Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

หัวเว่ย – ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น ลงนามข้อตกลงจับมือเป็นพันธมิตร เร่งพัฒนาการใช้คลาวด์และการทรานสฟอร์มสู่ดิจิทัล ของประเทศไทย

กรุงเทพฯ/ 1 เมษายน 2565 – บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศลงนามในบันทึกข้อตกลงจับมือเป็นพันธมิตรร่วมกับ บริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) เพื่อนำประสบการณ์คลาวด์มาให้บริการแก่ลูกค้าในประเทศไทย

การลงนามข้อตกลงดังกล่าวจัดขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน ที่สำนักงานใหญ่ของหัวเว่ย อาคารจีทาวเวอร์ โดยมีนายพงษ์เทพ ธนกิจสุนทร รองกรรมการผู้จัดการ สายงานขายและการตลาด นายสุวัฒน์ เจษฎางษ์กุล หัวหน้าสายงานธุรกิจใหม่และกลยุทธ์ บริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) นายเควิน เฉิง ประธานกรรมการ กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ หัวเว่ย ประเทศไทย นางปิยะธิดา อิทธิระวิวงศ์ ประธานกรรมการ แผนกธุรกิจคลาวด์ พร้อมด้วยผู้บริหารระดับอาวุโสจากทั้งสองบริษัทเข้าร่วมในพิธี

ภายใต้ความร่วมมือนี้ ทั้งสองฝ่ายมีความตั้งใจที่จะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีล่าสุดของโซลูชันหัวเว่ยคลาวด์ มายกระดับประสิทธิภาพการใช้งานคลาวด์ รวมไปถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการอื่น ๆ บนแอปพลิเคชัน แพลตฟอร์ม และนวัตกรรมใหม่ ๆ บนคลาวด์ เพื่อนำเสนอบริการการใช้งานคลาวด์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าของซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น

ในขณะที่บริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) จะนำเสนอประสบการณ์การใช้งานคลาวด์ใหม่นี้ ให้แก่ลูกค้าของบริษัท และมองหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ซึ่งรวมถึงการช่วยปรับเปลี่ยนธุรกิจและการดำเนินงานของลูกค้าให้เป็นระบบดิจิทัลบนเทคโนโลยีคลาวด์ ที่ขับเคลื่อนโดยหัวเว่ย

“บันทึกความร่วมมือนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของเส้นทางคลาวด์ที่เราให้ความสำคัญ ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของบริการหลักของเราในปีนี้ ที่จะช่วยเร่งให้ลูกค้านำคลาวด์ไปใช้กับธุรกิจของพวกเขาได้เร็วขึ้น รวมถึงช่วยสนับสนุนลูกค้าให้ใช้ประโยชน์จากการปฏิบัติการบนคลาวด์ ให้ได้สูงสุด ซึ่งจะทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ปลอดภัยและเชื่อถือได้” นายพงษ์เทพ ธนกิจสุนทร รองกรรมการผู้จัดการ สายงานขายและการตลาด บริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าว “ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีล่าสุด การพัฒนาแอปพลิเคชันที่เป็นนวัตกรรมและประสบการณ์อันยาวนาน เราเชื่อว่าความร่วมมือในด้านคลาวด์นี้ จะช่วยเรานำสิ่งที่ดีที่สุดมาสู่องค์กรธุรกิจต่าง ๆ สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและการเติบโตได้มากยิ่งขึ้น   ลูกค้าของเราจะได้รับประสบการณ์ที่ดีกว่าเดิม ทั้งในด้านความพร้อมใช้งาน ความปลอดภัย และความน่าเชื่อถือ จากความร่วมมือในด้านคลาวด์ของเรา และเรายังเชื่อว่า ความร่วมมือนี้จะช่วยสนับสนุนและกระตุ้นให้ประเทศไทยก้าวสู่เศรษฐกิจดิจิทัล ตามนโยบายประเทศไทย 4.0 ได้เร็วยิ่งขึ้น 

นายเควิน เฉิง ประธานกรรมการ กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ หัวเว่ย ประเทศไทย กล่าวว่า “หัวเว่ยภูมิใจที่ได้ร่วมเป็นทีมเดียวกันกับซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น ซึ่งเป็นพันธมิตรที่มีความน่าเชื่อถือ และมีชื่อเสียงเป็นอย่างมากในเรื่องความสำเร็จลุล่วงของโครงการ บันทึกความร่วมมือนี้จะช่วยเสริมสร้างศักยภาพให้กับบริษัทและองค์กรต่าง ๆ ผ่านเทคโนโลยีคลาวด์ ที่จะมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศให้เติบโต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังเกิดโรคระบาด  เป้าหมายของหัวเว่ยคือการได้เป็นผู้เล่นเชิงกลยุทธ์ในอุตสาหกรรม ISP ที่กำลังเฟื่องฟูเป็นอย่างมากในประเทศไทย เราต้องการเสริมศักยภาพให้พันธมิตรของเราได้ใช้ข้อได้เปรียบในการแข่งขันของพวกเขาให้เต็มที่ และกลายเป็นผู้จัดหาโซลูชันด้านดิจิทัลที่ดีที่สุดในตลาด   หัวเว่ยยังคงยืนหยัดที่จะเป็นผู้จัดหาโซลูชันและบริการด้านโทรคมนาคมแบบครบวงจรในประเทศไทย และนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสู่ทุกคน ทุกบ้าน และทุกองค์กรเพื่อการเชื่อมต่ออย่างเต็มรูปแบบของประเทศไทย”

บันทึกความเข้าใจนี้เกิดขึ้นเพื่อตอบโจทย์แผนพัฒนาด้านดิจิทัลระยะเวลา  20 ปีของรัฐบาล ซึ่งมีเป้าหมายที่จะนำการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลมาสู่ประเทศ และช่วยผลักดันให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นผู้นำด้านดิจิทัลชั้นนำระดับโลกต่อไป


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

หัวเว่ย จับมือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สร้างอีโคซิสเต็มไอซีทีที่แข็งแกร่งและยั่งยืน

[กรุงเทพฯ, 28 มีนาคม 2565] – บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศลงนามในบันทึกความเข้าใจกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามอย่างต่อเนื่องในการบ่มเพาะบุคลากรด้านดิจิทัลและสร้างอีโคซิสเต็มบุคลากรที่มีความสามารถ รองรับภาคไอซีทีของประเทศไทย

บันทึกความเข้าใจฉบับนี้ได้จัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2565 โดยมี รศ.นพ. ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น และนายเควิน เฉิง ประธานกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้ร่วมลงนาม และมีผู้บริหารระดับสูงของหัวเว่ย รวมถึงเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยท่านอื่น ๆ ร่วมเป็นสักขีพยาน

ภายใต้บันทึกข้อตกลงระยะเวลา 3 ปีฉบับนี้ หัวเว่ยและมหาวิทยาลัยขอนแก่นมุ่งกระชับความสัมพันธ์และเพิ่มโอกาสในการพัฒนาทักษะสำหรับนักศึกษาและคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยโดยใช้ความรู้ ความเชี่ยวชาญของหัวเว่ย ตลอดจนโปรแกรมการฝึกอบรมต่าง ๆ ของหัวเว่ย ไอซีที อะคาเดมี่ (Huawei ICT Academy) เป็นตัวขับเคลื่อน นอกจากนี้ นักศึกษายังจะสามารถเข้าร่วมในโครงการเสริมสร้างศักยภาพของผู้ที่มีความสามารถต่าง ๆ อาทิ กิจกรรมการแข่งขันความสามารถด้านไอซีที (Huawei ICT Competition) และ Huawei ICT Job Fair ได้อีกด้วย

ทั้งนี้ ภายใต้ความร่วมมือระหว่างหัวเว่ยกับมหาวิทยาลัยขอนแก่นในการผลักดันการใช้บริการคลาวด์, 5G และเทคโนโลยีเกิดใหม่อื่น ๆ มีเป้าหมายเพื่อช่วยให้มหาวิทยาลัยตอกย้ำความเป็นเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ เพื่อสนับสนุนโรงพยาบาล 20 แห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย  และเพื่อเป็นการช่วยจุดประกายความคิดริเริ่มและพัฒนาทักษะในทางปฏิบัติ นอกจากนี้หัวเว่ยยังได้สนับสนุนอุปกรณ์สำหรับการเรียนการสอนในภาคปฏิบัติ ประกอบด้วยหัวเว่ย สมาร์ทบอร์ด (IdeaHub) และอุปกรณ์แล็บ เน็ตเวิร์ค ในหลักสูตร HCIA-Datacom ที่จะทำให้ประสบการณ์การเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ในระหว่างพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ รศ.นพ. ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า “ความร่วมมือในครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญสำหรับมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่จะดำเนินนโยบายด้านดิจิทัลของประเทศไทย ด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยเหล่านี้ได้ทวีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ ในการยกระดับและส่งเสริมภาคการศึกษา เราจะสร้างโอกาสแห่งการเรียนรู้และการพัฒนาทักษะขั้นสูงให้กับนักศึกษาของเรา ผมขอขอบคุณหัวเว่ย ประเทศไทย เป็นอย่างยิ่งสำหรับโอกาสที่ดีนี้ ที่จะทำให้มหาวิทยาลัยขอนแก่นของเราสามารถรักษาตำแหน่งและชื่อเสียงในฐานะมหาวิทยาลัยชั้นนำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการแพทย์”

