Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เปิดตัว ใบรับรองใหม่ ในโครงการ EcoXpert Partner ครอบคลุมการเทรนนิ่งด้านดาต้าเซ็นเตอร์ และโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำระดับโลกด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นในการบริหารจัดการพลังงาน และระบบออโตเมชั่น เปิดตัวใบรับรองมาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมดาต้าเซ็นเตอร์ และโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ สำหรับโครงการ EcoXpert™ Partner Program

โครงการนี้ได้ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยสนับสนุนคู่ค้าด้านช่องทางจำหน่าย หรือ ชาแนลพาร์ทเนอร์ (Channel partners) ของชไนเดอร์ อิเล็คทริค เพื่อต่อยอดความรู้ในอุตสาหกรรม ตลอดจนทักษะต่างๆ ที่จำเป็นในการทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัล เพื่ออนาคตที่ยั่งยืนยิ่งขึ้น วันนี้ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค จึงออกใบรับรองเพิ่มเติมภายในโปรแกรม EcoXpert™ มุ่งเน้นไปที่การเสริมศักยภาพของคู่ค้าเพื่อให้เป็นที่ปรึกษาที่ทุกคนมั่นใจ ในด้านโซลูชั่นของศูนย์ข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐานหลัก

ประโยชน์ของการเลือกฝึกอบรมในฐานะ EcoXpert™ ที่ได้รับการรับรองที่หลากหลาย และช่วยให้พันธมิตรด้านช่องทางจำหน่ายของ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค กลายเป็นพันธมิตรที่มีความแตกต่าง โดดเด่น และเป็นที่ต้องการของลูกค้าในตลาด จากความเชี่ยวชาญที่มากขึ้น เพื่อช่วยเพิ่มผลกำไร และทำให้ธุรกิจของพวกเขาเติบโต จากการได้รับการรับรองที่ครบครัน จากชไนเดอร์ อิเล็คทริค ซึ่งเป็นแบรนด์ที่เชื่อถือได้ในหลากหลายแวดวงอุตสาหกรรม

ใบประกาศการรับรองความเชี่ยวชาญของชไนเดอร์ อิเล็คทริค ที่ออกใหม่นี้ มุ่งเน้นไปที่ศูนย์ข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ ดังนั้นโครงการพันธมิตร EcoXpert จึงเหมาะสำหรับพันธมิตรที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ และการสร้างศูนย์ข้อมูล รวมถึงระบบทำความเย็น และพลังงาน ผู้วางระบบ และกระบวนการอัตโนมัติ ผู้รับเหมาระบบไฟฟ้าและด้านเครื่องกล รวมถึงผู้ผู้ให้บริการ

โปรแกรมนี้ออกแบบมาเพื่อให้ความรู้ สนับสนุน และสร้างโอกาสในการทำงานร่วมกัน เพื่อให้ได้รับประโยชน์ใหม่ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการมุ่งเน้นด้านการศึกษาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญนี้ เพื่อตอบสนองความต้องการ ในด้านการฝึกอบรมเฉพาะทางที่เพิ่มมากขึ้น ได้แก่

  • การฝึกอบรมออนไลน์: เส้นทางการฝึกอบรมใหม่ที่มุ่งเน้นไปที่การออกแบบและสร้างโซลูชั่นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ เช่น พลังงาน ระบบทำความเย็น การใช้ซอฟต์แวร์ และโซลูชั่นศูนย์ข้อมูลแบบครบวงจร
  • เครื่องหมายสถานะและใบรับรอง: การให้ใบรับรองที่ได้รับการยอมรับในอุตสาหกรรม เพื่อเป็นข้อพิสูจน์ความสามารถสำหรับสำหรับยืนยันให้กับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย และช่วยให้พันธมิตรมีความโดดเด่นและสร้างความแตกต่างในตลาดได้ดียิ่งขึ้น
  • การเข้าถึงระบบนิเวศของพันธมิตรที่ครอบคลุม: สำหรับความช่วยเหลือและความร่วมมือในการใช้เทคโนโลยีใหม่ในรูปแบบที่ซับซ้อนหรือไม่สามารถจัดการได้โดยลำพัง
  • การเข้าถึงการรับรองลูกค้าเป้าหมายอื่นๆ: การเข้าถึงการรับรองความสามารถอื่นๆ ของชไนเดอร์ อิเล็คทริค และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในส่วนต่างๆ ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสในการพัฒนาความเชี่ยวชาญในการขับเคลื่อนโซลูชั่นดิจิทัล มีประสิทธิภาพ และความยั่งยืนให้กับลูกค้า
  • พอร์ทัลพันธมิตร: ประสบการณ์ออนไลน์ส่วนบุคคลที่ให้การเข้าถึงเนื้อหา เครื่องมือ สิทธิประโยชน์ และการฝึกอบรมทั้งหมด ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวัน
  • การสนับสนุนด้านเทคนิคก่อนการขาย: โปรแกรมการดูแลเฉพาะที่ปรับใช้ในประเทศต่างๆ เพื่อรับประกันการสนับสนุนด้านเทคนิคก่อนการขาย (ระดับ 2 และ 3) เพื่อให้มั่นใจว่าระดับการสนับสนุนที่เหมาะสมแก่ศูนย์ข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญและคู่ค้าที่ได้รับการรับรอง
  • จำหน่ายและดำเนินการบริการ: ศูนย์ข้อมูล EcoXpert และพันธมิตรที่ผ่านการรับรองโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ มีสิทธิ์ซื้อและขายบริการที่มีความแตกต่างด้วยโอกาสที่ลงทะเบียนที่ได้รับอนุมัติ (โปรแกรม ORP)

ข้อมูลที่ทันสมัยของการฝึกอบรมสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านศูนย์ข้อมูล ถือเป็นสิ่งสำคัญเพราะเทคโนโลยีศูนย์ข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การฝึกอบรมและการยกระดับทักษะอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้พันธมิตรช่องทางจำหน่ายมั่นใจได้ว่าทันต่อความล้ำหน้าล่าสุด ช่วยให้พวกเขาสามารถใช้ประโยชน์จากเครื่องมือใหม่ ๆ เพื่อประโยชน์ของลูกค้าของตนเอง

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำเสนอการฝึกอบรมลูกค้าที่มีความยืดหยุ่น และคุ้มค่าสำหรับผลิตภัณฑ์ รวมถึงโซลูชั่นมากมาย โดยการเข้าอบรมหลักสูตรสามารถเลือกได้ตามสะดวก ทั้งการฝึกอบรมออนไลน์ การฝึกอบรมแบบเวอร์ชวล รวมถึงในชั้นเรียน พันธมิตรที่สนใจสามารถเข้าถึงชุมชนการเรียนรู้ของชไนเดอร์ อิเล็คทริค เพื่อดูกำหนดการและสถานที่ในพื้นที่ใกล้เคียง พันธมิตรสามารถเข้าร่วมโปรแกรมพันธมิตร EcoXpert™ ได้ที่นี่

#partnerprogram #ecoxpert #datacenter #criticalinfrastructure


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

Startup ของ ม.ขอนแก่น Lily Pharma ผลิตปุ๋ยน้ำนาโน N P K เพื่อลดปัญหา Climate Change มาเลเซียขอร่วมทุนตั้งโรงงานทันที

วันที่ 23 พ.ค. 2567 ที่ห้องประชุมสายสุรี จุติกุล มหาวิทยาลัยขอนแก่น นายสุรพล เพชรวรา อุปนายกสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ให้สัมภาษณ์ว่า มหาวิทยาลัยมีนโยบายส่งเสริมการถ่ายทอด Technical Khow How จากมหาวิทยาลัย ไปสู่ภาคเอกชน เพื่อนำออกสู่อุตสาหกรรม ด้วยการทำวิจัยและพัฒนาสำหรับอุตสาหกรรมที่ต้องใช้องค์ความรู้ชั้นสูง พร้อมทั้งออกแบบและผลิตเครื่องจักรที่ต้องใช้ในอุตสาหกรรมนั้นให้กับภาคเอกชนที่ต้องการนำไปผลิตและทำการตลาด เพราะเราเชื่อว่าภาคเอกชนมีความชำนาญมากกว่าที่เราจะทำเองทุกอย่าง

