DPU จับมือ IBERD จัดเสวนาหัวข้อ “ธุรกิจในยุคดิจิทัลเปลี่ยนโลก”

DPU จับมือ IBERD จัดเสวนาหัวข้อ “ธุรกิจในยุคดิจิทัลเปลี่ยนโลก”

DPU จับมือ IBERD จัดเสวนาหัวข้อ “ธุรกิจในยุคดิจิทัลเปลี่ยนโลก” เปิดเวทีสร้างแรงบันดาลใจ และสร้างเครือข่ายธุรกิจนวัตกรรมรุ่นใหม่ สู่ตลาดโลก

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) ร่วมกับ สถาบันวิจัยและพัฒนาการเศรษฐกิจการพาณิชย์ (IBERD) จัดงานสัมมนาธุรกิจและเศรษฐกิจออนไลน์ ภายใต้หัวข้อ “Gateway of Digital Disruption on Economic and Business InnovationTransformation in CLMVT + China +India” โดยดร.ดาริกา ลัทธพิพัฒน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการจัดงานครั้งนี้ขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 11 ปีแห่งการก่อตั้ง มูลนิธิฯ IBERD และเพื่อเปิดเวทีรับฟังและแลกเปลี่ยนแนวความคิดจากแขกรับเชิญกิตติมศักดิ์ อันจะเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้แก่นักธุรกิจรุ่นใหม่ รวมถึงสร้างเครือข่ายในภาคธุรกิจและสังคม ในประเทศ CLMVT จีนและอินเดีย

ทั้งนี้ ภายในงานได้รับเกียรติจาก ดร. สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ สมาชิกวุฒิสภาและประธานมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาเศรษฐกิจการพาณิชย์ (IBERD) กล่าวเปิดงานพร้อมปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ “Thailand’s Digital Disruption on Economic and Business Innovation Transformation in Next Decade” โดยมีวิทยากรร่วมในงานเสวนา ประกอบด้วย ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ รองประธานIBERD นายอดุลย์ โชตินิสากรณ์ รองประธานIBERD ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสารกรรมการบริหารIBERD และ ผศ.ดร.พัทธนันท์ เพชรเชิดชู รองอธิการบดีสายงานวิชาการ DPUและมี วีณารัตน์ เลาหภคกุล เป็นพิธีกรดำเนินรายการพร้อมด้วยนางนที ชวนสนิท ผู้อำนวยการบริหาร IBERD กล่าวในพิธีปิด ณ ห้องประชุมปรีดี พนมยงค์ อาคารเฉลิมพระเกียรติ อาคาร 7 ชั้น 6 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ดร. สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ สมาชิกวุฒิสภา และประธานมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาเศรษฐกิจการพาณิชย์ (IBERD) กล่าวถึงแนวคิดสำคัญของการก่อตั้ง IBERDว่า เป็นการนำหลักวิชาการทางเศรษฐศาสตร์ ไปสู่ผลปฏิบัติในทางพาณิชย์ สำหรับการทำความร่วมมือด้านวิชาการกับมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนชั้นนำที่เน้นในเรื่องของธุรกิจ โดยเฉพาะด้านการส่งเสริมผู้ประกอบการประเภทเริ่มต้น หรือ Start Up และการทำธุรกิจกับต่างประเทศนั้น จะเป็นการสร้างความผสมผสานและบูรณาการระหว่างเศรษฐกิจ การพาณิชย์ และธุรกิจ ที่ไม่เพียงแต่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังร่วมมือกันขยายขอบข่ายทางการศึกษาไปยังประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียนเหนือ คือ ประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม หรือ กลุ่ม CLMVด้วย

พร้อมกันนี้ ดร. สถิตย์ ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับ digital เปลี่ยนแปลงโลก ในการปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “Thailand’s Digital Disruption on Economic and Business Innovation Transformation in Next Decadeไว้ว่า เศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันกำลังอยู่ในยุคการปฎิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ที่ Digitalจะเป็นสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม หรือที่เรียกว่า เศรษฐกิจสังคม digital การส่งเสริมความสำคัญของ Digital ได้เป็นหนึ่งในแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติ เช่น โครงการ One Country One Platform ซึ่งมีจุดมุ่งหมายที่จะเชื่อมต่อข้อมูล Big Data ซึ่งกันและกันในหนึ่ง Plat form เพื่อสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจ รวมถึงความพยายามให้สถาบันการศึกษามีการเรียนการสอนที่เน้น Digital และสร้างบัณฑิตในอนาคตให้มีทักษะที่จำเป็น 3 ทักษะ คือ ทักษะด้านภาษา โดยเฉพาะภาษาอังกฤษและภาษาจีน ทักษะการเงิน การบัญชีและการลงทุนขั้นพื้นฐาน และทักษะ Digitalซึ่งถือเป็นทักษะที่สำคัญที่สุด นอกจากนี้การศึกษายุคนี้ยังต้องตอบสนองโลกของDigital เช่น การเปิดหลักสูตรเรียนฟรี ผ่านระบบออนไลน์ที่จะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเรียนที่ไหนและเวลาใดก็ได้ ดังนั้นหากใครยังไม่ปรับตัวไปตามDigital ที่กำลังจะเปลี่ยนโลก Digital ซึ่งกำลังเป็นศูนย์กลางทางความคิด ความรู้ เศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา ก็จะไม่สามารถดำรงคงอยู่ในโลกอนาคตนี้ได้

