Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ซีเมนส์สนับสนุนอุตสาหกรรม F&B ไทย ใช้เทคโนโลยีลดความท้าทายด้านพลังงาน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความยั่งยืน

ซีเมนส์ เดินหน้าสนับสนุนวิสัยทัศน์ Thailand 4.0 อย่างต่อเนื่อง ซึ่งรวมถึงการสนับสนุนอุตสาหกรรม F&B ในการก้าวสู่ยุคดิจิทัลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีความยั่งยืนมากขึ้น นำเทคโนโลยีและโซลูชันระดับโลกล่าสุด อาทิ Robot Integrator, Integrated Energy Management System, Advanced Planning and Scheduling หรือ APS Predictive Maintenance และอีกหลากหลายนวัตกรรมด้านความยั่งยืน มาร่วมจัดแสดงและสาธิตยูสเคสที่น่าสนใจ ภายในงาน ProPak Asia 2024 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-15 มิถุนายน ศกนี้ ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค (BITEC) โดยซีเมนส์จะอยู่ที่ ฮอลล์ 98 บูท B44 

อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม (F&B) กำลังเผชิญกับความท้าทายทางเศรษฐกิจรอบด้าน โดยเฉพาะต้นทุนพลังงานและวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการเปลี่ยนแปลงในความต้องการของผู้บริโภคที่เน้นการดูแลสุขภาพ สินค้าที่ออกแบบเฉพาะบุคคล และการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ส่งเสริมความยั่งยืน ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เผยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือนมีนาคม 2567 หดตัว 5.13% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 18 ซึ่งมีหลายปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ทั้งค่าไฟฟ้า ราคาวัตถุดิบและราคาน้ำมัน โดยอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมหลักที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว

ปัจจุบันผู้ประกอบการมีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้เพิ่มมากขึ้น เพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุน ในปีงบประมาณ 2566 ผลิตภัณฑ์และโซลูชันจากซีเมนส์ช่วยให้ลูกค้าของบริษัทฯ หลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซ CO2 ได้ประมาณ 190 ล้านตัน สอดรับกับแนวทางการดำเนินธุรกิจที่ยึดหลักความยั่งยืนเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

โจเซฟ คง หัวหน้ากลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมดิจิทัล ซีเมนส์ ประเทศไทย กล่าวว่า “ซีเมนส์รู้สึกตื่นเต้นที่ได้เห็นอุตสาหกรรมการผลิตไทยนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้และเดินหน้าสู่เส้นทางการผลิตที่ยั่งยืน เรามุ่งมั่นสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านของภาคอุตสาหกรรม F&B ไปสู่การใช้โซลูชันเทคโนโลยีดิจิทัลที่ครอบคลุมห่วงโซ่คุณค่าทั้งหมดของอุตสาหกรรม การจัดแสดงโซลูชันของซีเมนส์ ภายในงาน Propak Asia 2024 ครั้งนี้จะช่วยให้ข้อมูลเชิงลึกกับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมฯเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่มุ่งเน้นความยั่งยืน ตั้งแต่ส่วนการออกแบบ (Design) ส่วนการผลิต (Production) และห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) เพื่อเปลี่ยนความท้าทายให้เป็นโอกาส ผลักดันการใช้นวัตกรรมเพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืนของอุตสาหกรรมฯ

เทคโนโลยีและโซลูชันไฮไลท์ของซีเมนส์ที่จัดแสดงในงาน ProPak Asia 2024 ประกอบด้วย

  • Robot Integrator: ปัจจุบันภาคการผลิตมีการใช้เครื่องจักรและหุ่นยนต์อย่างแพร่หลาย จากผู้ผลิตต่างแบรนด์ ซึ่งทำให้เกิดความซับซ้อน สิ้นเปลืองทรัพยากรและงบประมาณในการจัดการ ทั้งนี้โซลูชัน Robot Integrator ผนวกรวมการจัดการหุ่นยนต์จากผู้ผลิตหลายรายเข้าด้วยกันภายใต้ Interface เดียว ลดเวลาการเขียนโปรแกรมและวิศวกรรมซอฟต์แวร์ลงถึง 30%* สามารถช่วยให้อุตสาหกรรม F&B ได้รับประโยชน์ในสองด้านหลัก ๆ ได้แก่ ด้านการทำวิศวกรรม และด้านการปฏิบัติงาน ช่วยลดความผิดพลาดและการซ่อมบำรุงที่ไม่จำเป็น เพิ่มประสิทธิภาพ ความยืดหยุ่นให้กับธุรกิจ
  • Integrated Energy Management System: ซอฟต์แวร์โซลูชันในการตรวจสอบจัดการพลังงานครบวงจรที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 50001 โดยโซลูชันนี้จะบันทึกข้อมูลและวิเคราะห์การใช้พลังงานหลากหลายประเภทที่เกี่ยวเนื่องกับการผลิต สามารถปรับขยายได้ (Scalable) สามารถให้ข้อมูลการใช้พลังงานในส่วนย่อยไปจนถึงภาพรวมของทั้งองค์กร ช่วยให้ผู้ประกอบการเห็นภาพรวมสามารถลดต้นทุนด้านพลังงานได้อย่างยั่งยืน พร้อมเพิ่มผลผลิตและขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ
  • Opcenter Advanced Planning and Scheduling (หรือ APS): ซอฟต์แวร์ช่วยการวางแผนและกำหนดตารางการผลิตขั้นสูง ที่มีความสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการวางแผนและกำหนดตารางการผลิต ลดเวลาการหยุดทำงานของเครื่องจักร เพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้า ประโยชน์เด่นของ Opcenter APS
    • เพิ่มผลผลิตขึ้นได้สูงสุดถึง 25% ด้วยการตรวจจับอุปสรรคคอขวดในระบบ ลดเวลาการตั้งค่า เพิ่มประสิทธิภาพในการนำเครื่องจักรและเครื่องมือต่าง ๆ มาใช้ และลดงานที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการลง
    • ลดการเก็บสินค้าคงคลังลงได้สูงสุดถึง 50% โดยลดของเสียในระบบ ระบุสาเหตุการขาดแคลนสินค้าได้อย่างง่ายดาย พร้อมเพิ่มประสิทธิภาพการไหลเวียนของวัสดุและการซิงโครไนซ์ด้านการผลิต
    • การจัดส่งตรงเวลาเพิ่มขึ้นได้สูงสุดถึง 50% โดยเพิ่มประสิทธิภาพและความพร้อมใช้งาน ลดระยะเวลาการรอคอยสินค้า
  • Senseye Predictive Maintenance: โซลูชันการบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์นี้ช่วยจัดการกับความท้าทายของผู้ผลิตในการบริหารการบำรุงรักษาสินทรัพย์ ด้วยเทคโนโลยี AI ชั้นนำที่สามารถสร้างแบบจำลองพฤติกรรมของเครื่องจักรและผู้ดูแลแบบอัตโนมัติ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดสรรทรัพยากรไปใช้ในจุดที่มีความจำเป็นสูงสุด ลดเวลาเครื่องจักรหยุดทำงานลงสูงสุดถึง 50% ลดค่าใช้จ่ายการซ่อมบำรุงสูงสุดถึง 40% แพลตฟอร์มนี้ยังช่วยเร่งกระบวนการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันขององค์กรได้อีกด้วย

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม และร่วมสัมผัสนวัตกรรมซีเมนส์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รองรับการเปลี่ยนผ่านของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มไปสู่ดิจิทัล ในงาน ProPak Asia 2024 ภายใต้คอนเซ็ปต์ Go Digital, Become Sustainable ได้ที่ Siemens ProPak Asia 2024

หมายเหตุ: *กรณีศึกษาที่ประเทศสเปน Robotics meets automation: how EPF is creating an industrial ecosystem

เกี่ยวกับซีเมนส์

ซีเมนส์ เอจี (เบอร์ลินและมิวนิค) เป็นบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำ ทางด้านอุตสาหกรรม โครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคมขนส่ง และการดูแลสุขภาพ ธุรกิจของบริษัทฯ ครอบคลุมตั้งแต่การจัดการทรัพยากรในโรงงาน การบริหารห่วงโซ่อุปทาน ระบบอาคารอัจฉริยะและระบบโครงข่ายไฟฟ้า ไปจนถึงการขนส่งที่ใช้พลังงานสะอาด และการดูแลสุขภาพขั้นสูง บริษัทฯ พัฒนาเทคโนโลยีด้วยวัตถุประสงค์เพื่อมอบคุณค่าที่แท้จริงแก่ลูกค้า ซีเมนส์ช่วยให้ลูกค้าเปลี่ยนโฉมอุตสาหกรรมและตลาด เพื่อยกระดับการใช้ชีวิตของคนนับพันล้านโดยผสานโลกความจริงและโลกดิจิทัลเข้าไว้ด้วยกัน ซีเมนส์เป็นผู้ถือหุ้นหลักในซีเมนส์ เฮลทิเนียร์ส ผู้นำระดับโลกด้านเทคโนโลยีการแพทย์และบริการดูแลสุขภาพดิจิทัล นอกเหนือจากนั้น ซีเมนส์ยังเป็นผู้ถือหุ้นรายย่อยใน ซีเมนส์ เอนเนอร์ยี่ ผู้นำระดับโลกในด้านการผลิตและนำส่งพลังงานไฟฟ้า