มากไปกว่านั้น มหาวิทยาลัยได้มุ่งมั่นที่จะถ่ายทอดงานวิจัยและพัฒนาไปสู่ระดับโลก เราจึงได้คัดเลือกผู้ประกอบการประเทศมาเลเซียมาร่วมทุนก่อตั้ง Holding company ปุ๋ยน้ำนาโนซึ่งเป็นการถือหุ้นระหว่าง Lily Pharma จำนวนหุ้น 40% กับ Einstein Nanoscience Sdn. Bhd. จำนวนหุ้น 60% โดยจะตั้งโรงงานผลิตที่รัฐมะละกา ประเทศมาเลเซีย

แนวคิดนี้จะทำให้ทางเราเน้น R&D ของปุ๋ยน้ำนาโนและผลิตเครื่องจักรเป็นหลัก ส่วนทางมาเลเซียจะเน้น เรื่องการผลิตและขยายการลงทุนไปประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ทั้งนี้ เพราะเราเชื่อว่าทีมงานของเขาสามารถพูดและเขียนได้ดีทั้ง มาเลย์ จีน และอังกฤษ ซึ่งจะทำให้สามารถจัดหาบุคลากรที่มีความพร้อมในการดำเนินงานอย่างรวดเร็ว ผลที่ตามมาก็คือจะทำให้มหาวิทยาลัยนำผลงานวิจัยออกสู่ตลาดโลกได้อย่างจริงจัง

ทางด้าน รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้กล่าวถึงนโยบายการตั้งStartup แนวใหม่ เพื่อให้มีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่าแบบเดิมว่า เราคัดเลือกบริษัทเอกชนที่มีความสามารถในด้านการจัดการและเข้าใจในเทคโนโลยี เช่น Biotech โดยการจัดตั้ง Holding company ที่ บ. มิสลิลลี่ จำกัด ถือหุ้น 51% มหาวิทยาลัยถือหุ้น 49% โดย Holding company นี้ จะไปจัดตั้งบริษัท Startup เพื่อดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์และจัดตั้งห้องปฏิบัติการในมหาวิทยาลัยโดยมีนักวิจัยที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกเป็นผู้ทำงานวิจัยตั้งแต่ต้นจนออกสู่ผลิตภัณฑ์ ส่วนมหาวิทยาลัยมีบทบาทในการสนับสนุน ให้คำปรึกษาพร้อมอำนวยความสะดวกในการใช้เครื่องมือต่างๆ และการทดสอบทางวิชาการ และเมื่อเราจะขยายการผลิตไปสู่อุตสาหกรรม ทางบริษัท Startup จะเป็นผู้วิจัยประดิษฐ์เครื่องจักรในการผลิตพร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับภาคเอกชนที่ต้องการลงทุนในอุตสาหกรรมนั้นๆได้ทันที โดยที่เราเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกที่ทำงานวิจัยสู่อุตสาหกรรมแบบสำเร็จรูป และเข้าร่วมถือหุ้นในโครงการนั้นเพื่อสร้างความมั่นใจในการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องให้กับภาคเอกชน

รศ.นพ.ชาญชัยยังกล่าวต่ออีกว่า ความสำเร็จในโครงการปุ๋ยน้ำนาโน ปัจจัยหนึ่งมาจากเครื่อง Nano Homogenizer แบบอุตสาหกรรม ซึ่งถูกนำมาทำให้ Chitosan มีขนาดต่ำกว่า 100 นาโนเมตร โดยครั้งนี้ เราได้สร้าง Nano Homogenizer ขนาด 2,000 ลิตร ซึ่งเป็นขนาดใหญ่สุดในอุตสาหกรรมที่มีอยู่ นอกจากนี้ โครงการปุ๋ยน้ำนาโน ยังสนับสนุนนโยบาย BCG economy ซึ่งเป็นการผลิตปุ๋ยน้ำนาโนที่ไม่มีของเสียหรือขยะ และช่วยปรับปรุงและลดความเป็นพิษในดิน ทำให้ปลูกพืชได้อย่างยั่งยืน

ดร.นพรัตน์ อินทร์วิเศษ Chief R&D Officer ของ Lily Pharma กล่าวถึงเรื่องการใช้ปุ๋ยเม็ดมีการสูญเสียธาตุอาหารไปในอากาศ น้ำ และ ดิน ซึ่งธาตุไนโตรเจน (N) ประมาณ 60-70% ส่วน ฟอสฟอรัส (P) และ โพแทสเซียม (K) สูญเสียถึง 80% ซึ่งทำให้เกิดผลเสียต่ออากาศ น้ำ และ ดิน นอกจากนี้ ในการผลิตปุ๋ยยูเรียจำเป็นต้องใช้แอมโมเนีย ในการผลิตต้องใช้พลังงานสูงและมีการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จำนวน 1.8% ของปริมาณทั้งโลก (Royal Society) และการใส่ปุ๋ยยูเรีย จุลินทรีย์ในดินจะทำการย่อยแล้วทำให้เกิดก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N2O) ปล่อยขึ้นสู่อากาศประมาณ 312 ล้านเมตริกตันต่อปี (EPA greenhouse gas explorer) และทั่วโลกมีนโยบายที่จะลดการใช้ปุ๋ยเคมีลง 20%

เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เราจึงมีแนวคิดที่จะผลิตตปุ๋ยน้ำนาโนที่ลดการใช้ธาตุ N P Kและอยู่ในดินได้นานแม้อยู่ในสภาวะที่อากาศร้อนมาก โดยมี Nano Chitosan เป็นตัวอุ้มธาตุอาหารไว้ และพืชสามารถนำปุ๋ยน้ำนาโนไปใช้เมื่อต้องการ เราเรียกว่า On Demand Fertilizer ซึ่งจะแตกต่างกับปุ๋ยเม็ดแบบ Slow release ที่ปล่อยออกมาอย่างช้าๆ ตลอดเวลา แม้พืชไม่ได้ต้องการก็ตาม ดังนั้นเราจึงเป็นประเทศแรกของโลกที่ใช้เทคโนโลยีนี้

นอกจากนี้ ผศ.ดร. จิรวัฒน์ สนิทชน อาจารย์สาขาพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ทำการวิจัยเพื่อทดสอบการเจริญเติบโตของข้าวพันธุ์ มข-60-1 ระหว่างปุ๋ยน้ำนาโน Nitrogen ของ Lily Pharma และปุ๋ยเม็ดยูเรียในแปลงทดลอง พบว่า การใช้ปุ๋ยน้ำนาโน Nitrogen ในอัตรา 0.66 Kg N/ไร่ สามารถส่งเสริมศักยภาพด้านลักษณะทางการเกษตร เช่น จำนวนหน่อต่อต้น ความสูงต้น ความยาวรวง ค่าดัชนีการเก็บเกี่ยว น้ำหนัก 1000 เมล็ด ขนาดเมล็ด และความหอมของข้าวไม่แตกต่างจากการใช้เม็ดปุ๋ยยูเรียที่ 9.2 Kg N/ไร่ ซึ่งเป็นการใช้ปุ๋ยน้ำนาโน Nitrogen น้อยกว่าปุ๋ยเม็ดยูเรียถึง 14 เท่า

พร้อมกันนี้ ผศ.ดร. ชานนท์ ลาภจิตร หัวหน้าภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ทำการทดสอบปุ๋ยน้ำนาโน Nitrogen ของ Lily Pharma ต่อการเจริญเติบโตของต้นกล้ากัญชง พบว่า การใช้ปุ๋ยน้ำนาโน Nitrogen ที่ความเข้มข้นของไนโตรเจน น้อยกว่าปุ๋ยเม็ด สูตร 21-0-0 ที่ 0.5 เท่าหรือครึ่งหนึ่ง ทำให้ต้นกล้ากัญชงมีความสูง ความกว้างของใบ ความยาวใบ เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น ค่าเฉลี่ยปริมาณคลอโรฟิลล์สูงกว่าการฉีดพ่นด้วยปุ๋ยเม็ดละลายน้ำ

นอกจากนี้ยังได้ทำการทดลองในผักสลัดเรดโอ๊คโดยใช้ระบบน้ำหยด ปลูกกลางแจ้งในเดือนมีนาคม 2567 พบว่าการใช้ปุ๋ยน้ำนาโน Nitrogen ที่ความเข้มข้นต่ำกว่าปุ๋ยเม็ดสูตร 21-0-0 ละลายน้ำ 15 เท่า ยังทำให้ต้นสลัดเรดโอ๊คมีอัตราการเจริญเติบโตได้ดีกว่าปุ๋ยเม็ดละลายน้ำ

