Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์ บทความ บทความพิเศษ

การ์ทเนอร์ เปิด 10 เทรนด์เทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์ในปี 2567

กรุงเทพฯ ประเทศไทย 20 พฤศจิกายน 2566 – การ์ทเนอร์ ประกาศ 10 เทรนด์เทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์ที่องค์กรต้องจับตาและศึกษาในปี 2567

บาร์ท วิลเลมเซ่น รองประธานฝ่ายวิจัยการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “การรับมือกับความปั่นป่วนทางเทคโนโลยีและความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและสังคมต้องอาศัยความกล้าที่จะมุ่งมั่นอย่างตรงไปตรงมาและเพิ่มความยืดหยุ่นในการตอบสนองอย่างเฉพาะเจาะจง ผู้นำไอทีอยู่ในสถานะที่ต่างจากผู้อื่นในการวางโรดแมปเชิงกลยุทธ์ โดยการลงทุนเทคโนโลยีจะช่วยให้ธุรกิจยังคงประสบความสำเร็จได้ ท่ามกลางความไม่แน่นอนและแรงกดดันเหล่านี้”

คริส ฮาวเวิร์ด รองประธานและหัวหน้าฝ่ายวิจัยของการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “ผู้นำไอทีและผู้บริหารในส่วนงานอื่น ๆ ต้องประเมินผลกระทบและประโยชน์จากเทรนด์เทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์ แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายเมื่อพิจารณาจากจำนวนนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้น ตัวอย่างเช่น Generative AI และ AI ประเภทอื่น ๆ ที่นำเสนอโอกาสและขับเคลื่อนเทรนด์ต่าง ๆ แต่การจะได้มาซึ่งคุณค่าทางธุรกิจจากการใช้ AI อย่างต่อเนื่องนั้น ต้องมีแนวทางที่เป็นขั้นเป็นตอนเพื่อการนำไปใช้ได้อย่างครอบคลุม ควบคู่กับการใส่ใจในความเสี่ยง”

10 เทรนด์เทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์ในปี 2567 ได้แก่

Democratized Generative AI

Generative AI (หรือ GenAI) กำลังกลายเป็นเทคโนโลยีสาธารณะด้วยการผสานรวมรูปแบบจำลองที่ได้รับการฝึกฝนล่วงหน้าไว้จำนวนมาก เข้ากับการประมวลผลคลาวด์และระบบโอเพ่นซอร์ส ทำให้ผู้ใช้งานทั่วโลกสามารถเข้าถึงโมเดลเหล่านี้ได้ การ์ทเนอร์คาดว่าภายในปี 2569 องค์กรมากกว่า 80% จะใช้ GenAI API และโมเดลต่าง ๆ และ/หรือปรับใช้แอปพลิเคชันที่เปิดใช้งาน GenAI ในสภาพแวดล้อมการผลิต เพิ่มขึ้นจากช่วงต้นปี 2566 ที่น้อยกว่า 5%

แอปพลิเคชัน GenAI ต่าง ๆ ช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงแหล่งข้อมูลมากมายจากภายในและภายนอกองค์กรเพื่อใช้ในทางธุรกิจได้ ซี่งหมายความว่าการนำ GenAI มาใช้อย่างรวดเร็วจะทำให้เกิดองค์ความรู้และทักษะในองค์กรอย่างเสรีและมีนัยสำคัญ โดยโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLM) จะช่วยให้องค์กรเชื่อมโยงพนักงานกับความรู้ในรูปแบบการสนทนาพร้อมเข้าใจความหมายที่หลากหลาย

AI Trust, Risk and Security Management

การเข้าถึง AI แบบเสรีทำให้ต้องมีการกำหนดกลยุทธ์สำหรับจัดการด้านความน่าเชื่อถือ ความเสี่ยง และการรักษาความปลอดภัย (หรือ TRiSM) อย่างเร่งด่วนและชัดเจนมากยิ่งขึ้น หากไม่มีกลยุทธ์ที่ตีกรอบโมเดลการใช้ AI จะสร้างผลลบแบบทบต้นที่ควบคุมไม่ได้ บดบังประสิทธิภาพเชิงบวกและประโยชน์ที่สังคมควรได้รับจาก AI ทั้งนี้ AI TRiSM มอบเครื่องมือสำหรับ ModelOps, การป้องกันข้อมูลเชิงรุก, ความปลอดภัยเฉพาะของ AI, การมอนิเตอร์โมเดล (รวมถึงการตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของข้อมูล – Data Drift หรือของโมเดล – Model Drift และ/หรือผลลัพธ์โดยไม่ได้ตั้งใจ) และการควบคุมความเสี่ยงของการอินพุตและเอาต์พุตไปยังโมเดลและแอปพลิเคชันของผู้ให้บริการรายอื่น ๆ 

การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่า ภายในปี 2569 องค์กรที่ใช้การควบคุม AI TRiSM จะเพิ่มความแม่นยำในการตัดสินใจ โดยกำจัดข้อมูลผิดพลาดและผิดกฎหมายได้มากถึง 80%

AI-Augmented Development

การพัฒนาเสริมด้วย AI คือการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เช่น GenAI และ Machine Learning เพื่อช่วยในการออกแบบ เขียนโค้ด และทดสอบแอปพลิเคชันให้กับวิศวกรซอฟต์แวร์ โดยการทำวิศวกรรมซอฟต์แวร์ที่ใช้ AI มาช่วย (AI-assisted Software Engineering) จะปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของนักพัฒนา และช่วยให้ทีมพัฒนาตอบสนองความต้องการซอฟต์แวร์ที่เพิ่มขึ้นสำหรับการดำเนินธุรกิจ เครื่องมือที่พัฒนาขึ้นโดยใช้ AI (AI-Infused Development Tools) เหล่านี้ช่วยให้วิศวกรซอฟต์แวร์ใช้เวลาเขียนโค้ดน้อยลง จึงสามารถใช้เวลามากขึ้นกับงานเชิงกลยุทธ์มากขึ้นเช่นการออกแบบและจัดวางองค์ประกอบของแอปพลิเคชันทางธุรกิจที่น่าสนใจ

Intelligent Applications

การ์ทเนอร์ให้คำจำกัดความของแอปพลิเคชันอัจฉริยะที่มีความชาญฉลาด ว่าเป็นความสามารถในการเรียนรู้ปรับตัวให้ตอบสนองอัตโนมัติอย่างเหมาะสม โดยข้อมูลอัจฉริยะนี้สามารถนำไปใช้ในหลายเคสการใช้งานเพื่อเพิ่มหรือทำงานอัตโนมัติได้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากความสามารถพื้นฐาน ความชาญฉลาดในแอปพลิเคชันประกอบด้วยบริการต่าง ๆ ที่ใช้ AI เช่น การเรียนรู้ของเครื่อง การเก็บเวกเตอร์และข้อมูลที่เชื่อมต่อ ด้วยเหตุนี้แอปพลิเคชันอัจฉริยะจึงมอบประสบการณ์ที่ปรับเข้ากับผู้ใช้แบบไดนามิก

ความต้องการใช้งานแอปพลิเคชันอัจฉริยะนั้นมีอยู่ โดย 26% ของผู้บริหารระดับซีอีโอ จากการสำรวจของการ์ทเนอร์ 2023 Gartner CEO and Senior Business Executive Survey ระบุว่าการขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะความสามารถเป็นความเสี่ยงที่สร้างความเสียหายมากที่สุดต่อองค์กร โดยการดึงดูดและรักษาผู้มีความสามารถเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกในด้านบุคลากรของผู้บริหาร ขณะที่ AI ได้รับเลือกให้เป็นเทคโนโลยีที่จะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่ออุตสาหกรรมในช่วงสามปีข้างหน้า 

Augmented-Connected Workforce

Augmented-Connected Workforce (ACWF) เป็นกลยุทธ์ในการเพิ่มมูลค่าที่ได้รับจากแรงงานมนุษย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ความจำเป็นในการเร่งและขยายทีมบุคลากรที่มีทักษะและความสามารถกำลังขับเคลื่อนกระแส ACWF กลยุทธ์ ACWF ใช้แอปพลิเคชันอัจฉริยะและการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของบุคลากรเพื่อสร้างบริบทและแนวทางการทำงานทุกวันเพื่อสนับสนุนประสบการณ์ ความเป็นอยู่ที่ดี และความสามารถในการพัฒนาทักษะของตนเองของทีมงาน ขณะเดียวกัน ACWF ยังใช้ขับเคลื่อนผลลัพธ์ทางธุรกิจและผลกระทบเชิงบวกต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก

ในปี 2570 ผู้บริหารไอที (CIOs) 25% จะริเริ่มการเชื่อมโยงพนักงานให้ทำงานร่วมกันมากขึ้น (Augmented-Connected Workforce) เพื่อลดเวลาการทำงานในบทบาทสำคัญลง 50%

Continuous Threat Exposure Management 

การจัดการความเสี่ยงต่อภัยคุกคามอย่างต่อเนื่อง (Continuous Threat Exposure Management หรือ CTEM) เป็นแนวทางเชิงปฏิบัติและเป็นระบบที่ช่วยให้องค์กรประเมินการเข้าถึง ความเสี่ยง และการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ดิจิทัลและสินทรัพย์ที่จับต้องได้ขององค์กรได้อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ การจัดวางขอบเขตการประเมินและการแก้ไข CTEM ให้สอดคล้องกับวิธีการสร้างภัยคุกคามหรือโครงการทางธุรกิจ แทนที่จะเป็นส่วนประกอบในโครงสร้างพื้นฐาน ไม่เพียงแต่จะเผยให้เห็นช่องโหว่เท่านั้น แต่ยังรวมถึงภัยคุกคามที่ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วย

ภายในปี 2569 การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่าองค์กรที่จัดลำดับความสำคัญการลงทุนด้านความปลอดภัยตามโปรแกรม CTEM จะพบว่าการละเมิดลดลง 2 ใน 3

Machine Customers

ลูกค้าที่เป็นเครื่องจักร (Machine Customers หรือที่เรียกว่า ‘คัสโตบอท’) จะเป็นผู้มีบทบาททางเศรษฐกิจในแบบที่ไม่ใช่มนุษย์ มีความสามารถเจรจา ซื้อสินค้าและบริการเพื่อให้เกิดเป็นการชำระเงิน ภายในปี 2571 ผลิตภัณฑ์ที่เชื่อมต่อกัน 15 พันล้านชิ้นจะมีศักยภาพแสดงตนเป็นลูกค้าได้และจะมีผลิตภัณฑ์อื่น ๆ อีกนับพันล้านชิ้นตามมาในปีต่อไป โดยแนวโน้มการเติบโตนี้สร้างรายได้นับล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในปี 2573 และในที่สุดจะมีความสำคัญมากกว่าเมื่อตอนเกิด Digital Commerce ทั้งนี้ผู้บริหารควรพิจารณากลยุทธ์รวมถึงโอกาสในการอำนวยความสะดวกให้กับอัลกอริธึมและอุปกรณ์เหล่านี้ หรือแม้แต่สร้างคัสโตบอทใหม่ ๆ

Sustainable Technology

เทคโนโลยีที่ยั่งยืน (Sustainable Technology) เป็นกรอบการทำงานของโซลูชันดิจิทัลที่ใช้เพื่อสร้างผลลัพธ์ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) สนับสนุนสมดุลของระบบนิเวศและสิทธิมนุษยชนในระยะยาว ซึ่งการใช้เทคโนโลยี อย่าง AI, Cryptocurrency, Internet of Things และ Cloud Computing กำลังผลักดันให้เกิดข้อถกเถียงด้านการใช้พลังงานที่เกี่ยวข้องและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมั่นใจว่าการใช้ไอทีจะมีประสิทธิภาพ มีการหมุนเวียน และมีความยั่งยืนมากขึ้น การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่า ภายในปี 2570 ผู้บริหารซีไอโอ 25% จะเห็นการเชื่อมโยงของค่าตอบแทนส่วนบุคคลกับผลกระทบทางเทคโนโลยีที่ยั่งยืน

Platform Engineering

วิศวกรรมแพลตฟอร์ม (Platform Engineering) เป็นหลักการสร้างและดำเนินการแพลตฟอร์มเพื่อการพัฒนาภายในด้วยตนเอง แต่ละแพลตฟอร์มเป็นชั้น ๆ ที่ถูกสร้างและดูแลโดยทีมงานผลิตภัณฑ์เฉพาะ โดยได้รับการออกแบบมาเพื่อรองรับความต้องการของผู้ใช้ผ่านการเชื่อมต่อเครื่องมือและกระบวนการต่าง ๆ ซึ่งเป้าหมายของ Platform Engineering คือการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เพิ่มประสบการณ์ผู้ใช้ และเร่งการส่งมอบมูลค่าทางธุรกิจ

