นายมงคล ตั้งศิริวิช (ขวา) ประธานกลุ่มคลัสเตอร์ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ดูแลประเทศไทย ลาว และเมียนมา และ นายองอาจ ปัณฑุยากร (ซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออนวัลล่า จำกัด ภายใต้การดูแลของบริษัท ออลล่า จำกัด (มหาชน) ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่
นายมงคล ตั้งศิริวิช (ขวา) ประธานกลุ่มคลัสเตอร์ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ดูแลประเทศไทย ลาว และเมียนมา และ นายองอาจ ปัณฑุยากร (ซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออนวัลล่า จำกัด ภายใต้การดูแลของบริษัท ออลล่า จำกัด (มหาชน) ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่
ปีเตอร์ เฮอร์เว็ค ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ชไนเดอร์ อิเล็คทริค
เมื่อตอนที่ฉันเป็นนักเรียนในปี 1988 ฉันเขียนวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ และฉันแย้งว่า AI สามารถตรวจจับรูปแบบได้ดีกว่าการตรวจด้วยตา
ในช่วง 30 ปีต่อจากนั้น หัวข้อนี้แทบจะไม่ได้รับความสนใจจากคนทั่วไป ยกเว้นในโลกของวิศวกรด้านซอฟต์แวร์ จนเมื่อปีกว่ามานี่เอง ที่ AI ปรากฏตัวบนเวทีสาธารณะ และมาพร้อมกับเครื่องมือ AI เจนเนอเรชั่นใหม่ ที่สามารถใช้สร้างเนื้อหาที่เป็นลายลักษณ์อักษร ภาพ และเนื้อหาอื่นๆ ได้อย่างฉลาด
ที่จริงแล้ว AI อยู่รอบๆ เรามาระยะหนึ่งแล้ว การค้นหาเว็บแบบง่ายๆ ก็มีความเกี่ยวข้องกับ AI หรือการใช้แชทบอท นั่นก็คือ AI แต่เราจะเห็นการเติบโตแบบทวีคูณ ก็ต่อเมื่อมีการนำ AI มาใช้เพิ่มขึ้น และการใช้งานเพิ่มขึ้นแบบทวีคูณจะกำหนดรูปแบบการทำงานและการใช้ชีวิตที่เป็นพื้นฐานของเรา นอกจากนี้ ยังมีผลกระทบมากกับความท้าทายใหญ่ที่สุดที่มนุษยชาติต้องเผชิญอยู่ในปัจจุบัน นั่นคือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและวิธีที่เราผลิตและใช้พลังงาน
การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ไม่ได้ รอ AI
ถ้าจะกล่าวให้ชัดเจนก็คือ แม้ในปีที่ผ่านมาจะมีเรื่องน่าตื่นเต้นเกี่ยวกับ AI อยู่มากมายก็ตาม แต่ AI ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทุกเรื่อง และก็ไม่ใช่ตัวช่วยที่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างฉับพลันกับการจำกัดภาวะโลกร้อนให้หยุดอยู่ที่ไม่เกิน 1.5°C เหมือนช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรม
ดังนั้น การเกิดขึ้นของ AI จะต้องไม่เบี่ยงเบนความสนใจของเราจากการใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ เช่น พลังงานทดแทน ยานพาหนะไฟฟ้าและปั๊มความร้อน ตลอดจนซอฟต์แวร์ระบบอัตโนมัติและการจัดการอาคารที่ช่วยปรับปรุงกระบวนการและการใช้พลังงานในอาคาร โรงงานอุตสาหกรรม และโครงสร้างพื้นฐานให้ใช้งานได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
หากมองถึงอาคารและอุตสาหกรรมการก่อสร้าง ซึ่งคิดเป็นประมาณ 37% ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตและพลังงานทั่วโลก ตามรายงานล่าสุดจากโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ
อาคารใหม่ทุกหลังที่สร้างขึ้นในปัจจุบันสามารถเป็น Net Zero ได้จริง โดยใช้การผสมผสานพลังงานหมุนเวียนที่มีอยู่แล้วในท้องถิ่น (เช่น พลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา) รวมถึงเซ็นเซอร์และซอฟต์แวร์ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพกิจกรรมการใช้พลังงานได้สูงสุด นี่ไม่ใช่นิยายวิทยาศาสตร์ที่ต้องพึ่งพาการพัฒนา AI ในอนาคต แต่เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว ที่เรานำมาใช้ในอาคาร IntenCity ของเราในเมืองเกรอน็อบล์ ประเทศฝรั่งเศส และเรายังช่วยให้อีกหลายๆ อาคารนำแนวทางนี้มาปรับใช้ด้วยเช่นกัน
ในทำนองเดียวกัน เราจำเป็นต้องเร่งนำเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านพลังงานและให้คาร์บอนต่ำ มาปรับใช้กับบรรดาอาคารที่มีอยู่ในการติดตั้งเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดทั้งต้นทุน รวมถึงช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากและเร็วกว่าที่หลายคนเคยรับรู้ โดยไม่จำเป็นต้องรอเครื่องมือ AI ใหม่ เพราะเรื่องเหล่านี้สามารถทำได้ทันที
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและ AI ช่วยลดการปล่อยคาร์บอนด้วยพลังเทอร์โบ
ความตื่นเต้นมากมายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ AI เป็นเรื่องที่สมเหตุสมผล เนื่องจากเมื่อจับคู่เทคโนโลยีดังกล่าว เข้ากับ AR (augmented reality) VR (virtual reality) รวมถึง digital twins และ IoT จะยิ่งทำให้ AI ช่วยให้เราเข้าถึงประสิทธิภาพได้มากขึ้น รวดเร็วยิ่งขึ้น และเมื่อเป็นเรื่องของพลังงาน การที่ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นย่อมหมายถึงการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่ลดลง
ตัวอย่างเช่น ไมโครกริดเป็นเครือข่ายไฟฟ้าแบบครบวงจรที่จ่ายไฟให้กับบ้าน ธุรกิจ และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ โดยใช้เครื่องกำเนิดพลังงานส่วนตัว (ตามหลักการเป็นพลังงานหมุนเวียน) และการกักเก็บพลังงานในรูปของแบตเตอรี่ โดยซอฟต์แวร์อัจฉริยะสามารถเชื่อมต่อองค์ประกอบต่างๆ เข้ากับระบบสายส่ง (Utility grids) ได้ ทำให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์เกี่ยวกับความน่าเชื่อถือและต้นทุนของพลังงาน อีกทั้งช่วยคาดการณ์ เพื่อให้สามารถใช้พลังงานอย่างเหมาะสมได้แบบอัตโนมัติ ทั้งเรื่องการผลิต การกักเก็บและนำมาใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และช่วยให้ผู้ใช้เข้าใจได้ง่าย ถึงเรื่องการประหยัดค่าใช้จ่าย รวมถึงจำนวนไฟฟ้าที่ผลิตได้ ตลอดจนการปล่อย CO2
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กับ AI และศูนย์ข้อมูล
เราจำเป็นต้องมองเพื่อให้เข้าใจได้อย่างชัดเจนว่า การเติบโตอย่างรวดเร็วของ AI และศูนย์ข้อมูลที่เป็นขุมพลังนั้น จำเป็นต้องอาศัยน้ำและพลังงาน รวมถึงมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างไรบ้าง เราคาดการณ์ว่าในขณะที่โลกเปลี่ยนไปสู่ระบบดิจิทัล การใช้พลังงานของศูนย์ข้อมูลจะเพิ่มขึ้นประมาณสองเท่าภายในปี 2571 และสัดส่วนในการใช้งานที่มาจาก AI จะคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ของทั้งหมดในเวลานั้น โดยเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันประมาณ 8 เปอร์เซ็นต์
สิ่งสำคัญก็คือ การใช้ AI จะต้องไม่นำไปสู่ปัญหาด้านพลังงานหรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น การเพิ่มประสิทธิภาพซอฟต์แวร์การประมวลผลอย่างต่อเนื่อง จะช่วยจัดการกับความท้าทายนี้ โดยการปรับเปลี่ยนการออกแบบและการบริหารจัดการศูนย์ข้อมูล เช่น การเปลี่ยนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบเครื่องยนต์ดีเซลให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น ทำความสะอาดสตอเรจ และใช้การระบายความร้อนที่มีประสิทธิภาพสูงเป็นพิเศษ เป็นต้น
