Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

เดลล์ เทคโนโลยีส์ ขยาย Dell AI Factory ด้วย NVIDIA ช่วยให้ใช้งาน AI ได้เร็วราวกับติดเทอร์โบ

เดลล์ เทคโนโลยีส์ ขยายศักยภาพ Dell AI Factory ด้วย NVIDIA เสริมความล้ำหน้าทั้งในส่วนเซิร์ฟเวอร์ใหม่ เอดจ์ เวิร์กสเตชัน โซลูชันและบริการต่างๆ เพื่อช่วยให้นำนวัตกรรม รวมถึง AI ไปใช้งานได้อย่างรวดเร็ว

“องค์กรต่างๆ กำลังเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วเพื่อคว้าโอกาสจาก AI  จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้การร่วมมือกับ NVIDIA มีความสำคัญมาก” ไมเคิล เดลล์ ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ เดลล์ เทคโนโลยีส์ กล่าว “การขยาย Dell AI Factory ด้วย NVIDIA ยังคงเป็นภารกิจร่วมกันของเรา ซึ่งเรากำลังช่วยให้องค์กรต่างๆ นำ AI ไปใช้งานได้ง่าย เพื่อให้องค์กรเหล่านี้สามารถก้าวสู่การปฏิวัติทางเทคโนโลยีได้อย่างเต็มขั้น”

“Generative AI ต้องอาศัยโครงสร้างพื้นฐานการประมวลผลรูปแบบใหม่ เพื่อใช้เป็นโรงงาน AI ที่สร้างความฉลาด” เจนเซ่น หวง ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ NVIDIA กล่าว “NVIDIA และ Dell กำลังมอบบริการ Dell AI Factory ด้วย NVIDIA อย่างเต็มรูปแบบ ครอบคลุมทั้งเรื่องการประมวลผล เครือข่าย และซอฟต์แวร์ ที่ช่วยให้ใช้ copilots โปรแกรมช่วยเขียนโค้ด ระบบให้บริการลูกค้าผ่านออนไลน์ได้แบบเสมือนจริง (virtual customer service agents) รวมถึงระบบ digital twins ในอุตสาหกรรมสำหรับองค์กรดิจิทัล”

Dell AI Factory with NVIDIA เปลี่ยนข้อมูลธรรมดาให้เป็นข้อมูลเชิงลึกพร้อมมอบผลลัพธ์

Dell AI Factory with NVIDIA ผสานรวมสายผลิตภัณฑ์ด้าน AI ชั้นนำของเดลล์ เข้ากับซอฟต์แวร์ NVIDIA AI Enterprise ที่ใช้ GPU NVIDIA Tensor Core โครงสร้างการเชื่อมต่อเครือข่าย NVIDIA Spectrum-X Ethernet และ NVIDIA Bluefield DPUs ทั้งนี้ ลูกค้าสามารถซื้อความสามารถแบบผสมผสานที่ตรงต่อความต้องการ หรือโซลูชันในชุดสมบรูณ์เพื่อเริ่มใช้ AI สำหรับกรณีการใช้งานที่ต้องการเร่งประสิทธิภาพให้เร็วขึ้น เช่น RAG, การฝึกโมเดล (model training) และการอนุมาน หรือการทำinferencing  ความล้ำหน้าของ Dell AI Factory with NVIDIA ช่วยองค์กรในเรื่องต่อไปนี้

ใช้พลังการประมวลผลขั้นสูงเพื่อรองรับการใช้งาน AI ในสเกลใหญ่

  • เซิร์ฟเวอร์Dell PowerEdge XE9680L ใหม่ ให้ประสิทธิภาพสูงพร้อมรองรับ GPU สถาปัตยกรรม NVIDIA Blackwell 8 ด้วยตัวเครื่อง 4U ในขนาดที่เล็กลง โดยเป็นเซิร์ฟเวอร์ที่ให้ความหนาแน่นสูงสุดในการขยายแร็คสำหรับ GPU NVIDIA Blackwell ตามขนาดมาตรฐานอุตสาหกรรม ให้ความหนาแน่นของ GPU มากขึ้น 33% ต่อแร็ค โดยให้พื้นที่ในการขยายมากถึง 50% สำหรับ I/O และ throughput ที่เพิ่มขึ้น

การระบายความร้อนด้วยของเหลวโดยตรง (DLC) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวม ด้วยความสามารถในการระบายความร้อนมากขึ้นสำหรับ CPU และ GPU ซึ่งเซิร์ฟเวอร์ PowerEdge XE9680L ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้สามารถบำรุงรักษาได้ง่าย และพร้อมใช้งานได้อย่างเต็มรูปแบบ เพราะมีการตั้งค่าการใช้งานขั้นสูงมาจากโรงงานเพื่อรองรับการขยายแร็คและติดตั้งใช้งานในสถานที่ได้ทันที

นอกจากนี้ เดลล์ ยังเสนอโซลูชัน rack-scale แบบ turnkey ที่ให้ความหนาแน่นมากที่สุดและให้ประสิทธิภาพพลังงานมากที่สุดในอุตสาหกรรม ช่วยเร่งการใช้ GPU ขนาดใหญ่ได้อย่างรวดเร็ว ให้ทางเลือกการใช้งานได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะดีไซน์ที่ระบายความร้อนด้วยอากาศที่รองรับ GPU 64 ตัวในแร็คเดียว หรือรูปแบบที่ระบายความร้อนด้วยของเหลวที่มี GPU Blackwell NVIDIA 72 ตัวในแร็คเดียว

เร่งการนำแอปพลิเคชัน AI มาใช้ได้เร็วขึ้นด้วย Dell NativeEdge and NVIDIA

  • Dell NativeEdge เป็นเครื่องมือประสานการทำงานร่วมกับเอดจ์ตัวแรก ที่ช่วยให้ใช้ซอฟต์แวร์ NVIDIA AI Enterprise ได้แบบอัตโนมัติ ช่วยให้นักพัฒนาและผู้ดำเนินงาน IT สามารถใช้แอปพลิเคชัน AI และโซลูชันที่เอดจ์ได้อย่างง่ายดาย ช่วยให้บรรดาธุรกิจตั้งแต่ผู้ผลิตตลอดจนผู้ค้าปลีกสามารถวิเคราะห์ข้อมูลที่เอดจ์ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำด้วยการใช้ต้นแบบ Dell NativeEdge ใหม่ที่ครอบคลุมการวิเคราะห์วิดีโอ NVIDIA Metropolis  และความสามารถด้านการพูดและแปลของ NVIDIA Riva รวมถึงไมโครเซอร์วิส NVIDIA NIM inference

