Categories
บทความ สิ่งที่นักประดิษฐ์ควรรู้

ทุนวิจัยเชิงวิชาการของ สกว.

ลักษณะทุน 
เน้นการสร้างนักวิจัยที่มีความสามารถสูงให้สร้างปัญญาและผลิตผลงานที่มีคุณภาพสูง รับผิดชอบโดยฝ่ายวิชาการ มีเป้าหมายในการสร้างนักวิจัยอาชีพที่มีความสามารถสูงให้สร้างปัญญาและผลิตผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ และสร้างความเข้มแข็งของชุมชนวิจัย

ทุนวิจัยของฝ่ายวิชาการแบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ

1. ทุนวิจัยพื้นฐานจากความคิดริเริ่มของนักวิจัย แบ่งเป็น
1.1 ทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัย (เมธีวิจัยอาวุโส สกว.)

เป็นทุนสร้างทีมวิจัย ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนนักวิจัยอาวุโสที่มีความสามารถ มีจริยธรรม มีผลงานเป็นที่ประจักษ์และเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติให้สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ที่มีความสามารถทางวิชาการสูงให้แก่ประเทศ โดยเน้นหนักในการพัฒนาทีมงาน พัฒนาผลงาน และพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่เพื่อสร้างศักยภาพเชิงปัญญาระยะยาวของชาติ ผู้รับทุนต้องไม่เป็นผู้บริหารระดับคณบดีขึ้นไป โดยผู้ได้รับทุนจะได้รับชื่อ “เมธีวิจัยอาวุโส สกว.” (TRF Senior Research Scholar)

ผู้ได้รับทุนจะได้เงินงบประมาณรวมไม่เกิน ๗.๕ ล้านบาท (๒.๕ ล้านบาท/ปี) สำหรับสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ ๖ ล้านบาท (๒ ล้านบาท/ปี) สำหรับสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ระยะเวลาดำเนินการ ๓ ปี

ทุนประเภทนี้ไม่ได้เปิดให้สมัคร แต่ใช้วิธีการสรรหาและเสนอชื่อ โดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจะพิจารณาจากรายชื่อในกลุ่มต่างๆ เช่น รายนามศาสตราจารย์ในประเทศไทย รายนามนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น รายนามนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ รายนามผู้ได้รางวัลวิจัยดีเด่นของมหาวิทยาลัยต่างๆ รายนามนักวิจัยอาวุโสที่มหาวิทยาลัยเป็นผู้เสนอรายชื่อ และ รายนามคณาจารย์ที่มีผลงานทางวิชาการเป็นที่ยอมรับระดับนานาชาติ หลังจากนั้นจะเรียนเชิญนักวิจัยผู้มีคุณสมบัติครบถ้วน เขียนข้อเสนอโครงการวิจัยฉบับเต็ม เพื่อ สกว. จะส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินและใช้ประกอบการพิจารณาให้ทุนต่อไป

1.2 ทุนศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น

เป็นทุนสนับสนุนการวิจัยแก่อาจารย์อาวุโสระดับศาสตราจารย์ที่มีผลงานวิจัย ดีเด่นให้มีโอกาสได้พัฒนาและผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพในระดับชาติและระดับ นานาชาติอย่างต่อเนื่อง ผู้สมัครต้องเป็นศาสตราจารย์ที่ปฏิบัติงานสอนและงานวิจัยเต็มเวลาในสถาบัน อุดมศึกษาของไทย มีผลงานด้านการวิจัยในสาขาที่เชี่ยวชาญในระดับแนวหน้าอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ควรได้รับรางวัลในระดับชาติหรือระดับนานาชาติ หรือผ่านการรับทุนวิจัยหลักอื่นมาแล้ว อาทิ ทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัย (เมธีวิจัยอาวุโส สกว.) ทุนพัฒนากลุ่มวิจัย ของ สกอ. หรือทุนส่งเสริมกลุ่มนักวิจัยอาชีพ ของ สวทช. เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นนักวิจัยในระดับแนวหน้าในสาขานั้นอย่างแท้จริง ไม่มีตำแหน่งบริหารในขณะรับทุน และไม่รับทุนวิจัยหลักอื่น ๆ