เร่งดำเนินการด้านสภาพอากาศด้วย AI (และที่ไม่ใช้ AI)
บางคนชอบ AI ในขณะที่บางคนกลัว AI แต่ไม่ว่าเราจะชอบหรือไม่ก็ตาม พลังการเปลี่ยนแปลงของ AI นั้นยิ่งใหญ่กว่าการถือกำเนิดของอินเทอร์เน็ตในทศวรรษ 1990 เสียอีก และ AI ก็เหมือนกับอินเทอร์เน็ต นั่นคือ จะทำงานได้ดีที่สุดก็ต่อเมื่อถูกนำมาใช้งานอย่างมีจรรยาบรรณและรับผิดชอบ โดยให้ขุมพลังที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด และถูกใช้เป็นเครื่องมือที่ให้ความคล่องตัวในการทำงาน มากกว่าที่จะเป็นเป้าหมายปลายทางของผลลัพธ์ เป็นตัวช่วยมากกว่าการนำมาทดแทนผลลัพธ์จากมนุษย์ที่จำเป็นจะต้องผ่านการรับรองคุณภาพสูงสุด
นอกจากนี้ ยังไม่ควรให้ AI มาเบี่ยงเบนเราจากการใช้สิ่งที่มีอยู่แล้วในตอนนี้ เพราะไม่ว่าจะมีหรือไม่มี AI ก็ตาม เราก็ยังสามารถติดตั้งฟาร์มกังหันลมและสถานีชาร์จ EV ได้มากขึ้น และใช้เครื่องมือดิจิทัลที่มีอยู่ปรับปรุงวิธีการออกแบบ สร้างและดำเนินการด้านอาคารและโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ มากมาย รวมถึงการบำรุงรักษา
อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการใช้งาน AI อย่างเหมาะสม AI จะเป็นตัวเร่งที่จำเป็นและให้ขุมพลังแก่เทคโนโลยีที่มีอยู่ ช่วยเร่งการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้ ช่วยสนับสนุนความมุ่งมั่นพยายามของเราในการควบคุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
#Schneider Electric
ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เปิดตัวใหม่ เบรกเกอร์ GoPact MCCB พันธุ์แกร่ง พันธุ์ Go! สายพันธุ์ฮีโร่ ในราคาสุดคุ้ม สำหรับโครงการขนาดย่อม เล็งเจาะกลุ่ม คอนโดมิเนียม ที่พักอาศัย อพาร์ทเมนต์ อาคารทั่วไป โรงงานขนาดย่อม คลังสินค้า ร้านสะดวกซื้อ ด้วยการใช้งานที่ง่าย และให้ความยืดหยุ่น โดยมีถึง 5 ขนาดให้เลือก มาพร้อมความกะทัดรัด และให้ความสะดวกสำหรับการเลือกใช้ในแต่ละโครงการ ส่วนของทริปยูนิตมีให้เลือกตั้งแต่ 16 แอมป์ ไปจนถึง 800 แอมป์ และในแต่ละขนาดยังสามารถปรับขยายทริปยูนิตได้ ทำให้เมื่อมีโหลดที่เพิ่มขึ้นหน้างานสามารถปรับตั้งค่าได้ทันที พร้อมให้ค่า กระแสลัดวงจรสูงสุด (Breaking Capacity) ที่ทนทานกระแสได้ตั้งแต่ 15 กิโลแอมป์ ถึง 70 KA เลยทีเดียว ขณะที่เบรกเกอร์รุ่นราคาเทียบเท่ากัน ทนกระแสเริ่มที่เพียง 5 KA นอกจากนี้ ยังมีอายุการใช้งานทางกลยาวนานสูงสุดถึง 30,000 ครั้ง ที่อุณหภูมิ 55 องศา
นายเผดิมศักดิ์ รัตนเรืองศักดิ์ รองประธานฝ่ายธุรกิจ เพาเวอร์ โพรดักส์ ดูแลกลุ่มคลัสเตอร์ ไทย ลาว และเมียนมา ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เผยว่า “สินค้ากลุ่มผลิตภัณฑ์เบรกเกอร์ ของชไนเดอร์ อิเล็คทริค สำหรับกลุ่มอาคาร มีให้เลือกหลายรุ่นตามความต้องการของโครงการต่างๆ สำหรับติดตั้งในตู้เมนดิสตริบิวชั่นบอร์ด (Main Distribution Board) ซับดิสตริบิวชั่นบอร์ด (Sub Distribution Board) ดิสตริบิวชั่นบอร์ด (Distribution Board) มีตั้งแต่รุ่นที่เชื่อมต่อกันได้ในแบบ IoT เพื่อมอนิเตอร์ข้อมูลการใช้พลังงานสำหรับอาคารขนาดใหญ่ และที่ต้องการทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัลแบบเต็มรูปแบบ อาทิ MasterPact ซีรีย์, Compact ซีรีย์ ขณะที่เบรกเกอร์ GoPact เป็นรุ่นใหม่ล่าสุด มุ่งเน้นที่อาคารขนาดย่อม ที่ไม่จำเป็นต้องลงทุนด้านการมอนิเตอร์พลังงานแบบเต็มรูปแบบ GoPact จึงถูกออกแบบมาเพื่อให้ใช้งานง่าย ทนทาน แต่มีความยืดหยุ่นในการใช้งานสำหรับผู้รับเหมาโครงการ และผู้ประกอบการโรงตู้ รวมไปถึงการที่ติดตั้งและการปรับใช้งานที่ง่ายสำหรับช่างไฟ ไม่มีความซับซ้อนในการติดตั้ง และช่วยให้งานเสร็จเร็ว และบำรุงรักษาง่าย ขณะที่ราคาคุ้มค่า”
โดย GoPact ซีรีย์ ใหม่จากชไนเดอร์ อิเล็คทริค มีให้เลือก 5 ขนาด ตามความต้องการของแต่ละโครงการ ตั้งแต่รุ่น GoPact 125 ขนาด 15 KA, 30 KA, GoPact 200 ขนาด 25 KA, 36 KA, GoPact 250 ขนาด 25 KA, 36 KA, GoPact 400 ขนาด 36 KA, 50 KA, GoPact 800 ขนาด 50 KA, 70 KA ทุกรุ่นผลิตจากเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีทริปยูนิตในตัว ผลิตจากวัสดุคุณภาพเยี่ยม และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ได้รับมาตรฐาน IEC60947-2 และได้รับฉลากอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม กรีนพรีเมี่ยม (Green Premium) ที่ให้ความปลอดภัย ทั้งเรา และทั้งโลก ทำให้มั่นใจได้ว่ารองรับโครงการที่มีนโยบายอาคารสีเขียวอีกด้วย
Go Pact ซีรีย์ ให้ความคุ้มค่าทั้ง ประสิทธิภาพ ฟังก์ชั่น และราคาที่พร้อม Go!!! สามารถหาซื้อได้ผ่านร้านขายอุปกรณ์ไฟฟ้าชั้นนำทั่วประเทศและช่องทางช้อปออนไลน์ต่างๆ ของ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม แอดไลน์ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ที่นี่ https://lin.ee/XukMLED หรือ ID @se-th
ชไนเดอร์ อิเล็คทริค แนะนำผลิตภัณฑ์เครื่องสำรองไฟ (UPS) แบบ 3 เฟส โดยเป็นอุปกรณ์สำคัญสำหรับโครงสร้างพื้นฐานที่ จำเป็นต่อการดำเนินงาน เช่น ศูนย์ข้อมูล เฮลธ์แคร์ และการดำเนินงานที่ต้องการความเที่ยงตรง รวมถึงการผลิตที่ต้องอาศัยความต่อเนื่อง โดยมีความจุพลังงานให้เลือกตั้งแต่ 5 กิโลโวลต์แอมป์ ไปจนถึงเมกะวัตต์
หน้าที่สำคัญของ UPS 3 เฟส คือการให้คุณภาพไฟฟ้าที่เสถียรแก่อุปกรณ์ และเป็นพลังงานสำรองในกรณีที่ไฟฟ้าขัดข้อง ซึ่งการมีแหล่งพลังงานที่เชื่อถือได้ จะยิ่งเป็นการเพิ่มคุณภาพและความเสถียรของพลังงาน ซึ่งอุปกรณ์จะใช้พลังงานจำนวนมากในระหว่างการแปลงพลังงาน โดยปกติอุปกรณ์จะทำงาน 24 ชั่วโมง ตลอด 365 วัน ดังนั้นการสูญเสียพลังงานจึงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องระหว่างที่เครื่องทำงาน
โหมด Double Conversion สำหรับ UPS 3 เฟส เป็นที่รู้จักกันมานานกว่า 20 ปี ในแง่การป้องกันแบบ ‘normal’ โดยมีประสิทธิภาพเฉลี่ยประมาณ 96% แม้ว่าตัวเลขประสิทธิภาพจะดูสูงก็ตาม แต่หมายความว่า 4% ของไฟฟ้าทั้งหมดสูญเสียไปกับการกระจายความร้อนเพื่อให้ UPS ทำงานด้วยเช่นกัน
ชไนเดอร์ อิเล็คทริค มีความมุ่งมั่นที่จะนำเสนอเทคโนโลยีและโซลูชันที่ดีที่สุดแก่ลูกค้า เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพการใช้พลังงานสูงสุดในการดำเนินงานต่างๆ จึงลงทุนในการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้าง UPS ที่นอกจากจะให้ประสิทธิภาพสูงสุดในโลกแล้ว ยังให้คุณภาพของไฟฟ้าที่ดีที่สุดอีกด้วย
ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้คิดค้นโหมด eConversion ซึ่งจดสิทธิบัตรเป็นที่เรียบร้อย ความโดดเด่นคือช่วยลดการสูญเสียไฟฟ้าได้มากจากความร้อนที่เกิดขึ้นระหว่างที่ UPS ทำงาน จึงช่วยลูกค้าประหยัดเงินและลดการปล่อยคาร์บอนได้ ซึ่งการช่วยให้โลกน่าอยู่ขึ้นอีกทั้งประหยัดเงิน คือแรงจูงใจที่ดี