ผู้ร่วมทุนจากประเทศมาเลเซีย คุณ Ng Kim Yun, CEO บริษัท Einstein Nanoscience Sdn Bhd ได้กล่าวว่า รัฐบาลมาเลเซีย “มาดานิ” ภายใต้นายกรัฐมนตรี Datuk Seri Anwar เสนอความช่วยเหลือให้กับนักลงทุนด้านเทคโนโลยีชั้นสูงอย่างเต็มที่ ซึ่งผลิตภัณฑ์ปุ๋ยน้ำนาโนนี้จะช่วยให้เกษตรกรสร้างรายได้ที่มากขึ้นเนื่องมาจากประสิทธิผลที่ดีและในราคาที่คุ้มค่า

Ng Kim Yun ยังอธิบายเพิ่มเติมว่า บริษัท ของเขาซื้อ Khow how และร่วมลงทุนกับ Lily Pharma ซึ่งเราจะใช้เทคโนโลยีและเครื่องจักรทั้งหมดจาก Lily Pharma ส่วนวัตถุดิบเกือบทั้งหมดจัดหาในประเทศมาเลเซีย เราจะผลิตปุ๋ยน้ำนาโน N P K ครบวงจร รวมถึงธาตุอาหารเสริมที่ช่วยทำให้พืชแต่ละชนิดให้ผลผลิตที่ดีขึ้น โดยมีกำลังการผลิตอยู่ที่ 10,000 ลิตรต่อวัน และสามารถเพิ่มได้ถึง 20,000 ลิตรต่อวัน

เกี่ยวกับบทบาทของบริษัทร่วมทุน Ng Kim Yun บอกว่า เราได้ตกลงกับทางฝ่ายไทย ให้มาเลเซียเป็นบริษัทแม่หรือสำนักงานใหญ่ของธุรกิจนี้ ดังนั้น ทางมาเลเซียต้องมีหน้าที่ขยายการลงทุนไปยังประเทศอื่นๆ ทั่วโลก โดยทางฝ่าย Lily Pharma ทำหน้าที่ R& D และพัฒนาเครื่องจักรอย่างต่อเนื่อง การลงทุนโดยรวมในครั้งนี้ อยู่ที่ประมาณ MYR 10 ล้าน และภายใน 3 ปี การลงทุนของกลุ่มเราจะอยู่ที่ประมาณ MYR 30 ล้าน


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ซีพีเอฟ ไว้วางใจ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ร่วมมือเดินหน้าเพิ่มศักยภาพการผลิต เพื่อประสิทธิภาพสูงสุด

นายมงคล ตั้งศิริวิช ประธานกลุ่มคลัสเตอร์ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ดูแลประเทศไทย ลาว เมียนมา ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง กับ นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ในการยกระดับการใช้ระบบอัตโนมัติในการดำเนินธุรกิจ เพิ่มทักษะด้านเทคโนโลยีอัตโนมัติให้กับบุคลากร สนับสนุนอุปกรณ์ เครื่องมือ ผู้เชี่ยวชาญ และร่วมพัฒนาเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ รวมถึงระบบบริหารจัดการ/ประหยัดพลังงานต้นแบบ สำหรับกระบวนการต่างๆ ในฟาร์ม และโรงงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้เกิดประโยชน์สูงสุด

เพื่อช่วยให้องค์กรของลูกค้าสามารถขับเคลื่อนธุรกิจ พร้อมๆ กับการสร้างความยั่งยืน ชไนเดอร์ อิเล็คทริค จึงคิดค้นเทคโนโลยีดิจิทัลแบบเปิดที่สามารถประยุกต์ใช้ได้กับทุกธุรกิจ และอุตสาหกรรม โดยมุ่งเน้นไปสู่การบรรลุเป้าหมายในการสร้างความยั่งยืน สามารถให้ข้อมูลเชิงลึกและวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพในแบบเรียลไทม์ ลดกระบวนการทำงานที่ซ้ำซ้อน ลดต้นทุนด้านการซ่อมบำรุง และที่สำคัญช่วยให้สามารถใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นายมงคล ตั้งศิริวิช ประธานกลุ่มคลัสเตอร์ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ดูแลประเทศไทย ลาว เมียนมา เผยว่า “เรารู้สึกยินดีที่ได้รับความไว้วางใจจาก ซีพีเอฟ ในการร่วมมือกันพัฒนาเทคโนโลยีอัตโนมัติด้านอุตสาหกรรมอาหาร โดยการลงนามบันทึกความร่วมมือในครั้งนี้ มุ่งเน้นในการยกระดับระบบอัตโนมัติของซีพีเอฟ ร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับกระบวนการต่างๆ ทั้งในฟาร์ม และโรงงาน นอกจากนี้ เรายังมีความพร้อมในการถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านผู้เชี่ยวชาญของเรา ที่มีประสบการณ์จากทั่วโลก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน”


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

เดลล์ เทคโนโลยีส์ ขยาย Dell AI Factory ด้วย NVIDIA ช่วยให้ใช้งาน AI ได้เร็วราวกับติดเทอร์โบ

เดลล์ เทคโนโลยีส์ ขยายศักยภาพ Dell AI Factory ด้วย NVIDIA เสริมความล้ำหน้าทั้งในส่วนเซิร์ฟเวอร์ใหม่ เอดจ์ เวิร์กสเตชัน โซลูชันและบริการต่างๆ เพื่อช่วยให้นำนวัตกรรม รวมถึง AI ไปใช้งานได้อย่างรวดเร็ว

“องค์กรต่างๆ กำลังเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วเพื่อคว้าโอกาสจาก AI  จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้การร่วมมือกับ NVIDIA มีความสำคัญมาก” ไมเคิล เดลล์ ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ เดลล์ เทคโนโลยีส์ กล่าว “การขยาย Dell AI Factory ด้วย NVIDIA ยังคงเป็นภารกิจร่วมกันของเรา ซึ่งเรากำลังช่วยให้องค์กรต่างๆ นำ AI ไปใช้งานได้ง่าย เพื่อให้องค์กรเหล่านี้สามารถก้าวสู่การปฏิวัติทางเทคโนโลยีได้อย่างเต็มขั้น”

“Generative AI ต้องอาศัยโครงสร้างพื้นฐานการประมวลผลรูปแบบใหม่ เพื่อใช้เป็นโรงงาน AI ที่สร้างความฉลาด” เจนเซ่น หวง ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ NVIDIA กล่าว “NVIDIA และ Dell กำลังมอบบริการ Dell AI Factory ด้วย NVIDIA อย่างเต็มรูปแบบ ครอบคลุมทั้งเรื่องการประมวลผล เครือข่าย และซอฟต์แวร์ ที่ช่วยให้ใช้ copilots โปรแกรมช่วยเขียนโค้ด ระบบให้บริการลูกค้าผ่านออนไลน์ได้แบบเสมือนจริง (virtual customer service agents) รวมถึงระบบ digital twins ในอุตสาหกรรมสำหรับองค์กรดิจิทัล”

Dell AI Factory with NVIDIA เปลี่ยนข้อมูลธรรมดาให้เป็นข้อมูลเชิงลึกพร้อมมอบผลลัพธ์

Dell AI Factory with NVIDIA ผสานรวมสายผลิตภัณฑ์ด้าน AI ชั้นนำของเดลล์ เข้ากับซอฟต์แวร์ NVIDIA AI Enterprise ที่ใช้ GPU NVIDIA Tensor Core โครงสร้างการเชื่อมต่อเครือข่าย NVIDIA Spectrum-X Ethernet และ NVIDIA Bluefield DPUs ทั้งนี้ ลูกค้าสามารถซื้อความสามารถแบบผสมผสานที่ตรงต่อความต้องการ หรือโซลูชันในชุดสมบรูณ์เพื่อเริ่มใช้ AI สำหรับกรณีการใช้งานที่ต้องการเร่งประสิทธิภาพให้เร็วขึ้น เช่น RAG, การฝึกโมเดล (model training) และการอนุมาน หรือการทำinferencing  ความล้ำหน้าของ Dell AI Factory with NVIDIA ช่วยองค์กรในเรื่องต่อไปนี้