พัฒนาและใช้แอปพลิเคชัน AI ได้ง่ายขึ้นและเร็วขึ้น ได้รับคุณค่าเร็วขึ้น

  • โซลูชันDell Generative AI Solutions for Digital Assistants ใหม่ช่วยให้ใช้งานระบบผู้ช่วยดิจิทัลได้เร็วขึ้น โดยช่วยให้ผู้ใช้ได้ประสบการณ์ในการให้บริการที่ตรงความต้องการได้ด้วยตัวเอง ด้วยการใช้โซลูชันเต็มรูปแบบของ Dell และ NVIDIA โดย Implementation Services for Digital Assistants ซึ่งเป็นบริการติดตั้งเพื่อใช้งานผู้ช่วยดิจิทัล จะช่วยให้องค์กรออกแบบ วางแผน ทดสอบ และปรับขยายการใช้โซลูชันได้อย่างเหมาะสมได้ด้วยตัวเอง
  • โซลูชันDell AI Factory with NVIDIA ช่วยให้องค์กรสามารถสร้างสภาพแวดล้อม AI ได้อย่างรวดเร็วสำหรับกรณีการใช้งานที่หลากหลายด้วยการปรับใช้ระบบอัตโนมัติอย่างเต็มรูปแบบซึ่งเป็นการวางวิศวกรรมร่วมกับ NVIDIA โดยระบบอัตโนมัติเต็มรูปแบบจะช่วยลดเวลาลูกค้าได้สูงสุดถึง 86%  และเมื่อใช้ร่วมกับ NVIDIA Inferencing Microservices (NIMs) ก็จะช่วยลดเวลาโดยรวมไปได้อีกในการทำอนุมานเพื่อหาข้อสรุป หรือการทำ inferencing
  • บริการDell Accelerator Services ใหม่ สำหรับ RAG บนเวิร์กสเตชัน AI ช่วยลดระยะเวลาการพัฒนา AI และช่วยให้ใช้แอปพลิเคชัน AI ได้ผลดียิ่งขึ้น ด้วยโมเดลภาษาขนาดใหญ่ที่จำลองให้ตรงต่อความต้องการ ด้วยการใช้ RAG บนเวิร์กสเตชัน Dell Precision พร้อมด้วยชุดเครื่องมือ  เพื่อทำการสร้างต้นแบบเพื่อทดสอบความเป็นไปได้ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยได้อย่างรวดเร็ว

“การวิจัยของเราพบว่า หลายองค์กรต้องการให้ระบบไอทีใช้งานง่าย แต่ยังประสบปัญหาอยู่ ซึ่งแม้ว่า AI จะให้ความเรียบง่ายในการใช้งานได้ก็ตาม แต่ในตัวมันเองก็มีความซับซ้อนอยู่ เช่น ทางเลือก คุณภาพของข้อมูล ความเสถียร และความปลอดภัย การมีร้านค้าแบบ one-stop shop ที่ได้รับการยอมรับมาช่วยดูแลเรื่องระบบโครงสร้าง ซอฟต์แวร์ และการบริการ ต้องเข้าใจถึงคุณค่าของ AI ในการช่วยลดความเสี่ยงและลดค่าใช้จ่ายได้” เดฟ เวลลานเต้ หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์ theCUBE Research กล่าว “ความสามารถที่ครบวงจรของเดลล์ คือจุดที่สร้างความแตกต่างที่ทำให้เรามั่นใจในการเปลี่ยนไปใช้ AI  ซึ่ง Dell AI Factory with NVIDIA คือตัวอย่างชั้นเยี่ยมของโซลูชัน AI ที่ออกแบบมาเพื่อให้ใช้งานง่ายสำหรับเวิร์กโหลด AI ที่เกิดขึ้นใหม่” 

การวางจำหน่าย

  • เซิร์ฟเวอร์Dell PowerEdge XE9680L จะวางจำหน่ายในครึ่งหลังของปี 2024
  • แบบจำลองการใช้Dell NativeEdge สำหรับ NVIDIA จะพร้อมให้ใช้งานได้ทั่วโลกตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2024
  • Dell Generative AI Solutions for Digital Assistants และ Implementation Services for Digital Assistant พร้อมใช้งานในอเมริกาเหนือแล้วตอนนี้
  • ความสามารถในการใช้งานDell AI Factory with NVIDA แบบอัตโนมัติ จะให้บริการผ่าน Dell professional services ในช่วงครึ่งหลังของปี 2024 สำหรับ NVIDIA NIMs พร้อมให้บริการแล้วในปัจจุบัน
  • Dell Accelerator Services สำหรับ RAG บน Precision AI Workstations พร้อมให้บริการปลายเดือนพฤษภาคมเฉพาะบางประเทศในอเมริกาเหนือ ยุโรป ตะวันออกกลางและแอฟริกา รวมถึงเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น

เกี่ยวกับเดลล์ เทคโนโลยีส์

เดลล์ เทคโนโลยีส์ ช่วยให้องค์กรธุรกิจและปัจเจกบุคคลสามารถสร้างอนาคตทางดิจิทัล พร้อมทั้งช่วยในการปฏิรูปทั้งรูปแบบการทำงาน การดำเนินชีวิตและการพักผ่อน เดลล์ เทคโนโลยีส์ ให้การดูแลสนับสนุนลูกค้าด้วยสายผลิตผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีและการบริการที่กว้างที่สุดและมีความเป็นนวัตกรรมอย่างสูงสุดในยุคของข้อมูล


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

วิศวะ พีไอเอ็ม ขึ้นเวทีเด่น ด้านปัญญาประดิษฐ์ ร่วมแชร์วิชาการผลักดัน AI ประเทศไทย พร้อมรับรางวัลแห่งความภูมิใจ Super AI Engineer Season1

นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม) รับรางวัลเหรีญทองผู้มีความสามารถดีเด่นในโครงการ “สุดยอดวิศวกรปัญญาประดิษฐ์ (Super AI Engineer) ปี 2020” โครงการซึ่งเป็นศูนย์รวมนักพัฒนาปัญญาประดิษฐ์สายพันธ์ุใหม่ สำหรับผู้สนใจพิสูจน์ความสามารถของตัวเองเพื่อพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ จัดโดย สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (Artificial Intelligence Association of Thailand: AIAT) ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธรมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งได้รับเกียรติจาก ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) และ คุณอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานร่วมในพิธีพร้อมกันนี้ในช่วงบ่ายมีเวทีเสวนาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจาก ภาครัฐ ภาคการศึกษา ภาคงานวิจัย ในหัวข้อ“การผลักดันปัญญาประดิษฐ์ในประเทศไทย” โดย รศ.ดร. พิสิษฐ์ ชาญเกียรติก้อง คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี พีไอเอ็ม และ และ อุปนายก สมาคมสภาคณบดีคณะเทคโนโยลีสารสนเทศประเทศไทย ร่วมเป็นหนึ่งในวิทยากร แลกเปลี่ยนความรู้เพื่อยกระดับนวัตกรรม AI ให้ดียิ่งขึ้น ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้า สำนักงานปลัด อว.

โครงการพัฒนานวัตกร-วิศวกร-นักวิจัย-วิสาหกิจเริ่มต้น ด้านปัญญาประดิษฐ์” หรือ “สุดยอดวิศวกรปัญญาประดิษฐ์ (Super AI Engineer)” ดำเนินการเพื่อพัฒนาผู้ที่มีแรงบันดาลใจทำผลงาน AI หรือผู้ที่ต้องการ Upskill Reskill ในสาขาอาชีพ วิศวกร นวัตกร นักวิจัย Startup เข้าอบรมและ Workshop ตั้งแต่พื้นฐานจนถึงระดับสูงกับผู้เชี่ยวชาญในแวดวง AI โดยเฉพาะ พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ระหว่างเพื่อนสมาชิกหลากหลายอาชีพ โดยในปี 2020 ที่ผ่านมามีผู้พิสูจน์ความเป็นสุดยอดนักปัญญาประดิษฐ์ผ่านการประเมิน ได้แก่กลุ่มเหรียญทอง คน เหรียญเงิน 19 คน และเหรียญทองแดง 45 คน ซึ่งนายณัฐพร หงษ์เจริญ บัณฑิตสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ ปัจจุบันเป็นนักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม) ได้รับรางวัลในกลุ่มเหรียญทอง

