Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ซิสโก้เผยโฉมคลัสเตอร์ Nexus HyperFabric AI โซลูชั่นโครงสร้างพื้นฐาน
ดาต้าเซ็นเตอร์ที่เรียบง่าย พร้อมเทคโนโลยีจาก NVIDIA สำหรับ Generative AI

ซิสโก้ (NASDAQ: CSCO) ผู้นำด้านเทคโนโลยีระบบรักษาความปลอดภัยและเครือข่าย ได้ประกาศเปิดตัวโซลูชั่นคลัสเตอร์ AI ที่ก้าวล้ำ พร้อมด้วยเทคโนโลยีจาก NVIDIA สำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ยุคใหม่ที่จะพลิกโฉมการสร้าง การจัดการ และการปรับแต่งโครงสร้างพื้นฐานและซอฟต์แวร์

ภายใต้วิสัยทัศน์ Cisco Networking Cloud ซึ่งมุ่งที่จะลดความซับซ้อนของเครือข่าย ซิสโก้ได้นำเสนอโซลูชั่นโครงสร้างพื้นฐานแบบครบวงจรที่พร้อมใช้งานในระดับองค์กร เพื่อรองรับเวิร์กโหลด Generative AI  โดยโซลูชั่นคลัสเตอร์ Cisco Nexus HyperFabric AI ผสานรวมเครือข่ายแบบ AI-native ของซิสโก้ เข้ากับระบบประมวลผลที่มีการเร่งความเร็วและซอฟต์แวร์ AI ของ NVIDIA และที่เก็บข้อมูล VAST ที่แข็งแกร่ง  โซลูชั่นดังกล่าวได้รับการออกแบบเป็นพิเศษเพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถโฟกัสไปที่การสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ขับเคลื่อนด้วย AI รวมถึงโอกาสใหม่ๆ ในการสร้างรายได้ โดยไม่ต้องวุ่นวายกับการจัดการระบบไอที

รายงานแนวโน้มด้านระบบเครือข่ายทั่วโลก (Global Networking Trends Report) ฉบับล่าสุดของซิสโก้ ระบุว่า ในช่วงสองปีข้างหน้า 60% ของผู้บริหารและบุคลากรด้านไอทีคาดว่าจะมีการปรับใช้ระบบเครือข่ายอัตโนมัติเชิงคาดการณ์ที่รองรับ AI ในทุกโดเมน เพื่อให้สามารถจัดการ NetOps ได้ดียิ่งขึ้น  นอกจากนี้ 75% มีแผนที่จะปรับใช้เครื่องมือที่รองรับการตรวจสอบแบบครบวงจรผ่านคอนโซลหนึ่งเดียว ครอบคลุมโดเมนเครือข่ายที่แตกต่างกัน เช่น เครือข่ายแคมปัสและสาขา, WAN, ดาต้าเซ็นเตอร์, อินเทอร์เน็ต, ระบบ คลาวด์สาธารณะ และเครือข่ายอุตสาหกรรม

โจนาธาน เดวิดสัน รองประธานบริหารและผู้จัดการทั่วไปของ Cisco Networking กล่าวว่า “ถึงแม้ว่าอนาคตของ AI จะมีความชัดเจน แต่หนทางข้างหน้าสำหรับหลายๆ องค์กรที่เพิ่งเริ่มต้นการปรับใช้เทคโนโลยีกลับไม่เป็นเช่นนั้น กล่าวคือ ลูกค้าส่วนใหญ่มักจะต้องเผชิญกับปัญหาท้าทายทางด้านการเงินและการดำเนินงานสำหรับการเริ่มต้นใช้งาน AI Stack  ซิสโก้มุ่งมั่นที่จะปรับปรุงการติดตั้งใช้งานและการจัดการโครงสร้างพื้นฐาน AI ให้สะดวกง่ายดายมากขึ้น โดยเราได้ร่วมมือกับ NVIDIA เพื่อนำเสนอโซลูชั่น AI Stack ที่ปรับใช้ได้อย่างง่ายดายและควบคุมผ่านระบบคลาวด์  โซลูชั่นที่ว่านี้สร้างขึ้นภายใต้วิสัยทัศน์แพลตฟอร์ม Cisco Networking Cloud ของเรา ซึ่งมุ่งเน้นการทำงานแบบอัตโนมัติและเรียบง่าย”

เควิน ไดเออร์ลิง รองประธานอาวุโสฝ่ายระบบเครือข่ายของ NVIDIA กล่าวว่า “Generative AI จำเป็นต้องใช้โครงสร้างพื้นฐานและซอฟต์แวร์ที่ออกแบบและสร้างขึ้นเพื่อการนี้โดยเฉพาะ เพื่อให้องค์กรต่างๆ สามารถเปลี่ยนข้อมูลที่มีอยู่ให้กลายเป็นเชื้อเพลิงสำหรับการพลิกโฉมธุรกิจได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ  NVIDIA และซิสโก้ร่วมมือกันเพื่อส่งมอบแพลตฟอร์ม AI และระบบควบคุมที่พร้อมใช้งานสำหรับองค์กร เพื่อเพิ่มความสะดวกในการติดตั้งใช้งานระบบประมวลผลแบบเร่งความเร็ว ระบบเครือข่าย และซอฟต์แวร์ที่จำเป็นสำหรับเวิร์กโหลด Generative AI”

ซิสโก้ได้ตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นในการช่วยให้ลูกค้าสามารถปรับใช้โครงสร้างพื้นฐาน AI ได้อย่างรวดเร็ว  นอกจากนี้ ซิสโก้ยังส่งมอบเครื่องมือที่เหมาะสมให้กับลูกค้าเพื่อสร้างเครือข่าย AI-native ที่ใช้งานง่าย สามารถคาดการณ์ความล้มเหลวในการทำงาน ตลอดจนวินิจฉัยและแก้ไขปัญหาได้อย่างฉับไว

วิธีการทำงานของ Cisco Nexus HyperFabric AI Cluster

โซลูชั่นนี้รองรับการออกแบบ ปรับใช้ ตรวจสอบ และรับรองพ็อด AI และเวิร์กโหลดของดาต้าเซ็นเตอร์อย่างครบวงจร โดยจะแนะนำผู้ใช้ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ ไปจนถึงการติดตั้งใช้งานที่ผ่านการตรวจสอบยืนยัน ไปจนถึงการตรวจสอบดูแลและรับรองโครงสร้างพื้นฐาน AI ที่พร้อมใช้งานระดับองค์กร  ด้วยความสามารถในการจัดการระบบคลาวด์ ลูกค้าจะสามารถติดตั้งและจัดการแฟบริคขนาดใหญ่ที่ครอบคลุมทั่วทั้งดาต้าเซ็นเตอร์ ระบบโคโลเคชั่น (Colocation) และไซต์ Edge ได้อย่างง่ายดาย

โซลูชั่นคลัสเตอร์ Cisco Nexus HyperFabric AI นำเสนอการทำงานแบบอัตโนมัติที่ควบคุมจัดการผ่านระบบคลาวด์ ครอบคลุมระบบประมวลผลและเครือข่ายแบบครบวงจรที่ผสานรวมความเชี่ยวชาญด้านสวิตช์อีเธอร์เน็ตของซิสโก้บน Cisco Silicon One โดยบูรณาการเข้ากับระบบประมวลผลแบบเร่งความเร็วของ NVIDIA และซอฟต์แวร์ NVIDIA AI Enterprise รวมไปถึงแพลตฟอร์มการจัดเก็บข้อมูลของ VAST  โซลูชั่นดังกล่าวประกอบด้วย:

