ปัญหาแอร์มีน้ำหยดออกทางด้านล่างตัวเครื่องนั้นเกิดได้ 2 ลักษณะด้วยกันคือ
แอร์น้ำหยด

ปัญหาแอร์มีน้ำหยดออกทางด้านล่างตัวเครื่องนั้นเกิดได้ 2 ลักษณะด้วยกันคือ
คำว่าแอร์พ่นน้ำในที่นี้หมายถึง มีน้ำกระเด็นออกมาจากช่องลมหน้าเครื่องปรับอากาศ มีลักษณะคล้ายกับละอองฝน เราลองมาวิเคราะห์กันดูครับว่ามันเกิดมาจากสาเหตุอะไร
อีกปัญหาที่หลายคนแก้ไม่ตกของแอร์ หรือเครื่องปรับอากาศ ก็คือแอร์ตัดนานเกินไป คือเมื่อเปิดแอร์ตอนเข้านอนแล้วแรกๆ ก็ทำความเย็นปกติดี แต่พอกลางดึกกลับไม่เย็นขึ้นมา หลายคนเลือกวิธีปรับลดอุณหภูมิที่รีโมตคอนโทรล หรือจากปกติเคยตั้งอุณหภูมิไว้ที่ 27 องศาเซลเซียส ก็เย็นจนต้องห่มผ้า แต่เมื่อวันเวลาผ่านไป ต้องปรับลดอุณหภูมิลงมาเหลือเพียง 23 องศาเซลเซียส แอร์ถึงจะทำความเย็นได้เหมือนเมื่อก่อน ทั้งที่เพิ่งเรียกช่างมาล้างแอร์ไปได้ไม่นาน เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น เรามาแก้ปัญหานี้ด้วยกันครับ
วิเคราะห์หาสาเหตุเสียก่อน
อาการแอร์ตัดนานเกินไป เกิดจากการตรวจจับอุณหภูมิของเซ็นเซอร์ ทำงานผิดปกติไปจากเดิม โดยปกติเซ็นเซอร์ที่เครื่องปรับอากาศใช้สำหรับตรวจจับอุณหภูมิ นั้นก็คือเทอร์มิสเตอร์ หรือตัวต้านทานที่ค่าความต้านทานแปรผันตามอุณหภูมิ ทั่วไปจะใช้แบบอุณหภูมิลดค่าความต้านทานเพิ่ม และมีเจ้าเซ็นเซอร์นี้ติดตั้งอยู่ 2 ตัวด้วยกันคือ
1. เซ็นเซอร์ตรวจจับอุณภูมิลมกลับหรือตรวจจับอุณหภูมิของห้องนั่นเองครับ มีลักษณะเหมือนหัวไม้ขีดไฟ มีกระเปาะสีดำ ปกติมักติดตั้งอยู่ด้านหน้าของแผงคอยล์เย็น เพื่อตรวจสอบว่าอุณหภูมิในห้องลดลงถึงค่าที่เราตั้งไว้ที่รีโมตคอนโทรลเลอร์หรือยัง ถ้าถึงแล้วก็จะสั่งให้ตัดการทำงานของคอมเพรสเซอร์ (คอนเดนซิ่งยูนิต)
2. เซ็นเซอร์ตรวจจับอุณหภูมิท่อสารทำความเย็น (น้ำยาแอร์) มีลักษณะเป็นทรงกระบอกตัวกระเปาะทำจากโลหะ ส่วนมากทำจากทองแดง เมื่อท่อเย็นจัด (สัมพันธ์กับเซ็นเซอร์ตรวจจับอุณภูมิลมกลับ) ก็สั่งตัดการทำงานของคอมเพรสเซอร์เช่นกัน เซ็นเซอร์ตัวนี้ติดตั้งอยู่ติดกับท่อ บริเวณขวามือของแผงคอยล์เย็น (อีวาพอเลเตอร์)
หมายเหตุ : เครื่องปรับอากาศบางรุ่น ตรวจจับสารทำความเย็น (น้ำยาแอร์หมด)โดยอาศัยเซ็นเซอร์จับอุณหภูมิท่อ หากเครื่องปรับอากาศทำงานสักระยะแล้วท่อไม่เย็นจะสั่งปิดระบบทันที
รูปแสดงเหตุการณ์ที่เซ็นเซอร์ทั้ง 2 ตัวทำการตรวจจับอุณหภูมิ