นายณัฐพร กล่าวว่า “การที่ได้เข้าร่วมโครงการ Super AI Engineer ถือเป็นโอกาสดีในชีวิต ได้เรียนรู้อะไรหลายอย่างนอกเหนือจากในมหาวิทยาลัย เรียนรู้หลากหลายวิชาและได้รับความรู้ใหม่ ตลอดระยะเวลาที่เข้าร่วมโครงการ  อีกทั้งยังได้มีโอกาสเข้าฝึกงานในองค์กรและได้ทำหัวข้อที่ไม่เคยทำมาก่อน ส่วนตัวผมถนัดในด้าน Image แต่ได้ทำในด้าน NLP ซึ่งเป็นด้านที่เพิ่งเริ่มศึกษาจากในโครงการนี้ ทุกอย่างที่ได้รับมาจากการเรียนและการทำกิจกรรมต่างๆ ล้วนเป็นสิ่งที่ทำให้เราพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว

ทั้งนี้ภายในงานมีเสวนา “การผลักดันปัญญาประดิษฐ์ในประเทศไทย” ได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิจาก ภาครัฐ ภาคการศึกษา ภาคงานวิจัย ได้แก่ ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)รศ.ดร. ชิต เหล่าวัฒนา ที่ปรึกษาเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)รศ.ดร. พิสิษฐ์ ชาญเกียรติก้อง คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม)อุปนายก สมาคมสภาคณบดีคณะเทคโนโยลีสารสนเทศประเทศไทย และ ศ.ดร. ธนารักษ์ ธีระมั่นคง นายกสมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้ดำเนินรายการ โดยเนื้อหาการเสวนาพูดถึงความต้องการที่จะยกระดับนวัตกรรม ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ซึ่งถือเป็นศาสตร์ทางดิจิทัลที่ประเทศให้ความสำคัญและนำมาเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ชาติ โดยการอาศัยเครื่องมือดิจิทัลในการทำงาน อีกทั้งยังอยากผลักดันให้โครงการ Super AI Engineer เป็นแหล่งที่สามารถพัฒนาคนให้มีทักษะด้านปัญญาประดิษฐ์มากขึ้น

ทางด้าน รศ.ดร. พิสิษฐ์ ชาญเกียรติก้อง คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม) และอุปนายก สมาคมสภาคณบดีคณะเทคโนโยลีสารสนเทศประเทศไทย กล่าวว่า บทบาทการศึกษาสำหรับปัญญาประดิษฐ์ คือ การสร้างคน พัฒนาทักษะและองค์ความรู้แก่นักศึกษา พร้อมทั้งสนับสนุนทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาคนสู่ภาคธุรกิจอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการสร้างหลักสูตรที่ตรงความต้องการของภาคอุตสาหกรรม อาทิ AI Engineer, Robotics Engineer, Data science ให้เป็นไปตามเป้าหมายของประเทศที่จะสร้างบุคลากรและพัฒนาการศึกษาด้านปัญญาประดิษฐ์ภายใต้แผนแม่บทฯ ประมาณ 700,000 คนต่อปี ด้านพันธกิจของสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ มุ่งมั่นผลิตบัณฑิตดีมีคุณภาพ มีประสบการณ์ทำงานแบบมืออาชีพ ด้วยรูปแบบ Work-based Education นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ใช้ได้จริงกับภาคธุรกิจและสังคม เช่น เครื่องผลิตซาลาเปา เซเว่นอีเลฟเว่นโรบอท และหุ่นยนต์ทางการแพทย์ ในขณะเดียวกันการบริการวิชาการ มีการจัดอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวข้องเพื่อ Upskill, Reskill และ New-skill ส่งเสริมความรู้แก่ชุมชนและอุตสาหกรรม โดยเมื่อเร็วๆ นี้ได้ร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) สถาบันการศึกษา 12 สถาบัน และภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ จัดโครงการฝึกอบรมเพื่อชะลอการว่างงานภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ แก่บุคลากรให้ทำงานสอดคล้องกับอุตสาหกรรม 4.0 และเตรียมความพร้อมให้กับภาคอุตสาหกรรมยานยนต์หลังวิกฤต COVID-19”

โครงการ Super AI Engineer ถือว่าเป็นโอกาสนำไปสู่การสร้างชุมชนนักพัฒนาปัญญาประดิษฐ์อย่างแท้จริง และเป็นการเพิ่มศักยภาพของคนไทย ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี หรือศาสตร์อื่นๆ จะเห็นได้ว่าคนรุ่นใหม่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญหลายด้าน เหล่านี้จะเป็นเครื่องมือที่จะขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่จุดสูงสุดในระดับสากล และยกระดับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ของไทยให้ทัดเทียมกับต่างชาติได้

สำหรับโครงการดังกล่าวได้จัดขึ้นใน 2 รูปแบบ ทั้ง On site และ Online สามารถชมย้อนหลังได้ที่ Facebook; สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย

คลิก https://www.facebook.com/aiat2015/videos/150187127312735


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

‘ไอบีเอ็ม’ เปิดตัวเครื่องมือ AI ให้ข้อมูลอัจฉริยะเชิงลึกด้านสิ่งแวดล้อม ช่วยองค์กรตอบโจทย์ด้านความยั่งยืนและปัญหาสภาพภูมิอากาศ

วันนี้ ไอบีเอ็ม (NYSE:IBM) ได้ประกาศเปิดตัวชุดเครื่องมือที่ให้ข้อมูลอัจฉริยะเชิงลึกด้านสิ่งแวดล้อม ที่ใช้ความสามารพของ AI ในการช่วยให้องค์กรเตรียมพร้อมและตอบสนองต่อความเสี่ยงด้านอากาศและสภาพภูมิอากาศที่อาจดิสรัปท์ธุรกิจ พร้อมสามารถประเมินผลกระทบที่องค์กรสร้างขึ้นต่อโลกได้ง่ายขึ้น และลดความซับซ้อนในการปฏิบัติตามกฎข้อบังคับที่กำกับดูแลและการจัดทำรายงานที่เกี่ยวข้อง

วันนี้หลายบริษัทกำลังเผชิญกับความเสียหายต่อทรัพย์สินอันเป็นผลมาจากปัจจัยด้านสภาพภูมิอากาศ การหยุดชะงักของซัพพลายเชนและการปฏิบัติงาน รวมถึงความคาดหวังที่เพิ่มขึ้นจากทั้งผู้บริโภคและนักลงทุน ที่กดดันให้องค์กรต้องให้ความสำคัญกับประเด็นสิ่งแวดล้อม รายงาน “Global Risks Report 2021” โดย World Economic Forum ระบุว่าสภาพอากาศอันรุนแรง ความล้มเหลวจากการรับมือกับปัญหาสภาพภูมิอากาศ และความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์ คือความเสี่ยงสูงสุดสามอันดับแรกสำหรับธุรกิจในช่วง10 ปีข้างหน้า วันนี้ธุรกิจต้องการมุมมองเชิงลึกด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อจัดการกับความท้าทายเหล่านี้ แต่วิธีการที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนั้นมีความยุ่งยากและซับซ้อน เนื่องจากเป็นการทำงานแบบแมนวลที่ใช้คนจำนวนมาก ต้องอาศัยคนที่มีทักษะด้านสภาพอากาศและวิทยาศาสตร์ข้อมูล รวมถึงต้องใช้พลังประมวลผลจากคอมพิวเตอร์

เครื่องมือ IBM Environmental Intelligence Suite ที่ประกาศในวันนี้ จะช่วยให้องค์กรสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพและบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงกระบวนการดำเนินการที่รองรับอยู่ได้โดยอัตโนมัติ อาทิ การทำบัญชีและลดการใช้คาร์บอนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ชุดเครื่องมือดังกล่าวใช้ประโยชน์จากข้อมูลสภาพอากาศจากไอบีเอ็ม ซึ่งเป็นผู้ให้บริการพยากรณ์อากาศที่แม่นยำที่สุดในภาพรวม ร่วมกับข้อมูลการวิเคราะห์ภูมิสารสนเทศขั้นสูง และนวัตกรรมใหม่จากศูนย์วิจัยไอบีเอ็ม โดยนับเป็นครั้งแรกของการผสานศักยภาพของ AI ข้อมูลสภาพอากาศ ข้อมูลความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศเชิงลึก และความสามารถในการจัดทำบัญชีคาร์บอน เข้าด้วยกัน ช่วยให้องค์กรใช้ทรัพยากรในการบริหารจัดการข้อมูลที่ซับซ้อนเหล่านี้น้อยลง และมีเวลาในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเพื่อปรับปรุงการดำเนินการมากขึ้น

