Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

“DNS” คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล มจพ. เปิดรับสมัครนักศึกษา ป.โท-เอก ภาคการศึกษาที่ 1/2566

ภาควิชาการบริหารเครือข่ายดิจิทัลและความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ( DNS ) คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) เปิดรับสมัครนักศึกษาปริญญาโทและปริญญาเอก ภาคการศึกษาที่ 1/2566 ในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (MDNS, S-MDNS) และหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (DDNS) สาขาวิชาการบริหารเครือข่ายและความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ โดยเปิดรับสมัคร ช่วงที่ 2 วันที่ 4 มกราคม – 5 มีนาคม 2566 และช่วงที่ 3 วันที่ 6 มีนาคม – 27 เมษายน 2566 รายละเอียดดังนี้

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ปริญญาโท) หลักสูตรในเวลาราชการ แผน ก  เรียนวันจันทร์ศุกร์ เวลา 09.00 – 16.00 . ค่าเทอมโดยประมาณ 20,000 บาท/เทอมหลักสูตรนอกเวลาราชการ เรียนช่วงค่ำ เวลา 18.00 – 21.00 . ค่าเทอมเหมาจ่าย 45,000 บาท/เทอม และหลักสูตรนอกเวลาราชการ เรียนวันเสาร์อาทิตย์ เวลา 09.00 – 16.00 . ค่าเทอมเหมาจ่าย 45,000 บาท/เทอม รายละเอียดหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ปริญญาโท) : https://bit.ly/2Qt0zGB

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปริญญาเอก) หลักสูตรในเวลาราชการ แผน ก เรียนวันจันทร์ศุกร์ เวลา 09.00 – 16.00 . ค่าเทอมโดยประมาณ 40,000 บาท/เทอม รายละเอียดหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปริญญาเอก) :

สามารถสมัครออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ https://grad.admission.kmutnb.ac.th/
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากภาควิชาโดยตรง Line: https://lin.ee/SzZvEz9

ขวัญฤทัย ข่าว/ ภาพข่าว สมพล 


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ข้อเท็จจริงจากท่านอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.)

ศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ เซี่ยงฉิน จบการศึกษาจากสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีระดับปริญญาตรีถึงปริญญาเอก ในสาขาวิศวกรรมวัสดุศาสตร์ และเป็นนักวิจัยภายหลังจบปริญญาเอก (Post doctoral) ที่ Purdue University ประเทศสหรัฐอเมริกา รวม 5 มหาวิทยาลัย และได้ทำงานวิจัยทางด้านงานวัสดุ และ composite อย่างต่อเนื่องภายหลังจบการศึกษา มีงานวิจัยที่ตีพิมพ์และเผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติอย่างต่อเนื่องและเพิ่มขึ้นในทุกปีจากสถิติในฐานข้อมูล Scopus ที่ได้ถูกแสดงใน Facebook

ทั้งนี้ผลงานวิจัยที่มีจำนวนงานวิจัยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปีเกิดจากการทำงานวิจัยร่วมกัน    เป็นทีมกับคณะนักวิจัยจากต่างประเทศ ซึ่งเป็นนักวิจัยแบบเต็มรูปแบบ (full time researchers) ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) รวมถึงนักวิจัยต่างชาติ และยังมีโครงการวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยต่าง   ที่ได้เคยร่วมงานกันในต่างประเทศ ซึ่งเป็นการขยายเครือข่ายความร่วมมือในการทำวิจัย อีกทั้งคณะที่ข้าพเจ้า    สังกัดอยู่ คือ บัณฑิตวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติ สิรินธร ไทยเยอรมัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า    พระนครเหนือ (มจพ.) ซึ่งมีการจัดการเรียนการสอนเฉพาะระดับบัณฑิตศึกษาภาคภาษาอังกฤษเท่านั้น จึงเน้นการทำวิจัย      กับภาคอุตสาหกรรม จะเห็นได้ว่ารูปแบบการทำวิจัยเป็นทีมทั้งในประเทศและต่างประเทศ และการสร้างเครือข่ายการทำวิจัยร่วมกับต่างประเทศดังกล่าวเป็นรูปแบบปกติที่มีอยู่ในหลากหลายประเทศในยุคดิจิทัลในปัจจุบัน