งบประมาณทุนละ ๙,๐๐๐,๐๐๐ บาท ในระยะเวลา ๓ ปี โดยแบ่งจ่ายเป็นรายปี ๆ ละ ๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท จำแนกเป็นค่าตอบแทนหัวหน้าโครงการไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ ต่อเดือน และงบประมาณส่วนที่เหลือเป็นค่าใช้จ่ายในการทำวิจัยไม่ต่ำกว่า ๒,๔๐๐,๐๐๐ บาทต่อปี

งบประมาณโครงการเป็นการร่วมทุนกันในลักษณะไตรภาคี คือ สกอ. และ สกว. จะจัดสรรทุนให้หน่วยงานละ ๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท รวมเป็น ๖,๐๐๐,๐๐๐ บาท โดยที่สถาบันอุดมศึกษาต้นสังกัดจะสมทบให้อีก ๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท

1.3 ทุนวิจัยองค์ความรู้ใหม่ที่เป็นพื้นฐานต่อการพัฒนา (วุฒิเมธีวิจัย สกว.)

เป็นทุนวิจัยระดับกลางสำหรับผู้ที่มีประสบการณ์ในการวิจัยพอสมควร ผู้อยู่ในข่ายได้รับทุนต้องเคยมีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติที่ทำ ในประเทศไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า ๓ เรื่องในช่วง ๕ ปีที่ผ่านมาและเป็นเจ้าของบทความชื่อแรกหรือเป็น corresponding author และมีผลรวมของ impact factor อยู่ในเกณฑ์ดีทั้งนี้ขึ้นกับสาขาวิชา เช่น มีค่าไม่น้อยกว่า ๕.๐ สำหรับวิทยาศาสตร์ชีวภาพและการแพทย์ ไม่น้อยกว่า ๒.๐ สำหรับวิทยาศาสตร์กายภาพและวิศวกรรมศาสตร์ ส่วนสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์จะไม่นำเกณฑ์ของ impact factor มาพิจารณา ผู้ได้รับทุนจะได้รับชื่อ “วุฒิเมธีวิจัย สกว.” (TRF Advanced Research Scholar)

ทุน วิจัยองค์ความรู้ใหม่มีวงเงินไม่เกิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท ระยะเวลาของทุนไม่เกิน ๓ ปี โดยเป็นค่าตอบแทนของหัวหน้าโครงการเดือนละ ๑๕,๐๐๐-๒๕,๐๐๐ บาท ตามคุณภาพและประสบการณ์ของผู้ขอรับทุน

1.4 ทุนพัฒนานักวิจัย (เมธีวิจัย สกว.)

เป็นทุนที่สนับสนุนการวิจัยแก่อาจารย์และนักวิจัยให้ทำวิจัยอย่างต่อเนื่อง โดยผู้สมัครต้องเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก และมีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติไม่น้อยกว่า ๒ เรื่องในช่วง ๕ ปีที่ผ่านมา โดยเป็นเจ้าของบทความชื่อแรกหรือเป็น corresponding author (ผู้วิจัยสำหรับการติดต่อ) ไม่น้อยกว่า ๑ เรื่อง ทั้งนี้ ผลงานตีพิมพ์ทั้ง ๒ เรื่องต้องเป็นงานวิจัยที่ทำในประเทศไทยและไม่ใช่ผลงานจากการทำวิทยานิพนธ์ ทั้งนี้ผู้สมัครต้องไม่เป็นผู้บริหารระดับหัวหน้าภาควิชาขึ้นไป ผู้ได้รับทุนได้ชื่อว่าเป็น “เมธีวิจัย สกว. (TRF Research Scholar)”