หลักการทำงาน
eConversion เป็นโหมดสำหรับ UPS แบบ 3 เฟส ที่เป็นสิทธิบัตรของชไนเดอร์ อิเล็คทริค ที่ช่วยให้เวลาในการสลับโหมดการทำงานเป็นศูนย์ จึงให้ประสิทธิภาพสูงสุดถึง 99% โดยสถาปัตยกรรมดังกล่าวจะทำการตรวจสอบคุณภาพของพลังงานที่จ่ายจากกริดในแบบไดนามิก
หากคุณภาพไฟฟ้าเพียงพอ ก็จะจ่ายไฟให้กับโหลดโดยตรง (ผ่าน static switch) แต่อินเวอร์เตอร์จะยังคงทำงานควบคู่ไปพร้อมกับการชาร์จแบตเตอรี่ การแก้ไขตัวประกอบกำลัง และการชดเชยฮาร์มอนิกส์ (harmonics) ตามรายละเอียดในหมายเหตุการณ์ใช้งาน
ซึ่งหากคุณภาพของกริดไม่เพียงพอ UPS จะเปิดโหมด Double Conversion โดยอัตโนมัติอย่างต่อเนื่อง และเมื่อเงื่อนไขทุกอย่างเป็นไปตามต้องการ ก็จะกลับสู่ eConversion ในทำนองเดียวกัน ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์กับกริด (เช่น ไฟดับ ไฟฟ้าลัดวงจร) UPS จะปรับไปสู่การทำงานด้วยแบตเตอรี่ในทันทีโดยไม่เกิดการหยุดชะงัก ไม่มีการสะดุดเมื่อเปลี่ยนโหมด
เทคโนโลยีนี้ได้รับการจดสิทธิบัตรและได้รับการรับรองจาก UL (Underwriter Laboratories) ซึ่งเป็นมาตรฐานความปลอดภัยระดับสูง ของชไนเดอร์ อิเล็คทริค ที่ช่วยยกระดับการป้องกันในมาตรฐาน IEC 62040-3 คลาส 1 (หมวดหมู่สูงสุด) ซึ่งได้รับการพิสูจน์ด้านประสิทธิภาพเช่นเดียวกับ Double Conversion
เทคโนโลยีนี้คล้ายคลึงกับเทคโนโลยี Start-stop ของอุตสาหกรรมยานยนต์ ที่ทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์ประสบความสำเร็จในการลด CO2 ลงได้อย่างมากโดยที่ยังคงความความปลอดภัย และให้ความสะดวกสบาย ด้วยการออกแบบที่ชาญฉลาดของการทำงานแบบ Start-Stop ของรถยนต์ คือเครื่องยนต์จะหยุดทำงานเมื่อรถไม่ได้ทำงาน อย่างช่วงติดไฟแดงหรือการจราจรหนาแน่น โดยการทำงานของเครื่องยนต์จะหยุดโดยอัตโนมัติ เมื่อรถไม่มีการเคลื่อนที่
การปรับปรุงประสิทธิภาพ 2-3% ช่วยได้มากแค่ไหน
ในกรณีที่ระบบเหล่านี้ทำงานตลอด 24/365 เรื่องนี้นับเป็นเรื่องสำคัญมาก การทำงานในโหมด eConversion ไม่ว่าจะเป็นศูนย์ข้อมูลหรือโรงงานผลิต สามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้าต่อปีได้มากเท่ากับการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์รูฟท็อป 30 หลังคาเรือน (กำลังการผลิต 3kWc ต่อแห่ง) นั่นคือปริมาณไฟฟ้าที่ต้องใช้ในการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า 50 คันทุกปี (อ้างอิงจาก Tesla model 3)
การปรับปรุงต้นทุนในการเป็นเจ้าของ หรือ TCO (Total Cost of Ownership) ก็มีความสำคัญเช่นกัน ช่วยประหยัดไฟฟ้าต่อปีอยู่ที่ 13.5k€ โดยภายในเวลา 10 ปี จะช่วยประหยัดเงินประมาณ 3 เท่า จากที่ลงทุนไปกับ UPS
นอกจากจะประหยัดเงินแล้ว ลูกค้ายังสามารถลดการปล่อย CO2 ได้อย่างมากเช่นกัน
ดังนั้นมีหลายวิธีที่พิสูจน์ให้เห็นว่าการตัดสินใจที่ดีที่สุดที่บริษัทสามารถทำได้คือ การลงทุนในเทคโนโลยีและโซลูชันประหยัดพลังงานในโหมด eConversion ซึ่งเป็นสิทธิบัตรของชไนเดอร์ อิเล็คทริค โดยเป็นการผสมผสานจุดเด่นไว้ด้วยกัน ทั้งให้การป้องกันสูงสุด และให้ประสิทธิภาพสูงสุดในคราวเดียวกัน เมื่อลูกค้าเริ่มใช้งาน ต่างก็ยืนยันถึงผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุนในระยะเวลาอันสั้น จึงช่วยลดต้นทุนการเป็นเจ้าของโดยรวม ในขณะที่สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ในทันที
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ eConversion คลิก ที่นี่
โดย นาทัลยา มากาโรชคินา รองประธานอาวุโส Secure Power ฝ่ายปฏิบัติการระหว่างประเทศ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค
ศักยภาพของซอฟต์แวร์รุ่นใหม่ คือการเชื่อมต่อการทำงานร่วมกัน พร้อมมอบความฉลาดในทุกแง่มุมสำหรับธุรกิจและอุตสาหกรรม โดยให้ประโยชน์ด้านดิจิทัลแก่ทุกภาคส่วน
แม้จะมีข้อถกเถียงว่าซอฟต์แวร์กำลังกลืนกินโลกก็ตาม แต่แค่เพียงช่วงเวลาไม่นานมานี้ ประเด็นดังกล่าวก็เปลี่ยนไปสู่ความจริงที่ว่า ซอฟต์แวร์ “กำลังสร้างศักยภาพ” ให้กับโลกใบนี้
ทุกวันนี้สถาปัตยกรรมขององค์กรปรับเปลี่ยนไปสู่โมเดลที่ใช้ซอฟต์แวร์ควบคุมการทำงานมากขึ้นเรื่อยๆ การควบคุมเหล่านี้นำไปสู่ความยืดหยุ่นและคล่องตัวที่เหนือชั้นขึ้นไปอีกระดับเพื่อให้ตอบสนองและรับมือกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงด้านภูมิรัฐศาสตร์ และความขัดข้องที่เกิดจากอิทธิพลของสภาพอากาศ รวมถึงแนวโน้มของตลาดที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ในขณะที่ต้องพร้อมรับมือกับเรื่องความปลอดภัย อีกทั้งให้ความยั่งยืน
การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นทั่วโลกอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน
การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นทั่วโลกเมื่อเร็วๆ นี้แสดงให้เห็นว่าซัพพลายเชนมีความเสี่ยง และอยู่ภายใต้อิทธิพลที่คาดเดาได้ยาก นอกเหนือจากสถานการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์แล้ว เหตุการณ์ black swan เช่น การปิดกั้นคลองสุเอซ ยังได้ถูกรวมเข้ากับประเด็นการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ ตั้งแต่ไฟป่าในแคลิฟอร์เนีย น้ำท่วมยุโรป และความแห้งแล้งในออสเตรเลีย ไปจนถึงคลื่นความร้อน และอุณหภูมิที่สูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ในหลายทวีป
องค์กรต่างๆ ต้องปรับตัวให้เข้ากับความเป็นจริงครั้งใหม่เรื่อยมาภายใต้ระยะเวลาอันสั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการคว่ำบาตร ราคาพลังงานที่ผันผวน หรือความขัดข้องในการเข้าถึงพลังงาน (access disruption) การขาดแคลน และความล่าช้าในการจัดหา ซึ่งส่งผลกระทบอย่างยิ่งโดยเฉพาะเรื่องการก่อสร้าง อุตสาหกรรมยานยนต์ และแม้กระทั่งอุตสาหกรรมอาหารก็ตาม
แบบจำลอง แผนงาน และการพลิกแพลง
ในการรับมือกับฉากทัศน์เหล่านี้ องค์กรต่างๆ ต้องมีความยืดหยุ่นและความคล่องตัว พร้อมมีการตรวจสอบดูแลมากขึ้น โดยอาศัยข้อมูลเชิงลึก เพื่อให้สามารถจำลอง วางแผน และพลิกแพลงได้
นั่นหมายถึงการมีระบบซอฟต์แวร์ที่เชื่อมโยงการทำงานในทุกด้าน เพื่อให้สามารถมองเห็น วัดผลการดำเนินงาน และบริหารจัดการได้ดี
การออกรายงานการดำเนินงานทั่วไปขององค์กรนับว่าไม่เพียงพออีกต่อไป หากต้องการแข่งขันและอยู่รอดได้ องค์กรต้องสามารถจำลองและคาดการณ์ได้ว่า การเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นเหล่านี้จะส่งผลต่อผลผลิต ความสามารถในการทำกำไร และเป้าหมายด้านความยั่งยืนได้อย่างไร
20-30-50
เพื่อให้บรรลุมิติใหม่ในการมองเห็น และควบคุมได้ดียิ่งขึ้น จึงทำให้มีสถาปัตยกรรมใหม่เกิดขึ้น
ปัจจุบัน มีการคาดการณ์กันว่าสถาปัตยกรรมขององค์กรในอนาคตมีองค์ประกอบที่ผสมผสานกันระหว่างศูนย์ข้อมูลหลัก 20% คลาวด์สาธารณะ 30% และการปรับใช้ Edge 50% ภายในสามปีข้างหน้า