ในปีงบประมาณ 2566 ซึ่งสิ้นสุดเมื่อ 30 กันยายน 2566 ซีเมนส์มีพนักงาน 320,000 คนทั่วโลก กลุ่มธุรกิจของซีเมนส์สร้างรายได้ 77.8 พันล้านยูโร และมีผลกำไร 8.5 พันล้านยูโร ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.siemens.com


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ฟอร์ติเน็ต เชิญลงทะเบียนก้าวสู่ยุค “Platform Era” กับโลกไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ในงาน Fortinet Accelerate Asia 2024

ในโลกที่ผู้คน ข้อมูล อุปกรณ์ และแอปพลิเคชันสามารถทำงานได้ทุกที่ทั่วโลก ภัยคุกคามที่ทวีความซับซ้อนมากขึ้นถูกออกแบบมาให้ฉวยโอกาสจากพื้นที่การโจมตีที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นนี้ และด้วยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป การเติมอุปกรณ์ใหม่ๆ ภายใต้รูปแบบการรักษาความปลอดภัยแบบเดิมๆ ไม่สามารถตอบโจทย์การป้องกันภัยคุกคามใหม่ ๆ ได้อีกต่อไป

ฟอร์ติเน็ต ในฐานะผู้นำด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลกที่ขับเคลื่อนการผสานกันของระบบเน็ตเวิร์กกิ้งและซีเคียวริตี้ ขอเชิญผู้บริหาร ทีมทำงานด้าน IT และ Cybersecurity จากทุกภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม เข้าร่วมงาน Fortinet Accelerate Asia 2024 – Thailand Edition ภายใต้ธีม “ก้าวสู่ยุคใหม่ของการรักษาความปลอดภัย ก้าวสู่ยุคของแพลตฟอร์ม” ในวันอังคารที่ 18 มิถุนายน 2024 ณ โรงแรม Eastin Grand Phayathai โดยลงทะเบียนเข้างานฟรี ที่นี่

ในปีนี้ ภายในงานจะมุ่งเน้นไปที่การบูรณาการซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และเทคโนโลยีอื่นๆ เข้าไว้ในแพลตฟอร์มเดียวกัน เพื่อให้ระบบทั้งหมดทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มความสามารถในการจัดการและการรักษาความปลอดภัย รวมถึงลดความซับซ้อนในการบริหารจัดการระบบทั้งหลายที่ใช้อยู่ในองค์กร พร้อมทิศทางและแนวโน้มของไซเบอร์ซีเคียวริตี้ในอนาคต ผู้เข้าร่วมงานสามารถเข้าชมบูธและ Live Demo โดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านของฟอร์ติเน็ต มีช่วงของ “Customer Voice” ที่จะมาแชร์ประสบการณ์จริงการใช้โซลูชันการรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์ให้ฟังในงาน


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ พร้อมจัดงาน ProPak Asia 2024 งานแสดงเทคโนโลยีกระบวนการผลิต แปรรูป และบรรจุภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดของเอเชีย

อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ผสานความร่วมมือองค์กรธุรกิจ พร้อมบริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม และบรรจุภัณฑ์จากทั่วโลก เชิญผู้ประกอบและผู้สนใจในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ร่วมงาน ProPak Asia 2024 งานแสดงเทคโนโลยีกระบวนการผลิต แปรรูป และบรรจุภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดของเอเชีย โดยแนวคิดในการจัดงานฯ ในปีนี้ คือ “Empowering Sustainability Processing & Packaging Success with Ideation, Innovation and Investment” หรือ ยกระดับความสําเร็จในกระบวนการผลิตและบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืนด้วย แนวคิด นวัตกรรมและการลงทุน เพื่อกระตุ้นให้เกิดแรงบันดาลใจและความคิดสร้างสรรค์ ร่วมรับรู้แนวโน้มธุรกิจและทิศทางอุตสาหกรรม อัพเดทนวัตกรรมและเทคโนโลยีล่าสุด พร้อมแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับผู้เชียวชาญและบริษัทชั้นนำของโลก ซึ่งงาน ProPak Asia 2024 จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 12–15 มิถุนายน 2567 จัดแสดงงานฯ เต็มพื้นที่ภายในฮอลล์และโถงด้านหน้าทั้งหมดของ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา รวมกว่า 55,000 ตรม. และมีผู้เข้าร่วมจัดแสดงงานกว่า 2,000 ราย จาก 45 ประเทศ

ภายในงานพบ 8 โซนจัดแสดงครอบคลุมทุกหน่วยของอุตสาหกรรมอาหาร การแปรรูป และบรรจุภัณฑ์ ประกอบด้วย 1) Processing Tech Asia 2) Packaging Tech Asia 3) Drink Tech Asia 4) Pharma Tech Asia  5) Lab&Test Asia 6) Packaging Solution Asia 7) Coding, Marking & Labelling Asia 8) Coldchain, Logistics, Warehousing & Factory Asia และ 12 พาวิลเลี่ยนนานาชาติที่เข้าร่วมจัดแสดงงานฯ ได้แก่ เยอรมนี ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี อเมริกาเหนือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ออสเตรลัย มาเลเซีย และไต้หวัน

ไฮไลท์ภายในงานที่พลาดชมไม่ได้ ประกอบด้วย

  1. I-Stage เวทีที่รวบรวม ความริเริ่มสร้างสรรค์ นวัตกรรมและการลงทุนสําหรับโซลูชั่นทางธุรกิจในระบบห่วงโซ่ของอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่มและธุรกิจ FMCG (Fast-Moving Consumer Goods) สินค้าอุปโภค บริโภค 
  2. ProPak Gourmetเวิร์คช็อปและสาธิตการใช้เทคโนโลยีเพื่อการแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ค้นหาวิธีการยืดระยะเวลาความสด เพื่อเพิ่มมูลค่าวัตถุดิบสําหรับเนื้อสัตว์ สัตว์ปีก สัตว์นํ้าและอาหารทะเล
  3. Future Food Cornerพื้นที่แลกเปลี่ยนแนวคิดระบบอาหารแห่งอนาคต ด้วยเทคโนโลยีการผลิตและบรรจุภัณฑ์ พร้อมสัมผัสประสบการณ์ใหม่ไปกับอาหารแห่งอนาคต 
  4. Lab & Test Teatherอัพเดทข้อกําหนดล่าสุดด้านความปลอดภัย เทคโนโลยีตรวจสอบและควบคุมมาตรฐานการแปรรูปอาหาร เครื่องดื่ม ยา สินค้าอุปโภคบริโภคและบรรจุภัณฑ์สินค้า
  5. Packaging Design Clinicพื้นที่ให้คําปรึกษาเกี่ยวกับการออกแบบบรรจุภัณฑ์ 
  6. WorldStar, AsiaStar & ThaiStar Packaging Awards Displayพื้นที่จัดแสดงบรรจุภัณฑ์ที่ชนะการประกวดออกแบบระดับประเทศ ระดับภูมิภาคและระดับโลก ซึ่งปีนี้ World Packaging Organization (WPO) ได้เลือกมาจัดงาน WorldStar Global Packaging Award ในงาน ProPak Asia เพื่อมอบรางวัลแก่ผู้ชนะการประกวดบรรจุภัณฑ์ระดับโลก

รวมถึงกิจกรรมการประชุมและสัมมนาอีกมากกว่า 120 การประชุม จาก 400 หัวข้อ โดยวิทยากรและผู้เชี่ยวชาญ ครอบคลุมทั้งเรื่องการวิจัย นวัตกรรมต่างๆ ด้านการแปรรูป ปรุงสุก บรรจุภัณฑ์ ธุรกิจอาหารและนํ้าดื่ม รวมทั้งมาตรฐานข้อกําหนดต่างๆ สําหรับสินค้าอุปโภคบริโภคภายในประเทศและสินค้าการส่งออก อาทิ Global Packaging Forum 2024 โดยมีวิทยากรและผู้เชี่ยวชาญด้านบรรจุภัณฑ์ระดับโลกกว่า 20 ท่าน มาร่วมพูดคุยถึงทิศทางและอนาคตของบรรจุภัณฑ์ในทุกมิติและทุกประเภทบรรจุภัณฑ์ Executive Talk: Asian Agri-Food Sector Transformation สัมมนาหลักในธุรกิจสินค้าแปรรูปจากเนื้อสัตว์ สัตว์ปีก สัตว์นํ้า อาหารทะเลและสินค้าการเกษตร โดยเน้นถึงทิศทางของธุรกิจในกระดับภูมิภาค แนวทางการเพิ่มมูลค่าสินค้า Beverage Executive Talk หัวข้อด้านธุรกิจเครื่องดื่ม ที่ได้ผู้บริหารระดับสูงในธุรกิจมาแลกเปลี่ยนและพูดคุยถึงทิศทางธุรกิจเครื่องดื่ม การสัมมนาจาก วว. หนึ่งในพันธมิตรหลักของงาน ซึ่งจะมีกิจกรรมและสัมมนาภายในงานที่มุ่งเน้นยกระดับความสามารถของอุตสาหกรรมอาหารและบรรจุภัณฑ์ของไทย ผ่านการวิจัย การพัฒนาและการส่งเสริมนวัตกรรม ฯลฯ (รายละเอียดและวันเวลากิจกรรมสัมมนาหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.propakasia.com/ppka/2024/en/conferences.asp) พร้อมทั้งมีหน่วยงานและสถาบันการเงินจากภาครัฐและเอกชนมาให้คำปรึกษาเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์เพื่อส่งเสริมการลงทุนอีกด้วย

