Categories
Basic electronics คุณทำเองได้ (DIY)

ตู้กรองควันจากการบัดกรี

เครื่องดูดควันจากการบัดกรีเป็นเครื่องมือที่เมกเกอร์ทั้งมือใหม่ มืออาชีพ ล้วนสนใจจะมีไว้ครอบครอง ที่มีในตลาดก็มีให้เลือกหลากคุณภาพหลายราคา ถ้าเอาที่สบายใจสบายกระเป๋าราคาหลักร้อยปลายไปถึงพันต้น ก็มักจะดูดควันบัดกรีตรงหน้าไปปล่อยด้านหลังแบบปล่อยแล้ว ปล่อยเลย ไม่ได้มีการดูดไปเก็บหรือกรองแต่อย่างใด ทำให้เกิดปัญหาควันตะกั่วเหม็นฟุ้งไปทั่วห้องทำงาน ทำให้คนที่อยู่ในห้องเดียวกันก็รับผลกระทบไปด้วย

สร้างแผ่นวงจร LED
(1) บัดกรี LED 8 มม. 4 ตัวเพื่อต่อวงจรอนุกรมกับตัวต้านทาน R1 ค่า 110Ω ตามวงจรในรูปที่ 1 บน แผ่นวงจรพิมพ์อเนกประสงค์ uPCB-02A


รูปที่ 1 วงจร

(2) ต่อสายไฟออกมาพร้อมใช้งาน

(3) ประกอบกล่องด้วยการตัดพลาสวูดให้ได้ขนาดตามรูปที่ 2

(4) เมื่อได้พลาสวูดตามขนาดที่ต้องการแล้ว เริ่มการประกอบตัวตู้กันก่อน นำชิ้นส่วน A, B, G1 และ G2 มาประกบกันด้วยกาวร้อนตามรูปที่ 3

(5) นำชิ้นส่วน C ต่อเข้ากับชิ้นส่วนที่ประกอบแล้วจากขั้นตอนที่ (4)

(6) นำชิ้นส่วน E ที่เจาะช่อง 8 เหลี่ยมแล้วมาเจาะรูยึดพัดลม โดยนำพัดลมมาทบ แล้วทำเครื่องหมายเพื่อกำหนดตำแหน่งในการเจาะรู เมื่อเจาะรูแล้วนำมาประกอบเข้ากับกล่อง ดังรูปที่ 5

(7) นำพัดลม 12V 0.56A มาติดเข้ากับกล่อง โดยใช้สกรู 3×35 มม. กับนอต 3 มม. ขันยึดให้แน่น

(8) นำกาวสองหน้าแบบหนาติดเข้ากับด้านล่างของแผ่นวงจร LED (จากขั้นตอนที่ (1) และ (2)) โดยตัดแต่งแผ่นวงจรพิมพ์ให้มีขนาดอย่างเหมาะสม เมื่อติดเสร็จแล้ว นำแผ่นสังกะสีมาติดกับอีกด้านหนึ่งของกาวสองหน้า ทำการดัดสังกะสีเพื่อปรับมุมการส่องสว่างของ LED

(9) นำชิ้นส่วน H และนำแผ่นวงจร LED ที่ได้จากขั้นตอนที่ (8) มาติดเข้าด้วยกัน ใช้สกรูเกลียวปล่อยจำนวน 3 ตัวขันยึดให้แน่น

(10) นำชิ้นส่วน J1 และ K มาประกอบกันให้ได้รูปที่ 9

(11) เมื่อประกอบเสร็จแล้ว นำผ้าขาวบางมาพันเข้ากับชิ้นงานที่ประกอบแล้วจากขั้นตอนที่ (10) ใช้ที่เย็บกระดาษเย็บผ้าให้ติดกับชิ้นงาน เว้นช่องว่างข้างบนไว้เพื่อใส่ถ่าน

