Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

พบเทคโนโลยีใหม่และไฮไลท์ของ Creative Cloud สำหรับทุกสายงาน จากงาน Adobe MAX รองรับการทำงานครีเอทีฟร่วมกัน ขับเคลื่อนนวัตกรรม เสริมศักยภาพให้กับครีเอทีฟและครีเอเตอร์

เทคโนโลยีใหม่ ความท้าทาย และโอกาสใหม่ๆ ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อวิธีการสร้างสรรค์ผลงานของทุกคน

ปัจจุบัน งานครีเอทีฟมีความสำคัญต่อธุรกิจทุกขนาดไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการทำงานร่วมกันเพื่อสร้างสรรค์ผลงานอย่างมีประสิทธิภาพ และไร้ขีดจำกัด

ทีมงานฝ่ายครีเอทีฟในทุกๆ องค์กรพยายามมองหาทางที่จะเพิ่มความสะดวกในการทำงานร่วมกันและกระตุ้นการมีส่วนร่วมของหลายๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ขณะเดียวกันก็มองหาหนทางใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นในการถ่ายทอดวิสัยทัศน์ให้ออกมาเป็นชิ้นงาน โดยครอบคลุมรูปแบบและช่องทางที่หลากหลายมากขึ้นในการทำงาน รวมถึงการแสดงตัวตนและความรู้สึกนึกคิดอย่างสร้างสรรค์ เพื่อสร้างความโดดเด่น และส่งเสริมความก้าวหน้าในอาชีพ งานครีเอทีฟจึงมีบทบาทสำคัญมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน

เพื่อตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ที่งาน Adobe MAX ปีนี้ เราจึงได้เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ๆ และนวัตกรรมต่างๆ ใน Creative Cloud ซึ่งจะช่วยให้ครีเอเตอร์สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงเครื่องมือใหม่ๆ และวิธีการแปลกใหม่ในการพัฒนาต่อยอดงานครีเอทีฟ พบกับเทคโนโลยีไฮไลท์ที่เราเปิดตัวในงานนี้:

Photoshop และ Illustrator ขยายไปสู่เว็บแล้ว

เราได้ขยายสองผลิตภัณฑ์ด้านงานครีเอทีฟในตำนาน นั่นคือ Photoshop และ Illustrator ไปสู่เว็บ เพื่อให้คุณสามารถเข้าถึงโปรเจ็กต์ได้จากทุกที่ เพียงแค่ใช้ URL คุณก็สามารถเชิญให้ใครก็ตามเข้ามาดูและแสดงความเห็นบนไฟล์ Photoshop หรือ Illustrator ของคุณ โดยที่คนรีวิวไม่จำเป็นต้องดาวน์โหลดซอฟต์แวร์หรือสมัครใช้บริการ Creative Cloud แต่อย่างใด นอกจากนี้ สมาชิก Creative Cloud ยังสามารถทำการแก้ไขเล็กๆ น้อยๆ กับไฟล์ Photoshop หรือ Illustrator ภายในเบราว์เซอร์โดยตรง แผนการขยาย Creative Cloud ไปสู่เว็บเริ่มต้นแล้วด้วย Photoshop on the Web รุ่น Public Beta  ส่วน Illustrator on the Web เริ่มเปิดให้ทดลองใช้งานในรุ่น Private Beta

Creative Cloud Spaces และ Canvas เพิ่มศักยภาพการทำงานครีเอทีฟร่วมกัน

เนื่องจากทีมครีเอทีฟแยกกันอยู่ในหลายประเทศทั่วโลก อีกทั้งยังมีหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพิ่มมากขึ้น ทีมงานครีเอทีฟจึงต้องการวิธีการทำงานร่วมกันและสอดคล้องกันที่ดีกว่า  ด้วยเหตุนี้ เราจึงตอบโจทย์ความต้องการด้วย Creative Cloud Spaces และ Canvas  ทั้งนี้ Spaces เป็นที่เก็บข้อมูลที่ใช้ร่วมกัน ซึ่งทุกคนในทีมงานจะสามารถเข้าถึงและจัดระเบียบไฟล์ ไลบรารี และลิงค์ต่างๆ เพื่อให้คุณสามารถจัดการการเข้าถึงและประสานงานจากส่วนกลางได้อย่างง่ายดายยิ่งขึ้น ส่วน Canvas เป็นวิธีใหม่ในการแสดงผลสำหรับงานครีเอทีฟทั้งหมดภายในโปรเจ็กต์ เพื่อทำการตรวจสอบร่วมกับเพื่อนร่วมงาน และสำรวจไอเดียใหม่ๆ ร่วมกัน โดยทั้งหมดนี้เป็นรูปแบบเรียลไทม์และอยู่ในเบราว์เซอร์  Creative Cloud Spaces และ Canvas เปิดให้ทดลองใช้งานในรุ่น Private Beta และจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในปีหน้า

Frame.io และอนาคตของการทำงานวิดีโอร่วมกัน

เรารู้สึกยินดีที่ทีมงานของ Frame.io เข้าร่วมกับอะโดบี แพลตฟอร์มคลาวด์เนทีฟของ Frame.io เป็นแพลตฟอร์มที่ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพในการรวบรวมคำติชมจากทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการผลิตวิดีโอ ตั้งแต่ผู้กำกับ ไปจนถึงผู้กำกับบท และฝ่ายที่มีหน้าที่อนุมัติโปรเจ็กต์ขั้นสุดท้าย การผสานรวมแพลตฟอร์มของ Frame.io เข้ากับ Creative Cloud นับเป็นการเปิดหนทางใหม่ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมในงานวิดีโอ ซึ่งเรารู้สึกตื่นเต้นกับการค้นพบแนวทางใหม่นี้ ทั้งภายในผลิตภัณฑ์ของเราเอง และในเครื่องมือตัดต่อวิดีโออื่นๆ นอกเหนือไปจากเครื่องมือของอะโดบี

ปลดปล่อยศักยภาพด้านการสร้างสรรค์ด้วยนวัตกรรมใหม่

Photoshop: เปี่ยมด้วยประสิทธิภาพและลูกเล่นมากมายอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน

เราเพิ่มความสะดวกในการกำหนดพื้นที่มาสก์ใน Photoshop เพียงแค่วางเมาส์ไว้เหนือวัตถุ และฟีเจอร์ Hover Auto-Masking (ซึ่งขับเคลื่อนด้วย Adobe Sensei  AI engine ของเรา) จะทำการมาสก์วัตถุดังกล่าวโดยอัตโนมัติ  ส่วนฟีเจอร์ Mask All Objects จะเลือกวัตถุหรือบุคคลในภาพโดยอัตโนมัติ  นอกจากนี้ เราได้ขยายและปรับแต่ง Neural Filters ซึ่งเป็นฟีเจอร์ที่ขับเคลื่อนด้วย Sensei สำหรับการแก้ไขภาพที่ซับซ้อน เช่น การเปลี่ยนแปลงการแสดงสีหน้า หรือการย้อมสีให้กับภาพขาว-ดำ โดยคุณสามารถใช้ลูกเล่นต่างๆ เหล่านี้ได้อย่างง่ายดายด้วยการคลิกเพียงไม่กี่ครั้ง  นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์ใหม่ Landscape Mixer ซึ่งช่วยให้คุณสามารถเปลี่ยนภาพทิวทัศน์จากฤดูร้อนเป็นฤดูหนาว หรือเปลี่ยนจากทุ่งหญ้าให้กลายเป็นทะเลทราย

Illustrator: ฟีเจอร์ใหม่สำหรับทุกพื้นผิว พร้อมประสิทธิภาพที่เหนือกว่า

เรากำลังสร้างไลบรารีขนาดใหญ่สำหรับวัสดุ Substance 3D ที่ใช้งานได้ในแอพ Creative Cloud เช่น Illustrator และ Photoshop

ใน Illustrator บน iPad เรานำเสนอพรีวิวเทคโนโลยีสำหรับ Vectorize ซึ่งเป็นพัฒนาการขั้นถัดไปของ Image Tracing ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถแปลงภาพให้เป็นกราฟิกเวคเตอร์ที่คมชัด ด้วยความแม่นยำและการควบคุมที่ดีขึ้น ส่วนบนเดสก์ท็อป เราได้ปรับปรุงเอฟเฟ็กต์ 3D และเพิ่มไลบรารีขนาดใหญ่สำหรับวัสดุ Adobe Substance 3D