งบประมาณปีละ ๔๐๐๐,๐๐๐ บาท ระยะเวลาโครงการไม่เกิน ๓ ปี โดยแบ่งเป็นเงินค่าใช้จ่ายในการวิจัยปีละ ๒๒๐,๐๐๐ บาท และเป็นเงินสนับสนุนค่าครองชีพเดือนละ ๑๕,๐๐๐ บาท

1.5 ทุนเพิ่มขีดความสามารถด้านการวิจัยของอาจารย์รุ่นกลางในสถาบันอุดมศึกษา (สกว. ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา)

เป็นทุนที่มีเป้าหมาย หลักเกณฑ์การให้ทุน วงเงินทุนวิจัยและระยะเวลาดำเนินการเช่นเดียวกับทุนพัฒนานักวิจัย แต่เปิดรับสมัครเฉพาะผู้สมัครที่เป็นอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของ สกอ. เท่านั้น และเป็นการร่วมสนับสนุนงบประมาณจาก สกว. และ สกอ.

1.6 ทุนพัฒนาศักยภาพในการทำงานวิจัยของอาจารย์รุ่นใหม่ (สกว. ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา)

เป็นทุนที่ สกว. ได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเพื่อสนับสนุนอาจารย์รุ่นใหม่ให้ ทำวิจัยได้อย่างต่อเนื่อง ผู้อยู่ในข่ายรับทุนคืออาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของ สกอ. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า มาแล้วไม่เกิน ๕ ปี ไม่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารตั้งแต่ระดับหัวหน้าภาควิชาขึ้นไป

ทุนนี้มีวงเงินปีละไม่เกิน ๒๔๐,๐๐๐ บาท เป็นเวลาไม่เกิน ๒ ปี เป็นเงินสนับสนุนค่าครองชีพเดือนละ ๑๐,๐๐๐ บาท
1.7 ทุนส่งเสริมนักวิจัยรุ่นใหม่

เป็นทุนที่มีเป้าหมาย หลักเกณฑ์การให้ทุน วงเงินทุนวิจัยและระยะเวลาดำเนินการเช่นเดียวกับทุนพัฒนาศักยภาพในการทำงาน วิจัยของอาจารย์รุ่นใหม่ แต่เปิดรับสมัครเฉพาะผู้สมัครที่ไม่ได้เป็นอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาในกำกับ ของ สกอ. ซึ่งผู้สมัครต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่ามาแล้วไม่เกิน ๕ ปี อายุไม่เกิน ๔๕ ปี และไม่เป็นผู้บริหารระดับหัวหน้าภาควิชาขึ้นไป และผู้สมัครต้องมีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติอย่างน้อย ๑ เรื่องในช่วง ๕ ปีที่ผ่านมา สำหรับสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์จะพิจารณาจากคุณภาพผลงานที่มีในช่วง ๕ ปีที่ผ่านมา

๒. ชุดโครงการวิจัยพื้นฐานเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Basic Research)

เพื่อ สนับสนุนการสร้างผลงานวิจัยพื้นฐานที่เป็นยุทธศาสตร์ของประเทศและสามารถ ต่อยอดผลงานวิจัยเพื่อประยุกต์ใช้ในเชิงพาณิชย์ เชิงสาธารณะหรือเชิงนโยบายโดยมีชุดโครงการดังนี้

– สมุนไพร ยารักษาโรคและสารเสริมสุขภาพ เพื่อพัฒนาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพไปใช้ประโยชน์เป็นยารักษาโรค สารเสริมสุขภาพ เช่น สารต้านมะเร็ง  สารต้านการติดเชื้อ  สารต้านการอักเสบ  สารต้านไวรัส  และสารต้านอนุมูลอิสระ เป็นต้น

