกรมและจำลองหุ่นยนต์เพื่อใช้งานได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ โดยสามารถเข้าถึงแคตตาล็อกหุ่นยนต์จำนวนมากหรือสามารถสร้างหุ่นยนต์ที่กำหนดค่าต่าง ๆ เองได้ โซลูชันการเขียนโปรแกรมหุ่นยนต์จะช่วยให้เอสเอ็มอีสามารถจำลองและตรวจสอบการทำงานของหุ่นยนต์ รวมทั้งดำเนินการตั้งโปรแกรมออฟไลน์ได้ ซึ่งความสามารถเหล่านี้ช่วยให้องค์กรสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหุ่นยนต์ได้

เอสเอ็มอีจะรับมือความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงเร็วโดยเฉพาะด้านการขอปรับงานดีไซน์ได้อย่างไร?

เมื่อความต้องการลูกค้าเปลี่ยนแปลงตลอด และคาดหวังการตอบสนองที่รวดเร็ว นั่นคือเหตุผลที่การทำงานเป็นทีมจึงมีความสำคัญอย่างมากในปัจจุบัน และระบบงานวิศวกรรมช่วยให้ทีมสามารถทำงานร่วมกันได้ผ่านแพลตฟอร์มหนึ่งเดียวกันซึ่งช่วยขจัดปัญหาการทำงานแบบไซโลได้อย่างสิ้นเชิง เมื่อคำนึงถึงความท้าทายดังกล่าว เอสเอ็มอีจำเป็นต้องมองหาแพลตฟอร์มเพื่อให้พนักงานทำงานร่วมกันผ่านฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ โดยใช้แพลตฟอร์มเดียวที่เปิดโอกาสให้ทีมงานทุกคนสามารถเข้าถึงและทำงานร่วมกันได้ ยกระดับธุรกิจและทีมงานให้สร้างสรรค์สิ่งใหม่ รวมทั้งคิดค้นผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ ได้อย่างเต็มที่ ตัวอย่างเช่น ผู้ออกแบบแม่พิมพ์จะสามารถใช้ฟีเจอร์ต่าง ๆ เช่น การจำลองการฉีดพลาสติกในสภาพแวดล้อมเดียว และทำงานในแบบจำลองเดียว เอสเอ็มอียังสามารถใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติขั้นสูงเพิ่มเติม เช่น การออกแบบอัตโนมัติ ซึ่งช่วยให้ประหยัดเวลามากขึ้น นอกจากนี้ยังเพิ่มความมั่นใจในการปกป้องข้อมูล โดยกำหนดผู้ใช้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าถึงข้อมูลได้ ไม่ว่าจะเป็นแบบกลุ่มหรือรายบุคคล

ฝ่ายผลิตสามารถจัดการกับแบบที่มีการแก้ไขและรับมือกับตัวแปรอื่น ๆ ได้อย่างไร?

การถอดองค์ความรู้แบบเฉพาะเจาะจง (Capturing knowledge) เป็นสิ่งสำคัญหากต้องการเพิ่มความเร็วในการทำโปรเจกต์หรือเตรียมการปรับแต่ง โดยสามารถนำเข้าข้อมูลจากโครงการที่ผ่านมา เช่น ชนิดของอุปกรณ์เสริม การกำหนดค่า หรือรหัสเครื่อง NC ที่ใช้สำหรับผลิตภัณฑ์ที่คล้ายคลึงกัน สำหรับการเปลี่ยนแปลงการออกแบบ เนื่องจากทีมงานทั้งหมดทำงานอยู่บนแพลตฟอร์มดิจิทัลตัวเดียวกัน ข้อมูลจะถูกส่งต่อจากทีมงานออกแบบไปสู่ทีมงานการผลิตอย่างราบรื่น ซึ่งฝ่ายผลิตจะได้รับการแจ้งเตือน และสามารถอัปเดตตามโมเดลที่ได้รับการอัปเดตได้อย่างง่ายดาย ด้วยชุดแอปพลิเคชันที่ทำงานสอดประสานกันเพื่อกำหนดรูปแบบการใช้งานของเครื่องมือ จำลองการนำวัสดุออก และการเคลื่อนไหวของเครื่องจักร โดยเอสเอ็มอีไม่ต้องจัดการกับความซับซ้อนของการใช้เครื่องมือและรูปแบบข้อมูลที่หลากหลายเพื่อตรวจสอบความถูกต้องในการปฏิบัติงาน

ฝ่ายผลิตควรดำเนินการอย่างไรเพื่อลดความซับซ้อนในการใช้งานหุ่นยนต์ในกระบวนการผลิต?

