Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

รายงาน Adobe เผยผู้บริโภคและนักการตลาดตระหนักถึงศักยภาพของ AI ที่แบรนด์ใช้ยกระดับประสบการณ์ของลูกค้า แต่ต้องใช้อย่างมีความรับผิดชอบและโปร่งใส

ในเวลาไม่ถึงหนึ่งปี ความก้าวหน้าของ Generative AI กลายเป็นพลังขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในการทำงานและการสร้างสรรค์ ทั้งยังสร้างนิยามใหม่ให้กับวิธีที่ผู้บริโภค องค์กรธุรกิจ และสถานศึกษาใช้ในการคิดทุกสิ่งทุกอย่างตั้งแต่การสร้างรูปภาพไปจนถึงคอนเทนต์  ขณะที่องค์กรต้องจัดการกับข้อกังวลต่างๆ ของสาธารณชน รวมถึงความโปร่งใสเกี่ยวกับการใช้ Generative AI ในการสร้างคอนเทนต์

ด้วยการป้อนคำสั่งที่เรียบง่าย Generative AI ช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญทำงานได้เร็วขึ้น และขณะเดียวกันก็ช่วยให้ผู้ใช้ที่มีประสบการณ์น้อยสามารถเรียนรู้งานได้เร็วยิ่งขึ้น และสามารถคิดค้นไอเดีย สร้างสรรค์ผลงาน เรียนรู้และทำความเข้าใจสิ่งใหม่ๆ ได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งบ่อยครั้งมักจะเป็นไปในรูปแบบที่เราคาดไม่ถึง  Generative AI มีศักยภาพมหาศาลในการช่วยให้บุคลการด้านครีเอทีฟและนักการตลาดสร้างสรรค์เนื้อหาคอนเทนต์ได้รวดเร็วขึ้น แต่คุณค่าไม่ได้หยุดอยู่แค่นั้น เพราะสามารถนำมาใช้เพื่อจัดทำแผนการตลาด กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ออกแบบ customer journey และกลั่นกรองข้อมูลเชิงลึก เช่น นักการตลาดเพียงพิมพ์ข้อความ “สร้าง audience segment สำหรับคนทำงานอายุ 25-34 ปีที่เป็นแฟนฟุตบอล” Generative AI ก็จะสร้างแคมเปญการตลาดสำหรับกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวภายในเวลาไม่กี่วินาที

เพื่อทำความเข้าใจว่า Generative AI ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้างต่อความคาดหวังของลูกค้า และวิธีการที่แบรนด์ต่างๆ มอบประสบการณ์ให้แก่ลูกค้า อะโดบีได้ทำการศึกษาหลายชุดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคม 2566 โดยสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคมากกว่า 13,000 คน รวมถึงบุคลากรฝ่ายการตลาดและประสบการณ์ลูกค้า 4,000 คนใน 14 ประเทศ ได้แก่ ไทย ญี่ปุ่น อินเดีย สิงคโปร์ มาเลเซีย สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ สวีเดน เยอรมนี ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ และประเด็นหลักจากผลการศึกษามีดังนี้:

ผู้คนจำนวนมากมีความมั่นใจในการใช้ Generative AI ในชีวิตประจำวัน ทั้งในส่วนของครีเอเตอร์และผู้บริโภค โดยผู้บริโภคที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ (57%) เชื่อว่า Generative AI จะช่วยปรับปรุงความคิดสร้างสรรค์ส่วนบุคคล และตัวเลขดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้นในกลุ่มผู้บริโภคที่มีอายุน้อย กล่าวคือ 75% ของผู้บริโภคกลุ่ม Gen Z ระบุว่า Generative AI ทำให้พวกเขามีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น  และเมื่อพูดถึงประสบการณ์ที่มีต่อแบรนด์ 72% ของผู้บริโภคทั่วโลกกล่าวว่า Generative AI ช่วยปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้า โดยผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียล 8 ใน 10 คน (80%) และกลุ่ม Gen Z (83%) แสดงความคิดเห็นในแง่บวกเช่นเดียวกัน

ผู้บริโภคต้องการให้บริษัทต่างๆ ใช้ Generative AI เพื่อปรับปรุงประสบการณ์อย่างมีความรับผิดชอบ

เมื่อพูดถึงสิ่งสำคัญที่สุดที่บริษัทควรทำในการใช้เทคโนโลยี Generative AI ผู้บริโภคระบุว่า “ความรับผิดชอบ” คือสิ่งสำคัญอันดับ 1 โดย 34% ให้ความสำคัญกับการดำเนินการต่างๆ เช่น การกำหนดขอบเขตเพื่อรองรับการใช้งานอย่างมีความรับผิดชอบ  ผู้บริโภค 30% กล่าวว่าการใช้ Generative AI เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญที่สุด และ 15% ให้ความสำคัญกับการดำเนินการที่จะปรับปรุงประสบการณ์ของพนักงาน เช่น เพิ่มความสะดวกและประสิทธิภาพในการทำงาน  ผู้ตอบแบบสอบถาม 9% กล่าวว่าข้อควรพิจารณาที่สำคัญที่สุดสำหรับบริษัทต่างๆ ที่นำ Generative AI มาใช้ก็คือ การใช้เทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จทางการเงินมากขึ้น และมีเพียง 10% เท่านั้นที่กล่าวว่าบริษัทไม่ควรใช้ Generative AI เลย

Content Authenticity Initiative (CAI) ที่ก่อตั้งโดยอะโดบี เป็นตัวอย่างหนึ่งของมาตรการป้องกันที่ผลักดันโดยภาคอุตสาหกรรม  ด้วยสมาชิกมากกว่า 1,500 ราย CAI สนับสนุนมาตรฐานและเทคโนโลยีระดับโลกแบบเปิด รวมถึง Content Credentials ซึ่งเปรียบเสมือน “ฉลากโภชนาการ” แบบดิจิทัลสำหรับคอนเทนต์ ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบว่าคอนเทนต์ Generative AI ถูกสร้างขึ้นในลักษณะใด

บุคลากรด้านการตลาดและ CX ส่วนใหญ่กล่าวว่าพวกเขาจะใช้ Generative AI สำหรับการทำงานในอนาคต

เกือบเก้าในสิบ (89%) เคยใช้เครื่องมือ Generative AI บางประเภท โดย 67% ได้ลองใช้บอทสนทนา และ 45% เคยใช้เครื่องมือสร้างภาพ  บุคลากรเหล่านี้เกือบทั้งหมด (94%) เชื่อว่าบริษัทของตนจะใช้ Generative AI สำหรับการทำงานในอนาคต

Generative AI จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและทำให้ประสบการณ์ของลูกค้าเป็นแบบส่วนตัวมากขึ้น  ผู้บริหารฝ่ายการตลาดและประสบการณ์ลูกค้าเชื่อว่า Generative AI จะเป็นประโยชน์ในหลากหลายแง่มุม กล่าวคือ เก้าในสิบคน (90%) กล่าวว่าจะช่วยให้พวกเขาทำงานได้ดีขึ้น และในสัดส่วนที่เกือบจะเท่ากัน (88-89%) ระบุว่าจะช่วยให้พวกเขาทำงานได้มากขึ้น สร้างคอนเทนต์ได้มากขึ้นและดีขึ้น และปรับปรุงความสามารถในการใช้เครื่องมือด้านครีเอทีฟ  ในแง่ของประสบการณ์ กลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามเปอร์เซ็นต์เดียวกันนี้คาดว่า Generative AI จะช่วยให้พวกเขาเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่เหมาะสม ปรับแต่งประสบการณ์แบบเฉพาะบุคคลให้แก่ลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น กำหนดขั้นตอนการดำเนินการใหม่ๆ สำหรับลูกค้า และระบุกลุ่มเป้าหมายใหม่

Generative AI ขยายการเข้าถึงเครื่องมือด้านประสบการณ์ดิจิทัลที่ซับซ้อนได้

เมื่อสอบถามว่าบริษัทควรใช้ Generative AI ในลักษณะใดมากที่สุด ผู้บริหารฝ่ายการตลาดและ CX ระบุสิ่งสำคัญที่สุดอันดับ 1 เท่ากันทั้งสามอย่าง ได้แก่ การเพิ่มความสะดวกและประสิทธิภาพในการทำงาน การปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการ และการนำเสนอประสบการณ์ที่ดีเยี่ยมให้แก่ลูกค้า

Generative AI จะมีบทบาทสำคัญในการสร้างเนื้อหาคอนเทนต์  ขณะที่บุคลากรฝ่ายการตลาดและ CX มองว่าเครื่องมือ Generative AI ที่เกิดขึ้นใหม่นั้นมีศักยภาพสูง แต่ความคาดหวังสามอันดับแรกของพวกเขาล้วนเกี่ยวข้องกับเนื้อหาคอนเทนต์ โดยการสร้างคอนเทนต์ได้เร็วขึ้นครองอันดับ 1 ส่วนการปรับแต่งคอนเทนต์และการสร้างคอนเทนต์เพิ่มมากขึ้นจัดอยู่ในอันดับ 2 ด้วยคะแนนที่เท่ากัน  ในแต่ละกรณี Generative AI จะมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพลิกโฉมและการเพิ่มความคล่องตัวให้แก่ซัพพลายเชนด้านคอนเทนต์ และช่วยให้แบรนด์ต่างๆ ทั่วโลกสามารถตอบสนองความต้องการด้านคอนเทนต์ของลูกค้าที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นทวีคูณ เช่น 2 เท่า, 5 เท่า และ 10 เท่า