  • ความสามารถในการจัดการระบบคลาวด์ของซิสโก้ ซึ่งจะช่วยลดความยุ่งยากซับซ้อนของการดำเนินงานด้านไอทีในทุกขั้นตอนของเวิร์กโฟลว์
  • สวิตช์ Cisco Nexus 6000 series สำหรับ Spine และ Leaf ซึ่งให้ประสิทธิภาพของแฟบริคอีเธอร์เน็ต 400G และ 800G
  • โมดูล QSFP-DD ในตระกูล Cisco Optics ซึ่งช่วยเพิ่มทางเลือกให้แก่ลูกค้าและให้ความหนาแน่นสูงมาก
  • ซอฟต์แวร์ NVIDIA AI Enterprise ซึ่งช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการพัฒนาและปรับใช้เวิร์กโหลด Generative AI ในระดับเทียบเท่าการใช้งานจริง
  • ไมโครเซอร์วิสการอนุมาน NVIDIA NIM ที่เพิ่มความรวดเร็วในการปรับใช้โมเดลพื้นฐาน พร้อมทั้งรับประกันความปลอดภัยของข้อมูล และสามารถใช้งานร่วมกับ NVIDIA AI Enterprise
  • NVIDIA Tensor Core GPU ที่เริ่มต้นด้วย NVIDIA H200 NVL ได้รับการออกแบบเป็นพิเศษเพื่อเพิ่มพลังให้กับเวิร์กโหลด Generative AI ด้วยสมรรถนะที่เหนือชั้นและความสามารถของหน่วยความจำที่เหนือกว่า
  • หน่วยประมวลผลข้อมูล NVIDIA BlueField-3 DPU และ BlueField-3 SuperNIC สำหรับการเร่งความเร็วของเวิร์กโหลดด้านเครือข่ายประมวลผล AI การเข้าถึงข้อมูล และการรักษาความปลอดภัย
  • ดีไซน์ต้นแบบระดับองค์กรสำหรับ AI ที่สร้างขึ้นบน NVIDIA MGX ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมเซิร์ฟเวอร์แบบแยกส่วนที่มีความยืดหยุ่นสูง
  • VAST Data Platform ซึ่งให้พื้นที่จัดเก็บข้อมูลแบบครบวงจร ฐานข้อมูล และเอนจิ้นฟังก์ชั่นที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลซึ่งสร้างขึ้นเป็นพิเศษสำหรับ AI

การวางจำหน่าย

ลูกค้าที่ผ่านการคัดเลือกอาจมีสิทธิ์ทดลองใช้โซลูชั่น AI นี้ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2567 และคาดว่าหลังจากนั้นไม่นานจะเริ่มต้นวางจำหน่าย

แนะนำทักษะด้าน AI สำหรับพาร์ทเนอร์และผู้เชี่ยวชาญด้านไอที
Cisco Learning and Certifications ได้เปิดตัวใบรับรองใหม่สำหรับความเชี่ยวชาญด้าน CCDE AI Infrastructure พร้อมหลักสูตรการฝึกอบรมที่เปิดสอนแล้วที่ Cisco U.  โดยหลักสูตรดังกล่าวจะช่วยให้วิศวกรเครือข่ายและวิศวกรออกแบบเครือข่ายระดับผู้เชี่ยวชาญได้รับทักษะความชำนาญในการแปลข้อกำหนดทางธุรกิจและเวิร์กโหลด AI ไปสู่แนวทางปฏิบัติทางเทคนิคที่ยั่งยืนสำหรับการออกแบบโครงสร้างพื้นฐาน  นอกจากนั้น ซิสโก้ยังได้เปิดตัวหลักสูตรแรกของการฝึกอบรมความเชี่ยวชาญพิเศษด้าน AI สำหรับพาร์ทเนอร์จาก Cisco Black Belt เส้นทางการเรียนรู้ดังกล่าวช่วยให้พาร์ทเนอร์ของซิสโก้มีความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นสำหรับการสร้างแนวทางปฏิบัติด้าน AI และเร่งการปรับใช้เทคโนโลยีให้กับลูกค้า

ความคิดเห็นสนับสนุน
“โซลูชั่นคลัสเตอร์ Nexus HyperFabric AI มีความแตกต่างเหนือคู่แข่ง โดยใช้ประโยชน์จากความแข็งแกร่งของกลุ่มผลิตภัณฑ์โดยรวมของซิสโก้ รูปแบบการสมัครสมาชิกที่มีการจัดการผ่านระบบคลาวด์ และความร่วมมือระหว่างซิสโก้และ NVIDIA รวมไปถึงแง่มุมอื่นๆ ซึ่งจะช่วยให้สามารถแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดในส่วนของโซลูชั่น Enterprise AI Datacenter Switching และ Software Ops”
– วีเจย์ ภควัท รองประธานฝ่ายวิจัยของ IDC

“โมเดล Generative AI จำเป็นต้องใช้การเข้าถึงข้อมูลจำนวนมหาศาลอย่างรวดเร็ว โดยอาศัยพลังประมวลผลที่เหนือชั้นและโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายประสิทธิภาพสูง  ด้วยโซลูชั่นคลัสเตอร์ Cisco Nexus HyperFabric AI เราจะสามารถช่วยให้องค์กรต่างๆ สร้างดาต้าเซ็นเตอร์ AI โดยใช้ระบบประมวลผลแบบเร่งความเร็วและซอฟต์แวร์ AI ของ NVIDIA รวมไปถึงระบบเครือข่ายของซิสโก้ และ VAST Data Platform ซึ่งจะรองรับการตรวจสอบระบบประมวลผล เครือข่าย สตอเรจ และการจัดการข้อมูลอย่างครบวงจร ซึ่งทั้งหมดนี้จะช่วยให้องค์กรสามารถสร้างและปรับขนาดการดำเนินงานด้าน AI ได้อย่างราบรื่น”
– เรเน็น ฮัลลัก ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้ง VAST Data

“โซลูชั่นการประมวลผลและเครือข่ายของซิสโก้มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนงานวิจัยและพัฒนาของ PTC รวมไปถึงประสิทธิภาพของดาต้าเซ็นเตอร์ การเชื่อมต่อ และซอฟต์แวร์ Servigistics ของเรา เพื่อส่งมอบความสามารถของซัพพลายเชนด้านบริการที่ขับเคลื่อนด้วย AI ให้แก่ลูกค้าของเราในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ช่วยให้ลูกค้าสามารถประมาณการ คาดการณ์ ปรับแต่ง และปรับปรุงประสิทธิภาพของซัพพลายเชนด้านบริการได้ดียิ่งขึ้น  โซลูชั่นโครงสร้างพื้นฐาน AI ใหม่ล่าสุดของซิสโก้ พร้อมเทคโนโลยีจาก NVIDIA ช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถให้แก่ PTC ในการปรับขนาดโครงสร้างพื้นฐานดาต้าเซ็นเตอร์ได้อย่างง่ายดายและมีประสิทธิภาพ ปรับปรุงการดำเนินงานและผลประกอบการ และช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน”
– ไมเคิล เบลค รองประธานฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศของ PTC

“อีเธอร์เน็ตครอบคลุมขอบเขตที่กว้างขวางที่สุดในฐานลูกค้าของเรา และความร่วมมือระหว่างซิสโก้และ NVIDIA รวมถึงโซลูชั่นที่เป็นผลงานการพัฒนาร่วมกัน จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถของเราในการส่งมอบโซลูชั่น AI ให้แก่ลูกค้า  เทคโนโลยีของทั้งซิสโก้และเ NVIDIA เป็นองค์ประกอบสำคัญในห้องปฏิบัติการ AI Proving Ground ของ WWT ซึ่งเป็นสถานที่ที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถเลือกและปรับใช้สถาปัตยกรรม AI เพื่อเปลี่ยนข้อมูลที่มีอยู่ให้กลายเป็นข้อมูลเชิงลึกและการดำเนินการได้รวดเร็วยิ่งขึ้น”
– นีล แอนเดอร์สัน รองประธานฝ่ายคลาวด์ โครงสร้างพื้นฐาน และโซลูชั่น AI ของ WWT