ผู้สนใจรายละเอียดการจัดงานและต้องการลงทะเบียนล่วงหน้าเพื่อเข้าชมงานฯ สามารถลงทะเบียนได้ที่ www.propakasia.com 


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์ บทความ เทคโนโลยี

เส้นทาง Net Zero สู่ Sustainable IT

โดย ออทัมน์ สแตนนิช ผู้อำนวยการฝ่ายนักวิเคราะห์ของการ์ทเนอร์

ประเทศไทยกำลังมุ่งสู่การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ เพื่อสร้าง Net Zero Economy โดยมีเป้าหมายหลัก คือ บรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2050 รวมทั้งปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2065 นอกจากนี้ได้มีการปรับเป้าหมาย NDC ให้เข้มงวดขึ้นเพื่อลดการปล่อยมลพิษได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 30-40% ภายในปี 2030 ซึ่งองค์กรต่าง ๆ ในไทยต้องคำนึงถึงพันธกรณีด้านสิ่งแวดล้อมทั้งในปัจจุบันและอนาคต

เนื่องจากการใช้พลังงานไปกับกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับด้าน ICT (เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ภาระผูกพันเหล่านี้จึงมีความสำคัญมากขึ้น ข้อมูลจากองค์กรวิจัยด้านเซมิคอนดักเตอร์ (SRC) และสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) ระบุว่าตอนที่องค์กรเพิ่งเริ่มต้นยุคดิจิทัลเมื่อทศวรรษ 2010 นั้น งานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ ICT ใช้พลังงานทั่วโลกแค่ 0.1% แต่คาดว่าภายในปี 2030 จะพุ่งไปถึง 6.4% เพราะเทรนด์ AI, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ดาต้า ชิป และเซ็นเซอร์ รวมถึงสิ่งอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

หลายองค์กรมักมองข้ามผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล แต่แท้จริงแล้ว Sustainable IT หรือ ไอทีที่เป็นมิตรต่อโลกคือหัวใจสำคัญเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก (GHG) การบริหารจัดการการใช้น้ำ การจัดการขยะและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับความหลากหลายทางชีวภาพ

แผนแม่บทสำหรับไอทีที่ยั่งยืนเป็นความจำเป็นเพื่อช่วยให้ผู้บริหารฝ่ายจัดการโครงสร้างพื้นฐานและฝ่ายปฏิบัติการ (I&O) บรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนขององค์กร แม้ว่าพวกเขาจะไม่สามารถบรรลุเป้าหมาย Net Zero ได้ในช่วงทศวรรษ 2020 แต่เทคโนโลยีที่อยู่ระหว่างการวิจัยและพัฒนาจะช่วยเร่งความคืบหน้าในช่วงทศวรรษ 2030 

เป้าหมายขององค์กรคือการ Bend the Curve หรือการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขปัญหาไปในทิศทางที่ดีขึ้น เพื่อบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ที่ต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากไอทีให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นก็ตาม

การประเมินค่าพื้นฐานของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก GHG ของไอทีและแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นของ GHG เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ผู้บริหารฝ่าย I&O ควรวางแผนพัฒนากลยุทธ์ Sustainable IT ให้ครอบคลุมทั้งดาต้าเซ็นเตอร์ คลาวด์ ดิจิทัลเวิร์กสเปซ และแผนส่งเสริมการตัดสินใจด้านข้อมูลและซอฟต์แวร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ดาต้าเซ็นเตอร์และคลาวด์

องค์กรส่วนใหญ่มีสภาพแวดล้อมแบบไฮบริดคลาวด์ ซึ่งรวมถึงพับลิกคลาวด์ ไพรเวทคลาวด์ และดาต้าเซ็นเตอร์ภายในองค์กร ทำให้มีโอกาสมากมายที่จะทำให้ Hybrid Cloud ยั่งยืนยิ่งขึ้น

สำหรับองค์กรที่เพิ่งเริ่มต้นแนวคิดความยั่งยืน การดำเนินการในศูนย์ข้อมูลภายในองค์กร ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ได้แก่ การตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น การจัดการเวิร์กโหลดที่ไม่จำเป็น การใช้พลังงานสำหรับการประมวลผลและจัดเก็บข้อมูลอย่างคุ้มค่า การกำจัดอุปกรณ์ที่ไม่ได้ใช้งานหรืออุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตที่ถูกแฮกเกอร์โจมตีผ่านไวรัสคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่า อุปกรณ์ซอมบี้ (Zombie Equipment) 

แม้จะมีอีกหลายวิธีที่จะช่วยปรับปรุงความยั่งยืนของดาต้า เซ็นเตอร์ แต่สิ่งที่ดีที่สุดที่องค์กรสามารถทำได้ในตอนนี้คือ การเปลี่ยนจาก “ประสิทธิภาพของอุปทาน – Efficiency of Supply” ไปเป็น “การจัดการกับอุปสงค์ – Demand Management” กล่าวอีกนัยหนึ่งคือการเปลี่ยนจากระบบที่เปิดอยู่ตลอดเวลา ไปเป็นระบบพร้อมใช้งานตลอดเวลา เพื่อสร้างสมดุลระหว่างความต้องการเวิร์กโหลดและการกำกับดูแลข้อมูล หรือ Data Governance

ไม่มีองค์กรใดย้ายไปใช้คลาวด์ด้วยเหตุผลเพียงเพื่อความยั่งยืน แต่ผู้บริหารบางรายกำลังเร่งการย้ายข้อมูลขึ้นไปบนคลาวด์ เนื่องจากมีศักยภาพอย่างมากในการลดก๊าซเรือนกระจก ภายใต้เงื่อนไขบางประการ ซึ่งองค์กรเหล่านี้สามารถลดการปล่อยก๊าซได้มากถึง 70% ในระยะยาว โดยการย้ายจากศูนย์ข้อมูลภายในองค์กรไปใช้บริการพับลิกคลาวด์สาธารณะ

แม้ว่าผู้ให้บริการจะมีหน้าที่ในการทำให้คลาวด์เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่การใช้คลาวด์อย่างยั่งยืนก็เป็นความรับผิดชอบขององค์กรเช่นกัน

ดิจิทัลเวิร์กสเปซ

ดิจิทัลเวิร์กสเปซเป็นแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญที่สุด เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้าอื่น ๆ ซึ่งการปล่อยมลพิษเกิดขึ้นตั้งแต่แหล่งกำเนิดไปจนถึงกระบวนการต่าง ๆ (ตั้งแต่การผลิตถึงการจัดจำหน่าย) ตลอดจนการใช้เทคโนโลยี

ผู้บริหารด้านการปฏิบัติงานและเทคโนโลยี (I&O) สามารถยกระดับความยั่งยืนของดิจิทัลเวิร์กสเปซได้ด้วยการยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ โดยซื้ออุปกรณ์ที่ผ่านการปรับสภาพ (Refurbished) และตั้งค่าอุปกรณ์ให้อยู่ในโหมดประหยัดพลังงานโดยอัตโนมัติ แต่ฝ่าย IT มีหน้าที่เพียงครึ่งเดียวเท่านั้น พนักงานเองก็จำเป็นต้องมีส่วนร่วมในการลดดิจิทัลคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของตนเองด้วย

การยกระดับความตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อมของพนักงานถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ เนื่องจากพนักงานส่วนใหญ่มักมองข้ามผลกระทบที่ตนเองมีต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้ไอที ไม่ใช่เพราะพวกเขาไม่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม แต่เนื่องจากไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง ดังนั้นการสร้างประสบการณ์การทำงานดิจิทัลที่ยั่งยืนจึงเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งต้องมุ่งเน้นไปที่การเสริมความรู้ให้พนักงานสามารถใช้เทคโนโลยีในรูปแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น