ชุดเครื่องมือ IBM Environmental Intelligence Suite มาพร้อมกับเลเยอร์ความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศที่ให้ข้อมูลและภาพอธิบายถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เช่น แนวโน้มการเกิดน้ำท่วม เป็นต้น

ชุดเครื่องมือ IBM Environmental Intelligence Suite เป็นโซลูชัน SaaS ที่ได้รับการออกแบบเพื่อช่วยให้องค์กรสามารถ
• มอนิเตอร์สภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลง เช่น สภาพอากาศที่รุนแรง ไฟป่า น้ำท่วม และคุณภาพอากาศ พร้อมส่งการแจ้งเตือนเมื่อมีการตรวจพบ
• คาดการณ์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อธุรกิจจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและสภาพภูมิอากาศ โดยใช้การวิเคราะห์ความเสี่ยงสภาพภูมิอากาศ
• ดึงข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการหยุดชะงักของการดำเนินงานที่อาจเกิดขึ้นได้ พร้อมจัดลำดับความสำคัญของเรื่องที่ต้องตอบสนอง
• วัดผลและจัดทำรายงานเกี่ยวกับตัวชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อมและการทำบัญชีคาร์บอน ซึ่งจะเป็นการลดภาระในการจัดทำรายงานสิ่งแวดล้อมของทีมจัดซื้อและทีมปฏิบัติการ

ชุดเครื่องมือดังกล่าวให้ข้อมูลเชิงลึกด้านสิ่งแวดล้อมผ่านทาง API แดชบอร์ด แผนที่ และการแจ้งเตือน ซึ่งจะช่วยให้บริษัทต่างๆ สามารถจัดการความท้าทายด้านการดำเนินงานได้ทันท่วงที พร้อมวางแผนและกลยุทธ์ในระยะยาวเพื่อรับมือ ตัวอย่างเช่น ผู้ค้าปลีกสามารถเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับการขนส่งสินค้าในจุดที่มีสภาพอากาศรุนแรงและประสบปัญหาเกี่ยวกับสินค้าคงคลัง หรือทราบถึงปัจจัยเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับจุดที่ตั้งคลังสินค้าในอนาคต สำหรับบริษัทด้านพลังงานและสาธารณูปโภค เครื่องมือนี้จะช่วยให้องค์กรสามารถกำหนดได้แม่นยำยิ่งขึ้นว่าควรตัดแต่งต้นไม้ที่อยู่บริเวณรอบสายไฟในจุดไหน หรืออุปกรณ์สำคัญชิ้นใดที่มีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบจากไฟป่าอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เครื่องมือดังกล่าวยังสามารถช่วยให้ซูเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ เห็นภาพมากขึ้นว่าระบบทำความเย็นกำลังมีส่วนทำให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในภาพรวมอย่างไร ช่วยให้องค์กรสามารถปรับปรุงในเรื่องดังกล่าวได้

ชุดเครื่องมือ IBM Environmental Intelligence Suite ช่วยให้องค์กรสามารถมอนิเตอร์และตอบสนองต่อความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศที่อาจส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงาน โดยผู้ใช้สามารถปรับแต่งค่าพารามิเตอร์ เกณฑ์ หรือการแจ้งเตือนพนักงาน ลูกค้า และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เมื่อมีแนวโน้มที่จะเกิดเหตุขึ้น พร้อมสามารถสเกลการใช้งานได้

“อนาคตของธุรกิจและสิ่งแวดล้อมมีความเชื่อมโยงกันอย่างลึกซึ้ง เพราะไม่เพียงบริษัทต่างๆ จะต้องรับมือกับผลกระทบจากสภาพอากาศที่รุนแรงที่อาจมีต่อการดำเนินงาน แต่ยังต้องสามารถอธิบายต่อผู้ถือหุ้นและหน่วยงานที่กำกับดูแลได้ว่าการดำเนินงานของตนส่งผลกระทบต่อโลกอย่างไร” นายคารีม ยูซุฟ กรรมการผู้จัดการ IBM AI Applications กล่าว “ไอบีเอ็มได้ผนึกพลังของ AI และ Hybrid Cloud เข้าด้วยกัน เพื่อให้มุมมองอัจฉริยะเชิงลึกด้านสิ่งแวดล้อมแก่ธุรกิจ ที่จะช่วยปรับปรุงการจัดทำรายงานด้านสิ่งแวดล้อม การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการเพื่อลดการใช้ทรัพยากร และการวางแผนเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและฟื้นตัวได้เร็ว โดยเฉพาะในยามที่ต้องเผชิญกับความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ”

วันนี้หลายบริษัททั่วโลกได้เริ่มใช้งานเทคโนโลยีสภาพอากาศและ AI ซึ่งเป็นเทคโนโลยีหลักใน IBM Environmental Intelligence Suite แล้ว อาทิ BP Bunge Bioenergia ซึ่งเป็นบริษัทด้านเอธานอล พลังไฟฟ้าชีวภาพ และน้ำตาล ของบราซิล ที่ได้ใช้ข้อมูลสิ่งแวดล้อมและการวิเคราะห์ภูมิศาสตร์สารสนเทศเชิงลึก เพื่อช่วยให้เข้าใจการผลิตอ้อยและเพิ่มความแม่นยำในการคาดการณ์ตลาดในแง่ที่เกี่ยวกับการผลิตน้ำตาลทั่วโลก นอกจากนี้ Cajamar ซึ่งเป็นผู้นำด้านธุรกิจการเกษตร ก็ได้นำข้อมูลดังกล่าวเข้าช่วยชาวไร่สเปนในการเพิ่มผลผลิตและลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ผ่านเครื่องมือดิจิทัล Plataforma Tierra

เครื่องมือ IBM Environmental Intelligence Suite ยังได้ใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมที่ขับเคลื่อนด้วย AI จากศูนย์วิจัยไอบีเอ็ม เพื่อช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพอากาศและข้อมูลสามารถวิเคราะห์ชุดข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมที่มีขนาดใหญ่ได้ง่ายขึ้น พร้อมด้วยแบบจำลองความเสี่ยงด้านสภาพอากาศแบบใหม่ที่ช่วยให้บริษัทต่างๆ คาดการณ์ความเสี่ยงเรื่องไฟป่าและน้ำท่วมที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ ชุดเครื่องมือดังกล่าวยังใช้เทคโนโลยีจากศูนย์วิจัยไอบีเอ็ม ที่ใช้ความสามารถของการประมวลผลภาษาธรรมชาติและออโตเมชัน เพื่อช่วยให้องค์กรสามารถคาดการณ์ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอน พร้อมระบุได้ว่าควรปฏิบัติอย่างไรเพื่อลดการปล่อยก๊าซในระหว่างการดำเนินงานและการทำงานร่วมกับซัพพลายเออร์ต่างๆ

ชุดเครื่องมือ IBM Environmental Intelligence Suite มาพร้อมกับเลเยอร์ความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศที่ให้ข้อมูลและภาพอธิบายถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เช่น แนวโน้มการเกิดไฟป่า เป็นต้น