“การลงนามบันทึกความเข้าใจนี้แสดงให้เห็นชัดเจนว่า มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีวิสัยทัศน์ที่จะทรานสฟอร์มตัวเองในยุคดิจิทัล โดยใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนในระยะยาว” นายเควิน เฉิง ประธานกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว “เราจะสนับสนุนมหาวิทยาลัยขอนแก่นด้วยนวัตกรรมไอซีทีล่าสุด และสนับสนุนให้คณาจารย์และนักศึกษาได้รับการรับรองระดับความรู้ด้านไอซีทีจากหัวเว่ย ซึ่งเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายทั่วโลก อันจะเป็นประโยชน์แก่ชุมชนในวงกว้าง ในการสนับสนุนประเทศด้วยบุคลากรที่มีความสามารถในระดับสูงและรับมือกับความท้าทายของการพัฒนาด้านไอซีทีใหม่ ๆ” นายเควิน เฉิง กล่าวสรุป


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

หัวเว่ยสานต่อการพัฒนาบุคลากรไอซีที
เปิดโอกาสใหม่ๆ ให้นิสิตนักศึกษาผ่านโครงการ “Seeds for the Future”

โครงการฝึกอบรมด้านไอซีทีระดับโลกของหัวเว่ยประจำปีนี้ได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดี เร่งเตรียมความพร้อมให้นิสิตนักศึกษาเข้าสู่โลกการทำงานในอีโคซิสเต็มดิจิทัล

กรุงเทพฯ 8 พฤศจิกายน 2564 — บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด จัดโครงการประจำปี “Seeds for the Future 2021” ขึ้นในกรุงเทพฯ เพื่อให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ได้ฝึกฝนทักษะด้านไอซีที และให้นิสิตนักศึกษาที่มีความสามารถได้ค้นพบศักยภาพที่แท้จริงของตน ผ่านโปรแกรมการฝึกอบรมภาคปฏิบัติกับผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม โดยพิธีปิดงานและพิธีมอบประกาศนียบัตรได้รับเกียรติจากนางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มาเป็นประธานในพิธีฯ

ในปีนี้ นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีจำนวน 15 คน จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.), สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยรังสิต ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมในโครงการ โดยตลอดหลักสูตรได้มีนักศึกษาจากประเทศอุซเบกิสถาน และเบลารุส เข้าร่วมในชั้นเรียนออนไลน์พร้อมกันเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และวัฒนธรรมระหว่าง 3 ประเทศ

คอร์สฝึกอบรมแบบเร่งรัดในระยะเวลา 8 วัน ประกอบด้วยหลักสูตรไอซีทีที่ถ่ายทอดสดมาจากสำนักงานใหญ่ของหัวเว่ยในเซินเจิ้น ประเทศจีน รวมถึงคลาสแบบออฟไลน์ที่จัดขึ้นที่สำนักงานของหัวเว่ย ประเทศไทย เช่นการเยี่ยมชมศูนย์ Thailand 5G Ecosystem Innovation Center (5G EIC) การจัดเวิร์กช็อปเขียนพู่กันจีนและศึกษาตัวอักษรภาษาจีน ทำให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในวัฒนธรรมจีนมากขึ้น พร้อมแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรมไอซีทีในประเทศของเพื่อนต่างชาติร่วมชั้นเรียน  

การอบรมและเนื้อหาในหลักสูตรโครงการนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญของหัวเว่ย โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาทักษะของนิสิตนักศึกษาให้สอดคล้องกับมาตรฐานการทำงานทั้งในและต่างประเทศ นอกเหนือจากหลักสูตรออนไลน์ในหัวข้อ 5G, IoT, AI และคลาวด์ คอมพิวติ้ง นิสิตนักศึกษาผู้เข้าร่วมยังได้มีโอกาสร่วมกันระดมความคิดสร้างสรรค์และทำโปรเจ็กต์กลุ่ม “TECH4Good” ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อร่วมกันพัฒนาสังคม และยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในประเทศ นอกจากนี้นิสิตนักศึกษาที่ผ่านหลักสูตรฝึกอบรมจะได้รับประกาศนียบัตรจากหัวเว่ยเพื่อเป็นหลักฐานการสำเร็จหลักสูตร

“หลักสูตรนี้ทำให้เราเห็นภาพรวมของอุตสาหกรรมและทิศทางของวงการไอซีทีในอนาคต เนื้อหาที่เราได้เรียนเกี่ยวกับเทคโนโลยีและทักษะต่าง ๆ นั้นจัดทำขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญจริงที่ตั้งใจถ่ายทอดความรู้เชิงลึกที่หาไม่ได้ที่ไหน รวมไปถึงเวิร์คช้อปการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม การไปเยี่ยมชมเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) และโครงการ TECH4Good ที่แสดงให้เห็นถึงการนำเทคโนโลยีไปปรับใช้เพื่อยกระดับคุณภาพของสังคมในด้านต่าง ๆ ช่วยให้เราสามารถเตรียมความพร้อมสำหรับชีวิตการทำงานจริง ดิฉันมั่นใจว่าความรู้และทักษะที่ได้จากโครงการนี้จะช่วยยกระดับศักยภาพในการทำงานและเปิดโอกาสใหม่ๆ ให้แก่พวกเรา ต้องขอขอบคุณหัวเว่ยที่จัดกิจกรรมดี ๆ แบบโครงการ Seeds for the Future นี้ขึ้นมา” นางสาวพัชรินทร์ บุญสมเชื้อ นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารและอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ตัวแทนนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ Seeds for The Future กล่าว

ระหว่างพิธีมอบประกาศนียบัตร นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในโลกยุคใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีว่า “หนึ่งในภารกิจหลักของกระทรวงฯ คือการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยทุกคน และด้วยการสนับสนุนจากหลายภาคส่วน เราจึงได้สร้างโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลคุณภาพสูงและส่งเสริมการพัฒนาอีโคซิสเต็มดิจิทัลที่ครอบคลุมสำหรับทุกคน” พร้อมเสริมว่า “อย่างไรก็ตาม รากฐานที่สำคัญของเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลในปัจจุบัน แท้จริงแล้วคือการพัฒนาบุคลากรไอซีที กระทรวงฯ เชื่อว่าการศึกษาเชิงปฏิบัตินั้นสร้างประโยชน์มากมายแก่ผู้เรียนเมื่อพวกเขาเริ่มเข้าสู่ตลาดแรงงาน เราจึงพร้อมสนับสนุนโครงการพัฒนาศักยภาพบุคคลอย่าง “Seeds for the Future” ของหัวเว่ยอย่างเต็มที่ตลอดมา ดิฉันขอขอบคุณหัวเว่ยที่ได้ ร่วมทุ่มเท เพื่อเสริมสร้างศักยภาพบุคลากร จนเป็นเมล็ดพันธุ์ที่มีความสามารถ และการมีส่วนร่วมของหัวเว่ยในการช่วยขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ประเทศไทย 4.0 อย่างเต็มความสามารถตลอดมา” นางสาวอัจฉรินทร์ กล่าวสรุป

“หัวเว่ยมีความภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาอีโคซิสเต็มด้านไอซีที ภายใต้พันธกิจ ‘Grow in Thailand, Contribute to Thailand’ เรายังคงมุ่งมั่นที่จะช่วยให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลของภูมิภาคนี้ โครงการ Seeds for the Future ซึ่งริเริ่มขึ้นในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2551 เราได้ร่วมแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกในอุตสาหกรรมไอซีทีให้แก่คนรุ่นใหม่มาโดยตลอด และด้วยประสบการณ์ระดับโลกในด้านไอซีทีกว่าหลายสิบปี เราจะร่วมเดินหน้าพัฒนาหลักสูตรดิจิทัล ให้ความรู้ในห้องเรียนสอดคล้องกับทักษะสำหรับการทำงานในชีวิตจริง เราพร้อมจับมือกับภาครัฐและพันธมิตร เพื่อยกระดับแรงงานดิจิทัลที่จะเข้ามาพลิกโฉมประเทศไทยได้อย่างยั่งยืนนายอาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร หัวเว่ย ประเทศไทย กล่าวสุนทรพจน์ระหว่างพิธีปิดงาน