ข้อมูลเพิ่มเติม

เกี่ยวกับ ซิสโก้ (Cisco)

Cisco (NASDAQ: CSCO) เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีระดับโลกที่เชื่อมต่อทุกสิ่งอย่างปลอดภัยเพื่อให้ทุกสิ่งเป็นไปได้ เป้าหมายของซิสโก้คือขับเคลื่อนอนาคตสำหรับทุกคนโดยช่วยลูกค้าคิดใหม่ (reimagine) เกี่ยวกับแอปพลิเคชัน ขับเคลื่อนการทำงานแบบไฮบริด รักษาความปลอดภัยให้กับองค์กร ทรานส์ฟอร์มโครงสร้างพื้นฐาน และบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ซิสโก้เปิดตัวนวัตกรรมใหม่บนแพลตฟอร์ม Cisco Observability

กรุงเทพ, ประเทศไทย, 11 เมษายน 2567 — ซิสโก้ (NASDAQ: CSCO) เปิดตัวชุดโซลูชันใหม่ที่น่าตื่นเต้นบนแพลตฟอร์ม Cisco Observability ช่วยพัฒนาบริบททางธุรกิจ  เนื่องจากทุกวันนี้แอปพลิเคชันเปรียบเสมือนประตูทางเข้าสำหรับองค์กรธุรกิจ และการมอบประสบการณ์การใช้งานแอปพลิเคชันอย่างราบรื่นถือเป็นภารกิจสำคัญอันดับต้นๆ ของทีมงานฝ่ายไอที ดังนั้นซิสโก้จึงนำเสนอส่วนที่พัฒนาใหม่ๆ ที่จะช่วยให้ลูกค้าส่งมอบประสบการณ์แอปพลิเคชันที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพให้แก่ผู้ใช้

Digital Experience Monitoring (DEM) เพื่อ visibility ที่ดีขึ้น และข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้ใช้

ขณะที่ผู้ใช้งานมีความคาดหวังที่สูงมากอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนกับประสบการณ์การใช้งานแอปพลิเคชัน ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีจะสามารถใช้ประโยชน์จากความสามารถใหม่ๆ ของ Digital Experience Monitoring (DEM) ทั้งสภาพแวดล้อมแบบไฮบริดและคลาวด์  แอปพลิเคชัน DEM ใหม่ประกอบด้วยโมดูล Real User Monitoring (RUM) และ Session Replay เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันบนเบราว์เซอร์และมือถือ รวมถึงการแก้ไขปัญหาในระดับเซสชั่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ  นอกจากนี้ การบูรณาการเข้ากับ Cisco ThousandEyes และ Accedian ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของซิสโก้ จะช่วยเสริมพลังให้ทีมแอปพลิเคชันและเครือข่ายด้วยข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการให้บริการที่จำเป็นเพื่อระบุว่าสาเหตุหลักของปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อประสบการณ์ดิจิทัลนั้นมาจากแอปพลิเคชัน เครือข่าย หรือโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์

ความสามารถในกาาสังเกตการณ์เวิร์กโหลด Kubernetes ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี extended Berkeley Packet Filters (eBPF)

ซิสโก้นำเสนอความสามารถในการสังเกตการณ์เวิร์กโหลด Kubernetes บนแพลตฟอร์ม Cisco Observability โดยใช้ extended Berkeley Packet Filters (eBPF) ซึ่งเป็นยูทิลิตี้เคอร์เนล Linux ที่ทรงพลังและมีขนาดเล็ก  การทำงานในระดับเคอร์เนลช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถเข้าถึงการมองเห็นอย่างละเอียดเกี่ยวกับกิจกรรมเครือข่าย การใช้ทรัพยากร การเชื่อมโยงแอปพลิเคชั่น และการกำหนดค่าที่ไม่ถูกต้องที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของเครือข่าย โดยไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือหลายตัว รวมถึงการประสานงานร่วมกันระหว่างทีมงานต่างๆ และการทำแผนผังการเชื่อมโยงด้วยตนเอง

การสังเกตการณ์แบบรวมศูนย์เพื่อเพิ่มข้อมูลเชิงลึกที่มากขึ้นเกี่ยวกับแอปพลิเคชัน

ซิสโก้มอบประสบการณ์แบบครบวงจร ครอบคลุมกลุ่มผลิตภัณฑ์ด้านการสังเกตการณ์ทั้งหมด ด้วยความสามารถใหม่ๆ บน Cisco AppDynamics และ Cisco Observability Platform ด้วยการใช้บัญชีเดียวและบริบทที่ใช้ร่วมกัน ประสบการณ์การสังเกตการณ์แบบรวมศูนย์จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานใช้ประโยชน์จากฟีเจอร์ต่างๆ เช่น Log Analytics เพื่อค้นหาข้อมูลด้วย context และการจัดเก็บบันทึกที่ได้รับการปรับปรุงดีขึ้น  นอกจากนี้ ยังมี Core Web Vitals ซึ่งแสดงข้อมูลและสัญญาณเตือนที่สำคัญให้แก่เจ้าของแอปพลิเคชันส่วน front-end เพื่อป้องกันไม่ให้เว็บเพจของเขาถูกลดอันดับเนื่องจากประสบการณ์การใช้งานที่ไม่ดี

อินเทอร์เฟซภาษาธรรมชาติ ขับเคลื่อนด้วย Generative AI

ซิสโก้มุ่งมั่นที่จะขยายนวัตกรรมที่ขับเคลื่อนด้วย Generative AI อย่างต่อเนื่อง และล่าสุด Cisco Observability Platform นำเสนออินเทอร์เฟซภาษาธรรมชาติสำหรับการแก้ไขปัญหา โดยผู้ปฏิบัติงานจะสามารถใช้ conversational dialogues แทนภาษา query เพื่อทำงานระหว่างการแก้ไขปัญหา ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้อย่างมาก

โรนัค เดอไซ รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไปฝ่าย Cisco AppDynamics and Full-Stack Observability กล่าวว่า “นวัตกรรมล่าสุดเหล่านี้ช่วยเพิ่มขีดความสามารถหลักๆ ของ Cisco Observability Platform ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าของเรามี visibility ที่ดีขึ้น รวมถึงการกลั่นกรองข้อมูลเชิงลึก และการดำเนินการแบบข้ามโดเมนได้ดียิ่งขึ้นกว่าที่เคย ซิสโก้มีความพร้อมอย่างมากที่จะนำเสนอคุณประโยชน์ที่ครบครันของระบบสังเกตการณ์บนแพลตฟอร์มแบบรวมศูนย์ เพื่อสนับสนุนอีโคซิสเต็มดิจิทัลของลูกค้าเรา”

นอกจากนี้ ซิสโก้ยังได้เปิดตัว:

Cisco AIOps สำหรับ Cisco Full-Stack Observability ซึ่งให้ข้อมูลเชิงลึกที่นำไปปฏิบัติได้เพื่อปรับปรุงการดำเนินงานด้านไอที

