Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์ บทความ บทความพิเศษ

VMware เผย เทรนด์เทคโนโลยีด้านคลาวด์, ซีเคียวริตี้, แอปพลิเคชัน, Anywhere Workspace และ Enterprise Blockchain จะมีทิศทางอย่างไรในปี 2022

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่ปี 2022 และเป็นประจำทุกปี เราจะได้เห็นการคาดการณ์ความเคลื่อนไหวในแวดวงเทคโนโลยี ในปีนี้วีเอ็มแวร์ จะมาแชร์เทรนด์เทคโนโลยีสำคัญ ๆ เพื่อให้เห็นถึงความต้องการเทคโนโลยีระดับองค์กรที่กำลังจะเข้ามามีบทบาทในการยกระดับการทำงาน แต่ที่แน่ ๆ มีบางด้านที่ไม่จำเป็นต้องใช้พลังพิเศษในการทำนายเลย นั่นคือ การทำงานแบบมัลติคลาวด์ที่ยังคงดำเนินต่อไป เนื่องจากมัลติคลาวด์ช่วยให้องค์กรมีอิสระในการดำเนินการตามกลยุทธ์คลาวด์ที่ดีที่สุด เร่งความเร็วในการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจและการพัฒนานวัตกรรมแอปพลิเคชั ดังนั้นเราจะมองเห็นรูปแบบการทำงานใหม่ ๆ ที่เน้นการทำงานผ่านมัลติคลาวด์มากยิ่งขึ้น โดยเทรนด์ดังกล่าวจะครอบคลุมทั้งคลาวด์ ระบบซีเคียวริตี้ ระบบแอปพลิเคชัน ระบบรองรับการทำงานจากทุก  ที่ (Anywhere Workspace) และ Enterprise Blockchain 

คลาวด์ 

บริษัทส่วนใหญ่ได้ทำการกำหนดโซลูชันในการเคลื่อนย้ายแอปพลิเคชันข้ามผ่านระบบคลาวด์ต่าง ๆ ไว้แล้ว (แม้ว่าหลาย ๆ สภาพแวดล้อมจะเอื้อต่อการเคลื่อนย้ายแอปพลิเคชันไม่เท่ากันย่างไรก็ดี การเคลื่อนย้ายข้อมูลก็ยังคงเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ เพราะข้อมูลคือหัวใจสำคัญในการทำงานของแอปพลิเคชัน โดยระบบการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบเดิม ไม่สามารถมอบประสบการณ์การทำงานที่เหมือนกับคลาวด์ได้ เพราะมันถูกจำกัดด้วยขีดความสามารถของอุปกรณ์ที่มีข้อจำกัดในการจัดการทรัพยากร ทำให้อาจจะเกิดการติดขัดการเข้าถึงข้อมูล ปริมาณความจุที่ไม่เพียงพอ ข้อจำกัดในการปรับขนาดและความยืดหยุ่น เพิ่มความยากในการตัดสินใจในการวางตำแหน่งที่มีความซับซ้อน และมีค่าใช้จ่ายสูงตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงการดูแลระบบทั้งหมด การที่อุตสาหกรรมมุ่งหน้าเข้าสู่ยุคของ multi-cloud/zettabyte ะยิ่งเจอกับข้อจำกัดเหล่านี้มากขึ้น ในอีกสองปีข้างหน้า เราคาดการณ์ว่าจะได้เห็นโครงสร้างข้อมูลที่ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพบนคลาวด์ที่จะช่วยแบ่งเบาการจัดการข้อมูลต่าง  ในองค์กร เพิ่มความสำเร็จในการพัฒนาสถาปัตยกรรมมัลติคลาวด์

ระบบซีเคียวริตี้หรือความปลอดภั 

ในขณะที่องค์กรใช้วิธีการจัดการโดยการเซ็กเมนต์เครือข่ายเพื่อหยุดยั้งการแพร่กระจายของ ransomware ผู้โจมตีได้เริ่มใช้ประโยชน์จากข้อมูลส่วนตัวในการข้ามไปมายังเครือข่ายได้อย่างอิสระ ด้วยการใช้ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือนี้ ผู้โจมตีจึงสามารถทำกิจกรรมที่ไม่พึงประสงค์ได้มากมายโดยไม่มีสัญญาณเตือน การโจมตีด้วยข้อมูลส่วนตัวที่ถูกขโมยมานี้ หลาย  ครั้ง จะใช้เครื่องมือที่มีอยู่แล้ว ช่น PowerShell ในการเจาะเข้าระบบได้โดยไม่ถูกตรวจจับ เมื่อผู้โจมตีสามารถเข้าไปในระบบเครือข่ายขององค์กรได้แล้ว พวกเขาจะเสมือนมี กุญแจบ้าน” และสามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญของลูกค้าที่มีความละเอียดอ่อนและข้อมูลที่เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทได้

นอกจากนี้ยังมีการโจมตีแบบ double-extortion ransomware โดยผู้โจมตีจะทำการส่งข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนออกจากองค์กรอย่างเงียบๆ ก่อนที่จะทำการเข้ารหัสไฟล์ของเหยื่อและขู่ว่าจะเปิดเผยข้อมูลที่มีสำคัญต่อสาธารณะ โดยการกระทำเหล่านี้จะสร้างผลกำไรทางการเงินแก่อาชญากรไซเบอร์ ไม่เพียงแต่บังคับให้องค์กรจ่ายเงินเพื่อเป็นค่าถอดรหัสข้อมูลในไฟล์ของพวกเขาเท่านั้น แต่ยังต้องจ่ายเงินเพื่อปกป้องข้อมูลที่มีความสำคัญไม่ให้ถูกขายหรือถูกเปิดเผยต่อสาธารณะอีกด้วย