ข้อมูล – Data

แม้ว่าผู้บริหารฝ่าย I&O จะไม่ได้มีหน้าที่โดยตรงในการบริหารจัดการดาต้าขององค์กร แต่ว่าพวกเขามีบทบาทสำคัญในการประเมินผลกระทบของดาต้าต่อพื้นที่จัดเก็บข้อมูลภายในดาต้าเซ็นเตอร์ โดยการทำงานร่วมมือกับผู้บริหารฝ่ายวิเคราะห์และจัดการข้อมูล หรือ D&A พวกเขาสามารถช่วยออกแบบวิธีลดการใช้พื้นที่จัดเก็บข้อมูลที่ไม่จำเป็น รวมถึงยกระดับประสิทธิภาพการจัดเก็บข้อมูล เพื่อลดผลกระทบต่อความยั่งยืนในภาพรวม

ข้อมูลเปรียบเสมือนทรัพย์สินที่สร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง (Competitive Differentiation) แต่ในขณะเดียวกัน ข้อมูลเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การใช้พลังงานไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้น ปัญหานี้ยิ่งทวีความรุนแรงเมื่อข้อมูลถูกส่งผ่านเครือข่าย การเคลื่อนย้ายข้อมูลภายในเครือข่าย การเข้าออกคลาวด์ ล้วนใช้พลังงานมหาศาล

การย้ายข้อมูลไปบนคลาวด์ ไม่ใช่การแก้ปัญหาข้อมูลอย่างยั่งยืน วิธีที่ยั่งยืนกว่า คือ การแก้ไขที่ต้นเหตุด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการเคลื่อนย้ายข้อมูล การลบข้อมูลที่ซ้ำซ้อนหรือข้อมูลที่ไม่ได้ใช้งานนานแล้ว การจัดเก็บข้อมูลกับผู้ให้บริการคลาวด์ที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเดียวกับผู้ใช้ และเหตุผลอื่น ๆ 

ซอฟต์แวร์

เรื่องของความยั่งยืนไม่ได้หยุดอยู่แค่ที่ฮาร์ดแวร์เท่านั้น ซอฟต์แวร์เองก็มีจุดด้อยในเรื่องประสิทธิภาพที่มักจะส่งผลกระทบไปยังทีมฮาร์ดแวร์ด้วยเช่นกัน โดยซอฟต์แวร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจะเน้นเรื่องการประหยัดพลังงานและสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ยังเป็นหัวข้อที่ซับซ้อนมาก โดยมีประเด็นย่อยที่ต้องคำนึง อาทิ การออกแบบระบบใหม่ให้คำนึงถึงความยั่งยืน การหาพันธมิตรทางธุรกิจที่คำนึงถึงความยั่งยืน บริการโฮสต์ข้อมูลที่คำนึงถึงความยั่งยืนจากคลาวด์และศูนย์ข้อมูล รวมทั้งผู้ให้บริการพลังงานไฟฟ้าที่ปล่อยคาร์บอนต่ำหรือปลอดคาร์บอน

การรันซอฟต์แวร์อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ต้องคำนึงถึงทั้งสถานที่ เวลา และฮาร์ดแวร์ที่ประหยัดพลังงาน ความเข้มของคาร์บอนในระบบไฟฟ้าของแต่ละพื้นที่นั้น ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ได้แก่ ประเทศ หน่วยงานที่ผลิตไฟฟ้า เวลา สภาพอากาศ ข้อตกลงในการซื้อขาย / ถ่ายโอนไฟฟ้า เทคโนโลยีที่ใช้ผลิตไฟฟ้า แหล่งพลังงาน และยังมีอีกหลาย ๆ ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง

นอกจากนี้ ยิ่งซอฟต์แวร์ทำงานใกล้ชิดกับฮาร์ดแวร์มากเท่าไหร่ ประสิทธิภาพก็ยิ่งดีขึ้นเท่านั้น วิธีการพัฒนาซอฟต์แวร์มักจะมุ่งเน้นไปที่การย้ายออกจากฮาร์ดแวร์ ซึ่งช่วยให้การพัฒนาแอปพลิเคชันซอฟต์แวร์ที่ซับซ้อนง่ายขึ้น อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้ส่งผลให้ฮาร์ดแวร์ต้องทำงานหนักขึ้น เพื่อใช้พลังงานในการทำงานมากขึ้น

เกี่ยวกับการ์ทเนอร์ 

บริษัท การ์ทเนอร์ (Gartner, Inc.) (NYSE: IT) คือบริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาชั้นนำของโลก มอบข้อมูลเชิงลึก คำแนะนำ และเครื่องมือต่าง ๆ แก่ผู้บริหารองค์กรธุรกิจ เพื่อรองรับการดำเนินภารกิจสำคัญที่มีอยู่ในปัจจุบันและสร้างองค์กรให้ประสบความสำเร็จในอนาคต ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางของการ์ทเนอร์ในการช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจอย่างถูกต้องเพื่อขับเคลื่อนอนาคตของธุรกิจได้ที่ gartner.com


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

Schneider Electric ร่วมมือ NVIDIA ออกแบบศูนย์ข้อมูล AI ขับเคลื่อนเส้นทางสู่โลกอนาคต

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น ในการบริหารจัดการพลังงานและระบบอัตโนมัติ ได้ประกาศความร่วมมือกับ NVIDIA เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับโครงสร้างพื้นฐานของศูนย์ข้อมูล และปูทางสู่ความล้ำหน้าด้านเทคโนโลยี Edge AI หรือการประมวลผลของ AI ที่เอดจ์ รวมถึง Digital twin

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค จะใช้ความเชี่ยวชาญด้านโครงสร้างพื้นฐานของศูนย์ข้อมูลและเทคโนโลยี AI ขั้นสูงของ NVIDIA เพื่อแนะนำดีไซน์ต้นแบบเพื่อการอ้างอิงของศูนย์ข้อมูล AI ที่เปิดเผยสู่สาธารณะเป็นครั้งแรก ดีไซน์เหล่านี้เตรียมไว้เพื่อกำหนดมาตรฐานใหม่สำหรับการปรับใช้ AI และดำเนินงานภายในระบบนิเวศของศูนย์ข้อมูล ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญของวิวัฒนาการในอุตสาหกรรม

เนื่องจากแอปพลิเคชัน AI กำลังเป็นที่นิยมและได้รับการยอมรับจากภาคอุตสาหกรรมต่างๆ อีกทั้งต้องใช้ทรัพยากรมากกว่าการประมวลผลแบบเดิม ทำให้ต้องใช้พลังการประมวลผลเพิ่มขึ้นทวีคูณ การที่ AI มาแรงจึงกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและสร้างความซับซ้อนในการออกแบบและการดำเนินงานศูนย์ข้อมูล พร้อมกับที่ผู้ดำเนินการศูนย์ข้อมูลต้องทำงานเพื่อสร้างและดูแลสิ่งอำนวยความสะดวกที่ให้พลังงานเสถียรด้วยความรวดเร็ว เพื่อช่วยประหยัดพลังงานและรองรับการปรับขยายได้

“เรากำลังปลดล็อกอนาคตของ AI เพื่อองค์กรต่างๆ” ปานกาจ ชาร์มา รองประธานบริหาร แผนกพลังงานที่ปลอดภัยและธุรกิจศูนย์ข้อมูล ชไนเดอร์ อิเล็คทริค กล่าว “การผสมผสานความเชี่ยวชาญด้านโซลูชันศูนย์ข้อมูลของเราเข้ากับความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี AI ของ NVIDIA คือการที่เรากำลังช่วยให้องค์กรต่างๆ ก้าวข้ามข้อจำกัดด้านโครงสร้างพื้นฐานของศูนย์ข้อมูล และปลดล็อกศักยภาพของ AI ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ความร่วมมือระหว่างเรากับ NVIDIA นับเป็นการปูทางสู่อนาคตที่สร้างการเปลี่ยนแปลง ที่ให้ความยั่งยืน และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ด้วยขุมพลังของ AI”

การออกแบบดาต้าเซ็นเตอร์ล้ำยุคเพื่อเป็นต้นแบบในการอ้างอิง

ในเฟสแรกของความร่วมมือ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค จะนำเสนอดีไซน์ต้นแบบเพื่อการอ้างอิงสำหรับศูนย์ข้อมูลล้ำยุคที่ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับคลัสเตอร์การประมวลผลแบบเร่งความเร็วของ NVIDIA และสร้างเพื่อการประมวลผลข้อมูล การจำลองทางวิศวกรรม การออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ การออกแบบตัวยาโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย รวมถึง generative AI ซึ่งจุดมุ่งเน้นพิเศษคือการกระจายพลังงานได้สูง มีระบบระบายความร้อนด้วยของเหลว และระบบควบคุมที่ออกแบบมาเพื่อให้แน่ใจว่าทดสอบการใช้งานได้ง่ายและให้การทำงานที่น่าเชื่อถือสำหรับคลัสเตอร์ที่มีความหนาแน่นสูงเป็นพิเศษ โดยภายใต้ความร่วมมือดังกล่าว ชไนเดอร์ อิเล็คทริคตั้งเป้าที่จะมอบเครื่องมือและทรัพยากรที่จำเป็นแก่เจ้าของศูนย์ข้อมูลและผู้ปฏิบัติงานเพื่อผสานรวมโซลูชัน AI ใหม่ที่ล้ำหน้าเข้ากับโครงสร้างพื้นฐานได้อย่างราบรื่น เพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน และให้ความมั่นใจในการดำเนินงานตลอดช่วงอายุการใช้งานได้อย่างน่าเชื่อถือ