แอปพลิเคชัน Cisco AIOps ใหม่นี้จะช่วยลดความยุ่งยากในการตรวจสอบสถานะทางธุรกิจแบบเรียลไทม์ และลดสัญญาณรบกวนจากเหตุการณ์และการแจ้งเตือนต่างๆ ได้อย่างมาก โดยทำให้กระบวนการด้านไอทีเป็นไปอย่างอัตโนมัติ และช่วยให้ทีมงานฝ่ายปฏิบัติการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความรวดเร็วในการตอบสนอง แอปพลิเคชันดังกล่าวรวบรวมข้อมูลจาก Cisco AppDynamics, Cisco ThousandEyes, Cisco DNA Center, VMWare, Zabbix และ ServiceNow (ITSM, ITOM และ CMDB) โดยสามารถทำงานได้อย่างเหนือชั้น เพราะประกอบสร้างขึ้นบน Cisco Observability Platform ซึ่งรองรับการจัดเก็บข้อมูลการใช้งาน (Log) นอกเหนือไปจากการแจ้งเตือน เหตุการณ์ และเมตริกต่างๆ  โดย Cisco AIOps ยังให้การแจ้งเตือนแบบไดนามิก (thresholds-based) เกี่ยวกับเมตริก และเหตุการณ์ รวมถึงวิธีการตรวจจับความผิดปกติหลายรูปแบบ 

Data Security Posture Management (DSPM) Observability

การเปิดตัว Data Security Posture Management (DSPM) Observability ในโซลูชั่น Business Risk Observability ของซิสโก้ ช่วยให้สามารถค้นหาข้อมูลแบบเรียลไทม์โดยอัตโนมัติ รวมไปถึงการจัดหมวดหมู่ การกำหนดนโยบาย และการปฏิบัติตามข้อกำหนดสำหรับข้อมูลสำคัญ นอกเหนือไปจากการแสดงผลและการจัดลำดับความสำคัญของช่องทางการโจมตี

โมดูลใหม่ๆ จากพาร์ทเนอร์

ด้วยแรงผลักดันอย่างต่อเนื่องในการสร้างอิโคซิสเต็มด้านการสังเกตการณ์ร่วมกับพาร์ทเนอร์จากทั่วโลก ที่ครอบคลุมหลากหลายส่วน เช่น AIOps, MLOps, เครือข่าย, infrastructure observability และข้อมูลเชิงลึกทางธุรกิจ ล่าสุดซิสโก้ได้เปิดตัวชุดโมดูลใหม่ๆ จากพาร์ทเนอร์บน Cisco Observability Platform:

  • Aporia – Machine Learning Monitoring
  • CloudFabrix – Asset Intelligence, Operational Intelligence และ Infrastructure Observability
  • Komodor – Kubernetes Change Management
  • Perform IT – AS400 Monitoring และ I4Cube business performance
  • SoftServe – Operational Intelligence for Oilfields

เกี่ยวกับ Cisco Observability Platform:

Cisco Observability Platform รวบรวมข้อมูลจากหลากหลายโดเมน รวมถึงเครือข่าย ระบบรักษาความปลอดภัย แอปพลิเคชัน ผู้ใช้งาน บริการคลาวด์ โครงสร้างพื้นฐานมัลติคลาวด์ และธุรกิจ เพื่อให้ระบบต่างๆ ผสานรวมเป็นหนึ่ง โดยใช้ประโยชน์จากความสามารถของ ML และ AI เพื่อกำหนดบริบทและหาความสัมพันธ์ของเทเลเมทรีแบบเรียลไทม์ในโดเมนเหล่านี้ ดังนั้นองค์กรต่างๆ จึงสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการสังเกตการณ์ การกลั่นกรองข้อมูลเชิงลึก และการดำเนินการ เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ดิจิทัลสำหรับลูกค้าและผู้ใช้งาน

การวางจำหน่าย:

  • แอปพลิเคชัน Digital Experience Monitoring (DEM) พร้อมความสามารถ Browser Real-User Monitoring (มีวางจำหน่ายทั่วไป), Mobile Real-User Monitoring (ประกาศล่วงหน้า) และ Session Replay (มีวางจำหน่ายทั่วไป)
  • Integration กับ Accedian ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของซิสโก้ (ประกาศล่วงหน้า)
  • Integration กับ Cisco ThousandEyes (ประกาศล่วงหน้า)
  • ความสามารถในการสังเกตการณ์สำหรับเวิร์กโหลด Kubernetes ซึ่งขับเคลื่อนด้วย eBPF (มีวางจำหน่ายทั่วไป)
  • Unified Observability Experience – Log Analytics (มีวางจำหน่ายทั่วไป) และ Core Web Vitals (ประกาศล่วงหน้า)
  • อินเทอร์เฟซภาษาธรรมชาติที่ขับเคลื่อนด้วย GenAI (มีวางจำหน่ายทั่วไป)
  • Cisco AIOps สำหรับ Cisco Full-Stack Observability (มีวางจำหน่ายทั่วไป)
  • Data Security Posture Management (DSPM) Observability (ประกาศล่วงหน้า)
  • โมดูลของพาร์ทเนอร์บน Cisco Observability Platform (มีวางจำหน่ายทั่วไป)

ข้อมูลเพิ่มเติม

 

เกี่ยวกับ ซิสโก้ (Cisco)

Cisco (NASDAQ: CSCO) เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีระดับโลกที่เชื่อมต่อทุกสิ่งอย่างปลอดภัยเพื่อให้ทุกสิ่งเป็นไปได้ เป้าหมายของซิสโก้คือขับเคลื่อนอนาคตสำหรับทุกคนโดยช่วยลูกค้าคิดใหม่ (reimagine) เกี่ยวกับแอปพลิเคชัน ขับเคลื่อนการทำงานแบบไฮบริด รักษาความปลอดภัยให้กับองค์กร ทรานส์ฟอร์มโครงสร้างพื้นฐาน และบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน เปิดประสบการณ์กับซิสโก้ที่ห้องข่าว The Newsroom และติดตามข่าวสารของซิสโก้บน X ที่ @Cisco.


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ผลการศึกษาของซิสโก้ชี้ มี “องค์กรเพียงไม่กี่แห่ง” ในไทยที่พร้อมรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่พัฒนาอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน

กรุงเทพฯ, 29 มีนาคม 2567 — มีองค์กรในไทยเพียง 9 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่มี ‘ความพร้อมเต็มที่’ (Mature) ในการรับมือกับความเสี่ยงด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ยุคใหม่ ตามที่ระบุไว้ในรายงานดัชนี “ความพร้อมด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ (Cybersecurity Readiness Index) ประจำปี 2567” ของซิสโก้

รายงานดัชนี “ความพร้อมด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ประจำปี 2567” ของซิสโก้ ได้รับการจัดทำขึ้นในยุคที่มีการเชื่อมต่อถึงกันอย่างหลากหลาย (hyperconnectivity) และสถานการณ์ภัยคุกคามมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว  ทุกวันนี้ บริษัทต่างๆ ยังคงตกเป็นเป้าหมายการโจมตีด้วยเทคนิคที่แตกต่างมากมาย ตั้งแต่ฟิชชิ่งและแรนซัมแวร์ ไปจนถึงการโจมตีจากซัพพลายเชนและโซเชียล เอนจิเนียริ่ง ถึงแม้ว่าองค์กรต่างๆ จะมีการติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยเพื่อป้องกันการโจมตีเหล่านี้ แต่ก็ยังคงประสบปัญหาในการป้องกันภัยคุกคามอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งมาตรการรักษาความปลอดภัยที่มีความซับซ้อนมากจนเกินไป เนื่องจากมีการติดตั้งโซลูชั่นเฉพาะจุดจำนวนมาก ก็ส่งผลให้องค์กรประสบความยากลำบาก