แม้ว่าการโจมตีของ ransomware ย่าง Kaseya และ Colonial Pipeline จะเป็นข่าวครึกโครมในปีที่ผ่านมา แต่เราเชื่อว่าผู้คุกคามจะต้องก้าวไปอีกขั้นในปี 2022 โดยใช้การโจมตีด้วย double-extortion ransomware ที่ได้มาจากการโจรกรรมข้อมูลส่วนตัว

ข่าวดีก็คือเราสามารถพึ่งพากลุ่มบริษัทเทคโนโลยี ชุมชนโอเพ่นซอร์ส สถาบันการศึกษา สถาบันความปลอดภัยทางไซเบอร์ และหน่วยงานภาครัฐทั่วโลกที่รวมตัวกันเพื่อรับมือกับความท้าทายนี้ ที่พวกเราเคยทำมาแล้วและเราพร้อมสู้อีกครั้ง

แอปพลิเคชัน 

เราจะได้เห็นเครื่องมือที่นำ Kubernetes มาใช้แก้ปัญหาใหม่  ที่จะเกิดขึ้น พร้อมกับเปลี่ยนแปลงวิธีในการพัฒนาแอปพลิเคชันและการรักษาความปลอดภัย แนวทางของ Kubernetes ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าประสบความสำเร็จในโครงสร้างพื้นฐานแบบคอนเทนเนอร์ และแนวคิดแบบนี้จะมีการนำไปใช้ในวงกว้างมากขึ้น เราจะเห็นได้จากจำนวนของระบบที่เพิ่มขึ้น (ารสร้างระบบ การจัดการโครงสร้างพื้นฐาน และการวางแผนควบคุมการทำงานแอปพลิเคชันแบบรวมศูนย์) ที่มีการใช้ประโยชน์จาก Kubernetes โดยเปลี่ยนจากแนวทางแบบ Imperative DevSecOps ที่เน้นกระบวนการ มาเป็น Manifest-based Model ของ Kubernetes ที่เน้นผลลัพธ์เป็นหลัก ซึ่งจะนำไปสู่มุมมองอีกด้านหนึ่งทางไอทีที่ต้องพยายามทำความเข้าใจกับงานที่กำลังทำอยู่ อีกทั้งการจัดเตรียม API เพื่อเปลี่ยนการทำงานที่กำลังดำเนินงาน ไปยังระบบที่แสดงรายการการใช้งานเพื่อแสดงสถานะและเพื่อให้สามารถตรวจสอบข้อมูลของสถานะจริงกับสถานะที่คาดไว้ได้ ช่วยให้สามารถจัดการกับความท้าทายในด้านอื่นๆเช่น AI/ML การประมวลผลแบบ stream-based การรวมแอปพลิเคชันและการจัดการอื่น  โดยไม่กระทบกับการลงทุนในการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบอย่างมีนัยยะ

Anywhere Workspace หรือการทำงานได้จากทุกที่ 

แนวโน้มสำคัญประการหนึ่งที่เราได้คาดการณ์ไว้ในส่วนของผู้ใช้งานปลายทาง คือการตรวจสอบสิทธิ์ในการเข้าใช้งานแบบไม่ใช้รหัสผ่าน ซึ่งเราเชื่อว่าเป็นสิ่งที่จะต้องมีในอนาคต

การเข้าใช้งานโดยไม่ใช้รหัสผ่านเป็นประเภทของการตรวจสอบสิทธิ์ที่จะเข้ามาแทนที่รหัสผ่านโดยอาศัยปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่าง  เช่น ระบบไบโอเมตริกซ์ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าสู่การตรวจสอบการใช้งานทรัพยากรขององค์กรด้วยการสแกนใบหน้าหรือสแกนลายนิ้วมือ แทนที่จะต้องคอยจดจำรหัสผ่านที่จะต้องทำการเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลาหรือการใช้แอปพลิเคชันในการตรวจสอบความถูกต้อง (Authenticator App)

เราจะเริ่มเห็นว่าในปี 2022 การใช้งาน VPN จะเริ่มหายไปจากเดิมมาก ในช่วงของการระบาดของไวรัสครั้งใหญ่ บริษัทต่าง  ได้ตระหนักดีว่า VPN เป็นหนึ่งในพื้นที่เสี่ยงที่สุด และไม่ได้รับการรักษาความปลอดภัยเพียงพอสำหรับผู้ใช้จากระยะไกลที่ต้องการการเข้าถึงเครือข่ายองค์กรในวงกว้าง  ทั้งนี้เทคโนโลยี Micro-perimeters รวมถึงการตรวจสอบความปลอดภัยแบบเรียลไทม์ และโซลูชั่น SASE ที่หลากหลายคือตัวแทนใหม่ของ VPN ในอนาคต