องค์กรยังสามารถใช้เครื่องมือ Environmental Intelligence Suite ร่วมกับซอฟต์แวร์อื่นๆ ของไอบีเอ็ม เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้งานปฏิบัติการทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น IBM Maximo Application Suite เพื่อช่วยให้องค์กรปกป้องและเพิ่มอายุการใช้งานอุปกรณ์สำคัญๆ หรือ IBM Supply Chain Intelligence Suite เพื่อช่วยสร้างซัพพลายเชนที่ยั่งยืนและยืดหยุ่นฟื้นตัวได้ไวขึ้น

นอกจากนี้องค์กรยังสามารถได้รับประโยชน์จากความเชี่ยวชาญในมุมอุตสาหกรรมของ IBM Global Business Services เพื่อออกแบบ ติดตั้ง และเร่งเครื่องสู่การทรานส์ฟอร์มธุรกิจอย่างยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นกลยุทธ์ในการปรับรูปแบบการดำเนินงาน ซัพพลายเชน การบริหารจัดการการปล่อยมลพิษ หรือ ESG รวมถึงการจัดทำรายงานความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศโดยอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วย เพื่อให้องค์กรบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ IBM Environmental Intelligence Suite สามารถดูได้ที่ ibm.biz/environmental-intelligence และสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการนำนวัตกรรมของไอบีเอ็มเข้าช่วยสร้างอนาคตที่ยั่งยืนและยืดหยุ่นฟื้นตัวไวยิ่งขึ้นให้กับองค์กรต่างๆ สามารถดูได้ที่ ibm.com/sustainability


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

มจธ. จับมือ หัวเว่ย สร้างบุคลากร AI ป้อนตลาดแรงงานทักษะสูง พร้อมมอบอุปกรณ์ระบบคลาวด์เพื่อเสริมทัพการเรียนการสอน ภายใต้โครงการ Huawei ICT Academy

กรุงเทพฯ — เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2563 บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) เพื่อการพัฒนาและส่งเสริมทักษะความรู้ด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาและบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านไอซีทีในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเร่งป้อนแรงงานทักษะสูงเข้าตลาดแรงงาน ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีขั้นสูงมาขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในโลกยุคดิจิทัล โดยมี รศ. ดร. สุวิทย์ แซ่เตีย อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และ นายเจสัน เผิง รองประธานบริหาร กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้แทนในการลงนาม

บรรยายภาพ: รศ. ดร. สุวิทย์ แซ่เตีย อธิการบดี (กลางซ้าย) อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และ นายเจสัน เผิง (กลางขวา) รองประธานบริหาร กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ ว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรด้าน AI โดยมี ผศ. ดร. ประเสริฐ คันธมานนท์ (ที่ 2 จากซ้าย) รองอธิการบดีอาวุโสฝ่ายบริหาร, ผศ. ดร. มณฑิรา นพรัตน์ (ซ้ายสุด) รองอธิการบดีฝ่ายอุตสาหกรรมและภาคีความร่วมมือ, นายชูโกะ ลี (ที่ 2 จากขวา) ผู้อำนวยการกลุ่มธุรกิจคอมพิวเตอร์ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด และนายคมเดช เรืองเดชวรชัย (ขวาสุด) ผู้อำนวยการฝ่ายขายอุตสาหกรรมการศึกษา กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด พร้อมทั้งคณะผู้บริหารทั้งสองฝ่าย ร่วมเป็นสักขีพยานพิธีลงนาม

ภายใต้เอ็มโอยูดังกล่าว หัวเว่ยจะทำงานร่วมกับมจธ. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการเรียนการสอนด้าน AI ของนักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากรของมหาวิทยาลัย รวมถึงดำเนินโครงการวิจัยและพัฒนาร่วมกัน โดยมุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีอันล้ำสมัยอย่างปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในเชิงสร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ต่อสังคม ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรและสร้างรากฐานทักษะและองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีขั้นสูง เตรียมความพร้อมให้นักศึกษาสามารถนำทักษะที่ได้ฝึกฝนผ่านโครงการไปใช้ในการทำงานจริงในอนาคต ตอบสนองความต้องการแรงงานทักษะสูงในตลาดเกิดใหม่ เพื่อเร่งให้เกิดนวัตกรรมและส่งเสริมการใช้ AI อย่างแพร่หลายในประเทศไทย

นอกจากนี้ ภายหลังพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ นายเจสัน เผิง ยังได้ส่งมอบอุปกรณ์ระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง (Huawei Cloud Computing Lab Equipment) เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย ภายใต้โครงการ Huawei ICT Academy โดยมี รศ. ดร.สุวิทย์ แซ่เตีย ให้เกียรติเป็นผู้รับมอบอุปกรณ์ดังกล่าว


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

มช. ผุดนวัตกรรมหุ่นยนต์ห่อมะม่วง หนุนเกษตรกรรมยุคดิจิทัล ขับเคลื่อนด้วย AI

หากพูดถึงผลไม้ที่ขึ้นแท่นเป็นผลไม้เศรษฐกิจสำคัญของประเทศไทย หนึ่งในนั้นคือ มะม่วง ซึ่งได้รับความนิยมทั้งในและต่างประเทศ ส่งผลให้ในแต่ละปีสามารถสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศได้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะมะม่วงน้ำดอกไม้ที่มีขั้นตอนและวิธีการดูแลที่เป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนสายพันธุ์อื่น นั่นคือการห่อผลมะม่วงให้ได้ผลเป็นสีเหลืองทองและสวยงาม แต่ปัญหาของเกษตรกรที่พบคือ การห่อที่มีความคลาดเคลื่อน ทำให้ผลมะม่วงเกิดเชื้อราและมีแมลงเข้าไปทำลายเปลือกและเนื้อ ทำให้เกิดความไม่สวยงามของตัวผลมะม่วง ด้วยเหตุนี้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหานี้ จึงได้ทำการพัฒนาหุ่นยนต์ระบบ AI ในการช่วยห่อมะม่วงขึ้นมา เพื่อความแม่นยำ ลดการสูญเสียและเพิ่มความสะดวกให้แก่เกษตรกร

หุ่นยนต์ห่อมะม่วงระบบ AI เป็นการนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์โรโบติกส์เข้ามาใช้ในสวน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ยากต่อการทำงาน เพราะฉะนั้นหุ่นยนต์ต้องมีเรื่องของระบบการเซนเซอร์ที่เข้ามาเกี่ยวข้องในการรับรู้เรื่องสภาพแวดล้อมภายนอก รวมทั้งหุ่นยนต์ต้องหาผลมะม่วงได้ด้วยตัวเอง โดยหุ่นยนต์จะถูกควบคุมด้วยระบบ AI ผสานกับเทคโนโลยีการตรวจจับวัตถุเข้าด้วยกัน ซึ่งสามารถตรวจจับสีของมะม่วงได้ว่าตรงไหนเป็นสีเขียวหรือสีเหลือง มีการติดกล้องขนาดเล็กไว้ที่ตัวหุ่นยนต์ จากนั้นจะส่งข้อมูลไปที่โปรแกรมคอมพิวเตอร์ มีการวัดระยะความห่างของมะม่วงได้อย่างแม่นยำ ทำให้การห่อมะม่วงแต่ละครั้งเป็นไปตามหลักเกณฑ์การห่อที่ถูกต้อง เพียงแค่นำถุงคาร์บอนไปติดตั้งที่ปลายแขนของหุ่นยนต์ เครื่องก็จะใช้การตรวจจับของระบบ AI สั่งการได้ทันที