ปัญหาท้าทายเหล่านี้เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมการทำงานแบบกระจายในปัจจุบัน ซึ่งข้อมูลสามารถแพร่กระจายไปยังการให้บริการ อุปกรณ์ แอปพลิเคชั่น และผู้ใช้จำนวนมากอย่างไม่จำกัด  อย่างไรก็ตาม 89% ของบริษัทที่ตอบแบบสอบถามยังคงรู้สึกมั่นใจใน ‘ระดับปานกลางถึงระดับสูงมาก’ เกี่ยวกับความสามารถในการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ในปัจจุบัน  ความแตกต่างระหว่าง ‘ความเชื่อมั่น’ และ ‘ความพร้อม’ นี้ชี้ให้เห็นว่าบริษัทต่างๆ อาจมีความมั่นใจที่ผิดเกี่ยวกับความสามารถของตนเองในการรับมือกับภัยคุกคาม และอาจไม่สามารถประเมินความรุนแรงที่แท้จริงของปัญหาท้าทายกำลังเผชิญอยู่ได้อย่างถูกต้อง

รายงานดัชนี “ความพร้อมด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ประจำปี 2567” ของซิสโก้: บริษัทที่ ‘ไม่เตรียมพร้อมและมีความมั่นใจมากเกินไป’ ต้องเผชิญและรับมือกับภัยคุกคามที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

รายงานดัชนีนี้ประเมินความพร้อมของบริษัทใน 5 ด้านที่สำคัญ ได้แก่ ระบบอัจฉริยะด้านข้อมูลบุคคล, ความยืดหยุ่นของเครือข่าย, ความน่าเชื่อถือของแมชชีน, ความแข็งแกร่งของคลาวด์ และการเสริมกำลังด้วย AI  ซึ่งประกอบด้วยโซลูชั่นและฟีเจอร์ที่เกี่ยวข้อง 31 รายการ โดยอิงจากการสำรวจความคิดเห็นแบบปกปิดสองทาง (Double-Blind) ของผู้บริหารฝ่ายรักษาความปลอดภัยและฝ่ายธุรกิจขององค์กรเอกชนมากกว่า 8,000 คนใน 30 ประเทศทั่วโลก โดยการสำรวจความคิดเห็นครั้งนี้ดำเนินการโดยองค์กรอิสระ  ผู้ตอบแบบสอบถามถูกขอให้ระบุว่ามีโซลูชั่นและฟีเจอร์ใดบ้างที่พวกเขาได้ติดตั้งใช้งาน รวมถึงระดับของการใช้งาน จากนั้นบริษัทต่างๆ ถูกแบ่งกลุ่มตามระดับความพร้อม 4 ระดับ ได้แก่ ระดับ Beginner (ระดับเริ่มต้น), Formative (ระดับสร้างฐานความพร้อม), Progressive (ระดับก้าวหน้า) และ Mature (ระดับพร้อมเต็มที่)

จีทู พาเทล, รองประธานบริหารและผู้จัดการทั่วไปฝ่ายระบบรักษาความปลอดภัยและการทำงานร่วมกันของซิสโก้ กล่าวว่า “เราไม่ควรละเลยความเสี่ยงจากภัยคุกคามที่เกิดจากความมั่นใจเกินไปของเรา องค์กรในปัจจุบันจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการลงทุนในแพลตฟอร์มแบบครบวงจร และนำ AI มาใช้เพื่อการดำเนินการของแมชชีน ซึ่งท้ายที่สุดแล้วจะช่วยให้องค์กรมีความได้เปรียบในการป้องกันมากขึ้น”

ข้อมูลที่พบจากผลการศึกษา

โดยรวมแล้ว จากผลการศึกษาพบว่า บริษัทในไทยมีเพียง 9 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่พร้อมรับมือกับภัยคุกคามในปัจจุบัน โดยองค์กรมากกว่าครึ่งหนึ่ง (54%) มีความพร้อมในระดับเริ่มต้น หรือระดับสร้างฐานของความพร้อม ขณะที่บริษัทต่างๆ ทั่วโลก 3% มีระดับความพร้อมเต็มที่ นอกจากนั้น:

  • เหตุการณ์ทางไซเบอร์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต: 65% ของผู้ตอบแบบสอบถาม คาดการณ์ว่า เหตุการณ์ด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้จะทำให้ธุรกิจของพวกเขาหยุดชะงักใน 12 ถึง 24 เดือนข้างหน้า  การที่องค์กรขาดความพร้อมอาจส่งผลให้เกิดความเสียหายที่มีมูลค่าสูงมาก โดยผู้ตอบแบบสอบถาม 51% กล่าวว่าพวกเขาประสบกับเหตุการณ์ด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา และ 69% ขององค์กรที่ได้รับผลกระทบระบุว่าปัญหาที่เกิดขึ้นสร้างความเสียหายอย่างน้อย 300,000 ดอลลาร์
  • การติดตั้งโซลูชั่นเฉพาะจุดมากเกินไป: แนวทางแบบเดิมๆ ในการติดตั้งโซลูชั่นเฉพาะจุดจำนวนมากสำหรับการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ไม่ได้ให้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ โดย 92% ของผู้ตอบแบบสอบถามยอมรับว่าการมีโซลูชั่นเฉพาะจุดจำนวนมากส่งผลให้ทีมทำงานได้ช้าลงในการตรวจจับการโจมตี การตอบสนอง และการกู้คืนระบบ ซึ่งก่อให้เกิดความกังวลใจเป็นอย่างมาก โดย 75% ขององค์กรกล่าวว่าพวกเขาได้ติดตั้งโซลูชั่นด้านการรักษาความปลอดภัยแบบเฉพาะจุด 10 โซลูชั่นขึ้นไป ขณะที่ 35% มีอย่างน้อย 30 โซลูชั่น
  • อุปกรณ์ที่ ‘ไม่ปลอดภัย’ และ ‘ไม่มีการจัดการ’ สร้างความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น: 94% ของบริษัทกล่าวว่าพนักงานของตนเข้าถึงแพลตฟอร์มของบริษัทจากอุปกรณ์ที่ไม่มีการจัดการ และ 42% ของบริษัทเหล่านั้นใช้เวลาหนึ่งในห้า (20%) ในการล็อกออนเข้าสู่ระบบเครือข่ายของบริษัทจากอุปกรณ์ที่ไม่มีการจัดการ  นอกจากนี้ 26% รายงานว่าพนักงานมีการสลับไปมาระหว่างเครือข่ายต่างๆ อย่างน้อยหกเครือข่ายในหนึ่งสัปดาห์
  • การขาดแคลนบุคลากรทางไซเบอร์อย่างต่อเนื่อง: องค์กรต่างๆ ไม่สามารถพัฒนาด้านความปลอดภัยอย่างเต็มศักยภาพเนื่องจากขาดแคลนบุคลากรที่มีความสามารถ โดยบริษัท 91% เน้นย้ำว่าปัญหานี้นับเป็นเรื่องสำคัญ  และที่จริงแล้ว บริษัท 43% พบว่าพวกเขายังคงขาดแคลนบุคลากรในตำแหน่งงานที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์มากกว่า 10 อัตราในช่วงที่มีการสำรวจความคิดเห็น
  • การลงทุนด้านไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้นในอนาคต: บริษัทต่างๆ ตระหนักถึงปัญหาท้าทายดังกล่าว และกำลังดำเนินการเพื่อยกระดับการป้องกัน โดย 65% มีแผนที่จะอัปเกรดโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีครั้งใหญ่ใน 12 ถึง 24 เดือนข้างหน้า  ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดจาก 47% ที่วางแผนจะทำเช่นนั้นในปีที่แล้ว โดยองค์กรต่างๆ วางแผนที่จะอัปเกรดโซลูชั่นที่มีอยู่ (70%) ปรับใช้โซลูชั่นใหม่ (53%) และลงทุนในเทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนด้วย AI (61%)  นอกจากนี้ เกือบทั้งหมด (99%) ของบริษัทที่ตอบแบบสอบถามคาดว่าจะเพิ่มงบประมาณด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ใน 12 เดือนข้างหน้า และ 94% กล่าวว่างบประมาณของพวกเขาจะเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 10%