-จบ

เกี่ยวกับหัวเว่ย

หัวเว่ย ผู้นำด้านโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและสมาร์ทดีไวซ์  ด้วยโซลูชั่นที่ผสมผสานในสี่กลุ่มหลัก คือ เครือข่ายโทรคมนาคม ไอที สมาร์ทดีไวซ์ และบริการคลาวด์ บริษัทมีความมุ่งมั่นที่จะนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสู่การใช้งานทุกระดับเพื่อทุกผู้คน ทุกครัวเรือน และทุกองค์กร เพื่อขับเคลื่อนโลกอัจฉริยะที่เชื่อมโยงถึงกันอย่างเต็มรูปแบบ 

ผลิตภัณฑ์ โซลูชั่นและบริการที่ครบวงจรของหัวเว่ยเปี่ยมด้วยศักยภาพด้านการแข่งขันและเชื่อถือได้ จากการทำงานร่วมกับพันธมิตรในระบบนิเวศแบบเปิด หัวเว่ยสามารถสร้างมูลค่าระยะยาวให้กับลูกค้า เสริมสมรรถนะของผู้คน ช่วยให้การใช้ชีวิตที่บ้านมีความสะดวกสบาย และสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดนวัตกรรมในองค์กรทุกรูปแบบและทุกขนาด 

นวัตกรรมของหัวเว่ยเน้นตอบสนองตามความต้องการของลูกค้า เราทุ่มงบประมาณจำนวนมหาศาลในด้านการวิจัย เน้นค้นหานวัตกรรมด้านเทคนิคใหม่ๆ ที่จะช่วยขับเคลื่อนโลกของเราให้ก้าวไปข้างหน้า เรามีพนักงานกว่า 180,000 คน ดำเนินธุรกิจในกว่า 170 ประเทศทั่วโลก หัวเว่ยก่อตั้งขึ้นในปี 2530 และเป็นบริษัทเอกชนที่มีพนักงานเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของหัวเว่ย www.huawei.com หรือติดตามเราได้ที่ลิงก์ดังต่อไปนี้

http://www.linkedin.com/company/Huawei 

http://www.twitter.com/Huawei 

http://www.facebook.com/Huawei 

http://www.google.com/+Huawei 

http://www.youtube.com/Huawei 


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

หัวเว่ยเดินหน้าเสริมทักษะบุคลากรไอซีที จัดโครงการ “Seeds for the Future”’
ร่วมส่งเสริมการแลกเปลี่ยนด้านวัฒนธรรม

บริษัทไอทียักษ์ใหญ่ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรเปี่ยมความสามารถ เพื่ออีโคซิสเต็มด้านไอซีทีที่แข็งแกร่งและยั่งยืน

กรุงเทพฯ/ 1 พฤศจิกายน 2564 — บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด จัดพิธีเปิดโครงการ “Seeds for the Future 2021” เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาที่มีความรู้ความสามารถด้านไอซีทีได้เพิ่มพูนทักษะด้านดิจิทัลผ่านโปรแกรมการฝึกอบรมภาคปฏิบัติกับผู้เชี่ยวชาญ และร่วมทำเวิร์กช็อปแลกเปลี่ยนความรู้ด้านวัฒนธรรม ภายใต้ภารกิจในการสนับสนุนการพัฒนาอีโคซิสเต็มด้านบุคลากรไอซีทีของประเทศ ในพิธีฯ ดังกล่าว นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ได้ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีและกล่าวเปิดงาน โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของแพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์ในการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านวัฒนธรรม

โครงการ “Seeds for the Future” ซึ่งริเริ่มขึ้นที่กรุงเทพมหานครในปี 2551 เป็นโครงการกิจกรรมเพื่อสังคมระดับโลกของหัวเว่ย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะความสามารถของบุคลากรไอซีทีในระดับท้องถิ่นและเชื่อมความสัมพันธ์ในด้านภาษาและวัฒนธรรมระหว่างประเทศ แต่ละปีกิจกรรมจะประกอบด้วยการฝึกอบรมภาคปฏิบัติที่ออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม เพื่อช่วยเตรียมนักศึกษาให้พร้อมสำหรับการทำงานในอนาคต โดยตลอด 10 กว่าปีที่ผ่านมา นักศึกษาที่มีคุณสมบัติครบถ้วนจำนวน 10 คน จะมีโอกาสไปศึกษาดูงานด้านไอซีทีที่ประเทศจีน ร่วมกับนักศึกษาจากอีก 125 ประเทศทั่วโลก พร้อมเยี่ยมชมศูนย์การเรียนรู้และเทคโนโลยีล้ำสมัยของหัวเว่ยในเมืองเซินเจิ้นและกรุงปักกิ่ง

ในระหว่างพิธีเปิดงาน นักศึกษาที่ได้เข้าร่วมโครงการในปี 2562 ที่ผ่านมา ได้มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ที่ได้จากโครงการนี้ รวมถึงโอกาสที่ได้แบ่งปันวัฒนธรรมไทย อาทิ การแห่ขันหมากซึ่งเป็นเอกลักษณ์ในพิธีแต่งงานของไทย ให้เพื่อนนักศึกษาจากประเทศอื่น ๆ เช่น มอริเชียส แคนาดา สวีเดน ได้เรียนรู้ประเพณีไทย รวมทั้งยังได้เล่าถึงโอกาสและประสบการณ์ในการร่วมงานกับหัวเว่ยด้วย 

พิธีเปิดโครงการ Seeds for the Future ประจำปีนี้ได้รับเกียรติจาก นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม มาเป็นประธานในพิธี พร้อมกล่าวสุนทรพจน์เปิดงาน โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของการนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาปรับใช้ให้เข้ากับยุคสมัย เพื่อรักษาไว้ซึ่งทรัพยากรที่สำคัญของประเทศชาติ อาทิเช่น ความรู้ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม “เทคโนโลยีเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมโลกในทุกมิติ ภายใต้วิถีชีวิตแบบนิว นอร์มอล รัฐบาลเล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะด้านดิจิทัล โดยส่งเสริมให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ได้เข้าถึงความรู้มากมายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ต้องขอขอบคุณหัวเว่ย ที่ได้จัดโครงการพัฒนาทักษะด้านไอซีที ตลอดจนมอบโอกาสและประสบการณ์อันล้ำค่า ให้แก่นักศึกษาทุกคน”

“อนาคตทางดิจิทัลอยู่ใกล้แค่เอื้อม ทำให้เราต้องสร้างบุคลากรด้านดิจิทัลเป็นอย่างมาก  ที่หัวเว่ย เราเชื่อมั่นว่า เมล็ดพันธุ์สามารถที่จะเติบโตเป็นไม้ใหญ่ เป็นดอกไม้ที่สวยงาม และเป็นอนาคตที่สดใสได้  ด้วยโครงการดิจิทัลมากมาย เราจะช่วยลดช่องว่างระหว่างความรู้ในตำราและทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำงานจริงและการก้าวสู่การเป็นประเทศไทย 4.0 เราภูมิใจที่รู้ว่าโครงการ Seeds for The Future ของหัวเว่ยนั้น ริเริ่มขึ้นครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปี 2551 และเราจะมุ่งมั่นพัฒนาบุคลากรด้านไอซีทีต่อไป และขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมไอซีทีของไทยต่อไปภายใต้พันธกิจ ‘Grow in Thailand, Contribute to Thailand’” นายอาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร หัวเว่ย ประเทศไทย กล่าวในระหว่างพิธีเปิดงาน

หัวเว่ยริเริ่มโครงการพัฒนาบุคลากรต่าง ๆ มากมายอย่างเช่น Seeds for the Future เพื่อส่งเสริมทักษะและศักยภาพของเยาวชน เดินหน้าลดช่องว่างระหว่างความรู้ในห้องเรียนและทักษะที่จำเป็นในการทำงานจริง หัวเว่ยเดินหน้าจับมือกับหน่วยงานภาครัฐเพื่อร่วมขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน

เกี่ยวกับหัวเว่ย

หัวเว่ย ผู้นำด้านโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและสมาร์ทดีไวซ์  ด้วยโซลูชั่นที่ผสมผสานในสี่กลุ่มหลัก คือ เครือข่ายโทรคมนาคม  ไอที สมาร์ทดีไวซ์ และบริการคลาวด์ บริษัทมีความมุ่งมั่นที่จะนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสู่การใช้งานทุกระดับเพื่อทุกผู้คน ทุกครัวเรือน และทุกองค์กร เพื่อขับเคลื่อนโลกอัจฉริยะที่เชื่อมโยงถึงกันอย่างเต็มรูปแบบ 

ผลิตภัณฑ์ โซลูชั่นและบริการที่ครบวงจรของหัวเว่ยเปี่ยมด้วยศักยภาพด้านการแข่งขันและเชื่อถือได้ จากการทำงานร่วมกับพันธมิตรในระบบนิเวศแบบเปิด หัวเว่ยสามารถสร้างมูลค่าระยะยาวให้กับลูกค้า เสริมสมรรถนะของผู้คน ช่วยให้การใช้ชีวิตที่บ้านมีความสะดวกสบาย และสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดนวัตกรรมในองค์กรทุกรูปแบบและทุกขนาด 

นวัตกรรมของหัวเว่ยเน้นตอบสนองตามความต้องการของลูกค้า เราทุ่มงบประมาณจำนวนมหาศาลในด้านการวิจัย เน้นค้นหานวัตกรรมด้านเทคนิคใหม่ๆ ที่จะช่วยขับเคลื่อนโลกของเราให้ก้าวไปข้างหน้า เรามีพนักงานกว่า 194,000 คน ดำเนินธุรกิจในกว่า 170 ประเทศทั่วโลก หัวเว่ยก่อตั้งขึ้นในปี 2530 และเป็นบริษัทเอกชนที่มีพนักงานเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของหัวเว่ย ได้ที่ www.huawei.com


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

หัวเว่ย เปิดรับสมัครนิสิตนักศึกษาด้านไอซีที ร่วมประชันทักษะใน โครงการ ICT Competition 2021-2022 ตั้งแต่วันที่ 1 – 30 พฤศจิกายน นี้

กรุงเทพฯ/ 27 ตุลาคม 2564 – หัวเว่ย ผู้นำด้านโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและสมาร์ทดีไวซ์ ประกาศเปิดตัวโครงการ Huawei ICT Competition 2021 – 2022 อย่างเป็นทางการในประเทศไทย ภายใต้ธีม “Connection, Glory, Future” ซึ่งเริ่มขึ้นพร้อมกันในกว่า 50 ประเทศทั่วโลก เพื่อส่งเสริมและพัฒนาอีโคซิสเต็มด้านบุคลากรไอซีทีให้แข็งแกร่งและยั่งยืนยิ่งขึ้น

โครงการ Huawei ICT Competition ซึ่งริเริ่มขึ้นในปี 2558 เป็นกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ความสามารถของนิสิตนักศึกษาด้านไอซีทีทั่วโลก เพื่อคัดสรรและบ่มเพาะผู้ที่มีความสามารถในด้านดังกล่าว และจัดคอร์สฝึกอบรมระดับโลกรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล โดยจัดขึ้นร่วมกับหัวเว่ย ไอซีที อะคาเดมี่ (Huawei ICT Academy) ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษากับองค์กร เพื่อสร้างผู้เชี่ยวชาญคุณภาพสูงทางด้านไอซีทีให้มีจำนวนมากขึ้น การแข่งขันด้านไอซีทีนี้มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมได้มีร่วมประลองทักษะในการแข่งขันชั้นนำ พัฒนาความคิดริเริ่มและสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ตลอดจนพัฒนาต่อยอดความรู้เพื่อเตรียมตัวเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของอีโคซิสเต็มด้านบุคลากรไอซีที กิจกรรม Huawei ICT Competition ยังเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “เมล็ดพันธุ์แห่งอนาคต (Seeds for the Future)” ซึ่งเป็นกิจกรรมเพื่อสังคมของหัวเว่ย ที่มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาบุคลากรด้านไอซีทีในประเทศ และเชื่อมโยงการสื่อสารระหว่างประเทศและวัฒนธรรมเข้าด้วยกัน

การแข่งขัน Huawei ICT Competition 2021-2022 ในประเทศไทย ประกอบด้วยการแข่งขันหลายรอบ  โดยนิสิตนักศึกษาที่มีความสนใจและมีพื้นฐานด้านไอซีที สามารถรวมกลุ่มและลงทะเบียนสมัครเป็นทีม ๆ ละ 3 คน และเริ่มศึกษาด้วยตนเองผ่านระบบออนไลน์เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับเทคโนโลยีขั้นสูงอย่างเทคโนโลยีด้านเน็ตเวิร์ก เช่น ดาต้าคอม หรือเทคโนโลยีด้านคลาวด์ เช่น คลาวด์ เซอร์วิส กิจกรรมทั้งหมดจะจัดขึ้นตามมาตรการป้องกันโควิด-19  ทีมที่ชนะจะมีโอกาสลุ้นรับรางวัลสุดพิเศษ รวมถึงทริปเดินทางเพื่อพัฒนาความรู้ด้านไอซีที เก็บเกี่ยวประสบการณ์ด้านวัฒนธรรม ตลอดจนถึงโอกาสในการทำงานที่หัวเว่ย

ตารางกิจกรรม Huawei ICT Competition 2021-2022
ลงทะเบียน 1-30 พฤศจิกายน
การทดสอบเบื้องต้น 4 ธันวาคม
ประกาศทีมผู้เข้ารอบ
  • ประเภทเครือข่าย (10 ทีม)
  • ประเภทคลาวด์ (10 ทีม)
8 ธันวาคม
ค่ายฝึกอบรมกับหัวเว่ย 17-19 ธันวาคม
การทดสอบ HCIA (รอบชิงชนะเลิศระดับประเทศ) 24-26 ธันวาคม
ประกาศทีมชนะเลิศของประเทศไทยและพิธีมอบรางวัล มกราคม 2565
รอบชิงชนะเลิศระดับภูมิภาค กุมภาพันธ์ 2565
รอบชิงชนะเลิศระดับโลก พฤษภาคม 2565

หมายเหตุ: ตารางข้างต้นเป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้น และอาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบ

นายอาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร หัวเว่ย ประเทศไทย กล่าวว่า “Huawei ICT Competition ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 6 นี้ ถือเป็นโอกาสที่ดีในการเฟ้นหาพันธมิตรรุ่นใหม่ ๆ ที่สามารถขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางด้านดิจิทัลของประเทศในอนาคต ประเทศไทยได้กลายเป็นผู้นำในการเปิดให้บริการ 5G ในภูมิภาคอาเซียน และแรงหนุนสำคัญที่อยู่เบื้องหลังการพัฒนาทางด้านดิจิทัลก็คือรากฐานด้านบุคลากรที่แข็งแกร่ง หัวเว่ยได้ตอกย้ำให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของบริษัทในการพัฒนาอีโคซิสเต็มด้านบุคลากรดิจิทัลอย่างต่อเนื่องผ่านแพลตฟอร์มความร่วมมือและโครงการต่าง ๆ อย่างเช่นโครงการนี้ ในขณะที่ไอซีทีได้เติบโตไปสู่ทุกอุตสาหกรรมและกลายเป็นกุญแจดอกสำคัญในการพัฒนาและสร้างความก้าวหน้าทางสังคม”

นอกเหนือจากการแสดงให้เห็นถึงศักยภาพที่โดดเด่นของบุคลากรด้านดิจิทัลในเวทีระดับโลกแล้ว โครงการ Huawei ICT Competition ยังเป็นโอกาสในการตอกย้ำคำมั่นที่จะทำให้ทุกคนได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้นอีกด้วย  หัวเว่ย ในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยีระดับโลก ร่วมเดินหน้าสำรวจแนวทางการพัฒนาใหม่ ๆ และมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมเทคโนโลยีไอซีที พัฒนาบุคลากร และลดช่องว่างด้านความขาดแคลนบุคลากรในสาขานี้  นอกจากนี้ บริษัทยังเดินกลยุทธ์ในการร่วมมือกับพันธมิตรต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างเวทีที่เปิดกว้างและสร้างโอกาสใหม่ ๆ อย่างมั่นคง ซึ่งท้ายที่สุดจะสามารถนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสู่ทุกคน ทุกครัวเรือน และทุกองค์กร เพื่อสร้างโลกอัจฉริยะที่เชื่อมต่อถึงกันอย่างสมบูรณ์แบบ