ใช้พลังการประมวลผลขั้นสูงเพื่อรองรับการใช้งาน AI ในสเกลใหญ่

  • เซิร์ฟเวอร์Dell PowerEdge XE9680L ใหม่ ให้ประสิทธิภาพสูงพร้อมรองรับ GPU สถาปัตยกรรม NVIDIA Blackwell 8 ด้วยตัวเครื่อง 4U ในขนาดที่เล็กลง โดยเป็นเซิร์ฟเวอร์ที่ให้ความหนาแน่นสูงสุดในการขยายแร็คสำหรับ GPU NVIDIA Blackwell ตามขนาดมาตรฐานอุตสาหกรรม ให้ความหนาแน่นของ GPU มากขึ้น 33% ต่อแร็ค โดยให้พื้นที่ในการขยายมากถึง 50% สำหรับ I/O และ throughput ที่เพิ่มขึ้น

การระบายความร้อนด้วยของเหลวโดยตรง (DLC) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวม ด้วยความสามารถในการระบายความร้อนมากขึ้นสำหรับ CPU และ GPU ซึ่งเซิร์ฟเวอร์ PowerEdge XE9680L ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้สามารถบำรุงรักษาได้ง่าย และพร้อมใช้งานได้อย่างเต็มรูปแบบ เพราะมีการตั้งค่าการใช้งานขั้นสูงมาจากโรงงานเพื่อรองรับการขยายแร็คและติดตั้งใช้งานในสถานที่ได้ทันที

นอกจากนี้ เดลล์ ยังเสนอโซลูชัน rack-scale แบบ turnkey ที่ให้ความหนาแน่นมากที่สุดและให้ประสิทธิภาพพลังงานมากที่สุดในอุตสาหกรรม ช่วยเร่งการใช้ GPU ขนาดใหญ่ได้อย่างรวดเร็ว ให้ทางเลือกการใช้งานได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะดีไซน์ที่ระบายความร้อนด้วยอากาศที่รองรับ GPU 64 ตัวในแร็คเดียว หรือรูปแบบที่ระบายความร้อนด้วยของเหลวที่มี GPU Blackwell NVIDIA 72 ตัวในแร็คเดียว

เร่งการนำแอปพลิเคชัน AI มาใช้ได้เร็วขึ้นด้วย Dell NativeEdge and NVIDIA

  • Dell NativeEdge เป็นเครื่องมือประสานการทำงานร่วมกับเอดจ์ตัวแรก ที่ช่วยให้ใช้ซอฟต์แวร์ NVIDIA AI Enterprise ได้แบบอัตโนมัติ ช่วยให้นักพัฒนาและผู้ดำเนินงาน IT สามารถใช้แอปพลิเคชัน AI และโซลูชันที่เอดจ์ได้อย่างง่ายดาย ช่วยให้บรรดาธุรกิจตั้งแต่ผู้ผลิตตลอดจนผู้ค้าปลีกสามารถวิเคราะห์ข้อมูลที่เอดจ์ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำด้วยการใช้ต้นแบบ Dell NativeEdge ใหม่ที่ครอบคลุมการวิเคราะห์วิดีโอ NVIDIA Metropolis  และความสามารถด้านการพูดและแปลของ NVIDIA Riva รวมถึงไมโครเซอร์วิส NVIDIA NIM inference

พัฒนาและใช้แอปพลิเคชัน AI ได้ง่ายขึ้นและเร็วขึ้น ได้รับคุณค่าเร็วขึ้น

  • โซลูชันDell Generative AI Solutions for Digital Assistants ใหม่ช่วยให้ใช้งานระบบผู้ช่วยดิจิทัลได้เร็วขึ้น โดยช่วยให้ผู้ใช้ได้ประสบการณ์ในการให้บริการที่ตรงความต้องการได้ด้วยตัวเอง ด้วยการใช้โซลูชันเต็มรูปแบบของ Dell และ NVIDIA โดย Implementation Services for Digital Assistants ซึ่งเป็นบริการติดตั้งเพื่อใช้งานผู้ช่วยดิจิทัล จะช่วยให้องค์กรออกแบบ วางแผน ทดสอบ และปรับขยายการใช้โซลูชันได้อย่างเหมาะสมได้ด้วยตัวเอง
  • โซลูชันDell AI Factory with NVIDIA ช่วยให้องค์กรสามารถสร้างสภาพแวดล้อม AI ได้อย่างรวดเร็วสำหรับกรณีการใช้งานที่หลากหลายด้วยการปรับใช้ระบบอัตโนมัติอย่างเต็มรูปแบบซึ่งเป็นการวางวิศวกรรมร่วมกับ NVIDIA โดยระบบอัตโนมัติเต็มรูปแบบจะช่วยลดเวลาลูกค้าได้สูงสุดถึง 86%  และเมื่อใช้ร่วมกับ NVIDIA Inferencing Microservices (NIMs) ก็จะช่วยลดเวลาโดยรวมไปได้อีกในการทำอนุมานเพื่อหาข้อสรุป หรือการทำ inferencing
  • บริการDell Accelerator Services ใหม่ สำหรับ RAG บนเวิร์กสเตชัน AI ช่วยลดระยะเวลาการพัฒนา AI และช่วยให้ใช้แอปพลิเคชัน AI ได้ผลดียิ่งขึ้น ด้วยโมเดลภาษาขนาดใหญ่ที่จำลองให้ตรงต่อความต้องการ ด้วยการใช้ RAG บนเวิร์กสเตชัน Dell Precision พร้อมด้วยชุดเครื่องมือ  เพื่อทำการสร้างต้นแบบเพื่อทดสอบความเป็นไปได้ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยได้อย่างรวดเร็ว

“การวิจัยของเราพบว่า หลายองค์กรต้องการให้ระบบไอทีใช้งานง่าย แต่ยังประสบปัญหาอยู่ ซึ่งแม้ว่า AI จะให้ความเรียบง่ายในการใช้งานได้ก็ตาม แต่ในตัวมันเองก็มีความซับซ้อนอยู่ เช่น ทางเลือก คุณภาพของข้อมูล ความเสถียร และความปลอดภัย การมีร้านค้าแบบ one-stop shop ที่ได้รับการยอมรับมาช่วยดูแลเรื่องระบบโครงสร้าง ซอฟต์แวร์ และการบริการ ต้องเข้าใจถึงคุณค่าของ AI ในการช่วยลดความเสี่ยงและลดค่าใช้จ่ายได้” เดฟ เวลลานเต้ หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์ theCUBE Research กล่าว “ความสามารถที่ครบวงจรของเดลล์ คือจุดที่สร้างความแตกต่างที่ทำให้เรามั่นใจในการเปลี่ยนไปใช้ AI  ซึ่ง Dell AI Factory with NVIDIA คือตัวอย่างชั้นเยี่ยมของโซลูชัน AI ที่ออกแบบมาเพื่อให้ใช้งานง่ายสำหรับเวิร์กโหลด AI ที่เกิดขึ้นใหม่” 

การวางจำหน่าย

  • เซิร์ฟเวอร์Dell PowerEdge XE9680L จะวางจำหน่ายในครึ่งหลังของปี 2024
  • แบบจำลองการใช้Dell NativeEdge สำหรับ NVIDIA จะพร้อมให้ใช้งานได้ทั่วโลกตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2024
  • Dell Generative AI Solutions for Digital Assistants และ Implementation Services for Digital Assistant พร้อมใช้งานในอเมริกาเหนือแล้วตอนนี้
  • ความสามารถในการใช้งานDell AI Factory with NVIDA แบบอัตโนมัติ จะให้บริการผ่าน Dell professional services ในช่วงครึ่งหลังของปี 2024 สำหรับ NVIDIA NIMs พร้อมให้บริการแล้วในปัจจุบัน
  • Dell Accelerator Services สำหรับ RAG บน Precision AI Workstations พร้อมให้บริการปลายเดือนพฤษภาคมเฉพาะบางประเทศในอเมริกาเหนือ ยุโรป ตะวันออกกลางและแอฟริกา รวมถึงเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น

เกี่ยวกับเดลล์ เทคโนโลยีส์

เดลล์ เทคโนโลยีส์ ช่วยให้องค์กรธุรกิจและปัจเจกบุคคลสามารถสร้างอนาคตทางดิจิทัล พร้อมทั้งช่วยในการปฏิรูปทั้งรูปแบบการทำงาน การดำเนินชีวิตและการพักผ่อน เดลล์ เทคโนโลยีส์ ให้การดูแลสนับสนุนลูกค้าด้วยสายผลิตผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีและการบริการที่กว้างที่สุดและมีความเป็นนวัตกรรมอย่างสูงสุดในยุคของข้อมูล


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ดีเคเอสเอช เดินหน้ายกระดับการดูแลสุขภาพคนไทย ประกาศแผนยุทธศาสตร์ผลักดัน Digital Transformation เต็มรูปแบบ