(12) นำถ่านที่จะใช้กรองคาร์บอนใส่ถุง แล้วใช้ของแข็งทุบให้เป็นก้อนเล็กๆ

(13) นำถ่านที่ทำการทุบเรียบร้อยแล้ว ใส่ถุงที่ทำไว้จากขั้นตอนที่ (10) ให้พอดีกับปากถุง

(14) นำชิ้นงานจากขั้นตอนที่ (9) ไปติดไว้ที่ด้านหน้ากล่อง สอดสายไฟเข้ามาในตัวกล่อง

(15) นำชิ้นส่วน I มาเจาะรูเพื่อใส่พัดลม สวิตช์ และแจ็คอะแดปเตอร์

(16) จากนั้นก็นำพัดลม DC12V 0.24A ติดเข้ากับชิ้นงานจากขั้นตอนที่ (15) ใช้สกรู 3×30 มม. และนอต 3 มม. ขันยึดให้แน่น ทำการต่อสายของสวิตช์เปิดปิด, พัดลมทั้งสองตัวเข้ากับแจ๊กอะแดปเตอร์ตามวงจรในรูปที่ 1

(17) นำถุงถ่านมาใส่ในกล่อง วัดระยะให้อยู่กึ่งกลางระหว่างพัดลม 2 ตัวให้พอดี ใช้สกรูเกลียวปล่อยยึดเข้าที่ตำแหน่งเสาให้แน่น

(18) นำฝาหลังที่ติดพัดลมไว้แล้วมาปิดด้านหลังด้วยกาวร้อนให้แน่น

(19) นำชิ้นส่วน D มาปิดด้านบน ใช้สกรูเกลียวปล่อยขันยึดให้แน่น

จะได้เครื่องดูดและกรองควันตะกั่วมาใช้งานตามรูปที่ 19 แม้ว่าเครื่องนี้จะสามารถกรองควันตะกั่วได้ เมกเกอร์ทั้งหลายที่ทำการบัดกรีงานใหญ่ๆ หรือจำนวนมากๆ ก็ไม่ควรบัดกรีในห้องที่ไม่มีอากาศถ่ายเทหรือปิดทึบ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

รายการอุปกรณ์
1. พลาสวูดขนาด A4 จำนวน 4 แผ่น
2. พัดลม DC12V 0.24A
3. พัดลม DC12V 0.56A
4. แจ็กอะแดปเตอร์
5. สวิตซ์เปิด-ปิด x 2
6. ถ่านจุดไฟ
7. ผ้าขาวบาง
8. สกรูเกลียวปล่อย 3 มม. x 9
9. สกรู 3×30 มม. x 4
10. สกรู 3×35 มม. x 4
11. นอต 3 มม. x 8
12. LED 8 มม. X4
13. ตัวต้านทาน 110Ω
14. แผ่นวงจรพิมพ์อเนกประสงค์รุ่น uPCB-02A
15. แผ่นสังกะสีขนาด A5 (ประมาณ 20×15 ซม.)


 

Categories
Basic electronics Gadget Toy คุณทำเองได้ (DIY)

DIY โทรโข่งขยายเสียง MEGAPHONE

เห็น​รับ​น้องใหม่​กัน​แต่ละ​ที มี​แต่​คน​เหม็นหน้า​พี่​ว้าก​แสน​โหด ตะโกน​อยู่​ได้​ทั้งวัน แต่​ใคร​จะ​รู้ว่า​หลังจากนั้น​พี่​แก​ต้อง​มา​นั่ง​กิน​ยารักษา​คอหอย​กัน​เป็น อาทิตย์ เฮ้อ.. ถ้า​ยังไงๆ ก็​ต้อง​ว้าก มัน​ก็​ต้องหา​เครื่อง​ทุ่นแรง​กัน​หน่อย​สิ​ครับ​พี่

ด้วย​สิ่ง​ประดิษฐ์​ง่ายๆ สร้าง​จาก​ขวด​น้ำ​พลาสติก​และ​อุปกรณ์​อิเล็กทรอนิกส์​อีก​ไม่​กี่​ตัว​ก็​สำเร็จ​เสร็จ​เป็น​โทรโข่ง อย่าง​นี้​น้องๆ สามารถ​ทำ​ไป​ให้​พี่​ว้าก และ​คน​ที่​ชอบ​ว้าก ถือ​ติดมือ​ไว้​คนละ​อัน​เลย