Industry Cloud Platforms

ภายในปี 2570 การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่าองค์กรมากกว่า 70% จะใช้แพลตฟอร์มคลาวด์อุตสาหกรรม (ICP) เพื่อเร่งโครงการใหม่ ๆ ทางธุรกิจของตน เพิ่มขึ้นจากน้อยกว่า 15% ในปี 2566 ICP จัดการกับผลลัพธ์ทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมโดยการรวมบริการ SaaS, PaaS และ IaaS พื้นฐานเข้าด้วยกัน ไปสู่การนำเสนอผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่มีความสามารถในการประกอบเข้ากันได้ โดยทั่วไปจะรวมถึงโครงสร้างข้อมูลอุตสาหกรรม คลังความสามารถทางธุรกิจแบบแพ็คเกจ เครื่องมือจัดองค์ประกอบ และนวัตกรรมแพลตฟอร์มอื่น ๆ ICP ได้รับการปรับแต่งข้อเสนอระบบคลาวด์โดยเฉพาะสำหรับอุตสาหกรรมและสามารถปรับแต่งเพิ่มเติมให้ตรงกับความต้องการขององค์กรได้

เทรนด์เทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์อันดับต้น ๆ ของปีนี้เน้นย้ำถึงแนวโน้มที่จะขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงและโอกาสที่สำคัญสำหรับซีไอโอและผู้นำไอทีอื่น ๆ ภายใน 36 เดือนข้างหน้า

ติดตามข่าวสารและข้อมูลอัปเดตจาก Gartner for IT Executives ได้ทาง X และ LinkedIn โดยติดแฮชแท็ค #GartnerIT หรือเยี่ยมชม IT Newsroom สำหรับข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติม

เกี่ยวกับการ์ทเนอร์ 

บริษัท การ์ทเนอร์ (Gartner, Inc.) (NYSE: IT) คือบริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาชั้นนำของโลก นำเสนอข้อมูลเชิงลึกที่องค์กรสามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้จริงและมีความเป็นกลาง ช่วยขับเคลื่อนการตัดสินใจที่ชาญฉลาดและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดลำดับความสำคัญของภารกิจองค์กร สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ gartner.com


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์ บทความ บทความพิเศษ

การ์ทเนอร์เผยผลสำรวจ CIO ทั่วโลกกว่า 2,400 ราย ชี้ 45% กำลังเปลี่ยนแปลงบทบาทไปสู่การเป็นเจ้าของร่วม (Co-Ownership) ของความเป็นผู้นำทีมดิจิทัล

โดยซีไอโอและผู้บริหารด้านเทคโนโลยีเห็นตรงกันว่า GenAI เป็นเทคโนโลยีที่มาเปลี่ยนเกม

กรุงเทพฯ ประเทศไทย 10 พฤศจิกายน 2566 – ผลสำรวจความคิดเห็นประจำปีกับซีไอโอและผู้บริหารด้านเทคโนโลยีทั่วโลกของการ์ทเนอร์ เผยว่า 45% ของ CIO กำลังเริ่มทำงานร่วมกับผู้บริหารระดับ C-Level ต่าง ๆ ในองค์กรเพื่อนำเจ้าหน้าที่ไอทีและทีมฝั่งธุรกิจมารวมกันเพื่อส่งมอบงานดิจิทัลในสเกลระดับองค์กร

แมนดิ บิสชอป รองประธานฝ่ายวิจัยของการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “CIO ทั้งหลายเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงด้านกระบวนทัศน์และการแบ่งบทบาทความรับผิดชอบในการเป็นผู้นำร่วมกับผู้บริหาร C-Level ท่านอื่น ๆ เพื่อสร้างความสำเร็จทางดิจิทัล ขณะเดียวกันยังต้องรับมือกับแรงกดดันด้านงบประมาณและการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และร่วมมือกับฝ่ายบริหารทางธุรกิจเพื่อออกแบบ ส่งมอบ และจัดการความสามารถทางดิจิทัลกับทีมให้อยู่ในจุดที่สร้างมูลค่ามากที่สุด”

นักวิเคราะห์การ์ทเนอร์นำเสนอผลสำรวจที่น่าสนใจระหว่างงาน Gartner IT Symposium/Xpo ซึ่งจัดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ โดยผลสำรวจ The 2024 Gartner CIO and Technology Executive ได้รวบรวมข้อมูลผู้ตอบแบบสำรวจจากผู้บริหาร CIO จำนวน 2,457 ในอุตสาหกรรมหลัก ๆ จาก 84 ประเทศทั่วโลก ที่มูลค่ารายได้ทั้งในฝั่งภาคเอกชนหรือมีงบประมาณในฝั่งภาครัฐรวมกันประมาณ 12.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และเป็นมูลค่าใช้จ่ายไอทีราว 163 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ 

CIO ยังคงเน้นการส่งมอบบริการดิจิทัลแบบเสรีด้วย GenAI 

ผู้บริหาร CIO วางรากฐานให้กับการส่งมอบทางดิจิทัลอย่างเท่าเทียมกันด้วยเทคโนโลยีต่าง ๆ อาทิ แพลตฟอร์ม Low-Code โดย 64% ของ CIO กล่าวว่าพวกเขาได้นำมาปรับใช้หรือวางแผนจะใช้ในอีก 24 เดือนข้างหน้า ในด้านของ Generative AI (GenAI)  70% ของซีไอโอระบุว่า GenAI คือเทคโนโลยีสำคัญที่จะมาพลิกเกม ที่จะพัฒนาการส่งมอบบริการดิจิทัลให้เป็นไปตามหลักเสรีได้อย่างรวดเร็วนอกเหนือจากฟังก์ชันไอที แม้จะมี CIO เพียง 9% เท่านั้นที่หันมาใช้เทคโนโลยี GenAI แล้ว แต่มากกว่าครึ่ง (55%) บอกว่าพวกเขาจะนำ Generative AI มาใช้ในอีก 24 เดือนข้างหน้านี้

การสำรวจยังเผยประเด็นสำคัญด้านการลงทุนในอนาคตของ CIO ในปีหน้า ที่ประกอบด้วย ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ด้านการวิเคราะห์ข้อมูล และด้านแพลตฟอร์มคลาวด์ (ดูรูปที่ 1)

ภาพที่ 1. คาดการณ์การเปลี่ยนแปลงการลงทุนทางเทคโนโลยีของ CIO ในปี 2567
ที่มา: การ์ทเนอร์ (ตุลาคม 2566) 

จากการสำรวจพบว่า ความเป็นเลิศด้านประสบการณ์ลูกค้าหรือพลเมือง ช่วยเพิ่มผลกำไรจากการดำเนินงานและสร้างรายได้ ซึ่งเป็นผลลัพธ์สำคัญที่สุดจากการลงทุนเทคโนโลยีดิจิทัล (ดูรูปที่ 2)

ภาพที่ 2: ผลลัพธ์ระดับองค์กรที่สำคัญสุดของ CIO มาจากการลงทุนเทคโนโลยีดิจิทัล
ที่มา: การ์ทเนอร์ (ตุลาคม 2566) 

“ปัจจุบัน CIO ตั้งเป้ามากกว่าการส่งมอบบริการและผลิตภัณฑ์ไอที โดย 42% ของ CIO บอกว่าพวกเขาต้องการเติบโตภายในขอบเขตการทำงานในปัจจุบัน และอีก 43% หวังว่าจะขยายความรับผิดชอบของความเป็นผู้นำไปอีก โดย CIO จะต้องอยู่ในตำแหน่งบนสุดของการส่งมอบผลลัพธ์ทางธุรกิจเพื่อก้าวไปอีกระดับ” บิชอปกล่าวเพิ่มเติม

CIO สามารถเสริมศักยภาพและเตรียมทีมงานธุรกิจส่งมอบบริการดิจิทัลด้วยโมเดลแฟรนไชส์

การสำรวจยังเผยรายละเอียดด้านโปรไฟล์ของ CIO ที่แตกต่างกัน 3 แบบ โดยมีเนื้อหาครอบคลุมถึงวิธีการที่ CIO ใช้ในการเร่งความเร็วและปรับขนาดการส่งมอบบริการดิจิทัล: 

  • Operator Mindset มี CIO ประมาณ 55% ที่มีแนวคิดแบบ Operator Mindset โดยรับผิดชอบในด้านดิจิทัลและทำงานร่วมกับผู้บริหาร C-Level อื่น ๆ ในฐานะผู้สนับสนุนโครงการดิจิทัลเชิงธุรกิจ
  • Explorers ประมาณ 33% ของ CIO อยู่ในประเภท Explorers โดย CIO ในโปรไฟล์นี้มีการทำงานร่วมกับผู้บริหาร C-Level อื่น ๆ และทีมงานธุรกิจในกิจกรรมการส่งมอบบริการดิจิทัลแล้ว
  • Franchisers CIO 12% ที่เหลืออยู่ในกลุ่ม Franchisers ซึ่งมีบทบาทเป็นทั้งผู้นำร่วม (Co-Lead) ผู้ส่งมอบร่วม (Co-Deliver) และผู้กำกับดูแลร่วม (Co-Govern) ในโครงการดิจิทัลที่ต้องทำงานคู่ขนานกับผู้บริหารระดับ C-Level อื่น ๆ โดยจะแบ่งความรับผิดชอบของการส่งมอบกับเจ้าหน้าที่ไอทีและทีมงานธุรกิจที่ทำงานสอดประสานกันอยู่ในทีมที่หลอมรวมจากหลากหลายสาขาความเชี่ยวชาญ

Franchiser CIOs มีแนวโน้มตอบสนองหรือจัดการกับความคาดหวังของผลลัพธ์ทางดิจิทัลได้มากกว่า CIO ในกลุ่ม Operator และ Explorer โดย 63% ของโครงการดิจิทัลใหม่ ๆ ขององค์กรจะบรรลุหรือสำเร็จเกินเป้าหมายเมื่อ CIO นำโมเดลการทำงานแบบแฟรนไชส์มาปรับใช้ เทียบกับ 43% หากยังทำงานอยู่ในโมเดล Operator แบบเดิม ๆ นอกจากนี้ Franchiser ยังช่วยให้การทำงานด้านการจัดการไอทีแบบทั่วไปมีประสิทธิภาพดีขึ้นมาก อาทิ การพัฒนาความเป็นผู้นำของผู้บริหาร และกลยุทธ์ธุรกิจดิจิทัล

จาเนล ฮิลล์ รองประธานนักวิเคราะห์หลักของการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “การดำเนินงานด้านการส่งมอบดิจิทัลอย่างเท่าเทียมอย่างต่อเนื่องแสดงถึงความพยายามในการขับเคลื่อนนวัตกรรมทางธุรกิจ ความรวดเร็วในการเข้าสู่ตลาด และความคล่องตัว เนื่องจาก CEO มีความคาดหวังว่า CIO จะสามารถจัดการผลลัพธ์ขององค์กรได้ ดังนั้น CIO จึงต้องบูรณาการและปรับแนวความคิดดิจิทัลใหม่ ๆ ที่ได้รับการเสนอมาจากผู้บริหาร C-Level ในองค์กร โดยการทำงานร่วมกันแบบ Co-Ownership ระหว่างผู้บริหาร CIO และ CXO เพื่อส่งมอบบริการดิจิทัลได้กลายเป็นส่วนสำคัญขององค์กรที่จะแยกจากกันไม่ได้ และไม่ใช่แค่การทำงานเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเป้าหมายความสำเร็จอีกด้วย”

การทำงานในลักษณะแฟรนไชส์ ทั้ง CIO และผู้บริหาร C-Level อื่น ๆ ยังต้องแบ่งความรับผิดชอบในการกำกับดูแลเทคโนโลยีด้วย เกือบครึ่งหนึ่งของ Franchiser CIO (47%) ยอมรับว่าธุรกิจควรแบ่งความรับผิดชอบในการปฏิบัติตามกฎระเบียบและความเสี่ยง เทียบกับประเภท Operator ที่มีเพียง 19%

“Franchisers ที่พัฒนาแนวคิดการกำกับดูแลร่วม หรือ Co-Governance Mindset จะทำงานร่วมกับผู้บริหาร C-Level อื่น เพื่อจัดการความปลอดภัยทางไซเบอร์และความเป็นส่วนตัวของข้อมูล แม้ว่าแต่เดิม 2 ประเด็นนี้เคยอยู่ในความรับผิดชอบของ CIO โดยผู้บริหาร C-Level ตระหนักดีว่า CIO มีหน้าที่หลักสร้างมาตรฐานการกำกับดูแล แต่ยังไม่รับรู้ว่าต้องแบ่งความรับผิดชอบในการปฏิบัติตามมาตรฐานเหล่านั้นด้วย” ฮิลล์ กล่าวปิดท้าย

เกี่ยวกับการ์ทเนอร์ 

บริษัท การ์ทเนอร์ (Gartner, Inc.) (NYSE: IT) คือบริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาชั้นนำของโลก นำเสนอข้อมูลเชิงลึกที่องค์กรสามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้จริงและมีความเป็นกลาง ช่วยขับเคลื่อนการตัดสินใจที่ชาญฉลาดและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดลำดับความสำคัญของภารกิจองค์กร สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ gartner.com


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์ บทความ บทความพิเศษ

อนาคตการใช้ Generative AI ในภาคองค์กร


โดย ไบรอัน เบิร์ก รองประธานฝ่ายวิจัยด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี การ์ทเนอร์ อิงค์

แม้ ChatGPT จะมีความสามารถที่น่าสนใจแต่ก็เรียกได้ว่ายังอยู่ในขั้นเริ่มต้น ซึ่งการใช้งาน Generative AI ในภาคองค์กรนั้นไปไกลและซับซ้อนกว่ามาก