Enterprise Blockchain บล็อกเชนกับงานบริหารจัดการระหว่างองค์กร 

ทุกวันนี้เวิร์คโฟลว์ในการทำงานระหว่างองค์กร ของหลาย  องค์กร มีการทำงานแยกเป็นส่วนๆ และมีความยุ่งยากซับซ้อนในการดูแล ทำให้เกิดความล่าช้า เพิ่มต้นทุน และเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนานวัตกรรม โดยข้อมูลของเวิร์คโฟลว์การทำงานนี้มักจะถูกเก็บไว้ในส่วนต่าง  ภายในองค์กร ส่งผลให้การแบ่งปันและการจัดการข้อมูลข้ามองค์กรไม่มีประสิทธิภาพและมีค่าใช้จ่ายสูง และนี่คือจุดที่เทคโนโลยีบล็อกเชน/บัญชีแยกประเภทแบบดิจิทัล (DLT) เข้ามามีบทบาท ในขณะที่ cryptocurrencies และ non-fungible tokens (NFTs) ที่ถูกพัฒนาขึ้นบนเทคโนโลยีบล็อกเชนได้รับความนิยมทำให้เทคโนโลยีบล็อกเชนถูกจับตามองว่าจะเป็นตัวช่วยในการขับเคลื่อนประสิทธิภาพขององค์กรอย่างแท้จริง พลังที่แท้จริงของบล็อคเชนคือการช่วยให้หลายฝ่ายสามารถทำงานร่วมกันด้วยข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ ทำให้การทำธุรกรรมทางดิจิทัลเป็นไปได้อย่างสมบูรณ์และปลอดภัย ทคโนโลยีที่กำลังเจริญเติบโต รวมถึงรูปแบบในการส่งมอบงาน การนำมาตรฐานและประสิทธิภาพของสภาพแวดล้อมในการทำงานแบบใหม่มาปรับใช้ จะช่วยเพิ่มความเร็วในการพัฒนาองค์กร

ในปี 2022 เรามองว่า เราจะเห็นความสำคัญของบล็อกเชนที่มีต่อองค์กรชัดเจนขึ้น รวมไปถึงการเร่งความเร็วในการปรับตัวในการพัฒนาใช้ผลิตภัณฑ์ในหลายอุตสาหกรรม (เช่น การใช้งานในซัพพลายเชน เป็นต้น) จะเป็นการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานในการดำเนินธุรกิจระหว่างองค์กร ขณะที่สถาบันทางการเงิน จะสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า รองรับการทำงานที่มีความถี่และมีซับซ้อนสูง เราคาดหวังว่าจะเริ่มมีการปรับใช้บล็อคเชนในองค์กรอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้นในปี 2022 และเราจะเห็นสถาบันการเงินรายใหญ่มีความมั่นใจในการปรับใช้เทคโนโลยีบล็อคเชนในการดำเนินธุรกิจและให้บริการมากยิ่งขึ้น


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์ บทความพิเศษ เทคโนโลยี

กองทรัสต์ระดับโลกอย่าง Digital Realty ติดตามความคืบหน้าด้านความยั่งยืนกันอย่างไร

อุตสาหกรรมดาต้าเซ็นเตอร์ กลายเป็นภาคที่ต้องตอบสนองต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ซึ่งโดยปกติแล้ว อุตสาหกรรมนี้ใช้พลังงานมากมายในการขับเคลื่อนสิ่งอำนวยความสะดวก ทั้งระบบระบายความร้อน และเซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ของลูกค้า ซึ่งในหลายกรณี ต้องใช้น้ำจำนวนมากในการทำให้ระบบเย็นลง อย่างไรก็ตามหนึ่งในลูกค้าของชไนเดอร์ อิเล็คทริค คือ Digital Realty ได้นำร่องสู่ความยั่งยืนมากขึ้น และมีการนำข้อมูลมาใช้เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แท้จริง

Digital Realty คือกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (real estate investment trust) REIT ที่เป็นทั้งเจ้าของ และมีการควบกิจการ รวมถึงพัฒนา และดำเนินการแพลตฟอร์มศูนย์ข้อมูลระดับโลก นอกจากนี้ ยังเป็นผู้นำอุตสาหกรรมดาต้าเซ็นเตอร์ที่ให้ประสิทธิภาพความยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งยืนยันด้วยการเป็นบริษัทดาต้าเซ็นเตอร์แห่งแรกที่ได้รับรางวัล ENERGY STAR Partner of the Year และเป็นรางวัลที่ได้รับติดกันสองปีซ้อน อีกทั้งทรัพยากรที่เกี่ยวข้องของ Digital Realty ทั้งสามสิบเอ็ดแห่ง ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 70 ของกำลังการผลิตของ Digital Reality ที่ครอบคลุมในสหรัฐอเมริกา ยังได้รับการรับรองจาก ENERGY STAR เช่นกัน

การกำหนดเป้าหมายด้านความยั่งยืน

เนื่องจาก Digital Realty เป็นผู้ให้บริการระดับโลกด้านโซลูชันของโคโลเคชั่นดาต้าเซ็นเตอร์ รวมถึงการเชื่อมต่อระหว่างระบบคลาวด์รายใหญ่ที่สุด ความมุ่งมั่นในการกำหนดเป้าหมายด้านความยั่งยืนสำหรับแพลตฟอร์มศูนย์ข้อมูลระดับโลกชั้นนำ (PlatformDIGITAL®) จึงไม่ใช่งานเล็กๆ ในปี 2563 Digital Realty มุ่งมั่นที่จะลดการปล่อยก๊าซในขอบเขต 1 และ 2 (ทางตรงและทางอ้อม) ลงถึง 68 เปอร์เซ็นต์ในศูนย์ข้อมูลกว่า 290 แห่งที่ดำเนินงานใน 24 ประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับแผนงานในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้อยู่ที่ 1.5 องศา ซึ่งยืนยันโดยโครงการของ Science-Based Target Initiative เพื่อลดการปล่อยคาร์บอนภายในปี 2573