วิดีโอ: เพิ่มความเร็ว ประสิทธิภาพ และลูกเล่น

เพื่อลดระยะเวลาที่คุณต้องใช้ในการรอคอยสำหรับขั้นตอนการเรนเดอร์วิดีโอ เราจึงได้เปิดตัวฟีเจอร์ Multi-frame Rendering ใน After Effects ซึ่งช่วยเพิ่มความเร็วในการเรนเดอร์ได้ถึง 4 เท่า  และคุณไม่ต้องเสียเวลาสร้างคำบรรยายสำหรับวิดีโออีกต่อไป เพราะมีฟีเจอร์ Speech-to-Text แบบอัตโนมัติใน Premiere Pro  นอกจากนี้ ขอแนะนำให้คุณทดลองใช้ลูกเล่นสนุกๆ ของ Body Tracker ใน Character Animator เปิดกล้องเว็บแคม เริ่มต้นทำท่าทางต่างๆ และหุ่นภาพเคลื่อนไหวของคุณก็จะทำท่าตามไปด้วย

ภาพถ่าย: Lightroom ช่วยให้เราทุกคนกลายเป็นช่างภาพที่เก่งขึ้น

บางครั้ง คุณอาจชอบภาพถ่ายภาพใดภาพหนึ่ง ยกเว้นส่วนเล็กๆ ในภาพนั้น เราได้ปรับโฉมเครื่องมือ Selective Adjustment ใน Lightroom เพื่อให้คุณสามารถทำการเลือกพื้นที่ได้อย่างแม่นยำและง่ายดาย และทำการแก้ไขที่เฉพาะเจาะจงสำหรับส่วนเล็กๆ ของภาพ แล้วคุณเคยสงสัยหรือไม่ว่าช่างภาพคนอื่นจะแก้ไขภาพถ่ายของคุณในลักษณะใด ด้วย Community Remix คุณจะสามารถแชร์ภาพถ่ายของคุณ แล้วเรียนรู้และรับแรงบันดาลใจจากศิลปินคนอื่นๆ ที่เข้ามาแก้ไขภาพของคุณ

3D และการออกแบบ: สร้างประสบการณ์ที่ดื่มด่ำมากขึ้น

คอลเลกชั่น Substance 3D ของอะโดบีมอบพลัง 3D ที่ใช้งานง่ายเพียงปลายนิ้วสัมผัส ด้วยเครื่องมือที่สามารถทำได้ทุกอย่าง ตั้งแต่การสร้างภาพด้านการตลาดที่สวยงาม ไปจนถึงการปั้นแต่งวัตถุ 3D จากภาพร่าง ในอนาคตงานสร้างสรรค์ 3D จะได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ขณะที่ครีเอเตอร์พยายามมองหาหนทางใหม่ๆ ที่เป็นไปได้  คอลเลกชั่น Substance 3D ประกอบด้วยวัสดุและผิวสัมผัส 3D หลายพันรายการ ซึ่งคุณสามารถนำไปใช้กับงานสร้างสรรค์ของคุณ

อื่นๆ อีกมากมาย — ตั้งแต่การวาดภาพและระบายสี ไปจนถึงการออกแบบหน้าจอ

นอกเหนือจากทั้งหมดที่กล่าวมา เรายังได้เปิดตัวฟีเจอร์อื่นๆ อีกหลายสิบรายการ ซึ่งจะช่วยให้คุณประหยัดเวลาและขยายขีดความสามารถด้านการสร้างสรรค์ เช่น เส้นไกด์สำหรับเปอร์สเปคทีฟ และเอฟเฟ็กต์การเคลื่อนไหวใน Fresco ซึ่งเป็นแอพสำหรับการวาดภาพและระบายสีแบบมัลติแพลตฟอร์มของอะโดบี นอกจากนี้ คุณยังสามารถเพิ่มวิดีโอที่เล่นได้ และแอนิเมชั่น Lottie ให้กับชิ้นงานต้นแบบใน Adobe XD ซึ่งเป็นโปรแกรมสำหรับการออกแบบ การสร้างต้นแบบ และการแชร์สำหรับนักออกแบบประสบการณ์

ปลั๊กอินใหม่ของ Adobe XD ช่วยให้คุณค้นหาแอนิเมชั่น Lottie สำหรับใช้ในการออกแบบเว็บไซต์และแอพ

เสริมศักยภาพให้กับสายงานครีเอทีฟ

Behance: มองหาโอกาส และสำรวจงานในโลกครีเอทีฟ

แนะนำช่องทางใหม่ที่จะช่วยให้สมาชิกกว่า 26 ล้านคนของ Behance สามารถสร้างรายได้จากผลงานของตนเอง โดยสมาชิก Creative Cloud จะสามารถนำเสนอบริการสมาชิกเพื่อให้แฟนๆ ได้รับสิทธิ์พิเศษในการเข้าถึงไลฟ์สตรีม ไฟล์ต้นฉบับ และอื่นๆ บน Behance โดยที่ Behance ไม่ได้หักค่าส่วนแบ่งใดๆ จากรายได้ของคุณ และคุณยังสามารถเพิ่มปุ่ม “Hire Me” ไว้ในโปรไฟล์ของคุณ เพื่อให้ผู้สนใจสามารถติดต่อว่าจ้างคุณได้โดยตรง

Content Authenticity Initiative และการแก้ปัญหาโดยใช้ NFT

เมื่อสองปีที่แล้ว เราได้ริเริ่มโครงการ Content Authenticity Initiative (CAI) เพื่อแก้ปัญหาการบิดเบือนข้อมูลของ visual และเพื่อให้ครีเอเตอร์ได้รับเครดิตจากผลงานของตนเอง วันนี้เราได้นำเสนอฟีเจอร์สำหรับการใส่ Content Credentials ในโปรแกรมต่างๆ เช่น Photoshop  ข้อมูลประจำตัว (Credentials) ที่ปลอดภัยนี้ประกอบด้วยข้อมูลต่างๆ เช่น ชื่อผู้สร้างภาพ เวลาและสถานที่ที่ถ่ายภาพ  นอกจากนั้น มีการใช้โทเค็นที่ไม่สามารถเปลี่ยนได้ (Non-Fungible Token – NFT) เพื่อให้ครีเอเตอร์สามารถเสนอขายผลงานในตลาดใหม่ได้อย่างปลอดภัย  ทั้งนี้ Content Credentials จะป้องกันไม่ให้บุคคลที่ไม่หวังดีแอบอ้างหรือขโมยผลงานของคุณและนำไปขายในตลาด NFT  เราร่วมมือกับตลาด NFT หลายราย เช่น KnownOrigin, OpenSea, Rarible และ SuperRare เพื่อให้มีการแสดงข้อมูล Content Credentials

ท่านยังสามารถดู session ย้อนหลังของงาน Adobe MAX ได้ที่นี่ จนถึงวันที่ 5 พ.ย! มีเซสชั่นที่น่าสนใจมากกว่า 400 รายการ ซึ่งจะช่วยให้คุณได้เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ และคุณยังสามารถรับฟังข้อมูลและความเห็นจากครีเอทีฟที่คุณชื่นชอบ รวมถึงผู้กำกับเจ้าของรางวัลออสการ์ โคลอี้ เจา, นักแสดงชื่อดัง ทิลด้า สวินสตัน และเฮนรี่ โกลดิ้ง และครีเอเตอร์ที่มีชื่อเสียงอย่าง เคซีย์ ไนสแตท และเวนดี้ แมคนอตัน

ทีมงานอะโดบีมีความยินดีที่ได้นำเสนออัพเดตล่าสุด และนวัตกรรมต่างๆ ซึ่งครอบคลุมผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของเรา  งาน Adobe MAX ปีนี้นับเป็นก้าวแรกของการพัฒนาเพื่อขยายการใช้งาน Creative Cloud ไปสู่เว็บ และเปิดศักราชใหม่สำหรับการทำงานครีเอทีฟร่วมกัน เราพร้อมรับฟังคำติชมและข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อนำไปปรับใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง และเสริมศักยภาพให้กับงานสร้างสรรค์อย่างไร้ขีดจำกัด เพื่อให้คุณมีความพร้อมในการก้าวเข้าสู่โลกยุคใหม่ของงานครีเอทีฟในอนาคต


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

IBM จับมือ Adobe เปิดคอร์สสอนหลักการออกแบบเบื้องต้นให้นักเรียน-นักศึกษา โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