กรุงเทพฯ 24 พฤษภาคม 2567 – หน่วยธุรกิจผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ บริษัท ดีเคเอสเอช (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำในการให้บริการด้านการขยายตลาดแก่ธุรกิจในภูมิภาคเอเชียและทั่วโลก เผยความพร้อมในการผลักดัน Digital Transformation สู่ระบบบริการสาธารณสุขไทย เพื่อเตรียมรับมือกับความท้าทายด้านสุขภาพในอนาคต โดยเฉพาะสถานการณ์สังคมสูงวัยและบริการสุขภาพขั้นปฐมภูมิที่มีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีโรงพยาบาลศิริราชเป็นต้นแบบความร่วมมือในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อยกระดับกระบวนการบริหารจัดการสุขภาพแบบครบวงจร

ในขณะที่ประเทศไทยต้องเผชิญกับความท้าทายจากการเป็นหนึ่งในประเทศที่ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยเร็วที่สุดในโลก พร้อมกับภาวะของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ที่เพิ่มสูงขึ้น และความพยายามในการจัดการระบบสาธารณสุขเนื่องจากปริมาณบุคลากรที่มีจำกัดและภาระหน้างาน ทำให้ความสำคัญของ Digital Transformation จึงมีบทบาทชัดเจนยิ่งขึ้น ดีเคเอสเอช มุ่งมั่นที่จะลดภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์และเสริมสร้างประสบการณ์ของผู้ป่วยโดยรวม ด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ยิ่งไปกว่านั้น โซลูชันนวัตกรรมที่ ดีเคเอสเอช นำมาใช้ไม่เพียงแต่มุ่งเน้นที่ประสิทธิภาพเท่านั้น แต่ยังยกระดับมาตรฐานการดูแลผู้ป่วย และบรรลุเป้าหมายสูงสุดของบริษัทฯ ในการเพิ่มคุณค่าให้แก่ชีวิตผู้คน และช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพได้อย่างทั่วถึง

การผลักดันให้เกิด Digital Transformation ในระบบบริการสาธารณสุข นำมาซึ่งอรรถประโยชน์ มากมาย ตั้งแต่การดำเนินงานที่ราบรื่นไปจนถึงประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยที่ดีขึ้น ซึ่ง ดีเคเอสเอช มีความมุ่งมั่นในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงนี้ โดยเตรียมพร้อมที่จะเปิดตัวโครงการและนำเสนอความคิดริเริ่มต่างๆ อันมีเป้าหมายสำคัญคือการส่งเสริมวงการดูแลสุขภาพให้กับคนไทย สำหรับความร่วมมือกับโรงพยาบาลศิริราชนั้น จะมุ่งเน้นไปที่การบูรณาการดิจิทัลโซลูชันของระบบจัดซื้อและชำระเงิน ซึ่งเป็นมาตรการที่เสริมสร้างประสิทธิภาพและความสะดวกสบายในการทำธุรกรรม

ผศ.นพ.สมเกียรติ อรุณพฤกษากุล รองคณบดีฝ่ายทรัพย์สินและพัสดุ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า “ความร่วมมือกับ ดีเคเอสเอช ในครั้งนี้ได้ส่งเสริมและผลักดันระบบชำระเงินรูปแบบดิจิทัลซึ่งเอื้ออำนวยให้การทำธุรกรรมมีความเชื่อมโยงและคล่องตัวมากขึ้นทั้งในด้านความสะดวกรวดเร็ว ปลอดภัย และต้นทุนที่เหมาะสม ความสำเร็จในครั้งนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการต่อยอดให้กับองค์กร เป็นต้นแบบให้แก่หน่วยงานอื่นๆ และสนับสนุนบริการจากภาครัฐฯ โดยเฉพาะโรงเรียนแพทย์ในประเทศไทย ซึ่งการบูรณาการเทคโนโลยีและข้อมูลในระบบการชำระเงินทางดิจิทัลอย่างต่อเนื่องไม่เพียงแต่ช่วยให้กระบวนการทำงานราบรื่นขึ้น แต่ยังช่วยปรับปรุงประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยให้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย”

นายแพทริค แกรนเด รองประธานฝ่ายบริหาร หน่วยธุรกิจผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ บริษัท ดีเคเอสเอช (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “เราภูมิใจที่สามารถครองตำแหน่งพันธมิตรด้านการขยายตลาดการดูแลสุขภาพอันดับหนึ่งในประเทศไทย ทั้งในด้านยาและเวชภัณฑ์ เป็นการตอกย้ำความมุ่งมั่นในการพัฒนาวงการสุขภาพของประเทศ โดยความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับโรงพยาบาลศิริราชแสดงถึงความทุ่มเทอย่างต่อเนื่องของ ดีเคเอสเอช ในการผลักดัน Digital Transformation ให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งจะปูทางไปสู่ระบบสุขภาพที่ยืดหยุ่นและยั่งยืนยิ่งขึ้น”

นางภรณี ดาลิลีโอ รองประธานกรรมการบริหาร ฝ่ายการเงินประเทศไทย กล่าวว่า “โซลูชันการชำระเงินดิจิทัลที่เรานำเสนอในวันนี้ ถูกออกแบบมาเพื่อปรับปรุงกระบวนการทำธุรกรรมทางการเงินและการจัดสรรทรัพยากรทางการแพทย์อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งสะท้อนถึงความมุ่งมั่นของ ดีเคเอสเอช ในการส่งเสริมประสิทธิภาพและความโปร่งใสในทุกด้านของการให้บริการด้านสุขภาพ นำมาซึ่งคุณภาพสูงสุดในการดูแลผู้ป่วย”

ดีเคเอสเอช ยังคงมุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนนวัตกรรมและความร่วมมือในการดูแลสุขภาพ เพื่อเพิ่มการเข้าถึง ประสิทธิภาพ และคุณภาพ ของการดูแลสุขภาพสำหรับทุกคน ด้วยการเดินหน้าพัฒนาดิจิทัลโซลูชันและสร้างความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับพันธมิตรต่างๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างอนาคตที่สดใสสำหรับวงการสุขภาพของประเทศไทย


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

เมโทรซิสเต็มส์ฯ เปิดตัวเครื่องพิมพ์ 3 มิติรุ่นใหม่ UltiMaker Factor 4 ครั้งแรกในอาเซียน

บริษัท เมโทรซิสเต็มส์คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ MSC ผู้นำในธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศครบวงจร โดย กลุ่มธุรกิจซอฟต์แวร์โซลูชั่น แผนก Design & Engineering Solutions (DES) ผู้จัดจำหน่ายเครื่องพิมพ์ 3 มิติที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการจากแบรนด์ UltiMaker จัดงานเปิดตัว “Open House UltiMaker Factor 4 in Thailand” ครั้งแรกในประเทศไทยพร้อมเปิดตัวเครื่องพิมพ์ 3 มิติ รุ่นใหม่ล่าสุด จากประเทศเนเธอร์แลนด์ เมื่อวันพุธที่ 15 พฤษภาคม 2567 ณ อาคาร SM Tower ชั้น 16 ห้องประชุม BPC (BTS สนามเป้า) และร่วมรับชมผ่านทาง Facebook LIVE  Metro-3D Printer & 3D Scanner 

งาน “Open House UltiMaker Factor 4 in Thailand” จัดขึ้นเพื่อนำเสนอเทคโนโลยีที่น่าสนใจจากแบรนด์ UltiMaker ผู้นำด้านเทคโนโลยีและโซลูชันการพิมพ์ 3 มิติ แบบ Desktop จากประเทศเนเธอร์แลนด์  ภายในงานได้รับเกียรติจาก คุณณัฐพล เนตรมุกดา, Assistant Vice President of Design & Engineering Solution บริษัท เมโทรซิสเต็มส์คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และ Mr. Chevy Kok, Vice President, Asia – Pacific จาก UltiMaker ร่วมนำเสนอโซลูชันเทรนด์การพิมพ์ 3 มิติยุคใหม่ พร้อมเปิดตัวผลิตภัณฑ์ “UltiMaker Factor 4” เครื่องพิมพ์ 3 มิติรุ่นใหม่ล่าสุดสำหรับภาคอุตสาหกรรม โดย คุณจักรพงศ์ เชื้อทองคำ Additive Manufacturing Manager บริษัท เมโทรซิสเต็มส์คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ร่วมนำเสนอฟังกชันการใช้งานแบบเจาะลึก โดยมี คุณอารยะ สงบพันธ์ Marketing Manager บริษัท เมโทรซิสเต็มส์คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ดำเนินรายการ