เพื่อตอบสนองความต้องการด้านเวิร์กโหลดของ AI ที่เพิ่มขึ้น ดีไซน์ต้นแบบเพื่อการอ้างอิงนี้ จะนำเสนอกรอบการทำงานที่แข็งแกร่งสำหรับการนำแพลตฟอร์มการประมวลผลแบบเร่งความเร็วของ NVIDIA มาใช้ในศูนย์ข้อมูล ในขณะเดียวกันก็เพิ่มประสิทธิภาพ ให้ความสามารถในการปรับขยายการทำงาน และให้ความยั่งยืนโดยรวม ทั้งนี้ คู่ค้า วิศวกร และผู้นำศูนย์ข้อมูลสามารถใช้การดีไซน์อ้างอิงเหล่านี้สำหรับห้องต่างๆ ของศูนย์ข้อมูลที่มีอยู่ ซึ่งจะต้องรองรับการใช้งานใหม่ๆ ของเซิร์ฟเวอร์ AI ที่มีความหนาแน่นสูง รวมถึงการสร้างศูนย์ข้อมูลใหม่ที่ปรับปรุงอย่างสมบรูณ์เพื่อให้เหมาะสำหรับคลัสเตอร์ AI ที่ระบายความร้อนด้วยของเหลว

“เราร่วมมือกับ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เพื่อนำเสนอดีไซน์ต้นแบบเพื่อการอ้างอิงของศูนย์ข้อมูล AI โดยใช้เทคโนโลยีการประมวลผลเร่งความเร็วรุ่นใหม่ของ NVIDIA” Ian Buck รองประธาน Hyperscale และ HPC ของ NVIDIA กล่าว “ความร่วมมือครั้งนี้ช่วยให้องค์กรต่างๆ มีโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นเพื่อให้ได้ประโยชน์จากศักยภาพของ AI ช่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมและสร้างการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลได้ครอบคลุมทั่วทุกอุตสาหกรรม”

Roadmap แห่งอนาคต

นอกเหนือจากดีไซน์ต้นแบบเพื่อการอ้างอิงของศูนย์ข้อมูล AVEVA ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ Schneider Electric จะเชื่อมต่อแพลตฟอร์ม Digital Twin เข้ากับ NVIDIA Omniverse เพื่อมอบสภาพแวดล้อมที่เป็นหนึ่งเดียวสำหรับการจำลองที่เสมือนจริงและในการทำงานร่วมกัน การผสานรวมดังกล่าวจะช่วยให้ทั้งนักออกแบบ วิศวกร และผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ประสานการทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น ช่วยเร่งการออกแบบและช่วยให้ใช้งานระบบที่ซับซ้อนได้เร็วขึ้น ขณะเดียวกันก็ช่วยลดค่าใช้จ่ายและลดเวลาในการนำเสนอสู่ตลาด

“เทคโนโลยี NVIDIA ช่วยต่อยอดศักยภาพของ AVEVA ในการสร้างประสบการณ์การทำงานร่วมกันในเชิงลึกได้อย่างสมจริงที่รองรับด้วยข้อมูลที่มีคุณภาพจำนวนมากและความสามารถของ Digital Twin ที่ชาญฉลาดของ AVEVA” Caspar Herzberg ซีอีโอของ AVEVA กล่าว “เรากำลังร่วมกันสร้างระบบเสมือนจริงด้านอุตสาหกรรมที่จำลองได้อย่างสมบูรณ์แบบ ซึ่งคุณสามารถจำลองกระบวนการ จำลองผลลัพธ์ และสร้างการเปลี่ยนแปลงได้จริง การผสมผสานระหว่างความฉลาดทางดิจิทัลและผลลัพธ์ที่ได้จริง จะให้ศักยภาพในการปฏิรูปการดำเนินงานของอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ให้ความปลอดภัยมากขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น และยั่งยืนมากขึ้น”

ในความร่วมมือกับ NVIDIA ชไนเดอร์ อิเล็คทริควางแผนที่จะสำรวจกรณีการใช้งานและแอปพลิเคชันใหม่ๆ ทั่วทุกภาคส่วนของอุตสาหกรรม และเดินหน้าวิสัยทัศน์ในการขับเคลื่อนเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีพร้อมกำหนดอนาคตของเทคโนโลยี


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

มจพ.จัดแข่งขันโบว์ลิ่งการกุศลสนับสนุนทีมหุ่นยนต์ World Robocup Rescue 2024

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ร่วมกับสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยี

พระจอมเกล้าพระนครเหนือในพระบรมราชูปถัมภ์ฯ จัดการแข่งขันโบว์ลิ่งการกุศล ในวันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน 2567 Blu-O-RHYTHM & BOWL ชั้น 4 เมเจอร์ซินีเพล็กซ์ รัชโยธิน  กรุงเทพฯ  ชิงถ้วยรางวัลเกียรติยศต่างๆ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดหารายได้สนับสนุนทีมหุ่นยนต์กู้ภัยของ มจพ. ทีม iRAP Robot เข้าร่วมเดินทางไปแข่งขัน World Robocup Rescue 2024 ระหว่างวันที่ 17-20 กรกฎาคม 2567 ณ ประเทศเนเธอร์แลนด์  อัตราค่าสมัครแข่งขันมี 2 ประเภท ดังนี้   ทีมกิตติมศักดิ์ ทีมละ 30,000 บาท และทีมทั่วไป ทีมละ 10,000 บาท

สมัครได้ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 21 มิถุนายน 2567 และสามารถสมัครได้ที่ https://bowlingcharity.kmutnb.ac.th/

ทั้งนี้สามารถร่วมสนับสนุนโบว์ลิ่งการกุศลได้ที่ ชื่อบัญชีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือธนาคารกสิกรไทย สาขาบางโพ บัญชีกระแสรายวันเลขที่ 033-1-00226-7 ผู้ร่วมบริจาคและสนับสนุนทีมแข่งขันสามารถนำใบเสร็จรับเงินไปลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า

สอบถามรายละเอียดได้ที่  คุณวิไลวรรณ หาดี  โทร. 081-136-9999 หรือ 02-555-2000 ต่อ 1111 โทรสาร 02-587-4350  คุณจตุพร คีมนารักษ์ โทร. 087-054-4579  โทรสาร 02-555-2094   คุณเบญจมาศ จงรักษ์  โทร. 089-212-4335 หรือ 02-555-2000 ต่อ 2199 โทรสาร 0-2587-4350

ขวัญฤทัย ข่าว


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

สแกนเนีย เปิดออฟฟิศขายรถสแกนเนียมือสองคุณภาพครบวงจร (Scania Used Center)

นางสาวดวงใจ พงศ์ประเทืองสุข ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการงานขายและกลยุทธ์ประจำประเทศไทย บริษัท สแกนเนีย สยาม จำกัด กล่าวถึงที่มาและเป้าหมายของการเปิดแผนกรถสแกนเนียมือสองขึ้นอย่างเป็นทางการในประเทศไทยว่า สแกนเนีย เป็นหนึ่งในแบรนด์ผู้นำในตลาดรถบรรทุกของโลก ซึ่งมีการดำเนินธุรกิจอยู่มากกว่า 100 ประเทศ เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่เติมเต็มระบบนิเวศทางธุรกิจ (Business Ecosystem) ให้มีความสมบูรณ์ โดยวัตถุประสงค์ที่จัดตั้งก็เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าสามารถเป็นเจ้าของรถบรรทุกสแกนเนียมือสองคุณภาพดีในราคาที่เหมาะสมกับงบประมาณ เพิ่มโอกาสในการเปลี่ยนรถรุ่นใหม่ เทคโนโลยีล่าสุดได้ง่ายขึ้น 