บุคลากรฝ่ายการตลาดและ CX ยังมีข้อกังวลใจ

แม้ว่านักการตลาดส่วนใหญ่มีความเห็นด้านบวกเกี่ยวกับประโยชน์ของ Generative AI แต่ก็ยังคงมีความกังวลใจในบางเรื่อง โดยมีการจัดอันดับข้อกังวลใจที่สำคัญที่สุด ได้แก่ คุณภาพของข้อมูล ข้อความก๊อปปี้ หรือรูปภาพ (อันดับ 1), ความเสี่ยงต่อการละเมิดลิขสิทธิ์ (อันดับ 2) และการขาดความโปร่งใสเกี่ยวกับวิธีการฝึกโมเดล AI (อันดับ 3)

โดยรวมแล้ว ผลการศึกษาเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า Generative AI มีอนาคตที่สดใสทั้งสำหรับผู้บริโภคและแบรนด์  โดยลูกค้าและผู้เชี่ยวชาญด้านแบรนด์ส่วนใหญ่มีความพร้อมและตื่นเต้นที่จะได้เห็นการใช้งาน Generative AI เพื่อปรับปรุงผลิตภัณฑ์ บริการ และประสบการณ์ และตอนนี้ก็ขึ้นอยู่กับแบรนด์ต่างๆ แล้วที่จะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อขยายขอบเขตความเป็นไปได้และนำเสนอสิ่งที่ลูกค้าคาดหวังอย่างมีความรับผิดชอบได้อย่างไร

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางที่แตกต่างของอะโดบีสำหรับ Generative AI รวมถึงประสบการณ์ลูกค้ายุคหน้าที่ได้รับการปรับปรุงโดย Adobe Sensei GenAI และ Adobe Firefly ซึ่งทำหน้าที่เป็น Co-pilot สำหรับงานครีเอทีฟ


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

อะโดบีขยายการดำเนินงานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปิดสำนักงานในประเทศไทย

กรุงเทพฯ, ประเทศไทย – วันที่ 10 พฤษภาคม 2566 – อะโดบี (Nasdaq: ADBE) เปิดสำนักงานในประเทศไทยตอกย้ำความมุ่งมั่นในการขยายธุรกิจในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว การจัดตั้งสำนักงานแห่งใหม่นี้สะท้อนให้เห็นถึงการลงทุนเชิงกลยุทธ์ของบริษัทฯ เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจโดยอาศัยนวัตกรรม

สำนักงานของอะโดบีในสิงคโปร์รองรับการให้บริการในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มานานกว่า 21 ปี และการจัดตั้งสำนักงานแห่งใหม่ในประเทศไทยนับเป็นการตอกย้ำความมุ่งมั่นของอะโดบีที่มีต่อลูกค้าและพาร์ทเนอร์ในภูมิภาคนี้

ไซมอน เดล, รองประธานบริหาร และกรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA) และเกาหลีของอะโดบี กล่าวว่า “ประเทศไทยเป็นตลาดที่สำคัญสำหรับอะโดบีมาโดยตลอด และเรามีแผนที่จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจของเราด้วยการเปิดสำนักงานแห่งใหม่ที่นี่  ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจดิจิทัลที่เติบโตเร็วที่สุดในภูมิภาคนี้ และการมีสำนักงานในไทยนับเป็นก้าวที่สำคัญที่ช่วยให้เราสนับสนุน ลูกค้าและพาร์ทเนอร์ในอุตสาหกรรมต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น ควบคู่ไปกับการรักษาสายสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นกับทีมของเรา”

สำนักงานแห่งใหม่ในไทยตั้งอยู่ใจกลางย่านธุรกิจ ภายในอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่ได้รับการรับรอง LEED Platinum โดยเป็นสถานที่ทำงานแบบไฮบริดที่ช่วยให้พนักงานสามารถทำงานร่วมกันและติดต่อสื่อสารกับลูกค้าได้อย่างราบรื่น โดยพื้นที่ทำงานร่วมกันมีสิ่งอำนวยความสะดวกล้ำสมัยที่ออกแบบมาเพื่อรองรับการประชุมของทีม และการประชุมกับลูกค้า ตลอดจนโต๊ะทำงานและห้องประชุมที่สามารถใช้งานได้ทันที เพื่อเพิ่มความสะดวกในการติดต่อสื่อสารอย่างราบรื่น

ไซมอน เดล กล่าวเสริมว่า “ที่อะโดบี เรามุ่งมั่นที่จะมอบประสบการณ์การทำงานที่ดีเยี่ยมให้กับพนักงานของเรา โดยสอดรับกับบุคลิกเฉพาะตัวของพนักงาน และช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้แก่พนักงานในการนำเสนอประสบการณ์ที่น่าประทับใจให้แก่ลูกค้า  เราเชื่อว่าสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดีเป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนการสร้างสรรค์ นวัตกรรมและการเติบโต โดยเราทุ่มเทให้กับการสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่ไม่หยุดนิ่ง และเปิดกว้างสำหรับทุกคน”

สำนักงานแห่งใหม่ในประเทศไทยจะมีบทบาทสำคัญในการทำให้ความสัมพันธ์กับพาร์ทเนอร์และลูกค้าของอะโดบีแข็งแกร่งขึ้น รวมถึง เซ็นทรัล รีเทล และสยามพิวรรธน์ รองรับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องเพื่อนำเสนอประสบการณ์ลูกค้าที่ยอดเยี่ยม

เกี่ยวกับอะโดบี

อะโดบีกำลังเปลี่ยนแปลงโลกผ่านประสบการณ์ดิจิทัล ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.adobe.com


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

อะโดบีโซลูชั่น Adobe Substance 3D ช่วยแบรนด์ค้าปลีกและแฟชั่นสร้าง Prototype ยกระดับประสบการณ์ 3D Content

ซานโฮเซ่, แคลิฟอร์เนีย — 25 มกราคม 2566 — อะโดบี (Nasdaq:ADBE) จัดแสดงโซลูชั่น Substance 3D สำหรับอุตสาหกรรมค้าปลีกและแฟชั่น พร้อมเปิดเผยรายชื่อลูกค้าใหม่ ได้แก่ Amazon, Louis Vuitton และ Burberry โดยอีโคซิสเต็มส์การออกแบบ 3D ของอะโดบีประกอบด้วย 5 แอปพลิเคชั่น ได้แก่ Substance 3D Stager, Sampler, Designer, Painter และ Modeler ซึ่งช่วยให้แบรนด์ต่างๆ สามารถพลิกโฉม Value Chain ของธุรกิจ ตั้งแต่ขั้นตอนการคิดคอนเซ็ปต์และสร้างต้นแบบ ไปจนถึงการตลาด อี-คอมเมิร์ซ และประสบการณ์แบบเสมือนจริงที่แปลกใหม่สำหรับผู้บริโภค

อุตสาหกรรมค้าปลีกและแฟชั่นอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญ ขณะเดียวกันต้องเผชิญกับความต้องการผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่เพิ่มสูงขึ้นของผู้บริโภคในแต่ละฤดูกาล รวมถึงแรงกดดันในการดำเนินงานที่ยั่งยืนและมีประสิทธิภาพมากขึ้น  แบรนด์สมัยใหม่จำเป็นต้องปรับขีดความสามารถในการสร้างเนื้อหาคอนเทนต์ให้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดแก่ลูกค้า  แอปพลิเคชั่น Substance 3D ของอะโดบี ซึ่งได้รับความไว้วางใจจากผู้พัฒนาเกมชั้นนำ กำลังพลิกโฉมหน้าของอุตสาหกรรมค้าปลีกและแฟชั่น โดยแบรนด์ระดับโลกอย่างเช่น Lowe’s Home Improvement, Amazon, HUGO BOSS, Louis Vuitton, H&M และ Burberry ได้ปรับใช้โซลูชั่น Substance 3D เพื่อปรับปรุงการออกแบบผลิตภัณฑ์และกระบวนการแสดงผลภาพ ตลอดจนเร่งการสร้างเนื้อหาดิจิทัลคอนเทนต์ในขอบเขตที่กว้างมากขึ้น

ด้วยการใช้แอปพลิเคชั่น Substance 3D ทีมงานฝ่ายออกแบบผลิตภัณฑ์และการตลาดจึงสามารถสร้างและทำซ้ำชิ้นงานใหม่ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องสุ่มตัวอย่างและจัดส่งเครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ หรือแคตตาล็อกผลิตภัณฑ์ โดยต้นแบบและงานดีไซน์ 3D ที่ดูสมจริงช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ช่วยให้ทีมงานสามารถทุ่มเทให้กับงานออกแบบสร้างสรรค์ได้อย่างเต็มที่  เทคโนโลยีดังกล่าวช่วยประหยัดทั้งเวลาและทรัพยากร และช่วยให้แบรนด์ต่างๆ สามารถโฟกัสไปที่การนำเสนอประสบการณ์ใหม่ๆ ให้แก่ผู้บริโภค เช่น ห้องลองเสื้อผ้าเสมือนจริง โซลูชั่นสำหรับ personalized e-commerce และอื่นๆ อีกมากมาย

จอห์น-แดเนียล ไอแซคสัน ผู้พัฒนากระบวนการออกแบบของ H&M กล่าวว่า “ประโยชน์ของการใช้วัสดุ Substance ใน CLO สำหรับชิ้นงานที่ทำอยู่ และความสามารถในการเปลี่ยนแปลงค่าพารามิเตอร์ของวัสดุระหว่างที่กำลังดำเนินการนับเป็นการสร้างมาตรฐานใหม่อย่างแท้จริง”