จากรูปด้านบนจะเห็นว่าเหตุการณ์ที่ 3 เป็นสาเหตุให้แอร์ของเราไม่ยอมสั่งให้คอมเพรสเซอร์ทำงาน ทั้งที่เซ็นเซอร์ตัวที่ 1 ก็รับรู้ได้ถึงอุณหภูมิห้องที่สูงขึ้นแล้ว แต่เซ็นเซอร์ตัวที่ 2 กลับบอกว่าท่อยังเย็นอยู่ยังไม่ต้องสั่งให้คอมเพรสเซอร์ทำงาน
ดังนั้นเราจะเห็นว่าเซ็นเซอร์อุณหภูมิทั้งสองตัวนี้ต้องทำงานสัมพันธ์กัน แต่สามารถวิเคราะห์ได้ว่าเซ็นเซอร์ตรวจจับอุณภูมิลมกลับนั้นไม่เป็นสาเหตของปัญหานี้ครับ เพราะมันติดตั้งอยู่ด้านนอก จึงแห้งไม่เปียกชื้นและไม่สกปรกอะไร ต่างจากเซ็นเซอร์ตรวจจับอุณหภูมิท่อสารทำความเย็นที่ต้องเปียกชื้นอยู่ตลอดเวลาขณะเราใช้งานเครื่องปรับอากาศทำให้มีโอกาสเกิดคราบสกปรกที่ผิวของกระเปาะโลหะบนตัวมัน
เมื่อคราบสกปรกจับตัวมากขึ้นทำให้เมื่อเปิดแอร์นานๆ ความชื้นจะสะสมอยู่กับคราบสกปรกเหล่านี้ ทำให้ค่าความต้านทานภายในตัวมันลดลงช้ามากๆ หรือเปลี่ยนแปลงได้ช้ากว่าปกตินั่นเอง ทำให้แผงวงจรควบคุมเข้าใจว่าท่อยังเย็นอยู่จึงไม่ยอมสั่งให้ชุดคอนเดนซิ่งยูนิต (คอยล์ร้อน) ทำงานครับ
วิธีแก้ไขเซ็นเซอร์ตรวจจับอุณหภูมิท่อสารทำความเย็นสกปรก
1. สับเบรกเกอร์ตัดไฟก่อน จากนั้นถอดบานสวิงออกจากหน้ากากของเครื่องปรับอากาศ โดยแต่ละรุ่นจะมีวิธีการถอดไม่เหมือนกัน ให้ค่อยๆ พิจารณาเอา (ระวังสลักหักด้วยนะครับ)
2. คลายสกรูยึดหน้ากากทั้ง 2 ด้าน ของเครื่องออก (บางรุ่นอาจมีตำแหน่งที่ต่างไปจากนี้)
3. ใช้มือประคองด้านซ้ายและขวาของหน้ากากแล้วค่อยๆ ขยับดึงหน้ากากจากส่วนล่างออกมาแล้วงัดขึ้นด้านบนดังรูป
4. ถอดเซ็นเซอร์ตรวจจับอุณหภูมิท่อสารทำความเย็นออกมา โดยใช้ไขควงตัวเล็กดันออกมาจากช่องเสียบ (ห้ามจับสายดึงออกมาเด็ดขาดอาจทำให้สายขาดจากหัวเซ็นเซอร์ได้)
5. ใช้กระดาษทรายขัดคราบสกปรกออกให้สะอาด จากนั้นใส่กลับที่เดิม แล้วประกอบหน้ากากและบานสวิงเข้าตามเดิม
เพียงแค่นี้ แอร์ของเราก็กลับมาทำความเย็นได้ตามปกติแล้วล่ะครับ ลองทำตามดูนะครับ รับรองว่าหายไปอีกหลายปีเลยทีเดียว จนกว่ามันจะสกปรกอีกก็ถอดออกมาขัดอีก เว้นแต่ว่ามันจะเสื่อมสภาพจนใช้งานไม่ได้ อันนี้ต้องซื้อมาเปลี่ยนแล้วล่ะครับ
เรื่องที่คุณอาจสนใจ
หลายคนคงเคยประสบกับปัญหา พัดลมที่บ้านอยู่ๆ ก็มีอาการหมุนช้า ไม่แรงเหมือนเคย ปกติเคยเปิดเบอร์ 1 ก็ลมกำลังดี แต่ตอนนี้ต้องเปิดเบอร์ 3 ถึงจะหมุน บางคนเจอแบบไม่หมุนเลยก็มี ปัญหานี้แก้ไขได้ไม่ยาก และไม่ต้องใช้ทักษะขั้นสูงแต่ประการใด เพียงใช้ไขควงตัวเดียวก็สามารถซ่อมได้แล้วครับ