อีกทั้งยังตอบโจทย์ความต้องการของตลาดปัจจุบันที่หลายๆ บริษัทต้องจัดการบริหารต้นทุนกันอย่างเข้มงวด รวมถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ที่ไม่เคยใช้รถสแกนเนียมาก่อนและอยากทดลองเปลี่ยนมาใช้รถบรรทุกสแกนเนียในธุรกิจบ้าง โดยเริ่มจากรถมือสองซึ่งใช้งบประมาณไม่มาก ก็สามารถส่งเสริมภาพลักษณ์ ความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้า แล้วยังได้รับรถที่มีประสิทธิภาพและความสามารถสูงไปใช้งาน แม้จะเป็นรถมือสอง แต่คุณสมบัติเด่นต่างๆ ที่อยู่ในรถบรรทุกสแกนเนียยังคงอยู่ครบ ไม่ว่าจะเป็นความประหยัดน้ำมัน ความคงทนของเครื่องยนต์ สมรรถนะ ความปลอดภัย งานบริการครบวงจร ทั้งสินเชื่อ ฝึกอบรมและที่ปรึกษาการขับขี่ งานซ่อมและบำรุงรักษา ทำให้สแกนเนียมือสองมีความต้องการอย่างมากในตลาดปัจจุบัน

ส่วนแผนงานของ Scania Used Center นั้น ว่าที่ ร.ต.วัชรพล ละมาตร์ ผู้จัดการฝ่ายขายรถบรรทุกและรถสแกนเนียมือสอง กล่าวว่าหัวใจสำคัญและจุดเด่นของรถสแกนเนียมือสองคือ คุณสมบัติของรถสแกนเนียที่ครบเครื่องพร้อมความน่าเชื่อถือของแบรนด์ เรามีรถหลากหลาย ตั้งแต่ 1 ปี จนถึง 10 ปี ทุกคันต้องผ่านการตรวจสอบคุณภาพและประสิทธิภาพอย่างละเอียดตามมาตรฐานของสแกนเนีย 111 รายการ โดยทีมช่างของ สแกนเนีย เป็นผู้ดูแลเช็ค ซ่อม เปลี่ยนอะไหล่ และทดสอบการใช้งานของรถ เพื่อรักษาคุณภาพของรถให้ได้ตามมาตรฐานสแกนเนียไว้พร้อมส่งมอบต่อไป ทำให้วางใจได้ในเรื่องคุณภาพและประสิทธิภาพ ทั้งยังสามารถเช็คประวัติการซ่อมแซมและบำรุงรักษารถได้อย่างละเอียด ส่วนในด้านการขายนั้นมีทั้งแบบขายทั้งชุด (หัวและหาง) และ แยกขายเฉพาะหัว หรือ ส่วนหาง

ผู้ออกรถสแกนเนียมือสองยังจะได้รับการฝึกอบรมสอนการขับขี่ การดูแลรักษา และการใช้งานรถสแกนเนียอย่างถูกวิธีจากทีมอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ Scania Driver Trainerอีกด้วย ส่วนโปรโมชั่นพิเศษช่วงเปิดตัว Scania Used Center อย่างเป็นทางการนั้น เป็นแพ็คเก็จการดูแลรักษารถฟรี 4 รอบ คือ S-M-S-L เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องชุดเล็ก ชุดกลาง ชุดใหญ่ ทุกๆ 45,000 กิโลเมตร หรือ 2 ปี (แล้วแต่อะไรถึงก่อน) พร้อมเงื่อนไขสินเชื่อสุดพิเศษ ดาวน์เริ่มต้น 0% ผ่อนนานสูงสุด 60 เดือน ขับฟรี 90 วัน หรือ ท่านสามารถปรึกษาเงื่อนไขที่ท่านต้องการ ขยายทุกความเป็นไปได้กับ สแกนเนีย สยาม ลีสซิ่ง ได้อย่างยืดหยุ่น

Scania Used Center ตอบโจทย์ความต้องการในราคาที่เข้าถึงมากขึ้น สินเชื่อที่รองรับเงื่อนไขยืดหยุ่น รถที่นำมาจำหน่ายก็ไว้ใจได้ว่าให้ข้อมูลสภาพอย่างตรงไปตรงมา คุณภาพดี จึงทำให้กระแสตอบรับในตอนนี้ถือว่าดีมาก

โดยตอนนี้ผู้สนใจสามารถติดต่อมาลงทะเบียนรุ่นที่ต้องการ เพื่อให้ฝ่ายขายติดต่อกลับเมื่อมีรุ่นที่ต้องการ ซึ่งคาดว่าการรอรถที่ลูกค้าต้องการจะไม่นาน เนื่องจาก 10 ปีที่ผ่านมานี้ มีรถสแกนเนียขายออกไปใช้งานสะสมอยู่ทั่วประเทศกว่า 5,000 คัน และทางสแกนเนียมีการเก็บประวัติรถทุกคันที่อยู่ในความดูแลของทางศูนย์ทำให้ติดตาม ตรวจสอบ และติดต่อกับผู้ต้องการเปลี่ยนรถได้ง่าย และการเกิดขึ้นของ Scania Used Center จะเป็นจุดสนใจทำให้เกิดการ Trade in กับเรามากขึ้นด้วย 

สำหรับผู้สนใจข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมของบริการรถบรรทุกสแกนเนียมือสอง สามารถติดตามได้ที่ LINE OA: Scania TH Group หรือ โทร 063 226 7451 และ 080 076 4667


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

อีริคสันครองอันดับหนึ่งผู้นำตลาดโครงสร้างพื้นฐานเครือข่าย 5G ในรายงาน Frost Radar™ เป็นปีที่สี่ติดต่อกัน

อีริคสันได้รับการจัดอันดับเป็นผู้นำอันดับ 1 ในรายงานการวิเคราะห์ตลาดโครงสร้างพื้นฐานเครือข่าย 5G ของ Frost Radar™ ประจำปี 2024 เป็นปีที่สี่ติดต่อกัน ตอกย้ำให้เห็นถึงผลลัพธ์ที่ได้จากกลยุทธ์บริษัทที่สามารถตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาของผู้ให้บริการด้านการสื่อสาร (CSPs)

การรักษาอันดับสูงสุดในรายงาน Frost Radar™ ตลอดหลายปีที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าการลงทุนของอีริคสันในด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D) และพอร์ตโฟลิโอผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ซึ่งครอบคลุมทุกด้านของโครงสร้างพื้นฐานเครือข่าย 5G รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานของเครือข่ายในยุคก่อนหน้านี้ ได้รับการยอมรับในตลาดที่เทคโนโลยีพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง

รายงานยังกล่าวถึงการให้ความสำคัญด้านความยั่งยืนของอีริคสันในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และโซลูชันล่าสุดที่ประหยัดพลังงานและมีน้ำหนักเบาที่สุด นอกจากนี้ยังกล่าวถึงแผน Open RAN ของบริษัท

เฟรดริก เจดลิง รองประธานบริหารและหัวหน้างานเครือข่ายอีริคสัน กล่าวว่า “รายงาน Frost Radar ฉบับล่าสุด ตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นอันแน่วแน่ของเราในการเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีผ่านกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพในการแข่งขันสูงสุด เรายังคงให้ความสำคัญกับลูกค้าเป็นหลักและพร้อมก้าวไปข้างหน้าด้วยความมุ่งมั่นที่เพิ่มขึ้นในตลาดที่ท้าทายนี้”

ทรอย มอร์เลย์ หัวหน้านักวิเคราะห์อุตสาหกรรม กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของ Frost & Sullivan กล่าวว่า “อีริคสันทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมในการรักษาลูกค้าเดิมและเพิ่มลูกค้าใหม่ รวมถึงการชนะจากการเปลี่ยนแทนผลิตภัณฑ์คู่แข่งอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งอีริคสันมีลูกค้าจำนวนมากที่ยังไม่ได้เปลี่ยนไปใช้ 5G ณ เวลานี้ แต่จะเปลี่ยนในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า”

ปัจจุบันอีริคสันเป็นกำลังหลักให้กับบริการเครือข่าย 5G ที่เปิดใช้งานแล้ว 160 เครือข่ายใน 68 ประเทศ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดที่ Frost & Sullivan เคยมีการรายงานต่อสาธารณะ

มอร์เลย์ กล่าวว่า “กลยุทธ์ของอีริคสันยังเน้นไปที่ความต้องการของผู้ให้บริการด้านการสื่อสารในทุกพื้นที่ของโลกที่เปลี่ยนแปลงไม่หยุดนิ่ง อย่างไรก็ตามจากการเข้าซื้อกิจการ Cradlepoint ในปี 2020 อีริคสันยังได้ขยายบทบาทตัวเองกับลูกค้าองค์กรด้วย”

รายงานยังกล่าวถึงความสำคัญในการเคลื่อนไหวของ RAN แบบ Open และ Virtual โดยเชื่อว่าในที่สุด Open และ Virtual RAN จะกลายเป็นมาตรฐานของอุตสาหกรรม “การที่อีริคสันก้าวขึ้นมานำเสนอโซลูชัน Open RAN ในปี 2024 จะทำให้การเคลื่อนไหวนี้เป็นจริง” มอร์เลย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า “บริษัทมีแผนที่จะนำเสนอโซลูชันที่สอดคล้องกับ O-RAN ในปี 2024; Frost & Sullivan เชื่อว่าสิ่งนี้จะส่งผลให้รายได้จาก Open และ Virtual RAN เติบโตอย่างมีนัยสำคัญ”