ไมค์ จิล ผู้จัดการฝ่ายผลิตโฆษณาของ Lowe’s Home Improvement กล่าวว่า “เครื่องมือ Adobe Substance 3D นำเสนอภาพ CGI คุณภาพสูงสำหรับโมเดล 3D และฉากในห้อง  ด้วยการใช้ความเชี่ยวชาญและความใส่ใจในรายละเอียด เราจึงสามารถพัฒนากระบวนการที่มีความคล่องตัวสูง ซึ่งในทางกลับกันทำให้เราทำงานได้เสร็จเร็วขึ้นและต้นทุนต่ำลง”

ดูราย มูรูกัน วีระสามี ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายปฏิบัติการ 3D ของ Amazon กล่าวว่า “Adobe Substance 3D เป็นองค์ประกอบสำคัญในเวิร์กโฟลว์การผลิตชิ้นงาน 3D ของเรา เวิร์กโฟลว์ที่สอดคล้องกันอย่างกลมกลืนมีข้อดีมากมาย ช่วยให้เราสามารถสร้างองค์ประกอบ 3D ที่เปลี่ยนภาพและวิดีโอแบบพาสซีฟให้กลายเป็นประสบการณ์แบบแอคทีฟที่ลูกค้าสามารถปรับแต่งให้เหมาะกับความต้องการของตนเองได้”

โซลูชั่น Substance 3D ของอะโดบีสำหรับธุรกิจค้าปลีกและแฟชั่นประกอบด้วยแอปพลิเคชั่นต่อไปนี้:

  • Substance 3D Stager: สตูดิโอเสมือนจริงที่มีอุปกรณ์ครบครันของอะโดบีช่วยให้นักออกแบบสามารถสร้างฉาก 3D เต็มรูปแบบ รวมไปถึงองค์ประกอบต่างๆ วัสดุ แสง และกล้อง  ด้วยการควบคุมงานสร้างสรรค์ที่ไร้ขีดจำกัด แบรนด์ต่างๆ จึงสามารถสร้างสภาพแวดล้อมแบบกำหนดเองได้หลากหลายรูปแบบ เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคออนไลน์สามารถดูผลิตภัณฑ์ในบริบทที่เกี่ยวข้องได้อย่างสมจริง เช่น ซูมเข้า-ออกเพื่อวัดขนาดของโซฟา หรือซูมเข้าเพื่อตรวจดูว่าพื้นผิวมีความสวยงามอย่างที่ผู้บริโภคต้องการหรือไม่
  • Substance 3D Sampler: รูปภาพในชีวิตจริง (Real-life picture) สามารถเปลี่ยนเป็นวัสดุและแบบจำลองที่แม่นยำทางกายภาพได้อย่างง่ายดาย ด้วยฟีเจอร์ที่ช่วยประหยัดเวลาซึ่งขับเคลื่อนด้วย Adobe Sensei  หากต้องการปรับเปลี่ยนคอลเลกชั่นตามฤดูกาล นักออกแบบก็สามารถนำเอาเนื้อผ้ายอดนิยมที่สร้างไว้ใน Sampler กลับมาใช้ใหม่ทำให้สร้างผลิตภัณฑ์เพิ่มได้อย่างรวดเร็ว เพื่อรองรับเทรนด์ใหม่ตามที่คาดการณ์ไว้
  • Substance 3D Designer: เครื่องมือมาตรฐานอุตสาหกรรมสำหรับการสร้างวัสดุโดยใช้ค่าพารามิเตอร์ ช่วยให้สามารถสร้างวัสดุและแพทเทิร์นได้อย่างไร้รอยต่อ  ในการทำงานกับวัสดุต่างๆ เช่น หนัง แบรนด์เครื่องแต่งกายจะสามารถเลือกสี ลายผ้าแบบ grain direction และความสม่ำเสมอ ระดับความหยาบหรือเรียบ และระดับการสึกหรอ เพื่อทำให้ผลิตภัณฑ์ดูมีชีวิตชีวา
  • Substance 3D Painter: แอปสร้างพื้นผิว 3D ที่จำเป็นของอะโดบีช่วยให้นักออกแบบสามารถสร้างรายละเอียดพื้นผิวที่สมจริงเป็นพิเศษด้วย Smart Materials แบรนด์ต่างๆ จะสามารถจำลองพฤติกรรมของวัสดุในชีวิตจริง ซึ่งรวมถึงการเคลือบเงา การทำให้หมอง หรือการเคลือบใส เพื่อแสดงรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น สามารถแสดงแบบรองเท้า ตั้งแต่สภาพหนังแรกเริ่มตอนจดสิทธิบัตรไปจนถึงหนังที่เสื่อมสภาพ
  • Substance 3D Modeler: เครื่องมือที่ยืดหยุ่นและใช้งานง่ายสำหรับการร่างภาพสเก็ตช์และกำหนดแนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์ในเวิร์กโฟลว์แบบไฮบริด ซึ่งใช้งานร่วมกับ VR และงานครีเอทีฟบนเดสก์ท็อปแบบเก่าเข้าไว้ด้วยกัน  แบรนด์ต่างๆ จะสามารถสร้างต้นแบบเสมือนจริงแบบ clay model เพื่อสร้างชิ้นงานออกแบบที่ไร้ขีดจำกัด ตั้งแต่ของเล่นชิ้นใหม่ ไปจนถึงหูฟัง กระเป๋าถือ และอื่นๆ
  • Substance 3D Assets Library: บูรณาการและเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชั่น Substance 3D ทั้งหมด ไลบรารี 3D Assets เป็นที่รวบรวมวัตถุ แสง และวัสดุที่พร้อมใช้ในงานดีไซน์มากกว่า 15,000 รายการ ซึ่งสร้างสรรค์โดยผู้เชี่ยวชาญและศิลปินรับเชิญระดับโลก ช่วยให้แบรนด์ต่างๆ สามารถพัฒนาและปรับแต่งรันเวย์ ฉากถ่ายทำ และสตูดิโอเสมือนจริงได้อย่างรวดเร็ว

เซบาสเตียน เดอกีย์ รองประธานและหัวหน้าฝ่าย 3D ของอะโดบี กล่าวว่า “อีโคซิสเต็มส์ของ Substance 3D ช่วยให้นักออกแบบสามารถสร้างพื้นผิวและเรนเดอร์ภาพได้อย่างง่ายดายและเป็นธรรมชาติ  ปัจจุบันผู้ค้าปลีกและธุรกิจอี-คอมเมิร์ซกำลังมองหาเครื่องมือ 3D เพื่อตอบสนองความต้องการสำหรับดิจิทัลคอนเทนต์ที่เพิ่มสูงขึ้น โดยชุดแอป Substance 3D ของอะโดบีสำหรับธุรกิจค้าปลีกและแฟชั่นจะช่วยพลิกโฉมขั้นตอนการสร้างคอนเทนต์ ปลดล็อกความคิดสร้างสรรค์ และเพิ่มประสิทธิภาพให้กับภาคธุรกิจนี้”

สร้างคอนเทนต์ในรูปแบบ 3D ช่วยลดเวลาในการผลิตงานครีเอทีฟ ลดการใช้ทรัพยากร และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้อย่างมาก  รายงาน Pfeiffer ฉบับล่าสุดระบุว่า บริษัทต่างๆ ที่ใช้เวิร์กโฟลว์ 3D แทนการถ่ายภาพจริง ช่วยลดชั่วโมงทำงานและการใช้ทรัพยากรได้ถึง 90% นอกจากนั้น Substance 3D Sustainability Calculator ของอะโดบี ซึ่งเพิ่งเปิดตัวไปเมื่อเร็วๆ นี้ ช่วยให้องค์กรธุรกิจประเมินได้ว่าการปรับเปลี่ยนโครงงานไปสู่ 3D จะช่วยให้ได้ผลลัพธ์ที่เร็วขึ้นและประหยัดมากขึ้น ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ  ด้วยการลดความสิ้นเปลืองในการสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบของจริง นักออกแบบจะสามารถทุ่มเทให้กับสิ่งที่สำคัญที่สุด นั่นคือ การส่งมอบผลิตภัณฑ์และประสบการณ์ที่ดีเยี่ยมให้แก่ผู้บริโภค

ที่งานสมาพันธ์ผู้ค้าปลีกแห่งชาติ (National Retail Federation – NRF) อะโดบีได้แสดงการเติบโตของฐานธุรกิจในส่วนของอุตสาหกรรมค้าปลีก โดยเทคโนโลยีของอะโดบีทำหน้าที่เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล และกว่า 85% ของผู้ค้าปลีกชั้นนำ 100 รายในสหรัฐฯ ไว้วางใจเลือกใช้คอมเมิร์ซโซลูชั่นของอะโดบีเพื่อรองรับการดำเนินงาน

เกี่ยวกับอะโดบี

อะโดบีกำลังเปลี่ยนแปลงโลกผ่านประสบการณ์ดิจิทัล ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.adobe.com


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

อะโดบีเผยเทรนด์ช้อปปิ้งปลายปี คาดผู้บริโภคทั่วโลกทำสถิติช้อปสูงสุด 30 ล้านล้านบาท “ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง” กลายเป็นเทรนด์ยอดนิยมในหมู่ผู้บริโภค

วันนี้อะโดบีได้เผยแพร่ข้อมูลคาดการณ์เกี่ยวกับช้อปปิ้งออนไลน์ สำหรับช่วงเทศกาลปลายปี 2564 (1 พฤศจิกายน – 31 ธันวาคม) โดยเป็นส่วนหนึ่งของรายงานดัชนีเศรษฐกิจดิจิทัลของอะโดบี (Adobe Digital Economy Index) ซึ่งข้อมูลที่เกี่ยวกับอี-คอมเมิร์ซในสหรัฐฯ และทั่วโลกนั้นได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลธุรกรรมออนไลน์ของผู้บริโภคโดยตรง (direct consumer transactions online) ทั้งนี้ รายงานวิเคราะห์ดังกล่าวอ้างอิงข้อมูลจาก Adobe Analytics จากการเยี่ยมชมเว็บไซต์ผู้ค้าปลีกของสหรัฐฯ มากกว่าหนึ่งล้านล้านครั้ง รวมถึงสินค้ากว่า 100 ล้านรายการใน 18 หมวดหมู่ ส่วนข้อมูลทั่วโลกนั้นได้จากธุรกรรมกว่า 100 ประเทศใน 3 ภูมิภาค ซึ่งนับเป็นการศึกษาที่ครอบคลุมมากกว่าบริษัทเทคโนโลยี หรือหน่วยงานวิจัยอื่นๆ