ในภาพใหญ่ Digital Realty ตั้งเป้าวงจรชีวิตที่สมบูรณ์ของดาต้าเซ็นเตอร์ตามเป้าหมายด้านความยั่งยืน กระบวนการเริ่มต้นด้วยการจัดหาและพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกและพัฒนาไปสู่การปรับวงจรชีวิตการดำเนินงานได้อย่างเหมาะสมเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งรวมถึงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน และซัพพลายเชนเป็นระยะ เหล่านี้ สร้างขึ้นบนรากฐานของความมุ่งมั่นพยายาม โดยใช้ตราสารหนี้เพื่อสิ่งแวดล้อม (green bonds) พลังงานหมุนเวียน รวมไปถึงกลยุทธ์การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การดูแลน้ำ ความยืดหยุ่นที่รองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และแนวปฏิบัติในการสร้างอาคารสีเขียว เพื่อหาโซลูชันใหม่และนวัตกรรมในการควบคุมการปล่อยมลพิษโดยตรงจากสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ รวมถึงภายในซัพพลายเชน

ประสานความร่วมมือกับลูกค้าที่มุ่งเน้นความยั่งยืน

สำหรับ Digital Realty นอกจากความยั่งยืนจะดีต่อโลกแล้ว ยังดีต่อธุรกิจอีกด้วย ความมีประสิทธิภาพด้านทรัพยากรได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วหลายครั้งว่า ช่วยสร้างมูลค่าให้กับธุรกิจ เนื่องจากการใช้น้ำ และไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยลดค่าใช้จ่ายอีกทั้งยังสอดคล้องกับสิ่งที่ลูกค้าให้ความสำคัญ ด้วยเหตุนี้ 90 % ของลูกค้าชั้นนำ 20 อันดับแรกของ Digital Realty จึงได้มีการเปิดเผยเป้าหมายด้านความยั่งยืนของตนต่อสาธารณะ

Digital Realty ได้นำความคิดเห็นของลูกค้าพร้อมกับความมุ่งมั่น มาใช้ในการตัดสินใจเพื่อช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์ด้านความยั่งยืน นอกจากนี้ ปัจจัยเรื่อง ESG (สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญสามประการในการวัดความยั่งยืนของบริษัทและผลกระทบทางจริยธรรม ยังทวีความสำคัญยิ่งขึ้นในสายตาของนักลงทุน ในฐานะที่ Digital Realty เป็นหนึ่งในสิบของกองทรัสต์เพื่อการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐอเมริกา (REIT) ที่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุด Digital Realty ยังได้เข้าไปมีส่วนร่วมอย่างจริงจังกับนักลงทุนรายหลัก เพื่อทำความเข้าใจลำดับความสำคัญและวัตถุประสงค์ในการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับ ESG

ใช้ตัววัดเพื่อการประหยัดพลังงาน

Digital Realty ใช้เมตริกหรือตัววัดที่ตรวจสอบได้รวมถึงองค์กรภายนอกเพื่อสนับสนุนข้อเรียกร้อง ซึ่งชไนเดอร์ อิเล็คทริค ในฐานะที่เป็นซัพพลายเออร์รายสำคัญของ Digital Realty พร้อมอีกบทบาทหนึ่งในการเป็นบริษัทที่ยั่งยืนที่สุดในโลก กำลังเดินหน้าอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นผู้นำในการพูดคุยหัวข้อในเรื่องของความยั่งยืน ด้วยบทบาทของเราทั้งสองมุม ทำให้เราทราบดีว่าเราต้องมีข้อมูลในปริมาณมากเพื่อใช้เป็นกำลังสนับสนุนข้อเรียกร้องของเรา

ตัววัดประสิทธิภาพพลังงานที่น่าจับตามองของ Digital Realty คือค่า PUE (ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน) ซึ่ง  PUE เป็นค่าอัตราส่วนระหว่างการใช้พลังงานประจำปีของศูนย์ข้อมูล และพลังงานทั้งหมดที่เซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ใช้ในแต่ละปี ซึ่งเป้าหมายของการลด PUE ของศูนย์ข้อมูลแบบโคโลเคชั่น ภายในปี 2565 อยู่ที่ 10 % (เทียบกับค่าพื้นฐานจากปี 2560) ซึ่งก็ทำได้สูงกว่าเป้า โดยสามารถลด PUE ได้ 11 % ทั้งนี้ Digital Realty ยังให้ข้อมูลแก่ลูกค้า ในระดับที่ลงลึกถึงลูกค้าแต่ละราย โดยใช้ซอฟต์แวร์ PME ของชไนเดอร์ อิเล็คทริค มาช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพของ PUE ซึ่งข้อมูลดังกล่าวช่วยให้ลูกค้าสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพ PUE ได้ดียิ่งขึ้น