ในอนาคตสามารถที่จะนำหุ่นยนต์ไปทดลองกับผลไม้ชนิดอื่นๆ ได้ รวมถึงการพัฒนาให้หุ่นยนต์มีความสามารถในการช่วยตัดแต่งกิ่งที่มีขนาดเล็ก ไปจนถึงเรื่องของการเก็บข้อมูลทางสถิติว่าจำนวนผลมะม่วงที่เก็บได้ในแต่ละต้นแต่ละปีเป็นเท่าไหร่ สำหรับนวัตกรรมชิ้นนี้ถือว่ามีความแม่นยำที่สูงมากในการห่อมะม่วง ช่วยลดปัญหาการห่อของชาวสวน ทั้งในเรื่องการจ้างแรงงาน ซึ่งลักษณะแรงงานโดยทั่วไปต้องอยู่กลางแดด เผชิญกับความเหนื่อยล้า ความเร่งรีบในการห่อ และเรื่องของการห่อผิดขนาด จากนวัตกรรมหุ่นยนต์ห่อมะม่วงนี้ ถือเป็นความสำเร็จที่พัฒนาและต่อยอดมากจากการประกวดแข่งขันหุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติ สำหรับการเกษตรอัจฉริยะ โดยสมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทยและองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศจากการประกวดครั้งนี้และนำไปสู่การพัฒนางานวิจัยให้สามารถใช้งานได้จริง รวมถึงเพิ่มมูลค่าทางการผลิตให้กับเกษตรกรได้ในอนาคต

ด้วยศักยภาพและความเชี่ยวชาญของอาจารย์ นักวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมที่จะสนับสนุนเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตร อันจะเป็นตัวช่วยสำคัญในการกระตุ้นกลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของเกษตรกรไทย และเพื่อสนับสนุนนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ทั้งในแง่ของการยกระดับคุณภาพผลผลิตทางการเกษตร รวมถึงส่งเสริมอุตสาหกรรมการเกษตรให้มีความทันสมัย และสามารถแข่งขันได้ในระดับนานาชาติ


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

อัลทิมาไลฟ์ เดินหน้าพัฒนาเทคโนโลยี AI สุดอัจฉริยะ “ธิมา เลขาอัจฉริยะ

อัลทิมาไลฟ์ เดินหน้าพัฒนาเทคโนโลยี AI สุดอัจฉริยะ “ธิมา เลขาอัจฉริยะ” กระตุ้นธุรกิจการตลาดและการขายอย่างแท้จริง ผลิตโดยฝีมือคนไทย เพื่อให้สมาชิกชาวอัลทิมาไลฟ์ได้ใช้ระบบที่ทันสมัยที่สุดก่อนใคร

นายธานัท จารุฤทธิไกร ผู้บริหารฝ่ายการตลาดบริษัท อัลทิมาไลฟ์ จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทฯได้เดินหน้าพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆโดยใช้ระบบ AI สุดอัจฉริยะ “ธิมา เลขาอัจฉริยะ” โดยฝีมือคนไทย โดย “ธิมา” จะเป็นเทคโนโลยีทางการตลาดและการขายสินค้า สามารถทลายกำแพงทางด้านภาษาและทำให้การขายสินค้า สามารถเชื่อมต่อกันได้ใกล้ตัวมากยิ่งขึ้น โดยที่คุณไม่ต้องออกคำสั่ง แต่ “ธิมา” อัจฉริยะถึงขนาดที่ว่าเธอจะทักลูกค้าของคุณไปเอง ส่วนแนวความคิดในการประดิษฐ์ “ธิมา” ขึ้นมาเพราะต้องการนำธุรกิจให้กลายเป็นระดับ Global และขยายตลาดไปสู่ระดับโลก เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิตผู้คนทั่วโลกให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

“ธิมา” จะเป็นเสมือนเลขาอัจฉริยะประจำตัวที่ไม่เพียงแค่รายงานราคาทองคำ ราคาน้ำมันหรือแม้กระทั่งสีเสื้อมงคล แต่รวมไปถึงการติดตามสมาชิก หากคุณมีสายงานที่ต้องการติดตาม ซึ่งจุดนี้ทำให้การประสานงานต่าง ๆ ง่ายมากยิ่งขึ้นไม่ว่าสมาชิกจะอยู่ประเทศอะไร เป็นคนเชื้อชาติไหน โดยระบบนี้เปิดใช้บริการแล้วกับสมาชิกอัลติมาไลฟ์ เพื่อเป็นสื่อกลางในการเรียนรู้ ทั้งข้อมูลของบริษัทและข้อมูลสินค้า มากไปกว่านั้น “ธิมา” ยังสามารถคำนวนการสั่งสินค้าและบอกเตือนข้อมูลการรับประทานอาหารเสริมเพื่อสุขภาพได้อย่างถูกต้อง รวมไปถึงเตือนความจำวันสำคัญต่าง ๆ ในกลุ่มสมาชิกซึ่ง “ธิมา”เปรียบเสมือนเป็นเพื่อนที่สามารถพูดคุยในเรื่องราวต่าง ๆได้อย่างครบครัน

สำหรับระบบ AI หรือ Artificial Intelligence เป็นระบบคอมพิวเตอร์มีความสามารถคล้ายมนุษย์ หรือเลียนแบบพฤติกรรมมนุษย์ มีความฉลาดที่จะสามารถคิดและวิเคราะห์ รวมไปถึงการแยกแยะวิธีการจัดการในหลาย ๆ เรื่อง เปรียบเสมือนเลขาที่รู้เรื่องทุกอย่าง โดยมีฐานข้อมูลทุกอย่างบันทึกไว้ที่ AI และยังเป็นกลไกของกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความคิดมนุษย์ เช่น การตัดสินใจ การแก้ปัญหา การเรียนรู้ ที่ช่วยในการหาคำตอบ และเป็นระบบที่สามารถส่งต่อได้อย่างง่ายดาย ก้าวผ่านข้อจำกัดต่าง ๆ ในการทำธุรกิจ ประหยัดเวลาในการเรียนรู้ระบบ โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยขับเคลื่อน การทำงานภายใต้ธุรกิจเครือข่ายอัลทิมา ไลฟ์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นายธานัทกล่าวทิ้งท้ายว่า ในอนาคต“ธิมา” จะสามารถโต้ตอบได้อีกหลายภาษา เพื่อรองรับการขยายธุรกิจไปต่างประเทศ ทลายกำแพงภาษาและทำให้การทำธุรกิจง่ายและทรงประสิทธิภาพมากขึ้น


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

หัวเว่ยประกาศกลยุทธ์การประมวลผล พร้อมเปิดตัว Atlas 900 คลัสเตอร์การเทรน AI ที่รวดเร็วที่สุดของโลก

นครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน/ 18 กันยายน 2562 – หัวเว่ยประกาศกลยุทธ์รองรับตลาดคอมพิวติ้ง พร้อมเปิดตัว Atlas 900 คลัสเตอร์การเทรน AI ที่รวดเร็วที่สุดของโลก ในงาน Huawei Connect 2019 Atlas 900 ขุมพลังของการประมวลผล AI จะช่วยทำให้ AI มีความพร้อมยิ่งขึ้นสำหรับการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และการพัฒนาธุรกิจใหม่ ๆ ในหลากหลายสาขา


มร. เคน หู กล่าวถึงกลยุทธ์การรองรับตลาดคอมพิวติ้งของหัวเว่ย ระหว่างกล่าวปาฐกถา ในงาน Huawei Connect 2019