ในด้านประสบการณ์การทำงานข้าพเจ้าเคยทำงานในภาคเอกชนก่อนมาบรรจุเป็นอาจารย์ ที่บัณฑิตวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติ สิรินธร ไทยเยอรมัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ในตำแหน่งอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ ตั้งแต่วันที่ 5 สิงหาคม พ.. 2558 นอกจากนี้ ยังได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ จากมหาวิทยาลัย Chemnitz University สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี อีกตำแหน่งหนึ่ง โดยเป็นคนไทยคนแรก ที่ได้รับเกียรตินี้จากมหาวิทยาลัยดังกล่าว

ในด้านการบริหารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือได้ดำรงตำแหน่งรองคณบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนา ของบัณฑิตวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติ สิรินธร ไทยเยอรมัน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และปัจจุบันดำรงตำแหน่งอธิการบดี

ดังนั้นข้าพเจ้าขอยืนยันว่าผลงานวิจัยของข้าพเจ้าเป็นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยทางด้านวัสดุศาสตร์ ซึ่งถือเป็นความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในการทำงานวิจัยของข้าพเจ้า อีกทั้งตลอดระยะเวลาที่ศึกษา ที่สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี มากว่า 17 ปี และสหรัฐอเมริกา มากว่า 2 ปี ทำให้เกิดเครือข่ายการทำวิจัยกับนักวิจัยต่างชาติ กอปรกับการทำงานวิจัยอย่างต่อเนื่องภายหลังจบการศึกษาได้เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอกจากต่างประเทศมากกว่า 20 คน และมีนักวิจัยภายหลังปริญญาเอก (Post doctoral) มากกว่า 10 คน รวมถึงการมีนักวิจัยต่างชาติที่ทำงานร่วมกันในปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง และได้รับทุนวิจัยจากภายในและภายนอกประเทศอย่างต่อเนื่องทุกปีที่มาปฏิบัติงานที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) จนถึงปัจจุบันที่ดำรงตำแหน่งอธิการบดี จึงทำให้เกิดการสร้างเครือข่ายงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง และข้าพเจ้ามิได้รับค่าตอบแทนหรือเงินสนับสนุนใด ในการตีพิมพ์ผลงานวิชาการจากบัณฑิตวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติ สิรินธร ไทยเยอรมัน และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ แต่อย่างใด เนื่องจากข้าพเจ้าเห็นว่าเป็นงานในหน้าที่อาจารย์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือทุกคน


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

มจพ. ร่วมกับ บริษัท เพรซิเดนท์ เบเกอรี่ จำกัด (มหาชน) จัดสัมมนาเวทีระดับชาติ การยกระดับอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ไทยสู่สากลในยุคดิจิทัลด้วยยานยนต์ไฟฟ้า

. ดร.ธีรวุฒิ บุณยโสภณ นายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เป็นประธานเปิดงานสัมมนาวิชาการระดับชาติ  การยกระดับอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ไทยสู่สากลในยุคดิจิทัลด้วยยานยนต์ไฟฟ้าพร้อมด้วย คุณอภิเศรษฐ ธรรมมโนมัย กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เพรซิเดนท์ เบเกอรี่ จำกัด (มหาชน) และรศ.ดร.ชาญชัย ทองประสิทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2565 ณ หอประชุมเบญจรัตน์ อาคารนวมินทรราชินี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

 งานสัมมนาวิชาการระดับชาติครั้งนี้ ทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ  โดยสำนักพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม ได้ร่วมกับ บริษัท เพรซิเดนท์ เบเกอรี่ จำกัด (มหาชน) จัดสัมมนาวิชาการ เรื่อง การยกระดับอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ไทยสู่สากลในยุคดิจิทัลด้วยยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ใหม่ด้านอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ไทยในยุคดิจิทัลด้วยยานยนต์ไฟฟ้า ให้แก่สถานประกอบการอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ รวมทั้งสถานศึกษาที่เปิดสอนในสาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์และเทคโนโลยีโลจิสติกส์ ได้เกิดมุมมองในการพัฒนาอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ไทย ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในยุคอุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งจะเป็นการยกระดับการขนส่งสินค้าของประเทศไทยด้วยยานยนต์ไฟฟ้า และสร้างโอกาสในการขยายเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการระหว่างองค์กรภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ของประเทศให้เจริญเติบโตก้าวหน้าอย่างยั่งยืน