– เกษตรยั่งยืน วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว และการแปรรูปอาหาร เพื่อสร้างองค์ความรู้พื้นฐาน ที่เน้นความเข้าใจในกลไกและกระบวนการที่เกี่ยวกับการพัฒนาวิธีการผลิตพืช อาหารอย่างยั่งยืน การพัฒนาวิธีการเก็บรักษาหลังการเก็บเกี่ยว ตลอดจนการแปรรูปเพื่อให้มีประสิทธิภาพและได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง สอดคล้องกับการจัดการธุรกิจเกษตรด้านอาหารที่ทันสมัยตามมาตรฐานที่กำหนดใน ประเทศและมาตรฐานสากล

ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดและสมัครได้ที่ http://academic.trf.or.th

หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายวิชาการ สกว.

โทรศัพท์ : 0-2278-8251 – 9

Categories
บทความ สิ่งที่นักประดิษฐ์ควรรู้

พระราชบัญญัติ กองทุนสนับสนุนการวิจัย

กองทุนสนับสนุนการวิจัย พ.ศ. ๒๕๓๕

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.

ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๕

เป็นปีที่ ๔๗ ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยกองทุนสนับสนุนการวิจัย

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้

พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการวิจัย พ.ศ. ๒๕๓๕”

 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้

“การวิจัย” หมายความว่า การค้นคว้าโดยการทดลอง สำรวจหรือการศึกษาตามหลักวิชาการเพื่อให้ได้ข้อมูล ความรู้ รวมทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการต่าง ๆ อันจะสามารถนำมาใช้เป็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สังคม วิชาการ หรือเป็นพื้นฐานของการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ต่อไป

“กองทุน” หมายความว่า กองทุนสนับสนุนการวิจัย

“คณะกรรมการนโยบาย” หมายความว่า คณะกรรมการนโยบายกองทุนสนับสนุนการวิจัย

“คณะกรรมการประเมินผล” หมายความว่า คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการสนับสนุนการวิจัย

“สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

“ผู้อำนวยการ” หมายความว่า ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

 ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งเรียกว่า “กองทุนสนับสนุนการวิจัย” ประกอบด้วยเงินและทรัพย์สินตามมาตรา ๕ เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนและใช้จ่ายในการสนับสนุนการวิจัยอย่างต่อเนื่องและมี ประสิทธิภาพในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ การวิจัยเชิงนโยบายและการวิจัยประยุกต์ต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวิชาการของประเทศ

ให้กองทุนเป็นนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินกิจการสนับสนุนการดำเนินงานวิจัยตามพระราชบัญญัติ นี้ และให้มีอำนาจกระทำการใด ๆ ที่จำเป็นหรือต่อเนื่องเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวนั้นได้ แต่จะต้องไม่ดำเนินการวิจัยเอง

ให้ กองทุนมีสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานครเรียกว่า “สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย” โดยให้เป็นหน่วยงานในกำกับของสำนักนายกรัฐมนตรี มีระบบการบริหารงานที่แตกต่างจากระบบราชการเพื่อให้เกิดความคล่องตัวภายใต้ นโยบายของคณะกรรมการนโยบาย

เงินและทรัพย์สินของกองทุนประกอบด้วย

(๑) เงินที่รัฐบาลจัดสรรให้

(๒) เงินอุดหนุนจากต่างประเทศรวมทั้งองค์กรระหว่างประเทศ

(๓) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้มอบให้เพื่อสมทบกองทุน

(๔) ดอกผลหรือรายได้ของกองทุน รวมทั้งผลประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาและผลประโยชน์อื่น ๆ ที่เกิดจากการวิจัย

ให้โอนเงินงบประมาณกองทุนสนับสนุนการวิจัยตามมาตรา ๒๖ (๒) แห่งพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๓๕ จำนวนหนึ่งพันสองร้อยล้านบาทมาเป็นเงินของกองทุนสนับสนุนการวิจัย