อะโดบีคาดการณ์ยอดขายสินค้าออนไลน์ในสหรัฐฯ ช่วงเทศกาลช้อปปิ้งปลายปีจะแตะ 207 พันล้านดอลลาร์ (ประมาณ 6.8 ล้านล้านบาท) ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน ถึง 31 ธันวาคม ซึ่งนับเป็นสถิติใหม่ โดยเพิ่มขึ้น 10 เปอร์เซ็นต์จากปี 2653 และถือเป็นอัตราการเติบโตที่แข็งแกร่งหลังจากหนึ่งปีที่สถานการณ์การแพร่ระบาดส่งผลให้อี-คอมเมิร์ซกลายเซอร์วิสที่มีความจำเป็นต่อผู้บริโภค ขณะที่ยอดใช้จ่ายออนไลน์ทั่วโลกอาจแตะ 910 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 30 ล้านล้านบาท) เพิ่มขึ้น 11 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY)  นอกจากนี้ อะโดบีคาดการณ์ว่ายอดใช้จ่ายทั่วโลกตลอดปี 2564 จะมากกว่า 4 ล้านล้านดอลลาร์ (ประมาณ 4.1 ล้านล้านดอลลาร์) หรือประมาณ 133 ล้านล้านบาท ซึ่งนับเป็นสถิติใหม่สำหรับอี-คอมเมิร์ซ

 

ขณะที่อี-คอมเมิร์ซได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมากขึ้นในสหรัฐฯ แต่ความสนใจช้อปปิ้งในช่วงเทศกาลหลักๆ ได้รับความนิยมน้อยลง ตัวอย่างเช่น ช่วงสัปดาห์ Cyber Week (ช่วงวันขอบคุณพระเจ้าถึงวัน Cyber Monday) คาดว่าจะมียอดใช้จ่ายออนไลน์ 36 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็น 17 เปอร์เซ็นต์ตลอดเทศกาล อย่างไรก็ตาม อัตราการเติบโตดังกล่าวลดลง โดยอยู่ที่เพียง 5 เปอร์เซ็นต์ YoY สำหรับช่วงระยะเวลา 5 วัน (น้อยกว่าอัตราการเติบโตโดยรวมของช่วงเทศกาล ซึ่งอยู่ที่ 10 เปอร์เซ็นต์ YoY)  อะโดบีคาดว่าช่วง Cyber Monday จะมียอดใช้จ่าย 11.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (เพิ่มขึ้น 4 เปอร์เซ็นต์ YoY) และจะยังคงเป็นวันที่มียอดใช้จ่ายสูงสุดสำหรับเทศกาล ขณะที่ช่วง Black Friday คาดว่าจะมียอดใช้จ่ายอยู่ที่ 9.5 พันล้านดอลลาร์ (เพิ่มขึ้น 5 เปอร์เซ็นต์ YoY) และวันขอบคุณพระเจ้ามียอดใช้จ่ายอยู่ที่ 5.4 พันล้านดอลลาร์ (เพิ่มขึ้น 6 เปอร์เซ็นต์ YoY)  วันช้อปปิ้งหลักๆ ทั้งสามวันดังกล่าวมีอัตราการเติบโตน้อยกว่าเทศกาลโดยรวม

ปัญหาด้านซัพพลายเชนส่งผลกระทบต่อเทศกาลช้อปปิ้ง

ความต้องการช้อปปิ้งออนไลน์ของผู้บริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่ผู้ค้าปลีกกำลังประสบปัญหาต่างๆ ในด้านซัพพลายเชน เช่น ปัญหาความหนาแน่นของสินค้าและตู้คอนเทนเนอร์ของท่าเรือ การขนส่งที่ล่าช้า และการผลิตสินค้าในต่างประเทศที่หยุดชะงัก  ขณะเดียวกันผู้บริโภคก็รู้สึกได้ถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยเมื่อเทียบกับช่วงก่อนที่จะเกิดการแพร่ระบาด (มกราคม 2563) ข้อความแจ้งเตือนว่าสินค้าหมดสต็อกมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นถึง 172 เปอร์เซ็นต์ช่วงเทศกาล ทั้งนี้ อะโดบีคาดการณ์ว่าตัวเลขดังกล่าวจะยังคงทรงตัวอยู่ในระดับนี้ต่อไป และอาจเพิ่มขึ้นสำหรับสินค้าบางรายการตลอดช่วงเทศกาล จากสินค้า 18 หมวดหมู่ที่อะโดบีทำการตรวจสอบ พบว่าในปัจจุบัน สินค้าประเภทเครื่องแต่งกายเป็นสินค้าที่หมดสต็อกมากที่สุด ตามด้วยสินค้าประเภทอุปกรณ์กีฬา ผลิตภัณฑ์สำหรับทารก และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์

 

นอกจากนี้ ปัญหาซัพพลายเชนก็ส่งผลให้ราคาสินค้าออนไลน์ปรับสูงขึ้น โดยอะโดบีคาดว่าผู้บริโภคในสหรัฐฯ จะต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 9 เปอร์เซ็นต์ในช่วง Cyber Week ของปีนี้ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งเป็นผลมาจากส่วนลดที่น้อยลง อีกทั้งยังเกิดสถานการณ์เงินเฟ้อในภาคธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ ซึ่งเป็นปัญหายืดเยื้อที่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี อะโดบีคาดว่าส่วนลดจะอยู่ที่ 5 เปอร์เซ็นต์ ถึง 25 เปอร์เซ็นต์สำหรับสินค้าหมวดหมู่ต่างๆ ในช่วงปลายปีนี้ เปรียบเทียบกับส่วนลดโดยเฉลี่ย 10 เปอร์เซ็นต์ ถึง 30 เปอร์เซ็นต์ในปีที่ผ่านมา

กรณีดังกล่าวสืบเนื่องมาจากราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น โดยเป็นผลมาจากสถานการณ์เงินเฟ้อในภาคธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2563 (16 เดือนติดต่อกัน) โดยราคาสินค้าออนไลน์เพิ่มสูงขึ้น 3.3 เปอร์เซ็นต์ในช่วงเริ่มเข้าสู่เทศกาลปลายปี (กันยายน 2564) หลายปีที่ผ่านมา ราคาสินค้าออนไลน์ลดลงโดยเฉลี่ย 5 เปอร์เซ็นต์ YoY ก่อนที่จะเข้าสู่ช่วงเทศกาลปลายปี  อย่างไรก็ตาม ราคาสินค้าอี-คอมเมิร์ซไม่ได้เพิ่มสูงขึ้นเร็วเท่าสินค้าออฟไลน์ อย่างไรก็ตามดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index) ล่าสุดเพิ่มขึ้น 5.4 เปอร์เซ็นต์ YoY (กันยายน 2021)

แพทริค บราวน์ รองประธานฝ่ายการตลาดและข้อมูลเชิงลึกของอะโดบี กล่าวว่า “เทศกาลช้อปปิ้งปลายปีกำลังกลับมาอีกครั้งภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาด การที่มีสินค้าจำนวนจำกัด ราคาสินค้าที่แพงขึ้น และความกังวลของผู้บริโภคกับการขนส่งที่ล่าช้าทำให้อี-คอมเมิร์ซเติบโตสูงขึ้นอีกครั้ง เพราะช่องทางดังกล่าวสามารถสร้างความยืดหยุ่นแก่ผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้า และเลือกช่วงเวลาที่ซื้อได้”

ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับส่วนลด และช่วงวันที่เหมาะกับการช้อปปิังมากที่สุด:

ส่วนลดตามหมวดหมู่สินค้า: อะโดบีคาดว่าสินค้าทุกประเภทที่นิยมให้เป็นของขวัญจะมีส่วนลดน้อยลง ตามข้อมูลจากดัชนีเศรษฐกิจดิจิทัล ตัวอย่างเช่น สินค้าอิเล็กทรอนิกส์จะลดสูงสุดได้เพียง 22 เปอร์เซ็นต์สำหรับช่วงเทศกาลปลายปี ลดลงจาก 27 เปอร์เซ็นต์ในปี 2563  ส่วนสินค้าประเภทอื่นๆ ได้แก่ คอมพิวเตอร์มีส่วนลดสูงสุดอยู่ที่ 25 เปอร์เซ็นต์ (เทียบกับ 30 เปอร์เซ็นต์ในปี 2563), โทรทัศน์ 15 เปอร์เซ็นต์ (เทียบกับ 18 เปอร์เซ็นต์), เครื่องใช้ไฟฟ้า 16 เปอร์เซ็นต์ (เทียบกับ 20 เปอร์เซ็นต์), ของเล่น 16 เปอร์เซ็นต์ (เทียบกับ 19 เปอร์เซ็นต์), สินค้าประเภทเครื่องกีฬา 14 เปอร์เซ็นต์ (เทียบกับ 20 เปอร์เซ็นต์), เครื่องแต่งกาย 15 เปอร์เซ็นต์ (เทียบกับ 20 เปอร์เซ็นต์), เฟอร์นิเจอร์ 7 เปอร์เซ็นต์ (เทียบกับ 9 เปอร์เซ็นต์) และอุปกรณ์เครื่องมือ 8 เปอร์เซ็นต์ (เทียบกับ 11 เปอร์เซ็นต์)