“UltiMaker Factor 4” เครื่องพิมพ์ 3 มิติรุ่นใหม่ล่าสุดสำหรับภาคอุตสาหกรรม มาพร้อมกับ HT Print Core แบบใหม่ที่รองรับการใช้งานอุณหภูมิที่สูงขึ้นถึง 340°C ช่วยให้สามารถพิมพ์วัสดุคุณภาพสูงได้มากยิ่งขึ้น เช่น วัสดุใหม่ อย่าง PPS Carbon Fiber วัสดุทนความร้อนที่ให้คุณภาพเทียบเท่ากับเหล็กหรืออะลูมิเนียม ซึ่งเหมาะสำหรับการใช้งานที่หลากหลายมากยิ่งขึ้นในอุตสาหกรรม 

ด้วยนวัตกรรมล่าสุดของ 3D Printer รุ่นใหม่ UltiMaker Factor 4 เครื่องพิมพ์รุ่นนี้รองรับการพิมพ์ขนาดใหญ่ในขนาด 330 มม. x 240 มม. x 300 มม. โดยการผสมผสานเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ 3 มิติระดับอุตสาหกรรมของ UltiMaker ที่ตอบรับความต้องการของ Industry 4.0 เพิ่มความคล่องตัวในการพิมพ์ ลดขั้นตอนในการทำงาน และสามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง รองรับการพิมพ์ด้วยวัสดุทางวิศวกรรมที่มากกว่า มาพร้อมกับระบบฉีดเส้นแบบ Direct Drive Dual Extrusion อีกทั้งยังมีระบบรายงานการพิมพ์ และนวัตกรรมอื่นๆ อีกมากมายด้วยเช่นกัน

UltiMaker Factor 4 ช่วยยกระดับการทำงานในกระบวนการผลิต เหมาะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม มีระบบเปลี่ยนวัสดุอัตโนมัติ รักษาคุณภาพของเส้นวัสดุ ด้วยการออกแบบให้มีการควบคุมอุณหภูมิทำให้มั่นใจในผลลัพธ์ที่ต้องการได้ ไม่ว่าจะเป็นชิ้นงานที่ซับซ้อนและยากขนาดไหนก็ตาม รวมถึงมีระบบอัตโนมัติในการเปลี่ยนวัสดุไม่ว่าจะ Load หรือ Unload (ใส่ได้ 6 ม้วน)

ด้วยหน้าจอสัมผัสขนาด 7 นิ้ว ระยะไกล และ UltiMaker Factor 4 ใช้ระบบแกนขับเคลื่อนแบบ  H-Bridge พร้อมระบบหัวฉีดแบบ Direct Drive  ช่วยให้พิมพ์สองวัสดุได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้ง Factor 4 ยังสามารถพิมพ์ได้ที่อุณหภูมิสูงสุดถึง 340°C, รักษาอุณภูมิภายใน 70°C และเพิ่มอุณหภูมิ Build Plate ได้มากสุดถึง 120°C และนั้นเป็นเพียง Feature บางส่วนของ UltiMaker Factor 4

3D Printing ถือเป็นหนึ่งในโซลูชั่นที่สำคัญในการพัฒนา และยกระดับอุตสาหกรรมในประเทศให้เป็น Smart Factory ด้วยนวัตกรรมที่ทำให้การผลิตชิ้นงานที่มีความซับซ้อนได้ง่าย พร้อมลดต้นทุนในการผลิต UltiMaker Factor 4 จึงสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าด้านงานพิมพ์ 3 มิติคุณภาพสูงได้อย่างครบวงจร ทั้งบริการให้คำปรึกษาการใช้งาน และการบำรุงรักษา โดย บริษัท เมโทรซิสเต็มส์คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นตัวแทนจำหน่ายเพียงรายเดียวที่มีเครื่องจริงให้ทดลองใช้ได้แล้ววันนี้

สอบถามข้อมูลผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมโปรดติดต่อได้ที่ โทร.02-0894145 Email: sales-des@metrosystems.co.th Line: @metrodes


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

มจพ. อันดับ 3 ด้านคุณภาพงานวิจัย อันดับ 5 มหาวิทยาลัยไทย และเป็นอันดับที่ 401-500 ของเอเชีย

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ( มจพ.) ได้รับการจัดอันดับจาก THE Asia University Rankings 2024 Times Higher Education หรือ THE ซึ่งเป็นสถาบันจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกชื่อดังจากประเทศอังกฤษดังนี้

อันดับ 3 ด้านคุณภาพงานวิจัย (Research Quality) ซึ่งนับเป็นอันดับ 3 ของประเทศ
อันดับ 5 มหาวิทยาลัยไทย และเป็นอันดับ 401-500 ของเอเชีย

ทั้งสองอันดับนี้ได้พุ่งทะยาน แบบก้าวกระโดด 100 อันดับ จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำแห่งเอเชีย ซึ่งมีมหาวิทยาลัยจากทั่วเอเชียเข้าร่วมการจัดอันดับครั้งนี้รวม 739 มหาวิทยาลัย จาก 31 ประเทศ

สามารถดูข้อมูลการจัดอันดับได้ที่ เว็บไซต์ https://bit.ly/KMUTNBTHEAsia2024

ขวัยฤทัย ข่าว


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

AMD จับมือการไฟฟ้านครหลวง (MEA) เปิดโครงการ MEA WISE ปีที่ 2 พร้อมสนับสนุนและผลักดันให้เกิด Startup ใหม่

AMD ประเทศไทย ผู้นำระดับโลกด้านเทคโนโลยีการประมวลผลประสิทธิภาพสูง จับมือ การไฟฟ้านครหลวง (MEA), ธนาคารกสิกรไทย และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดตัวโครงการ MEA WISE ปีที่ 2 มุ่งเน้นส่งเสริมนวัตกรรมและโมเดลธุรกิจใหม่ที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันของ MEA ให้สอดคล้องกับบริบทการแข่งขันและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ภายใต้แนวคิด Energy Transformation โดยมีเป้าหมายพัฒนาโครงการให้สามารถสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการที่สามารถก่อให้เกิดรายได้ 

ความร่วมมือในครั้งนี้ AMD ผู้ซึ่งเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีการประมวลผลประสิทธิภาพสูง และเทคโนโลยี AI ชั้นนำระดับโลก จะเข้ามามีส่วนร่วมผ่านการให้คำแนะนำเกี่ยวกับเทคโนโลยี AI PC บนกลุ่มผลิตภัณฑ์ล่าสุดโดยผู้เชี่ยวชาญของ AMD เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความเข้าใจและสามารถนำเทคโนโลยีไปใช้ในการพัฒนาโครงการต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังสามารถเชื่อมโยงโปรเจ็คต่าง ๆ ของผู้เข้าร่วมประกวดเข้ากับพันธมิตรชั้นนำมากมายของ AMD ไม่ว่าจะเป็นทั้งด้านฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ เพื่อนำไปพัฒนาต่อยอดได้ในอนาคต


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

การ์ทเนอร์เผยคาดการณ์ 8 ไซเบอร์ซีเคียวริตี้แห่งปี 2567

กรุงเทพฯ ประเทศไทย 8 พฤษภาคม 2567 – การ์ทเนอร์เผย 8 คาดการณ์สำคัญของความปลอดภัยทางไซเบอร์ในปี 2567 และในอนาคต พบว่าการใช้ Generative AI จะช่วยลดช่องว่างทักษะและลดเหตุความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เกิดโดยพนักงาน โดยที่ 2 ใน 3 ขององค์กร 100 แห่งทั่วโลกจะขยายการประกันภัย D&O ให้กับผู้นำด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ตามกฎหมายการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล และการรับมือกับข้อมูลที่บิดเบือนจะสร้างต้นทุนแก่องค์กรมากกว่า 5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ดีปตี โกปาล ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย การ์ทเนอร์ กล่าวว่า “Gen AI ทำให้เราก้าวข้ามขีดจำกัดความเป็นไปไม่ได้ และมอบโอกาสที่ดีในการแก้ไขปัญหาด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ยืดเยื้อมายาวนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่องของการขาดแคลนทักษะและพฤติกรรมเสี่ยงของมนุษย์ การคาดการณ์ในปีนี้ไม่ได้อยู่ในขอบเขตของเทคโนโลยีเท่านั้น เนื่องจากองค์ประกอบของ “มนุษย์” ได้รับความสนใจมากขึ้น โดยผู้บริหาร CISO ใดก็ตามที่ต้องการสร้างโปรแกรมความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน จะต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้”