การประหยัดพลังงานอย่างมีนัยสำคัญมาจากการใช้ LED ในดาต้าเซ็นเตอร์ และดาต้าเซ็นเตอร์แห่งใหม่ของ Digital Realty ก็ใช้แสงสว่างจาก LED ทั้งหมด เนื่องจากเป็นระบบไฟที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในปัจจุบัน นอกจากนี้ระบบทำความเย็นยังมาจากการใช้ประโยชน์ของ “ฟรีคูลลิ่ง” เท่าที่จะสามารถทำได้ แม้แต่ในสภาพอากาศที่อบอุ่น เช่น ซานตาคลารา แคลิฟอร์เนีย ศูนย์ข้อมูลหลายแห่งของ Digital Realty ใช้อากาศเย็นในตอนกลางคืนเพื่อระบายความร้อนเป็นเวลาหลายพันชั่วโมงในแต่ละปี เพื่อประหยัดพลังงานไฟฟ้า นอกจากนี้ ยังมีการนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ในหลายแห่ง เช่น ในเมืองดัลลัส รัฐเท็กซัส Digital Realty ได้ทำข้อตกลงระยะยาวในการจัดหาพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์จำนวน 154 เมกะวัตต์  ซึ่งชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้ทำงานในนามของ Digital Realty เพื่อเจรจาข้อตกลงในการซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนบางส่วน ทำให้ พอร์ตโฟลิโอโดยรวมของ Greater Dallas ทั้งหมดของ Digital Realty ในปีนี้จะขับเคลื่อนด้วยพลังงานหมุนเวียนเกือบประมาณ 70%

นำข้อมูลมาใช้ในการอนุรักษ์น้ำ

ในไตรมาส 1 ปี 2564 Digital Realty ได้กลายเป็นผู้บริโภครายแรกที่ใช้น้ำรีไซเคิลและเป็นบริษัทศูนย์ข้อมูลรายแรกและรายเดียวที่เข้าร่วมเครือข่ายผู้ใช้น้ำรีไซเคิลของสมาคม WaterReuse (เครือข่ายสำหรับธุรกิจและหน่วยงานอื่นๆ ที่ใช้น้ำรีไซเคิล) การเป็นสมาชิกของบริษัทในเครือข่ายผู้ใช้น้ำรีไซเคิลนั้นรวมถึงการเป็น green designation WATER STAR® ซึ่งให้การยอมรับถึงความสำเร็จของ Digital Realty ในฐานะผู้ดูแลทรัพยากรน้ำในชุมชนท้องถิ่น

การประเมินการขับเคลื่อนด้วยข้อมูลของ Digital Realty ได้ข้อสรุปว่า ในปี 2563 กว่า 50 % ของน้ำที่นำมาใช้ในการทำให้ศูนย์ข้อมูลในสหรัฐฯ เย็นลงนั้น มาจากแหล่งน้ำที่ไม่สามารถดื่มได้ โดยรวมแล้ว 43 % ของแหล่งน้ำทั่วโลกในปี 2563 มาจากแหล่งน้ำที่ไม่สามารถดื่มได้ที่อยู่ภายในเทศบาล หรือเป็นน้ำรีไซเคิลภายในไซต์งาน

ในสหรัฐอเมริกา ศูนย์ข้อมูล Westin Building Exchange ของ Digital Realty ในซีแอตเทิล รัฐวอชิงตัน จัดหาระบบทำความร้อนให้กับแคมปัส ของบริษัท Amazon ที่อยู่ติดกัน ซึ่ง Ecodistrict ใช้น้ำเย็นที่ถูกทำให้ร้อนจากอาคารเวสทินเพื่อสร้างความอบอุ่นแก่อาคารสำนักงานใหญ่ระดับโลกของอเมซอน ขณะที่น้ำเย็นจากอาคารของ Amazon จะถูกนำกลับมาใช้ใหม่ใน Westin เพื่อทำให้โครงสร้างพื้นฐานของศูนย์ข้อมูลเย็นลง

ในที่สุดระบบจะให้ความร้อนแก่พื้นที่สำนักงานประมาณ 5 ล้านตารางฟุต การรีไซเคิลพลังงานส่วนเกินจาก Westin คาดว่าจะช่วยประหยัดการใช้ไฟฟ้าได้ประมาณ 80 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง ตลอด 25 ปี ซึ่งเทียบเท่ากับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการเผาไหม้ถ่านหิน 62 ล้านปอนด์ โครงการนี้สอดคล้องกับเป้าหมายของเมืองซีแอตเทิลในการลดการปล่อยพลังงานในอาคารลง 38% จากปี 2551 ภายในปี 2573 และบรรลุสถานะคาร์บอนเป็นกลางภายในปี 2593

เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้เกิดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับน้ำ ดังนั้น Digital Realty จึงใช้ตัวชี้วัด GRESB เพื่อทำการวิเคราะห์สถานการณ์ความเสี่ยงทางกายภาพสำหรับพอร์ตโฟลิโอของตน การประเมินความเสี่ยงรวมถึงการเพิ่มของระดับน้ำทะเล และความเครียดน้ำ (water stress) Digital Realty ใช้เครื่องมือมากมายในการประเมินการใช้น้ำและหนึ่งในนั้นคือเครื่องมือ Aqueduct ของสถาบันทรัพยากรโลก ที่ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการขาดแคลนน้ำและประเมินการใช้น้ำในภูมิภาคที่ขาดแคลนน้ำ