ช่วงเวลาที่เหมาะแก่การช้อป: อะโดบีได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคกว่า 1,000 คนในสหรัฐฯ และพบว่า 67 เปอร์เซ็นต์รู้สึกเป็นกังวลว่าในปีนี้ของขวัญจะมีราคาแพงขึ้น  ส่วนลดช่วงเทศกาลคาดว่าจะเริ่มต้นในเดือนตุลาคม โดยอยู่ในช่วง 5 เปอร์เซ็นต์ ถึง 15 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ผู้ค้าปลีกกำลังมองหาหนทางที่จะแก้ไขปัญหาท้าทายด้านซัพพลายเชน  อย่างไรก็ดี ส่วนลดสูงสุด (5 เปอร์เซ็นต์ ถึง 25 เปอร์เซ็นต์) คาดว่าจะยังคงเกิดขึ้นในช่วงวันขอบคุณพระเจ้าและ Cyber Monday

สินค้าบางประเภท เช่น สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าจะมีส่วนลดสูงสุดก่อนวัน Cyber Monday  ส่วนช่วงวันที่เหมาะแก่การช้อปสินค้าประเภทต่างๆ ได้แก่ วันขอบคุณพระเจ้า (25 พ.ย.) สำหรับของเล่น, Black Friday (26 พ.ย.) สำหรับเฟอร์นิเจอร์/เครื่องนอน และเครื่องมือ/อุปกรณ์แต่งบ้าน, วันเสาร์ (27 พ.ย.) สำหรับสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า, วันอาทิตย์ (28 พ.ย.) สำหรับเครื่องแต่งกายและสินค้าประเภทเครื่องกีฬา, Cyber Monday (29 พ.ย.) สำหรับโทรทัศน์ และวันพุธ (1 ธ.ค.) สำหรับคอมพิวเตอร์

อินไซต์เกี่ยวกับบริการซื้อก่อน จ่ายทีหลัง, ของขวัญยอดนิยม, รับสินค้าหน้าร้านแบบไดร์ฟทรู และอื่นๆ:

ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง: ผู้บริโภคให้การตอบรับที่ดีต่อรูปแบบการชำระเงินแบบใหม่ที่เรียกว่า “บริการซื้อก่อน จ่ายทีหลัง (Buy Now Pay Later – BNPL)” ซึ่งจะช่วยเพิ่มเงินสดหมุนเวียนสำหรับการจับจ่ายใช้สอยในช่วงเทศกาลปลายปี  รายได้ออนไลน์จาก BNPL ในปีนี้เพิ่มขึ้น 10 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับปี 2563 และเพิ่มขึ้น 45 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับปี 2562 ตามข้อมูลจาก Adobe Analytics  นอกจากนั้น ผู้บริโภคยังใช้บริการ BNPL สำหรับสินค้าที่มีราคาสูงน้อยลง โดยมูลค่าขั้นต่ำของคำสั่งซื้อลดลง 12 เปอร์เซ็นต์ YoY ไปอยู่ที่ 225 ดอลลาร์  ทั้งนี้ จากการสำรวจของอะโดบี พบว่าผู้ตอบแบบสอบถาม 25 เปอร์เซ็นต์ใช้บริการ BNPL ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา โดยสินค้าหมวดเครื่องแต่งกาย (ระบุโดยผู้ตอบแบบสอบถาม 43 เปอร์เซ็นต์), สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (33 เปอร์เซ็นต์) และของชำ (30 เปอร์เซ็นต์) เป็นหมวดหมู่สินค้าที่มีการใช้บริการดังกล่าวมากที่สุด

บริการรับสินค้าหน้าร้านแบบไดร์ฟทรู กลายเป็นดาวเด่นอีกครั้ง: ในเดือนธันวาคม 2563 มีการใช้บริการรับสินค้าที่สั่งซื้อทางออนไลน์จากร้านค้าแบบไดร์ฟทรู (Curbside Pickup) ราว 25 เปอร์เซ็นต์ของคำสั่งซื้อออนไลน์ทั้งหมด เนื่องจากผู้บริโภคมองหาวิธีการช้อปปิ้งอย่างปลอดภัย  และในช่วงเทศกาลปลายปีที่กำลังจะมาถึง คาดว่าปัญหาความล่าช้าในการจัดส่งจะทำให้ผู้บริโภคหันมาใช้บริการนี้เพิ่มมากขึ้น โดยจากผลการสำรวจของอะโดบี ชี้ว่า 65 เปอร์เซ็นต์ของผู้บริโภคมีความกังวลใจเกี่ยวกับความล่าช้าในการจัดส่งสินค้า และอะโดบีคาดว่าบริการ Curbside Pickup จะมียอดใช้งานสูงสุดในช่วงวันที่ 22-23 ธันวาคม (ก่อนวันคริสต์มาสอีฟ) โดยจะทำสถิติสูงสุดที่ 40 เปอร์เซ็นต์ของคำสั่งซื้อออนไลน์ทั้งหมด แต่ในเดือนพฤศจิกายน 2564 คาดว่าอัตราการใช้บริการจะทรงตัวอยู่ที่ 25 เปอร์เซ็นต์

ของขวัญยอดนิยม: จากข้อมูลของอะโดบี รวมถึงข้อมูลวิเคราะห์แนวโน้มตลาดและกระแสโซเชียลมีเดีย คาดว่าของเล่นยอดนิยมในช่วงเทศกาลปลายปีได้แก่ Tamagotchi Pix, Pop Fidget, Got2Glow Fairy Finder, Baby Yoda, และ Gabby’s Dollhouse  ส่วนอุปกรณ์เล่นเกมยอดนิยมได้แก่ Nintendo Switch OLED, PlayStation 5, Xbox Series S/X และ Stream Deck  ขณะที่เกมยอดนิยมคาดว่าจะเป็น Metroid Dread, Battlefield 2042, Pokemon Brilliant Diamond & Shining Pearl, Halo Infinite และ FIFA 22  ส่วนของขวัญยอดนิยมอื่นๆ ได้แก่ Airpods Max, ถ้วยกาแฟอัจฉริยะ, หม้ออเนกประสงค์ Instant Pot, หม้อทอดไร้น้ำมัน, กระบอกน้ำอัจฉริยะ, โดรน และเครื่องเล่นแผ่นเสียง

ให้ความสนใจหน้าจอที่ใหญ่ขึ้น: ปัจจุบันผู้บริโภคใช้เวลาอยู่บ้านและทำงานหน้าแล็ปท็อปมากขึ้น ส่งผลให้ยอดช้อปปิ้งของสมาร์ทโฟนไม่มากนัก อะโดบีคาดว่ายอดซื้อสมาร์ทโฟนจะครองสัดส่วน 42 เปอร์เซ็นต์ของรายได้โดยรวมในช่วงเทศกาลปลายปีนี้ (86 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) และเพิ่มขึ้น 5 เปอร์เซ็นต์จากปี 2563

การใช้เวลาอยู่ที่บ้านมากขึ้นส่งผลให้ผู้บริโภคสนใจจอทีวีขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน เพราะต้องการสัมผัสประสบการณ์โฮมเธียเตอร์ โดยความต้องการทีวีขนาด 70-79 นิ้วมีสัดส่วน 22 เปอร์เซ็นต์ของยอดขายในปี 2563 เพิ่มขึ้นจาก 16 เปอร์เซ็นต์ในปี 2562 และ 9 เปอร์เซ็นต์ในปี 2561  ส่วนทีวีขนาด 80 นิ้วขึ้นไปคิดเป็นสัดส่วน 3 เปอร์เซ็นต์ของยอดขายในปี 2563 เพิ่มขึ้นจาก 1 เปอร์เซ็นต์ในปี 2562 และ 1 เปอร์เซ็นต์ในปี 2561

ผู้บริโภคสนุกกับการช้อปปิ้งมากขึ้น: โดยเฉลี่ยแล้ว ผู้บริโภคในสหรัฐฯ จะใช้เวลา 12 ชั่วโมงเต็มไปกับการช้อปออนไลน์ในช่วงเทศกาลปลายปีนี้  โดย “นาทีทอง” ของอี-คอมเมิร์ซ (19:00–23:00 น. ตามเวลาฝั่งแปซิฟิกของวัน Cyber Monday) ผู้บริโภคจะใช้จ่ายเงินเกือบ 3 พันล้านดอลลาร์ผ่านทางออนไลน์ (2.9 พันล้านดอลลาร์) ในช่วงเวลาเพียง 4 ชั่วโมง ซึ่งมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับช่วงเวลาหนึ่งวันเต็มตามปกติในเดือนสิงหาคม 2564 (1.9 พันล้านดอลลาร์)  และในชั่วโมงที่มียอดขายสูงสุดของ Cyber Monday (20:00–12:00 น. ตามเวลาฝั่งแปซิฟิก) ผู้บริโภคจะใช้จ่ายเงินกว่า 12 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในทุกๆ หนึ่งนาที

“ประสบการณ์” คือของขวัญชิ้นใหม่: จากผลการสำรวจของอะโดบี พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามกว่าครึ่งหนึ่ง (51 เปอร์เซ็นต์) มีแผนที่จะซื้อสินค้าที่จับต้องได้เป็นของขวัญให้แก่คนอื่นๆ ในช่วงเทศกาลปลายปีนี้ ขณะที่เกือบหนึ่งในห้า (17 เปอร์เซ็นต์) มีแผนที่จะให้ของขวัญในรูปแบบของประสบการณ์แทน โดยของขวัญยอดนิยมจำพวกนี้ได้แก่ บริการสปา ทรีทเมนต์ (ระบุโดยผู้ตอบแบบสอบถาม 25 เปอร์เซ็นต์), ตั๋วคอนเสิร์ต (25 เปอร์เซ็นต์), ตั๋วชมการแข่งขันกีฬา (22 เปอร์เซ็นต์), ตั๋วเครื่องบิน (21 เปอร์เซ็นต์) และคอร์สเรียนทำอาหาร (16 เปอร์เซ็นต์)