การใช้จ่ายเงินกองทุนให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการนโยบายกำหนดโดยให้ใช้เพื่อกิจการดังต่อไปนี้

(๑) การสนับสนุนการดำเนินงานวิจัย การติดตามประเมินผล การเผยแพร่ผลงานวิจัย และการส่งเสริมการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์

(๒) การบริหารกองทุน

(๓) การดำเนินงานของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

เงินกองทุนให้นำไปฝากไว้ที่ธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด

เงินกองทุนส่วนหนึ่งอาจนำไปซื้อพันธบัตรของรัฐบาล ขององค์การของรัฐหรือของรัฐวิสาหกิจได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด

รายได้ของกองทุนให้นำเข้าสมทบกองทุนโดยไม่ต้องส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่า ด้วยเงินคงคลัง หรือกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือกฎหมายอื่น
ให้มีคณะกรรมการนโยบายกองทุนสนับสนุนการวิจัย ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และประสบการณ์สูงด้านการวิจัยซึ่งคณะ รัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นรองประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี* ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ปลัดทบวงมหาวิทยาลัย เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และผู้ทรงคุณวุฒิอื่นที่มีความรู้และประสบการณ์สูงด้านการวิจัยซึ่งคณะ รัฐมนตรีแต่งตั้งไม่น้อยกว่าสี่คนและไม่เกินเจ็ดคน เป็นกรรมการ และผู้อำนวยการเป็นกรรมการและเลขานุการ

ประธานกรรมการกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและผู้อำนวยการต้องไม่เป็นข้าราชการการเมือง ที่ปรึกษา เจ้าหน้าที่หรือกรรมการของพรรคการเมือง

 ประธานกรรมการและกรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่รวมแล้วต้องไม่เกินสองวาระติดต่อกัน

ใน กรณีที่กรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระหรือ ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการเพิ่มขึ้นในระหว่างที่กรรมการซึ่งแต่ง ตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่ง ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนหรือเป็นกรรมการเพิ่มขึ้นอยู่ใน ตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว

เมื่อ ครบกำหนดตามวาระดังกล่าวในวรรคหนึ่ง หากยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการขึ้นใหม่ ให้กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินงานต่อไปจน กว่ากรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่

 นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๐ ประธานกรรมการและกรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งเมื่อ

(๑) ตาย

(๒) ลาออก

(๓) คณะรัฐมนตรีให้ออก

(๔) เป็นบุคคลล้มละลาย

(๕) เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ

(๖) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ

การประชุมคณะกรรมการนโยบายต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม

ในการประชุมคณะกรรมการนโยบาย ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานกรรมการและรองประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม

การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่ง เป็นเสียงชี้ขาด

ให้ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการและกรรมการได้รับเบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนอื่นตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
 คณะกรรมการนโยบายมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

(๑) กำหนดนโยบายและแผนการให้ทุนสนับสนุนการวิจัย

(๒) กำหนดหลักเกณฑ์และมาตรการการสนับสนุนการวิจัยของนักวิจัยและหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน

(๓) กำหนดนโยบาย วางระเบียบ ข้อบังคับการบริหาร และควบคุมดูแลการดำเนินงานของสำนักงานในการบริหารกองทุน รวมทั้งแต่งตั้งและถอดถอนผู้อำนวยการ

(๔) กำหนดมาตรการการเผยแพร่และถ่ายทอดผลงานวิจัยไปยังผู้ใช้และกำหนดหลักเกณฑ์การแบ่งปันผลประโยชน์ของงานวิจัยที่เกิดขึ้น

(๕) ระดมเงินทุนจากแหล่งต่าง ๆ เข้าสู่กองทุน

(๖) วางระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการรับและจ่ายเงินกองทุน