นิสิตนักศึกษาที่สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://e.huawei.com/en/talent/#/news/details?consultationId=1483  และลงทะเบียนได้ที่นี่


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

สถาบันพัฒนาบุคลากรดิจิทัล (DISDA) ร่วมกับหัวเว่ย จัดงาน “ทิศทางอนาคตของแรงงานดิจิทัลในประเทศไทย”

[กรุงเทพฯ 24 กันยายน 2564] — สถาบันพัฒนาบุคลากรดิจิทัล ภายใต้กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน ร่วมกับ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดงาน “ทิศทางอนาคตของแรงงานดิจิทัลในประเทศไทย (Future Direction of Thailand Digital Workforce)” ภายใต้หลักสูตรการฝึกอบรม “พื้นฐานการพัฒนาแอปพลิเคชันบนมือถือ (Mobile App Development Foundation Course)” ครั้งที่สอง พร้อมงาน Huawei Developer Day ประกาศเร่งผลิตแรงงานดิจิทัลผ่านการเสริมสร้างทักษะใหม่ ๆ โดยหลักสูตรดังกล่าวจะจัดขึ้นผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้ด้วยตนเองของหัวเว่ย ตั้งเป้าฝึกอบรมบุคลากรได้ 800 – 1,000 คนหลังจบโครงการฯ เพื่อช่วยประเทศไทยปูรากฐานด้านไอซีทีให้แข็งแกร่งผ่านการฝึกอบรมและบ่มเพาะบุคลากรอย่างต่อเนื่อง

การผนึกกำลังระหว่างภาครัฐและเอกชนในครั้งนี้เป็นไปตามการลงนามในบันทึกความเข้าใจ ระยะเวลา 3 ปี ระหว่างกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน สังกัดกระทรวงแรงงาน กับ หัวเว่ย ประเทศไทย เมื่อเดือนตุลาคม 2563 โดยทั้งสองฝ่ายให้คำมั่นที่จะร่วมกันสร้างโอกาสในการเรียนรู้ทางดิจิทัล ตลอดจนออกแบบและนำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนด้านดิจิทัลที่สะดวกสบายและเข้าถึงง่ายสำหรับคนจำนวนมากขึ้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการผลิตแรงงานดิจิทัล 3,000 คน และเจ้าหน้าที่ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานอีก 120 คน ตลอดระยะเวลาความร่วมมือ

ภายหลังประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากจากการจัดหลักสูตรครั้งแรกเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา สถาบันพัฒนาบุคลากรดิจิทัลและหัวเว่ย ประกาศเดินหน้าทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อพัฒนาหลักสูตรที่สอง ที่เน้นการให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนาแอปพลิเคชันที่จะสร้างประสบการณ์ใช้งานที่ลื่นไหลที่สุดแก่ผู้ใช้ ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมและนักพัฒนาแอปมากความสามารถจะมาร่วมเป็นวิทยากรในงานดังกล่าวที่จัดขึ้นผ่านแพลตฟอร์มอีเลิร์นนิงระดับเวิลด์คลาสของหัวเว่ยอย่าง “HiCLC” การฝึกอบรมแบบเร่งรัดจะใช้เวลาทั้งสิ้น 48 ชั่วโมง โดยจะครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับวิธีพัฒนาและเผยแพร่แอปที่ยอดเยี่ยมในอุปกรณ์ Android และ Huawei App Gallery

สถาบันพัฒนาบุคลากรดิจิทัลและหัวเว่ย ได้ร่วมกันออกแบบหลักสูตรให้เหมาะสมกับนิสิตนักศึกษาด้านไอที คนที่ทำงานในสาขาที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนบุคคลทั่วไปที่สนใจการพัฒนาแอปพลิเคชัน

ทั้งนี้ ผู้ที่ผ่านหลักสูตรดังกล่าวจะได้รับวุฒิบัตรการฝึกอบรมของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน รวมถึงประกาศนียบัตรการจบหลักสูตรของหัวเว่ย เพื่อเป็นหลักฐานในการเรียนรู้และเป็นการรับรองทักษะของผู้เข้าร่วม โดยทุก ๆ คนที่จบหลักสูตรจะกลายเป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองสำคัญที่จะร่วมขับเคลื่อนอีโคซิสเต็มด้านแรงงานไอซีทีของไทย ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่อไป

หัวเว่ยได้เปิดตัวหลักสูตร Mobile App Development Foundation ระหว่างงาน Huawei Developer Day (HDD) 2564 ที่จัดขึ้นในหัวข้อ “อนาคตของแรงงานดิจิทัลในประเทศไทย (Future of Thailand Digital Workforce) โดยงาน HDD ในปีนี้จะมุ่งเน้นเรื่องการพัฒนาแอปพลิเคชันและระบบนิเวศของแอป โดย Huawei Developer Day (HDD) เป็นเวทีระดับโลกที่หัวเว่ยใช้นำเสนอนวัตกรรมและบริการล่าสุดแก่ นักพัฒนา พร้อมบอกเล่าเทรนด์ล่าสุดในโลกไอที  ซึ่งงานในปีนี้ หัวเว่ยได้ประกาศถึงอัปเดตสำคัญของระบบปฏิบัติการ HarmonyOS 2.0, Huawei Mobile Services (HMS) 6.0 รวมถึงข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับระบบนิเวศของแอปและเครื่องมือที่มีประโยชน์มากมายที่หัวเว่ยสร้างขึ้นเพื่อช่วยเหลือชุมชนนักพัฒนาแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่  และด้วยนวัตกรรมและการทำงานร่วมกันกับพาร์ทเนอร์อย่างต่อเนื่อง HMS ได้กลายเป็นระบบนิเวศแอปพลิเคชันมือถือที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลกด้วยเครือข่ายนักพัฒนากว่า 2.3 ล้านคน HMS ยังได้ปลดล็อกความสามารถด้านการพัฒนาฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ของหัวเว่ย และช่วยให้นักพัฒนาทั่วโลกได้คิดค้นนวัตกรรมที่ก้าวล้ำอีกด้วย

นายธวัช เบญจาทิกุล อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของแรงงานทักษะที่มีทักษะแห่งอนาคต (future skills) ที่จะมารองรับอุตสาหกรรมใหม่ ๆ พร้อมกล่าวว่า “กระทรวงแรงงานมีพันธกิจในการยกระดับทักษะของแรงงานดิจิทัลให้เพียงพอและสอดคล้องกับความต้องการของตลาดในปัจจุบัน หลักสูตรด้านเทคโนโลยีดิจิทิลในหัวข้อการพัฒนาแอปพลิเคชันนี้จะช่วยสร้างโอกาสในการทำงานใหม่ ๆ ในยุคนิวนอร์มอลให้แก่ผู้เข้าอบรม ขอขอบคุณหัวเว่ย ประเทศไทย สำหรับการสนับสนุนอย่างเต็มที่เสมอมา ร่วมนำนวัตกรรมและความเชี่ยวชาญมาช่วยเตรียมความพร้อมให้แรงงานไทย ภายใต้กรอบความร่วมมือนี้ เราจะช่วยกันพัฒนาให้แรงงานไทยมีทักษะขั้นสูงที่จำเป็นต่อขับเคลื่อนการเติบโตอย่างยั่งยืนของประเทศในยุคดิจิทัล”

นายอาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร หัวเว่ย ประเทศไทย กล่าวว่า “เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มาร่วมเปิดงาน “ทิศทางอนาคตของแรงงานดิจิทัลในประเทศไทย (Future Direction of Thailand Digital Workforce)” เพื่อเปิดตัวหลักสูตรการฝึกอบรม “พื้นฐานการพัฒนาแอปพลิเคชันบนมือถือ (Mobile App Development Foundation Course)” ครั้งที่สอง โดยครั้งนี้เราตั้งเป้าฝึกอบรมบุคลากรจำนวน 800 ถึง 1,000 คน เมื่อสิ้นสุดการอบรม ผู้เข้าร่วมได้จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายนักพัฒนาแอปของหัวเว่ยซึ่งมีสมาชิกกว่า 2.3 ล้านคนทั่วโลกได้อีกด้วย” นายอาเบลกล่าวเสริมว่า “ผมขอขอบคุณกระทรวงแรงงานสำหรับความร่วมมืออันยาวนาน ในฐานะบริษัทไอซีทีชั้นนำระดับโลกที่ดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมาตั้งแต่ปี 2542 หัวเว่ยเชื่อมั่นว่าอีโคซิสเต็มบุคลากรดิจิทัลเป็นรากฐานที่สำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไปสู่การเป็นดิจิทัลฮับแห่งอาเซียน หัวเว่ยพร้อมสร้างระบบนิเวศอัจฉริยะที่เชื่อมต่อกันอย่างเต็มรูปแบบสำหรับทุกคน ภายใต้พันธกิจ ‘Grow in Thailand, Contribute to Thailand’ ของเรา”