เพื่อเอาชนะปัญหาท้าทายเกี่ยวกับสถานการณ์ภัยคุกคามในปัจจุบัน บริษัทต่างๆ ต้องเร่งดำเนินการลงทุนที่สำคัญในระบบรักษาความปลอดภัย รวมถึงการใช้มาตรการรักษาความปลอดภัยที่เป็นนวัตกรรมใหม่, การปรับใช้แนวทางแพลตฟอร์มการรักษาความปลอดภัย, การเสริมความยืดหยุ่นของเครือข่าย, การใช้งาน Gen AI อย่างเหมาะสม และเพิ่มบุคลากรที่มีความสามารถเพื่อลดช่องว่างของทักษะด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้

วีระ อารีรัตนศักดิ์ กรรมการผู้จัดการ ซิสโก้ ประเทศไทย และเมียนมาร์ กล่าวว่า “สถานการณ์ภัยคุกคามในปัจจุบันมีความซับซ้อนมากขึ้น ขณะที่บริษัทต่างๆ ทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทย ยังไม่มีการเตรียมความพร้อมอย่างเพียงพอ รายงานดัชนีความพร้อมด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ล่าสุดของเราเปิดเผยว่า บริษัทในไทยเพียง 9% เท่านั้นที่มี ‘ความพร้อมอย่างเต็มที่’ ในการรับมือกับความเสี่ยงด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ยุคใหม่ ซึ่งลดลงจากปี 2566 ที่องค์กรมีความพร้อมอยู่ที่ 27%  องค์กรธุรกิจในไทยจึงจำเป็นที่จะต้องปรับใช้แนวทางแพลตฟอร์มแบบหลายทาง (multi-pronged platform approach) เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ตั้งแต่การลงทุนในมาตรการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ไปจนถึงการใช้ประโยชน์จาก Gen AI เพื่อปรับปรุงระบบรักษาความปลอดภัย ลดช่องว่างด้านบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ และวางรากฐานสำหรับการเตรียมความพร้อมในทุกๆ ส่วนทั่วทั้งองค์กร”

ข้อมูลเพิ่มเติม:

 

เกี่ยวกับ ซิสโก้ (Cisco)

Cisco (NASDAQ: CSCO) เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีระดับโลกที่เชื่อมต่อทุกสิ่งอย่างปลอดภัยเพื่อให้ทุกสิ่งเป็นไปได้ เป้าหมายของซิสโก้คือขับเคลื่อนอนาคตสำหรับทุกคนโดยช่วยลูกค้าคิดใหม่ (reimagine) เกี่ยวกับแอปพลิเคชัน ขับเคลื่อนการทำงานแบบไฮบริด รักษาความปลอดภัยให้กับองค์กร ทรานส์ฟอร์มโครงสร้างพื้นฐาน และบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน เปิดประสบการณ์กับซิสโก้ที่ห้องข่าว The Newsroom และติดตามข่าวสารของซิสโก้บน X ที่ @Cisco.


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

AI และนวัตกรรมใหม่เปิดบทธุรกิจไทยปี 2567

บทความโดย วีระ อารีรัตนศักดิ์ กรรมการผู้จัดการ ซิสโก้ ประเทศไทย และเมียนมาร์

เศรษฐกิจไทยในปี พ.ศ. 2567 คาดว่าจะฟื้นตัวจากแรงขับเคลื่อนของภาคท่องเที่ยวที่กลับมาคึกคักและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล[1] นอกจากนี้ ยังจะเป็นปีที่ AI และเทคโนโลยีใหม่ ๆ จะเปิดประตูให้กับธุรกิจไทยได้เติบโต

ในทศวรรษที่ผ่านมา มีการใช้งาน AI อย่างหลากหลายและเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม generative AI ก็ได้ทำให้ AI รุ่นใหม่ ๆ เป็นที่น่าจับตามอง บทความนี้จะสรุปเทรนด์ธุรกิจและเทคโนโลยีสำคัญที่จะเปิดบทใหม่ให้กับธุรกิจไทย ควบคู่ไปกับแนวทางการนำเทรนด์มาใช้:

1) AI กลายเป็นเทคโนโลยี “ที่ต้องมี”… แต่หลายองค์กรยังไม่สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

อุตสาหกรรม AI คาดว่าจะเติบโตจาก 95,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐเป็น 1.8 ล้านล้านภายในปี พ.ศ. 2573 โดยจะเป็นหนึ่งในตัวขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจโลกในทศวรรษหน้า แต่หลาย ๆ บริษัท ยังไม่พร้อมที่จะใช้ประโยชน์จากโอกาสนี้ได้อย่างเต็มที่[2] นอกจากนี้ผลสำรวจ AI Readiness Index จัดทำโดยซิสโก้ พบว่ามีเพียง 1 ใน 5 (20%) องค์กรในประเทศไทยเตรียมพร้อมอย่างเต็มที่ในการปรับใช้และใช้ประโยชน์จาก AI โดย 74% ยอมรับถึงความกังวลอย่างรุนแรงเกี่ยวกับผลกระทบต่อธุรกิจหากไม่ปรับตัวในอีก 12 เดือนข้างหน้า[3]

ข่าวดีก็คือ ธุรกิจในไทยมองเห็นความเร่งด่วนในการคว้าโอกาสจาก AI กันมากขึ้น ในช่วงครึ่งปีหลังที่ผ่านมา เกือบทั้งหมด (99%) ยอมรับว่าองค์กรมีความตื่นตัวต่อการใช้เทคโนโลยี AI และองค์กรมากถึง 97% มีกลยุทธ์ AI ที่แข็งแกร่งอยู่แล้วหรืออยู่ในกระบวนการพัฒนา อย่างไรก็ดี ยังพบช่องว่างสำคัญในเสาหลักต่างๆ ทั้งโครงสร้างพื้นฐาน ข้อมูล การกำกับดูแล บุคลากร และวัฒนธรรมองค์กร เช่น การทำให้แน่ใจว่าข้อมูลของพวกเขาพร้อมสำหรับ AI รวมถึงการสร้างบุคลากรด้าน AI ที่มีคุณภาพแผนการจัดการการเปลี่ยนแปลง ฯลฯ ในปี พ.ศ. 2567 บริษัทไทยจะต้องต่อสู้กับวิธีจัดการกับ AI ภายในองค์กร รวมถึงบุคลากรที่พร้อมใช้งานเทคโนโลยีนั้นด้วย

2. AI ที่มีความรับผิดชอบจะเริ่มด้วยการทำงานอย่างมีจริยธรรม สนับสนุนด้วยความไว้ใจ และความโปร่งใส

แม้ว่า AI จะมีประโยชน์มหาศาล แต่ยังคงเป็นดาบสองคมที่มาพร้อมความเสี่ยง องค์กรจำเป็นต้องมีนโยบายและโปรโตคอลที่รัดกุม  เพื่อการจัดการข้อมูลและระบบ AI อย่างมีความรับผิดชอบ ขณะที่องค์กรไทยตระหนักถึงความสำคัญของการใช้ AI อย่างมีจริยธรรม แต่ก็ยังมีอีกหลายส่วนที่ต้องปรับปรุง เช่น เรื่องความเป็นส่วนตัวของข้อมูลโดยผลสำรวจเผยว่า น้อยกว่าครึ่ง (43%) มีนโยบายและโปรโตคอล AI ที่ครอบคลุม และ 17% ขององค์กรยังมี bias โดยไม่มีกลไกอย่างเป็นระบบในการตรวจจับ data bias