ไอบีเอ็ม (NYSE: IBM) เปิดเผยถึงความร่วมมือกับอะโดบีในการเปิดหลักสูตรออนไลน์พร้อมมอบประกาศนียบัตรดิจิทัล (digital badge) เมื่อเรียนจบ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียน-นักศึกษา โดยเฉพาะกลุ่มที่ขาดโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรด้านการเรียนรู้ ให้พร้อมประสบความสำเร็จทั้งในด้านการเรียนและการทำงาน ด้วยความรู้เกี่ยวกับหลักการออกแบบเบื้องต้นและเครื่องมือเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ต่างๆ ซึ่งล้วนเป็นทักษะที่นายจ้างให้ความสำคัญเป็นอย่างมากในปัจจุบัน โดยนักเรียน-นักศึกษาที่สนใจสามารถเข้าเรียนหลักสูตรเหล่านี้ได้ฟรี ผ่านโครงการ SkillsBuild for Students ของไอบีเอ็ม
“ไอบีเอ็มต้องขอขอบคุณอะโดบีที่ร่วมพัฒนาเนื้อหาเพื่อช่วยเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้เรียนทุกกลุ่ม ให้มีความพร้อมสำหรับการทำงานในสายอาชีพต่อไป” จัสตินา นิกซันเซนทิล รองประธานและหัวหน้างานกิจกรรมเพื่อสังคมทั่วโลกของไอบีเอ็ม กล่าว “นักเรียน-นักศึกษาที่กำลังเตรียมตัวเข้าสู่โลกการทำงานไม่ว่าในอุตสาหกรรมใด จำเป็นต้องมีความพร้อมทั้งทักษะเชิงเทคนิคและทักษะด้านคน ความร่วมมือระหว่างอะโดบีและไอบีเอ็มในครั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการคิดสร้างสรรค์ และช่วยให้ผู้เรียนสามารถสื่อสารและทำงานเป็นทีมได้ดีขึ้น ก่อนที่จะเข้าสู่โลกการทำงานจริง”
ตัวอย่างของหลักสูตร visual design ที่เปิดให้เยาวชนได้เรียนโดยไม่มีค่าใช้จ่ายที่ IBM SkillsBuild for Students อาทิ คอร์ส “หลักการออกแบบเบื้องต้น” ที่อะโดบีและไอบีเอ็มร่วมกันพัฒนา เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจว่าการออกแบบที่ดีเป็นอย่างไร ได้เรียนรู้จากนักออกแบบมืออาชีพที่มากประสบการณ์ และสามารถเข้าถึงทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับการนำหลักการออกแบบต่างๆ มาใช้ในโครงการจริงได้ โดยผู้เรียนจะได้เรียนรู้ประโยชน์ของการออกแบบ visual ที่มีความกลมกลืน สมดุล และได้สัดส่วน อีกทั้งยังสามารถเข้าถึงคอร์สเกี่ยวกับเครื่องมือออกแบบงานสร้างสรรค์ที่ใช้จริงในโลกธุรกิจอย่าง Adobe Photoshop, Adobe Illustratorและ Adobe InDesign
“ความคิดสร้างสรรค์และคอนเทนท์คือสิ่งที่จุดพลังให้กับเศรษฐกิจโลก” มาลา ชาร์มา VP & GM, Creative Cloud Product Marketing & Community ของอะโดบี กล่าว “ไม่ว่าแต่ละคนจะเลือกเดินในสายอาชีพใด การสื่อออกมาอย่างสร้างสรรค์และการเล่าเรื่องจะไม่เพียงแต่เป็นทักษะที่จำเป็น แต่เป็นสิ่งที่องค์กรคาดหวังให้ทุกคนต้องมี และนี่คือเหตุผลว่าทำไมทักษะเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์จะมีความสำคัญยิ่งยวดสำหรับคนทำงานในอนาคต อะโดบีมีความภูมิใจที่ได้ร่วมกับไอบีเอ็มผ่านโครงการ SkillsBuild for Students เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ที่จำเป็นอย่างยิ่งนี้ และเตรียมความพร้อมให้แก่นักเรียน-นักศึกษา ให้พร้อมประสบความสำเร็จในโลกที่กำลังเปลี่ยนไป”
ทักษะที่มีความสำคัญอย่างมากสำหรับคนทำงานในสายอาชีพและการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่โลกการทำงานในอนาคตให้กับผู้เรียนนี้ จะมีโปรแกรมการเรียนที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถนำเสนอไอเดียแก่ผู้อื่นและลูกค้าได้ พร้อมมัดใจผู้ฟังผ่านการเล่าเรื่องที่เข้าใจง่ายและน่าสนใจ โดยเมื่อเรียนจบหลักสูตร ผู้เรียนจะได้รับแบดจ์ Basic Principles of Design ที่สามารถบรรจุลงในเรซูเมสำหรับการสมัครงานได้ต่อไป
ความร่วมมือกับอะโดบียังครอบคลุมถึงกิจกรรมการเรียนรู้แบบอินเตอร์แอคทีฟและการประเมินความรู้ด้วยตนเอง เช่น การให้ผู้เรียนศึกษาบุคลิกภาพด้านความริเริ่มสร้างสรรค์ต่างๆ และถ่ายทอดผ่านชิ้นงานทัศนศิลป์ โดยแบบฝึกหัดที่พัฒนาขึ้นจากงานวิจัยเชิงจิตวิทยาเหล่านี้ จะช่วยให้ผู้เรียนได้ปลดล็อคศักยภาพด้านความคิดสร้างสรรค์อย่างเต็มที่ ในทุกมิติของทั้งการใช้ชีวิตและการทำงาน
การทดสอบจะประเมินนิสัยและลักษณะเฉพาะของผู้เรียน ว่ามีการคิด การกระทำ และการมองโลกอย่างไร โดยผู้เรียนสามารถค้นพบว่าตัวเองมีแนวโน้มเป็นศิลปิน นักคิด นักผจญภัย เมเกอร์ โปรดิวเซอร์ นักฝัน นวัตกร หรือผู้ที่มีหัวคิดสร้างสรรค์ ซึ่งคนแต่ละประเภทล้วนมีบทบาทเฉพาะในกลุ่มของตน ทั้งที่โรงเรียน ที่บ้าน และที่ทำงาน
ผลวิจัยได้ชี้ให้เห็นว่าความคิดสร้างสรรค์และ “4 Cs” ซึ่งประกอบด้วยการคิดเชิงวิพากษ์ การสื่อสาร การทำงานร่วมกับผู้อื่น และความริเริ่มสร้างสรรค์ ช่วยให้เยาวชนสามารถพัฒนาตนเองทั้งในแง่การเรียน การเป็นพลเมือง และการทำงาน โดยรายงานจากองค์การกองทุนเพื่อศิลปะแห่งชาติ ระบุว่ากลุ่มวัยรุ่นที่ขาดโอกาส แต่ได้สัมผัสกับศิลปะและงานทัศนศิลป์ต่างๆ จะประสบความสำเร็จเมื่อโตขึ้น มากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้มีโอกาสเรียนศิลปะเลย
หลักสูตรของอะโดบีได้รับการจัดทำขึ้นเป็นภาษาอังกฤษ บราซิล โปรตุเกส และสเปน โดยผู้เรียนสามารถเข้าถึงทั้งหลักสูตรข้างต้นและหลักสูตรอื่นๆ อีกมากมาย อาทิ คอร์สเกี่ยวกับเทคโนโลยีและทักษะการทำงานต่างๆ ได้ที่ https://skillsbuild.org/students
ผู้สอนที่ต้องการใช้คอร์สหลักการออกแบบเบื้องต้นในการเรียนการสอน สามารถรับหลักสูตรที่จะช่วยปลดล็อคความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนเหล่านี้ได้ที่ Adobe Education Exchange https://edex.adobe.com
Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

Acrobat Pro ปรับปรุงฟังก์ชั่น e-Sign เพิ่มศักยภาพให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ทรานส์ฟอร์มงานเอกสารสู่ดิจิทัล พร้อมเข้าถึงลูกค้าดิจิทัลทุกที่ ทุกเวลา

ธุรกิจขนาดเล็ก และเอสเอ็มอีทั่วโลก จำเป็นต้องพลิกโฉมรูปแบบการดำเนินงานและปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเร่งด่วน ลองจินตนาการถึงร้านกาแฟเล็กๆ ที่ต้องเปลี่ยนมาให้บริการแบบ Contactless หรือโรงเรียนสอนโยคะที่ต้องสอนผ่านระบบออนไลน์ หรือโรงงานขนาดเล็กที่เป็นธุรกิจครอบครัวต้องหันไปใช้ช่องทางหารายได้ผ่านเว็บไซต์แบบไม่ทันได้วางแผน การแพร่ระบาดทำให้ธุรกิจนับล้านที่ใช้เอกสารกระดาษต้องปรับตัวไปใช้เอกสารดิจิทัลภายในเวลาอันรวดเร็ว

ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมักประสบปัญหาขาดแคลนทรัพยากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของเวลาและเงินทุน เมื่อไม่นานมานี้เราได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และผู้บริหารระดับสูงในธุรกิจขนาดเล็ก 500 คนในสหรัฐฯ และข้อมูลที่ได้รับจากการสำรวจมีดังนี้:
• เทคโนโลยี เปรียบเสมือนเครื่องปั๊มหัวใจให้เอสเอ็มอีจำนวนมากในช่วงการแพร่ระบาด: ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีระบุว่า ระบบชำระเงินดิจิทัล (57 เปอร์เซ็นต์), เครื่องมือสำหรับการประชุมแบบเวอร์ชวล (54 เปอร์เซ็นต์) และลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ (52 เปอร์เซ็นต์) มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการอยู่รอดของธุรกิจในปีที่แล้ว
• เปลี่ยน “เอกสารกระดาษ” เป็น “เอกสารดิจิทัล” สำหรับเอสเอ็มอีทำได้ แต่ต้องใช้เวลา: 86 เปอร์เซ็นต์ระบุว่าต้องจัดการงานเอกสารกระดาษอย่างน้อยหนึ่งครั้งต่อสัปดาห์ และ 51 เปอร์เซ็นต์ต้องจัดการงานเอกสารกระดาษทุกวัน โดยเฉลี่ยแล้วผู้ประกอบการเอสเอ็มอีต้องตรวจสอบและเซ็นชื่อในเอกสาร 16 ฉบับต่อสัปดาห์ และต้องใช้เวลาโดยเฉลี่ย 6 วันในการตรวจสอบสัญญาหนึ่งฉบับ และมีผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็ก 40 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่มีระบบจัดการสัญญาดิจิทัลร่วมกับผู้ขายและซัพพลายเออร์ รวมถึงการใช้ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์
• ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้ความสำคัญ และเห็นโอกาสจากการปรับใช้เทคโนโลยี พร้อมวางแผนลงทุนเพิ่ม: ผู้ประกอบการกว่าครึ่งหนึ่งคาดการณ์ว่า ธุรกิจขนาดเล็กจะใช้เงินลงทุนเกือบ 10,000 ดอลลาร์ในการจัดซื้อซอฟต์แวร์ (เช่น เครื่องมือดิจิทัล โซลูชั่น หรือแอป) ในปี 2564 เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว โดยเครื่องมือสำคัญที่สุด 5 ชนิดสำหรับเอสเอ็มอีได้แก่ ระบบชำระเงินดิจิทัล ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ เอกสารดิจิทัล เครื่องมือ CRM และเครื่องมือสำหรับการทำงานจากที่บ้าน
• อ่านข้อมูลผลการสำรวจทั้งหมดได้ที่นี่

ถ้าคุณเป็นเจ้าของร้านค้าขนาดเล็ก แน่นอนว่าคุณต้องบริหารงานหลายๆ อย่างด้วยตัวเอง เนื่องจากงบประมาณในการจ้างทีม IT หรือฝ่าย HR ที่จำกัด ด้วยเหตุนี้ธุรกิจเอสเอ็มอีจึงเริ่มมองหาโซลูชั่นที่ช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการทำธุรกิจ และเพื่อให้บริการลูกค้าผ่านช่องทางดิจิทัลเป็นการเร่งด่วน อะโดบีจึงได้เปิดตัวโซลูชั่นใหม่ล่าสุดที่ช่วยเพิ่มความสะดวกในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินงานดังกล่าว โดยโซลูชั่นที่ว่านี้ก็คือ Acrobat Pro พร้อมด้วยฟีเจอร์ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูง

โซลูชั่น all-in-one Acrobat นี้จะช่วยให้ผู้ประกอบเอสเอ็มอีสามารถใช้ฟังก์ชั่น Adobe Sign ที่มีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับเครื่องมือ PDF ตอนนี้บริษัทขนาดเล็กสามารถใช้ประโยชน์จากเอกสารดิจิทัลในรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น เพื่อปรับปรุงการดำเนินงานบนระบบดิจิทัล เข้าถึงลูกค้าผ่านช่องทางออนไลน์ และติดต่อสื่อสารอย่างเป็นมืออาชีพมากขึ้น โดยฟีเจอร์ Adobe Sign จะช่วยรองรับการดำเนินการต่อไปนี้:

  • ฝังแบบฟอร์มสำหรับลูกค้าไว้บนเว็บไซต์อย่างง่ายดายโดยใช้เว็บฟอร์ม (webforms)
  • เรียกเก็บเงินผ่านระบบดิจิทัลโดยใช้ PayPal/Braintree
  • ใส่โลโก้และแบรนด์ไว้ในสัญญา และใบแจ้งหนี้อิเล็กทรอนิกส์
  • ใช้ฟอร์มฟิลด์ (form fields) ขั้นสูงสำหรับเวิร์กโฟลว์ของลูกค้าที่มีรายละเอียดมาก

สำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเวลาแต่ละนาทีที่หมดไปกับการทำงานจุกจิกเล็กๆ น้อยๆ ถือเป็นเรื่องเสียเวลา เพราะที่จริงแล้วควรจะใช้เวลาดังกล่าวสำหรับเรื่องที่มีความสำคัญมากกว่า ด้วยเหตุนี้เอง เราจึงได้ออกแบบโซลูชั่น Acrobat รุ่นล่าสุดให้มีอินเทอร์เฟซรูปแบบใหม่ สามารถใช้งานผ่านเว็บได้อย่างง่ายดาย โดยผู้ประกอบการสามารถบริหารจัดการได้ด้วยตนเองสามารถจัดการดูแลเครื่องมือดังกล่าวผ่านระบบดิจิทัลได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่จำเป็นต้องจ้างบุคลากรด้านไอทีเพื่อติดตั้งและจัดการระบบ ไม่ต้องเสียเวลามากในการเรียนรู้วิธีการใช้งาน และไม่ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก  นอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมต่อเข้ากับซอฟต์แวร์ที่มีอยู่ เช่น Microsoft Office 365, Google Workspace และอื่นๆ

Acrobat พร้อมด้วยฟีเจอร์ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูงจะช่วยให้ธุรกิจเอสเอ็มอีมีเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการดำเนินงานในรูปแบบดิจิทัล และสามารถบอกลาปากกา กระดาษ และแสตมป์ไปอย่างถาวร คุณจะสามารถสร้างและแก้ไขเอกสาร PDF ประสานงานร่วมกับคนอื่นๆ และจัดการลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างครบวงจรในโซลูชั่นดิจิทัลแบบ all-in-one ที่ใช้งานได้อย่างง่ายดาย โดยคุณไม่จำเป็นต้องสลับไปมาระหว่างแอปต่างๆ หรือผสานรวมโซลูชั่น PDF และโซลูชั่นลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ที่แยกต่างหากเข้าด้วยกันเพื่อรองรับการทำงาน

และเนื่องจากเครื่องมือลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูงใน Acrobat ขับเคลื่อนด้วย Adobe Sign ซึ่งได้รับความไว้วางใจจากธุรกิจขนาดเล็ก แบรนด์ระดับโลก และบริษัทชั้นนำส่วนใหญ่ที่ติดอันดับ Fortune 100 ดังนั้นธุรกรรมทุกรายการจึงมีความปลอดภัยและมีผลผูกพันตามกฎหมาย คุณสามารถใช้งานฟีเจอร์นี้ รวมไปถึงฟีเจอร์อื่นๆ โดยเสียค่าใช้จ่ายเพียงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับราคาของโซลูชั่นอื่นๆ ที่รองรับเฉพาะการเซ็นชื่อแบบอิเล็กทรอนิกส์เพียงอย่างเดียว

ถ้ามีเรื่องดีๆ ซ่อนอยู่ท่ามกลางสถานการณ์วิกฤตปีที่แล้ว หนึ่งในเรื่องดีๆที่ว่านี้คือ การที่ธุรกิจขนาดเล็กและเอสเอ็มอีจำนวนมากสามารถเร่งทรานส์ฟอร์มธุรกิจสู่ดิจิทัลได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เฉพาะปีที่แล้ว Acrobat และ Sign มีการเติบโตในอัตราเลข 3 หลัก ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันว่าบริษัททุกขนาดได้รับประโยชน์จากกระบวนการทำงานแบบ paper-free และในส่วนของธุรกิจเอสเอ็มอี ผู้ประกอบการ 40 เปอร์เซ็นต์ระบุว่าตนเองทำงานเอกสารในรูปแบบดิจิทัลเพิ่มมากขึ้นในปี 2563 เพราะเชื่อว่าเอกสารดิจิทัลมีความสะดวกรวดเร็วมากกว่าเอกสารกระดาษ ในระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา เราได้พยายามผลักดันกระบวนการทำงานแบบไร้กระดาษ (Paperless) ในออฟฟิศมาโดยตลอด และตอนนี้เราอาจใกล้จะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้