สถาปัตยกรรมที่ว่าจะนำไปสู่การยกระดับความสามารถให้เหนือชั้นไปอีกขั้น ทั้งเรื่องของเซ็นเซอร์ (IIoT) การมอนิเตอร์ การมองเห็น การบริหารจัดการ และการวิเคราะห์ โดยระบบงานบนคลาวด์จะทำหน้าที่ดูแลสถาปัตยกรรมใหม่เหล่านี้ที่มีองค์ประกอบเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่เรื่องของสายการผลิต พื้นที่ในร้านค้าปลีก และระบบดูแลคนไข้ในสถานพยาบาล ไปจนถึงการนำเอดจ์มาใช้งาน พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดเก็บข้อมูลในระดับภูมิภาค รวมถึงศูนย์ข้อมูลส่วนกลาง
รากฐานของแนวทางนี้จะไม่ใช่แค่การมองเห็นข้อมูลเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการจัดการโครงสร้างพื้นฐานข้อมูลด้วยความสามารถใหม่ของ DCIM3.0
มาตรการป้องกัน
สิ่งสำคัญของโลกใหม่ที่สร้างศักยภาพด้วยซอฟต์แวร์ คือการผสานรวมการทำงานเชิงลึกของปัญญาประดิษฐ์ (AI) และแมชชีนเลิร์นนิ่ง (ML)
ความยืดหยุ่นนั้นเกิดขึ้นจากความน่าเชื่อถือ และความสามารถในการคาดการณ์ ซึ่งการวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ที่อาศัยแอปพลิเคชั่นเชิงลึกของเทคโนโลยีเหล่านี้ ช่วยให้เกิดระบบการบำรุงรักษาเชิงป้องกันที่มีประสิทธิภาพสูง ซึ่งสามารถตรวจจับ หรือป้องกันความล้มเหลวก่อนที่จะส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงาน
การปรับตัวโดยใช้มุมมองเชิงลึก
ตัวอย่างของการปรับตัวที่ว่า มีให้เห็นในอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งผู้ผลิตในสวนปลูกผักและผลไม้ กำลังลดอุณหภูมิเรือนกระจกซึ่งเป็นผลโดยตรงจากต้นทุนพลังงานที่สูงขึ้น
ด้วยชุดเซ็นเซอร์เต็มรูปแบบ ตั้งแต่เริ่มต้นปลูกจนไปถึงการวางขายหน้าร้าน ผู้ปลูกสามารถจำลองการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ คาดการณ์ผลผลิตและการเปลี่ยนแปลงของพืชผล เพื่อให้เข้าใจว่าจะต้องปรับต้นทุนจุดไหนให้เหมาะสมต่อการรับมือกับสถานการณ์ โดยสามารถประมวลผลข้อมูลได้ใกล้เคียงกับจุดที่สร้างข้อมูล ก่อนที่แบบจำลองส่วนกลางจะคัดกรองตัวเลข ผู้ปลูกสามารถปรับความต้องการด้านแรงงาน การขนส่ง และการกระจายสินค้าให้เหมาะสมได้ โดยอิงจากข้อมูลที่ถูกต้อง และการวิเคราะห์ที่มีข้อมูลครบรอบด้าน หรือตัวอย่างอื่นๆ นอกเหนือจากการเกษตรได้แก่ การดูแลสุขภาพที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วยที่ได้จากแพทย์ผู้ดูแล โดยนำเอดจ์มาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แบบเรียลไทม์
การใช้วิธีการเหล่านี้ในการรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์เบื้องต้น ทำได้ด้วยการผสานรวมความสามารถของเอดจ์กับแหล่งข้อมูลส่วนกลางอย่างราบรื่น ผ่านการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานข้อมูลจาก DCIM ไปจนถึง Data Lake และการวิเคราะห์ที่ขับเคลื่อนด้วย AI
ในการเชื่อมต่อข้อมูลจากจุดเชื่อมต่อทั้งหมดระหว่างแอปพลิเคชันและผู้ใช้งาน ต้องคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง
นี่คือเหตุผลที่เราได้พัฒนาพันธมิตรที่แข็งแกร่ง เพื่อให้เข้าใจถึงความเสี่ยง และเพื่อให้มั่นใจว่าแอปพลิเคชันและบริการของเรามีความยืดหยุ่น ปลอดภัย และให้ความยั่งยืนสำหรับระบบไอทีในอนาคต แม้ว่าจะมีขยายการใช้งานไปสู่สภาพแวดล้อมไอทีแบบไฮบริดมากขึ้นก็ตาม
เมตริกที่อิงตามหลักวิทยาศาสตร์และได้มาตรฐาน
ประเด็นสำคัญเรื่องความยืดหยุ่นและความปลอดภัยในเรื่องเหล่านี้ ต้องไปด้วยกันกับข้อกำหนดอื่นที่สำคัญ คือ เรื่องความยั่งยืน
ประโยชน์หลักของซอฟต์แวร์ใหม่ที่ช่วยสร้างศักยภาพให้โลกนี้ คือความสามารถในประยุกต์ใช้เมตริกที่ได้มาตรฐานได้ครอบคลุมทั่วทั้งระบบ เพื่อวัดและจัดการการปล่อยมลพิษและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เป้าหมายการปล่อยมลพิษที่อิงตามหลักวิทยาศาสตร์กำลังได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายมากขึ้น และสามารถช่วยให้องค์กรต่างๆ เข้าใจและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ แม้จะอยู่ท่ามกลางแนวโน้มปัจจุบันก็ตาม
สร้างโลกแห่งศักยภาพ
แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ระบบซอฟต์แวร์และการควบคุม ซึ่งต่อยอดจากการพัฒนาใน IIoT, AI และ ML รวมถึงคลาวด์และเอดจ์คอมพิวติ้ง ก็สามารถช่วยให้องค์กรต่างๆ มีการมองเห็นที่ดีขึ้น มีข้อมูลเชิงลึก และการกำกับดูแลการดำเนินงานที่ดีขึ้น
เรื่องนี้จะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นขึ้นไปอีกขั้น เพื่อรับมือกับกระแสอิทธิพลของโลกปัจจุบัน ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่สามารถทำได้
การเพิ่มศักยภาพด้านการจัดการกับความเสี่ยงทางไซเบอร์ได้ดีขึ้น รวมถึงเป็นรากฐานเพื่อขับเคลื่อนความมุ่งมั่นไปสู่เป้าหมายด้านความยั่งยืน ทำให้มุมมองด้านซอฟต์แวร์เปลี่ยนไป จากสิ่งที่กำลังกลืนกินโลก กลายเป็น สิ่งที่สร้างศักยภาพให้กับโลกใบนี้
กรุงเทพฯ 24 พฤษภาคม 2566 – ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำระดับโลกด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น สำหรับการจัดการพลังงานและระบบออโตเมชั่น ปักหมุดจัดงาน Innovation Summit Bangkok 2023 งานเดียวที่ครบครันด้านเทคโนโลยีสำหรับการสร้างความยั่งยืน สำหรับองค์กรที่มีเป้าหมายไปสู่ความเป็น Carbon Neutral และ Net Zero พร้อมพบกับกรณีศึกษาจากองค์กรกรชั้นนำระดับประเทศ ที่จะมาร่วมแชร์กลยุทธ์ในเส้นทางไปสู่ความยั่งยืน พร้อมเผยประเด็นสำคัญที่สนับสนุนเส้นทางเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ หรือ Net Zero
Innovation Summit Bangkok เป็นงานสำคัญระดับโลกของชไนเดอร์ อิเล็คทริค มีขึ้นระหว่างวันที่ 5 – 6 กรกฎาคม 2566 เพื่อจัดการกับความท้าทายด้านสภาพภูมิอากาศทั่วโลกและเพื่อแนะแนวทางให้ลูกค้า คู่ค้า หน่วยงานที่กำกับดูแล รวมไปถึงผู้กำหนดนโยบายเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ให้ดำเนินการได้อย่างรวดเร็วเพื่อกำจัดคาร์บอนในเศรษฐกิจประเทศไทยในทศวรรษนี้ ผู้เข้าร่วมจะได้สัมผัสกับนวัตกรรมดิจิทัลและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนของชไนเดอร์ อิเล็คทริค รวมไปถึงการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางขององค์กรระดับท็อปของประเทศในการนำพาองค์กรไปสู่ความยั่งยืน
สเตฟาน นูสส์ ประธานกลุ่มคลัสเตอร์ ดูแลประเทศไทย เมียนมา และลาว ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เผยว่า “Innovation Summit Bangkok ของเรา เป็นงานใหญ่ที่รวมนวัตกรรมดิจิทัลด้านการบริหารจัดการพลังงาน และระบบออโตเมชั่น ตั้งแต่ บ้าน อาคาร ดาต้าเซ็นเตอร์ โรงงาน เครื่องจักร โครงข่ายไฟฟ้า ทุกโซลูชั่นและผลิตภัณฑ์ถูกคิดค้นและพัฒนาขึ้นมา เพื่อตอบโจทย์องค์กรที่ต้องการมุ่งเน้นสู่ความยั่งยืน ช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และช่วยโลกลดก๊าซเรือนกระจก เพื่อหยุดอุณหภูมิของโลกไม่ให้ร้อนขึ้นไปอีก