ด้วยแพลตฟอร์มการทำงานร่วมกัน เอสเอ็มอีสามารถเขียนโปรแกรมและจำลองหุ่นยนต์เพื่อใช้งานได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ โดยสามารถเข้าถึงแคตตาล็อกหุ่นยนต์จำนวนมากหรือสามารถสร้างหุ่นยนต์ที่กำหนดค่าต่าง ๆ เองได้ โซลูชันการเขียนโปรแกรมหุ่นยนต์จะช่วยให้เอสเอ็มอีสามารถจำลองและตรวจสอบการทำงานของหุ่นยนต์ รวมทั้งดำเนินการตั้งโปรแกรมออฟไลน์ได้ ซึ่งความสามารถเหล่านี้ช่วยให้องค์กรสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหุ่นยนต์ได้

หากต้องการซื้อหุ่นยนต์และเครื่องจักรเพิ่มเติม จะสามารถประเมินผลตอบแทนจากการลงทุนล่วงหน้าได้อย่างไร?

เอสเอ็มอีสามารถใช้ประโยชน์จากสภาพแวดล้อมเสมือนจริงเพื่อจัดวางและจำลองสภาพแวดล้อมการผลิต แบบ 3 มิติ รวมทั้งเลือกแนวทางที่ดีที่สุดสำหรับใช้ในการผลิตได้ ซึ่งหมายความว่าไม่ต้องลงทุนอุปกรณ์ล่วงหน้าเพื่อให้ได้ผลลัพธ์อีกต่อไป สามารถสร้างแบบจำลองของพื้นที่โรงงาน รวมถึง Automated Guided Vehicles (AGV) ให้เหมาะสมกับขนาดการผลิต ทั้งแบบเดี่ยวหรือทั้งโรงงานได้ โดยการจำลองโลกเสมือนจริง (virtual twin simulation) จะช่วยให้ เอสเอ็มอีตั้งค่าได้เหมาะสมที่สุดจนถึงพิจารณารายละเอียดที่ซับซ้อนได้ นอกจากนี้ยังสามารถวางแผนได้ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต ลดรอบเวลา ระบุปัญหาคอขวด หรือเข้าใจการใช้ทรัพยากรได้ดีขึ้น พร้อม ๆ กับการปรับปรุงการทำงานของระบบหุ่นยนต์

จะปรับปรุงและจัดการกับการผลิตหน้างานให้ดียิ่งขึ้นได้อย่างไร?

เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในปัจจุบัน เอสเอ็มอีต้องปรับปรุงแนวทางการดำเนินงานใหม่ โดยโซลูชัน Manufacturing Operations Management (MOM) จะรวบรวมข้อมูลทั้งหมดลงในแท็บเล็ต ทำให้เอสเอ็มอีมองเห็นและบริหารจัดการหน้างานได้แบบเรียลไทม์ ด้วยระบบดังกล่าว เอสเอ็มอีจะทราบถึงข้อมูลสำคัญ ๆ อาทิ สถานะเครื่องจักร ความคืบหน้าใบสั่งงาน การใช้ทรัพยากร ตัวชี้วัด เช่น ประสิทธิภาพอุปกรณ์โดยรวม (OEE) และข้อมูลอื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับการตรวจสอบและการตัดสินใจ ด้วยข้อมูลแบบเรียลไทม์นี้ เอสเอ็มอีจะสามารถทำงานได้อย่างคล่องตัวและรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดและความต้องการลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

ปัญหาด้านคุณภาพหน้างานมักเกิดขึ้นเป็นประจำ จะสามารถปรับปรุงคุณภาพผลผลิตได้อย่างไร?