ระเบียบวิธีที่ใช้ในการศึกษา: ดัชนีเศรษฐกิจดิจิทัลของอะโดบีนำเสนอชุดข้อมูลเชิงลึกที่ครบถ้วนสมบูรณ์มากที่สุด โดยอ้างอิงข้อมูลวิเคราะห์จาก Adobe Analytics ซึ่งครอบคลุมการ visit เว็บไซต์ค้าปลีกในสหรัฐฯ มากกว่าหนึ่งล้านล้านครั้ง และสินค้ากว่า 100 ล้านรายการใน 18 หมวดหมู่ ซึ่งนับเป็นข้อมูลที่มากกว่าบริษัทเทคโนโลยีหรือหน่วยงานวิจัยอื่นๆ  นอกจากนี้ ข้อมูลทั่วโลกได้อ้างอิงธุรกรรมในกว่า 100 ประเทศในทวีปอเมริกา, เอเชีย-แปซิฟิก (APAC), ยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา (EMEA)  ข้อมูลสำรวจความคิดเห็นจากการตอบแบบสอบถามของผู้บริโภค (อายุเกินกว่า 18 ปี) ในสหรัฐฯ 1,012 คน ในช่วงวันที่ 23 กันยายน ถึง 1 ตุลาคมที่ผ่านมา


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

รายงานเทรนด์ดิจิทัลปี 2564 อะโดบีเผย “ข้อมูลเชิงลึก” และ “ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล” คือสิ่งที่องค์กรธุรกิจให้ความสำคัญมากที่สุดในปี 2564

กรุงเทพฯ – 5 มีนาคม 2564 – รายงานเทรนด์ดิจิทัล (Digital Trends Report) ประจำปี 2564 ของอะโดบี ระบุว่า ในปี 2564 องค์กรธุรกิจจำนวนมากในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (APAC) จะให้ความสำคัญกับเรื่องของความสามารถและรวดเร็วในการกลั่นกรองข้อมูลเชิงลึก และมีแผนในการลงทุนส่วนนี้อย่างจริงจัง

รายงานดังกล่าวจัดทำร่วมกับ Econsultancy โดยอ้างอิงผลการสำรวจความคิดเห็นของบุคลากรฝ่ายการตลาด โฆษณา อี-คอมเมิร์ซ และไอที 13,000 คนที่ทำงานให้กับบริษัทเจ้าของแบรนด์และเอเจนซี่ต่างๆ ทั่วโลก รวมถึงออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ (ANZ) อินเดีย และเอเชีย[1]  รายงานดังกล่าวของอะโดบี ซึ่งจัดทำขึ้นเป็นปีที่ 11 มีความแตกต่างจากฉบับก่อนหน้า โดยเจาะลึกประเด็นใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการแพร่ระบาด เช่น ผลกระทบจากการทำงานจากที่บ้านของบุคลากร ประเด็นเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว รวมถึงการพยายามทำความเข้าใจผู้อื่น และการนึกถึงความรู้สึกของผู้อื่น (Empathy) ซึ่งทั้งหมดเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนประสบการณ์

ดิจิทัลดิสรัปชั่น (Digital Disruption) ในปี 2563 ทำให้องค์กรธุรกิจตระหนักว่าตนเองจำเป็นที่จะต้องเข้าใจข้อมูล และดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูลให้รวดเร็วมากขึ้น  ทั้งนี้ ผู้บริหารใน ANZ เพียงหนึ่งในสาม (35%) เชื่อมั่นว่าองค์กรของตนมีความสามารถในการกลั่นกรองและเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกอย่างรวดเร็ว แม่นยำ และใช้งานได้จริง ขณะที่ผู้บริหารในเอเชียมีความเชื่อมั่นที่น้อยกว่า โดยอยู่ที่สัดส่วน 9%  อย่างไรก็ตาม ผู้ตอบแบบสอบถามในเอเชีย (49%) และ ANZ (40%) มีแผนที่จะลงทุนทรัพยากรเพื่อปรับปรุงขีดความสามารถด้านการวิเคราะห์และกลั่นกรองข้อมูลเชิงลึก เพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านการตลาดในปี 2564 สำหรับผู้บริหารใน ANZ จะให้ความสำคัญกับประสบการณ์ลูกค้าแบบเฉพาะบุคคล (33%) ขณะที่ผู้บริหารในเอเชียมุ่งเน้นไปที่การสร้างฐานลูกค้าใหม่ หรือการหาลูกค้าใหม่ (35%)

ดันแคน อีแกน รองประธานฝ่ายการตลาด DX ของอะโดบี ประจำภูมิภาค APAC และญี่ปุ่น กล่าวว่า องค์กรที่สามารถเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกได้ดีกว่าสามารถนำเสนอประสบการณ์ดิจิทัลที่สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้มากกว่า เมื่อเทียบกับองค์กรที่มีข้อมูลเชิงลึกในระดับที่ต่ำกว่า

“ในปี 2563 แบรนด์ต่างๆ ในทุกภาคธุรกิจสูญเสียความสามารถในการคาดการณ์แนวโน้มในอนาคต  องค์กรทุกประเภทจำเป็นต้องเข้าสู่ระบบออนไลน์อย่างเร่งด่วน และสร้างกลุ่มลูกค้าดิจิทัลที่มีความคาดหวังสูงจำนวนมาก ปัจจุบันลูกค้าถือไพ่ในมือที่เหนือกว่าในเรื่องของ ‘Digital Relationship’ โดยผู้ตอบแบบสอบถามจากฝ่ายการตลาดใน APAC กว่าครึ่งหนึ่งระบุว่าพฤติกรรมลูกค้า และ Customer Journey มีการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ปกติอย่างมีนัยยะสำคัญในปี 2563

“บริษัทที่มีกลยุทธ์ด้านประสบการณ์ลูกค้า (Customer Experience – CX) ที่แข็งแกร่งมีแนวโน้มที่จะเติบโตในระยะยาวมากกว่าคู่แข่ง เพราะมีความพร้อมที่จะปรับตัวได้ดีกว่าเพื่อให้สอดรับกับพฤติกรรมของลูกค้า และสภาพตลาดที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา รายงานฉบับนี้เน้นย้ำว่าองค์กรต่างๆ จำเป็นที่จะต้องเร่งปรับปรุงขีดความสามารถในการกลั่นกรองข้อมูลเชิงลึก และความสามารถในการดำเนินงาน โดยการใช้เทคโนโลยีและแพลตฟอร์มคลาวด์ที่ยืดหยุ่นมากขึ้น รวมถึงระบบตรวจสอบ Customer Journey แบบเรียลไทม์และครบวงจร” อีแกน กล่าว

ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ ผู้ตอบแบบสอบถามที่เชื่อมั่นเกี่ยวกับ Customer Experience ของบริษัทตนเองรู้สึกพอใจกับกลยุทธ์ของบริษัท (63% ใน ANZ เทียบกับ 73% ในอินเดีย และ 56% ในเอเชีย) และเชื่อมั่นกับการเติบโตด้านอาชีพของตนเองในอนาคต (61% ใน ANZ เทียบกับ 70% ในอินเดีย และ 57% ในเอเชีย)

อุปสรรคในการสร้าง Digital Experience
ความรวดเร็วในการเข้าถึงข้อมูลเชิงลึก และความเร็วในการดำเนินการมีความสำคัญอย่างมากกับธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนประสบการณ์ลูกค้าและการเติบโตของธุรกิจ  อย่างไรก็ดี องค์กรต่างๆ ใน APAC รายงานเกี่ยวกับอุปสรรคสำคัญ 3 ข้อที่ขัดขวางการตลาด และการสร้างจประสบการณ์ โดยอุปสรรคที่ว่านี้ได้แก่ เทคโนโลยีที่เก่าและล้าสมัย (51% ใน ANZ, 37% ในอินเดียและเอเชีย), ปัญหาเรื่องขั้นตอนการทำงาน หรือ workflow (38% ใน ANZ, 33% ในอินเดีย และ 48% ในเอเชีย) และการขาดแคลนทักษะและความสามารถทางดิจิทัล (34% ใน ANZ, 24% ในอินเดีย และ 43% ในเอเชีย)

ดันแคน อีแกน กล่าวว่า “การเปลี่ยนสู่รูปแบบการทำงานจากที่บ้านจะส่งผลกระทบระยะยาวเป็นอย่างมากต่อองค์กรธุรกิจ โดยองค์กรธุรกิจจำเป็นที่จะต้องมีการกำหนดกลยุทธ์ด้านการตลาดรูปแบบใหม่เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่และรักษาฐานลูกค้าเก่า บริษัทที่มีความก้าวหน้ามากที่สุดกำลังมองไปข้างหน้า และลงทุนในเทคโนโลยีที่รองรับการทำงานแบบไฮบริดประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้น และดึงดูดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านดิจิทัลและประสบการณ์ลูกค้า