การทำงานของวงจร
เมื่อกดสวิตช์แล้วพูด ไมโครโฟน MIC1 จะทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณเสียงเป็นสัญญาณไฟฟ้าผ่านตัวเก็บประจุ C2 ไปเข้าขา 3 ของไอซีออปแอมป์เบอร์ TLC2272 ทำหน้าที่ขยายสัญญาณที่รับมาจากไมโครโฟนให้แรงขึ้นแล้วส่งออกทางขา 1 ผ่าน VR1 ค่า 100kΩ แบบเกือกม้า ทำหน้าที่ปรับอัตราขยายสัญญาณให้มีระดับความแรงที่เหมาะสม (หากปรับอัตราขยายสัญญาณนี้แรงเกินไป อาจทำให้เกิดการหวีดหรือไมค์หอน) จากนั้นสัญญาณนี้จะถูกส่งผ่านให้กับ VR2 ค่า 10kΩ สำหรับปรับความแรงสัญญาณตามความต้องการของผู้ใช้งานก่อนส่งไปเข้าขา 3 ของไอซีออปแอมป์ยอดนิยมเบอร์ LM386 เพื่อขยายสัญญาณออกทางขา 5 ไปขับลำโพง

รูปที่ 1 แสดงวงจรของ Megaphone

ดังนั้นระดับความแรงของสัญญาณเสียงที่ออกลำโพงจะขึ้นอยู่กับการปรับ VR2 10kΩ พูดง่ายๆ ก็คือทำหน้าที่เพิ่มและลดระดับความดังของเสียงที่ออกทางลำโพงหรือเป็นโวลุ่มปรับเสียงนั่นเอง

การ​ลง​อุปกรณ์​และ​ปรับ​แต่ง

รูปที่ 2 แสดงลายทองแดงของแผ่นวงจรพิมพ์ (ดาวน์โหลดลายวงจรพิมพ์ขนาดเท่าจริง)

รูปที่ 3 แสดงการวางอุปกรณ์บนแผ่นวงจรพิมพ์

(1) เริ่มจากทำแผ่นวงจรพิมพ์ตามลายทองแดงที่แสดงในรูปที่ 2 แล้วบัดกรีลง​อุปกรณ์​ตาม​รูป​ที่ 3 ไล่​ลำดับ​การ​วาง​และ​ค่อย​บัดกรี​จากอุปกรณ์​ตัว​เตี้ย​ที่สุด​ไป​ถึง​ตัว​ที่สูง​ที่สุด​ก็​คือ​ตัว​เก็บ​ประจุ สำหรับ​มือใหม่​ไม่​ควร​บัดกรี​ไอซี​ตรงๆ เพราะ​ความ​ร้อน​จาก​ปลาย​หัวแร้ง​อาจ​ทำให้​ไอซี​ได้รับ​ความ​เสียหาย ควร​ใส่​ซ็อกเก็ต​ไอซี​ด้วย เมื่อ​ติดตั้ง​อุปกรณ์​บน​แผ่น​วงจร​พิมพ์​เสร็จ​แล้วก็​เดินสาย​กับ​อุปกรณ์​ต่างๆ ได้แก่​ คอนเดนเซอร์​ไมค์ ให้​บัดกรี​สายไฟ​ออกมา​ทั้ง 2 ขั้ว​โดย​ให้​สาย​มี​ความ​ยาว​กว่า​ขวด​น้ำ​เล็กน้อย , สวิตช์​กด​ติด​ปล่อย​ดับ, โวล​ลุ่ม 10kΩ , ลำโพง และ​ขั้ว​แบตเตอรี่ 9V