“ตลาดการประมวลผลในอนาคตจะเป็นตลาดที่ใหญ่มาก โดยจะมีมูลค่าสูงกว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ” มร. เคน หู รองประธานกรรมการของหัวเว่ย กล่าว “เราจะลงทุนอย่างต่อเนื่องด้วยกลยุทธ์ที่เน้นใน 4 ด้านหลัก เราจะขยายขอบเขตของสถาปัตยกรรมออกไปให้กว้างมากขึ้น ลงทุนในด้านโปรเซสเซอร์สำหรับการใช้งานในทุกรูปแบบ มุ่งมั่นกำหนดขอบเขตธุรกิจให้ชัดเจน และสร้างระบบอีโคซิสเต็มแบบเปิดกว้าง”

กลยุทธ์การประมวลผลของหัวเว่ย
แนวคิดในอุตสาหกรรมทางด้านคอมพิวติ้งนั้นกำลังพัฒนาจากโมเดลแบบมีกฎที่ตายตัว (Rule-based) มาเป็นแบบเชิงสถิติ ซึ่งเป็นรากฐานของแมชชีนเลิร์นนิ่ง หัวเว่ยคาดการณ์ว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า การประมวลผลเชิงสถิติจะกลายมาเป็นกระแสหลัก และการประมวลผลของ AI จะมีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 80 ของรูปแบบการประมวลผลที่ใช้กันทั่วโลก

เพื่อความสำเร็จในตลาดนี้ กลยุทธ์ของหัวเว่ยจะมุ่งเน้น 4 ด้านดังต่อไปนี้

นวัตกรรมด้านสถาปัตยกรรม

ในปีที่ผ่านมา หัวเว่ยได้เปิดตัวสถาปัตยกรรม Da Vinci ซึ่งเป็นโครงสร้างสถาปัตยกรรมโปรเซสเซอร์ใหม่ ที่ออกแบบมาให้เป็นทรัพยากรในการประมวลผลที่มั่นคงและกว้างขวาง แต่ให้บริการในราคาที่สมเหตุสมผล หัวเว่ยจะยังคงลงทุนด้านการวิจัยพื้นฐานนี้ต่อไป

การลงทุนในโปรเซสเซอร์ที่รองรับการใช้งานทุกรูปแบบ

หัวเว่ยมีโปรเซสเซอร์หลากหลายรูปแบบ เช่น Kunpeng (คุนเผิง) โปรเซสเซอร์สำหรับการประมวลผลอเนกประสงค์, Ascend (แอสเซนด์) โปรเซสเซอร์สำหรับ AI, Kirin (คิริน)โปรเซสเซอร์สำหรับสมาร์ทดีไวซ์ และ Honghu (หงหู) โปรเซสเซอร์สำหรับสมาร์ทสกรีน

ขอบเขตด้านธุรกิจที่ชัดเจน

หัวเว่ยจะไม่ขายโปรเซสเซอร์โดยตรง แต่จะส่งมอบให้แก่ลูกค้าในรูปแบบของบริการคลาวด์ และส่งให้บริษัทคู่ค้าในรูปแบบของชิ้นส่วนประกอบ เพราะเราให้ความสำคัญกับการสนับสนุนโซลูชั่นแบบผสานรวม

สร้างระบบอีโคซิสเต็มที่เปิดกว้าง

ในอีก 5 ปีข้างหน้า หัวเว่ยจะลงทุนงบประมาณอีก 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐในโครงการสร้างนักพัฒนา เพื่อขยายโครงการให้รองรับนักพัฒนาอีก 5 ล้านคน และทำให้บริษัทคู่ค้าของหัวเว่ยทั่วโลกสามารถพัฒนาแอปพลิเคชั่นและโซลูชั่นรุ่นใหม่ๆ สำหรับอนาคตข้างหน้า

Atlas 900 คลัสเตอร์การเทรน AI ที่รวดเร็วที่สุดของโลก

Atlas 900 พัฒนาขึ้นจากเทคนิคขั้นสูงซึ่งหัวเว่ยได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่องตลอดทศวรรษที่ผ่านมา พร้อมประสานพลังของโปรเซสเซอร์ Ascend หลายพันตัว โดย Atlas 900 จะใช้เวลาเพียง 59.8 วินาทีในการเทรน ResNet-50 ซึ่งเป็นมาตรฐานหลักในการวัดประสิทธิภาพการเทรน AI โดยสถิติใหม่นี้เร็วกว่าสถิติโลกเดิม 10 วินาที

Atlas 900 คือขุมพลังของการประมวลผล AI และจะนำโอกาสใหม่ๆ มาสู่การวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และการพัฒนาธุรกิจใหม่ต่าง ๆ อีกมากมาย ตั้งแต่ด้านดาราศาสตร์ การพยากรณ์อากาศ และการขับขี่อัตโนมัติ ไปจนถึงการสำรวจหาน้ำมัน หัวเว่ยยังได้ติดตั้ง Atlas 900 ไว้ในหัวเว่ย คลาวด์ อีกด้วย โดยเป็นบริการแบบคลัสเตอร์ ที่ทำให้ลูกค้าในอุตสาหกรรมต่างๆ สามารถเข้าถึงพลังในการประมวลผลแบบพิเศษนี้ได้กว้างขวางยิ่งขึ้น หัวเว่ยได้เสนอบริการต่าง ๆ เหล่านี้ในราคาพิเศษแก่มหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ทั่วโลก

มร. เกา เหวิน สมาชิกสภาวิศกรรรมแห่งชาติจีนและผู้อำนวยการสถาบันเผิงเฉิง ได้กล่าวปาฐกถาในงานนี้ด้วยเช่นกัน มร. เหวิน อธิบายถึงพันธกิจและวิสัยทัศน์ของสถาบันเผิงเฉิงและการทำงานร่วมกับหัวเว่ยเพื่อสร้างระบบที่รวมซุปเปอร์คอมพิวติ้งและปัญญาประดิษฐ์เครื่องแรกของประเทศจีน ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการทำงานของระบบประมวลผลระดับ Exascale ทั้งสองบริษัทจะร่วมกันสร้างแพลตฟอร์มรุ่นใหม่สำหรับงานวิจัยและนวัตกรรม AI พื้นฐาน

มร. เจิ้ง เย่ไหล ประธานบริหาร ของหัวเว่ยคลาวด์ กล่าวถึงการประยุกต์ใช้ AI ในสถานการณ์ต่าง ๆ เมื่อศึกษาจากประสบการณ์ของหัวเว่ยที่ทำโครงการมามากกว่า 500 โครงการ ในอุตสาหกรรมกว่า 10 สาขา มร. เจิ้ง ชี้ให้เห็นถึงอุตสาหกรรมปัญญาประดิษฐ์ที่กำลังเปลี่ยนจากการใช้งานเชิงพาณิชย์ในวงแคบสู่การเป็นขับเคลื่อนสำคัญเพื่อการปรับเปลี่ยนบริษัทสู่ยุคดิจิทัล

“นี่เป็นยุคใหม่ของการค้นคว้า” มร. เคน หู กล่าวสรุป “มหาสมุทรแห่งศักยภาพที่ไร้ขีดจำกัดกำลังรอเราอยู่ แต่เราจะข้ามไปไม่ได้หากเรามีเรือเพีย
ลำเดียว วันนี้เราขอส่งเรือหนึ่งพันลำออกจากฝั่ง ขอให้เราทำงานร่วมกัน คว้าโอกาสครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ และยกระดับความอัจฉริยะขึ้นไปอีกขั้น”

HUAWEI CONNECT 2019

เป็นงานแฟล็กชิปประจำปีซึ่งหัวเว่ยจัดขึ้นเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมไอซีทีระดับโลก โดยงานในปีนี้จัดขึ้นภายใต้ธีม “Advance Intelligence” ที่นครเซี่ยงไฮ้ ระหว่างวันที่ 18 – 20 กันยายน 2562 หัวเว่ยมุ่งหวังที่จะสร้างแพลตฟอร์มที่เปิดกว้างและทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมได้ สำหรับลูกค้าและพันธมิตรต่าง ๆ เพื่อสำรวจโอกาสใหม่ ๆ ให้โลกอัจฉริยะแห่งอนาคต