“บริษัทต่างๆ หันมาให้ความสำคัญกับเรื่องของการเพิ่มความคล่องตัวในการดำเนินงาน และการเพิ่มขีดความสามารถใหม่ๆ ในการรองรับการดำเนินการทางด้านดิจิทัลอย่างไร้รอยต่อ โดยหนึ่งในสาม (34%) ระบุว่าบริษัทของตนมีความคล่องตัวสูงอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน และสามารถตัดสินใจได้อย่างฉับไว แนวทางการใช้เทคโนโลยีแบบไฮบริด ที่ประกอบด้วยระบบคลาวด์และระบบจัดการข้อมูลอื่นๆ จะช่วยให้องค์กรมีความยืดหยุ่นสูงและรองรับการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังสามารถปรับปรุงการทำงานโดยใช้โซลูชั่นที่มีอยู่ และสร้างโซลูชั่นใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงการปรับปรุงขีดความสามารถด้านการวิเคราะห์และกลั่นกรองข้อมูลเชิงลึกอีกด้วย”

องค์กรจำนวนมากใน APAC ได้ปรับใช้แนวทางแบบไฮบริดกันอย่างกว้างขวาง โดยผู้บริหาร 43% ใน ANZ และ 26% ในอินเดียและเอเชีย ระบุว่าองค์กรของตนใช้แพลตฟอร์มบนระบบคลาวด์ร่วมกับระบบจัดการข้อมูลด้านการตลาดอื่นๆ

ความเป็นส่วนตัว และการยินยอมเพื่อ CX ที่มีประสิทธิภาพ

ขณะที่ลูกค้าดิจิทัลมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว องค์กรธุรกิจก็หันมาให้ความสำคัญกับเรื่องความเป็นส่วนตัวของข้อมูล (Data Privacy) โดยผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนมากในภูมิภาคนี้ระบุว่า ความเป็นส่วนตัวและคำยินยอมของลูกค้าเป็นปัจจัยสำคัญในการวางแผนธุรกิจ (56% ใน ANZ, 41% ในเอเชีย)

อย่างไรก็ตาม ยังมีประเด็นปัญหาเรื่องความโปร่งใส โดยมีผู้บริหารจำนวนไม่มาก (13% ใน ANZ, 12% ในเอเชีย) ระบุว่าองค์กรของตนสามารถสื่อสารเกี่ยวกับวิธีการรวบรวมและใช้งานข้อมูลอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ  นอกจากนี้ มีผู้บริหารเพียง 10% ใน ANZ และ 13% ในเอเชียที่เชื่อว่าองค์กรของตนสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพเกี่ยวกับประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับเพื่อแลกกับคำยินยอมของลูกค้าตั้งแต่ครั้งแรกที่ลูกค้าได้สัมผัสกับแบรนด์

การพยายามทำความเข้าใจผู้อื่น และการนึกถึงความรู้สึกของผู้อื่นคืออนาคตของประสบการณ์ลูกค้า

การใช้ช่องทางดิจิทัลกลายเป็นเรื่องธรรมดาที่พบเห็นได้ทั่วไป และด้วยเหตุนี้ แบรนด์ต่างๆ จึงจำเป็นต้องมีความเข้าอกเข้าใจ และนึกถึงความรู้สึกของลูกค้า (Empathy) ซึ่งจะเป็นความต่างในการสร้าง Customer Experience การวิเคราะห์และปรับเปลี่ยนสู่ Customer’s Emotional Journey เป็นพัฒนาการขั้นถัดไปของการจัดการประสบการณ์ลูกค้า และเป็นภารกิจหลักที่สำคัญสำหรับนักการตลาด ปี 2564

อย่างไรก็ดี องค์กรส่วนใหญ่ยังต้องใช้เวลาในการสร้าง Digital Empathy (การทำความเข้าใจ และนึกถึงความรู้สึกของลูกค้าผ่านช่องทางดิจิทัล) ทั้งนี้ ผู้บริหารในอินเดียกว่าหนึ่งในสาม (37%) มีข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับทัศนคติของลูกค้า ตามด้วย 27% ใน ANZ และ 19% ในเอเชีย ส่วนข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับปัจจัยที่กระตุ้นการซื้อนั้น ปัญหาที่เป็นอุปสรรค (Friction point) และ Attribution ที่แสดงความสัมพันธ์ของการทำตลาดกับพฤติกรรมของลูกค้า อยู่ในระดับที่ดีกว่าเพียงเล็กน้อย

หากต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทรนด์ดิจิทัลสำหรับปี 2564 สามารถอ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่นี่

เกี่ยวกับรายงานเทรนด์ดิจิทัลของอะโดบีและ Econsultancy

รายงานประจำปีเกี่ยวกับเทรนด์ดิจิทัลฉบับที่ 11 ของอะโดบีและ Econsultancy อ้างอิงผลการสำรวจความคิดเห็นของบุคลากรฝ่ายการตลาด อีคอมเมิร์ซ ครีเอทีฟ และเทคโนโลยีกว่า 13,000 คนทั่วโลก

เกี่ยวกับ อะโดบี

อะโดบีเปลี่ยนโลกผ่านประสบการณ์ด้านดิจิทัล ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.adobe.com


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

Adobe Digital Insights เผยการใช้ E-signature ที่เติบโตอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน สนองกระแส Contactless และเปลี่ยนวิธีการทำงานในอนาคต

การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงเกือบทุกด้านของผู้บริโภค อะโดบีได้ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เป็นอย่างดี เพราะการเปลี่ยนแปลงที่เด่นชัดที่สุดประการหนึ่งคือการเร่งให้เกิดการใช้ e-signature ที่เป็นส่วนหนึ่งของ Document Cloud

ปีที่ผ่านมา องค์กรจำเป็นต้องเดินหน้าเพื่อให้ธุรกิจขับเคลื่อนไปได้ หนึ่งในวิธีการที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงนี้คือการใช้ “เอกสารดิจิทัล และ e-signature” โดยปี 2563 เป็นปีแห่งการเปลี่ยนการใช้กระดาษสู่เอกสารดิจิทัล โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เซ็นสัญญาแบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นครั้งแรก และจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในปีนี้และปีต่อไป

รายงาน Adobe Digital Insights ได้รวบรวมความคิดเห็นของผู้บริโภค 4,000 คนทั่วโลกเกี่ยวกับการใช้งาน e-signature เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสช่วงการแพร่ระบาด ซึ่งอ้างอิงข้อมูลใช้งาน e-signature จาก Adobe Sign ของผู้บริโภคในปี 2563 โดยพบผลการศึกษาที่สำคัญดังนี้:

การปรับใช้ E-signature อย่างแพร่หลาย
การแพร่ระบาดทำให้เราเรียนรู้ว่า การหยิบจับ หรือรับส่งเอกสารเป็นสิ่งที่ยุ่งยาก ล้าสมัย และเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ด้วยเหตุนี้ e-signature และเอกสารดิจิทัลจึงเป็นทางเลือก และเติบโตอย่างเท่าทวีคูณในปีที่แล้ว ผู้บริโภคราว 60% เซ็นชื่อในเอกสารดิจิทัลเพิ่มมากขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง Adobe Sign พบการเติบโตเป็นตัวเลขสามหลักในเดือนมิถุนายนถึงกันยายนปี เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

การเปลี่ยนการใช้จากกระดาษสู่เอกสารดิจิทัลครั้งแรกเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ PDF เปิดตัวในหลายปีก่อน แต่ผู้บริโภคชาวอเมริกันจำนวนมากไม่เคยใช้ e-signature มาก่อนจนกระทั่งปีที่แล้ว ผลการสำรวจพบว่า ชาวอเมริกันมากกว่าหนึ่งในสี่ (27%) เซ็นชื่อแบบอิเล็กทรอนิกส์ในเอกสารเป็นครั้งแรกเมื่อปีที่แล้ว โดยเอกสารครอบคลุมถึงเอกสารสำคัญต่างๆ เช่น สัญญาธุรกิจ แบบฟอร์มลงทะเบียนทางการแพทย์ สัญญาเงินกู้ สัญญาจ้างงาน และแบบฟอร์มการยินยอมต่างๆ

อย่างไรก็ดี ยังมีประเด็นอื่นๆ นอกเหนือจากการใช้ e-signature ที่เพิ่มขึ้น กล่าวคือ การแพร่ระบาดส่งผลให้ชาวอเมริกันมากกว่าหนึ่งในสาม (38%) จัดเก็บเอกสารไว้ในระบบคลาวด์ ทั้งนี้เพราะความสามารถในการจัดเก็บ จัดการ และดำเนินการเกี่ยวกับเอกสารในระบบคลาวด์ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และความสะดวกในโลกวิถีใหม่ เช่น การพบแพทย์ตามที่นัดหมายได้อย่างปลอดภัย การขอคืนภาษีในช่วงที่จำกัดการนัดหมาย หรือการลงทะเบียนเรียนในวิชาต่างๆ

ผู้บริโภคกลุ่มคนรุ่นใหม่เป็นกลุ่มที่นิยมใช้ e-signature มากที่สุด
ในปี 2563 ผู้บริโภคกลุ่มคนรุ่นใหม่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตของเอกสารดิจิทัลและ e-signature โดยเกือบครึ่งหนึ่งของคนรุ่น Gen Z (53%) ระบุว่าตนเองเซ็นเอกสารแบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นครั้งแรกในปี 2563 เปรียบเทียบกับสัดส่วนเพียง 30% ของคนรุ่น Baby Boomer และคนรุ่น Gen Z ส่วนใหญ่ (79%) ระบุว่าก่อนหน้านี้พวกเขาไม่เคยรู้จัก e-signature มาก่อน และไม่เคยมีโอกาสเซ็นเอกสารดิจิทัลมาก่อนจนเมื่อปีที่แล้ว มากกว่าครึ่งของคนรุ่น Gen Z และ Millennial ส่วนใหญ่ใช้เอกสารดิจิทัลมากขึ้นในปี 2563 เมื่อเทียบกับหนึ่งในสามของ Baby Boomer นอกจากนี้ 73% ของผู้บริโภคกลุ่มคนรุ่นใหม่ใช้สมาร์ทดีไวซ์ในการเซ็นเอกสาร เทียบกับหนึ่งในสี่ของ Baby Boomer และ Gen Z และ Baby Boomer ยังคงชอบที่จะใช้เดสก์ท็อปหรือแล็ปท็อปเซ็น  e-sign มากกว่า