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

มจพ. เปิดสนามจัดการแข่งขัน 2022 MakeX Thailand Robotics Competition รอบเก็บคะแนน สนามที่ 2

รศ.ดร.ชนศักดิ์ บ่ายเที่ยง ที่ปรึกษาอธิการบดีด้านวิชาการ การประกันคุณภาพการศึกษาและงานสวัสดิการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.)  เป็นประธานกล่าวเปิดการแข่งขัน 2022 MakeX Thailand Robotics Competition รอบเก็บคะแนนรุ่น Starter สนามที่ 4 และรุ่น Explorer สนามที่ 2 พร้อมด้วย  รศ.สุพร รัตนพันธ์ หัวหน้าศูนย์สะเต็มศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กล่าวแนะนำศูนย์สะเต็มศึกษาของมหาวิทยาลัย 

กิจกรรมดังกล่าว สืบเนื่องจากความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม ศูนย์สะเต็มศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และบริษัท อิมเมจิเนียริ่ง เอ็ดดูเคชั่น จำกัด และในการแข่งขันครั้งนี้ภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา ได้นำนักศึกษาระดับปริญญาตรีเข้าร่วมเป็นกรรมการตัดสิน เมื่อวันที่ 10 – 11 กันยายน 2565 ณ ห้องประชุมชั้น 8 อาคารปฏิบัติการและประลองรวม (อาคาร 44) คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและออกบูทประชาสัมพันธ์หลักสูตรที่เปิดสอน


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ทีมหุ่นยนต์กู้ภัย iRAP Robot คว้า 3 รางวัล จากการแข่งขันหุ่นยนต์กู้ภัยโลก “World RoboCup Rescue 2022”

.ดร.สุชาติ  เซี่ยงฉิน อธิการบดี  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ) จัดงานเลี้ยงแสดงความยินดีแก่ ทีมหุ่นยนต์กู้ภัย iRAP Robot มอบทุนการศึกษา และมอบเสื้อสามารถให้กับนักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษาทีมหุ่นยนต์กู้ภัย iRAP Robot  คว้า 3 รางวัล จากการแข่งขันหุ่นยนต์กู้ภัยโลก “World RoboCup Rescue 2022”  ได้แก่ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 และ Best-in-class Mobility (รางวัลหุ่นยนต์ที่มีสมรรถนะยอดเยี่ยม) และ Best team description papers (รางวัลนำเสนอข้อมูลทีมหุ่นยนต์ยอดเยี่ยม) ได้อย่างสมศักดิ์ศรี โดยนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) เข้าร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์กู้ภัยระดับโลก ประจำปี พ.. 2565 ในการแข่งขัน “World RoboCup Rescue 2022”  ระหว่างวันที่ 13-16 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค กรุงเทพฯ  โดยมีทีมเข้าร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์กู้ภัย รวมจำนวน 14 ทีม จาก 10 ประเทศทั่วโลก ได้แก่ ออสเตรีย แคนาดา จีน เยอรมัน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ตุรกี สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และไทย สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทย และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกและแห่งเดียวในโลกที่เป็นแชมป์โลกหุ่นยนต์กู้ภัยมากที่สุดอีกด้วย เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2565

ขวัญฤทัย ข่าว/สมเกษ ถ่ายภาพ


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

คณะวิศวกรรมศาสตร์ฯ มทร. สุวรรณภูมิ ร่วมถ่ายทอดความรู้ด้านเกษตรอัจฉริยะ และโมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG แก่เกษตรกรชาวสวนผลไม้ จังหวัดนนทบุรี