(๗) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินกองทุน

(๘) อนุมัติงบประมาณประจำปีสำหรับการดำเนินงานของกองทุนและสำนักงาน

(๙) ควบคุมดูแลการรับและการใช้จ่ายเงินกองทุน

(๑๐) ดำเนินงานอื่น ๆ เพื่อสนับสนุนการวิจัย

(๑๑) เสนอรายงานประจำปีต่อนายกรัฐมนตรี

ให้มีคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการสนับสนุนการวิจัย ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และประสบการณ์สูงด้านการวิจัยซึ่งคณะ รัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการ ผู้แทนกรมวิชาการเกษตร ผู้แทนกองบัญชาการทหารสูงสุด ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้แทนกรมบัญชีกลาง ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ผู้แทนสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ผู้แทนสมาคมธนาคารไทย และผู้ทรงคุณวุฒิอื่นที่มีความรู้และประสบการณ์สูงด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ หรือมนุษยศาสตร์ ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งไม่น้อยกว่าสี่คนและไม่เกินเก้าคน เป็นกรรมการ และผู้อำนวยการเป็นกรรมการและเลขานุการ

ให้นำมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ มาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๓ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

คณะกรรมการประเมินผลมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

(๑) ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลงานวิจัยที่ได้รับการสนับสนุน

(๒) รายงานผลการปฏิบัติงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการนโยบาย

ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ คณะกรรมการนโยบายและคณะกรรมการประเมินผล อาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาและเสนอความเห็นในเรื่องหนึ่งเรื่องใด หรือมอบหมายให้ปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดได้ตามที่เห็นสมควร

ให้นำมาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๓ มาใช้บังคับกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะอนุกรรมการตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม

ให้สำนักงานมีหน้าที่ดังต่อไปนี้

(๑) บริหารกองทุนตามระเบียบ ข้อบังคับ และมติของคณะกรรมการนโยบาย

(๒) ศึกษา วิเคราะห์ และประเมินความต้องการการวิจัยในด้านต่าง ๆ ของประเทศทั้งในปัจจุบันและอนาคต และความเหมาะสมในการ   ดำเนินการวิจัยในด้านต่าง ๆ เพื่อสนองความต้องการนั้น เพื่อเสนอให้คณะกรรมการนโยบายพิจารณา

(๓) ประสานงานและสนับสนุนการวิจัย เผยแพร่ผลงานวิจัย และนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ ตลอดจนประเมินผลของการดำเนินการดังกล่าว

(๔) จัดทำรายงานและการบัญชีของกองทุน

(๕) ปฏิบัติงานธุรการของคณะกรรมการนโยบาย และคณะกรรมการประเมินผล

(๖) กระทำการอื่นใดเกี่ยวกับการสนับสนุนการวิจัยตามที่คณะกรรมการนโยบายและคณะ กรรมการประเมินผลมอบหมาย ทั้งนี้ สำนักงานจะไม่ดำเนินการวิจัยเอง

 
สำนักงานมีผู้อำนวยการเป็นผู้มีหน้าที่ควบคุมดูแลงานโดยทั่วไปของสำนักงาน เป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานของสำนักงาน และมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

(๑) เสนอแผนรวมทั้งเป้าหมายของการสนับสนุนการวิจัยตามที่ได้รับมอบหมายต่อคณะกรรมการนโยบายเพื่อพิจารณา

(๒) รายงานผลการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนรวมทั้งผลการดำเนินงานเผยแพร่และการนำ ไปใช้ประโยชน์ต่อคณะกรรมการนโยบายและคณะกรรมการประเมินผล

(๓)เสนอรายงานการเงินและการบัญชี และแผนการเงินและงบประมาณของปีต่อไปต่อคณะกรรมการนโยบายเพื่อพิจารณา

(๔) เสนอการแต่งตั้งผู้ประเมินโครงการและผู้ประเมินผลงานวิจัยและรายงานผลการติดตามประเมินผลต่อคณะกรรมการประเมินผลเพื่อพิจารณา