ธุรกิจหลักมีการเติบโตในการใช้ e-signature เป็นตัวเลข 3 หลักเพื่อรองรับการทำงานในอนาคต
การแพร่ระบาดส่งผลให้ธุรกิจต่างๆ เร่งดำเนินการปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) อย่างแพร่หลาย ทั้งในส่วนของภาครัฐ บริการด้านการเงิน และการศึกษา ขณะที่ผู้บริโภคก็มองหาหนทางที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นในการทำงาน และทำกิจกรรมต่างๆ ในอดีตโรงเรียนจัดเป็นหน่วยงานที่มี “การใช้กระดาษ” สูงมาก แต่การแพร่ระบาดเป็นปัจจัยหลักที่กระตุ้นให้มีการใช้เอกสารดิจิทัลและ e-signature สำหรับงานสำคัญๆ เช่น การดำเนินงานของโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็น การสอบเข้า ความช่วยเหลือด้านการเงิน การลงทะเบียนเรียน ทุน และเงินบริจาค หรือบริการสำหรับบุคลากร เช่น สวัสดิการ บัญชีเงินเดือน ด้วยเหตุนี้ การใช้ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์จึงเพิ่มขึ้นอย่างมากในเดือนสิงหาคมถึงกันยายน (เพิ่มขึ้น 250% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า) ในทำนองเดียวกัน มีการเติบโตเป็นตัวเลข 3 หลักสำหรับการใช้ e-signature ในธุรกิจบริการด้านการเงินในเดือนพฤษภาคม (เพิ่มขึ้นมากกว่า 200% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า)

ในส่วนของบริการด้านการเงิน ผู้บริโภคกลุ่มคนรุ่นใหม่เป็นแรงขับเคลื่อนที่อยู่เบื้องหลังการเพิ่มขึ้นของ e-signature ในอุตสาหกรรมนี้ โดย 80% ของ Gen Z และ Millennial ทั่วโลกเซ็นชื่ออิเล็กทรอนิกส์ในเอกสารด้านการเงิน เช่น การเปิดบัญชีธนาคาร สัญญาเงินกู้ การลงทุน การจัดการสินทรัพย์ สัญญาจำนอง ในปีที่แล้ว

มากกว่า 63% ของชาวอเมริกันต้องการให้หน่วยงานภาครัฐ เช่น กรมการขนส่งและสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ใช้ e-signature เพิ่มขึ้นเพื่อจัดการเอกสารสำคัญ แม้ว่าการใช้ Adobe Sign ในส่วนของภาครัฐยังไม่เป็นที่นิยมเหมือนกับภาคธุรกิจบริการด้านการเงิน แต่หน่วยงานต่างๆ ก็มีการใช้ e-signature เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และค่อยเป็นค่อยไปในช่วงฤดูใบไม้ผลิที่ผ่านมา

สำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC) E-signature ได้รับความนิยมอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้บริโภคคนรุ่นใหม่ (มิลเลนเนียล) ขณะที่ทุกเจเนอเรชั่นยังให้ความสำคัญกับเรื่องความปลอดภัยของเอกสาร และแนวโน้มการเติบโตนี้จะยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่องในปีนี้

กว่าสามในสี่ของผู้ตอบแบบสอบถามใน APAC (76%) ระบุว่า ใช้ E-signature ในเอกสารมากขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2563 โดยมีสัดส่วนสูงสุดในกลุ่มมิลเลนเนียล (61%) นอกจากนั้น กว่าครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสอบถามใน APAC (53%) ระบุว่า พวกเขาใช้ E-signature เป็นครั้งแรกเมื่อปีที่แล้ว โดยสาเหตุหลักเป็นเพราะว่าก่อนหน้านี้ไม่เคยมีใครเสนอให้ใช้ทางเลือกนี้มาก่อน โดยชาวอินเดียเป็นกลุ่มที่ใช้ E-signature เป็นครั้งแรกมากที่สุด (62%) โดยกรมธรรม์ประกันภัย (43%) และการลงทะเบียนที่เกี่ยวกับการแพทย์ (38%) เป็นเอกสารที่ถูกเซ็นชื่อแบบอิเล็กทรอนิกส์มากที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ราวสี่ในห้า (82%) ของผู้ตอบแบบสอบถามใน APAC ได้แจ้งความต้องการของตนเองให้แก่บริษัท เพื่อให้มีการเสนอทางเลือกในการเซ็นชื่อแบบดิจิทัลในเอกสารเพิ่มมากขึ้น และ78% ของผู้ตอบแบบสอบถามได้แจ้งกับหน่วยงานภาครัฐ ดังนั้นจึงนับเป็นโอกาสที่ดีที่องค์กรภาครัฐ และภาคเอกชนที่จะปรับปรุงการให้บริการแก่ประชาชนและเพิ่มความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าด้วยการปรับใช้เวิร์กโฟลว์แบบดิจิทัล

ไซม่อน เดล กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของอะโดบี

ไซม่อน เดล กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของอะโดบี กล่าวว่า “การแพร่ระบาดทั่วโลกก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อรูปแบบการทำงานและการดำเนินธุรกิจ แม้ว่าแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงจากเอกสารที่เป็นกระดาษไปสู่รูปแบบดิจิทัลมีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ที่ PDF ถูกใช้งานเป็นครั้งแรกเมื่อกว่า 30 ปีที่แล้ว แต่ปี 2563 คือ ‘จุดเปลี่ยนที่สำคัญ’ เอกสารดิจิทัลได้กลายเป็นเครื่องมือหลักสำหรับการดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ และมีบทบาทสำคัญในติดต่อสื่อสาร การทำงานร่วมกัน และการทำธุรกรรมสำหรับองค์กรธุรกิจ หน่วยงานภาครัฐ และผู้บริโภค และแน่นอนว่าจะเป็นปัจจัยหลักที่กำหนดทิศทางเศรษฐกิจในอนาคต นอกจากนี้การแพร่ระบาดยังกระตุ้นให้องค์กรธุรกิจต้องดำเนินการปรับเปลี่ยนเป็นการเร่งด่วนเพื่อฟันฝ่าวิกฤตครั้งนี้ อะโดบีมุ่งมั่นที่จะให้ความช่วยเหลือแก่องค์กรต่างๆ เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการดำเนินงาน และปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานในอนาคต”

ผู้ตอบแบบสอบถามใน APAC ราวหนึ่งในสาม (34%) จำเป็นต้องจัดเก็บข้อมูลของตนเองไว้บนระบบดิจิทัล นอกจากนั้น ผู้ตอบแบบสอบถามในสัดส่วนเดียวกัน (36%) ยังบันทึกเอกสารทั้งในรูปแบบดิจิทัลและที่เป็นกระดาษ และระบุว่าการทำสำเนาแบบดิจิทัลเพื่อแบ็คอัพข้อมูลจากเอกสารที่เป็นกระดาษช่วยให้ตนเองรู้สึกปลอดภัยมากขึ้น ทั้งนี้ เอกสารดิจิทัลส่วนใหญ่ถูกจัดเก็บไว้บนคอมพิวเตอร์หรือระบบคลาวด์ โดยบริการคลาวด์สตอเรจได้รับความนิยมมากที่สุดในกลุ่มคนเจน Z (65%)

การรักษาความปลอดภัยถือเป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้ตอบแบบสอบถามทุกเจเนอเรชั่นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยกว่าสองในสาม (71%) คาดหวังว่าเอกสารควรจะมีการป้องกันด้วยรหัสผ่าน และกว่าครึ่งหนึ่ง (57%) คิดว่าเอกสารควรจะใช้การยืนยันตัวตนแบบ 2 ขั้นตอน (2-Factor Authorization)

อนาคตของ e-signature
การแพร่ระบาดอาจจะยุติลงในไม่ช้า แต่เราเชื่อว่าความเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในหลายๆ ด้านที่เป็นผลมาจากการแพร่ระบาดจะยังคงอยู่ต่อไป อะโดบีคาดการณ์ว่าผู้บริโภคทั่วโลกส่วนใหญ่ (76%) จะยังคงใช้ e-signature ต่อไปภายหลังการแพร่ระบาด

อย่างไรก็ดี ยังคงมีโอกาสสำหรับการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ และ e-signature สำหรับผู้บริโภค ชาวอเมริกันกว่า 63% เชื่อว่าบริษัทที่ไม่ได้เสนอทางเลือกสำหรับการใช้ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์จะกลายเป็นบริษัทที่ล้าหลัง และผู้ตอบแบบสอบถามทั่วโลกน้อยกว่า 47% เชื่อว่าเทคโนโลยี E-signature ในปัจจุบันมีความก้าวหน้า

แม้ว่าวิกฤตโควิดกำลังจะผ่านพ้นไป แต่ผู้บริโภคทั่วโลกจะไม่กลับไปใช้วิธีการแบบเดิมๆ ในการจัดการและเซ็นชื่อในเอกสารอีกต่อไป เพราะ e-signature กำลังกลายเป็นมาตรฐานใหม่ ผู้บริโภคเชื่อว่าเทคโนโลยีนี้จะยังคงถูกใช้งานอย่างต่อเนื่อง และได้รับการปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นในอนาคต


 

Exit mobile version