ผศ.ดร.สมพร ศรีวัฒนพล คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์นนทบุรี ร่วมบรรยายในหัวข้อ “องค์ความรู้ด้านคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสำหรับงานเกษตร และการประยุกต์ใช้” เพื่อร่วมถ่ายทอดความรู้ด้านเกษตรอัจฉริยะและโมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG แก่เกษตรกรชาวสวนผลไม้ จังหวัดนนทบุรี  หัวข้อที่นำเสนอ ประกอบด้วย (1) การแปรรูปผลไม้ด้วยเทคนิคระบบวัดค่าไดอิเล็กตริค  (2) ระบบส่งรับข้อมูลผ่านสมาร์ทโฟนระยะไกลแบบประหยัด  (3) การฝึกสอนนักอิเล็กทรอนิกส์สำหรับงานเกษตรอัจฉริยะ  (4) การแปรรูปและเพิ่มมูลค่าผลผลิตเกษตร และ  (5) การสาธิตเครื่องวัดความเค็มหวาน ด้วยสมาร์ทโฟน  เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2564 ณ “เรือนหลังสวน” ตำบล บางพลับ อำเภอปากเกร็ด นนทบุรี

   สืบเนื่องจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ร่วมถ่ายทอดความรู้ด้านเกษตรอัจฉริยะและโมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG แก่เกษตรกรชาวสวนผลไม้ จังหวัดนนทบุรี ศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม จ.นนทบุรี ถ่ายทอดความรู้ด้านเกษตรอัจฉริยะและโมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG ในโครงการเวทีถ่ายทอดความรู้ โดยสำนักงานเกษตรอำเภอปากเกร็ด ผศ.ดร.พีรพงษ์ พรวงศ์ทอง ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม จ.นนทบุรี และรองคณบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนา คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ส่วนราชการในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วมจัดการบรรยายให้ความรู้ ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรอัจฉริยะและโมเดลเศรษฐกิจ BCG แก่เกษตรกรชาวสวนผลไม้ ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ต.บางพลับ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี พร้อมสาธิตการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยการผลิตและแสดงตัวอย่างผลิตภัณฑ์จากการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรตามหลักโมเดลเศรษฐกิจ BCG ซึ่งได้รับความสนใจจากเกษตรกรชาวสวนผลไม้มาก 

ชวัญฤทัย-ข่าว 


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

มจพ. จับมือ พพ. บูรณาการเชื่อมโยงมาตรฐาน Building Energy Code (BEC)

ผศ.ดร.ณัฐพงศ์ มกระธัช ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาสิ่งแวดล้อมและกายภาพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.)  ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือการส่งเสริมการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงานตามกฎหมายกับนายเรืองเดช ปั่นด้วง รองอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) พร้อมกับสถาบันการศึกษาชั้นนำ 7 แห่ง เพื่อบูรณาการเชื่อมโยงมาตรฐาน Building Energy Code (BEC) สู่การพัฒนาเป็นองค์ความรู้สู่สถาบันการศึกษา เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2564  ณ โรงแรมโกลเด้น ทิวลิป ซอฟเฟอริน  กรุงเทพฯ การลงนามบันทึกความร่วมมือครั้งนี้  เดินหน้านำพลังงานทดแทนมาใช้และลดใช้พลังงาน 30% ในปี 2580 จะมีส่วนช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 20-25% ภายในปี 2573 ตามเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon neutrality) ภายในปี 2050 สู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (net zero) ภายในหรือก่อนหน้า ปี 2065  รวมถึงการปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐานการออกแบบในระบบต่างๆ ให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่ใช้ในปัจจุบัน

สำหรับแนวทางปฏิบัติในการขออนุญาตก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารตามกฎกระทรวงฯ BEC  ปี 2563     นั้นทางกระทรวงพลังงาน  โดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ออกกฎกระทรวงฯฉบับใหม่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อวันที่  12  พฤศจิกายน 2563  ประเภทอาคารที่เข้าข่ายต้องปฏิบัติตาม