มาเรียนรู้กันว่า Acrobat Pro พร้อมฟีเจอร์ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูง จะช่วยให้ธุรกิจขนาดเล็กของคุณประสบความสำเร็จในปี 2564 และในอนาคตข้างหน้าได้อย่างไร


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

รายงานเทรนด์ดิจิทัลปี 2564 อะโดบีเผย “ข้อมูลเชิงลึก” และ “ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล” คือสิ่งที่องค์กรธุรกิจให้ความสำคัญมากที่สุดในปี 2564

กรุงเทพฯ – 5 มีนาคม 2564 – รายงานเทรนด์ดิจิทัล (Digital Trends Report) ประจำปี 2564 ของอะโดบี ระบุว่า ในปี 2564 องค์กรธุรกิจจำนวนมากในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (APAC) จะให้ความสำคัญกับเรื่องของความสามารถและรวดเร็วในการกลั่นกรองข้อมูลเชิงลึก และมีแผนในการลงทุนส่วนนี้อย่างจริงจัง

รายงานดังกล่าวจัดทำร่วมกับ Econsultancy โดยอ้างอิงผลการสำรวจความคิดเห็นของบุคลากรฝ่ายการตลาด โฆษณา อี-คอมเมิร์ซ และไอที 13,000 คนที่ทำงานให้กับบริษัทเจ้าของแบรนด์และเอเจนซี่ต่างๆ ทั่วโลก รวมถึงออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ (ANZ) อินเดีย และเอเชีย[1]  รายงานดังกล่าวของอะโดบี ซึ่งจัดทำขึ้นเป็นปีที่ 11 มีความแตกต่างจากฉบับก่อนหน้า โดยเจาะลึกประเด็นใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการแพร่ระบาด เช่น ผลกระทบจากการทำงานจากที่บ้านของบุคลากร ประเด็นเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว รวมถึงการพยายามทำความเข้าใจผู้อื่น และการนึกถึงความรู้สึกของผู้อื่น (Empathy) ซึ่งทั้งหมดเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนประสบการณ์

ดิจิทัลดิสรัปชั่น (Digital Disruption) ในปี 2563 ทำให้องค์กรธุรกิจตระหนักว่าตนเองจำเป็นที่จะต้องเข้าใจข้อมูล และดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูลให้รวดเร็วมากขึ้น  ทั้งนี้ ผู้บริหารใน ANZ เพียงหนึ่งในสาม (35%) เชื่อมั่นว่าองค์กรของตนมีความสามารถในการกลั่นกรองและเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกอย่างรวดเร็ว แม่นยำ และใช้งานได้จริง ขณะที่ผู้บริหารในเอเชียมีความเชื่อมั่นที่น้อยกว่า โดยอยู่ที่สัดส่วน 9%  อย่างไรก็ตาม ผู้ตอบแบบสอบถามในเอเชีย (49%) และ ANZ (40%) มีแผนที่จะลงทุนทรัพยากรเพื่อปรับปรุงขีดความสามารถด้านการวิเคราะห์และกลั่นกรองข้อมูลเชิงลึก เพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านการตลาดในปี 2564 สำหรับผู้บริหารใน ANZ จะให้ความสำคัญกับประสบการณ์ลูกค้าแบบเฉพาะบุคคล (33%) ขณะที่ผู้บริหารในเอเชียมุ่งเน้นไปที่การสร้างฐานลูกค้าใหม่ หรือการหาลูกค้าใหม่ (35%)

ดันแคน อีแกน รองประธานฝ่ายการตลาด DX ของอะโดบี ประจำภูมิภาค APAC และญี่ปุ่น กล่าวว่า องค์กรที่สามารถเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกได้ดีกว่าสามารถนำเสนอประสบการณ์ดิจิทัลที่สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้มากกว่า เมื่อเทียบกับองค์กรที่มีข้อมูลเชิงลึกในระดับที่ต่ำกว่า

“ในปี 2563 แบรนด์ต่างๆ ในทุกภาคธุรกิจสูญเสียความสามารถในการคาดการณ์แนวโน้มในอนาคต  องค์กรทุกประเภทจำเป็นต้องเข้าสู่ระบบออนไลน์อย่างเร่งด่วน และสร้างกลุ่มลูกค้าดิจิทัลที่มีความคาดหวังสูงจำนวนมาก ปัจจุบันลูกค้าถือไพ่ในมือที่เหนือกว่าในเรื่องของ ‘Digital Relationship’ โดยผู้ตอบแบบสอบถามจากฝ่ายการตลาดใน APAC กว่าครึ่งหนึ่งระบุว่าพฤติกรรมลูกค้า และ Customer Journey มีการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ปกติอย่างมีนัยยะสำคัญในปี 2563

“บริษัทที่มีกลยุทธ์ด้านประสบการณ์ลูกค้า (Customer Experience – CX) ที่แข็งแกร่งมีแนวโน้มที่จะเติบโตในระยะยาวมากกว่าคู่แข่ง เพราะมีความพร้อมที่จะปรับตัวได้ดีกว่าเพื่อให้สอดรับกับพฤติกรรมของลูกค้า และสภาพตลาดที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา รายงานฉบับนี้เน้นย้ำว่าองค์กรต่างๆ จำเป็นที่จะต้องเร่งปรับปรุงขีดความสามารถในการกลั่นกรองข้อมูลเชิงลึก และความสามารถในการดำเนินงาน โดยการใช้เทคโนโลยีและแพลตฟอร์มคลาวด์ที่ยืดหยุ่นมากขึ้น รวมถึงระบบตรวจสอบ Customer Journey แบบเรียลไทม์และครบวงจร” อีแกน กล่าว

ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ ผู้ตอบแบบสอบถามที่เชื่อมั่นเกี่ยวกับ Customer Experience ของบริษัทตนเองรู้สึกพอใจกับกลยุทธ์ของบริษัท (63% ใน ANZ เทียบกับ 73% ในอินเดีย และ 56% ในเอเชีย) และเชื่อมั่นกับการเติบโตด้านอาชีพของตนเองในอนาคต (61% ใน ANZ เทียบกับ 70% ในอินเดีย และ 57% ในเอเชีย)

อุปสรรคในการสร้าง Digital Experience
ความรวดเร็วในการเข้าถึงข้อมูลเชิงลึก และความเร็วในการดำเนินการมีความสำคัญอย่างมากกับธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนประสบการณ์ลูกค้าและการเติบโตของธุรกิจ  อย่างไรก็ดี องค์กรต่างๆ ใน APAC รายงานเกี่ยวกับอุปสรรคสำคัญ 3 ข้อที่ขัดขวางการตลาด และการสร้างจประสบการณ์ โดยอุปสรรคที่ว่านี้ได้แก่ เทคโนโลยีที่เก่าและล้าสมัย (51% ใน ANZ, 37% ในอินเดียและเอเชีย), ปัญหาเรื่องขั้นตอนการทำงาน หรือ workflow (38% ใน ANZ, 33% ในอินเดีย และ 48% ในเอเชีย) และการขาดแคลนทักษะและความสามารถทางดิจิทัล (34% ใน ANZ, 24% ในอินเดีย และ 43% ในเอเชีย)

ดันแคน อีแกน กล่าวว่า “การเปลี่ยนสู่รูปแบบการทำงานจากที่บ้านจะส่งผลกระทบระยะยาวเป็นอย่างมากต่อองค์กรธุรกิจ โดยองค์กรธุรกิจจำเป็นที่จะต้องมีการกำหนดกลยุทธ์ด้านการตลาดรูปแบบใหม่เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่และรักษาฐานลูกค้าเก่า บริษัทที่มีความก้าวหน้ามากที่สุดกำลังมองไปข้างหน้า และลงทุนในเทคโนโลยีที่รองรับการทำงานแบบไฮบริดประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้น และดึงดูดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านดิจิทัลและประสบการณ์ลูกค้า