ช่วงสามปีที่ผ่านมา มีบริษัท Venture Capital (VC) หลายแห่งลงทุนในโซลูชัน Generative AI ต่าง ๆ เป็นมูลค่ามากกว่า 1.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเฉพาะการลงทุนกับการค้นพบยาด้วย AI และการเข้ารหัสซอฟต์แวร์ AI เป็นสองกลุ่มที่ได้รับเงินทุนมากที่สุด

โมเดลพื้นฐานในยุคแรก ๆ เช่น ChatGPT โฟกัสไปยังความสามารถของ Generative AI เพื่อเสริมงานด้านครีเอทีฟ แต่เราคาดว่าภายในปี ค.ศ. 2025 ยาและวัสดุการผลิตใหม่ ๆ มากกว่า 30% จะเป็นการค้นพบอย่างเป็นระบบโดยการใช้เทคนิค Generative AI จากที่วันนี้ไม่มีเลย นั่นเป็นเพียงหนึ่งในตัวอย่างของ Use Case มากมายของการนำ Generative AI มาใช้ในอุตสาหกรรม 

Use Case ต่าง ๆ ของการใช้ Generative AI

Generative AI สามารถใช้สำรวจความเป็นไปได้ของการออกแบบวัตถุได้หลากหลายเพื่อค้นหาสิ่งที่เหมาะสมที่สุด ไม่เพียงแต่เสริมและเร่งการออกแบบในหลาย ๆ ด้านเท่านั้น แต่ยังมีศักยภาพในการ “ประดิษฐ์คิดค้น (Invent)” นวัตกรรมการออกแบบ หรือ วัสดุที่มนุษย์อาจมองพลาดไปเป็นอย่างอื่น

ในแวดวงการตลาดและสื่อต่างรับรู้ถึงผลกระทบของ Generative AI ซึ่งการ์ทเนอร์คาดว่า ภายในปี 2568 ประมาณ 30% ของข้อความด้านการตลาดที่ส่งออกโดยองค์กรใหญ่ ๆ จะถูกสร้างขึ้นจากการสังเคราะห์โดยระบบ โดยเพิ่มขึ้นจากปี 2565 ที่มีน้อยกว่า 2% นอกจากนี้ ภายในปี 2573 ประมาณ 90% ของภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ที่จะเข้าฉายจะสร้างด้วย AI (ตั้งแต่ตัวหนังสือไปจนภาพเคลื่อนไหว)

อย่างไรก็ตามโดยทั่วไปแล้วนวัตกรรมเอไอมักจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่ง Generative AI ได้สร้าง Use Cases มากมายในอุตสาหกรรมต่าง ๆ

  1. การออกแบบและพัฒนายารักษาโรค (Drug Design)

Generative AI ถูกนำมาใช้ออกแบบและพัฒนายารักษาโรคสำหรับใช้ในกรณีต่าง ๆ แทนที่ต้องใช้เวลาหลายปี กลับย่นระยะเวลาให้เหลือเพียงไม่กี่เดือน เป็นโอกาสสำคัญของภาคเภสัชกรรมที่สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายและระยะเวลาในการค้นพบยาตัวใหม่ได้อย่างมีนัยสำคัญ

  1. วัสดุศาสตร์(Material Science)

เทคโนโลยี Generative AI กำลังส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ การบินและอวกาศ การป้องกันประเทศ การแพทย์ รวมถึงอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และพลังงาน โดยสามารถประกอบวัสดุขึ้นใหม่ทั้งหมดพร้อมกำหนดคุณสมบัติทางกายภาพได้อย่างเฉพาะ

กระบวนการนี้เรียกว่า Inverse Design สามารถกำหนดคุณสมบัติที่ต้องการและค้นหาวัสดุที่มีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนดไว้ แทนที่จะอาศัยความบังเอิญเพื่อค้นหาวัสดุที่มีคุณสมบัติดังกล่าว ผลลัพธ์ที่ได้คือการค้นหา ตัวอย่างเช่น การค้นหาวัสดุที่เป็นตัวเหนี่ยวนำไฟฟ้าหรือมีแรงดึงดูดของแม่เหล็กมากกว่าวัสดุที่ใช้ในด้านพลังงานและการขนส่งในปัจจุบัน หรือการค้นหาวัสดุที่จำเป็นต้องมีความทนทานต่อการกัดกร่อน เป็นต้น

  1. การออกแบบชิป (Chip Design)

Generative AI สามารถใช้การเรียนรู้แบบเสริมกำลัง (Reinforcement Learning) ซึ่งเป็นเทคนิคหนึ่งทางด้าน Machine Learning สำหรับเพิ่มประสิทธิภาพการจัดวางองค์ประกอบในการออกแบบแผงวงจรของเซมิคอนดักเตอร์ (Floorplanning) ซึ่ง Generative AI ช่วยย่นระยะเวลาของวงจรการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเดิมหลายสัปดาห์ที่ต้องทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญมนุษย์เหลือเป็นรายชั่วโมงแทน

  1. ข้อมูลสังเคราะห์ (Synthetic Data)

Generative AI เป็นหนทางเดียวในการสร้างข้อมูลสังเคราะห์ (Synthetic Data) ซึ่งเป็นประเภทข้อมูลที่ถูกสร้างขึ้นโดยอัลกอริทึมที่สำคัญกว่าข้อมูลที่รวบรวมโดยตรงมาจากบุคคลจริง ทำให้มั่นใจถึงความเป็นส่วนตัวของแหล่งข้อมูลดั้งเดิมที่ใช้ในการฝึกโมเดล ตัวอย่างเช่น ฐานข้อมูลด้านสุขภาพที่สามารถสร้างขึ้นเพื่อการวิจัยและวิเคราะห์โดยไม่ต้องเปิดเผยตัวตนของผู้ป่วย ซึ่งใช้เวชระเบียนรับรองความเป็นส่วนตัว 

  1. การออกแบบชิ้นส่วนประกอบต่าง ๆ (Parts Design)

Generative AI ช่วยให้อุตสาหกรรมต่าง ๆ ประกอบด้วย ภาคการผลิต ยานยนต์ การบินและอวกาศ และการป้องกันประเทศ สามารถออกแบบชิ้นส่วนประกอบต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อบรรลุเป้าหมายและข้อจำกัดได้ตามที่กำหนด อาทิ ในด้านประสิทธิภาพ ชนิดวัสดุและวิธีการผลิต ตัวอย่าง ผู้ผลิตรถยนต์สามารถใช้ Generative Design เพื่อคิดค้นการออกแบบที่เน้นน้ำหนักเบาขึ้น นำไปสู่เป้าหมายในการทำให้รถยนต์ประหยัดน้ำมันมากขึ้น เป็นต้น  

การฝังเทคโนโลยีต่าง ๆ อย่างเหมาะสม

ปัจจุบันระบบ AI ส่วนใหญ่จะถูกแยกเป็นประเภทต่าง ๆ หมายความว่า มันสามารถรับการฝึกและแยกแยะความแตกต่างระหว่างภาพสุนัขและแมวได้ ซึ่ง Generative AI สามารถฝึกฝนให้สร้างภาพสุนัขหรือแมวที่ไม่มีอยู่ในโลกจริงได้ ซึ่งความสามารถในการสร้างสรรค์เทคโนโลยีนี้คือ Game Changer

Generative AI ทำให้ระบบต่าง ๆ สามารถสร้างสิ่งประดิษฐ์ที่มีมูลค่าสูงได้ อาทิ วิดีโอ การเล่าเรื่อง ข้อมูลการฝึกอบรม หรือแม้แต่การออกแบบและสร้างแผนผังวงจรไฟฟ้าหรืออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ

ตัวอย่างเช่น Generative Pre-trained Transformer (GPT) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีภาษาธรรมชาติขนาดใหญ่ ที่ใช้ในการเรียนรู้เชิงลึกเพื่อสร้างข้อความได้เหมือนมนุษย์ โดยในเจเนอเรชั่นที่ 3 (GPT-3) สามารถคาดการณ์คำที่จะใช้ในประโยคถัดไปตามการฝึกฝนที่สั่งสมมาในระบบ นอกจากนี้ยังสามารถเขียนเรื่องราว แต่งเพลงและประพันธ์บทกวี หรือแม้แต่เขียนโค้ดโปรแกรมในคอมพิวเตอร์ และ ChatGPT ยังช่วยนักเรียนทำการบ้านได้ในไม่กี่วินาที

นอกเหนือจากข้อความ (Text) แล้วยังสามารถสร้างภาพดิจิทัล อย่าง DALL·E 2, Stable Diffusion และ Midjourney ที่เป็น AI ที่สามารถสร้างภาพต่าง ๆ ได้จากข้อความ

ห้ามลืมเรื่องความเสี่ยง 

ก่อนที่องค์กรจะเดินหน้าอย่างเต็มรูปแบบกับ Generative AI ต้องระลึกเสมอว่า นอกจากโอกาสทางธุรกิจแล้ว Generative AI ยังมีภัยคุกคามอยู่เช่นกัน เช่น ความเป็นไปได้ในการปลอมแปลงข้อมูลแบบ Deepfakes ปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ และการใช้เทคโนโลยี Generative AI ในทางที่ผิดเพื่อมุ่งเป้าโจมตีองค์กร

องค์กรต้องทำงานร่วมกับผู้บริหารด้านความปลอดภัยและจัดการความเสี่ยง เพื่อลดความเสี่ยงแบบเชิงรุกจากการเสื่อมเสียชื่อเสียง การปลอมแปลง การล่อลวง และในเรื่องของการเมือง ที่เกิดจากการใช้ Generative AI ในทางที่ผิดทั้งต่อปัจเจกบุคคล องค์กรธุรกิจและภาครัฐบาล

องค์กรควรพิจารณาคำแนะนำการใช้ Generative AI อย่างมีความรับผิดชอบ ผ่านรายชื่อผู้จัดจำหน่ายและผู้ให้บริการที่ได้รับการรับรอง พร้อมให้ความสำคัญกับองค์กรที่มีความมุ่งมั่นสร้างความโปร่งใสในชุดข้อมูลการฝึกอบรมและการใช้โมเดลอย่างเหมาะสม และ/หรือนำเสนอโมเดลของพวกเขาในโอเพ่นซอร์ส


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์ บทความ บทความพิเศษ

อีริคสันเปิด 10 เทรนด์ผู้บริโภคมาแรง: ชีวิตในอนาคตท่ามกลางผลกระทบจากสภาพอากาศ (Life in a Climate-Impacted Future)

ประมาณ 99% ของกลุ่มผู้นำกระแสด้านเทคโนโลยีทั่วโลกกว่า 15,000 ราย ที่ให้ข้อมูลกับอีริคสัน (NASDAQ: ERIC) กล่าวว่า ภายในปี ค.ศ.2030 การใช้อินเทอร์เน็ตและโซลูชั่นการเชื่อมต่อจะเป็นแบบเชิงรุก ที่แต่ละคนจะรับมือกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศและภาวะโลกร้อนที่เจาะจงมากขึ้น โดยสถิตินี้อยู่ในผลการวิจัยประจำปีล่าสุด 10 Hot Consumer Trends จาก Ericsson ConsumerLab ซึ่งในปีนี้ให้ชื่อเรียกว่า Life in a Climate-Impacted Future (ชีวิตในโลกอนาคตที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ)

รายงานที่เผยแพร่ในเดือนมกราคมปีนี้ เป็นฉบับที่ 12 ที่ให้ภาพรวมของข้อกังวล ความคาดหวังของผู้บริโภค ตลอดจนความคิดเห็นในการใช้เทคโนโลยีส่วนบุคคลสำหรับรับมือกับปัญหาด้านสภาพอากาศในปี ค.ศ.2030

83% ของผู้ตอบแบบสอบถามเชื่อว่าอุณหภูมิโลกจะเพิ่มสูงขึ้นอีก 1.5 องศาเซลเซียสหรือสูงกว่านั้น (สูงกว่าระดับก่อนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม) ซึ่งเกินขีดจำกัดตามข้อตกลงระหว่างประเทศ อันทำให้เกิดสภาวะอากาศแบบสุดขั้วและมีแนวโน้มสร้างผลกระทบเชิงลบ

55% ของผู้ใช้ในกลุ่ม Early Adopters ในเขตเมืองใหญ่ เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศส่งผลเสียต่อชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขา และเตรียมมุ่งไปใช้โซลูชั่นการเชื่อมต่อต่าง ๆ เป็นมาตรการรับมือ

ข้อกังวลหลัก ๆ ของผู้บริโภค ได้แก่ ค่าครองชีพ การเข้าถึงแหล่งพลังงานและทรัพยากร รวมถึงความต้องการการเชื่อมต่อที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้ในเวลาที่เกิดความปั่นป่วนและสภาพอากาศแปรปรวน โดย 59% ของผู้ตอบแบบสำรวจเชื่อว่า ในช่วงทศวรรษ 2030 นวัตกรรมและเทคโนโลยีจะมีความสำคัญอย่างยิ่งเพื่อรับมือกับความท้าทายในชีวิตประจำวันที่มาจากผลการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

ผู้ใช้ AR VR และผู้ช่วยดิจิทัล (Digital Assistances) กลุ่มผู้นำกระแสกว่า 15,000 รายใน 30 เมืองทั่วโลก ได้รับการสอบถามเพื่อประเมินถึงแนวคิดของบริการดิจิทัล 120 รายการ ครอบคลุม 15 ด้าน ตั้งแต่ความพยายามปรับตัวในการใช้ชีวิตประจำวันที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศ ไปจนถึงวิธีการรับมือกับเหตุการณ์สภาพอากาศอันเลวร้าย