กฏกระทรวงฯ คือ อาคารก่อสร้างใหม่หรือดัดแปลง ที่มีพื้นที่ใช้สอยตั้งแต่ 2,000 ตาราเมตรขึ้นไป ใน 9 ประเภทอาคาร  ตามกฎกระทรวงฯ ข้อที่ 14 ได้ระบุว่าการตรวจประเมินในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน มีคุณสมบัติ ดังนี้  (1) วิศวกรที่มีใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมหรือ สถาปนิกที่มีใบประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม (2) ผู้ที่ได้รับการรับรองจาก พพ. ว่าเป็นผู้สำเร็จการฝึกอบรมตามหลักสูตรที่กำหนด และกฎกระทรวงฯ ข้อ 15 ระบุให้เจ้าของอาคาร มีหน้าที่จัดทำรายงานฯ เพื่อประกอบการยื่นขอรับใบอนุญาตหรือแจ้งก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคาร ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร คือ (1) ตรวจประเมินแบบอาคาร BEC ก่อนยื่นขออนุญาตก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคาร (2) ตรวจประเมินแบบอาคาร BEC ก่อนยื่นขอใบรับรองการก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคาร 

แนวทางการบังคับใช้จะเริ่มจากอาคารขนาดใหญ่ พื้นที่ตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตรขึ้นไปในปีแรก และตั้งแต่  5,000 ตารางเมตรขึ้นไปในปีที่สอง และตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตร ใช้โปรแกรมตรวจประเมินค่าอนุรักษ์พลังงาน เป็นโปรแกรมช่วยในการประเมินอาคารที่ออกแบบ  ว่าเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎกระทรวงฯ หรือไม่ โดยปัจจุบันอยู่ในรูปแบบออนไลน์ (BEC Web-based) โปรแกรม BEC Web-based ใช้งานผ่าน http://bec.energy.in.th สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทรศัพท์/โทรสาร : 0-2225-2412 www.2e-building.com E-mail : 2e.center@gm  Facebook BEC Center ศูนย์ประสานงานการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน 

อย่างไรก็ตาม พพ. ได้เตรียมให้สถาบันการศึกษาชั้นนำ 7 แห่ง อันได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ร่วมวางเป้าหมายสร้างความร่วมมือให้ครอบคลุมมหาวิทยาลัยทั้งหมดที่มีความพร้อม เพื่อให้บุคคลากรของสถาบันการศึกษา และนิสิตนักศึกษาที่มีคุณสมบัติได้มีความพร้อมรองรับการปฏิบัติงานตามข้อกำหนดในการบังคับใช้มาตรฐาน BEC ตลอดจนการบูรณาการเชื่อมโยงมาตรฐาน Building Energy Code (BEC) สู่การพัฒนาเป็นองค์ความรู้สู่สถาบันการศึกษาอย่างแท้จริง

ขวัญฤทัย ข่าว/สมเกษ ถ่ายภาพ


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

มจพ. รับนักศึกษาใหม่ หลักสูตรเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ โควตาดีเด่นด้านนวัตกรรมหรือสิ่งประดิษฐ์ (หุ่นยนต์) ปี ‘65

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) รับสมัครบุคคลเข้าศึกษาต่อหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ เตรียมวิศวกรรมศาสตร์ ไทย-เยอรมัน และระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2565  โดยวิธีพิเศษ สำหรับผู้มีความสามารถดีเด่นด้านนวัตกรรมหรือสิ่งประดิษฐ์ (หุ่นยนต์)  ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ เตรียมวิศวกรรมศาสตร์ ไทย-เยอรมัน ฐานวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี ระดับปริญาญาตรี 4 ปี  และระดับปริญญาตรีต่อเนื่อง /เทียบโอน 2-3 ปี  โดยจัดการเรียนการสอน ที่ มจพ. กรุงเทพ   มจพ.ปราจีนบุรี  และ มจพ.ระยอง  ดังนี้

– Download ระเบียบการและรับสมัครทางอินเตอร์เน็ต ตั้งแต่บัดนี้ถึง วันที่ 20 ธันวาคม 2564
– ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสอบสัมภาษณ์ วันที่ 23 ธันวาคม 2564
– สอบสัมภาษณ์/นำเสนอผลงานและส่งผลตรวจสุขภาพ วันที่ 8 มกราคม 2565
– ประกาศผลสอบคัดเลือก วันที่ 14 มกราคม 2565
– ผู้สมัครยืนยันสิทธิ์ Clearing House (เฉพาะผู้สมัครระดับปริญญาตรี 4-5 ปี) วันที่ 7-8 กุมภาพันธ์ 2565
– ประกาศรายชื่อผู้ยืนยันสิทธิ์ที่มีสิทธิ์เข้าศึกษา  วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2565   