การ์ทเนอร์แนะนำให้ผู้บริหารความปลอดภัยทางไซเบอร์สร้างสมมติฐานต่าง ๆ ต่อไปนี้ขึ้นมาเพื่อวางแผนและใส่ไว้ในกลยุทธ์ด้านความปลอดภัยในอีกสองปีข้างหน้า ในปี 2571 การนำ GenAI มาใช้จะช่วยลดช่องว่างด้านทักษะ โดยขจัดความจำเป็นในด้านการศึกษาเฉพาะทางจาก 50% ของตำแหน่งงานด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ในระดับเริ่มต้น

การนำ GenAI มาใช้ จะเปลี่ยนแนวทางการว่าจ้างขององค์กรและการสอนให้พนักงานรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่กำลังมองหาความถนัดเช่นเดียวกันกับการศึกษาที่มีความเหมาะสม แพลตฟอร์มเมนสตรีมต่าง ๆ เสนอบริการการสนทนาเพิ่มเติมอยู่แล้ว แต่จะมีการพัฒนายิ่งขึ้น การ์ทเนอร์แนะนำให้ทีมไซเบอร์ซีเคียวริตี้มุ่งเน้นไปที่เคสการใช้งานภายในที่สนับสนุนการทำงานของผู้ใช้ การประสานงานกับพันธมิตรด้านทรัพยากรบุคคล และการหาตัวพนักงานที่มีทักษะความสามารถใกล้เคียงกันเพื่อเพิ่มบทบาทด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นทักษะสำคัญ

ในปี 2569 องค์กรที่รวม GenAI เข้ากับสถาปัตยกรรมบนแพลตฟอร์มบูรณาการใน Security Behavior and Culture Programs หรือ SBCP จะพบเหตุการณ์ความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เกิดโดยพนักงานน้อยลง 40%

องค์กรต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมส่วนบุคคลมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของ SBCP ที่มีประสิทธิผล GenAI มีศักยภาพในการสร้างเนื้อหาและใช้เป็นเครื่องมือในการฝึกอบรมที่มีความเป็นส่วนตัวสูง โดยคำนึงถึงบริบทของคุณลักษณะเฉพาะของพนักงาน จากข้อมูลของการ์ทเนอร์ การให้ความสำคัญนี้จะเพิ่มโอกาสที่พนักงานจะใช้พฤติกรรมที่ปลอดภัยมากขึ้นในการทำงานแต่ละวัน ส่งผลให้เหตุการณ์ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ลดน้อยลงไปด้วย 

“องค์กรที่ยังไม่ยอมรับความสามารถของ GenAI ควรประเมินความเชี่ยวชาญของพันธมิตรด้านความปลอดภัยภายนอกในปัจจุบัน เพื่อทำความเข้าใจว่าจะใช้ประโยชน์จาก GenAI เป็นส่วนหนึ่งในแผนงานด้านโซลูชันได้อย่างไร” โกปาล กล่าวเพิ่ม

75% ขององค์กรจะคัดระบบที่ไม่มีการจัดการ ระบบเก่า และระบบทางกายภาพด้านไซเบอร์ออกไปจากกลยุทธ์ Zero Trust จนถึงปี 2569

ภายใต้กลยุทธ์ Zero Trust ผู้ใช้ปลายทางจะได้สิทธิการเข้าถึงเฉพาะที่จำเป็นในการทำงานเท่านั้น และถูกตรวจสอบจำแนกตามภัยคุกคามที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ในสภาพแวดล้อมการผลิตหรือสภาพแวดล้อมที่มีความสำคัญต่อภารกิจ แนวคิดเหล่านี้ไม่ได้แปลเป็นภาษาสากลสำหรับใช้อุปกรณ์ที่ไม่มีการจัดการ แอปพลิเคชันรุ่นเก่า และระบบทางกายภาพทางไซเบอร์ (CPS) ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อปฏิบัติงานเฉพาะในสภาพแวดล้อมด้านความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

ภายในปี 2570 สองในสามขององค์กร 100 แห่งทั่วโลกจะขยายการประกันภัย D&O ให้กับผู้นำด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ตามกฎหมายการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

กฎหมายและข้อบังคับใหม่ เช่น กฎการเปิดเผยและการรายงานความปลอดภัยทางไซเบอร์ของ SEC ทำให้ผู้บริหารด้านไซเบอร์ต้องรับผิดชอบต่อข้อมูลส่วนบุคคล บทบาทและความรับผิดชอบของผู้บริหาร CISO จำเป็นต้องได้รับการอัปเดตสำหรับการรายงานและการเปิดเผยที่เกี่ยวข้อง การ์ทเนอร์แนะนำให้องค์กรต่าง ๆ สำรวจประโยชน์ของการครอบคลุมบทบาทนี้ด้วยการขยายประกันภัย D&O รวมถึงการประกันภัยและค่าตอบแทนอื่น ๆ เพื่อบรรเทาความรับผิดส่วนบุคคล ความเสี่ยงทางวิชาชีพ และค่าใช้จ่ายทางกฎหมาย

ในปี 2571 การใช้จ่ายขององค์กรเพื่อต่อสู้กับข้อมูลบิดเบือนจะสูงถึง 5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งไปตัดงบการตลาดและความปลอดภัยทางไซเบอร์ถึง 50%

การผสมผสานระหว่าง AI, การวิเคราะห์, พฤติกรรมศาสตร์, โซเชียลมีเดีย, Internet of Things และเทคโนโลยีอื่น ๆ ทำให้ผู้ไม่ประสงค์ดีสามารถสร้างและเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง (หรือข้อมูลที่ผิด) ประสิทธิภาพสูงและปรับแต่งเฉพาะตัวบุคคลได้เป็นจำนวนมาก การ์ทเนอร์แนะนำให้ผู้บริหารกำหนดความรับผิดชอบในการกำกับดูแล คิดค้น และดำเนินโปรแกรมต่อต้านข้อมูลที่บิดเบือนเหล่านั้นทั่วทั้งองค์กร โดยลงทุนในเครื่องมือและเทคนิคที่ต่อกรปัญหาโดยใช้ Chaos Engineering เพื่อทดสอบความยืดหยุ่น

ปี 2569 40% ของผู้นำด้านการจัดการอัตลักษณ์และการเข้าถึง Identity And Access Management (IAM) จะรับผิดชอบในการตรวจจับและตอบสนองต่อการละเมิดที่เกี่ยวข้องกับ IAM เป็นหลัก 

ผู้บริหาร IAM มักจะพยายามระบุความปลอดภัยและมูลค่าทางธุรกิจเพื่อขับเคลื่อนการลงทุนที่แม่นยำ และไม่เกี่ยวข้องกับการอภิปรายเรื่องการจัดหาทรัพยากรด้านความปลอดภัยและการกำหนดงบประมาณ ในขณะที่ผู้บริหาร IAM ยังคงมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยแต่ละคนจะพัฒนาไปในทิศทางที่แตกต่างกัน ทั้งความรับผิดชอบ การมองเห็น และอิทธิพลต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้น การ์ทเนอร์แนะนำให้ผู้บริหาร CISO เลิกทำงานด้านไอทีแบบไซโลและความปลอดภัยแบบเดิม ๆ โดยให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเห็นบทบาทของ IAM โดยปรับให้สอดรับกับโปรแกรม IAM และโครงการด้านความปลอดภัย 

ในปี 2570 70% ขององค์กรจะรวมการป้องกันข้อมูลสูญหายและการบริหารความเสี่ยงจากภายในเข้ากับบริบท IAM เพื่อระบุพฤติกรรมที่น่าสงสัยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ความสนใจที่เพิ่มขึ้นในการควบคุมแบบรวมได้กระตุ้นให้ผู้จำหน่ายพัฒนาความสามารถที่แสดงถึงการทับซ้อนกันระหว่างการควบคุมที่เน้นพฤติกรรมผู้ใช้และการป้องกันข้อมูลสูญหาย สิ่งนี้แนะนำชุดความสามารถที่ครอบคลุมมากขึ้นสำหรับทีมรักษาความปลอดภัยเพื่อสร้างนโยบายเดียวสำหรับการใช้งานแบบคู่ในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและการลดความเสี่ยงจากภายใน การ์ทเนอร์แนะนำให้องค์กรต่าง ๆ ระบุความเสี่ยงของข้อมูลและความเสี่ยงด้านข้อมูลส่วนบุคคล และใช้ความเสี่ยงเหล่านี้เป็นแนวทางหลักสำหรับเป็นกลยุทธ์รักษาความปลอดภัยของข้อมูล