ถัดไปคือตัวชี้วัดซัพพลายเชน

Digital Realty ทราบว่าธุรกิจที่ยั่งยืนจะต้องได้รับแรงหนุนจากซัพพลายเชนที่”สะอาด” ดั้งนั้น Digital Realty จึงได้เริ่มให้ความสำคัญกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของซัพพลายเออร์ เป้าหมายส่วนหนึ่งของโครงการ Science-Based Target Initiative คือการลดการปล่อยคาร์บอนในขอบเขตที่ 3 ลง 24% ต่อพื้นที่ภายในปี 2573

เรื่องนี้คือความพยายามอย่างต่อเนื่อง โดยทั้ง Digital Realty และ Schneider Electric ต่างทำงานร่วมกันได้อย่างดี เพราะเราได้แบ่งปันวัตถุประสงค์ร่วมกันอีกทั้งให้ความสำคัญกับความยั่งยืนเหมือนกัน เรายังคงดำเนินการในเชิงรุกโดยการนำแนวทางใหม่ๆ ที่ดีกว่าเดิมมาใช้ เพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม เรารู้สึกตื่นเต้นที่จะได้ร่วมงานกับ Digital Realty ต่อไป เพื่อช่วยสร้างโลกและอุตสาหกรรมศูนย์ข้อมูลที่ดีและยั่งยืนยิ่งขึ้น

                                                                                          # # #

เกี่ยวกับชไนเดอร์ อิเล็คทริค

เป้าหมายของชไนเดอร์ อิเล็คทริค คือการช่วยให้ทุกคนใช้พลังงานและทรัพยากรได้เกิดประโยชน์สูงสุด เชื่อมโยงความก้าวหน้าและความยั่งยืนเพื่อประโยชน์ของทุกคน เราเรียกสิ่งนี้ว่า Life Is On

ภารกิจของเราคือการเป็นพันธมิตรด้านดิจิทัลกับคุณ เพื่อสร้างประสิทธิภาพและความยั่งยืน

เราขับเคลื่อนการปฏิรูปสู่ดิจิทัล ด้วยการผสานรวมเทคโนโลยีชั้นนำของโลกด้านพลังงานและกระบวนการจัดการ เข้ากับผลิตภัณฑ์ตั้งแต่จุดเชื่อมต่อปลายทางไปยังคลาวด์ ระบบควบคุม รวมถึงซอฟต์แวร์และการบริการครอบคลุมตลอดวงจรชีวิตการทำงานทั้งหมด เพื่อสร้างศักยภาพในการบริหารจัดการองค์กรแบบบูรณาการ ทั้งสำหรับบ้าน อาคาร ดาต้าเซ็นเตอร์ ระบบโครงสร้างพื้นฐานและอุตสาหกรรม

เราคือบริษัทระดับโลกที่มีการดำเนินงานในระดับท้องถิ่นมากที่สุด เราสนับสนุนมาตรฐานระบบเปิดและระบบนิเวศของคู่ค้าที่มีความมุ่งมั่นแรงกล้าในการทำตามวัตถุประสงค์อย่างมีเป้าหมายร่วมกัน และคุณค่าในการรวมกันเป็นหนึ่งเดียวพร้อมขับเคลื่อนไปข้างหน้าด้วยกัน


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์ บทความ บทความพิเศษ เทคโนโลยี

การ์ทเนอร์คาดการณ์ยอดจัดส่งรถยนต์ไฟฟ้าปี 65 พุ่งแตะ 6 ล้านคัน

การ์ทเนอร์คาดการณ์ยอดจัดส่งรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า (แบบใช้พลังงานจากแบตเตอรี่และแบบปลั๊กอิน-ไฮบริด) ในปี 2565 จะเพิ่มขึ้นเป็น 6 ล้านคัน จาก 4 ล้านคันในปี 2564

โจนาธาน ดาเวนพอร์ท ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “จากที่ประชุม COP26 เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว สมาพันธ์ Zero Emission Vehicle Transition Council มีข้อตกลงเห็นพ้องตรงกันว่า ภายในปี 2583 ผู้ผลิตรถยนต์จะเดินหน้าผลิตและจำหน่ายยานพาหนะที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ จากที่ก่อนหน้านี้ได้กดดันให้ผู้ผลิตในตลาดรถยนต์ชั้นนำเตรียมพร้อมรับมือกับแนวทางการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ กับภาคการขนส่ง ทั้งนี้ยานยนต์ไฟฟ้า (หรือ EVs) นั้นเป็นเทคโนโลยีระบบส่งกำลังที่มีความสำคัญต่อการช่วยลดการปล่อย CO2 ในภาคการขนส่ง ภาวะขาดแคลนชิปยังส่งผลกระทบต่อเนื่องกับยอดการผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในปีนี้ แม้สัดส่วนการจัดส่งรถยนต์พลังไฟฟ้าประเภทรถตู้ (Vans) และรถบรรทุก (Trucks) ยังมีขนาดเล็กในปัจจุบัน แต่การจัดส่งยานยนต์ในกลุ่มนี้จะเติบโตอย่างรวดเร็วเมื่อเจ้าของกิจการเล็งเห็นถึงประโยชน์ทั้งต่อสิ่งแวดล้อมและด้านการเงิน เมื่อเปลี่ยนมาใช้พลังงานไฟฟ้า”