สถาบันพัฒนาบุคลากรดิจิทัลและหัวเว่ยพร้อมเดินหน้าจัดโครงการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้อีกมากมายในอนาคต ภายใต้ความร่วมมือระยะเวลา 3 ปี เพื่อสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งสำหรับบุคลากรด้านดิจิทัลและลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่มีศักยภาพ ด้วยทรัพยากรและความเชี่ยวชาญที่มีร่วมกัน สำหรับนักศึกษาและบุคลากรที่สนใจเข้าร่วม สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการลงทะเบียนได้ที่ 02-643 6038 หรือคลิก https://bit.ly/3saLkAW  หรือไปที่เพจเฟซบุ๊กของสถาบันพัฒนาบุคลากรดิจิทัล https://bit.ly/3gZkQhk


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

สธ.-หัวเว่ย ลงนามพัฒนาระบบ 5G Healthcare สนับสนุนการแพทย์ทางไกล

รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานพิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกรมการแพทย์และหัวเว่ย พัฒนาระบบ 5G Healthcare สนับสนุนการแพทย์ทางไกล รถพยาบาล 5G งานบริการคลาวด์ ประยุกต์ใช้ AI จาก Big Data ด้านสุขภาพ ช่วยการวินิจฉัยภาพทางการแพทย์ พร้อมทั้งทำให้เป็น personal-based medical services ขับเคลื่อนได้เร็วขึ้น รองรับการแพทย์วิถีใหม่ ประชาชนเข้าถึงบริการได้ทุกที่ทุกเวลา

วันนี้ (22 กันยายน 2564) ที่กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี  นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ว่าด้วย “การศึกษาและพัฒนาระบบ 5G Healthcare” ระหว่าง นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ และนายเฉียน เหลียว รองประธานกรรมการ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด โดยมีนายอาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด เข้าร่วม

นายอนุทิน กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขให้ความสำคัญกับการเพิ่มศักยภาพระบบบริการสุขภาพ ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีการพัฒนาอย่างมาก สามารถนำมาเพิ่มประสิทธิภาพ ทั้งระบบการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ระบบคิว ระบบงานบริการของโรงพยาบาล ระบบส่งต่อ และการเชื่อมโยงข้อมูลบริการสุขภาพที่เป็น Big Data  เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม ปัจจัยสนับสนุนความสำเร็จ ได้แก่ อุปกรณ์เครื่องมือ ความเชี่ยวชาญ  และการใช้เทคโนโลยี 5G ระดับโลกจากหัวเว่ย ส่งผลให้บริการสุขภาพผ่านเครือข่ายดิจิทัลมีความเร็วสูง เกิดความครอบคลุมทั้งพื้นที่เขตเมืองและชนบท ลดช่องว่างให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงบริการอย่างเท่าเทียม ทันเวลา และทันต่อเหตุการณ์ ถือเป็นการรองรับการแพทย์และสาธารณสุขวิถีใหม่ โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์โรคโควิด 19 ที่ยังต้องเข้มเรื่องรักษาระยะห่าง ดังนั้น กรมการแพทย์และหัวเว่ยจึงได้ลงนามความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อศึกษาและและวิเคราะห์การใช้ประโยชน์จากระบบ 5G  นำมาประยุกต์ใช้ในกิจการทางการแพทย์ และการให้บริการประชาชน โดยต้องขอบคุณความร่วมมือทางด้านเทคโนโลยีจากหัวเว่ย ที่ได้ให้การสนับสนุนเครื่องมืออุปกรณ์และทีมที่มีความเชี่ยวชาญระดับสูงมาทำงานร่วมกับกระทรวงฯ และกรมการแพทย์ที่สนับสนุนองค์ความรู้ทางการแพทย์ เป็นการให้บริการทางการแพทย์ทุกที่ทุกเวลา

นายแพทย์สมศักดิ์ กล่าวว่า การศึกษาและพัฒนาระบบ 5G Healthcare ประกอบด้วย ระบบการแพทย์ทางไกล 5G และรถพยาบาล 5G ภายใต้กรอบการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ 5 ประเด็น ได้แก่ 1.งานบริการทางการแพทย์ โดยหัวเว่ยสนับสนุนการออกแบบโซลูชั่นด้านสาธารณสุขสำหรับสถาบันทางการแพทย์ ส่งเสริมการพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตทางการแพทย์ สนับสนุนอุปกรณ์สำหรับการแพทย์ทางไกล ส่วนกรมการแพทย์สนับสนุน แพทย์ พยาบาล สหวิชาชีพ  ให้บริการการแพทย์เคลื่อนที่ และการแพทย์ทางไกล กับประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้โดยไม่ละเมิดนโยบายความเป็นส่วนตัวของผู้ป่วย ทำให้ลดภาระการเดินทาง ประชาชนในพื้นที่ห่างไกลเข้าถึงระบบการดูแลรักษาได้ง่ายขึ้น    2. งาน 5G เทคโนโลยี บูรณาการใช้เทคโนโลยี 5G เข้ากับบริการทางการแพทย์  ทำให้สามารถขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพแบบดิจิทัลในระยะยาวทั่วประเทศไทย ตัวอย่างเช่น พัฒนารถยนต์ไร้คนขับ 5G เพื่อลดความเสี่ยงของบุคลากรทางแพทย์ต่อการติดเชื้อ 3. งานบริการด้านคลาวด์  สำหรับการประยุกต์ใช้ AI มาช่วยบุคลากรทางการแพทย์ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น พัฒนาเทคโนโลยีการวินิจฉัยโรคโดยใช้AI เพื่อการรักษาและวินิจฉัยโควิด-19 ช่วยให้วินิจฉัยโควิด-19 ได้อย่างรวดเร็วภายใน 25 วินาทีต่อเคส ด้วยความปลอดภัย แม่นยำ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น  4. งานส่งเสริมองค์ความรู้ในองค์กร โดยพัฒนาองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อส่งเสริมและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ทักษะใหม่หรือทักษะที่สูงขึ้น ให้กับบุคลากรทั้งสองฝ่าย ผ่านการจัดการเรียนการสอนตามแนวทางหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง และ 5.งานความร่วมมือกับภาครัฐบาล เพื่อค้นคว้า วิจัย และร่วมผลักดันระบบ 5G และบริการคลาวด์ในประเทศไทยให้เป็นที่แพร่หลายมากขึ้น เพื่อเป็นการรองรับการแพทย์และสาธารณสุขวิถีใหม่ (New Normal Medical Services and Public Health) ซึ่งเป็นระบบบริการทางการแพทย์ที่เน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง (personal-based medical services)

ทั้งนี้ ภายในงานยังมีการสาธิตการใช้งานโซลูชันดิจิทัลที่ผสานรวมเทคโนโลยี 5G+Cloud ของหัวเว่ยเข้ากับการดำเนินงานของโรงพยาบาล เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและประสิทธิภาพในด้านต่าง ๆ อาทิ โซลูชันการสื่อสารทางการแพทย์ผ่านระบบทางไกล 5G, ระบบ Home Isolation สำหรับการวินิจฉัยและการรักษาผู้ป่วยจากระยะไกล รวมถึงจำลองสถานการณ์การทำงานแบบเรียลไทม์ของรถพยาบาลระบบ 5G

นายอาเบล เติ้ง กล่าวว่า “หัวเว่ยรู้สึกภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับกรมการแพทย์ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ และโรงพยาบาลราชวิถี ภายใต้ความร่วมมือครั้งนี้ ซึ่งจะช่วยเสริมศักยภาพระบบการดูแลสุขภาพของไทยให้ดียิ่งขึ้น  บันทึกข้อตกลงนี้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของกระทรวงสาธารณสุขในการยกระดับโรงพยาบาลให้เป็นโรงพยาบาลอัจฉริยะในอนาคต” พร้อมเสริมว่า “ในยุคของการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลในวงการแพทย์ เรารู้สึกเป็นเกียรติที่ได้มีส่วนร่วมในการสนับสนุนประเทศไทย ร่วมนำนวัตกรรมและโครงสร้างพื้นฐานอัจฉริยะมาช่วยเสริมแกร่งระบบสาธารณสุขและการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์เพื่อสร้างสรรค์บริการทางการแพทย์ที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ และครอบคลุมผู้คนจำนวนมาก ตลอดจนพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนในเมืองและผู้คนที่อยู่ห่างไกลออกไป หัวเว่ยมุ่งหวังที่จะสร้างสร้างโลกดิจิทัลที่เชื่อมโยงถึงกันและขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ยุคอัจฉริยะอย่างเต็มรูปแบบ”