สำหรับไฮไลต์ ในงาน Innovation Summit Bangkok 2023 ได้แก่ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน
“งาน Innovation Summit Bangkok มุ่งเน้นการนำเสนอนวัตกรรมของชไนเดอร์ อิเล็คทริค ที่เสมือนเป็นดีเอ็นเอเพื่อเป็นแนวทางช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถทำตามเป้าหมายด้านนโยบายความยั่งยืนได้ ด้วยการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล ผ่านเทคโนโลยีที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว ซึ่งเป็นวิธีที่เร็วที่สุดในการขจัดคาร์บอนในอาคาร การขนส่ง และอุตสาหกรรม เพื่อไปสู่เป้าหมายในการจำกัดภาวะโลกร้อนให้อยู่ที่ 1.5 องศาเซลเซียส โดย ชไนเดอร์ อิเล็คทริค สามารถให้คำปรึกษา ในการผสานรวมทั้งเรื่องการวางแผนเชิงกลยุทธ์และการกำหนดเป้าหมายด้วยการติดตั้งโซลูชั่นที่ได้รับการพิสูจน์ในเรื่องของประสิทธิภาพมาแล้ว เพื่อมอบผลลัพธ์ที่ยั่งยืนอย่างรวดเร็วและเป็นรูปธรรม จะช่วยให้องค์กรสามารถก้าวไปสู่การดำเนินการสู่ความยั่งยืนได้เร็วยิ่งขึ้น” สเตฟานกล่าวทิ้งท้าย
สามารถสัมผัสนวัตกรรมดิจิทัล และงานสัมมนาที่มีผู้นำองค์กรระดับแถวหน้าของประเทศที่จะให้แนวคิดนำพาองค์กรไปสู่ความยั่งยืน ได้ในงาน Innovation Summit Bangkok 2023 ใน วันที่ 5-6 กรกฎาคม 2566 ณ Grand Hall ชั้น 2, ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา
ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำระดับโลกด้านดิจิทัลทราส์ฟอร์เมชั่น ด้านการจัดการพลังงานและระบบออโตเมชั่น เดินหน้าชูนวัตกรรมที่ช่วยให้โลกยั่งยืนในงาน Future Energy Asia และ Future Moblity Asia 2022 ซึ่งเป็นงานที่รวมนวัตกรรมในการจัดการพลังงาน งานนี้ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำด้วยนวัตกรรมไฮไลท์อาทิ สวิตช์เกียร์ GM AirSeT และ SM AirSeT นวัตกรรมใหม่ที่ใช้อากาศบริสุทธิ์แทนก๊าซ SF6 ไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก ช่วยให้ระบบไฟฟ้า อุตสาหกรรมและอาคารลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและเพิ่มประสิทธิภาพการบำรุงรักษาและการดำเนินงาน พร้อมด้วย EcoStruxure Building แพลตฟอร์มสำหรับอาคารที่เข้ามาช่วยในการบริหารจัดการพลังงานในอาคารให้มีประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และสร้างความยั่งยืน สามารถเชื่อมต่อกับระบบ EV Charger เพื่อทำการมอนิเตอร์และควบคุมได้จากที่เดียว
นายมงคล ตั้งศิริวิช รองประธานกลุ่ม Strategic Accounts ดูแลประเทศไทย ลาว และเมียนมา ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เผยว่า “องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้ช่วงเวลาตั้งแต่ปี 2020-2030 เป็นทศวรรษแห่งการดำเนินการ เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่รุนแรงที่สุดของมนุษย์ โลก และเศรษฐกิจจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ องค์กรต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน ซึ่งเป็นนโยบายที่สอดคล้องกับ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เราจึงทุ่มเทวิจัยผลิตภัณฑ์ในเชิงกลยุทธ์และยุทธวิธีที่ครอบคลุมเพื่อต่อสู้กับสภาวะโลกร้อน วันนี้เราจึงมีการเปิดตัวตู้สวิตช์เกียร์รุ่นใหม่ GM AirSeT และ SM AirSeT ซึ่งไม่ใช้ก๊าซ SF6 ในตู้และอุปกรณ์ย่อยภายในเพื่อเป็นฉนวนอีกต่อไป แต่ใช้อากาศบริสุทธิ์แทน นับว่าเป็นความท้าทายของชไนเดอร์ อิเล็คทริค ในการคิดค้นการใช้อากาศบริสุทธิ์แทนก๊าซ SF6 แต่ยังคงประสิทธิภาพการใช้งานโดยรวมและขนาดของตู้ขนาดเท่าเดิม”
ตู้สวิตช์เกียร์ GM AirSeT เทคโนโลยี GIS (Gas Insulated Substation) ชนิดแบบ Primary และตู้สวิตช์เกียร์ SM AirSeT เทคโนโลยี AIS (Air Insulated Substation) ชนิดแบบ Secondary มาพร้อมเซ็นเซอร์อัจฉริยะแบบฝังตัว ยังคงเปี่ยมขุมพลังแห่งดิจิทัลด้วย แพลตฟอร์ม EcoStruxure ช่วยให้สามารถมอนิเตอร์ข้อมูลและมีประสทธิภาพในการควบคุม รวมถึงการตรวจสอบประสิทธิภาพของแอปพลิเคชัน การจ่ายไฟฟ้าและจะช่วยให้สามารถบำรุงรักษาเชิงป้องกันและพยากรณ์การซ่อมบำรุงได้ ผู้ดูแลสามารถตรวจสอบการทำงานทั้งหมดได้จากระยะไกล ข้อมูลเชิงลึกจะถูกป้อนเข้าสู่เครื่องมือวิเคราะห์บนคลาวด์ที่มีประสิทธิภาพเพื่อดำเนินการที่มีประสิทธิภาพ โดย GM AirSeT เหมาะสำหรับโรงไฟฟ้า อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ดาต้าเซ็นเตอร์ และกลุ่มอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ขณะที่ SM AirSeT เหมาะสำหรับ คอนโดมิเนียม อาคารขนาดใหญ่ อุตสาหกรรมขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ฯลฯ
นอกจากนี้ในงาน Future Energy Asia 2022 ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ยังจัดแสดงแพลตฟอร์มดิจิทัล EcoStruxure Building นวัตกรรมล้ำสมัยสำหรับอาคาร ช่วยในการบริหารจัดการและควบคุมการใช้พลังงาน ทั้งเรื่องของ HVAC หรือ Heating (การทำความร้อน) V-Ventilation (การระบายอากาศ) และ AC-Air Conditioning (การปรับอากาศ) นวัตกรรมดังกล่าวช่วยลดการใช้พลังงานที่สิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็น ด้วยโซลูชันอัจฉริยะที่ช่วยทั้งเรื่องการควบคุม มอนิเตอร์ และการวิเคราะห์ข้อมูล ที่ใช้งานง่ายและคุ้มค่าใช้จ่าย โดยไม่จำเป็นต้องแบกรับความซับซ้อนด้านไอที ทั้งในการติดตั้งและบำรุงรักษาที่คาดการณ์ไม่ได้ โดย EcoStruxure Building สามารถใช้ผ่านเว็บไซต์และมือถือช่วยให้เจ้าของอาคาร ผู้ดูแล และผู้ปฏิบัติการอาคารได้เห็นภาพสถานะของโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานของตน ช่วยให้สามารถติดตามการใช้พลังงาน รวมทั้งควบคุมประสิทธิภาพได้อย่างง่ายดาย
พร้อมกันนี้ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ยังไปเปิดตัว โซลูชั่นสำหรับ EV Charger ช่วยในเรื่องการบริหารจัดการพลังงานได้อย่างดี สำหรับอาคาร และสำหรับสถานีชาร์จไฟฟ้า อาทิ EcoStruxure EV Advisor, EcoStruxure EV Changing Expert รวมไปถึงการเปิดตัว EV Charger รุ่นใหม่สำหรับอาคารและที่พักอาศัย ซึ่งนับเป็นไฮไลท์สำคัญสำหรับอาคารในอนาคตอีกด้วย โดยผลิตภัณฑ์ EV Changer ที่เปิดตัวล่าสุดได้แก่ EVlink Pro AC ซึ่งมาพร้อมกับระบบป้องกันแบบ Built – in ภายใน สามารถเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนได้และรองรับ NFC ทำให้มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน และสร้างความยั่งยืนสำหรับอาคาร เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน เพิ่มเวลาทำงานและประสิทธิภาพสูงสุด และรับประกันประสบการณ์ผู้ใช้ที่ราบรื่นสำหรับผู้ติดตั้ง EV ผู้ปฏิบัติงาน และผู้ขับขี่