การ์ทเนอร์คาดว่ารถยนต์ (Cars) จะมีสัดส่วนจัดส่งสูงถึง 95% ของตลาดยานยนต์พลังงานไฟฟ้าทั้งหมดในปี 2565 ส่วนที่เหลือจะแบ่งเป็น รถโดยสาร (Buses) รถตู้ (Vans) และรถบรรทุกขนาดใหญ่ (Heavy Trucks) (ดูตามตารางที่ 1)

ตารางที่ 1: ปริมาณการจัดส่งยานยนต์ไฟฟ้าทั่วโลก ปี 2564-2565 (หน่วยตามจริง)

  ยอดจัดส่ง ปี 2564 ยอดเติบโต ปี 2564 (%) ยอดจัดส่ง ปี 2565 ยอดเติบโต ปี 2565 (%)
รถยนต์ 4,473,907 38.3 6,022,147 34.6
รถโดยสาร 165,551 18.1 198,353 19.8
รถตู้ 86,274 56.1 126,607 46.8
รถบรรทุกขนาดใหญ่ 15,171 41.5 22,663 49.4
รวม 4,740,903 37.7 6,369,769 34.4

เนื่องจากการปัดเศษ ทำให้ตัวเลขบางตัวรวมกันแล้วไม่ตรงกับจำนวนรวมทั้งหมด

ที่มา: การ์ทเนอร์ (มกราคม 2565)

ประเทศจีนและยุโรปตะวันตกมียอดจัดส่งยานยนต์พลังงานไฟฟ้าสูงสุดในปีนี้

ด้วยนโยบายของสาธารณรัฐประชาชนจีนที่มีคำสั่งให้ภายในปี 2573 ผู้ผลิตรถยนต์ต้องผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในสัดส่วน 40% ของยอดจำหน่ายรถยนต์ทั้งหมด รวมถึงการจัดตั้งโรงงานผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้าขึ้นใหม่ การ์ทเนอร์คาดว่าประเทศจีนจะกลายเป็นผู้นำอันดับ 1 ที่ครองยอดการจัดส่งรถยนต์พลังงานไฟฟ้า โดยมีสัดส่วนราว 46% ของการจัดส่งรถยนต์พลังงานไฟฟ้าทั้งหมดทั่วโลกในปีนี้ โดยมียอดจัดส่งสูงถึง 2.9 ล้านคัน ขณะที่ฝั่งยุโรปตะวันตกจะอยู่ในอันดับที่ 2 ด้วยยอดการจัดส่งที่ 1.9 ล้านคัน และตามมาด้วยอันดับสามคือผู้ผลิตจากอเมริกาเหนือ ที่คาดว่าจะมียอดจัดส่งอยู่ราว 855,300 คัน

“แผนของสหภาพยุโรป (EU) ที่ต้องการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จากการใช้รถยนต์ให้ได้ที่ 55% และรถตู้ที่ 50% ภายในปี 2573 เป็นการกระตุ้นตลาดรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่สำคัญในยุโรป” ดาเวนพอร์ท กล่าวเพิ่มเติมว่า

จากการที่รัฐบาลในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกหันมาให้ความสำคัญ ออกกฎระเบียบและใช้มาตรการกระตุ้นต่าง ๆ เพื่อผลักดันยอดจำหน่ายรถยนต์พลังงานไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น นั่นทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์เพิ่มการลงทุนในบริษัทที่เป็นผู้วางโครงสร้างพื้นฐานจุดชาร์จไฟและเทคโนโลยีแบตเตอรี่ในรถยนต์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้บริโภคและภาคธุรกิจเปลี่ยนมาใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า การ์ทเนอร์คาดว่า ในปีนี้จะมีจำนวนจุดชาร์จไฟฟ้าสาธารณะทั่วโลกเพิ่มขึ้นเป็น 2.1 ล้านจุด จากเดิม 1.6 ล้านจุด เมื่อปี 2564

ปัจจัยท้าทายการใช้รถยนต์ไฟฟ้ายังมีอยู่อีกมาก 

เพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนมาใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า ผู้ผลิตจะต้องจัดการกับปัจจัยหลายประการ อาทิ การลดราคารถยนต์พลังงานไฟฟ้าและแบตเตอรี่ การรีไซเคิลแบตเตอรี่ การนำเสนอรถยนต์พลังงานไฟฟ้ารุ่นต่าง ๆ ที่หลากหลายกว่าเดิม พร้อมยืดระยะการขับให้ได้ระยะไกลขึ้น รวมถึงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานในเรื่องจุดชาร์จไฟฟ้า

ดาเวนพอร์ท กล่าวเพิ่มเติมว่า “นอกจากนี้ ยังมีความท้าทายสำคัญที่ต้องเร่งแก้ไข นั่นคือ จำนวนจุดชาร์จไฟฟ้าแบบเร็วที่บ้านและตามพื้นที่สาธารณะต่าง ๆ ที่ยังขาดแคลน โดยผู้ให้บริการสาธารณูปโภคจะต้องเพิ่มการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานไฟฟ้าสมาร์ทกริดเพื่อรับมือกับปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น และตอบสนองต่อเป้าหมายทางด้านสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยประเทศที่ยังใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเพื่อผลิตไฟฟ้าจะต้องออกแบบระบบการผลิตไฟฟ้าใหม่เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว”