มอร์เลย์ ให้ความเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายงานว่า “ประสิทธิภาพการใช้พลังงานเป็นคำที่พูดถึงกันมาหลายปีแล้ว และอีริคสันยังโดดเด่นในการนำเสนอโซลูชันที่มีขนาดเล็กลง น้ำหนักเบาลง และประหยัดพลังงาน เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า สิ่งนี้จะยังคงดำเนินต่อไปกับโซลูชัน RAN แบบมาตรฐานของอีริคสัน และจะเร่งการเปลี่ยนแปลงให้เร็วขึ้นด้วยการนำเสนอโซลูชัน Open RAN ใหม่ของบริษัท”

รายงาน Frost Radar วัดอัตราการเจริญเติบโต ที่นอกเหนือจากรายได้สุทธิและผสมกับปัจจัยอื่น ๆ เพื่อประเมินประสิทธิภาพของบริษัทตามดัชนีการเจริญเติบโต (Growth Index) รายงานยังประเมินด้านนวัตกรรมของแต่ละบริษัท โดยการประเมินพอร์ตโฟลิโอของผลิตภัณฑ์ ความสามารถในการขยายของนวัตกรรม ประสิทธิภาพของกลยุทธ์การวิจัยและพฤติกรรมอื่น ๆ อีกหลายปัจจัยรายงานล่าสุดของ Frost & Sullivan ตอกย้ำความเป็นผู้นำของอีริคสันในตลาดโครงสร้างพื้นฐานเครือข่าย 5G ซึ่งรวมถึง Radio Access Networks (RAN), Transport Networks และ Core Networks

ดาวน์โหลด รายงาน Frost Radar™: 5G Network Infrastructure Market, 2024 ฉบับเต็มได้ที่นี่


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

“นวัตกรรมธุรกิจดิจิทัล” หลักสูตรแรก!! ปวส. เรียนต่อปริญญาตรี จบได้ภายใน 1 ปี

CIBA DPU จับมือกับภาคธุรกิจ ปรับหลักสูตร นวัตกรรมธุรกิจดิจิทัล เรียนจบได้ภายใน 1 ปี เปิดโอกาสนักเรียนระดับ ปวส. ทุกคณะเทียบโอน ฝึกปฏิบัติในสถานประกอบการวัดผลเป็นเกรดเฉลี่ย เน้นยืดหยุ่น เรียนจบเร็วพร้อมทำงานทันที

ดร.รชฏ ขำบุญ คณบดีวิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (CIBA) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) เปิดเผยว่า ปัจจุบันแนวการเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่มีรูปแบบใหม่ๆ ที่หลากหลายมากขึ้น ซึ่ง CIBA DPU ได้มีการปรับปรุง พัฒนาการเรียนการสอนให้ตอบโจทย์และเอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน มีความยืดหยุ่น เปิดโอกาสให้ทุกคนเข้าถึงองค์ความรู้ เพิ่มเติมทักษะ และสามารถทำงานไปด้วยเรียนไปด้วย

สำหรับ หลักสูตรนวัตกรรมธุรกิจดิจิทัล เป็นหลักสูตรที่ได้รับความร่วมมือจากสถานประกอบการ ผ่านการ MOU ร่วมกัน โดยนักศึกษาจะทำงานไปด้วยระหว่างการเรียน ซึ่งสถานประกอบการจะมอบหมายภาระงานที่สอดคล้องกับรายวิชาที่นักศึกษาลงทะเบียน จากนั้นอาจารย์และพี่เลี้ยงจะร่วมกันสอนงานทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เมื่อนักศึกษาปฏิบัติงานตามระยะเวลาที่กำหนด จะมีการประเมินผลการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการและอาจารย์ร่วมกัน ในรูปแบบเกรดและหน่วยกิตเช่นเดียวกับการเรียนที่มหาวิทยาลัย

ข้อดีของการเรียนในรูปแบบนี้คือ นักศึกษาสามารถทำงานไปด้วยและเรียนเพื่อได้ดีกรีไปพร้อมกัน นอกจากนั้นทางหลักสูตรได้อำนวยความสะดวกด้วยระบบการเรียนแบบออนไลน์ให้กับนักศึกษาอีกด้วย ซึ่งนักศึกษาสามารถเรียนผ่านระบบออนไซต์และออนไลน์ ที่มีความยืดหยุ่นเรื่องวันเรียนที่ไม่ชนกับวันทำงานได้ อีกทั้ง อาจารย์ยังจะไปเยี่ยมติดตามและให้ความรู้กับนักศึกษาถึงสถานประกอบการด้วย ดังนั้น หลักสูตรนี้จะเน้นการฝึกการทำงานอย่างเข้มข้น พร้อมกับได้วุฒิตามที่นักศึกษาต้องการ ปกติหลักสูตรนี้รับนักศึกษา จบ ปวส. มาเรียนต่อ ปริญญาตรี โดยใช้เวลาเรียน 2 ปี แต่ด้วยการเรียนในรูปแบบนี้ นักศึกษาจะสามารถเรียนจบได้ภายใน 1 ปี โดยยังคงคุณภาพการศึกษาไว้เช่นเดิม

“ก่อนหน้านี้ หลักสูตรดังกล่าวเป็นการเรียนระดับปริญญาตรีใช้เวลาเรียน 2 ปี จากระดับ ปวส. และทางหลักสูตรได้จัดการเรียนการสอนจนสามารถเรียนจบเร็วขึ้นภายในปีครึ่ง แต่ปีนี้จะเป็นปีแรกที่หลักสูตรจะมีความยืดหยุ่นมากขึ้น เน้นการบูรณาการการเรียนและการทำงาน ผ่านการ MOU ร่วมกับสถานประกอบการ จนสามารถนำผลการปฏิบัติการมาเป็นเกรด ทั้งนี้ นักเรียนนักศึกษาในระดับปวส. จะคุ้นเคยกับทำงานในระบบทวิภาคีอยู่แล้ว หรือปฏิบัติงานในสถานประกอบการประมาณ 8 ชั่วโมง เหมือนกับพนักงานจริง ๆ ดังนั้น ทางหลักสูตรจึงได้ใช้แนวทางดังกล่าว ผ่านความร่วมมือกับสถานประกอบการ เพื่อทำให้ชั่วโมงการทำงานสามารถเทียบและประเมินได้เป็นหน่วยกิตการศึกษา เอื้อต่อการเรียนรู้ การเพิ่มทักษะ ให้แก่นักเรียนได้ อีกทั้งการเรียนดังกล่าวจะมีการเรียนออนไลน์มาสนับสนุนการเรียนรู้ นักศึกษาสามารถจัดสรรเวลาที่เหมาะสมกับตัวเอง เรียนไปด้วยทำงานไปด้วย และจบได้เร็วขึ้น” ดร.รชฏ กล่าว

ทั้งนี้ “หลักสูตรนวัตกรรมธุรกิจดิจิทัล” เป็นการเรียนเพื่อให้นักศึกษามีความรู้ทั้งเรื่องธุรกิจ นวัตกรรมความคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ และดิจิทัล การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำงาน โดยหลักสูตรนี้ได้ถูกแบ่งรายวิชาออกเป็น 3 กลุ่มหลักๆ ได้แก่ 1. กลุ่มรายวิชาที่เกี่ยวกับนวัตกรรม เรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรมให้ผลิตภัณฑ์ บริการ และเพื่อสร้างมูลค่าให้กับองค์กร 2. กลุ่มรายวิชาเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานทางด้านธุรกิจ และความเป็นผู้ประกอบการ เช่น การตลาด การบัญชี การเงิน และโลจิสติกส์ 3. กลุ่มรายวิชาที่เกี่ยวกับด้านดิจิทัล เช่น เทคโนโลยีดิจิทัลที่ใช้ในการพัฒนาธุรกิจ ได้แก่ การพัฒนาแอพพลิเคชั่น การพัฒนาระบบฐานข้อมูลลูกค้า เป็นต้น นอกเหนือจากนั้น ทางหลักสูตรยังได้นำเครื่องมือและแนวการสอนสมัยใหม่ เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้เช่น การใช้ Chat GPT, การเล่นเกมจำลองธุรกิจ และการใช้ระบบหลังบ้าน ERP (Enterprise Resource Planning) เพื่อช่วยให้นักศึกษาเข้าใจภาพรวมของธุรกิจได้มากขึ้น เป็นต้น