ภายในงาน ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ยังได้นำเทคโนโลยี Wiser Home Control ระบบควบคุมบ้านอัจฉริยะสำหรับอัพเกรดบ้านให้ทันสมัยมากขึ้น ครบเครื่องตัวช่วยยุคใหม่ในการจัดการบ้าน ยุค 4.0 ผู้ใช้สามารถสั่งเปิด-ปิด ตั้งค่าอัตโนมัติต่างๆ ผ่านสมาร์ทโฟนหรือแท็ปเล็ต เช่น ระบบแสงสว่าง เครื่องปรับอากาศ เครื่องเสียง สมาร์ททีวี ชุดโฮมเธียร์เตอร์ ระบบม่าน กล้อง CCTV และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ พร้อมความสามารถในการเชื่อมต่อและทำงานผสานร่วมกับระบบเซ็นเซอร์ต่างๆ จากชไนเดอร์ อิเล็คทริค ที่มีขนาดจิ๋ว ติดตั้งง่าย ได้อีกด้วย เช่นนำไปติดตั้งที่ประตู หน้าต่าง ใต้อ่างล้างหน้า อ่างอาบน้ำ เพื่อตรวจสอบน้ำรั่วได้อีกด้วย
ภายในบูธ ยังมีเทคโนโลยีอื่นๆ สำหรับธุรกิจในยุค 4.0 เพื่อเป็นเครื่องมือในการต่อยอดความยั่งยืนขององค์กร อาทิ ระบบแรงดันไฟฟ้าต่ำ โซลูชันไมโครดาต้าเซ็นเตอร์ โซลูชันบริการดูแลรักษาระบบไฟฟ้าด้วย IoT: EcoStruxure Service Plan รวมไปถึง โซลูชันซอฟต์แวร์จาก AVEVA เทคโนโลยีซอฟต์แวร์ระดับโลก สำหรับอุตสาหกรรมและอาคารในแบบ End-to-End
สำหรับผู้ที่สนใจเทคโนโลยี นวัตกรรมด้านความยั่งยืนของชไนเดอร์ อิเล็คทริค พบกันได้ในงาน Future Energy Asia และ Future Mobility 2022 สามารถเยี่ยมชม ได้ที่ ฮอลล์ 98 บูธ MK01 ณ ไบเทค บางนา ในวันที่ 20-22 กรกฎาคม 2565 นี้ พลาดไม่ได้ กับสิทธิพิเศษสำหรับท่านที่ลงทะเบียนเข้าชมบูธล่วงหน้าที่ https://bit.ly/3c6uqzw และเพียงโชว์อีเมลยืนยันการลงทะเบียนที่หน้างาน รับฟรีของที่ระลึกสุดพิเศษจากชไนเดอร์ อิเล็คทริค
บริษัท พี.เอ็ม.ไฮเทค จำกัด จับมือชไนเดอร์ อิเล็คทริค ร่วมงานลงนามข้อตกลงกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ในโครงการปรับปรุงระบบควบคุมสถานีไฟฟ้าแบบอัตโนมัติเพื่อให้สามารถรองรับเทคโนโลยี IEC 61850 ทั้งหมดจำนวน 2 สัญญา ซึ่งระบบควบคุมสถานีไฟฟ้าแบบอัตโนมัตินี้เป็นมาตรฐานสากลที่ออกแบบมาเพื่อรองรับระบบไฟฟ้าในสถานีไฟฟ้าย่อย เพื่อทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้งานกับศูนย์สั่งการ ทำงานแบบมีประสิทธิภาพสูงสุดและป้องกันความผิดพลาดในระบบไฟฟ้าซึ่งเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งที่อาจทำให้การจ่ายกระแสไฟฟ้าขัดข้องได้ โดยมี นางวัลลภา วัฒนกุญชร กรรมการผู้จัดการ บริษัท พี.เอ็ม. ไฮเทค จำกัด และตัวแทนจากชไนเดอร์ อิเล็คทริค ลงนามข้อตกลงกับนายปราโมทย์ สุดทรัพย์ รองผู้ว่าการปฏิบัติการและบำรุงรักษา การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซลูชันสำหรับบริษัทไฟฟ้า https://www.se.com/th/th/work/solutions/for-business/electric-utilities/
โดยโซฟี บอร์กเน่ รองประธานอาวุโส ฝ่ายธุรกิจระบบดิจิทัลสำหรับโรงงาน ชไนเดอร์ อิเล็คทริค (Schneider Electric)
ปีที่แล้ว เราพูดถึงการให้ความสำคัญมากขึ้นกับเอดจ์สำหรับอุตสาหกรรม ว่าเป็นปัจจัยเร่งการปรับกระบวนการสู่ดิจิทัลและเป็นสิ่งจำเป็นในการเพิ่มการประมวลผลแบบเรียลไทม์ การผสานรวมของโลกเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) และเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติการ (OT) เป็นสิ่งจำเป็นที่ช่วยในเรื่องนี้ และเป็นความท้าทายสำหรับบริษัทด้านอุตสาหกรรมอีกหลายแห่งเช่นกัน
โลกไอทีถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ในขณะที่โลกโอทีถูกขับเคลื่อนด้วยการผลิต ซึ่งเป็นการผลิตต่อหน่วยต่อชั่วโมง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ความปลอดภัยของบุคลากร ฯลฯ ในปัจจุบัน ถ้าจะมีการบริหารจัดการการผลิต ก็เพื่อดูแลค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างกำไรเพิ่ม และสร้างความยั่งยืน ฯลฯ ซึ่งก็ต้องอาศัยข้อมูลจากระบบธุรกิจ แล้วบรรดาคนไอทีเหล่านั้นล่ะ? คนไอทีมักจะรู้แค่เรื่องสองเรื่องเกี่ยวกับประสิทธิภาพของเครือข่าย และการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ ซึ่งเป็นรากฐานที่ช่วยให้ระบบเหล่านี้แข็งแกร่ง ซึ่งจะสำเร็จได้นั้น ก็คือทั้งไอทีและโอทีจำเป็นต้องทำงานร่วมกัน
นั่นคือเหตุผลที่เราได้ทำงานร่วมกับซิสโก้ โดยดึงเอาประสบการณ์ด้านไอที/โอที รวมกันกว่า 85 ปีมาช่วยลูกค้าของเราเชื่อมความแบ่งแยกทางเทคโนโลยีและวัฒนธรรมการทำงานเข้าหากัน เราได้ทบทวนแนวทางด้านระบบออโตเมชันเพื่อนำประโยชน์ที่ดีที่สุดของไอทีมาใช้ได้ง่ายขึ้นและเร็วขึ้น เพื่อช่วยลูกค้าตอบโจทย์ความต้องการเรื่องความคล่องตัวได้ในศตวรรษที่ 21 และเราก็ได้เห็นผลลัพธ์ที่น่าพอใจในหลายประการด้วยกัน
การผนึกกำลังระหว่างไอทีและโอที ช่วยแก้ปัญหาความท้าทายของอุตสาหกรรมปัจจุบัน
เมื่อเร็วๆ นี้ ซิสโก้และชไนเดอร์ อิเล็คทริค (Schneider Electric) ได้ช่วยบริษัททำเหมืองแห่งใหญ่ซึ่งถือเป็นหนึ่งในสามของโลก เปลี่ยนวิสัยทัศน์แห่งอนาคตสู่ความเป็นจริงได้ เพื่อปรับปรุงเรื่องการดำเนินการของเหมืองได้อย่างยั่งยืน พร้อมกับดึงดูดคนทำงานใหม่ๆ บริษัทฯ จึงตัดสินใจเพิ่มระบบออโตเมชั่นด้านการดำเนินงานและเพื่อให้ควบคุมเหมืองต่างๆ ได้จากระยะไกล
การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการภูมิภาคส่วนกลางสำหรับเหมืองแร่เหล็กในประเทศออสเตรเลีย ช่วยให้สามารถดำเนินการในส่วนของเหมืองทั้งหมด รวมถึงระบบรางและท่าเรือได้จากที่เดียว ระบบออโตเมชันที่มีการเชื่อมโยงกับระบบตั้งตารางเวลา (scheduling systems) ช่วยลดการสูญเสียพลังงานในระหว่างการขนส่ง ในขณะที่ศูนย์ควบคุมจากส่วนกลางซึ่งอยู่ใกล้กับศูนย์กลางประชากรหลักๆ ยังช่วยลดความจำเป็นโดยที่พนักงานไม่ต้องทำงานในสถานที่ห่างไกล
องค์ประกอบหลักบางประการของโครงการ ได้แก่
ซิสโก้ และชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้ประสานความร่วมมือในการจัดหาเครือข่ายและอุปกรณ์ที่เป็นระบบออโตเมชั่นสำหรับระบบไอทีเหมืองและส่วนที่เป็นโอที เพื่อช่วยให้ลูกค้าตระหนักถึงการประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนของทีมงานโอทีในแต่ละปีได้มากถึง 1 ล้านยูโร หรือเกือบ 38 ล้านบาท
ประสานความร่วมมือเพื่อพัฒนาสถาปัตยกรรมระบบงาน IT/OT ในระดับเวิลด์คลาส
ซิสโก้ และชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้ทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนาสถาปัตยกรรมอ้างอิงด้านระบบออโตเมชั่น OT/IT สำหรับอุตสาหกรรม (OT/IT Industrial Automation Reference Architecture) ซึ่งให้ศักยภาพเชิงระบบนิเวศด้านการผลิตที่สอดประสานระหว่างไอทีและโอที ให้ความปลอดภัย และช่วยให้ลูกค้าผสานรวมทั้งธุรกิจและข้อมูลจากกระบวนการทำงานได้อย่างปลอดภัย ให้มุมมองเชิงลึก ซึ่งนำไปสู่การยกระดับใหม่ด้านประสิทธิภาพของอุตสาหรรม
สถาปัตยกรรมดังกล่าว เพิ่มศักยภาพให้อุตสาหกรรมในการปฏิรูปสู่ดิจิทัล ด้วยแนวทางที่มุ่งเน้นให้เครือข่ายเป็นศูนย์กลางในการควบรวมการทำงาน รองรับการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมที่จำเป็นต่อการสนับสนุนกระบวนการและเทคโนโลยีใหม่ๆ ประโยชน์ที่ได้รับบางประการได้แก่
โลกโอทีที่ช่วยผสานการทำงานร่วมกันระหว่าง IT/OT และการปฏิรูปสู่ดิจิทัลมีอะไรใหม่บ้าง?