ผู้เชี่ยวชาญของ Ericsson ConsumerLab ได้รวบรวมข้อมูลและสรุปเป็น 10 เทรนด์มาแรงของผู้บริโภค

แม็กนัส โฟรไดห์ หัวหน้าฝ่ายวิจัยของอีริคสัน กล่าวว่า “ผู้บริโภคระบุชัดเจนว่าการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่เชื่อถือได้และมีความยืดหยุ่นมีความสำคัญสูงสุดต่อการใช้ชีวิตประจำวันของพวกเขา และพวกเขากำลังมุ่งมั่นแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เนื่องจากคาดหวังว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่รุนแรงและมีผลกระทบเชิงลบจะกลายเป็นเรื่องปกติยิ่งขึ้น ผู้บริโภคไม่คาดหวังว่าการเชื่อมต่อที่จำเป็นนั้นจะต้องเกิดขึ้นในระดับโลก แต่อย่างน้อยก็ขอให้เกิดขึ้นโดยเร็ว”

ผู้ใช้กลุ่มผู้นำกระแสส่วนใหญ่ไม่เพียงแต่เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำลังเกิดขึ้น แต่ยังมั่นใจว่ามันจะส่งผลกระทบต่อชีวิตของพวกเขาในช่วงทศวรรษ 2030 มากกว่าที่เป็นอยู่ในเวลานี้ แม้ว่าผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าความสนใจด้านเศรษฐกิจและการใช้ชีวิตส่วนตัวจะเป็นตัวขับเคลื่อนการเลือกใช้บริการใด ๆ เป็นอันดับต้น ๆ อย่างที่เราทราบในปัจจุบันว่าพฤติกรรมใหม่ ๆ ที่เป็นกลุ่มใหญ่ ๆ นั้น

มีความเป็นไปได้ที่อาจส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของการใช้ชีวิตประจำวัน อาทิ วิธีหรือรูปแบบการทำงานของเรา ระยะเวลาการทำงานและสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวและการทำงาน

ตัวอย่างเช่น เวลาการทำงานที่ไม่อิงตาม ‘หน้าปัดนาฬิกา’ แบบเดิม เข้างาน 9 โมงเช้า เลิก 5 โมงเย็น และงานประจำที่ต้องทำทุกวัน ซึ่งอาจเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญก่อให้เกิดเทรนด์ใหม่ของการทำงานที่ไม่เร่งรีบ หรือ No-Rush Mobility สังคมการทำงานที่ถูกกำหนดจากการใช้พลังงานสูงสุดหรือต่ำสุดแทนเวลาตามเข็มนาฬิกาอาจกลายเป็นเรื่องปกติทั่วไป

ผู้ตอบแบบสอบถามยังคาดหวังว่าบทบาทของ AI จะขยายไปสู่พฤติกรรมของผู้บริโภค ดังที่ระบุไว้ในเทรนด์ Less Is More Digital เช่น เพื่อช่วยลดผลกระทบจากการบริโภควัสดุแก่ผู้ซื้อ โดยใช้ทางเลือกดิจิทัลแทนผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้

ผู้ร่วมเขียนรายงาน ซาราห์ ธอร์สัน หัวหน้าฝ่ายพัฒนาแนวคิดของ Ericsson ConsumerLab พูดถึงเทรนด์ Smart Water โดยระบุว่า “การใช้น้ำอาจเปลี่ยนไปอย่างมากเช่นกัน หากการปันส่วนแพร่หลายมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ประมาณหกสิบสี่เปอร์เซ็นต์ของผู้นำกระแส (Early Adopters) คาดว่าในทศวรรษ 2030 การจัดสรรการใช้น้ำรายเดือนให้แก่ประชาชนทั้งหมดจะใช้กฎกติกาดิจิทัล”

ดร.ไมเคิล บียอร์น หัวหน้าฝ่าย Research Agenda ของ Ericsson Consumer และ IndustryLab และผู้ขับเคลื่อนรายงาน 10 Hot Consumer Trends ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในปี ค.ศ. 2011 กล่าวว่า ผู้บริโภคยังเล็งเห็นถึงความเสี่ยงจากการใช้โซลูชั่นที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบต่อสภาพอากาศแบบผิด ๆ

“กระแส Climate Cheaters เน้นให้เห็นถึงการรับรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎด้วยกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศ ที่อาจจะฝืนความรู้สึกแต่เป็นความจริงอย่างมากที่อาจมีการโกงเพื่อเลี่ยงการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบต่อสภาพอากาศ เช่น การจ่ายบิลหรือการบันทึกข้อมูล เมื่อเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผู้ตอบแบบสำรวจประมาณ 72% คาดว่าจะใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเลี่ยงข้อจำกัดด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวในระยะสั้น ประเด็นนี้เป็นการเตือนจริงจังเกี่ยวกับความสำคัญของการมุ่งเน้นไปที่ความน่าเชื่อถือของบริการอย่างต่อเนื่อง” 

THE TRENDS

  1. Cost Cutters
    บริการดิจิทัลจะช่วยให้ผู้บริโภคควบคุมค่าอาหาร พลังงาน และค่าเดินทางในสถานการณ์สภาพอากาศที่ไม่แน่นอน มากกว่า60%ของกลุ่มผู้นำกระแสในเขตเมืองแสดงความกังวลเกี่ยวกับค่าครองชีพที่สูงขึ้นในอนาคต
  2. Unbroken Connections
    การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่เชื่อถือได้และมีความยืดหยุ่นจะมีความสำคัญมากขึ้นหากและเมื่อมีเหตุการณ์สภาพอากาศรุนแรงเพิ่มขึ้น โดย80%ของกลุ่มผู้นำกระแสในเขตเมืองเชื่อว่าหากเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติจะมีตัวระบุตำแหน่งสัญญาณอัจฉริยะที่แสดงพื้นที่ครอบคลุมอย่างเหมาะสมในทศวรรษ 2030
  3. No-RushMobility
    ตารางเวลาที่เคร่งครัดอาจกลายเป็นเรื่องของเมื่อวานนี้ เมื่อความหมายของความยืดหยุ่นเปลี่ยนไปอันเนื่องมาจากกฎระเบียบด้านสภาพอากาศและประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ประมาณ 68% ของผู้ตอบแบบสำรวจจะวางแผนกิจกรรมโดยใช้ตัวกำหนดตารางเวลาที่เพิ่มประสิทธิภาพตามต้นทุนด้านพลังงาน ไม่ใช่ประสิทธิภาพด้านเวลา
  4. S(AI)fekeepers
    คาดว่าAI จะเป็นขุมพลังสำคัญให้กับบริการที่คอยปกป้องผู้บริโภคในช่วงที่สภาพอากาศแปรปรวนและคาดการณ์ไม่ได้เพิ่มขึ้น โดยเกือบครึ่งหนึ่งของกลุ่มผู้นำกระแสในเขตเมืองกล่าวว่า พวกเขาจะใช้ระบบเตือนภัยสภาพอากาศส่วนบุคคลเพื่อความปลอดภัยของตนเอง
  5. New WorkingClimate
    ข้อจำกัดด้านคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร ต้นทุนที่เพิ่มขึ้น และการเปลี่ยนแปลงสู่ระบบดิจิทัลที่เร่งตัวขึ้นจะกำหนดรูปแบบกิจวัตรการทำงานในอนาคต เจ็ดในสิบคนคาดว่าผู้ช่วย AI ของบริษัทจะวางแผนการเดินทาง กำหนดภาระงาน และทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน
  6. Smart Water
    เนื่องจากน้ำจืดในทศวรรษ 2030 อาจเป็นของหายากขึ้น ผู้บริโภคจึงคาดหวังบริการน้ำที่มีความอัจฉริยะเพื่อเก็บและนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ เกือบครึ่งหนึ่งของกลุ่มผู้นำกระแสในเมืองกล่าวว่าจะใช้เครื่องดักจับน้ำอัจฉริยะบนหลังคา ระเบียง และหน้าต่างที่เมื่อฝนตกก็เปิดเพื่อเก็บกักและทำความสะอาดน้ำฝน
  7. The Enerconomy
    บริการแบ่งปันพลังงานแบบดิจิทัลอาจช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่สูงขึ้นในทศวรรษ 2030 พลังงานอาจกลายเป็นสกุลเงินได้ เนื่องจาก 65% ของกลุ่มผู้นำกระแสในเมืองคาดว่าผู้บริโภคจะสามารถชำระค่าสินค้าและบริการเป็นหน่วยกิโลวัตต์/ชั่วโมง โดยใช้แอปบนอุปกรณ์เคลื่อนที่
  8. Less is moredigital
    การเปลี่ยนไปใช้ผลิตภัณฑ์ดิจิทัลอาจกลายเป็นเครื่องหมายแสดงสถานะ เนื่องจากการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่เป็นวัตถุมากเกินความจำเป็น อาจทำให้ต้องเผชิญกับราคาแพงและถูกวิพากษ์วิจารณ์จากสังคม พฤติกรรมลดการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่เป็นวัตถุจะเร่งขยายตัวขึ้น เนื่องจากหนึ่งในสามของกลุ่มผู้นำกระแสในเมืองเชื่อว่าโดยส่วนตัวแล้วพวกเขาจะใช้แอปช็อปปิ้งที่แนะนำทางเลือกดิจิทัลแทนผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้
  9. Natureverse
    การสัมผัสธรรมชาติในเมืองโดยไม่ต้องเดินทางอาจเป็นเรื่องปกติในยุค 2030 เมื่อต้องอยู่กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างต่อเนื่องและข้อจำกัดด้านการเดินทางที่อาจเกิดขึ้น สี่ในสิบของกลุ่มผู้นำกระแสในเมืองต้องการใช้บริการการเดินทางเสมือนจริงที่ช่วยให้พวกเขาได้สัมผัสกับเขตอนุรักษ์ธรรมชาติและเส้นทางบนภูเขาแบบเรียลไทม์ ประหนึ่งว่าพวกเขาได้อยู่ตรงนั้นเอง
  10. ClimateCheaters
    ผู้ตอบแบบสอบถามกล่าวว่าผู้บริโภคจะหาทางหลีกเลี่ยงความเข้มงวดของข้อจำกัดด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากราคาที่สูงขึ้นและการปันส่วนพลังงานและน้ำ กว่าครึ่งของกลุ่มผู้นำกระแสในเมืองคาดว่าแอปแฮ็คออนไลน์จะช่วยให้พวกเขาลักน้ำประปาหรือไฟฟ้าของเพื่อนบ้านมาใช้แบบผิดกฎหมาย

อ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่ 10 Hot Consumer Trends: Life in a Climate-Impacted Future report

กระบวนการจัดทำรายงาน

ข้อมูลเชิงลึกของรายงานอ้างอิงจากกิจกรรมการวิจัยทั่วโลกของ Ericsson ConsumerLab ซึ่งครอบคลุมมากกว่าหนึ่งในสี่ของศตวรรษ โดยใช้ข้อมูลจากแบบสำรวจออนไลน์ที่จัดทำขึ้นในช่วงเดือนพฤศจิกายน ปี 2565 จากกลุ่มผู้นำกระแสที่ใช้ AR, VR และ Digital Assistant ใน 30 เมืองใหญ่ ได้แก่: กรุงเทพฯ เบอร์ลิน บรัสเซลส์ ไคโร ดัลลัสฟอร์ตเวิร์ธ เดลี จาการ์ตา โจฮันเนสเบิร์ก กัวลาลัมเปอร์ ลิสบอน ลอนดอน มาดริด เม็กซิโกซิตี้ ไมอามี มิลาน มิวนิก นิวยอร์ก ออสโล โรม ซานฟรานซิสโก เซา เปาโล เซี่ยงไฮ้ สิงคโปร์ สตอกโฮล์ม ซิดนีย์ ไทเป โตเกียว โตรอนโต แวนคูเวอร์ และซูริค

Related links:
Ericsson: 10 Hot Consumer Trends 2030 – The Hybrid Mall
Ericsson: 10 Hot Consumer Trends 2030 – The Everyspace Plaza
Ericsson: 10 Hot Consumer Trends 2030 – Connected Intelligent Machines
Ericsson: 10 Hot Consumer Trends 2030 – The Internet of Senses

เกี่ยวกับอีริคสัน

อีริคสัน สนับสนุนผู้ให้บริการด้านการสื่อสารในการสร้างมูลค่าสูงสุดจากการเชื่อมต่อ กลุ่มผลิตภัณฑ์ของบริษัทครอบคลุมเครือข่าย (Networks)  ซอฟต์แวร์และบริการคลาวด์ (Cloud Software and Services) เทคโนโลยีและโซลูชั่นเครือข่ายไร้สายระดับองค์กร (Enterprise Wireless Solutions and Technologies) และธุรกิจใหม่ ๆ (New Businesses) และมีความมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือลูกค้าให้มุ่งสู่ระบบดิจิทัล เพิ่มประสิทธิภาพ และมองหารายได้รูปแบบใหม่ การลงทุนเพื่อพัฒนานวัตกรรมของอีริคสันได้มอบประโยชน์จากระบบโทรศัพท์และเครือข่ายเคลื่อนที่ให้แก่ผู้คนหลายพันล้านคนทั่วโลก อีริคสันจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ ในกรุงสต็อกโฮล์ม และใน NASDAQ นครนิวยอร์ค ติดตามข้อมูลข่าวสารของอีริคสันได้ที่ www.ericsson.com