สาเหตุ
เนื่องจากพัดลมที่เราใช้กันตามบ้านนั้น ใช้มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 1 เฟส แต่การจะทำให้มอเตอร์ที่ใช้ไฟฟ้าเพียง 1 เฟส (ที่ความถี่ไฟฟ้า 50Hz) หมุนได้นั้นย่อมต้องอาศัยตัวช่วยในการชดเชยเฟสของไฟฟ้าที่หายไปช่วงระยะหนึ่ง นั่นก็คือตัวเก็บประจุ หรือคาปาซิเตอร์นั่นเอง
แน่นอนว่าการนำคาปาซิเตอร์ซึ่งเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เข้ามาใช้งานนั้น ย่อมมีค่าความเสื่อม โดยจะเสื่อมเร็วหรือช้าเพียงใดขึ้นอยู่กับคุณภาพของคาปาซิเตอร์ที่ผู้ผลิตเลือกใช้งานด้วยและระยะเวลาการใช้งาน ในกรณีนี้ก็เช่นกัน เกิดจากอาการเสื่อมของสารประกอบที่บรรจุภายในตัวมันเอง ทำให้ค่าความจุภายในลดลงมอเตอร์จึงไม่สามารถหมุนออกตัวได้หรือออกตัวได้แต่หมุนได้ช้าลง(องศาของเฟสแคบลง)
การตรวจสอบ
วิธีตรวจสอบว่าคาปาซิเตอร์ตัวดังกล่าวเสียหรือค่าความจุลดลงหรือไม่นั้น อาจดูจากรูปทรงที่เปลี่ยนไปของมันเช่นตัวถังบวม บิดเบี้ยว หรือปริแตก แต่หากไม่พบความผิดปกติที่ตัวถังก็ไม่ได้หมายความว่าคาปาซิเตอร์ตัวนั้นยังดีอยู่ ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือการใช้มิเตอร์วัดค่าความจุ
ขั้นตอนการเปลี่ยนคาปาซิเตอร์
1. ใช้ไขควง คลายสกรู 2 จุด คือบริเวณก้านสลักหมุน และส่วนท้ายของฝาครอบมอเตอร์ดังรูป แล้วดึงฝาครอบออกมา
2. เมื่อดึงฝาครอบมอเตอร์ออกมา จะพบกับเจ้าคาปาซิเตอร์ขนาด 1.5µF (อ่านว่า-หนึ่งจุดห้าไมโครฟารัด) ยึดด้วยสกรูหนึ่งตัว ให้ทำการคลายสกรูแล้วใช้คีมตัดสายไฟออกมาดังรูป
3. ตรวจดูตัวถังว่ามีความผิดปกติหรือไม่ สำหรับตัวที่ผมถอดออกมานี้ ไม่มีความผิดปกติแต่อย่างใด จึงจำเป็นต้องวัดค่าความจุด้วยมัลติมิเตอร์ ดังรูป
*แต่หากท่านผู้อ่านไม่มีมัลติมิเตอร์ที่สามารถวัดค่าความจุได้ก็คงต้องลองเสี่ยงไปซื้อมาเลยครับ ตัวละไม่เกิน 50 บาท
ปรับมิเตอร์ไปที่ย่านการวัดตัวเก็บประจุ จะมีสัญลักษณ์ -||- ประมาณนี้ โดยมิเตอร์ดิจิตอลจะอ่านค่าแปลงเป็นหน่วยที่เหมาะสมให้เราอ่านได้ง่าย จากรูปอ่านได้ 1.34µF ลดลงจาก 1.5µF