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

หัวเว่ยตั้งเป้าประสบความสำเร็จด้านเทคโนโลยี AI

กรุงเทพฯ ประเทศไทย/ 16 สิงหาคม 2562 – มร. เหริน เจิ้งเฟย ผู้ก่อตั้งบริษัทเทคโนโลยีสัญชาติจีน กล่าวว่า หัวเว่ยหวังที่จะพัฒนาไปไกลกว่า 5G และเล็งที่อุตสาหกรรมปัญญาประดิษฐ์ (AI)

มร. เหริน เจิ้งเฟย ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของหัวเว่ย กล่าวในระหว่างการประชุมภายในว่า “5G เป็นแค่เครื่องเคียง ส่วน AI เป็นอาหารจานหลัก และ AI จะอยู่ในแผนการพัฒนาเชิงกลยุทธ์หลักของหัวเว่ย”

 

ในเดือนสิงหาคมนี้ หัวเว่ยได้เปิดศูนย์วิจัยปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่จังหวัดซูโจว มณฑลเจียงซูในภาคตะวันออกของจีน ศูนย์วิจัยแห่งใหม่นี้จะมุ่งเน้นการทดสอบการนำ AI ไปใช้เพื่อสร้างสมาร์ทชิตี้และพัฒนาอุตสาหกรรมอัจฉริยะ

เครือข่าย 5G เป็นเครือข่ายที่มีแบนด์วิดท์สูง ค่าความหน่วงเวลาต่ำ (Low latency) และพร้อมรองรับงานวิจัยและพัฒนา AI มร. เหริน กล่าวโดยเปรียบเทียบว่า 5G เป็นดั่งไขควงและ AI ก็เป็นรถยนต์ แล้วกล่าวว่า “ไขควงนั้นมีไว้ใช้ประกอบรถยนต์ แต่มันก็ไม่ใช่รถยนต์”

ตอนนี้เราได้ก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของการพัฒนาเทคโนโลยี AI แล้ว ในอีก 10 ถึง 15 ปีข้างหน้า AI จะมีความฉลาดในระดับเท่า ๆ กับความฉลาดของมนุษย์ โดยเฉลี่ย และในอีก 2-3 ปี การใช้ AI จะมีความแพร่หลายมากขึ้น

มร. เหริน กล่าวว่า “การพัฒนา AI ต้องได้รับการสนับสนุนจากซุปเปอร์คอมพิวติ้ง ที่จัดเก็บข้อมูลความจุสูงพิเศษ และการเชื่อมต่อที่มีความเร็วระดับซุปเปอร์สปีด สหรัฐอเมริกาเองมีซุปเปอร์คอมพิวเตอร์และที่จัดเก็บข้อมูลความจุสูงแล้ว แต่ไม่มีการเชื่อมต่อระดับซุปเปอร์สปีด เพราะมีเครือข่ายไฟเบอร์ออปติกไม่เพียงพอ นี่เป็นสาเหตุให้สหรัฐฯ ยังล้าหลังในวงการอุตสาหกรรม AI”

มร. เหรินประกาศกับพนักงานหัวเว่ยว่า บริษัทมีความมั่นใจว่าจะฝ่าฟันและรอดพ้นการโจมตีจากรัฐบาลสหรัฐฯ ได้ “เราเจ็บปวดจากบาดแผล แต่เราต้องเข้าเส้นชัย” และกล่าวอีกว่า “เหล็กกล้าถูกหลอมขึ้นมาด้วยความร้อน และพนักงานของเราจะเป็นดั่งเหล็กกล้า เราต้องอดทนต่อแรงกดดันจากสหรัฐอเมริกา เราจะไม่เพียงอยู่รอด แต่เราต้องชนะ”

มร. เหริน ให้สัญญาว่า ในอีกห้าปีข้างหน้า หัวเว่ยจะสรรหาบุคลากรที่มีความสามารถมาเข้าร่วมทีมวิจัยและพัฒนาให้มากขึ้น โดยทีมดังกล่าวจะช่วยให้บริษัทบรรลุเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่กว่าเคย

ยกตัวอย่างเช่น หัวเว่ยให้เงินรางวัลมูลค่า 229,800 ดอลลาร์สหรัฐ แก่นักศึกษาระดับปริญญาตรี 3 คน ที่ชนะการแข่งขัน ASC Student Supercomputer Challenge ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา และยังให้ค่าจ้างรายปีมูลค่าถึง 2 ล้านหยวน หรือประมาณ 290,000 ดอลลาร์สหรัฐ แก่ผู้จบการศึกษาระดับปริญญาเอกและพนักงานผู้เชี่ยวชาญรวม 8 คน ทั้งจากประเทศจีนและต่างประเทศ

นอกจากการหาคนเก่งๆ มาร่วมทีมแล้ว หัวเว่ยยังจะเพิ่มเงินเดือนให้แก่ทีมนักวิทยาศาสตร์จำนวน ปัจจุบัน หัวเว่ยมีพนักงานเป็นนักคณิตศาสตร์มากกว่า 700 คน นักฟิสิกส์ 800 คน และนักเคมี 120 คน นอกจากนี้ยังมีทีมนักวิจัยมากประสบการณ์อีก 15,000 คนอีกด้วย

มร. เหริน ให้สัมภาษณ์ว่า “AI จะพัฒนาในวงกว้างมากขึ้น และเราต้องหานักคณิตศาสตร์ชั้นนำจำนวนมากขึ้นมาร่วมงานกับเรา”

เกี่ยวกับหัวเว่ย
หัวเว่ย ผู้นำด้านโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและสมาร์ทดีไวซ์ ด้วยโซลูชั่นที่ผสมผสานในสี่กลุ่มหลัก คือ เครือข่ายโทรคมนาคม, ไอที, สมาร์ทดีไวซ์ และบริการคลาวด์ บริษัทมีความมุ่งมั่นที่จะนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสู่การใช้งานทุกระดับเพื่อทุกผู้คน ทุกครัวเรือน และทุกองค์กร เพื่อขับเคลื่อนโลกอัจฉริยะที่เชื่อมโยงถึงกันอย่างเต็มรูปแบบ ผลิตภัณฑ์ โซลูชั่นและบริการที่ครบวงจรของหัวเว่ยเปี่ยมด้วยศักยภาพด้านการแข่งขันและเชื่อถือได้ จากการทำงานร่วมกับพันธมิตรในระบบนิเวศแบบเปิด หัวเว่ยสามารถสร้างมูลค่าระยะยาวให้กับลูกค้า เสริมสมรรถนะของผู้คน ช่วยให้การใช้ชีวิตที่บ้านมีความสะดวกสบาย และสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดนวัตกรรมในองค์กรทุกรูปแบบและทุกขนาด นวัตกรรมของหัวเว่ยเน้นตอบสนองตามความต้องการของลูกค้า เราทุ่มงบประมาณจำนวนมหาศาลในด้านการวิจัย เน้นค้นหานวัตกรรมด้านเทคนิคใหม่ ๆ ที่จะช่วยขับเคลื่อนโลกของเราให้ก้าวไปข้างหน้า เรามีพนักงานกว่า 180,000 คน ดำเนินธุรกิจในกว่า 170 ประเทศทั่วโลก หัวเว่ยก่อตั้งขึ้นในปี 2530 และเป็นบริษัทเอกชนที่มีพนักงานเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของหัวเว่ย ได้ที่ www.huawei.com


 

Exit mobile version