หลายอย่างเปลี่ยนไปตั้งแต่ที่เราได้คิดค้นระบบควบคุมด้วยการตั้งโปรแกรมทำงานได้เป็นเวลากว่า 50 ปีมาแล้ว การตอบรับอุตสาหกรรม 4.0 ต้องอาศัยข้อมูลที่นำมาใช้งานได้อย่างอิสระและปลอดภัย ทั้งจากผลิตภัณฑ์ประเภทสมาร์ททั้งหลายจนถึงคลาวด์ ความก้าวหน้าของการปฏิรูปอุตสาหกรรมไปเร็วและจะเร็วขึ้นเรื่อยๆ เราต้องมอบระบบออโตเมชั่นที่สามารถรองรับความก้าวหน้าในอัตรารวดเร็วเช่นปัจจุบันได้ อีกทั้งต้องมอบความคล่องตัวซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับอนาคตให้กับลูกค้า โดยในการช่วยให้ลูกค้าอุตสาหกรรมผสานรวม IT/OT เข้าด้วยกัน ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้ทำงานอย่างหนักเพื่อนำความคล่องตัวมาไว้ในระบบออโตเมชั่นของเราเช่น EcoStruxure Automation Expert ได้มากยิ่งขึ้น เป้าหมายก็คือการรวมข้อมูลทางธุรกิจเพื่อการตัดสินใจด้านการดำเนินงาน และข้อมูลส่วนปฏิบัติการเพื่อการตัดสินใจทางธุรกิจ เรื่องนี้ ต้องอาศัยเทคโนโลยี แนวทางปฏิบัติ และทักษะที่ดีที่สุดทั้ง IT และ OT เพื่อให้มั่นใจได้ว่าการผสานรวม IT/OT จะทำงานได้เป็นอย่างดี
เข้าถึงเทคโนโลยีสำหรับอุตสาหกรรมในอนาคตเพียงคลิ๊ก https://www.se.com/th/th/work/campaign/industries-of-the-future/
เกี่ยวกับชไนเดอร์ อิเล็คทริค
เป้าหมายของชไนเดอร์ อิเล็คทริค คือการช่วยให้ทุกคนใช้พลังงานและทรัพยากรได้เกิดประโยชน์สูงสุด เชื่อมโยงความก้าวหน้าและความยั่งยืนเพื่อประโยชน์ของทุกคน เราเรียกสิ่งนี้ว่า Life Is On
ภารกิจของเราคือการเป็นพันธมิตรด้านดิจิทัลกับคุณ เพื่อสร้างประสิทธิภาพและความยั่งยืน
เราขับเคลื่อนการปฏิรูปสู่ดิจิทัล ด้วยการผสานรวมเทคโนโลยีชั้นนำของโลกด้านพลังงานและกระบวนการจัดการ เข้ากับผลิตภัณฑ์ตั้งแต่จุดเชื่อมต่อปลายทางไปยังคลาวด์ ระบบควบคุม รวมถึงซอฟต์แวร์และการบริการครอบคลุมตลอดวงจรชีวิตการทำงานทั้งหมด เพื่อสร้างศักยภาพในการบริหารจัดการองค์กรแบบบูรณาการ ทั้งสำหรับบ้าน อาคาร ดาต้าเซ็นเตอร์ ระบบโครงสร้างพื้นฐานและอุตสาหกรรม
เราคือบริษัทระดับโลกที่มีการดำเนินงานในระดับท้องถิ่นมากที่สุด เราสนับสนุนมาตรฐานระบบเปิดและระบบนิเวศของคู่ค้าที่มีความมุ่งมั่นแรงกล้าในการทำตามวัตถุประสงค์อย่างมีเป้าหมายร่วมกัน และคุณค่าในการรวมกันเป็นหนึ่งเดียวพร้อมขับเคลื่อนไปข้างหน้าด้วยกัน
โดย มาร์ค การ์เนอร์ รองประธานฝ่าย Secure Power สหราชอาณาจักร และไอร์แลนด์
เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเราต่างยืนอยู่บนทางแยก เพราะสิ่งที่เราตัดสินใจในปัจจุบัน นอกจากจะส่งผลถึงอนาคตคนรุ่นใหม่แล้ว ยังส่งผลต่อโลกทั้งใบ เรื่องนี้กลายเป็นความชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วโลก และเนื่องจากความยั่งยืนไต่ระดับสู่การเป็นวาระสำคัญขององค์กรและผู้บริโภค เราจึงได้เห็นว่าองค์กรหลายแห่งกำลังใช้ความริเริ่มที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มาขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกเพื่อมอบประโยชน์แก่โลกที่เราอาศัยอยู่
ในขณะที่ความต้องการในการปฏิรูปสู่ระบบดิจิทัลเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ภาคส่วนต่างๆ ที่มีบทบาทสำคัญมากที่สุดในโลกไม่ว่าจะเป็นภาคเกษตรกรรม อาคาร และการก่อสร้าง ตลอดจนดาต้าเซ็นเตอร์ ไอที พลังงานและสาธารณูปโภคด้านต่างๆ ล้วนตัดสินใจไปในแนวทางเดียวกัน คือการนำเรื่องความยั่งยืนมาใช้เป็นด่านหน้าของกลยุทธ์ในองค์กร
เทคโนโลยีจึงกลายเป็นปัจจัยหลักที่สร้างศักยภาพให้แก่ภาคธุรกิจ รวมถึงผู้บริโภค ซึ่งตลอดปีที่ผ่านมา มีการพึ่งพาโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล โดยชไนเดอร์ อิเล็คทริค ประเมินว่าภายในปี พ.ศ. 2578 ภาคไอทีทั่วโลก จะมีการใช้ไฟฟ้า สูงขึ้นถึง 8.5% เมื่อเทียบกับอัตราการเพิ่ม 5% ในปี พ.ศ.2564 นอกจากนี้ อุตสาหกรรมดาต้าเซ็นเตอร์ ก็จะกลายเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องรับหน้าที่หลักในการขับเคลื่อนการดำเนินงานที่สร้างความยั่งยืน ในการมีส่วนร่วมโดยตรงต่อเป้าหมายการพัฒนาความยั่งยืนของสหประชาชาติ 5 ประการ (SDGs)
ความยั่งยืนและภาคอุตสาหกรรมดาต้าเซ็นเตอร์
ผู้ประกอบการดาต้าเซ็นเตอร์หลายแห่งในปัจจุบัน ตั้งแต่ไฮเปอร์สเกลเลอร์ ไปจนถึงผู้ให้บริการคลาวด์และโคโลเคชั่น ได้นำร่องตลาดไปก่อนแล้ว ด้วยการทำเป็นแบบอย่างพร้อมประกาศเจตนารมย์อันแรงกล้าต่อสาธารณชนเกี่ยวกับความมุ่งมั่นในเรื่อง Net Zero โดยนำแนวทางที่ให้ความยั่งยืนมากขึ้นมาใช้ในธุรกิจดิจิทัล
ตัวอย่างเช่น Microsoft ได้เริ่มหันไปใช้พลังงานลมแบบหมุนเวียน ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะใช้กันมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการที่ทั้งภาครัฐบาลและประชาชนต่างให้ความสนใจและมีความต้องการใช้พลังงานหมุนเวียนกันมากขึ้น
เรื่องนี้ คือความจริงที่กำลังเป็นที่สนใจอย่างมากในภาคโคโลเคชั่น และในการสำรวจที่จัดทำขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ โดยชไนเดอร์ อิเล็คทริคและ 451 Research โดยมีผู้ประกอบการดาต้าเซ็นเตอร์ระดับโลกกว่า 800 รายเข้าร่วมการสำรวจครั้งนี้ ผลสำรวจพบว่า 97% ของลูกค้าของผู้ให้บริการต่างขอให้มีเรื่องความยั่งยืนอยู่ในข้อผูกพันตามสัญญา และความต้องการเหล่านี้นับเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนให้เกิดความยั่งยืนในราว 50%
อย่างไรก็ตาม การตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นในเรื่องแนวทางปฏิบัติด้านความยั่งยืน ด้วยเป้าหมายด้านสภาพแวดล้อมที่สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างกว้างขวางนั้น ภาคส่วนของเราจะต้องทำงานร่วมกัน ซึ่งองค์กรธุรกิจต่างๆ จะไม่สามารถทำงานแบบไซโลได้อีกต่อไป
สำหรับหลายองค์กร การรวมความยั่งยืนไว้ในแนวทางปฏิบัตินั้นเป็นเรื่องที่พูดง่ายมากกว่าการทำ แต่หากผลักดันให้เกิดการรับรู้ สร้างกลยุทธ์และใช้สิ่งจูงใจที่เหมาะสม เราจะสามารถสนับสนุนให้อุตสาหกรรมสร้างดาต้าเซ็นเตอร์ที่มีประสิทธิภาพพร้อมปลูกฝังเรื่องความยั่งยืนที่ถูกต้องได้ตั้งแต่แรกเริ่ม บางสิ่งเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับผู้ให้บริการโคโลเคชั่น เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ เนื่องจากลูกค้าจำนวนมากอาศัยฐานการตัดสินใจจากการทำงานร่วมกับองค์กรที่ใส่ใจเรื่องความเป็นสีเขียว