(๕) บริหารงานของสำนักงานตามนโยบายและมติของคณะกรรมการนโยบายและคณะกรรมการประเมินผล

(๖) ดำเนินงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการนโยบายและคณะกรรมการประเมินผล

 ใน กิจการเกี่ยวกับบุคคลภายนอก ให้ผู้อำนวยการเป็นผู้กระทำแทนกองทุนและสำนักงาน ในการนี้ ผู้อำนวยการจะมอบให้บุคคลใด ๆ ปฏิบัติการแทนโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการนโยบายก็ได้
การบัญชีของกองทุน ให้จัดทำบัญชีตามหลักสากล โดยให้มีการตรวจสอบภายในเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี และการพัสดุของกองทุน และรายงานผลการตรวจสอบให้คณะกรรมการนโยบายทราบอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
ให้สำนักงานจัดทำงบดุล งบการเงิน และบัญชีทำการส่งผู้สอบบัญชีตรวจสอบ ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีทุกปี

ให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชีของสำนักงานทุกรอบปี แล้วทำรายงานผลการสอบบัญชีเสนอต่อคณะกรรมการนโยบาย

ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

อานันท์ ปันยารชุน

นายกรัฐมนตรี

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่การวิจัยที่มีประสิทธิภาพในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ และการนำผลของการวิจัยดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ เป็นการจำเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและวิชาการของประเทศ แต่ในปัจจุบันการวิจัย และการใช้ประโยชน์จากผลของการวิจัยดังกล่าว ยังไม่ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนในด้านงบประมาณจากรัฐบาลอย่างเพียงพอ สมควรจัดตั้งกองทุนสนับสนุนการวิจัยขึ้นเป็นอิสระจากระบบราชการเพื่อส่ง เสริมและสนับสนุนการวิจัยและการใช้ประโยชน์จากผลของการวิจัยให้กว้างขวาง ยิ่งขึ้น โดยสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อเนื่องและเอื้อต่อการวิจัยเพื่อ ประโยชน์สูงสุด จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
*พระ ราชกฤษฎีกาแก้ไขบทบัญญัติให้สอดคล้องกับการโอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้ เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ พ.ศ. ๒๕๔๕ ใน พระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการวิจัย พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้แก้ไขคำว่า “ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม” เป็น “ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้บัญญัติให้จัดตั้งส่วนราชการขึ้นใหม่โดยมีภารกิจใหม่ ซึ่งได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม นั้นแล้ว และเนื่องจากพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติให้โอนอำนาจหน้าที่ของส่วน ราชการ รัฐมนตรีผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในส่วนราชการเดิมมาเป็นของ ส่วนราชการใหม่ โดยให้มีการแก้ไขบทบัญญัติต่างๆ ให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ที่โอนไปด้วย ฉะนั้น เพื่ออนุวัติให้เป็นไปตามหลักการที่ปรากฏในพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกา ดังกล่าว จึงสมควรแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้สอดคล้องกับการโอนส่วนราชการ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องมีความชัดเจนในการใช้กฎหมายโดยไม่ต้องไปค้นหาในกฎหมาย โอนอำนาจหน้าที่ว่าตามกฎหมายใดได้มีการโอนภารกิจของส่วนราชการหรือผู้รับผิด ชอบตามกฎหมายนั้นไปเป็นของหน่วยงานใดหรือผู้ใดแล้ว โดยแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้มีการเปลี่ยนชื่อส่วนราชการ รัฐมนตรี ผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการให้ตรงกับการโอนอำนาจ หน้าที่ และเพิ่มผู้แทนส่วนราชการในคณะกรรมการให้ตรงตามภารกิจที่มีการตัดโอนจากส่วน ราชการเดิมมาเป็นของส่วนราชการใหม่รวมทั้งตัดส่วนราชการเดิมที่มีการยุบเลิก แล้ว ซึ่งเป็นการแก้ไขให้ตรงตามพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวจึงจำเป็น ต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

Exit mobile version