(2) เมื่อ​บัดกรี​และ​เดินสาย​อุปกรณ์​เรียบร้อย ​ทดลอง​ต่อ​แบตเตอรี่ 9V แล้ว​กด​สวิตช์​กด​ติด​ปล่อย​ดับ​ค้าง​ไว้ หมุนโว​ลุ่ม 10kΩ ทวน​เข็ม​นาฬิกา​จน​สุด (คือ​การ​เร่ง​ให้​ดัง​ที่สุด) อาจ​ทำให้เกิด​เสียง​หอน​ ให้​ค่อยๆ ปรับ​ VR1 แบบ​เกือกม้าอย่าง​ช้าๆ จน​เสียง​หอน​นั้น​หายไป แล้ว​ปรับ​โว​ลุ่ม 10kΩ ตาม​เข็ม​นาฬิกา​ไป​จน​สุด (คือ​การ​ลดเสียงให้​เบา​ที่สุด) แล้ว​ลอง​พูด​ใส่​ไมค์​ไป​เรื่อยๆ พร้อมกับ​ค่อยๆ หมุน​โว​ลุ่มทวน​เข็ม ​เสียง​จะ​ต้อง​ดังขึ้น​เรื่อยๆ ​เป็นอัน​เสร็จการ​ปรับ​แต่ง

รูปที่ 4 การต่อสายไปใช้งาน

ขั้นตอน​การ​สร้าง
(1) นำ​ฝา​ขวด​พลาสติก​มา​เจาะ​รู​สำหรับ​ติดตั้ง​คอนเดนเซอร์​ไมค์ ดังรูป​ที่ 5 จากนั้น​ปลด​สายไฟ​ที่ต่อ​ไว้​กับ​แผง​วงจร​จาก​ขั้นตอน​การ​ปรับ​แต่งออกมา ใช้​กระดาษ​แข็ง​ตัด​เป็น​วงกลม​มา​ปิด​เอา​ไว้ เพื่อ​ช่วย​ป้องกัน​สัญญาณ​ของ​ไมโครโฟน​ไป​รบกวน ​ลำโพง​ทำให้​ลด​อาการ​เสียง​หวีด​หรือ​ไมค์​หอน​ขณะ​พูด


รูปที่ 5 ติดตั้งคอนเดนเซอร์ไมค์

(2) นำ​ขวด​น้ำ​พลาสติก​หรือขวดน้ำอัดลมขนาด 1.25 ลิตร ตัด​ส่วน​ก้น​ขวด​ออก​พอประมาณ แล้ว​เจาะ​รู​ติดตั้ง​สวิตช์​กด​ติด​ปล่อย​ดับ​และ​โวลุ่มในตำแหน่ง​ที่​มือของ​ผู้ใช้งาน​สามารถ​กด​ได้​ถนัด​ดัง​รูป​ที่ 6


รูปที่ 6 ตำแหน่งการเจาะรูติดตั้งสวิตช์และโวลุ่ม

(3) พอ​เตรียม​ขวด​น้ำ​เรียบร้อย​แล้วก็​มาถึง​ขั้นตอน​การ​ติดตั้ง​อุปกรณ์ลง​ไป​ ลำดับแรก​ให้​นำ​ฝา​ขวด​ที่​ติดตั้ง​คอนเดนเซอร์​ไมค์​ไว้​จาก​ขั้น​ตอนที่ (2) สอด​ปลายสาย​คอนเดนเซอร์ไมค์เข่าทาง​ปาก​ขวด​ เพื่อ​นำมา​ต่อ​กับ​แผง​วงจร จากนั้น​ติดตั้ง​สวิตช์​และ​ตาม​ด้วย​โว​ลุ่ม​ก็​จะ​ช่วย​ให้​แผง​วงจร​ถูก​ยึด​กับ​ขวด​ไป​ด้วย​ แต่​ไม่​ควร​วางใจ ให้เสริม​ความ​แข็งแรง​ด้วย​กาว​สองหน้าอีกที อ๊ะๆ อย่าลืม​ใส่​แบตเตอรี่ 9V ใน​ขั้น​ตอนนี้​นะ​ครับ

