Categories
Fixit (ซ่อมได้) คุณทำเองได้ (DIY)

แอร์น้ำหยด

ปัญหาแอร์มีน้ำหยดออกทางด้านล่างตัวเครื่องนั้นเกิดได้ 2 ลักษณะด้วยกันคือ

Categories
Fixit (ซ่อมได้) คุณทำเองได้ (DIY)

แก้ปัญหาแอร์ตัดนาน

อีกปัญหาที่หลายคนแก้ไม่ตกของแอร์ หรือเครื่องปรับอากาศ ก็คือแอร์ตัดนานเกินไป คือเมื่อเปิดแอร์ตอนเข้านอนแล้วแรกๆ ก็ทำความเย็นปกติดี แต่พอกลางดึกกลับไม่เย็นขึ้นมา หลายคนเลือกวิธีปรับลดอุณหภูมิที่รีโมตคอนโทรล หรือจากปกติเคยตั้งอุณหภูมิไว้ที่ 27 องศาเซลเซียส ก็เย็นจนต้องห่มผ้า แต่เมื่อวันเวลาผ่านไป ต้องปรับลดอุณหภูมิลงมาเหลือเพียง 23 องศาเซลเซียส แอร์ถึงจะทำความเย็นได้เหมือนเมื่อก่อน ทั้งที่เพิ่งเรียกช่างมาล้างแอร์ไปได้ไม่นาน เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น เรามาแก้ปัญหานี้ด้วยกันครับ

วิเคราะห์หาสาเหตุเสียก่อน
อาการแอร์ตัดนานเกินไป เกิดจากการตรวจจับอุณหภูมิของเซ็นเซอร์ ทำงานผิดปกติไปจากเดิม โดยปกติเซ็นเซอร์ที่เครื่องปรับอากาศใช้สำหรับตรวจจับอุณหภูมิ นั้นก็คือเทอร์มิสเตอร์ หรือตัวต้านทานที่ค่าความต้านทานแปรผันตามอุณหภูมิ ทั่วไปจะใช้แบบอุณหภูมิลดค่าความต้านทานเพิ่ม และมีเจ้าเซ็นเซอร์นี้ติดตั้งอยู่ 2 ตัวด้วยกันคือ


1. เซ็นเซอร์ตรวจจับอุณภูมิลมกลับหรือตรวจจับอุณหภูมิของห้องนั่นเองครับ มีลักษณะเหมือนหัวไม้ขีดไฟ มีกระเปาะสีดำ ปกติมักติดตั้งอยู่ด้านหน้าของแผงคอยล์เย็น เพื่อตรวจสอบว่าอุณหภูมิในห้องลดลงถึงค่าที่เราตั้งไว้ที่รีโมตคอนโทรลเลอร์หรือยัง ถ้าถึงแล้วก็จะสั่งให้ตัดการทำงานของคอมเพรสเซอร์ (คอนเดนซิ่งยูนิต)

2. เซ็นเซอร์ตรวจจับอุณหภูมิท่อสารทำความเย็น (น้ำยาแอร์) มีลักษณะเป็นทรงกระบอกตัวกระเปาะทำจากโลหะ ส่วนมากทำจากทองแดง เมื่อท่อเย็นจัด (สัมพันธ์กับเซ็นเซอร์ตรวจจับอุณภูมิลมกลับ) ก็สั่งตัดการทำงานของคอมเพรสเซอร์เช่นกัน เซ็นเซอร์ตัวนี้ติดตั้งอยู่ติดกับท่อ บริเวณขวามือของแผงคอยล์เย็น (อีวาพอเลเตอร์)

หมายเหตุ : เครื่องปรับอากาศบางรุ่น ตรวจจับสารทำความเย็น (น้ำยาแอร์หมด)โดยอาศัยเซ็นเซอร์จับอุณหภูมิท่อ หากเครื่องปรับอากาศทำงานสักระยะแล้วท่อไม่เย็นจะสั่งปิดระบบทันที