“บริษัทต่างๆ หันมาให้ความสำคัญกับเรื่องของการเพิ่มความคล่องตัวในการดำเนินงาน และการเพิ่มขีดความสามารถใหม่ๆ ในการรองรับการดำเนินการทางด้านดิจิทัลอย่างไร้รอยต่อ โดยหนึ่งในสาม (34%) ระบุว่าบริษัทของตนมีความคล่องตัวสูงอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน และสามารถตัดสินใจได้อย่างฉับไว แนวทางการใช้เทคโนโลยีแบบไฮบริด ที่ประกอบด้วยระบบคลาวด์และระบบจัดการข้อมูลอื่นๆ จะช่วยให้องค์กรมีความยืดหยุ่นสูงและรองรับการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังสามารถปรับปรุงการทำงานโดยใช้โซลูชั่นที่มีอยู่ และสร้างโซลูชั่นใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงการปรับปรุงขีดความสามารถด้านการวิเคราะห์และกลั่นกรองข้อมูลเชิงลึกอีกด้วย”

องค์กรจำนวนมากใน APAC ได้ปรับใช้แนวทางแบบไฮบริดกันอย่างกว้างขวาง โดยผู้บริหาร 43% ใน ANZ และ 26% ในอินเดียและเอเชีย ระบุว่าองค์กรของตนใช้แพลตฟอร์มบนระบบคลาวด์ร่วมกับระบบจัดการข้อมูลด้านการตลาดอื่นๆ

ความเป็นส่วนตัว และการยินยอมเพื่อ CX ที่มีประสิทธิภาพ

ขณะที่ลูกค้าดิจิทัลมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว องค์กรธุรกิจก็หันมาให้ความสำคัญกับเรื่องความเป็นส่วนตัวของข้อมูล (Data Privacy) โดยผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนมากในภูมิภาคนี้ระบุว่า ความเป็นส่วนตัวและคำยินยอมของลูกค้าเป็นปัจจัยสำคัญในการวางแผนธุรกิจ (56% ใน ANZ, 41% ในเอเชีย)

อย่างไรก็ตาม ยังมีประเด็นปัญหาเรื่องความโปร่งใส โดยมีผู้บริหารจำนวนไม่มาก (13% ใน ANZ, 12% ในเอเชีย) ระบุว่าองค์กรของตนสามารถสื่อสารเกี่ยวกับวิธีการรวบรวมและใช้งานข้อมูลอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ  นอกจากนี้ มีผู้บริหารเพียง 10% ใน ANZ และ 13% ในเอเชียที่เชื่อว่าองค์กรของตนสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพเกี่ยวกับประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับเพื่อแลกกับคำยินยอมของลูกค้าตั้งแต่ครั้งแรกที่ลูกค้าได้สัมผัสกับแบรนด์

การพยายามทำความเข้าใจผู้อื่น และการนึกถึงความรู้สึกของผู้อื่นคืออนาคตของประสบการณ์ลูกค้า

การใช้ช่องทางดิจิทัลกลายเป็นเรื่องธรรมดาที่พบเห็นได้ทั่วไป และด้วยเหตุนี้ แบรนด์ต่างๆ จึงจำเป็นต้องมีความเข้าอกเข้าใจ และนึกถึงความรู้สึกของลูกค้า (Empathy) ซึ่งจะเป็นความต่างในการสร้าง Customer Experience การวิเคราะห์และปรับเปลี่ยนสู่ Customer’s Emotional Journey เป็นพัฒนาการขั้นถัดไปของการจัดการประสบการณ์ลูกค้า และเป็นภารกิจหลักที่สำคัญสำหรับนักการตลาด ปี 2564

อย่างไรก็ดี องค์กรส่วนใหญ่ยังต้องใช้เวลาในการสร้าง Digital Empathy (การทำความเข้าใจ และนึกถึงความรู้สึกของลูกค้าผ่านช่องทางดิจิทัล) ทั้งนี้ ผู้บริหารในอินเดียกว่าหนึ่งในสาม (37%) มีข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับทัศนคติของลูกค้า ตามด้วย 27% ใน ANZ และ 19% ในเอเชีย ส่วนข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับปัจจัยที่กระตุ้นการซื้อนั้น ปัญหาที่เป็นอุปสรรค (Friction point) และ Attribution ที่แสดงความสัมพันธ์ของการทำตลาดกับพฤติกรรมของลูกค้า อยู่ในระดับที่ดีกว่าเพียงเล็กน้อย

หากต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทรนด์ดิจิทัลสำหรับปี 2564 สามารถอ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่นี่

เกี่ยวกับรายงานเทรนด์ดิจิทัลของอะโดบีและ Econsultancy

รายงานประจำปีเกี่ยวกับเทรนด์ดิจิทัลฉบับที่ 11 ของอะโดบีและ Econsultancy อ้างอิงผลการสำรวจความคิดเห็นของบุคลากรฝ่ายการตลาด อีคอมเมิร์ซ ครีเอทีฟ และเทคโนโลยีกว่า 13,000 คนทั่วโลก

เกี่ยวกับ อะโดบี

อะโดบีเปลี่ยนโลกผ่านประสบการณ์ด้านดิจิทัล ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.adobe.com


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

Adobe Digital Insights เผยการใช้ E-signature ที่เติบโตอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน สนองกระแส Contactless และเปลี่ยนวิธีการทำงานในอนาคต

การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงเกือบทุกด้านของผู้บริโภค อะโดบีได้ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เป็นอย่างดี เพราะการเปลี่ยนแปลงที่เด่นชัดที่สุดประการหนึ่งคือการเร่งให้เกิดการใช้ e-signature ที่เป็นส่วนหนึ่งของ Document Cloud

ปีที่ผ่านมา องค์กรจำเป็นต้องเดินหน้าเพื่อให้ธุรกิจขับเคลื่อนไปได้ หนึ่งในวิธีการที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงนี้คือการใช้ “เอกสารดิจิทัล และ e-signature” โดยปี 2563 เป็นปีแห่งการเปลี่ยนการใช้กระดาษสู่เอกสารดิจิทัล โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เซ็นสัญญาแบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นครั้งแรก และจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในปีนี้และปีต่อไป

รายงาน Adobe Digital Insights ได้รวบรวมความคิดเห็นของผู้บริโภค 4,000 คนทั่วโลกเกี่ยวกับการใช้งาน e-signature เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสช่วงการแพร่ระบาด ซึ่งอ้างอิงข้อมูลใช้งาน e-signature จาก Adobe Sign ของผู้บริโภคในปี 2563 โดยพบผลการศึกษาที่สำคัญดังนี้:

การปรับใช้ E-signature อย่างแพร่หลาย
การแพร่ระบาดทำให้เราเรียนรู้ว่า การหยิบจับ หรือรับส่งเอกสารเป็นสิ่งที่ยุ่งยาก ล้าสมัย และเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ด้วยเหตุนี้ e-signature และเอกสารดิจิทัลจึงเป็นทางเลือก และเติบโตอย่างเท่าทวีคูณในปีที่แล้ว ผู้บริโภคราว 60% เซ็นชื่อในเอกสารดิจิทัลเพิ่มมากขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง Adobe Sign พบการเติบโตเป็นตัวเลขสามหลักในเดือนมิถุนายนถึงกันยายนปี เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

การเปลี่ยนการใช้จากกระดาษสู่เอกสารดิจิทัลครั้งแรกเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ PDF เปิดตัวในหลายปีก่อน แต่ผู้บริโภคชาวอเมริกันจำนวนมากไม่เคยใช้ e-signature มาก่อนจนกระทั่งปีที่แล้ว ผลการสำรวจพบว่า ชาวอเมริกันมากกว่าหนึ่งในสี่ (27%) เซ็นชื่อแบบอิเล็กทรอนิกส์ในเอกสารเป็นครั้งแรกเมื่อปีที่แล้ว โดยเอกสารครอบคลุมถึงเอกสารสำคัญต่างๆ เช่น สัญญาธุรกิจ แบบฟอร์มลงทะเบียนทางการแพทย์ สัญญาเงินกู้ สัญญาจ้างงาน และแบบฟอร์มการยินยอมต่างๆ

อย่างไรก็ดี ยังมีประเด็นอื่นๆ นอกเหนือจากการใช้ e-signature ที่เพิ่มขึ้น กล่าวคือ การแพร่ระบาดส่งผลให้ชาวอเมริกันมากกว่าหนึ่งในสาม (38%) จัดเก็บเอกสารไว้ในระบบคลาวด์ ทั้งนี้เพราะความสามารถในการจัดเก็บ จัดการ และดำเนินการเกี่ยวกับเอกสารในระบบคลาวด์ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และความสะดวกในโลกวิถีใหม่ เช่น การพบแพทย์ตามที่นัดหมายได้อย่างปลอดภัย การขอคืนภาษีในช่วงที่จำกัดการนัดหมาย หรือการลงทะเบียนเรียนในวิชาต่างๆ