(4) ขั้นตอน​สุดท้ายนี้​เป็น​ส่วน​ของ​การ​ติด​ตั้งตัว​ลำโพง ให้​นำกระดาษ​แข็ง​หรือ​แผ่น​ฟิวเจอร์​บอร์ด (พี​พี บอร์ด) หนา​ประมาณ 3 ถึง 5 มิลลิเมตร ตัด​เป็น​แผ่น​วงกลม​ขนาด​เส้น​ผ่าน​ศูนย์กลาง​เท่ากับ​ก้น​ขวด​ที่​ถูก​ตัด​ออกไป เพื่อ​ใช้​เป็น​ฐาน​สำหรับ​ยึด​ลำโพง แล้ว​ใช้​กาว​สองหน้า​ยึด​เข้ากับ​แม่เหล็ก​ของ​ลำโพง เมื่อ​แน่นหนา​ดีแล้ว ก็​ให้​ยัด​เข้าไป​ใน​ขวด​พลาสติก​ดัง​รูป​ที่ 7 ก็​เป็นอัน​เสร็จ​การ​ติดตั้ง​ลง​ขวด​แล้ว​ครับ


รูปที่ 7 Megaphone แบบเสร็จสมบูรณ์

การ​ทดสอบ

หลังจาก​ประกอบ​เสร็จ​แล้วก็​มา​ทดสอบ​เสียง​กัน​ก่อน​จะ​นำไป​มอบให้​กับ​พี่​ว้ากของ​เรา โดย​เริ่มจาก​การ​กด​สวิตช์​กด​ติด​ปล่อย​ดับ​ค้าง​ไว้​แล้ว​ลอง​พูด​เข้าที่​ไมค์ จะ​ต้อง​ได้ยิน​เสียง​ออก​ทาง​ลำโพง หาก​เงียบ​เหมือนเป่า​ครก ก็​ให้​ลอง​หมุน​โว​ลุ่ม​จน​ได้ยิน​เสียง​ก็​เท่านี้​เอง​ครับ

เท่านี้ก็เรียบร้อยแล้วครับสำหรับสิ่งประดิษฐ์ช่วยว้าก ง่ายๆ แค่นี้ลองทำเล่นกันดูครับ เพราะอุปกรณ์ที่ใช้ก็ตลาดซะขนาดนี้ สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป ขอให้สนุกกับของเล่นใหม่และถูกใจคนชอบว้ากนะครับ

รายการอุปกรณ์

ตัวต้านทาน ¼ W 5%

R1 – 1kΩ 1 ตัว
R2 – 10 kΩ 1ตัว
R3, R4 – 100 kΩ 2 ตัว
R5 – 4.7 kΩ 1 ตัว
R6 – 10Ω 1 ตัว
VR1 – 100 kΩ แบบเกือกม้า 1 ตัว
VR2 – 10kΩ แบบโปเทนชิโอมิเตอร์ 1 ตัว

ตัวเก็บประจุชนิดโพลีเอสเตอร์

C2, C5, C6 – 0.1µF 50V หรือ 63V 3 ตัว

ตัวเก็บประจุชนิดบอิเล็กทรอไลต์

C1 – 47µF 16V หรือ 25V 1 ตัว
C3 – 100µF 16V 1 ตัว
C4 – 22µF 16V หรือ 50V 1 ตัว
C7 – 470µF 16V 1 ตัว

คอนเดนเซอร์ไมโครโฟน 1 ตัว

อุปกรณ์​สาร​กึ่ง​ตัวนำ

IC1 – TLC 2272 1 ตัว
IC2 – LM 386N-1 1 ตัว

อื่นๆ

สวิตช์กดติดปล่อยดับ 1 ตัว
ซ็อกเก็ตไอซี 8 ขา 2 ตัว
ลูกบิดสำหรับ VR2 1 ตัว
ลำโพงขนาด 0.25W 8Ω 1 ตัว
ขวดน้ำขนาด 1.25 ลิตร 1 ขวด
แบตเตอรี่ 9V 1 ก้อน
ขั้วแบตเตอรี่สำหรับแบตเตอรี่ 9V 1 อัน
แผ่นกระดาษแข็งหรือฟิวเจอร์บอร์ด หนา 3 ถึง 5 มม.
ขนาด 1×1 ฟุต