ด้าน ดร.พัทธนันท์ เพชรเชิดชู รองอธิการสายงานวิชาการ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้แสดงความเห็นในเรื่อง Prospects for Education in Digital Transformation and Economy ไว้ว่าทุกประเทศมีการระบุนโยบายการพัฒนาการศึกษาในแผนการพัฒนาประเทศ ในประเทศไทย นโยบายด้านการพัฒนาการศึกษาล่าสุดมาพร้อมกับนโยบายด้าน Industry 4.0 และ Digital Transformation ด้วยเหตุนี้เราจึงต้องมีการพัฒนาในด้านการสร้าง Innovation ที่ใช้ประโยชน์จาก Digital Technology สถาบันการศึกษาต้องพัฒนานักศึกษาให้เป็นแรงงานที่มีคุณภาพและสามารถสร้าง Productivity นอกจากนี้นักศึกษาควรมี Digital Literacy Skills ที่สามารถใช้ประโยชน์จาก Digital Technology ได้ตรงจุด รวมทั้งมีความสามารถคิดวิเคราะห์ ปรับตัวและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ ขณะนี้การเรียนการสอน ระดับมัธยมและระดับอุดมศึกษา ในประเทศไทย ได้บรรจุหลักสูตรที่เรียกว่า STEM Education โดยหลายแห่งมีการเพิ่มในส่วนของ Entrepreneurship หรือทักษะการเป็นผู้ประกอบการเข้าไปด้วย เพื่อสร้างคนให้มีทักษะในการคิด วิเคราะห์ แก้ไขปัญหา และปรับตัวได้ไว

นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของทุกประเทศจะเชื่อมโยงกับแผนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพราะถือเป็นเครื่องมือทางกลยุทธ์ที่สำคัญ ดังนั้น อยากให้มองว่าเรามีจุดแข็ง หรือ เก่งด้านใดที่สามารถช่วยให้เราคว้าโอกาสที่มีอยู่ในสังคมและเศรษฐกิจโลก เราจะต้องนำจุดแข็งนั้น มาสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน และนำนโยบายดังกล่าว มากำหนดแผนหลักในการพัฒนาคนเพื่อสร้างความเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับประเทศ

ทั้งนี้ ประเทศไทยจะพัฒนาการศึกษาได้ ต้องเชื่อมโยงกระบวนการพัฒนาความรู้ และ Innovation กับ ประเทศที่โดดเด่นด้านนี้ โดยสามารถสร้างความร่วมมือในการถ่ายทอดเทคโนโลยี และนวัตกรรมระหว่างมหาวิทยาลัยไทยกับมหาวิทยาลัยนานาชาติ เช่น ประเทศจีนและอินเดีย ที่มีความโดดเด่นในด้าน Technology และ Engineering เช่น เรื่องของ Blockchain และ AI โดยผ่านโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและบุคลากร การทำวิจัยและการพัฒนาหลักสูตรร่วมกัน

ดร.พัทธนันท์ กล่าวในตอนท้ายว่า การพัฒนา IT Infrastructure ก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะหากทุกพื้นที่เข้าถึงอินเทอร์เนตสาธารณะได้ จะช่วยเปิดโอกาสให้คนไทยมีโอกาสค้นคว้าหาความรู้ด้วยตัวเองได้มากขึ้น โดยเฉพาะความรู้นอกห้องเรียน และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ในปัจจุบันมี Content ออนไลน์มากมายที่เข้าถึงได้ฟรี แต่ Content ส่วนใหญ่ มีเนื้อหาเขียนเป็นภาษาอังกฤษ ดังนั้นเพื่อให้สามารถเข้าใจ Content เหล่านั้นได้ การพัฒนาความสามารถการใช้ภาษาอังกฤษของคนไทยจึงเป็นเรื่องหนึ่งที่ควรเร่งผลักดันเช่นกัน