4. ให้นำตัวอย่างไปซื้อที่ร้านจำหน่ายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือร้านจำหน่ายอะไหล่แอร์ (บอกร้านแอร์ว่าซื้อแค๊ปพัดลม) ราคาตัวละไม่เกิน 50 บาท เมื่อได้มาแล้วทดลองวัดค่าอีกครับดังรูป อ้อ เวลาวัดที่ขั้วของตัวเก็บประจุห้ามใช้นิ้วมือจับหัววัดกับขาอุปกรณ์นะครับเพราะจะทำให้ค่าที่ได้คลาดเคลื่อน หรืออาจจับข้างเดียวก็ได้
ทดลองวัดค่าได้ 1.5µF เป๊ะๆ เลย
5. นำตัวที่ซื้อมาใหม่ติดตั้งเข้าไปตามเดิมโดยปอกสายไฟแล้วพันเข้าไปกับสายเส้นเดิมนั่นแหละครับ แล้วพันด้วยเทปพันสายไฟให้เรียบร้อย จากนั้นจึงใช้สรูยึดเข้าไปตามเดิม
จากนั้นก็ประกอบฝาครอบเข้า่ไปตามเดิมก็เป็นอันเสร็จ เราก็จะได้พัดลมกลับมาหมุนได้เร็วตามเดิมแล้วล่ะครับ
เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ปัญหาชักโครกกดไม่ลงแบบนี้เชื่อว่าหลายคนคงเคยพบเจอเป็นแน่ แล้วคำว่ากดไม่ลงเนี่ยมันหมายถึงอะไร ส้วมเต็มหรือว่ามีสิ่งสกปรกอุดตัน หากเป็นอย่างที่กล่าวมา มันขำๆ ครับ
เพราะเห็นกันอยู่ว่า หากส้วมเต็มก็เรียกรถจากเขตหรือเทศบาลมาสูบออก และหากมีสิ่งสกปรกอุดตัน ก็อาจใช้น้ำยาอย่างโซดาไฟ หรือน้ำหมักชีวภาพเทราดลงไปเพื่อช่วยย่อยสลายสิ่งสกปรกต่างๆ ได้
แต่ที่จะมาแนะนำ และบอกเล่ากันนี้ น่าจะเป็นประโยชน์ เพราะผู้เขียนเองก็ประสบปัญหานี้และก็ได้ลองทำแล้วพบว่าสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้จริงๆ ครับ
ปัญหานี้เกิดจากการวางแนวท่อระบายอากาศตั้งแต่ตอนติดตั้งของช่าง เช่นปลายท่อวางไว้ใกล้พื้นดินมากเกินไป ทำให้ท่อระบายอากาศมีสิ่งสกปรกหรือสัตว์เลื้อยคลายต่างๆ เข้าไปอาศัยอยู่ทำให้เกิดการอุดตันจึงไม่สามารถระบายอากาศได้ดี ซึ่งเกิดขึ้นบ่อยกับบ้านทาวน์เฮ้าส์ ทาวโฮม จึงทำให้เมื่อกดชักโครกแล้วอากาศระบายไม่สะดวกเกิดน้ำเออขึ้นมาในอ่างชักโครก โดยขั้นตอนการแก้ไขก็ง่ายมากๆ ให้สังเกตุที่ฐานของชักโครก จะมีช่องเล็กๆ ที่ถูกอุดด้วยปูนยาแนว ซึ่งปกติแล้วช่องเล็กๆ นี้ ผู้ผลิตออกแบบไว้สำหรับใช้สกรูหรือพุกยึดกับพื้นห้องน้ำเพื่อความแน่นหนา ทั้งฝั่งซ้ายและขวา ฝั่งละหนึ่งรู ดังรูปด้านล่าง เจ้ารูนี้แหละครับที่ช่างส่วนใหญ่ใช้ปูนยาแนวอุดเอาไว้เฉยๆ ไม่ได้ใช้น๊อตหรือสกรูเจาะยึดให้เรา เลยกลายเป็นเรื่องดีรึเปล่าอันนี้แล้วแต่จะมองนะครับ โดยหากช่างไม่ได้ยึดไว้ก็ทำให้เราสามารถใช้ประโยชน์จากรูที่ว่านี้มาช่วยระบายอากาศได้อีกทางครับ