ผู้บริโภคกลุ่มคนรุ่นใหม่เป็นกลุ่มที่นิยมใช้ e-signature มากที่สุด
ในปี 2563 ผู้บริโภคกลุ่มคนรุ่นใหม่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตของเอกสารดิจิทัลและ e-signature โดยเกือบครึ่งหนึ่งของคนรุ่น Gen Z (53%) ระบุว่าตนเองเซ็นเอกสารแบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นครั้งแรกในปี 2563 เปรียบเทียบกับสัดส่วนเพียง 30% ของคนรุ่น Baby Boomer และคนรุ่น Gen Z ส่วนใหญ่ (79%) ระบุว่าก่อนหน้านี้พวกเขาไม่เคยรู้จัก e-signature มาก่อน และไม่เคยมีโอกาสเซ็นเอกสารดิจิทัลมาก่อนจนเมื่อปีที่แล้ว มากกว่าครึ่งของคนรุ่น Gen Z และ Millennial ส่วนใหญ่ใช้เอกสารดิจิทัลมากขึ้นในปี 2563 เมื่อเทียบกับหนึ่งในสามของ Baby Boomer นอกจากนี้ 73% ของผู้บริโภคกลุ่มคนรุ่นใหม่ใช้สมาร์ทดีไวซ์ในการเซ็นเอกสาร เทียบกับหนึ่งในสี่ของ Baby Boomer และ Gen Z และ Baby Boomer ยังคงชอบที่จะใช้เดสก์ท็อปหรือแล็ปท็อปเซ็น  e-sign มากกว่า

ธุรกิจหลักมีการเติบโตในการใช้ e-signature เป็นตัวเลข 3 หลักเพื่อรองรับการทำงานในอนาคต
การแพร่ระบาดส่งผลให้ธุรกิจต่างๆ เร่งดำเนินการปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) อย่างแพร่หลาย ทั้งในส่วนของภาครัฐ บริการด้านการเงิน และการศึกษา ขณะที่ผู้บริโภคก็มองหาหนทางที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นในการทำงาน และทำกิจกรรมต่างๆ ในอดีตโรงเรียนจัดเป็นหน่วยงานที่มี “การใช้กระดาษ” สูงมาก แต่การแพร่ระบาดเป็นปัจจัยหลักที่กระตุ้นให้มีการใช้เอกสารดิจิทัลและ e-signature สำหรับงานสำคัญๆ เช่น การดำเนินงานของโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็น การสอบเข้า ความช่วยเหลือด้านการเงิน การลงทะเบียนเรียน ทุน และเงินบริจาค หรือบริการสำหรับบุคลากร เช่น สวัสดิการ บัญชีเงินเดือน ด้วยเหตุนี้ การใช้ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์จึงเพิ่มขึ้นอย่างมากในเดือนสิงหาคมถึงกันยายน (เพิ่มขึ้น 250% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า) ในทำนองเดียวกัน มีการเติบโตเป็นตัวเลข 3 หลักสำหรับการใช้ e-signature ในธุรกิจบริการด้านการเงินในเดือนพฤษภาคม (เพิ่มขึ้นมากกว่า 200% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า)

ในส่วนของบริการด้านการเงิน ผู้บริโภคกลุ่มคนรุ่นใหม่เป็นแรงขับเคลื่อนที่อยู่เบื้องหลังการเพิ่มขึ้นของ e-signature ในอุตสาหกรรมนี้ โดย 80% ของ Gen Z และ Millennial ทั่วโลกเซ็นชื่ออิเล็กทรอนิกส์ในเอกสารด้านการเงิน เช่น การเปิดบัญชีธนาคาร สัญญาเงินกู้ การลงทุน การจัดการสินทรัพย์ สัญญาจำนอง ในปีที่แล้ว

มากกว่า 63% ของชาวอเมริกันต้องการให้หน่วยงานภาครัฐ เช่น กรมการขนส่งและสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ใช้ e-signature เพิ่มขึ้นเพื่อจัดการเอกสารสำคัญ แม้ว่าการใช้ Adobe Sign ในส่วนของภาครัฐยังไม่เป็นที่นิยมเหมือนกับภาคธุรกิจบริการด้านการเงิน แต่หน่วยงานต่างๆ ก็มีการใช้ e-signature เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และค่อยเป็นค่อยไปในช่วงฤดูใบไม้ผลิที่ผ่านมา

สำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC) E-signature ได้รับความนิยมอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้บริโภคคนรุ่นใหม่ (มิลเลนเนียล) ขณะที่ทุกเจเนอเรชั่นยังให้ความสำคัญกับเรื่องความปลอดภัยของเอกสาร และแนวโน้มการเติบโตนี้จะยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่องในปีนี้

กว่าสามในสี่ของผู้ตอบแบบสอบถามใน APAC (76%) ระบุว่า ใช้ E-signature ในเอกสารมากขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2563 โดยมีสัดส่วนสูงสุดในกลุ่มมิลเลนเนียล (61%) นอกจากนั้น กว่าครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสอบถามใน APAC (53%) ระบุว่า พวกเขาใช้ E-signature เป็นครั้งแรกเมื่อปีที่แล้ว โดยสาเหตุหลักเป็นเพราะว่าก่อนหน้านี้ไม่เคยมีใครเสนอให้ใช้ทางเลือกนี้มาก่อน โดยชาวอินเดียเป็นกลุ่มที่ใช้ E-signature เป็นครั้งแรกมากที่สุด (62%) โดยกรมธรรม์ประกันภัย (43%) และการลงทะเบียนที่เกี่ยวกับการแพทย์ (38%) เป็นเอกสารที่ถูกเซ็นชื่อแบบอิเล็กทรอนิกส์มากที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ราวสี่ในห้า (82%) ของผู้ตอบแบบสอบถามใน APAC ได้แจ้งความต้องการของตนเองให้แก่บริษัท เพื่อให้มีการเสนอทางเลือกในการเซ็นชื่อแบบดิจิทัลในเอกสารเพิ่มมากขึ้น และ78% ของผู้ตอบแบบสอบถามได้แจ้งกับหน่วยงานภาครัฐ ดังนั้นจึงนับเป็นโอกาสที่ดีที่องค์กรภาครัฐ และภาคเอกชนที่จะปรับปรุงการให้บริการแก่ประชาชนและเพิ่มความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าด้วยการปรับใช้เวิร์กโฟลว์แบบดิจิทัล

ไซม่อน เดล กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของอะโดบี

ไซม่อน เดล กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของอะโดบี กล่าวว่า “การแพร่ระบาดทั่วโลกก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อรูปแบบการทำงานและการดำเนินธุรกิจ แม้ว่าแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงจากเอกสารที่เป็นกระดาษไปสู่รูปแบบดิจิทัลมีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ที่ PDF ถูกใช้งานเป็นครั้งแรกเมื่อกว่า 30 ปีที่แล้ว แต่ปี 2563 คือ ‘จุดเปลี่ยนที่สำคัญ’ เอกสารดิจิทัลได้กลายเป็นเครื่องมือหลักสำหรับการดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ และมีบทบาทสำคัญในติดต่อสื่อสาร การทำงานร่วมกัน และการทำธุรกรรมสำหรับองค์กรธุรกิจ หน่วยงานภาครัฐ และผู้บริโภค และแน่นอนว่าจะเป็นปัจจัยหลักที่กำหนดทิศทางเศรษฐกิจในอนาคต นอกจากนี้การแพร่ระบาดยังกระตุ้นให้องค์กรธุรกิจต้องดำเนินการปรับเปลี่ยนเป็นการเร่งด่วนเพื่อฟันฝ่าวิกฤตครั้งนี้ อะโดบีมุ่งมั่นที่จะให้ความช่วยเหลือแก่องค์กรต่างๆ เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการดำเนินงาน และปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานในอนาคต”

ผู้ตอบแบบสอบถามใน APAC ราวหนึ่งในสาม (34%) จำเป็นต้องจัดเก็บข้อมูลของตนเองไว้บนระบบดิจิทัล นอกจากนั้น ผู้ตอบแบบสอบถามในสัดส่วนเดียวกัน (36%) ยังบันทึกเอกสารทั้งในรูปแบบดิจิทัลและที่เป็นกระดาษ และระบุว่าการทำสำเนาแบบดิจิทัลเพื่อแบ็คอัพข้อมูลจากเอกสารที่เป็นกระดาษช่วยให้ตนเองรู้สึกปลอดภัยมากขึ้น ทั้งนี้ เอกสารดิจิทัลส่วนใหญ่ถูกจัดเก็บไว้บนคอมพิวเตอร์หรือระบบคลาวด์ โดยบริการคลาวด์สตอเรจได้รับความนิยมมากที่สุดในกลุ่มคนเจน Z (65%)