รูปแสดงเหตุการณ์ที่เซ็นเซอร์ทั้ง 2 ตัวทำการตรวจจับอุณหภูมิ

จากรูปด้านบนจะเห็นว่าเหตุการณ์ที่ 3 เป็นสาเหตุให้แอร์ของเราไม่ยอมสั่งให้คอมเพรสเซอร์ทำงาน ทั้งที่เซ็นเซอร์ตัวที่ 1 ก็รับรู้ได้ถึงอุณหภูมิห้องที่สูงขึ้นแล้ว แต่เซ็นเซอร์ตัวที่ 2 กลับบอกว่าท่อยังเย็นอยู่ยังไม่ต้องสั่งให้คอมเพรสเซอร์ทำงาน

ดังนั้นเราจะเห็นว่าเซ็นเซอร์อุณหภูมิทั้งสองตัวนี้ต้องทำงานสัมพันธ์กัน แต่สามารถวิเคราะห์ได้ว่าเซ็นเซอร์ตรวจจับอุณภูมิลมกลับนั้นไม่เป็นสาเหตของปัญหานี้ครับ เพราะมันติดตั้งอยู่ด้านนอก จึงแห้งไม่เปียกชื้นและไม่สกปรกอะไร ต่างจากเซ็นเซอร์ตรวจจับอุณหภูมิท่อสารทำความเย็นที่ต้องเปียกชื้นอยู่ตลอดเวลาขณะเราใช้งานเครื่องปรับอากาศทำให้มีโอกาสเกิดคราบสกปรกที่ผิวของกระเปาะโลหะบนตัวมัน

เมื่อคราบสกปรกจับตัวมากขึ้นทำให้เมื่อเปิดแอร์นานๆ ความชื้นจะสะสมอยู่กับคราบสกปรกเหล่านี้ ทำให้ค่าความต้านทานภายในตัวมันลดลงช้ามากๆ หรือเปลี่ยนแปลงได้ช้ากว่าปกตินั่นเอง ทำให้แผงวงจรควบคุมเข้าใจว่าท่อยังเย็นอยู่จึงไม่ยอมสั่งให้ชุดคอนเดนซิ่งยูนิต (คอยล์ร้อน) ทำงานครับ

วิธีแก้ไขเซ็นเซอร์ตรวจจับอุณหภูมิท่อสารทำความเย็นสกปรก
1. สับเบรกเกอร์ตัดไฟก่อน จากนั้นถอดบานสวิงออกจากหน้ากากของเครื่องปรับอากาศ โดยแต่ละรุ่นจะมีวิธีการถอดไม่เหมือนกัน ให้ค่อยๆ พิจารณาเอา (ระวังสลักหักด้วยนะครับ)


รูปแสดงการถอดบานสวิงแอร์

2. คลายสกรูยึดหน้ากากทั้ง 2 ด้าน ของเครื่องออก (บางรุ่นอาจมีตำแหน่งที่ต่างไปจากนี้)



รูปการตำแหน่งสกรูยึดหน้ากาก

3. ใช้มือประคองด้านซ้ายและขวาของหน้ากากแล้วค่อยๆ ขยับดึงหน้ากากจากส่วนล่างออกมาแล้วงัดขึ้นด้านบนดังรูป


รูปแสดงทิศทางการถอดหน้ากาก

4. ถอดเซ็นเซอร์ตรวจจับอุณหภูมิท่อสารทำความเย็นออกมา โดยใช้ไขควงตัวเล็กดันออกมาจากช่องเสียบ (ห้ามจับสายดึงออกมาเด็ดขาดอาจทำให้สายขาดจากหัวเซ็นเซอร์ได้)


5. ใช้กระดาษทรายขัดคราบสกปรกออกให้สะอาด จากนั้นใส่กลับที่เดิม แล้วประกอบหน้ากากและบานสวิงเข้าตามเดิม

เพียงแค่นี้ แอร์ของเราก็กลับมาทำความเย็นได้ตามปกติแล้วล่ะครับ ลองทำตามดูนะครับ รับรองว่าหายไปอีกหลายปีเลยทีเดียว จนกว่ามันจะสกปรกอีกก็ถอดออกมาขัดอีก เว้นแต่ว่ามันจะเสื่อมสภาพจนใช้งานไม่ได้ อันนี้ต้องซื้อมาเปลี่ยนแล้วล่ะครับ


เรื่องที่คุณอาจสนใจ

Exit mobile version