 

Categories
Basic electronics คุณทำเองได้ (DIY) บทความ ไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์

10 ขั้นตอนทำแผ่นวงจรพิมพ์ต้นแบบ

สำหรับตอนนี้เป็นบทความในเชิงเทคนิคพื้นฐาน เพื่อสร้างแผ่นวงจรพิมพ์สำหรับสร้างเป็นชิ้นงานต้นแบบให้กับสิ่งประดิษฐ์และสินค้าของเรา โดยนำเสนอแบบกระชับด้วยภาพที่ชัดเจน ลองมาทำความเข้าใจกันดูนะครับ แต่ผมเชื่อว่าหลายคนคงเคยทำแล้วโดยเฉพาะผู้ที่ศึกษามาทางสายอาชีวะ

เตรียมอุปกรณ์
1.แผ่น​วงจร​พิมพ์​แบบ​หน้า​เดียวหา​ซื้อ​ได้​จาก​ร้าน​ขาย​อะไหล่​อิเล็กทรอนิกส์
2.แผ่นใส​แบบ​ถ่ายเอกสาร​ได้
3.เฟ​อริก​คลอไรด์ (Ferric Chloride) สาร​สำหรับ​ทำ​สารละลาย​กัด​ทองแดง​หรือ​น้ำยา​กัด​ทองแดง หา​ซื้อ​ได้จาก​ร้าน​ขาย​อะไหล่​อิเล็กทรอนิกส์
4.กระดาษ​ทราย​ละอียดสำหรับ​ทำความ​สะอาด​แผ่น​วงจร​พิมพ์
5.ภาชนะ​พลาสติก​สำหรับ​ใส่น้ำยา​กัด​ทองแดง แนะนำ​ให้​ใช้แบบ​ที่​มี​ลักษณะ​เป็น​ถาด​หรือ​กะบะ ขนาด​ขึ้นอยู่กับ​ขนาด​ของ​แผ่น​วงจร​พิมพ์​ที่​ใช้
6.ปากกา​เคมี​กันน้ำ มี​จำหน่าย​ตาม​ร้าน​เครื่องเขียน​ชั้นนำ
7.เตารีด
8.สว่าน​
9.ดอก​สว่าน​สำหรับ​เจาะ​รู​ใส่​อุปกรณ์ ขนาด 0.8 มม., 1 มม. และ 3 มม. หรือ 1/32 นิ้ว, 1/16 นิ้ว และ 1/8 นิ้ว
10.ยางสน​สำหรับเคลือบ​แผ่น​วงจร​พิมพ์ หา​ซื้อ​ได้​จาก​ร้าน​ขาย​เครื่องมือ​ช่าง​หรือ​ร้านขายยา​แผนโบราณ
11.ทินเนอร์​สำหรับ​ละลาย​ยางสน​