คณบดี CIBA DPU กล่าวต่อว่า หัวใจหลักของหลักสูตรนวัตกรรมธุรกิจดิจิทัลนี้ คือ การบูรณาการหลักสูตรกับสถานประกอบการมากขึ้น ทำให้หลักสูตรต่างๆ ตอบโจทย์ทั้งผู้เรียน และความต้องการของสถานประกอบการ อีกทั้งรูปแบบการเรียน นักศึกษาสามารถเลือกได้ว่าจะเรียนแบบ ออนไซต์ หรือ ออนไลน์ (e-learning) และเรียนแบบ ธนาคารหน่วยกิต (Credit Bank) หรือ การสะสมหน่วยการเรียนรู้ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้นำประสบการณ์การทำงานจากสถานประกอบการชั้นนำที่ร่วมมือกับทางมหาวิทยาลัย วัดผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcomes) ผ่านชุดรายวิชา (Module) โดยมุ่งหวังให้ผู้เรียนมีโอกาสเชื่อมโยงการเรียนรู้กับประสบการณ์การทำงานสามารถพัฒนาตนเองให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน

สำหรับการวัดผลลัพธ์การเรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ เช่น นักศึกษาทำงานอยู่แผนกจัดซื้อ อาจารย์จะทำการสอนออนไลน์หรือออนไซต์ในด้านทฤษฎีของการจัดซื้อ โดยอาจใช้เวลาในช่วงเย็นเรียนออนไลน์ หรือ วันหยุดมาเรียนที่มหาวิทยาลัย จากนั้น เมื่อปฏิบัติงาน หัวหน้าหรือผู้ดูแลนักศึกษาฝึกงานจะสอนงานเพิ่มในเชิงการปฏิบัติงาน ในการประเมินองค์ความรู้ ทั้งอาจารย์และผู้ประกอบการจะร่วมประเมินจากความรู้และการปฏิบัติงาน และให้เกรดตามระดับผลงานที่เกิดขึ้นจริงในชุดรายวิชาของการจัดซื้อ เป็นต้น ส่วนรายวิชาอื่นนักศึกษาต้องเรียนออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มเพื่อเก็บหน่วยกิตได้ตลอดเวลาตามที่นักศึกษาสะดวกตามกรอบเวลา

อย่างไรก็ตาม หลักสูตร “นวัตกรรมธุรกิจดิจิทัล” เป็นความร่วมมือระหว่าง CIBA DPU กับสถานประกอบการ เพื่อยกระดับทักษะแรงงานให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญทั้งด้านธุรกิจและการสร้างสรรค์นวัตกรรม อันนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถให้แก่อุตสาหกรรมและประเทศ รวมถึงเป็นการผลิตบุคลากร แรงงานที่สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ ลดการขาดแคลนแรงงาน และเพิ่มทักษะด้านนวัตกรรมดิจิทัลให้แก่ทรัพยากรบุคคลของประเทศ ผู้สนใจหลักสูตรดังกล่าว สามารถสมัครเรียน ในระดับปริญญาตรี เทียบโอน ปวส. ภาคพิเศษ ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์ https://ciba.dpu.ac.th/ หรือ โทร. 02-954-7300


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

มข. เปิดตัวโครงการวิจัย Ugly Veggies Plus เพิ่มมูลค่าผักที่เคยถูกทิ้งเป็นขยะ แปรรูปและขายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์

มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกผัก ผลไม้ Organic ในเครือข่าย พัฒนาโครงการ Ugly Veggies Platform เพื่อเพิ่มมูลค่าผักรูปทรงไม่สวยที่เคยถูกทิ้งเป็นขยะ โดยแปรรูปและขายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ โดยโครงการประสบความสำเร็จ สามารถลดขยะผัก 30-50% แต่ยังมีเศษผัก 5% ที่เหลือทิ้งอยู่ ทีมวิจัยจึงพัฒนาต่อยอดโครงการ Ugly Veggies Plus โดยใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน เพื่อติดตามที่มาของผักสังเคราะห์ถุงพลาสติกชีวภาพจากเศษผักและผลิตดินปลูกจากผักอินทรีย์ ซึ่งช่วยลดการคัดทิ้งของผักอันก่อให้เกิดขยะได้ 100% รวมถึงส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนและผลักดัน BCG Economy Model ซึ่งยังเป็นการช่วยเหลือและพัฒนาเกษตรกรในพื้นที่ โดยเป็นหนึ่งในปณิธานของมหาวิทยาลัยขอนแก่น นำโดย รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น

รองศาสตราจารย์ ดร.ภาณินี นฤธาราดลย์ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมและสังคมแห่งความยั่งยืน สังกัดวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่นและยังเป็นผู้อำนวยการโครงการวิจัยนี้ กล่าวว่าวัตถุประสงค์ของการแถลงข่าวในครั้งนี้เพื่อประชาสัมพันธ์และเปิดตัวโครงการ Ugly Veggies Plus – การต่อยอดแบบจำลองธุรกิจบนพื้นฐานของเทคโนโลยีการตรวจสอบย้อนกลับและเศรษฐกิจหมุนเวียนคาร์บอนต่ำเพื่อการจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตและการส่งออกของสินค้าอาหารอินทรีย์อย่างยั่งยืน ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณดำเนินการจาก แผนงานกลุ่มเศรษฐกิจหมุนเวียน หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ภายใต้การกำกับของสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)”

ภายในงาน มีพิธีเปิดงานแถลงข่าว กล่าวต้อนรับโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์สิริมนพร ทิพสิงห์ คณบดีวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รวมถึงการกล่าวต้อนรับจาก ศาสตราจารย์ ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ภาณินี นฤธาราดลย์ ผู้อำนวยโครงการวิจัย Ugly Veggies Plus ฯ กล่าวรายงานสรุป โดยมี
ดร.พงษ์วิภา หล่อสมบูรณ์ ประธานอนุกรรมการแผนงานกลุ่มเศรษฐกิจหมุนเวียน หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ให้เกียรติเป็นประธานในพิธี กิจกรรมในงานมีการเปิดตัวโครงการวิจัย โดยการสัมภาษณ์นักวิจัย นอกจากนี้ ยังได้รับเกียรติจาก คุณอภิชัย เรืองศิริปิยะกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทออสคอร์เปอเรชั่น หรือในฐานะผู้พัฒนาเทคโนโลยีสร้างภาพเสมือนจริงแบบสามมิติ (Augmented Reality : AR) ผู้บุกเบิกให้ความสำคัญและอยู่เบื้องหลังผลงาน AR ที่สร้างชื่อเสียงระดับประเทศ ร่วมด้วยคณะผู้บริหารโรงแรมในเครือ Marriott และ รองศาสตราจารย์ ดร.ชวิศ เกตุแก้ว รองคณบดีฝ่ายกลยุทธ วิจัยและการต่างประเทศ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้วางแผนโครงการ ยังรวมถึงผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อังคณา บุญยืดคณบดีคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่นเข้าร่วมงานแถลงข่าวด้วย

สำหรับผลของโครงการที่คาดว่าจะได้รับ มีทั้งผลกระทบทางเศรษฐกิจ ได้แก่ Ugly Veggies Platform
มีรายได้เพิ่มขึ้นเพื่อนำไปสู่การเป็น Social Enterprise เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรอย่างแท้จริง เกษตรกรในเครือข่ายมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ Organic ผลกระทบด้านสังคม ได้แก่ เกิดการจ้างงาน หรือสร้างอาชีพ ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เกิดการตระหนักรู้ถึงบทบาทและการมีส่วนร่วมของผู้บริโภคในการสร้างสังคมสีเขียว ส่งเสริมแนวคิด BCG Economy หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) คือ โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม คือ ลดจำนวนขยะจากกระบวนการผลิตผักอินทรีย์จนเหลือ 0% และลดการปล่อย carbon emissions จากการทำลายขยะทางการเกษตรโดยการผลิตเทคโนโลยีและ ผลิตภัณฑ์ที่มาจากเศษเหลือทิ้งจากผักอินทรีย์ ซึ่งประกอบด้วย 1. นวัตกรรมเทคโนโลยีการตรวจสอบย้อนกลับ 2. นวัตกรรมอาหารโปรตีนสูง 3. นวัตกรรมดินพร้อมปลูก และ 4. นวัตกรรมพลาสติกชีวภาพ

เป้าหมายต่อไปของวิทยาลัยนานาชาติมหาวิทยาลัยขอนแก่นในด้านงานวิจัยคือการเสริมสร้างพลังแก่ประชากรโลกและสร้างเสริมการเปลี่ยนแปลงสู่ความยั่งยืนผ่านการศึกษาวิจัยและนวัตกรรมและการพัฒนาชุมชนที่มีคุณภาพในแง่ของงานวิจัยวิทยาลัยนานาชาติดำเนินงานในบริบทนี้ผ่านศูนย์นวัตกรรมและสังคมแห่งความยังยืนไม่เพียงแต่การดำเนินงานวิจัยซึ่งมีโจทย์มาจากปัญหาในชุมชนและสังคมแล้วยังรวมถึงการสร้างนวัตกรรมและถ่ายทอดองค์ความรู้จากงานวิจัยลงสู่ชุมชนอีกด้วยให้บรรลุเป้าหมายเพื่อความยั่งยืนในอนาคตทั้งในระดับประเทศและแสวงหาความร่วมมือในระกับนานาชาติต่อไป


Exit mobile version