ในปี 2570 30% ของฟังก์ชันไซเบอร์ซิเคียวริตี้จะออกแบบแอปพลิเคชันความปลอดภัยใหม่ เพื่อให้ผู้ที่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านไซเบอร์หรือเป็นเจ้าของแอปพลิเคชันก็สามารถใช้งานได้ 

ปริมาณ ความหลากหลาย และบริบทของแอปพลิเคชันที่นักเทคโนโลยีธุรกิจและทีมงานแจกจ่ายจัดส่งสร้างขึ้น หมายถึงศักยภาพในการเปิดเผยข้อมูล นอกเหนือจากที่ทีมรักษาความปลอดภัยแอปพลิเคชันเฉพาะจะจัดการได้

“เพื่อลดช่องว่าง หน่วยงานด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์จะต้องสร้างความเชี่ยวชาญที่มีประสิทธิภาพขั้นต่ำในทีมเหล่านี้ โดยผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีและการฝึกอบรม เพื่อสร้างความสามารถมากเท่าที่จำเป็นสำหรับการตัดสินใจ โดยอาศัยข้อมูลช่วยตัดสินใจความเสี่ยงทางไซเบอร์แบบอัตโนมัติ” โกปาลกล่าว

เกี่ยวกับการ์ทเนอร์ 

บริษัท การ์ทเนอร์ (Gartner, Inc.) (NYSE: IT) คือบริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาชั้นนำของโลก มอบข้อมูลเชิงลึก คำแนะนำ และเครื่องมือต่าง ๆ แก่ผู้บริหารองค์กรธุรกิจ เพื่อรองรับการดำเนินภารกิจสำคัญที่มีอยู่ในปัจจุบันและสร้างองค์กรให้ประสบความสำเร็จในอนาคต ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางของการ์ทเนอร์ในการช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจอย่างถูกต้องเพื่อขับเคลื่อนอนาคตของธุรกิจได้ที่ gartner.com


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เปิดตัวซอฟต์แวร์สำหรับการบริหารจัดการพลังงาน เพื่อความยั่งยืน ในงาน Future Energy Asia

พลังงานสะอาดปัจจุบัน มีอิทธิพลต่อภาคธุรกิจในอุตสาหกรรมต่างๆ ทั่วโลก เพราะนอกจากจะช่วยลดต้นทุนด้านพลังงานในระยะยาวแล้ว ยังเป็นหนึ่งในองค์ประกอบหลักที่จะนำพาองค์กรไปสู่ความยั่งยืน และช่วยโลกในการแก้ปัญหาความรุนแรงด้านสภาพภูมิอากาศอีกด้วย ชไนเดอร์ อิเล็คทริค จึงยกทัพโซลูชั่นดิจิทัลสุดล้ำมาเปิดตัวเพื่อสร้างปรากฏการณ์ด้านความยั่งยืน ในงาน Future Energy Asia 2024 เพื่อร่วมกันสร้างโลกที่ยั่งยืนด้วยกัน

โดยผลิตภัณฑ์สุดล้ำหน้าด้านพลังงานทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ อาทิ

Micro Grid Advisor เทคโนโลยีที่มุ่งเน้นด้านการวิเคราะห์พลังงาน การผลิตพลังงาน และแบตเตอรี่ สำหรับองค์กรที่มีเป้าหมายด้านการใช้พลังงานสะอาดโดยมีการติดตั้งแหล่งผลิตพลังงานทดแทนสำหรับการใช้พลังงานภายในพื้นที่ และลดต้นทุนทางด้านพลังงาน โดยสามารถวิเคราะห์คาดการณ์ได้ถึงแนวโน้มในการใช้พลังงาน  และการผลิตพลังงานที่จะเกิดขึ้น รวมไปถึงต้นทุนการใช้พลังงาน และปริมาณการปลดปล่อยคาร์บอน ในแบบเรียลไทม์ พร้อมทั้งสามารถรองรับซอฟต์แวร์การควบคุม HVAC และ EV ได้อย่างไร้รอยต่ออีกด้วย ช่วยให้สามารถควบคุมทรัพยากรพลังงานและโหลดได้แบบไดนามิก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงานจากความสามารถในการผลิตพลังงานจากแหล่งผลิตพลังงานภายในพื้นที่ให้ได้มากที่สุด เพิ่มประสิทธิภาพ รวมถึงเวลาที่จะใช้ผลิตและจัดเก็บพลังงานให้เหมาะสมโดยอัตโนมัติ นอกจากนี้ยังมีอินเทอร์เฟซสำหรับใช้งานบนเว็บช่วยให้เข้าใจข้อมูลการประหยัดรายได้ และการปล่อย CO2 แบบเรียลไทม์ได้อย่างง่ายดาย

Unified Operation Center จาก AVEVA หรือศูนย์การดำเนินงานแบบบูรณาการ ช่วยให้สามารถเห็นมุมมองในภาพรวมของการใช้พลังงานและทรัพยากรได้ทุกที่หรือทุกไซต์งาน ทำให้สามารถกำหนดมาตรฐานของอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งหมดได้อย่างสมบูรณ์ รวมถึงการใช้งานได้อย่างเหมาะสมเต็มประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินงานในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น น้ำมันและก๊าซ โครงสร้างพื้นฐานและเมืองอัจฉริยะ ศูนย์ข้อมูล การเดินเรือ พลังงาน และเหมืองแร่ ได้ในแบบเรียลไทม์ และมอบข้อมูลทำงานเพื่อให้บริการตามเป้าหมายขององค์กรและเป็นแนวทางการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์ของคุณแบบ end to end

EcoStruxure™ Resource Advisor ซอฟต์แวร์โซลูชั่นที่ใช้สำหรับจัดการพลังงานและความยั่งยืน โดยแพลตฟอร์มนี้ช่วยให้บริษัทต่างๆ รวบรวม วิเคราะห์ และจัดแสดงข้อมูลด้านความยั่งยืน เพื่อเป็นการช่วยในการตัดสินใจและส่งเสริมการจัดการการทำกลยุทธ์ด้านพลังงานและความยั่งยืนแบบเฉพาะสำหรับแต่ละองค์กร เพื่อให้แต่ละองค์กรสามารถใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด พร้อมมุ่งเป้าสร้างองค์กรตามแนวทางพัฒนาอย่างยั่งยืนตามมาตรฐานสากลระดับโลกพร้อมด้วย ฟีเจอร์ AI Co-Pilot  ที่ใช้ช่วยในการใช้งานซอฟต์แวร์ให้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

RM AirSeT มาพร้อมเซ็นเซอร์อัจฉริยะเหนือระดับด้วยเทคโนโลยี IoT สามารถมอนิเตอร์ข้อมูลไฟฟ้า และควบคุมการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการตรวจสอบประสิทธิภาพของแอปพลิเคชั่น การจ่ายไฟฟ้า ได้ในแบบเรียลไทม์ และจะช่วยให้สามารถบำรุงรักษาเชิงป้องกัน และพยากรณ์การซ่อมบำรุงได้ ผู้ดูแลสามารถตรวจสอบการทำงานทั้งหมดได้จากระยะไกล เพื่อการดำเนินการที่รวดเร็ว ความโดดเด่นของผลิตภัณฑ์คือไม่ใช้ก๊าซ SF6 ในตู้และอุปกรณ์ย่อยภายในเพื่อเป็นฉนวนอีกต่อไป แต่ใช้อากาศบริสุทธิ์แทน เมื่ออุปกรณ์รั่วซึม หรือหมดอายุ จึงไม่ต้องกังวลเรื่องการปรับเปลี่ยนที่จะส่งผลต่อสภาวะโลกร้อน

ผู้ที่สนใจลงทะเบียนล่วงหน้า เพื่อเข้าร่วมงาน วันที่ 15 – 17 พฤษภาคม 2567 ณ บูธ EG02 ฮอลล์ 2 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ผู้ดูแลระบบไฟฟ้า และผู้ประกอบการสามารถรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญจากชไนเดอร์ อิเล็คทริค ฟรี!!! ทุกเรื่องของพลังงานมีทางออกเสมอ


Exit mobile version