เริ่มขั้นตอนการสร้าง
1.นำลายทองแดงที่ได้ถ่ายเอกสารลงแผ่นใสโดยลาย​ทอง​แดง​ของ​แผ่น​วงจร​พิมพ์​ที่​จะ​นำไป​ถ่าย​ลง​บน​แผ่น​ใส​ ​ต้อง​เป็น​ลาย​ทอง​แดง​ที่​กลับด้าน​จาก​ลาย​ทอง​แดง​ที่​ต้องการ​พิมพ์​ลง​บน​แ​แผ่น​วงจร​พิมพ์​จริง ​ก็หมายความว่าลาย​ทองแดงที่เราได้จากหนังสือ ตามปกติ​แล้ว​เค้า​จะ​กลับ​ด้าน​มา​ให้แล้วสังเกตได้​จาก​ตัวอักษร​ที่​ปรากฏบน​ลาย​ทองแดง​จะ​อ่าน​รู้เรื่อง เมื่อ​นำไป​ถ่ายเอกสาร​ลง​บน​แผ่นใส(หรือใช้เครื่องพิมพ์เลเซอร์ก็ได้)​จะ​ต้อง​บอก​คน​ถ่าย​ให้​ถ่ายกลับกระจก สังเกต​จาก​ตัวอักษร​ที่​ปรากฏบน​ลาย​ทองแดง​จะ​กลับ​ด้าน
2. ใช้​กระดาษ​ทราย​น้ำ​เบอร์​ละเอียด​มาก เช่น เบอร์ 400 ขึ้น​ไป​หรือ​แผ่น​ใย​ขัด​สังเคราะห์ (แผ่น​สก็อต​ไบรต์) มาขัด​ทำความ​สะอาด​แผ่น​วงจร​พิมพ์​ด้วย​ผงซักฟอก​หรือ​น้ำยา​ล้างจาน จน​ไม่มี​ออกไซด์หรือ​คราบ​สกปรก​หลงเหลือ
3.นำ​แผ่นใส​ประกบ​เข้ากับ​แผ่น​วงจร​พิมพ์ โดย​นำ​ด้าน​ที่​มี​หมึก​พิมพ์​ของ​แผ่นใส​ประกบ​เข้ากับ​ด้าน​ทองแดง​ของ​แผ่น​วงจร​พิมพ์ แล้วใช้​เทปใส​ยึด​ให้​แน่น เพื่อกัน​แผ่นใส​เลื่อนดังรูปด้านล่างนี้

4. รีด​แผ่นใส​ด้วย​เตารีด (อ้อ เสียบปลั๊กด้วยนะครับ) โดยก่อนรีด​ให้ใช้ผ้า​เรียบ​บางๆ วาง​ทับแผ่นใส​​ไว้เพื่อ​ป้องกัน​ความ​ร้อน​จะทำให้แผ่นใสละลายได้​ ความ​ร้อน​จาก​เตารีด​จะ​ทำให้​หมึก​พิมพ์บน​แผ่นใส​​หลุด​ออก​ไป​ติด​บน​แผ่น​วงจร​พิมพ์​แทน รีด​จน​แน่ใจ​ว่า​ลาย​ทองแดง​ทั้งหมด​หลุด​ไป​ติด​ที่​แผ่น​วงจร​พิมพ์​ แล้วจึงลอกแผ่นใสออกมาดังรูป

5. ตรวจดูความสมบูรณ์ของลายบนแผ่นวงจรพิมพ์อีกครั้ง หากพบว่าลายบางส่วนขาดหายไปให้ทำการซ่อมแซมด้วยปากกาเคมีแบบกันน้ำเช่นปากกาสำหรับเขียนแผ่นซีดี

6. นำ​กรดกัดปริ้นท์หรือเฟ​อริก​คลอไรด์ มาผสม​น้ำลง​ใน​ภาชนะ​พลาสติก ห้าม​ใช้​ภาชนะ​ที่​เป็น​โลหะ​อย่าง​เด็ดขาด โดย​ถ้า​ผสม​เข้มข้น​จะ​ใช้เวลา​ใน​การ​กัด​ทองแดง​น้อยลง หรือ​อาจ​ใช้​น้ำยา​กัด​แผ่น​วงจร​พิมพ์ของ Future kit ซึ่ง​มี​จำหน่าย​ใน​ร้าน​ขาย​อุปกรณ์​อิเล็กทรอนิกส์​ย่าน​บ้าน​หม้อ​ก็ได้ซึ่ง​จะ​สะดวก​กว่า​มาก​เพราะ​สามารถ​ใช้ได้​ทันที