หัวเว่ยยังคงมุ่งมั่นนำเสนอเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสร้างระบบนิเวศการรักษาพยาบาลที่แข็งแกร่งและเชื่อมโยงถึงกัน ซึ่งจะมอบความสะดวกสบายและความปลอดภัยให้แก่ผู้ป่วย ผู้รับบริการ และเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ ทั้งยังช่วยลดต้นทุนและเสริมประสิทธิภาพให้แก่บริการต่าง ๆ ได้อย่างสมบูรณ์


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

หัวเว่ย ไอซีที อะคาเดมี่ เดินหน้าจับมือมหาวิทยาลัยชั้นนำของไทย เร่งเสริมแกร่งระบบนิเวศดิจิทัล

หัวเว่ยสนับสนุนการพัฒนาอีโคซิสเต็มด้านบุคลากรไอซีที ขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ ตามนโยบายประเทศไทย 4.0  ส่งเสริมความร่วมมือเชิงรุกกับสถาบันการศึกษาชั้นนำของไทย

[กรุงเทพ, 3 กันยายน 2564] – บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการพัฒนาระบบนิเวศดิจิทัลของไทย ด้วยการขยายเครือข่ายและกระชับความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยทั่วประเทศผ่านโครงการหัวเว่ย ไอซีที อะคาเดมี่ (Huawei ICT Academy Program) ซึ่งริเริ่มขึ้นในปี 2560 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันการพัฒนาทักษะดิจิทัล และบ่มเพาะบุคลากรในอนาคตให้มีทักษะความสามารถด้านดิจิทัลตรงกับความต้องการของตลาด ผ่านความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ยุคใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยการพัฒนาอย่างรวดเร็ว

ตลอดหลายปีที่ผ่านมา หัวเว่ย ไอซีที อะคาเดมี่ ประเทศไทย ได้เดินหน้าลงนามบันทึกความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยระดับชั้นนำของไทย เพื่อสร้างระบบนิเวศด้านบุคลากรที่แข็งแกร่ง และส่งเสริมการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลให้เกิดประโยชน์แก่ผู้คนในพื้นที่ได้มากขึ้น   ปัจจุบันมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยกว่า 25 แห่งในประเทศไทย ได้เข้าร่วมโครงการดังกล่าวเพื่อเพิ่มพูนความรู้ด้านไอซีทีให้แก่นิสิตและนักศึกษา กระตุ้นความสนใจในการเรียนรู้และเพิ่มทักษะด้านนวัตกรรม ตลอดจนพัฒนาทักษะในการเรียนรู้ด้วยตนเองและการแก้ไขปัญหา หัวเว่ยมุ่งมั่นพัฒนาหลักสูตรและบริการที่มีคุณภาพ ร่วมพัฒนาหลักสูตรและสร้างห้องปฏิบัติการที่ครบครันด้วยเทคโนโลยีไอซีทีของบริษัท เช่น 5G, คลาวด์ คอมพิวติ้ง, ไอโอทีและบิ๊กดาต้า เพื่อให้นิสิตนักศึกษาได้สัมผัสประสบการณ์การใช้โซลูชันจริง ที่จะช่วยส่งเสริมความคิดในเชิงสร้างสรรค์

มหาวิทยาลัยชั้นนำต่าง ๆ ที่เข้าร่วมโครงการ อาทิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ฯลฯ ล้วนมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างบุคลากรคุณภาพที่สามารถเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศและร่วมผลักดันประเทศไทยให้ก้าวสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จากการเรียนรู้ในห้องเรียนสู่การรับรองที่ได้มาตรฐาน

สำหรับผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมผ่านโครงการหัวเว่ย ไอซีที อะคาเดมี่ จะได้รับประกาศนียบัตรมาตรฐานวิชาชีพของหัวเว่ย ซึ่งเป็นการรับรองที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง อีกทั้งยังช่วยเพิ่มโอกาสในการสมัครงานของนิสิตนักศึกษา รวมไปถึงโอกาสฝึกงานกับบริษัท หัวเว่ย ประเทศไทย ตลอดจนอาจได้เป็นพนักงานของหัวเว่ยหรือบริษัทในเครือพันธมิตรอีกด้วย

นอกจากนี้ หัวเว่ยยังให้การสนับสนุนด้วยการมอบบัตรกำนัลสำหรับการเข้าสอบประกาศนียบัตรระดับ HCIA มูลค่า 200 ดอลลาร์สหรัฐ ให้แก่นิสิตนักศึกษาทุกคนที่เข้าร่วมโครงการหัวเว่ย ไอซีที อะคาเดมี่ รวมถึงอุปกรณ์อันล้ำสมัยสำหรับใช้ในห้องปฏิบัติการให้แก่สถาบันการศึกษา เพื่อประโยชน์แก่นิสิตนักศึกษาในรุ่นต่อ ๆ ไป

นายอาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหารบริษัท หัวเว่ย ประเทศไทย กล่าวว่า “หัวเว่ยให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากร เพราะพวกเขาคือทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในอุตสาหกรรมไอซีที  ดังนั้นโครงการหัวเว่ย ไอซีที
อะคาเดมี่ จึงมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความสามารถของนักศึกษาและยกระดับวงการไอซีทีของไทยให้พร้อมขับเคลื่อนอีโคซิสเต็มบุคลากรอย่างมั่นคงในอนาคต”

นายอาเบล กล่าวเสริมว่า “ผมอยากเชิญชวนวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยในไทยให้เข้าร่วมโครงการ หัวเว่ย ไอซีที อะคาเดมี่ เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์หลักสูตรที่สอดรับกับความต้องการของตลาดไอซีทีที่มีการพัฒนาตลอดเวลา  ความร่วมมือระหว่างภาคอุตสาหกรรมกับภาคการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างอีโคซิสเต็มบุคลากรด้านไอซีทีที่เปิดกว้าง ร่วมกันคิดสร้างสรรค์ และเอื้อประโยชน์ต่อทุกภาคส่วน เพื่อช่วยส่งเสริมการเปลี่ยนเเปลงสู่ยุคดิจิทัลและก้าวสู่ประเทศไทย 4.0”

ภายใต้วิสัยทัศน์ของหัวเว่ย ประเทศไทย ในการพัฒนาบุคลากรให้สอดคล้องกับความต้องการตลาด โครงการ หัวเว่ย ไอซีที อะคาเดมี่ มุ่งที่จะสร้างมาตรฐานการศึกษาด้านเทคโนโลยี พัฒนาความสามารถทางเทคนิค ส่งเสริมการบ่มเพาะนวัตกรรม รวมถึงการสร้างสรรค์ธุรกิจให้มากขึ้น เพื่อสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมไอซีทีของประเทศไทยได้อย่างยั่งยืน

สถาบันการศึกษาที่สนใจโครงการการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลให้มีประสิทธิภาพ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่โทร. 088-841-4386 หรือเยี่ยมชมเพจเฟซบุ๊ก Huawei ICT Academy  https://www.facebook.com/HuaweiICTAcademyTH)


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

Huawei Cloud Thailand จับมือร่วมกับ Metro Systems Corporation PLC. เปิดศูนย์บริการ Technical Support Center ในรูปแบบภาษาไทย

บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ให้บริการระบบโครงสร้างพื้นฐานและโซลูชันไอซีทีชั้นนำ ได้ร่วมกับ บริษัท เมโทรซิสเต็มส์คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)  บริษัทชั้นนำด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศครบวงจร ให้เปิดศูนย์บริการสนับสนุนด้านเทคนิคอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อความร่วมมือในการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ โดยเปิดศูนย์บริการที่ให้คำปรึกษา คำแนะนำและแก้ไขปัญหาในรูปแบบภาษาไทย ตอกย้ำความมุ่งมั่นที่ยึดลูกค้าเป็นหัวใจสำคัญ ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าด้วยการบริการอย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ ทำให้ลูกค้าได้รับคำแนะนำ การแก้ไขปัญหา ที่ตรงประเด็นและรวดเร็ว