การรักษาความปลอดภัยถือเป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้ตอบแบบสอบถามทุกเจเนอเรชั่นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยกว่าสองในสาม (71%) คาดหวังว่าเอกสารควรจะมีการป้องกันด้วยรหัสผ่าน และกว่าครึ่งหนึ่ง (57%) คิดว่าเอกสารควรจะใช้การยืนยันตัวตนแบบ 2 ขั้นตอน (2-Factor Authorization)

อนาคตของ e-signature
การแพร่ระบาดอาจจะยุติลงในไม่ช้า แต่เราเชื่อว่าความเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในหลายๆ ด้านที่เป็นผลมาจากการแพร่ระบาดจะยังคงอยู่ต่อไป อะโดบีคาดการณ์ว่าผู้บริโภคทั่วโลกส่วนใหญ่ (76%) จะยังคงใช้ e-signature ต่อไปภายหลังการแพร่ระบาด

อย่างไรก็ดี ยังคงมีโอกาสสำหรับการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ และ e-signature สำหรับผู้บริโภค ชาวอเมริกันกว่า 63% เชื่อว่าบริษัทที่ไม่ได้เสนอทางเลือกสำหรับการใช้ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์จะกลายเป็นบริษัทที่ล้าหลัง และผู้ตอบแบบสอบถามทั่วโลกน้อยกว่า 47% เชื่อว่าเทคโนโลยี E-signature ในปัจจุบันมีความก้าวหน้า

แม้ว่าวิกฤตโควิดกำลังจะผ่านพ้นไป แต่ผู้บริโภคทั่วโลกจะไม่กลับไปใช้วิธีการแบบเดิมๆ ในการจัดการและเซ็นชื่อในเอกสารอีกต่อไป เพราะ e-signature กำลังกลายเป็นมาตรฐานใหม่ ผู้บริโภคเชื่อว่าเทคโนโลยีนี้จะยังคงถูกใช้งานอย่างต่อเนื่อง และได้รับการปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นในอนาคต


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ปลดปล่อยพลังความคิดสร้างสรรค์ด้วยเทคโนโลยี

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ตอกย้ำถึงความสำคัญในการปรับเปลี่ยนการดำเนินงานสู่ดิจิทัลเพื่อรองรับธุรกิจในอนาคต บริษัทต่างๆ จำเป็นที่จะต้องรวมกลยุทธ์ด้านการตลาดเข้ากับกลยุทธ์ด้านดิจิทัล และลงทุนในเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น (Digital Transformation) ให้ประสบผลสำเร็จ

แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วผู้บริหารองค์กรไม่ได้เข้ามาดูแลเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อการทำงานในแต่ละวัน แต่ถ้าหากผู้บริหารมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับศักยภาพและความสามารถของเทคโนโลยี ก็จะสามารถใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนความคิดสร้างสรรค์ และนำเสนอประสบการณ์ที่แปลกใหม่ให้กับทีมงานต่างๆ

จากผลการสำรวจ Adobe CQ พบว่า ผู้บริหารในเอเชีย-แปซิฟิก (APAC) เพียง 37% เท่านั้นที่เชี่ยวชาญการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของทีมงาน

แอนเดอร์ส ซอร์แมน-นิลสัน ผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับอนาคตที่มีชื่อเสียงระดับโลก และพรู ค็อกซ์ ผู้อำนวยการฝ่ายโซลูชั่นการตลาดของลิงค์อิน (LinkedIn) เข้าร่วมในรายการ Adobe CQ Presents: Making the Modern Leader เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินการของผู้บริหารในการผสานรวมเทคโนโลยีเข้ากับทักษะและความสามารถของทีมงาน เพื่อขับเคลื่อนและพัฒนาความคิดสร้างสรรค์

ชมวิดีโอจากเซสชัน Creativity through technology ได้ที่: https://youtu.be/x2dEJnYQ2S8 

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ฝ่ายการตลาดใช้ดาต้าเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานเป็นหลัก แต่การผนวกรวมเทคโนโลยีเข้ากับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ customer engagement เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ลูกค้ายังถือเป็นเทรนด์ที่ค่อนข้างใหม่ และแน่นอนว่าเทรนด์นี้จะมีความสำคัญเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต

พรู ค็อกซ์ ผู้อำนวยการฝ่ายโซลูชั่นการตลาด LinkedIn ได้พูดคุยเกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องของ LinkedIn เพื่อให้ทีมงานภายในบริษัท รวมถึงลูกค้า มีความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ เช่น ดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพของแคมเปญการตลาด

“แต่ก่อนเราสร้างคอนเทนต์หรืองานครีเอทีฟหนึ่งชิ้นเมื่อเริ่มต้นแคมเปญ แล้วคอยดูว่าผลลัพธ์จะออกมาเป็นอย่างไรในท้ายที่สุด แต่การดำเนินการดังกล่าวกลายเป็นเรื่องในอดีตไปเสียแล้ว เพราะตอนนี้เราสามารถปรับปรุงและปรับแต่งสิ่งต่างๆ ได้อย่างต่อเนื่องตลอดกระบวนการ และสามารถศึกษาทำความเข้าใจว่าอะไรคือปัจจัยที่ดึงดูดความสนใจของลูกค้า” 

ทุกวันนี้เรามองเห็นเส้นแบ่งที่ค่อยๆ เลือนหายไประหว่างผู้บริหารฝ่ายเทคโนโลยี (CTO) และผู้บริหารฝ่ายการตลาด (CMO)  ในอดีตอาจมีเครื่องมือและโซลูชั่นมากมายที่สามารถปรับใช้กับงานด้านการตลาดขององค์กรธุรกิจ แต่ปัจจุบันคุณสามารถสร้างระบบอัตโนมัติสำหรับการจัดการดูแลลูกค้าในทุกขั้นตอนอย่างครบวงจร ตั้งแต่การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายไปจนถึงการทำธุรกรรม

“เรื่องที่น่าสนใจไม่ใช่สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต แต่เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่แล้วในตอนนี้รอบๆ ตัวเรา ซึ่งนั่นก็คือการพลิกโฉมประสบการณ์ลูกค้าโดยอาศัย AI” พรู ค็อกซ์ ผู้อำนวยการฝ่ายโซลูชั่นการตลาด LinkedIn

ด้วยเครื่องมือดังกล่าวที่พร้อมใช้งานในปัจจุบัน ผู้บริหารองค์กรธุรกิจจึงต้องปรับเปลี่ยนโฟกัสจากการสรรหาบุคลากรที่สามารถสร้างสรรค์เทคโนโลยี ไปสู่บุคลากรที่สามารถ “ประยุกต์ใช้” เทคโนโลยีกับงานธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ องค์กรต่างๆ จำเป็นที่จะต้องลงทุนอย่างต่อเนื่อง เพื่อฝึกอบรมทีมงานให้สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในกระบวนการทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับงานครีเอทีฟและธุรกิจ

รายงานแนวโน้มล่าสุดของอะโดบี CXM Playbook ชี้ว่า บริษัทที่เสนอโอกาสการเรียนรู้และเติบโตในอาชีพได้มากกว่ามีผลประกอบการที่ดีขึ้นในทุกๆ ด้าน เนื่องจากพนักงานมีแรงจูงใจในการทำงาน และมีส่วนร่วมกับบริษัทมากขึ้น เพราะมั่นใจว่าบริษัทให้ความสำคัญกับการลงทุนพัฒนาบุคลากรอย่างจริงจัง

เทคโนโลยียังคงมีบทบาทสำคัญในการรองรับการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดและหลังจากที่การแพร่ระบาดสิ้นสุดลง ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหารจะต้องเสริมสร้างขีดความสามารถให้แก่ทีมงานในการประเมิน ระบุปัญหา และปรับใช้เครื่องมือที่เกี่ยวข้องสำหรับทุกส่วนงานภายในองค์กรธุรกิจ

หากต้องการรับชมการเสวนาเกี่ยวกับแนวทางที่ผู้บริหารจะสามารถปรับใช้เทคโนโลยีเพื่อยกระดับทักษะของบุคลากรและขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ รวมถึงวิธีการรับมือกับปัญหาท้าทายที่เกี่ยวข้อง คลิกไปที่: https://blog.adobe.com/en/2020/11/18/creativity-through-technology.html


 

Exit mobile version