วิธีเปิดรูก็ง่ายมากๆ ใช้เพียงตะปูหนึ่งตัวและค้อนหนึ่งอัน จากนั้นค่อยๆ นำค้อนตอกตะปูลงไป จนเป็นรูดังรูปด้านล่างนี้ครับ อ๊ะๆ แต่หากตอกลงไปแล้วรู้สึกว่ามันแข็งก็แสดงว่าเจอหัวสกรูเข้าให้แล้วดังนั้นหากเจอหัวสกรูที่ยึดชักโครกกับพื้นอยู่ก็อย่าฝืนทำต่อนะครับเดี๋ยวชักโครกจะแตกเอาเสียก่อน
หากเจาะได้แล้วก็เอาแค่รูเดียวก็น่าจะเพียงพอแล้วครับ จากนั้นทดลองกดชักโครกดู จะได้ยินเสียงลมเคลื่อนตัวออกจากรูนี้ และน้ำก็จะไหลลงได้ดีขึ้น
เตือนอีกครั้ง
นี่คือการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ความจริงแล้วรูนี้ต้องปิดไว้นะครับ เพราะมันเป็นรูที่อยู่ติดกับท่อทิ้งสิ่งปฏิกูลทั้งหลายที่จะไหลลงไปในถัง แต่ที่เราต้องเจาะรูก็เพราะมันสุดวิสัย
สุดท้ายอย่าลืมตามช่างมาแก้ไขท่อระบายอากาศให้เรียบร้อย
หมายเหตุ. บางคนพบปัญหาน้ำไหลย้อนขึ้นมาจากรูที่เจาะนี้ ดังนั้นจึงควรเจาะรูเท่าตะปูแค่รูเดียวเท่านั้นหากเจาะมากกว่านี้ อาจทำให้แก้ไขได้ลำบาก
จากที่ได้แนะนำกันไปในบทความ “พลาสวูดวัสดุสำหรับงานต้นแบบ” ว่ามันคือวัสดุสำหรับการสร้างงานต้นแบบที่ใช้ทำโครงสร้างได้เป็นอย่างดี ด้วยคุณสมบัติเป็น PVC (Poly Vinyl Chloride) จึงทำให้มันสามารถดัดขึ้นรูปได้
ดังนั้นในบทความนี้เราจะมาสาธิตการดัดพลาสวูด ด้วยไดร์เป่าลมร้อนกันครับ โดยวิธีการนี้ผมเคยใช้สร้างต้นแบบมาหลายครั้งแล้ว นับว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ได้รูปทรงของชิ้นงานที่โค้งมนตามความต้องการ
สำหรับพลาสวูดที่จะนำมาดัดนั้น ผมใช้พลาสวูดหนา 5 มม. เพราะต้นแบบที่ผมทำไม่ว่าจะเป็นหลังคาของห้องน้ำแมว, กล่องโครงสร้างของวาล์วเปิดปิดน้ำอัตโนมัติ, แจกัน ฯลฯ ล้วนเป็นต้นแบบที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก จึงสามารถใช้พลาสวูดที่มีความหนาเพียง 5 มม. ได้ เรามาดูวิธีกันเลยครับ
วิธีการดัดพลาสวูด
1. ใช้ไดร์เป่าลมร้อน(ไม่ใช่ไดร์เป่าผม) ไล่เป่าให้ทั่วบริเวณที่เราต้องการดัดดังรูปที่ 1 จนพลาสวูดเริ่มอ่อนตัว
2. จากนั้นก็เริ่มพับพลาสวูดด้วยความรวดเร็วให้ได้องศาตามต้องการ โดยอาจใช้ท่อน้ำเป็นตัวช่วยประคอง ไม่ให้พลาสวูดบิดตัวดังรูปที่ 2
3. ประคองพลาสวูดเอาไว้จนกว่าพลาสวูดจะเย็นตัว เพียงแค่นี้คุณก็จะได้ชิ้นงานพับขึ้นรูปตามต้องการแล้วครับ
นี่ก็เป็นอีกเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ที่จะมีมาเล่าให้อ่านกันเป็นประจำกับ www.inventor.in.th