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์ บทความ บทความพิเศษ

การ์ทเนอร์คาดการณ์มูลค่าใช้จ่ายบริการคลาวด์สาธารณะของผู้ใช้ปลายทางปี 2565 พุ่งสูงเกือบ 500 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กรุงเทพฯ ประเทศไทย 26 เมษายน 2565 – การ์ทเนอร์ อิงค์ คาดการณ์มูลค่าการใช้จ่ายบริการคลาวด์สาธารณะของผู้ใช้ปลายทางทั่วโลกในปี 2565 เติบโตเพิ่มขึ้น 20.4% คิดเป็นมูลค่า 494.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มจากในปี 2564 ที่มีมูลค่า 410.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และคาดว่าในปี 2566 มูลค่าจะเพิ่มขึ้นแตะระดับ 600 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ซิด นาณ รองประธานฝ่ายวิจัยการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “บริการคลาวด์คือขุมพลังสำคัญที่ขับเคลื่อนองค์กรดิจิทัลในปัจจุบัน โดยผู้บริหารไอทีสามารถจัดหาบริการคลาวด์ที่มีอยู่มากมายในตลาดได้ตามต้องการ และพวกเขากำลังพิจารณาอย่างรอบคอบในการเลือกผู้ให้บริการคลาวด์สาธารณะเพื่อใช้ขับเคลื่อนธุรกิจที่ต้องการ มีความเฉพาะเจาะจง และนำผลลัพธ์ทางเทคโนโลยีต่าง ๆ มาปรับใช้ในการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลให้กับองค์กรของพวกเขา”

การ์ทเนอร์คาดว่ามูลค่าการใช้จ่ายของผู้ใช้ปลายทางของบริการ Infrastructure-as-a-Service (หรือ IaaS) จะเติบโตสูงสุดในปีนี้ที่ 30.6% รองลงมา คือบริการ Desktop-as-a-Service (DaaS) ที่ 26.6% และตามมาด้วยบริการ Platform-as-a-Service (PaaS) ที่ 26.1% (ตามตารางที่ 1) ซึ่งการทำงานแบบไฮบริดกำลังกระตุ้นให้องค์กรต่าง ๆ เปลี่ยนแนวทางการใช้โซลูชันประมวลผลไคลเอ็นต์แบบเดิม เช่น เดสก์ท็อปและอุปกรณ์อื่น ๆ ในสำนักงาน ไปสู่บริการ DaaS ทำให้มูลค่าการใช้จ่ายบริการคลาวด์ในกลุ่มนี้เพิ่มสูงถึง 2.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2565 สอดคล้องกับความต้องการใช้ความสามารถต่าง ๆ ของคลาวด์เนทีฟโดยบัญชีผู้ใช้ปลายทางสำหรับบริการ PaaS เติบโตเพิ่มขึ้นถึง 109.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ตารางที่ 1. คาดการณ์มูลค่าบริการคลาวด์สาธารณะของผู้ใช้ปลายทางทั่วโลก (หน่วย: ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)

2564 2565 2566
Cloud Business Process Services (BPaaS) 51,410 55,598 60,619
Cloud Application Infrastructure Services (PaaS) 86,943 109,623 136,404
Cloud Application Services (SaaS) 152,184 176,622 208,080
Cloud Management and Security Services 26,665 30,471 35,218
Cloud System Infrastructure Services (IaaS) 91,642 119,717 156,276
Desktop as a Service (DaaS) 2,072 2,623 3,244
มูลค่าตลาดรวม 410,915 494,654 599,840

BPaaS = business process as a service; IaaS = infrastructure as a service; PaaS = platform as a service; SaaS = software as a BPaaS = business process as a service; IaaS = infrastructure as a service; PaaS = platform as a service; SaaS = software as a service

เนื่องจากการปัดเศษ ทำให้ตัวเลขบางตัวรวมกันแล้วไม่ตรงกับจำนวนรวมทั้งหมด

ที่มา: การ์ทเนอร์ (เมษายน 2565)

“ความสามารถของคลาวด์เนทีฟ เช่น การจำลองระบบคอมพิวเตอร์แบบเสมือน (Containerization), Database Platform-as-a-Service (dbPaaS) และ เอไอ (AI) / แมชชีนเลิร์นนิ่ง (ML) มีคุณสมบัติที่สมบูรณ์กว่าการประมวลผลแบบการใช้คอมพิวเตอร์แบบธรรมดา (Commoditized Compute) เช่น IaaS หรือ Network-as-a-Service ซึ่งมีราคาแพงกว่าและเป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายขององค์กร” นาณ กล่าวเสริม

SaaS ยังเป็นตลาดบริการคลาวด์สาธารณะที่ใหญ่ที่สุด คาดว่าในปีนี้มีมูลค่าสูงถึง 176.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยการ์ทเนอร์คาดว่ามูลค่าใช้จ่ายบริการคลาวด์ในกลุ่มนี้จะเติบโตคงที่ เนื่องจากองค์กรต่าง ๆ เข้าถึงบริการ SaaS หลากหลายอยู่แล้ว ตัวอย่างเช่น เข้าถึงผ่านคลาวด์มาร์เก็ตเพลส และยังแยกย่อยออกไปบริการอื่น ๆ อีก รวมถึงแอปพลิเคชันอิสระ (Monolithic Applications) ไปจนถึง Composable parts อื่น ๆ เพื่อรองรับกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ (DevOps) ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

เทคโนโลยีเกิดใหม่ต่าง ๆ ในระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง อาทิ Hyperscale Edge Computing และ Secure Access Service Edge (SASE) สร้างการเปลี่ยนแปลงให้ตลาดเทคโนโลยีอื่น ๆ เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ในหมวดใหม่ ๆ และสร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้แก่ผู้ให้บริการคลาวด์สาธารณะ

“ผลของประสิทธิภาพที่เพิ่มมากขึ้นของบริการคลาวด์หลัก ๆ (Core Cloud Services) ทำให้องค์กรหันมาให้ความสำคัญกับความสามารถที่หลากหลายของระบบคลาวด์เพิ่มขึ้นเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลให้กับธุรกิจและการดำเนินงานภายในองค์กรได้โดยตรง ซึ่งบริการคลาวด์สาธารณะกลายเป็นส่วนสำคัญที่บังคับผู้ให้บริการนำมาใช้เพื่อรับมือกับความท้าทายทางสังคมและการเมือง เช่น ความยั่งยืนและอำนาจอธิปไตยของข้อมูล”

“ผู้นำไอทีที่ให้ความสำคัญกับคลาวด์และเข้าใจว่าคลาวด์เป็นเทคโนโลยีที่มอบโอกาสมากกว่าเป็นจุดจบขององค์กร จะประสบความสำเร็จในเส้นทางการเปลี่ยนแปลงไปสู่ดิจิทัลตามที่วางแผนไว้ เช่นเดียวกับองค์กรที่นำคลาวด์มาผสานรวมเข้ากับเทคโนโลยีอื่น ๆ ในเครือข่ายที่เชื่อมโยงกัน และทำให้เทคโนโลยีเกิดใหม่มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น” นาณ กล่าวเสริม

ลูกค้าของการ์ทเนอร์ สามารถดาวน์โหลดรายงาน Forecast: Public Cloud Services, Worldwide, 2020-2026, 1Q22 Update ฉบับเต็มได้ที่นี่ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถรับชมสัมนาออนไลน์ของการ์ทเนอร์ในหัวข้อ Cloud Computing Scenario: The Future of Cloud

เกี่ยวกับ Gartner for High Tech

Gartner for High Tech นำเสนอแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดตามขอบเขตความผิดชอบให้แก่ผู้นำเทคโนโลยีและทีมงานไอที รวมถึงข้อมูลเชิงลึกในอุตสาหกรรม มุมมองกลยุทธ์แนวโน้มเกิดใหม่และการเปลี่ยนแปลงในตลาด เพื่อให้สามารถจัดลำดับความสำคัญของภารกิจและสร้างความสำเร็จให้แก่องค์กรในอนาคต อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.gartner.com/en/industries/high-tech หรือติดตามข่าวสารและการอัปเดตจาก Gartner for High Tech ได้ที่ Twitter และ LinkedIn

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Gartner for High Tech Leaders คลิกที่ Twitter และ LinkedIn. หรือคลิกติดตามข่าวสารและข้อมูลเชิงลึกอื่น ๆ ได้ที่ IT Newsroom

เกี่ยวกับการ์ทเนอร์ 

บริษัท การ์ทเนอร์ (Gartner, Inc.) (NYSE: IT) คือบริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาชั้นนำของโลก มอบข้อมูลเชิงลึก คำแนะนำ และเครื่องมือต่าง ๆ แก่ผู้บริหารองค์กรธุรกิจ เพื่อรองรับการดำเนินภารกิจสำคัญที่มีอยู่ในปัจจุบันและสร้างองค์กรให้ประสบความสำเร็จในอนาคต ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางของการ์ทเนอร์ในการช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจอย่างถูกต้องเพื่อขับเคลื่อนอนาคตของธุรกิจได้ที่ gartner.com


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์ บทความ บทความพิเศษ

VMware เผย เทรนด์เทคโนโลยีด้านคลาวด์, ซีเคียวริตี้, แอปพลิเคชัน, Anywhere Workspace และ Enterprise Blockchain จะมีทิศทางอย่างไรในปี 2022

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่ปี 2022 และเป็นประจำทุกปี เราจะได้เห็นการคาดการณ์ความเคลื่อนไหวในแวดวงเทคโนโลยี ในปีนี้วีเอ็มแวร์ จะมาแชร์เทรนด์เทคโนโลยีสำคัญ ๆ เพื่อให้เห็นถึงความต้องการเทคโนโลยีระดับองค์กรที่กำลังจะเข้ามามีบทบาทในการยกระดับการทำงาน แต่ที่แน่ ๆ มีบางด้านที่ไม่จำเป็นต้องใช้พลังพิเศษในการทำนายเลย นั่นคือ การทำงานแบบมัลติคลาวด์ที่ยังคงดำเนินต่อไป เนื่องจากมัลติคลาวด์ช่วยให้องค์กรมีอิสระในการดำเนินการตามกลยุทธ์คลาวด์ที่ดีที่สุด เร่งความเร็วในการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจและการพัฒนานวัตกรรมแอปพลิเคชั ดังนั้นเราจะมองเห็นรูปแบบการทำงานใหม่ ๆ ที่เน้นการทำงานผ่านมัลติคลาวด์มากยิ่งขึ้น โดยเทรนด์ดังกล่าวจะครอบคลุมทั้งคลาวด์ ระบบซีเคียวริตี้ ระบบแอปพลิเคชัน ระบบรองรับการทำงานจากทุก  ที่ (Anywhere Workspace) และ Enterprise Blockchain 

คลาวด์ 

บริษัทส่วนใหญ่ได้ทำการกำหนดโซลูชันในการเคลื่อนย้ายแอปพลิเคชันข้ามผ่านระบบคลาวด์ต่าง ๆ ไว้แล้ว (แม้ว่าหลาย ๆ สภาพแวดล้อมจะเอื้อต่อการเคลื่อนย้ายแอปพลิเคชันไม่เท่ากันย่างไรก็ดี การเคลื่อนย้ายข้อมูลก็ยังคงเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ เพราะข้อมูลคือหัวใจสำคัญในการทำงานของแอปพลิเคชัน โดยระบบการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบเดิม ไม่สามารถมอบประสบการณ์การทำงานที่เหมือนกับคลาวด์ได้ เพราะมันถูกจำกัดด้วยขีดความสามารถของอุปกรณ์ที่มีข้อจำกัดในการจัดการทรัพยากร ทำให้อาจจะเกิดการติดขัดการเข้าถึงข้อมูล ปริมาณความจุที่ไม่เพียงพอ ข้อจำกัดในการปรับขนาดและความยืดหยุ่น เพิ่มความยากในการตัดสินใจในการวางตำแหน่งที่มีความซับซ้อน และมีค่าใช้จ่ายสูงตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงการดูแลระบบทั้งหมด การที่อุตสาหกรรมมุ่งหน้าเข้าสู่ยุคของ multi-cloud/zettabyte ะยิ่งเจอกับข้อจำกัดเหล่านี้มากขึ้น ในอีกสองปีข้างหน้า เราคาดการณ์ว่าจะได้เห็นโครงสร้างข้อมูลที่ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพบนคลาวด์ที่จะช่วยแบ่งเบาการจัดการข้อมูลต่าง  ในองค์กร เพิ่มความสำเร็จในการพัฒนาสถาปัตยกรรมมัลติคลาวด์