แผนงานใน 4 ขั้นตอนเพื่อเอาชนะความท้าทายด้านสภาพอากาศ
ความยั่งยืนที่แท้จริงของดาต้าเซ็นเตอร์ในอุดมคติ ไม่ได้ซับซ้อนอย่างที่คิด และในหลายแง่มุม การสร้างกลยุทธ์ที่ครอบคลุมต้องให้ผู้ดำเนินการมุ่งเน้นความสำคัญในหลายแง่มุมด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบดาต้าเซ็นเตอร์ พื้นที่ สาธารณูปโภคด้านพลังงาน รวมถึงกลยุทธ์ในการดำเนินงาน และบริหารจัดการด้านพลังงาน
แนวคิดดังกล่าวเป็นเรื่องที่ผมได้รับเชิญไปอภิปรายช่วง keynote ในการเปิดงาน DCD Europe Virtual เมื่อเร็วๆ นี้ และในช่วงเริ่มต้น จะมีองค์ประกอบพื้นฐานสามประการที่ต้องพิจารณา
ประการแรก เราต้องระบุหาพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญเพื่อช่วยในการดำเนินการได้อย่างยั่งยืน ประการที่สอง ควรประเมินสินทรัพย์สินขององค์กรเพื่อตัดสินใจว่าจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ทั้งหมดได้อย่างไร และประการที่สาม ควรพิจารณาการออกแบบดาต้าเซ็นเตอร์ใหม่หรือแนวคิดที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายด้านประสิทธิภาพและความยั่งยืน ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถนำมาใช้กับโครงการใหม่ หรือใช้ในการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกเดิมที่มีอยู่ได้
สำหรับหลายองค์กร แนวคิดทั้งสามประการนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ หรือเป็นแนวคิดที่ล้ำหน้า แต่เป็นหลักการสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนและช่วยสร้างแผนความยั่งยืนสี่ขั้นตอนได้อย่างครอบคลุม ซึ่งสามารถช่วยให้ผู้ประกอบการเอาชนะความท้าทายด้านสภาพอากาศได้ ขั้นตอนสำคัญคือ:
ปัจจัยขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อให้เกิดความยั่งยืน
ทุกวันนี้ มีหลายองค์กรที่ปรับปรุงโครงการด้านความยั่งยืนได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นพร้อมกับได้รับผลลัพธ์ที่ดีในระยะยาว ด้วยความช่วยเหลือของชไนเดอร์ อิเล็คทริค ตัวอย่างเช่น ฝ่ายจัดหาพลังงานหมุนเวียนทั่วโลกของ Equinix ได้จัดหาพลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้นจาก 30% เป็น 82% ภายในระยะเวลาสามปีที่ผ่านมา ขณะที่การจัดหาพลังงานหมุนเวียน 100% ในทวีปอเมริกาเหนือช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้มากถึง 23.2 ล้านเหรียญสหรัฐ
ในทวีปยุโรป 75% ของกระแสไฟฟ้าของ Iron Mountain ถูกแปลงเป็นพลังงานสีเขียว ในขณะที่นำพลังงานหมุนเวียนทั้ง 100% ไปให้บริการสำหรับการดำเนินงานในสหราชอาณาจักร ไอร์แลนด์ และเบเนลักซ์ เรื่องนี้ นอกจากจะช่วยประหยัดเงินและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แล้ว ยังเป็นการผลิตพลังงานสะอาดในปริมาณที่เพียงพอต่อการจ่ายพลังงานเทียบเท่าการใช้สำหรับบ้าน 56,000 หลัง ซึ่งเป็นการเอารถยนต์ออกจากถนนมากกว่า 10,000 คันในแต่ละปี
การมุ่งเน้นที่ Net Zero และความยั่งยืนยังเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับเราที่ชไนเดอร์ อิเล็คทริคอย่างยิ่ง เราได้ประกาศแนวทางในการยกระดับความมุ่งมั่นขึ้นไปอีกขั้นเพื่อให้บรรลุความเป็นกลางด้านคาร์บอน รวมถึงการเร่งไปสู่เป้าหมายปี 2573 ของเราในการสร้างความเป็นกลางด้านคาร์บอนภายในเวลาห้าปีจนถึงปี 2568 เพื่อให้บรรลุการปล่อยมลพิษจากการปฏิบัติงานเป็นศูนย์ภายในปี 2573 โดยเป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมาย SBT เพื่อให้ผลที่สมบรูณ์ และบรรลุ net-zero ในห่วงโซ่อุปทานภายในปี 2593 นอกจากนี้ เรามุ่ยังงมั่นที่จะลดการใช้ SF6 ภายในสิ้นปี 2568 ซึ่งรวมถึงในสวิตช์เกียร์ในดาต้าเซ็นเตอร์ของเราด้วย
ขณะนี้มีหลายประเทศที่ลงนามในข้อตกลงปารีส มีหลายอย่างที่ต้องทำและมีเวลาไม่มาก แต่สิ่งหนึ่งที่เราได้เห็นคือธุรกิจต่างๆ โดยเฉพาะในภาคของดาต้าเซ็นเตอร์ ต้องดำเนินการและต้องการที่จะทำเรื่องดังกล่าวโดยพร้อมเพรียง ด้วยการปรับกระบวนการสู่ระบบดิจิทัล การใช้พลังงานไฟฟ้า และประสานการทำงานร่วมกันเพื่อช่วยผู้คนในโลก และเพื่อผลักดันไปสู่การประหยัดค่าใช้จ่าย สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เป้าหมายที่เกินจริง และสามารถบรรลุได้ด้วยสูตรสำเร็จที่เรียบง่าย นั่นคือ พลังงานหมุนเวียน + การใช้พลังงานไฟฟ้า x ประสิทธิภาพ = ความยั่งยืน
ปัจจุบัน การพิจารณาผลกระทบด้านพลังงานของเราไม่ได้เป็นแค่เพียงองค์ประกอบเดียวที่ผู้ประกอบการดาต้าเซ็นเตอร์ต้องคำนึงถึง และก็ไม่ใช่แค่เรื่องการปรับใช้เทคโนโลยีเท่านั้น แต่จำเป็นต้องมีมุมมองแบบองค์รวมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและผลกระทบด้านพลังงานของเรา ซึ่งโดยทั่วไป ในขณะที่ผู้ประกอบการต่างขับเคลื่อนความริเริ่มที่ยั่งยืน คนเหล่านี้ ต่างพยายามอย่างมากในการรักษาประสิทธิภาพและคงความยืดหยุ่นเอาไว้ ซึ่งเป็นชิ้นส่วนของปริศนาที่หายไป ในการทำให้เป้าหมายดังกล่าวคงอยู่ได้ยาวนาน
ในแง่ของอุตสาหกรรม เราต้องให้ความสำคัญกับความยั่งยืนมากขึ้น ช่วยลดผลกระทบด้านสภาพอากาศให้กับคนรุ่นหลัง ถึงเวลาสำหรับการเปลี่ยนแปลงแล้วเพื่อให้อุตสาหกรรมยืนหยัดต่อไปได้อีกยาวนาน
เกี่ยวกับชไนเดอร์ อิเล็คทริค
เป้าหมายของชไนเดอร์ อิเล็คทริค คือการช่วยให้ทุกคนใช้พลังงานและทรัพยากรได้เกิดประโยชน์สูงสุด เชื่อมโยงความก้าวหน้าและความยั่งยืนเพื่อประโยชน์ของทุกคน เราเรียกสิ่งนี้ว่า Life Is On
ภารกิจของเราคือการเป็นพันธมิตรด้านดิจิทัลกับคุณ เพื่อสร้างประสิทธิภาพและความยั่งยืน
เราขับเคลื่อนการปฏิรูปสู่ดิจิทัล ด้วยการผสานรวมเทคโนโลยีชั้นนำของโลกด้านพลังงานและกระบวนการจัดการ เข้ากับผลิตภัณฑ์ตั้งแต่จุดเชื่อมต่อปลายทางไปยังคลาวด์ ระบบควบคุม รวมถึงซอฟต์แวร์และการบริการครอบคลุมตลอดวงจรชีวิตการทำงานทั้งหมด เพื่อสร้างศักยภาพในการบริหารจัดการองค์กรแบบบูรณาการ ทั้งสำหรับบ้าน อาคาร ดาต้าเซ็นเตอร์ ระบบโครงสร้างพื้นฐานและอุตสาหกรรม
เราคือบริษัทระดับโลกที่มีการดำเนินงานในระดับท้องถิ่นมากที่สุด เราสนับสนุนมาตรฐานระบบเปิดและระบบนิเวศของคู่ค้าที่มีความมุ่งมั่นแรงกล้าในการทำตามวัตถุประสงค์อย่างมีเป้าหมายร่วมกัน และคุณค่าในการรวมกันเป็นหนึ่งเดียวพร้อมขับเคลื่อนไปข้างหน้าด้วยกัน