เมื่อผลกระทบของ AI แพร่หลายมากขึ้น การกำกับดูแลยิ่งต้องพัฒนาต่อไป ทำให้บริษัทต่าง ๆ จำเป็นต้องพัฒนากฎระเบียบ ปรับใช้นโยบายภายในที่แก้ไขเรื่องความเป็นส่วนตัว ความปลอดภัยของข้อมูล และการใช้เทคโนโลยี AI รวมถึงการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่แข็งแกร่งโดยสามารถจัดการช่องโหว่ที่อาจเกิดขึ้นจากระบบ AI รวมถึงการฝึกอบรมและยกระดับทักษะบุคลากรอย่างต่อเนื่องเพื่อให้แน่ใจว่าพนักงานยังคงมีความสามารถในการรับมือกับความเสี่ยง บริษัทที่สร้างแอปพลิเคชัน AI จะต้องคำนึงถึงการรักษาความปลอดภัย ความเป็นส่วนตัว และสร้างความไว้วางใจโดยกระบวนการออกแบบนวัตกรรมที่ครบวงจรในผลิตภัณฑ์ บริการ และการดำเนินงานขององค์กร

3. ยุคใหม่ของโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายที่ใช้งานง่ายจะเกิดขึ้น เพื่อสร้างความปลอดภัยและความอัจฉริยะให้กับธุรกิจ

ในขณะที่บริษัทต่างๆ หันมาใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี AI เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจ โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลยิ่งมีความสำคัญอย่างคาดไม่ถึง การสร้างเครือข่ายอัจฉริยะที่ทันสมัยกลายเป็นหัวใจสำคัญในการเติบโตของบริษัท ความยืดหยุ่นและการบูรณาการเครือข่ายกับ AI หรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ อาจเป็นตัวแปรสำคัญที่กำหนดความสำเร็จ นอกจากนี้บริษัทต่าง ๆ จะตระหนักถึงความจำเป็นของแพลตฟอร์มความปลอดภัยแบบครบวงจรที่สามารถมองเห็นแบบ end-to-end โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อความท้าทายด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้มีความซับซ้อนขึ้นในยุคของแอปพลิเคชันและมัลติคลาวด์ และพนักงานทำงานจากสถานที่ต่าง ๆ ได้โดยใช้การเชื่อมต่อหลายรูปแบบ เข้าถึงข้อมูลข้ามแพลตฟอร์ม เครือข่ายจะมีบทบาทสำคัญในการให้ visibility ของผู้ใช้ อุปกรณ์ และเอนทิตีในระบบทั้งหมด ส่งผลให้สามารถเป็นจุดควบคุมเพียงจุดเดียวในการตรวจจับ ป้องกัน และแก้ไขภัยคุกคาม รวมถึงบังคับใช้กฎความปลอดภัยเพื่อจำกัดการแพร่กระจายของภัยคุกคามในเครือข่ายและลดเวลาการแยกภัยคุกคาม

4. ปี 2567 จะเป็นปีแห่งการต่อสู้กับวิกฤตการณ์โลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ

เนื่องจากปีที่ผ่านมาเป็นปีที่ร้อนที่สุดเท่าที่เคยมีมา เราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจำกัดอุณหภูมิโลกที่เพิ่มขึ้นไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส เพื่อหลีกเลี่ยงภัยพิบัติทางสภาพภูมิอากาศ เมื่อใกล้ถึงจุดเปลี่ยนสำคัญนี้ บทบาทของความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนจะยิ่งชัดเจนในการสร้างระบบวัดผลความก้าวหน้าที่แม่นยำและสม่ำเสมอ ทั้งภายในประเทศ ภายในกลุ่มอุตสาหกรรม และระดับโลก แรงกดดันต่อการเปิดเผยข้อมูลอย่างเป็นทางการจะยิ่งทวีความสำคัญ โดยหน่วยงานกำกับดูแลจะเข้ามามีบทบาทในการขับเคลื่อนแผนสู่ผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม บริษัทต่างๆ จะเผชิญแรงกดดันในการพัฒนาความยั่งยืน โดยเทคโนโลยีจะมีบทบาทสำคัญในการจัดหาข้อมูลเชิงลึกให้กับองค์กรเพื่อให้มีการวัดผลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างแม่นยำ รวมถึงการวางแผนสร้างอาคารและพื้นที่ทำงานอัจฉริยะ ผู้ให้บริการ ซึ่งต้องรับผิดชอบต่อเป้าหมายความยั่งยืนจะเร่งพัฒนาความยืดหยุ่นของโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับเวิร์กโหลดที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ลดการใช้พลังงานไปพร้อมกัน

5. บุคลากรและการเปิดกว้างต่อการเปลี่ยนแปลงจะเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น

บริษัทไทยที่กำลังมุ่งสู่ยุคดิจิทัล จำเป็นต้องพัฒนาบุคลากรให้ทันกับการเติบโต แม้ว่าอุตสาหกรรมเทคโนโลยีในไทยจะเฟื่องฟู แต่ยังคงขาดแคลนบุคลากรเทคโนโลยี ทักษะเฉพาะทางในด้านต่าง ๆ เช่น ไซเบอร์ซิเคียวริตี้ data science และเครือข่าย เป็นที่ต้องการอย่างมาก ซึ่งนับเป็นโอกาสให้บริษัทต่าง ๆ ผลักดันการพัฒนาบุคลากรเทคโนโลยีให้พร้อมก้าวสู่โลกอนาคต บริษัทต่าง ๆ ยังต้องสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ยึดมั่นในจุดมุ่งหมาย โดยส่งผลต่อความสามัคคีของทีมงานและความเชื่อมั่นต่อบริษัท โดยเฉพาะในช่วงที่ต้องเผชิญกับความท้าทายทางเศรษฐกิจ สิ่งนี้ยังช่วยให้พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลง ในขณะที่บริษัทเองก็ต้องปรับตัวเข้ากับโลกที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ซิสโก้เปิดตัวโซลูชันใหม่ ตรวจจับภัยคุกคามทางไซเบอร์ขั้นสูงอย่างรวดเร็วและตอบสนองอัตโนมัติ

กรุงเทพฯ – 26 เมษายน 2566 — ซิสโก้ (NASDAQ: CSCO) ผู้นำด้านระบบเครือข่ายและการรักษาความปลอดภัยระดับองค์กร เผยความคืบหน้าล่าสุดเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ของ Cisco Security Cloud ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มรักษาความปลอดภัยแบบ cross-domain ที่ขับเคลื่อนด้วย AI  โดยซิสโก้ได้เปิดตัวโซลูชันใหม่ XDR รวมถึงฟีเจอร์ขั้นสูงสำหรับ Duo MFA ที่จะช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถปกป้องความสมบูรณ์ของอีโคซิสเต็มส์ทางไอทีทั้งหมดได้ดียิ่งขึ้น

การตรวจจับภัยคุกคามและการตอบสนอง

กลยุทธ์ XDR ของซิสโก้ผสานรวมความเชี่ยวชาญที่ลึกล้ำ และความสามารถในการตรวจสอบทั่วทั้งเครือข่ายรวมถึงอุปกรณ์ปลายทางเข้าไว้ในโซลูชันครบวงจรแบบ risk-based เพียงหนึ่งเดียว ด้วยขณะนี้ Cisco XDR อยู่ในรุ่นเบต้า และมีแผนที่จะวางจำหน่ายทั่วไปในเดือนกรกฎาคม 2566 โดยโซลูชันนี้จะช่วยให้การตรวจสอบเหตุการณ์ง่ายขึ้น และช่วยให้ศูนย์ปฏิบัติการด้านความปลอดภัย (SOC) สามารถแก้ไขปัญหาภัยคุกคามได้ทันที  โซลูชันที่ทำงานบนระบบคลาวด์เป็นหลักนี้ใช้ระบบวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจัดลำดับความสำคัญในการตรวจจับ และเปลี่ยนย้ายจุดสนใจจากเดิมที่มุ่งเน้นการตรวจสอบอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ไปสู่การแก้ไขเหตุการณ์ที่มีความสำคัญสูงสุดโดยใช้ระบบอัตโนมัติที่มีหลักฐานสนับสนุน (evidence-backed automation)