ทั้งนี้ สามารถศึกษาคู่มือการใช้งานระบบรับสมัครนักศึกษาออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ที่ http://admission.kmutnb.ac.th/download

สอบถามรายละเอียดได้ที่  งานรับสมัคร กองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ  (มจพ.)  โทร. 02-555-2000 ต่อ 1626–1628, Facebook : กลุ่มงานรับเข้าศึกษา มจพ. หรือhttp://www.admission.kmutnb.ac.th  

ขวัญฤทัย ข่าว 


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

พระจอมเกล้าฯ พระนครเหนือ มอบหุ่นยนต์ฉายแสง UVC ป้องกันเชื้อโควิด แก่ รพ.ราชวิถี

ผศ. สมชาย  เวชกรรม รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์   รศ.ดร. ธีรวัช  บุณยโสภณ  ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ อาจารย์ ดร.สราวุฒิ สืบแย้ม ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายการคลังและกิจการทั่วไป พร้อมด้วยคุณภรณี  ลีนุตพงษ์ กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ  และทีมผู้วิจัย รศ.ดร.ศุภชัย ตระกูลทรัพย์ทวี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ร่วมมอบหุ่นยนต์ประดู่แดงฉายแสง UVC รับมอบโดย นพ.ทัศนชาติ จิตรีธาตุ รองผู้อำนวยการด้านอำนวยการ โรงพยาบาลราชวิถี สนับสนุนโดยคุณอารยา ชัยวัฒนศิริกูล ผู้พิพากษาสมทบศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนนทบุรี เพื่อใช้เป็นอุปกรณ์สำหรับการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และโรคติดเชื้ออื่นๆ วันที่ 19 พฤศจิกายน 2564 

นวัตกรรมหุ่นยนต์ประดู่แดงฉายแสง UVC มจพ. มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมต่างๆ สำหรับป้องกัน ควบคุม หรือรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือโควิด 19 (Coronavirus  Disease 2019  (COVID-19))  และโรคติดเชื้ออื่นๆ ให้กับสถานพยาบาล และหน่วยงานต่างๆ เป็นการออกแบบสร้างหุ่นยนต์ฉายรังสี UVC ระบบควบคุมไร้สายด้วยคลื่นวิทยุ เพื่อฆ่าเชื้อไวรัส ขนาดหุ่นยนต์ 68x78x180 ซม. และใช้หลอดรังสียูวีที่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้  ได้แก่ หลอดไอปรอทแรงดันต่ำ เปล่งรังสี 254 nm/หลอดอะมัลกัม เปล่งรังสี 254 nm/ หลอด UV LED ที่แปล่งรังสีในช่วง 242-313 nm หรือ 260-265 nm

ส่วนหุ่นยนต์ประดู่แดงฉายแสง UVC มจพ. เวอร์ชั่นล่าสุดนี้ ได้รับการพัฒนาและปรับปรุง รูปลักษณ์ที่ทันสมัยกว่าเดิม ตัวเครื่องทำให้ Concept โดดเด่นจากรุ่นอื่นๆ แต่ยังคงความทนทาน ด้วยการออกแบบที่สวยงามมีสไตล์ เน้นรายละเอียดที่คมชัดและกะทัดรัดขึ้น

  ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยขอเชิญชวนผู้ที่มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคเงินเพื่อพัฒนาและสร้างนวัตกรรมช่วยเหลือการแพทย์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 สามารถบริจาคได้ที่บัญชี “กองทุนพัฒนามหาวิทยาลัยและต้านภัยโควิด มจพ.” ธนาคารกรุงเทพ สาขา มจพ. เลขที่บัญชี 907-3-50043-2 ใบเสร็จรับเงินการบริจาคสามารถลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร.02-555-2000 ต่อ 1604