การร่วมมือด้านการบริการในครั้งนี้จะมีทีมงานผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้คำปรึกษาทางด้านเทคนิค และดำเนินการแก้ไข เปิดบริการทุกวันจันทร์ – ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.30 น. – 17.00 น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ และการบริการในรูปแบบภาษาอังกฤษจะยังให้บริการอย่างต่อเนื่อง สามารถติดต่อได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยลูกค้าสามารถเลือกใช้บริการแผนสนับสนุน (Support Plan) ที่เหมาะสมกับท่านบน Huawei Cloud ซึ่งมีทั้งหมด 4 แผนดังนี้ Basic, Developer, Business และ Enterprise (https://www.huaweicloud.com/intl/en-us/service/supportplans.html)

โดยศูนย์บริการด้านทางด้านเทคนิคนี้ได้เปิดอย่างเป็นทางการแล้ววันนี้ หลังได้ร่วมลงนามความร่วมมือเมื่อเดือน มิถุนายน2564 ที่ผ่านมา และเริ่มให้บริการแล้ว ณ วันนี้เป็นต้นไป

บรรยายภาพ: พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง บริษัท หัวเว่ย และบริษัท เมโทรซิสเต็มส์ เมื่อมิถุนายน 2564 ที่ผ่านมาโดยมี คุณปิยะธิดา อิทธิระวิวงศ์ ประธานกรรมการ แผนกธุรกิจคลาวด์ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด และ คุณวีรพันธุ์ ดุรงค์แสง กรรมการผู้จัดการกลุ่มธุรกิจดิจิตอลโซลูชั่น บริษัท เมโทรซิสเต็มส์คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง

ทั้งนี้ Huawei Cloud เป็นผู้ให้บริการ Cloud Service ในประเทศไทยสามารถตอบโจทย์การเข้าถึงข้อมูลที่รวดเร็วมากยิ่งขึ้น เนื่องจาก Huawei Cloud มี 2 AZ (Data Center) ในประเทศไทย และยังมีบริการที่หลากหลาย สามารถเลือกใช้บริการได้อย่างเหมาะสม เช่นการเก็บค่าบริการตามการใช้งานจริง, รายเดือน, รายปี ซึ่งตอบโจทย์กับทุกกลุ่มอุตสาหกรรม ทั้งภาครัฐ และเอกชน หรือ องค์กร กลุ่มธุรกิจต่างๆในประเทศไทย

ทางบริษัท เมโทรซิสเต็มส์คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) นอกจากจะให้บริการ Thailand Local Center Service Support ให้กับ Huawei Cloud Thailand แล้ว ยังเป็นที่ปรึกษา ในการวาง Solution  ให้แก่ กลุ่มธุรกิจ และผู้ที่ต้องการ จัดเก็บข้อมูลในรูปแบบ Cloud หรือ ต้องการเลือกใช้ Service อื่นๆ ที่ Huawei Cloud มีให้บริการแก่ลูกค้า เช่น Backup Solution, Container, Contact Center, Cloud Meeting และอื่นๆอีกมากมาย เพื่อง่ายต่อการใช้งาน และง่ายต่อการเข้าถึงข้อมูลมากยิ่งขึ้น

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ กลุ่ม Digital Solutions Group “DSG”, บริษัท เมโทรซิสเต็มส์คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) อีเมล์ : dsgmkt@metrosystems.co.th Website : https://www.metrosystems.co.th/  Facebook : https://www.facebook.com/metrosystemscorp/


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

อีอีซี จับมือ หัวเว่ย อาเซียน อะคาเดมี่ เดินหน้าพัฒนาทักษะบุคลากร ด้วยนวัตกรรม 5G สู่ อุตสาหกรรม 4.0

วันนี้ (3 ส.ค.2564) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรือ อีอีซี ร่วมกับ หัวเว่ย อาเซียน อะคาเดมี่ (Huawei ASEAN Academy) และ ม.บูรพา จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (work shop) รูปแบบออนไลน์ หัวข้อ“Technology Seeker vs Competence Development Workshop” โดยมี ดร.คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการ อีอีซี และ นายอาเบล เติ้ง (Mr. Abel Deng) ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมเปิดการสัมมนาฯ พร้อมคณะวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิในเทคโนโลยีดิจิทัล 5G มาให้ความรู้
ซึ่งมีผู้เข้าร่วมสัมมนาจำนวนมาก อาทิ ผู้บริหารระดับสูง และผู้ประกอบการในพื้นที่ อีอีซี กลุ่มเอสเอ็มอี และกลุ่มสตาร์ทอัพ ที่มีความสนใจต่อการนำนวัตกรรมดิจิทัล 5G เข้ามาผนวกกับการพัฒนาบุคลากร

การจัดสัมมนาฯ ครั้งนี้ จัดขึ้นตามแนวทาง อีอีซี โมเดล สร้างคนตรงความต้องการ มีงานทำ รายได้สูง
พร้อมขับเคลื่อนหลักสูตรนวัตกรรมที่มีต่อภาคอุตสาหกรรมในอีอีซี อีกทั้งมุ่งให้เกิดการเรียนรู้เทคโนโลยี 5G ระดับโลกของ หัวเว่ย ที่ได้พัฒนาระบบดิจิทัลในภาคอุตสาหกรรมให้มีประสิทธิภาพ และเพื่อรวบรวมองค์ความรู้และข้อมูล สำหรับสร้างหลักสูตรการฝึกอบรม ให้กับนักศึกษา คนรุ่นใหม่ ผู้ที่มีความสามารถด้านเทคโนโลยี ICT ในพื้นที่ อีอีซี โดยในการสัมมนาฯ จะมีผู้เชี่ยวชาญจาก หัวเว่ย ร่วมถ่ายทอดความรู้ที่น่าสนใจ เช่น เทคโนโลยี 5G ระบบการจัดเก็บข้อมูล Cloud Big Data และ IoT รวมทั้งการยกระดับเทคโนโลยีดิจิทัลเชื่อมโยงในภาคอุตสาหกรรม เป็นต้น นอกจากนี้ จะได้รวบรวมข้อเสนอแนะ และความต้องการในมิติต่างๆ จากผู้เข้าสัมมนาภาคอุตสาหกรรม ซึ่งถือเป็นข้อมูลสำคัญ ที่ Huawei ASEAN Academy จะได้นำไปปรับการจัดทำหลักสูตร เพื่อเตรียมความพร้อม และพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่ อีอีซี
สู่อุตสาหกรรม 4.0 ในอนาคต

ดร. คณิศ แสงสุพรรณ กล่าวถึงความร่วมมือระหว่าง อีอีซี หัวเว่ย และ ม.บูรพา ครั้งนี้ว่า ในวันนี้ ถือเป็นก้าวแรกเพื่อร่วมกันขับเคลื่อน โครงการ Huawei ASEAN Academy (Thailand) EEC Branch ที่จะสร้างโอกาสการพัฒนา
ทักษะบุคลากรด้านดิจิทัล ที่ไม่เพียงแค่ตอบโจทย์การสร้างงานให้ตรงความต้องการภาคอุตสาหกรรม แต่จะขยายผลไปสู่การสร้างความสำเร็จ เพื่อนำเทคโนโลยี 5G มาเสริมศักยภาพอุตสาหกรรม 4.0 เพิ่มผู้ใช้ 5G ในภาคการผลิต โดยอีอีซี
ได้ตั้งเป้าหมายให้เกิดการใช้ สูงถึง 8,000 โรงงานในพื้นที่ ซึ่งจะเป็นก้าวสำคัญผลักดันให้ประเทศไทย ก้าวสู่อุตสาหกรรม 4.0 อย่างยั่งยืน

ด้านนายอาเบล เติ้ง กล่าวว่า เป้าหมายของ Huawei ASEAN Academy จะพัฒนาทักษะบุคลากรด้านดิจิทัล 5G ให้ได้ 30,000 คน ภายในระยะเวลา 3 ปี ซึ่งทาง หัวเว่ย พร้อมจะให้การสนับสนุนร่วมกับ อีอีซี และมหาวิทยาลัยบูรพา ในการสร้างความพร้อมอย่างรอบด้าน ทั้งด้านองค์ความรู้ หลักสูตรด้านดิจิทัล และทรัพยากรต่างๆ ซึ่งหัวเว่ย พร้อมจะร่วมผลักดัน ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลของภูมิภาค (Digital Hub of the ASEAN) รองรับการลงทุนในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง เพิ่มความสามารถการแข่งขันทางธุรกิจ รวมทั้งการสร้างบุคลากรด้านดิจิทัล ที่หัวเว่ย จะให้การสนับสนุนและยินดีให้ความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง


 

Exit mobile version