ระบบซีเคียวริตี้หรือความปลอดภั 

ในขณะที่องค์กรใช้วิธีการจัดการโดยการเซ็กเมนต์เครือข่ายเพื่อหยุดยั้งการแพร่กระจายของ ransomware ผู้โจมตีได้เริ่มใช้ประโยชน์จากข้อมูลส่วนตัวในการข้ามไปมายังเครือข่ายได้อย่างอิสระ ด้วยการใช้ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือนี้ ผู้โจมตีจึงสามารถทำกิจกรรมที่ไม่พึงประสงค์ได้มากมายโดยไม่มีสัญญาณเตือน การโจมตีด้วยข้อมูลส่วนตัวที่ถูกขโมยมานี้ หลาย  ครั้ง จะใช้เครื่องมือที่มีอยู่แล้ว ช่น PowerShell ในการเจาะเข้าระบบได้โดยไม่ถูกตรวจจับ เมื่อผู้โจมตีสามารถเข้าไปในระบบเครือข่ายขององค์กรได้แล้ว พวกเขาจะเสมือนมี กุญแจบ้าน” และสามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญของลูกค้าที่มีความละเอียดอ่อนและข้อมูลที่เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทได้

นอกจากนี้ยังมีการโจมตีแบบ double-extortion ransomware โดยผู้โจมตีจะทำการส่งข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนออกจากองค์กรอย่างเงียบๆ ก่อนที่จะทำการเข้ารหัสไฟล์ของเหยื่อและขู่ว่าจะเปิดเผยข้อมูลที่มีสำคัญต่อสาธารณะ โดยการกระทำเหล่านี้จะสร้างผลกำไรทางการเงินแก่อาชญากรไซเบอร์ ไม่เพียงแต่บังคับให้องค์กรจ่ายเงินเพื่อเป็นค่าถอดรหัสข้อมูลในไฟล์ของพวกเขาเท่านั้น แต่ยังต้องจ่ายเงินเพื่อปกป้องข้อมูลที่มีความสำคัญไม่ให้ถูกขายหรือถูกเปิดเผยต่อสาธารณะอีกด้วย

แม้ว่าการโจมตีของ ransomware ย่าง Kaseya และ Colonial Pipeline จะเป็นข่าวครึกโครมในปีที่ผ่านมา แต่เราเชื่อว่าผู้คุกคามจะต้องก้าวไปอีกขั้นในปี 2022 โดยใช้การโจมตีด้วย double-extortion ransomware ที่ได้มาจากการโจรกรรมข้อมูลส่วนตัว

ข่าวดีก็คือเราสามารถพึ่งพากลุ่มบริษัทเทคโนโลยี ชุมชนโอเพ่นซอร์ส สถาบันการศึกษา สถาบันความปลอดภัยทางไซเบอร์ และหน่วยงานภาครัฐทั่วโลกที่รวมตัวกันเพื่อรับมือกับความท้าทายนี้ ที่พวกเราเคยทำมาแล้วและเราพร้อมสู้อีกครั้ง

แอปพลิเคชัน 

เราจะได้เห็นเครื่องมือที่นำ Kubernetes มาใช้แก้ปัญหาใหม่  ที่จะเกิดขึ้น พร้อมกับเปลี่ยนแปลงวิธีในการพัฒนาแอปพลิเคชันและการรักษาความปลอดภัย แนวทางของ Kubernetes ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าประสบความสำเร็จในโครงสร้างพื้นฐานแบบคอนเทนเนอร์ และแนวคิดแบบนี้จะมีการนำไปใช้ในวงกว้างมากขึ้น เราจะเห็นได้จากจำนวนของระบบที่เพิ่มขึ้น (ารสร้างระบบ การจัดการโครงสร้างพื้นฐาน และการวางแผนควบคุมการทำงานแอปพลิเคชันแบบรวมศูนย์) ที่มีการใช้ประโยชน์จาก Kubernetes โดยเปลี่ยนจากแนวทางแบบ Imperative DevSecOps ที่เน้นกระบวนการ มาเป็น Manifest-based Model ของ Kubernetes ที่เน้นผลลัพธ์เป็นหลัก ซึ่งจะนำไปสู่มุมมองอีกด้านหนึ่งทางไอทีที่ต้องพยายามทำความเข้าใจกับงานที่กำลังทำอยู่ อีกทั้งการจัดเตรียม API เพื่อเปลี่ยนการทำงานที่กำลังดำเนินงาน ไปยังระบบที่แสดงรายการการใช้งานเพื่อแสดงสถานะและเพื่อให้สามารถตรวจสอบข้อมูลของสถานะจริงกับสถานะที่คาดไว้ได้ ช่วยให้สามารถจัดการกับความท้าทายในด้านอื่นๆเช่น AI/ML การประมวลผลแบบ stream-based การรวมแอปพลิเคชันและการจัดการอื่น  โดยไม่กระทบกับการลงทุนในการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบอย่างมีนัยยะ

Anywhere Workspace หรือการทำงานได้จากทุกที่ 

แนวโน้มสำคัญประการหนึ่งที่เราได้คาดการณ์ไว้ในส่วนของผู้ใช้งานปลายทาง คือการตรวจสอบสิทธิ์ในการเข้าใช้งานแบบไม่ใช้รหัสผ่าน ซึ่งเราเชื่อว่าเป็นสิ่งที่จะต้องมีในอนาคต

การเข้าใช้งานโดยไม่ใช้รหัสผ่านเป็นประเภทของการตรวจสอบสิทธิ์ที่จะเข้ามาแทนที่รหัสผ่านโดยอาศัยปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่าง  เช่น ระบบไบโอเมตริกซ์ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าสู่การตรวจสอบการใช้งานทรัพยากรขององค์กรด้วยการสแกนใบหน้าหรือสแกนลายนิ้วมือ แทนที่จะต้องคอยจดจำรหัสผ่านที่จะต้องทำการเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลาหรือการใช้แอปพลิเคชันในการตรวจสอบความถูกต้อง (Authenticator App)

เราจะเริ่มเห็นว่าในปี 2022 การใช้งาน VPN จะเริ่มหายไปจากเดิมมาก ในช่วงของการระบาดของไวรัสครั้งใหญ่ บริษัทต่าง  ได้ตระหนักดีว่า VPN เป็นหนึ่งในพื้นที่เสี่ยงที่สุด และไม่ได้รับการรักษาความปลอดภัยเพียงพอสำหรับผู้ใช้จากระยะไกลที่ต้องการการเข้าถึงเครือข่ายองค์กรในวงกว้าง  ทั้งนี้เทคโนโลยี Micro-perimeters รวมถึงการตรวจสอบความปลอดภัยแบบเรียลไทม์ และโซลูชั่น SASE ที่หลากหลายคือตัวแทนใหม่ของ VPN ในอนาคต

Enterprise Blockchain บล็อกเชนกับงานบริหารจัดการระหว่างองค์กร 

ทุกวันนี้เวิร์คโฟลว์ในการทำงานระหว่างองค์กร ของหลาย  องค์กร มีการทำงานแยกเป็นส่วนๆ และมีความยุ่งยากซับซ้อนในการดูแล ทำให้เกิดความล่าช้า เพิ่มต้นทุน และเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนานวัตกรรม โดยข้อมูลของเวิร์คโฟลว์การทำงานนี้มักจะถูกเก็บไว้ในส่วนต่าง  ภายในองค์กร ส่งผลให้การแบ่งปันและการจัดการข้อมูลข้ามองค์กรไม่มีประสิทธิภาพและมีค่าใช้จ่ายสูง และนี่คือจุดที่เทคโนโลยีบล็อกเชน/บัญชีแยกประเภทแบบดิจิทัล (DLT) เข้ามามีบทบาท ในขณะที่ cryptocurrencies และ non-fungible tokens (NFTs) ที่ถูกพัฒนาขึ้นบนเทคโนโลยีบล็อกเชนได้รับความนิยมทำให้เทคโนโลยีบล็อกเชนถูกจับตามองว่าจะเป็นตัวช่วยในการขับเคลื่อนประสิทธิภาพขององค์กรอย่างแท้จริง พลังที่แท้จริงของบล็อคเชนคือการช่วยให้หลายฝ่ายสามารถทำงานร่วมกันด้วยข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ ทำให้การทำธุรกรรมทางดิจิทัลเป็นไปได้อย่างสมบูรณ์และปลอดภัย ทคโนโลยีที่กำลังเจริญเติบโต รวมถึงรูปแบบในการส่งมอบงาน การนำมาตรฐานและประสิทธิภาพของสภาพแวดล้อมในการทำงานแบบใหม่มาปรับใช้ จะช่วยเพิ่มความเร็วในการพัฒนาองค์กร

ในปี 2022 เรามองว่า เราจะเห็นความสำคัญของบล็อกเชนที่มีต่อองค์กรชัดเจนขึ้น รวมไปถึงการเร่งความเร็วในการปรับตัวในการพัฒนาใช้ผลิตภัณฑ์ในหลายอุตสาหกรรม (เช่น การใช้งานในซัพพลายเชน เป็นต้น) จะเป็นการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานในการดำเนินธุรกิจระหว่างองค์กร ขณะที่สถาบันทางการเงิน จะสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า รองรับการทำงานที่มีความถี่และมีซับซ้อนสูง เราคาดหวังว่าจะเริ่มมีการปรับใช้บล็อคเชนในองค์กรอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้นในปี 2022 และเราจะเห็นสถาบันการเงินรายใหญ่มีความมั่นใจในการปรับใช้เทคโนโลยีบล็อคเชนในการดำเนินธุรกิจและให้บริการมากยิ่งขึ้น


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์ บทความพิเศษ เทคโนโลยี

กองทรัสต์ระดับโลกอย่าง Digital Realty ติดตามความคืบหน้าด้านความยั่งยืนกันอย่างไร

อุตสาหกรรมดาต้าเซ็นเตอร์ กลายเป็นภาคที่ต้องตอบสนองต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ซึ่งโดยปกติแล้ว อุตสาหกรรมนี้ใช้พลังงานมากมายในการขับเคลื่อนสิ่งอำนวยความสะดวก ทั้งระบบระบายความร้อน และเซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ของลูกค้า ซึ่งในหลายกรณี ต้องใช้น้ำจำนวนมากในการทำให้ระบบเย็นลง อย่างไรก็ตามหนึ่งในลูกค้าของชไนเดอร์ อิเล็คทริค คือ Digital Realty ได้นำร่องสู่ความยั่งยืนมากขึ้น และมีการนำข้อมูลมาใช้เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แท้จริง

Digital Realty คือกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (real estate investment trust) REIT ที่เป็นทั้งเจ้าของ และมีการควบกิจการ รวมถึงพัฒนา และดำเนินการแพลตฟอร์มศูนย์ข้อมูลระดับโลก นอกจากนี้ ยังเป็นผู้นำอุตสาหกรรมดาต้าเซ็นเตอร์ที่ให้ประสิทธิภาพความยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งยืนยันด้วยการเป็นบริษัทดาต้าเซ็นเตอร์แห่งแรกที่ได้รับรางวัล ENERGY STAR Partner of the Year และเป็นรางวัลที่ได้รับติดกันสองปีซ้อน อีกทั้งทรัพยากรที่เกี่ยวข้องของ Digital Realty ทั้งสามสิบเอ็ดแห่ง ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 70 ของกำลังการผลิตของ Digital Reality ที่ครอบคลุมในสหรัฐอเมริกา ยังได้รับการรับรองจาก ENERGY STAR เช่นกัน

การกำหนดเป้าหมายด้านความยั่งยืน

เนื่องจาก Digital Realty เป็นผู้ให้บริการระดับโลกด้านโซลูชันของโคโลเคชั่นดาต้าเซ็นเตอร์ รวมถึงการเชื่อมต่อระหว่างระบบคลาวด์รายใหญ่ที่สุด ความมุ่งมั่นในการกำหนดเป้าหมายด้านความยั่งยืนสำหรับแพลตฟอร์มศูนย์ข้อมูลระดับโลกชั้นนำ (PlatformDIGITAL®) จึงไม่ใช่งานเล็กๆ ในปี 2563 Digital Realty มุ่งมั่นที่จะลดการปล่อยก๊าซในขอบเขต 1 และ 2 (ทางตรงและทางอ้อม) ลงถึง 68 เปอร์เซ็นต์ในศูนย์ข้อมูลกว่า 290 แห่งที่ดำเนินงานใน 24 ประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับแผนงานในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้อยู่ที่ 1.5 องศา ซึ่งยืนยันโดยโครงการของ Science-Based Target Initiative เพื่อลดการปล่อยคาร์บอนภายในปี 2573

ในภาพใหญ่ Digital Realty ตั้งเป้าวงจรชีวิตที่สมบูรณ์ของดาต้าเซ็นเตอร์ตามเป้าหมายด้านความยั่งยืน กระบวนการเริ่มต้นด้วยการจัดหาและพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกและพัฒนาไปสู่การปรับวงจรชีวิตการดำเนินงานได้อย่างเหมาะสมเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งรวมถึงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน และซัพพลายเชนเป็นระยะ เหล่านี้ สร้างขึ้นบนรากฐานของความมุ่งมั่นพยายาม โดยใช้ตราสารหนี้เพื่อสิ่งแวดล้อม (green bonds) พลังงานหมุนเวียน รวมไปถึงกลยุทธ์การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การดูแลน้ำ ความยืดหยุ่นที่รองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และแนวปฏิบัติในการสร้างอาคารสีเขียว เพื่อหาโซลูชันใหม่และนวัตกรรมในการควบคุมการปล่อยมลพิษโดยตรงจากสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ รวมถึงภายในซัพพลายเชน