ความสามารถในการจัดการคุณภาพถูกรวมเข้ากับโซลูชัน MOM โดยเอสเอ็มอีสามารถตรวจสอบแดชบอร์ดสรุปข้อมูลโดยรวมของผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการทดสอบการใช้งาน เช่น ระบุว่าผลิตภัณฑ์ใดผ่านเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่ผ่าน ผู้ตรวจสอบคุณภาพสามารถเลือกผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง และทำการวัดผลบนระบบนี้โดยไม่ต้องใช้กระดาษ หากมีปัญหา ผู้จัดการฝ่ายประกันคุณภาพ (QA) สามารถสร้างรายงานสำหรับปัญหานั้นๆ เพื่อติดตามผล รวมทั้งศึกษารูปแบบ วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาได้จากรายงานดังกล่าว นอกจากนี้ยังสามารถจัดเรียงการแจ้งเตือนที่มีรหัสข้อบกพร่องตามระดับความสำคัญได้ เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ในเวลาที่เหมาะสมและเป็นระบบ

สำหรับการตรวจสอบด้วยสายตา รูปแบบการจำลองโลกเสมือนจริงสามารถช่วยให้การตรวจสอบข้อบกพร่องที่พบได้อย่างแม่นยำ ช่วยให้เอสเอ็มอีสามารถแก้ไขได้อย่างรวดเร็วและใช้บทวิเคราะห์เชิงลึกเพื่อพัฒนาและปรับปรุงต่อไป การควบคุมกระบวนการผลิตด้วยหลักสถิติ (SPC) ยังสามารถนำมาใช้เพื่อติดตามผลิตภัณฑ์และตรวจสอบคุณภาพในกระบวนการ ช่วยให้เอสเอ็มอีตรวจเช็คกระบวนการย้อนหลัง พร้อมตรวจสอบว่ากระบวนการเหล่านี้มีความเสถียรหรือไม่ และยังสามารถช่วยระบุปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการผลิต

หลักสำคัญอย่างนึงตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย “Thailand 4.0” คือความพยายามส่งเสริมการนำนวัตกรรมดิจิทัล ออโตเมชัน และเทคโนโลยีหุ่นยนต์ไปใช้ในภาคเอสเอ็มอี ประกอบกับรายงาน “ASEAN SME Transformation Study 2020” จัดทำโดย UOB, Accenture และ Dun & Bradstreet พบว่า เกือบสามในสี่ (71%) ของเอสเอ็มอีในประเทศไทยจัดอันดับให้การลงทุนด้านเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่มีความสำคัญสูงสุด ซึ่งสูงที่สุดในบรรดาประเทศอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ด้วยโซลูชั่นเหล่านี้ เอสเอ็มอีสามารถแปลงกระบวนการผลิตทั้งหมดของพวกเขาให้เป็นดิจิทัลตั้งแต่การออกแบบจนเข้าสู่ขั้นตอนการผลิต นำความเป็นเลิศด้านการผลิตไปสู่อีกระดับ ก้าวสู่การเป็นโรงงานแห่งอนาคต

เกี่ยวกับ Dassault Systèmes

Dassault Systèmes คือบริษัท 3DEXPERIENCE ที่นำเสนอโลกเสมือนจริงให้แก่ผู้คนและองค์กรธุรกิจ เพื่อรองรับ การสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างยั่งยืน ด้วยโซลูชั่นระดับชั้นนำของโลกที่ปรับปรุงแนวทางการออกแบบ ผลิต และ สนับสนุนผลิตภัณฑ์ต่างๆ โซลูชั่นการประสานงานร่วมกันของDassault Systèmes ช่วยส่งเสริมนวัตกรรมทางสังคม ขยายความเป็นไปได้สำหรับโลกเสมือนจริงเพื่อปรับปรุงโลกแห่งความเป็นจริง บริษัทฯ มอบคุณประโยชน์ให้แก่ ลูกค้าองค์กรทุกขนาดกว่า 220,000 รายในทุกกลุ่มอุตสาหกรรมในกว่า 140 ประเทศ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.3ds.com

3DEXPERIENCE, Compass, 3DS, CATIA, SOLIDWORKS, ENOVIA, DELMIA, SIMULIA, GEOVIA, EXALEAD, 3D VIA, BIOVIA, NETVIBES และ 3DEXCITE เป็นเครื่องหมายการค้า จดทะเบียนของ Dassault Systèmes หรือเป็นของบริษัทในเครือ ทั้งที่อยู่ในสหรัฐอเมริกา และ/หรือ ประเทศอื่นๆ


บทความประชาสัมพันธ์
โดย
นาย เหลียง ยิง ชุน
 หัวหน้าฝ่าย Manufacturing Technical, Asia Pacific South, Dassault Systèmes


 

Exit mobile version