จีทู พาเทล รองประธานบริหารและผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายระบบรักษาความปลอดภัยและการทำงานร่วมกันของซิสโก้ กล่าวว่า “สถานการณ์ด้านภัยคุกคามมีความซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง  การตรวจจับโดยไม่มีการตอบสนองถือเป็นมาตรการที่ไม่เพียงพอ ขณะที่การตอบสนองโดยปราศจากการตรวจจับเป็นสิ่งที่ไม่อาจทำได้  โซลูชัน Cisco XDR จะช่วยให้ทีมงานฝ่ายปฏิบัติการด้านความปลอดภัยสามารถตอบสนองและแก้ไขปัญหาภัยคุกคามได้อย่างทันท่วงที ก่อนที่จะลุกลามจนก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง  ซิสโก้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มั่นใจได้ว่าคุณจะได้รับการปกป้องคุ้มครองทุกการเชื่อมต่อ  ด้วยโซลูชันแบบครบวงจรที่ไม่เหมือนใครเพื่อช่วยลดความยุ่งยากซับซ้อนในการรักษาความปลอดภัยให้กับสภาพแวดล้อมไอทีแบบไฮบริดในปัจจุบันที่มีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่ลดทอนประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้”

ขณะที่เทคโนโลยี Security Information and Event Management (SIEM) แบบดั้งเดิมให้การจัดการข้อมูลที่เน้นไปที่การบันทึกข้อมูลและการวัดผลในเวลาหลายวัน Cisco XDR จะมุ่งเน้นไปที่ข้อมูลด้านการตรวจจับระยะไกลอัตโนมัติ (telemetry-centric) โดยให้ผลลัพธ์ในเวลาไม่กี่นาที เทคโนโลยีนี้สามารถวิเคราะห์และเชื่อมโยงแหล่งข้อมูล telemetry 6 แห่งที่ศูนย์ปฏิบัติการด้านความปลอดภัย (SOC) แจ้งว่าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับโซลูชัน XDR นั่นคือ อุปกรณ์ปลายทาง, เครือข่าย, ไฟร์วอลล์, อีเมล, การตรวจสอบตัวตน และชื่อโดเมน โดยเฉพาะอุปกรณ์ปลายทาง  Cisco XDR ใช้ประโยชน์จากอินไซต์ของอุปกรณ์ปลายทางกว่า 200 ล้านเครื่องด้วย Cisco Secure Client (ก่อนหน้านี้เรียกว่า AnyConnect) เพื่อสามารถมองเห็นการเชื่อมต่อได้อย่างชัดเจนในระดับ process-level ระหว่างอุปกรณ์ปลายทางและเครือข่าย

แฟรงค์ ดิ๊กสัน รองประธานกลุ่ม Security & Trust ของไอดีซี กล่าวว่า “คุณประโยชน์ที่แท้จริงของ XDR คือความสามารถในการส่งมอบผลลัพธ์ด้านความปลอดภัยที่เป็นรูปธรรม และสามารถวัดผลได้สำหรับองค์กร ไม่ว่าจะเป็นการตรวจจับภัยคุกคามได้อย่างทันท่วงที การจัดลำดับความสำคัญของผลกระทบ หรือการตอบสนองที่มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง  ผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมจะต้องสามารถวัดผลได้ในเชิงปริมาณในรูปแบบของตัวเลข ไม่ใช่แค่การอธิบายเชิงคุณภาพด้วยถ้อยคำที่กล่าวลอยๆ  โซลูชัน Cisco XDR นำเสนอเฟรมเวิร์กที่ชัดเจน ซึ่งจะช่วยให้องค์กรสามารถบรรลุผลลัพธ์ที่จับต้องได้อย่างแท้จริง”

นอกเหนือจากการตรวจจับระยะไกลแบบเนทีฟของซิสโก้แล้ว Cisco XDR ยังผสานรวมกับบริษัทชั้นนำ (third-party vendors) เพื่อแบ่งปัน telemetry เพิ่มความสามารถในการทำงานร่วมกัน และส่งมอบผลลัพธ์ที่สอดคล้องกันโดยไม่ขึ้นกับเวนเดอร์หรือเทคโนโลยี ในเบื้องต้นการผสานรวมแบบ out-of-the-box ที่พร้อมใช้งานทั่วไปประกอบด้วย:

  • การตรวจจับและตอบสนองบนอุปกรณ์ปลายทาง (EDR): CrowdStrike Falcon Insight XDR, Cybereason Endpoint Detection and Response, Microsoft Defender for Endpoint, Palo Alto Networks Cortex XDR, SentinelOne Singularity, Trend Vision One
  • การป้องกันภัยคุกคามทางอีเมลMicrosoft Defender for Office, Proofpoint Email Protection
  • Next-Generation Firewall (NGFW): Check Point Quantum, Palo Alto Networks Next-Generation Firewall
  • การตรวจจับและตอบสนองบนเครือข่าย (NDR): Darktrace DETECT™ and Darktrace RESPOND™, ExtraHop Reveal(x)
  • ข้อมูลความปลอดภัยและการจัดการเหตุการณ์ (SIEM): Microsoft Sentinel

แบรด ดาเวนพอร์ท, รองประธานฝ่ายสถาปัตยกรรมทางเทคนิคของ Logicalis กล่าวว่า “ตลอดการเดินทางของ Logicalis ในการเป็น Integrator ระดับโลกนั้น เราตระหนักถึงผลกระทบที่เป็นไปได้และประสิทธิภาพของทุกโซลูชัน ด้วยการเปิดตัว Cisco XDR เราสามารถทำให้ลูกค้าของเราได้รับ XDR outcomes ในรูปแบบของโซลูชันหรือการบริการจัดการที่เป็นความก้าวหน้าในอีกระดับของ security maturity journey ทาง Logicalis หวังเป็นอย่างยิ่งที่จะนำความเชี่ยวชาญของเราทำงานให้กับลูกค้า และให้ Cisco XDR ช่วยให้พวกเขาบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจ”

Zero Trust และการจัดการการเข้าถึง

เนื่องจากผู้โจมตีมุ่งเป้าไปที่ช่องว่างในการใช้งานระบบยืนยันตัวตนแบบ Multi-Factor Authentication – MFA ซิสโก้ได้กำหนดนิยามใหม่ให้กับสิ่งที่จำเป็นในการจัดการการเข้าถึง ทุกธุรกิจต้องการเสาหลักสามประการสำหรับกลยุทธ์การจัดการการเข้าถึงนั่นคือ: การบังคับใช้การพิสูจน์ตัวตนที่รัดกุม, การยืนยันอุปกรณ์ และลดจำนวนรหัสผ่านที่ใช้งาน ด้วยเหตุนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม ซิสโก้จึงเพิ่ม Trusted Endpoints ให้กับ Duo Editions แบบชำระเงินทั้งหมด ซึ่งก่อนหน้านี้มีเพียงระดับสูงสุดของ Duo เท่านั้น Trusted Endpoints อนุญาตให้เฉพาะอุปกรณ์ที่ลงทะเบียนหรืออุปกรณ์ที่มีการจัดการเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงทรัพยากรได้ ด้วยการส่งมอบ Trusted Endpoints ร่วมกับ Single Sign On, MFA, Passwordless และ Verified Push ในรุ่นเริ่มต้น Duo Essentials ทำให้ซิสโก้สามารถมอบโซลูชันการจัดการการเข้าถึงที่คุ้มค่า ปลอดภัยมากที่สุด และเป็นโซลูชัน access management ที่เป็นมิตรกับผู้ใช้

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ Cisco.com/go/security


Exit mobile version