7. นำ​แผ่น​วงจร​พิมพ์​ที่​ต้องการกัดลาย จุ่ม​ลง​ไปจากนั้น​เขย่า​ภาชนะ​​เบาๆ จนลาย​ทองแดง​ส่วน​ที่​ไม่​ต้องการ​ออก​หมด ก็จะ​ได้แผ่น​วงจร​พิมพ์​ที่​กัด​ลาย​เสร็จ​เรียบร้อย ดัง​​รูป แล้วนำ​แผ่น​วงจร​พิมพ์​ที่​กัด​ลาย​เสร็จ​แล้ว ล้างด้วย​น้ำสะอาด

ข้อ​ควร​ระวัง​คือ ห้าม​เอา​มือ​จุ่ม​ลง​ใน​สารละลาย เพราะ​อาจจะ​เกิด​อาการ​แพ้และ​เป็น​ผื่น​แดง​ได้ หาก​สารละลาย​หรือ​น้ำยา​กระเด็น​โดน​มือควร​รีบ​ล้าง​ทันที​ด้วย​น้ำสะอาดทันที

8. เตรียม​ดอก​สว่าน​ขนาด 0.8 หรือ 0.9 มม. หรือ 1/32 นิ้ว เจาะรู​สำหรับ​ติดตั้ง​อุปกรณ์​บน​แผ่น​วงจร​พิมพ์ หาก​เป็น​รู​ของ​ตัว​ต้านทาน​ขนาด 1/4 วัตต์, ตัว​เก็บ​ประจุ, ซ็อกเก็ต​ไอซี, ทรานซิสเตอร์​กำลัง​ต่ำ ควร​ใช้ดอก​สว่าน​ขนาด 0.8 หรือ 0.9 มม. หรือ 1/32 นิ้ว ถ้า​เป็น​ไดโอด, ทรานซิสเตอร์​กำลัง​สูง, ไอซี​เรกูเลเตอร์ หรือ​คอ​นเน็กเตอร์ ควร​ใช้​ดอก​สว่าน 1 มม. หรือ 1/16 นิ้ว และ​รู​สำหรับ​ยึด​แผ่น​วงจร​พิมพ์​ควร​ใช้​ดอก​สว่าน​ขนาด 3 มม. หรือ 1 หุน

9. ​ใช้กระดาษทรายเบอร์ละเอียดที่เตรียมไว้​ขัดหมึก​พิมพ์​ออก โดย​ให้​ขัดเบาๆ เพื่อ​ไม่ให้​​ลาย​ทองแดง​เสียหาย หรือ​อาจ​ใช้​ทินเนอร์​เช็ด​ออก​ก็ได้ สุดท้ายล้างด้วย​น้ำยา​ล้างจาน​และ​​น้ำสะอาด ​เช็ดให้แห้ง

10. นำ​ยางสน​มา​ละลาย​กับ​ทินเนอร์​เพื่อ​ทำเป็น​น้ำยา​เคลือบ​ลาย​ทองแดงกันสนิม​และ​ช่วย​ใน​การ​บัดกรี แต่​ปัจจุบัน​มี​การ​จำหน่าย​น้ำยา​เคลือบ​แผ่น​วงจร​พิมพ์สำเร็จรูป ลองหาดูแถว​ร้าน​ที่​จำหน่าย​แผ่น​วงจร​พิมพ์​และ​น้ำยา​กัด​ลาย​ทองแดง จากนั้นใช้​แปรง​ทาสีขนาดเล็กจุ่ม​ยางสน​ที่​ละลายแล้วทาลงบนลายทองแดงให้ทั่วจากนั้นทิ้งไว้ให้แห้ง เพียง 10 ขั้นตอน เราก็จะได้แผ่นวงจรพิมพ์สำหรับสิ่งประดิษฐ์ของเราแล้วครับ​

อย่างไรก็ตามยังมีแผ่นวงจรพิมพ์เอนกประสงค์ที่ออกแบบมาเพื่อรองรับงานต้นแบบมากมาย ช่วยให้งานต้นแบบของคุณเสร็จได้อย่างรวดเร็ว ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ขอบคุณเนื้อเรื่องและภาพประกอบจากนิตยสาร The Prototype Electronics


เรื่องที่คุณอาจสนใจ

Exit mobile version