ประสานความร่วมมือกับลูกค้าที่มุ่งเน้นความยั่งยืน

สำหรับ Digital Realty นอกจากความยั่งยืนจะดีต่อโลกแล้ว ยังดีต่อธุรกิจอีกด้วย ความมีประสิทธิภาพด้านทรัพยากรได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วหลายครั้งว่า ช่วยสร้างมูลค่าให้กับธุรกิจ เนื่องจากการใช้น้ำ และไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยลดค่าใช้จ่ายอีกทั้งยังสอดคล้องกับสิ่งที่ลูกค้าให้ความสำคัญ ด้วยเหตุนี้ 90 % ของลูกค้าชั้นนำ 20 อันดับแรกของ Digital Realty จึงได้มีการเปิดเผยเป้าหมายด้านความยั่งยืนของตนต่อสาธารณะ

Digital Realty ได้นำความคิดเห็นของลูกค้าพร้อมกับความมุ่งมั่น มาใช้ในการตัดสินใจเพื่อช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์ด้านความยั่งยืน นอกจากนี้ ปัจจัยเรื่อง ESG (สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญสามประการในการวัดความยั่งยืนของบริษัทและผลกระทบทางจริยธรรม ยังทวีความสำคัญยิ่งขึ้นในสายตาของนักลงทุน ในฐานะที่ Digital Realty เป็นหนึ่งในสิบของกองทรัสต์เพื่อการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐอเมริกา (REIT) ที่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุด Digital Realty ยังได้เข้าไปมีส่วนร่วมอย่างจริงจังกับนักลงทุนรายหลัก เพื่อทำความเข้าใจลำดับความสำคัญและวัตถุประสงค์ในการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับ ESG

ใช้ตัววัดเพื่อการประหยัดพลังงาน

Digital Realty ใช้เมตริกหรือตัววัดที่ตรวจสอบได้รวมถึงองค์กรภายนอกเพื่อสนับสนุนข้อเรียกร้อง ซึ่งชไนเดอร์ อิเล็คทริค ในฐานะที่เป็นซัพพลายเออร์รายสำคัญของ Digital Realty พร้อมอีกบทบาทหนึ่งในการเป็นบริษัทที่ยั่งยืนที่สุดในโลก กำลังเดินหน้าอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นผู้นำในการพูดคุยหัวข้อในเรื่องของความยั่งยืน ด้วยบทบาทของเราทั้งสองมุม ทำให้เราทราบดีว่าเราต้องมีข้อมูลในปริมาณมากเพื่อใช้เป็นกำลังสนับสนุนข้อเรียกร้องของเรา

ตัววัดประสิทธิภาพพลังงานที่น่าจับตามองของ Digital Realty คือค่า PUE (ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน) ซึ่ง  PUE เป็นค่าอัตราส่วนระหว่างการใช้พลังงานประจำปีของศูนย์ข้อมูล และพลังงานทั้งหมดที่เซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ใช้ในแต่ละปี ซึ่งเป้าหมายของการลด PUE ของศูนย์ข้อมูลแบบโคโลเคชั่น ภายในปี 2565 อยู่ที่ 10 % (เทียบกับค่าพื้นฐานจากปี 2560) ซึ่งก็ทำได้สูงกว่าเป้า โดยสามารถลด PUE ได้ 11 % ทั้งนี้ Digital Realty ยังให้ข้อมูลแก่ลูกค้า ในระดับที่ลงลึกถึงลูกค้าแต่ละราย โดยใช้ซอฟต์แวร์ PME ของชไนเดอร์ อิเล็คทริค มาช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพของ PUE ซึ่งข้อมูลดังกล่าวช่วยให้ลูกค้าสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพ PUE ได้ดียิ่งขึ้น

การประหยัดพลังงานอย่างมีนัยสำคัญมาจากการใช้ LED ในดาต้าเซ็นเตอร์ และดาต้าเซ็นเตอร์แห่งใหม่ของ Digital Realty ก็ใช้แสงสว่างจาก LED ทั้งหมด เนื่องจากเป็นระบบไฟที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในปัจจุบัน นอกจากนี้ระบบทำความเย็นยังมาจากการใช้ประโยชน์ของ “ฟรีคูลลิ่ง” เท่าที่จะสามารถทำได้ แม้แต่ในสภาพอากาศที่อบอุ่น เช่น ซานตาคลารา แคลิฟอร์เนีย ศูนย์ข้อมูลหลายแห่งของ Digital Realty ใช้อากาศเย็นในตอนกลางคืนเพื่อระบายความร้อนเป็นเวลาหลายพันชั่วโมงในแต่ละปี เพื่อประหยัดพลังงานไฟฟ้า นอกจากนี้ ยังมีการนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ในหลายแห่ง เช่น ในเมืองดัลลัส รัฐเท็กซัส Digital Realty ได้ทำข้อตกลงระยะยาวในการจัดหาพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์จำนวน 154 เมกะวัตต์  ซึ่งชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้ทำงานในนามของ Digital Realty เพื่อเจรจาข้อตกลงในการซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนบางส่วน ทำให้ พอร์ตโฟลิโอโดยรวมของ Greater Dallas ทั้งหมดของ Digital Realty ในปีนี้จะขับเคลื่อนด้วยพลังงานหมุนเวียนเกือบประมาณ 70%

นำข้อมูลมาใช้ในการอนุรักษ์น้ำ

ในไตรมาส 1 ปี 2564 Digital Realty ได้กลายเป็นผู้บริโภครายแรกที่ใช้น้ำรีไซเคิลและเป็นบริษัทศูนย์ข้อมูลรายแรกและรายเดียวที่เข้าร่วมเครือข่ายผู้ใช้น้ำรีไซเคิลของสมาคม WaterReuse (เครือข่ายสำหรับธุรกิจและหน่วยงานอื่นๆ ที่ใช้น้ำรีไซเคิล) การเป็นสมาชิกของบริษัทในเครือข่ายผู้ใช้น้ำรีไซเคิลนั้นรวมถึงการเป็น green designation WATER STAR® ซึ่งให้การยอมรับถึงความสำเร็จของ Digital Realty ในฐานะผู้ดูแลทรัพยากรน้ำในชุมชนท้องถิ่น

การประเมินการขับเคลื่อนด้วยข้อมูลของ Digital Realty ได้ข้อสรุปว่า ในปี 2563 กว่า 50 % ของน้ำที่นำมาใช้ในการทำให้ศูนย์ข้อมูลในสหรัฐฯ เย็นลงนั้น มาจากแหล่งน้ำที่ไม่สามารถดื่มได้ โดยรวมแล้ว 43 % ของแหล่งน้ำทั่วโลกในปี 2563 มาจากแหล่งน้ำที่ไม่สามารถดื่มได้ที่อยู่ภายในเทศบาล หรือเป็นน้ำรีไซเคิลภายในไซต์งาน

ในสหรัฐอเมริกา ศูนย์ข้อมูล Westin Building Exchange ของ Digital Realty ในซีแอตเทิล รัฐวอชิงตัน จัดหาระบบทำความร้อนให้กับแคมปัส ของบริษัท Amazon ที่อยู่ติดกัน ซึ่ง Ecodistrict ใช้น้ำเย็นที่ถูกทำให้ร้อนจากอาคารเวสทินเพื่อสร้างความอบอุ่นแก่อาคารสำนักงานใหญ่ระดับโลกของอเมซอน ขณะที่น้ำเย็นจากอาคารของ Amazon จะถูกนำกลับมาใช้ใหม่ใน Westin เพื่อทำให้โครงสร้างพื้นฐานของศูนย์ข้อมูลเย็นลง

ในที่สุดระบบจะให้ความร้อนแก่พื้นที่สำนักงานประมาณ 5 ล้านตารางฟุต การรีไซเคิลพลังงานส่วนเกินจาก Westin คาดว่าจะช่วยประหยัดการใช้ไฟฟ้าได้ประมาณ 80 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง ตลอด 25 ปี ซึ่งเทียบเท่ากับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการเผาไหม้ถ่านหิน 62 ล้านปอนด์ โครงการนี้สอดคล้องกับเป้าหมายของเมืองซีแอตเทิลในการลดการปล่อยพลังงานในอาคารลง 38% จากปี 2551 ภายในปี 2573 และบรรลุสถานะคาร์บอนเป็นกลางภายในปี 2593

เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้เกิดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับน้ำ ดังนั้น Digital Realty จึงใช้ตัวชี้วัด GRESB เพื่อทำการวิเคราะห์สถานการณ์ความเสี่ยงทางกายภาพสำหรับพอร์ตโฟลิโอของตน การประเมินความเสี่ยงรวมถึงการเพิ่มของระดับน้ำทะเล และความเครียดน้ำ (water stress) Digital Realty ใช้เครื่องมือมากมายในการประเมินการใช้น้ำและหนึ่งในนั้นคือเครื่องมือ Aqueduct ของสถาบันทรัพยากรโลก ที่ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการขาดแคลนน้ำและประเมินการใช้น้ำในภูมิภาคที่ขาดแคลนน้ำ

ถัดไปคือตัวชี้วัดซัพพลายเชน

Digital Realty ทราบว่าธุรกิจที่ยั่งยืนจะต้องได้รับแรงหนุนจากซัพพลายเชนที่”สะอาด” ดั้งนั้น Digital Realty จึงได้เริ่มให้ความสำคัญกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของซัพพลายเออร์ เป้าหมายส่วนหนึ่งของโครงการ Science-Based Target Initiative คือการลดการปล่อยคาร์บอนในขอบเขตที่ 3 ลง 24% ต่อพื้นที่ภายในปี 2573

เรื่องนี้คือความพยายามอย่างต่อเนื่อง โดยทั้ง Digital Realty และ Schneider Electric ต่างทำงานร่วมกันได้อย่างดี เพราะเราได้แบ่งปันวัตถุประสงค์ร่วมกันอีกทั้งให้ความสำคัญกับความยั่งยืนเหมือนกัน เรายังคงดำเนินการในเชิงรุกโดยการนำแนวทางใหม่ๆ ที่ดีกว่าเดิมมาใช้ เพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม เรารู้สึกตื่นเต้นที่จะได้ร่วมงานกับ Digital Realty ต่อไป เพื่อช่วยสร้างโลกและอุตสาหกรรมศูนย์ข้อมูลที่ดีและยั่งยืนยิ่งขึ้น

                                                                                          # # #

เกี่ยวกับชไนเดอร์ อิเล็คทริค

เป้าหมายของชไนเดอร์ อิเล็คทริค คือการช่วยให้ทุกคนใช้พลังงานและทรัพยากรได้เกิดประโยชน์สูงสุด เชื่อมโยงความก้าวหน้าและความยั่งยืนเพื่อประโยชน์ของทุกคน เราเรียกสิ่งนี้ว่า Life Is On

ภารกิจของเราคือการเป็นพันธมิตรด้านดิจิทัลกับคุณ เพื่อสร้างประสิทธิภาพและความยั่งยืน

เราขับเคลื่อนการปฏิรูปสู่ดิจิทัล ด้วยการผสานรวมเทคโนโลยีชั้นนำของโลกด้านพลังงานและกระบวนการจัดการ เข้ากับผลิตภัณฑ์ตั้งแต่จุดเชื่อมต่อปลายทางไปยังคลาวด์ ระบบควบคุม รวมถึงซอฟต์แวร์และการบริการครอบคลุมตลอดวงจรชีวิตการทำงานทั้งหมด เพื่อสร้างศักยภาพในการบริหารจัดการองค์กรแบบบูรณาการ ทั้งสำหรับบ้าน อาคาร ดาต้าเซ็นเตอร์ ระบบโครงสร้างพื้นฐานและอุตสาหกรรม

เราคือบริษัทระดับโลกที่มีการดำเนินงานในระดับท้องถิ่นมากที่สุด เราสนับสนุนมาตรฐานระบบเปิดและระบบนิเวศของคู่ค้าที่มีความมุ่งมั่นแรงกล้าในการทำตามวัตถุประสงค์อย่างมีเป้าหมายร่วมกัน และคุณค่าในการรวมกันเป็นหนึ่งเดียวพร้อมขับเคลื่อนไปข้างหน้าด้วยกัน


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์ บทความ บทความพิเศษ เทคโนโลยี

การ์ทเนอร์คาดการณ์ยอดจัดส่งรถยนต์ไฟฟ้าปี 65 พุ่งแตะ 6 ล้านคัน

การ์ทเนอร์คาดการณ์ยอดจัดส่งรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า (แบบใช้พลังงานจากแบตเตอรี่และแบบปลั๊กอิน-ไฮบริด) ในปี 2565 จะเพิ่มขึ้นเป็น 6 ล้านคัน จาก 4 ล้านคันในปี 2564