ขวัญฤทัย ข่าว- สมเกษ ถ่ายภาพ 


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

มจพ .มอบนวัตกรรมหุ่นยนต์ แก่ กระทรวง อว. สู้ภัยโควิค

อาจารย์ ดร. รักนรินทร์  แสนราช  รองอธิการบดีฝ่ายการคลัง  พร้อมด้วยอาจารย์ ดร.สราวุฒิ สืบแย้ม ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายการคลังและกิจการทั่วไป  รศ.ดร.สิทธิโชค  สุนทรโอภาส ประธานสภาคณาจารย์และพนักงาน ผศ.ดร.สถาพร วังฉาย  และทีมงานวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ร่วมมอบหุ่นยนต์ประดู่แดงฉายแสง UVC และหุ่นยนต์ไอพ่นละอองฝอย (ULV) ฆ่าเชื้อโรค และไวรัส แก่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) รับมอบโดย ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ผศ.ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการ และโฆษกกระทรวงฯ คุณสุณีย์ เลิศเพียรธรรม ผู้ตรวจกระทรวงฯ และรศ.ดร.พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ ที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ณ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2564

นวัตกรรมหุ่นยนต์ประดู่แดงฉายแสง UVC มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมต่าง ๆ สำหรับป้องกัน ควบคุม หรือรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือโควิด 19 (Coronavirus  Disease 2019  (COVID-19))  และโรคติดเชื้ออื่น ๆ ให้กับสถานพยาบาล และหน่วยงานต่าง ๆ เป็นการออกแบบสร้างหุ่นฉายรังสี UVC ระบบควบคุมไร้สายด้วยคลื่นวิทยุ เพื่อฆ่าเชื้อไวรัส และเพื่อเผยแพร่เทคโนโลยีเป็นการนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สู่สังคม  ขนาดหุ่นยนต์ประดู่แดงฉายแสง UVC 68x78x180 ซม.  และใช้หลอดรังสียูวีที่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ ได้แก่ หลอดไอปรอทแรงดันต่ำ เปล่งรังสี 254 nm/หลอดอะมัลกัม เปล่งรังสี 254 nm/ หลอด UV LED ที่เปล่งรังสีในช่วง 242-313 nm หรือ 260-265 nm ส่วนหุ่นยนต์ไอพ่นละอองฝอย (ULV) ฆ่าเชื้อโรค และไวรัส ถูกออกแบบให้ระบบควบคุมการเคลื่อนที่หุ่นยนต์เป็นแบบ “ไร้สาย” มีคุณสมบัติในการสร้างไอพ่นละอองฝอยละเอียดเฉลี่ย 50 ไมครอน เรียกว่าเป็นระบบการสร้างละอองฝอยแบบ ยูแอลวี (ULV cold fog generator) ด้วยปั๊มแรงดันสูง 12 บาร์ มีอัตราการไหล 1 ลิตรต่อนาที ใช้หัวฉีดพ่นจำนวน 16 หัวฉีด (หัวฉีดละเอียดชนิดพิเศษ) เพิ่มความสะดวกสบาย และสามารถเว้นระยะห่างจากรัศมีของการฉีดพ่นได้ ลดความเสี่ยงให้กับผู้ทำการฉีดพ่นจากการบังคับขับหุ่นยนต์ผ่านกล้อง ผ่านระบบสัญญาวิทยุ และมีจอแสดงผลกล้องจากหุ่นยนต์ที่ติดตั้งอยู่ด้านหน้าของหุ่นยนต์  เพื่อช่วยให้ผู้บังคับสามารถควบคุมได้ง่ายสามารถปรับมุมได้ตามความเหมาะสมของสถานที่ และหมุนรอบแกน 120 องศา ทั้งนี้หุ่นยนต์ไอพ่นละอองฝอย (ULV) มีขนาด กว้าง 60 x ยาว 80 x สูง 150 เซนติเมตร มีโครงสร้างที่ทนต่อความชื้นสูง โดยเลือกใช้สแตนเลส 

ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยขอเชิญชวนผู้ที่มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคเงินเพื่อพัฒนาและสร้างนวัตกรรมช่วยเหลือด้านการแพทย์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 สามารถบริจาคได้ที่บัญชี “กองทุนพัฒนามหาวิทยาลัยและต้านภัยโควิด มจพ.” ธนาคารกรุงเทพ สาขา มจพ. เลขที่บัญชี 907-3-50043-2 ใบเสร็จรับเงินการบริจาคสามารถลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 02-555-2000 ต่อ 1604

 ขวัญฤทัย ข่าว/สมเกษ ถ่ายภาพ


Exit mobile version