โจนาธาน ดาเวนพอร์ท ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “จากที่ประชุม COP26 เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว สมาพันธ์ Zero Emission Vehicle Transition Council มีข้อตกลงเห็นพ้องตรงกันว่า ภายในปี 2583 ผู้ผลิตรถยนต์จะเดินหน้าผลิตและจำหน่ายยานพาหนะที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ จากที่ก่อนหน้านี้ได้กดดันให้ผู้ผลิตในตลาดรถยนต์ชั้นนำเตรียมพร้อมรับมือกับแนวทางการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ กับภาคการขนส่ง ทั้งนี้ยานยนต์ไฟฟ้า (หรือ EVs) นั้นเป็นเทคโนโลยีระบบส่งกำลังที่มีความสำคัญต่อการช่วยลดการปล่อย CO2 ในภาคการขนส่ง ภาวะขาดแคลนชิปยังส่งผลกระทบต่อเนื่องกับยอดการผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในปีนี้ แม้สัดส่วนการจัดส่งรถยนต์พลังไฟฟ้าประเภทรถตู้ (Vans) และรถบรรทุก (Trucks) ยังมีขนาดเล็กในปัจจุบัน แต่การจัดส่งยานยนต์ในกลุ่มนี้จะเติบโตอย่างรวดเร็วเมื่อเจ้าของกิจการเล็งเห็นถึงประโยชน์ทั้งต่อสิ่งแวดล้อมและด้านการเงิน เมื่อเปลี่ยนมาใช้พลังงานไฟฟ้า”

การ์ทเนอร์คาดว่ารถยนต์ (Cars) จะมีสัดส่วนจัดส่งสูงถึง 95% ของตลาดยานยนต์พลังงานไฟฟ้าทั้งหมดในปี 2565 ส่วนที่เหลือจะแบ่งเป็น รถโดยสาร (Buses) รถตู้ (Vans) และรถบรรทุกขนาดใหญ่ (Heavy Trucks) (ดูตามตารางที่ 1)

ตารางที่ 1: ปริมาณการจัดส่งยานยนต์ไฟฟ้าทั่วโลก ปี 2564-2565 (หน่วยตามจริง)

  ยอดจัดส่ง ปี 2564 ยอดเติบโต ปี 2564 (%) ยอดจัดส่ง ปี 2565 ยอดเติบโต ปี 2565 (%)
รถยนต์ 4,473,907 38.3 6,022,147 34.6
รถโดยสาร 165,551 18.1 198,353 19.8
รถตู้ 86,274 56.1 126,607 46.8
รถบรรทุกขนาดใหญ่ 15,171 41.5 22,663 49.4
รวม 4,740,903 37.7 6,369,769 34.4

เนื่องจากการปัดเศษ ทำให้ตัวเลขบางตัวรวมกันแล้วไม่ตรงกับจำนวนรวมทั้งหมด

ที่มา: การ์ทเนอร์ (มกราคม 2565)

ประเทศจีนและยุโรปตะวันตกมียอดจัดส่งยานยนต์พลังงานไฟฟ้าสูงสุดในปีนี้

ด้วยนโยบายของสาธารณรัฐประชาชนจีนที่มีคำสั่งให้ภายในปี 2573 ผู้ผลิตรถยนต์ต้องผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในสัดส่วน 40% ของยอดจำหน่ายรถยนต์ทั้งหมด รวมถึงการจัดตั้งโรงงานผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้าขึ้นใหม่ การ์ทเนอร์คาดว่าประเทศจีนจะกลายเป็นผู้นำอันดับ 1 ที่ครองยอดการจัดส่งรถยนต์พลังงานไฟฟ้า โดยมีสัดส่วนราว 46% ของการจัดส่งรถยนต์พลังงานไฟฟ้าทั้งหมดทั่วโลกในปีนี้ โดยมียอดจัดส่งสูงถึง 2.9 ล้านคัน ขณะที่ฝั่งยุโรปตะวันตกจะอยู่ในอันดับที่ 2 ด้วยยอดการจัดส่งที่ 1.9 ล้านคัน และตามมาด้วยอันดับสามคือผู้ผลิตจากอเมริกาเหนือ ที่คาดว่าจะมียอดจัดส่งอยู่ราว 855,300 คัน

“แผนของสหภาพยุโรป (EU) ที่ต้องการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จากการใช้รถยนต์ให้ได้ที่ 55% และรถตู้ที่ 50% ภายในปี 2573 เป็นการกระตุ้นตลาดรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่สำคัญในยุโรป” ดาเวนพอร์ท กล่าวเพิ่มเติมว่า

จากการที่รัฐบาลในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกหันมาให้ความสำคัญ ออกกฎระเบียบและใช้มาตรการกระตุ้นต่าง ๆ เพื่อผลักดันยอดจำหน่ายรถยนต์พลังงานไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น นั่นทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์เพิ่มการลงทุนในบริษัทที่เป็นผู้วางโครงสร้างพื้นฐานจุดชาร์จไฟและเทคโนโลยีแบตเตอรี่ในรถยนต์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้บริโภคและภาคธุรกิจเปลี่ยนมาใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า การ์ทเนอร์คาดว่า ในปีนี้จะมีจำนวนจุดชาร์จไฟฟ้าสาธารณะทั่วโลกเพิ่มขึ้นเป็น 2.1 ล้านจุด จากเดิม 1.6 ล้านจุด เมื่อปี 2564

ปัจจัยท้าทายการใช้รถยนต์ไฟฟ้ายังมีอยู่อีกมาก 

เพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนมาใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า ผู้ผลิตจะต้องจัดการกับปัจจัยหลายประการ อาทิ การลดราคารถยนต์พลังงานไฟฟ้าและแบตเตอรี่ การรีไซเคิลแบตเตอรี่ การนำเสนอรถยนต์พลังงานไฟฟ้ารุ่นต่าง ๆ ที่หลากหลายกว่าเดิม พร้อมยืดระยะการขับให้ได้ระยะไกลขึ้น รวมถึงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานในเรื่องจุดชาร์จไฟฟ้า

ดาเวนพอร์ท กล่าวเพิ่มเติมว่า “นอกจากนี้ ยังมีความท้าทายสำคัญที่ต้องเร่งแก้ไข นั่นคือ จำนวนจุดชาร์จไฟฟ้าแบบเร็วที่บ้านและตามพื้นที่สาธารณะต่าง ๆ ที่ยังขาดแคลน โดยผู้ให้บริการสาธารณูปโภคจะต้องเพิ่มการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานไฟฟ้าสมาร์ทกริดเพื่อรับมือกับปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น และตอบสนองต่อเป้าหมายทางด้านสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยประเทศที่ยังใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเพื่อผลิตไฟฟ้าจะต้องออกแบบระบบการผลิตไฟฟ้าใหม่เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว”

เกี่ยวกับการ์ทเนอร์ 

บริษัท การ์ทเนอร์ (Gartner, Inc.) (NYSE: IT) คือบริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาชั้นนำของโลก มอบข้อมูลเชิงลึก คำแนะนำ และเครื่องมือต่าง ๆ แก่ผู้บริหารองค์กรธุรกิจ เพื่อรองรับการดำเนินภารกิจสำคัญที่มีอยู่ในปัจจุบันและสร้างองค์กรให้ประสบความสำเร็จในอนาคต ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางของการ์ทเนอร์ในการช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจอย่างถูกต้องเพื่อขับเคลื่อนอนาคตของธุรกิจได้ที่ gartner.com

#ev

#รถไฟฟ้า


Categories
บทความ บทความพิเศษ

inventor พาชมภาพบรรยากาศงาน World Skills Asean 2018 Bangkok

World Skills Asean Bangkok2018 งานแข่งขันฝีมือแรงงานระดับอาเซียนในสาขาวิชาต่างๆ ภายใต้การกำกับดูแลของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน โดยมีการจัดขึ้นทุกปีเพื่อคัดตัวแทนประจำสาขาวิชาต่างๆ เพื่อไปแข่งขันในงานระดับอาเชี่ยน และระดับนานาชาติต่อไป โดยปีนี้ก็เวียนมาถึงประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม 2561 ถึงวันที่ 2 กันยายน 2561 ณ อาคารชาเลนเจอร์ 1 – 2 อิมแพ็ค เมืองทองธานี แน่นอนเรามีภาพบรรยากาศการแข่งขันของแต่ละสาขามาฝากกันครับ

เกี่ยวกับงาน World Skills Asean Bangkok2018
World Skills Asean คือการแข่งขันฝีมือแรงงานระดับอาเซียนเป็นข้อตกลงของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน โดยกำหนดให้ประเทศสมาชิกหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพการแข่งขัน ทุกๆ 2 ปี และบรรจุไว้เป็นกิจกรรมหนึ่งของแผ่นงานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภายใต้พิมพ์เขียวประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community Bluepoint) มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหส่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม องค์กรนายจ้าง และลูกจ้าง เพื่อกพัฒนากำลังแรงงานที่มีคุณภาพและที่สำคัญคือการมุ่งสร้างอาเซียนให้เป็นภูมิภาคแห่งความร่วมมือ โดยเฉพาะการพัฒนาศักยภาพของเยาวขนให้เป็นภูมิภาคที่มีความพร้อมด้านกำลังคน แรงงานที่มีศักยภาพสูง รองรับการลงทุนและการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน

สำหรับงาน World Skills Asean Bangkok2018 มีผู้ร่วมแข่งขันเป็นเยาวชนในกลุ่มประเทศอาเซียนจำนวน 335 คน จาก 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน ใน 6 กลุ่มสาขาอาชีพ ได้แก่

(1) กลุ่มสาขาอาชีพเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการผลิต

Mobile Robots

CNC Maintenance

Mechanical Engineering CAD

1.1 เมคคาทรอนิกส์ (ทีม)

1.2 เขียนแบบวิศวกรรมเครื่องกลด้วยคอมพิวเตอร์

1.3 เทคโนโลยีการเชื่อม

1.4 ระบบอัตโนมัติอุตสาหกรรม (ทีม)

1.5 หุ่นยนต์เคลื่อนที่ (Mobile Robotics) (ทีม)

1.6 อิเล็กทรอนิกส์

1.7 ซ่อมบำรุงเครื่องจักรกล CNC

(2) กลุ่มสาขาอาชีพเทคโนโลยีการสื่อสาร

2.1 เว็บดีไซน์

2.2 เทคโนโลยีสารสนเทศ

2.3 เทคโนโลยีสายเครือข่าย

2.4 การจัดการระบบเครือข่ายสารสนเทศ

(3) กลุ่มสาขาอาชีพแฟชั่นและครีเอทีฟ

3.1 กราฟิกดีไซน์

3.2 แฟชั่นเทคโนโลยี

(4) กลุ่มสาขาอาชีพขนส่งและโลจิสติกส์

4.1 เทคโนโลยียานยนต์

4.2 สีรถยนต์

(5) กลุ่มสาขาอาชีพเทคโนโลยีก่อสร้างและอาคาร

5.1 เทคโนโลยีระบบไฟฟ้าภายในอาคาร

5.2 เทคโนโลยีระบบทำความเย็น

5.3 ปูกระเบื้อง

5.4 ก่ออิฐ

5.5 ไม้เครื่องเรือน

5.6 ต่อประกอบมุมไม้

5.7 อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things) (ทีม)
IoT นี่ สร้างความประหลาดใจให้กับเราเป็นอย่างยิ่งที่แทนที่สาขานี้จะอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรม แต่ทางผู้จัดคงคิดมาอย่างดีแล้วล่ะครับ แต่ก็ยังแอบ งงๆ อยู่ดี อาจเป็นเพราะ IoT ในที่นี้จะจำกัดความเฉพาะที่อยู่อาศัยก็เป็นได้

(6) กลุ่มสาขาบริการส่วนบุคคลและสังคม

6.1 เสริมความงาม

6.2 แต่งผม

6.3 บริการอาหารและเครื่องดื่ม

6.4 ประกอบอาหาร

แบ่งเป็น 24 สาขาทางการ และ 2 สาขาสาธิต รวมเป็น 26 สาขา โดยเยาวชนที่ชนะการแข่งขันในครั้งนี้ จะได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนประเทศเข้าร่วมการแข่งขันฝีมือแรงงานนานาชาติ ครั้งที่ 45 ที่เมืองคาซาน สหพันธรัฐรัสเซีย (WorldSkills Kazan 2019) ระหว่างวันที่ 22 ถึง 27 สิงหาคม 2562 และเงินรางวัลเหรียญทอง 150,000 บาท เหรียญเงิน 75,000 บาท เหรียญทองแดง 40,000 บาท เหรียญฝีมือยอดเยี่ยม 20,000 บาท และรางวัลปลอบใจ 10,000 บาท ส่วนการแข่งขัน World Skills Asean ในครั้งต่อไปจะจัดขึ้นที่ประเทศสิงคโปร์

สรุปว่า งานนี้จัดได้ยิ่งใหญ่สมฐานะ และดูดีมากๆ ส่วนบริเวณพื้นที่การแข่งขันก็จัดไว้ได้ลงตัว เป็นสัดส่วน มีการป้องกันบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปยุ่งเกี่ยวในพื้นที่แข่งขัน แต่ก็ยังสามารถดูการแข่งขันได้จากทุกด้านของพื้นที่การแข่งขัน โดยนอกจากการแข่งขันแล้วในงานยังมีบูธต่างๆ และกิจกรรม Try a Skill หรือการจัดอบรมทักษะพื้นฐานในสาขาต่างๆ เช่นสาขาอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการจัด Try a Skill ทักษะไมโครคอนโทรลเลอร์และอิเล็กทรอนิกส์พื้นฐาน โดยทีมงานจาก บริษัท อินโนเวตีฟ เอ็กเพริเมนต์ จำกัด หรือ INEX

ส่วนผลการแข่งขันจะมาอัปเดตกันให้ทราบอีกครั้งคราวหน้าครับ


 

Exit mobile version