เกี่ยวกับการ์ทเนอร์ 

บริษัท การ์ทเนอร์ (Gartner, Inc.) (NYSE: IT) คือบริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาชั้นนำของโลก มอบข้อมูลเชิงลึก คำแนะนำ และเครื่องมือต่าง ๆ แก่ผู้บริหารองค์กรธุรกิจ เพื่อรองรับการดำเนินภารกิจสำคัญที่มีอยู่ในปัจจุบันและสร้างองค์กรให้ประสบความสำเร็จในอนาคต ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางของการ์ทเนอร์ในการช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจอย่างถูกต้องเพื่อขับเคลื่อนอนาคตของธุรกิจได้ที่ gartner.com

#ev

#รถไฟฟ้า


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์ บทความ เทคโนโลยี

ทำไมหลายสนามบินจึงหันมาใช้ไมโครกริดเพื่อสร้างความยั่งยืน

โดย วัลเลอรี เลย์อัน ประธานฝ่ายการขนส่งดูแลทั่วโลก ชไนเดอร์ อิเล็คทริค

ทำอย่างไรสนามบินจึงจะสามารถบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางด้านคาร์บอน (carbon neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ได้ภายในปี 2050 โซลูชันที่ดีที่สุดคือการรวมไมโครกริดไว้ในแผนพลังงานสีเขียว ไมโครกริด Microgrids ได้รับการยอมรับว่าเป็นทางเลือกที่ชาญฉลาดสำหรับความพยายามเพื่อไปสู่การเป็นสนามบินคาร์บอนต่ำ เนื่องจากให้ความสามารถหลากหลายแง่มุม เพิ่มความยั่งยืนและความยืดหยุ่น อีกทั้งช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย

แม้ว่าในระยะหลังๆ สนามบินหลายแห่งเริ่มมีการปรับใช้ไมโครกริด ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการตอบสนองความท้าทายด้านความยั่งยืนและความน่าเชื่อถือของพลังงานในภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ อีกมากมาย ทั้งดาต้าเซ็นเตอร์ โรงพยาบาล การคมนาคมขนส่ง และอาคารพาณิชย์ ตัวอย่างเช่น ท่าเรือขนาดใหญ่ของแคลิฟอร์เนียหลายแห่งได้มีการปรับใช้ไมโครกริดเพื่อความปลอดภัยด้านพลังงาน และให้ความยืดหยุ่นได้ตามต้องการ เพื่อตอบโจทย์เรื่องกฎระเบียบด้านสภาพภูมิอากาศที่เข้มงวดของแคลิฟอร์เนีย ไมโครกริดของ Port of Long Beach เป็นตัวอย่างที่ช่วยให้มั่นใจได้ถึงการจัดหาพลังงานได้อย่างเสถียรโดยใช้ฟีเจอร์นวัตกรรม อย่างเช่น แบตเตอรี่เคลื่อนที่ ที่สามารถขยายการเข้าถึงไมโครกริดได้ทั่วอากาศยานระหว่างที่เกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน

ไมโครกริดมีเครือข่ายไฟฟ้าในตัวเอง ช่วยให้สนามบินต่างๆ สามารถบริหารจัดการไซต์พลังงานได้ด้วยตัวเอง รวมไปถึงการควบคุมการใช้งานได้ไม่ว่าจะใช้เมื่อไร หรือใช้อย่างไรก็ตาม โดยสามารถผสานรวมการใช้พลังงานหมุนเวียนร่วมกัน เช่น พลังงานลมและแสงอาทิตย์ และสามารถบริหารจัดการและใช้พลังงานได้อย่างเหมาะสมเต็มประสิทธิภาพ ด้วยคุณสมบัติอย่างการกักเก็บพลังงานไว้ที่ไซต์ เช่นแบตเตอรี่และเซลล์เชื้อเพลิง ที่สามารถกักเก็บพลังงานที่ผลิตในไซต์ได้ทำให้ไม่ต้องปล่อยทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์  การขับเคลื่อนไปสู่การผลิตไฟฟ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมคือสิ่งสำคัญ เพราะสนามบินมีผู้ใช้พลังงานจำนวนมหาศาล – การใช้พลังงานไฟฟ้าและพลังงานความร้อนของสนามบินขนาดใหญ่ ในแต่ละวันเทียบเท่ากับเมืองที่มีประชากรมากถึง 100,000 คน

ไมโครกริดสามารถรวมและบริหารจัดการแหล่งผลิตไฟฟ้าแบบกระจายศูนย์ (DER) ได้หลายประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังงานที่ได้จากแหล่งพลังงานหมุนเวียน ไมโครกริดจะให้ความสามารถในการสร้างสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน ผ่านฟีเจอร์การจัดการขั้นสูง เช่น การปลดโหลดได้อย่างชาญฉลาด และ/หรือความสามารถในการเรียกใช้หรือปิดเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแต่ละตัว

ไมโครกริดเป็นเสาหลักสำคัญของความยั่งยืนแห่งอนาคตของสนามบิน เพราะพลังงานที่ยืดหยุ่นและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ให้ความปลอดภัยด้านพลังงานที่ขาดไม่ได้

สิ่งอำนวยความสะดวกที่สำคัญ เช่น สนามบิน ไม่เพียงต้องการพลังงานสีเขียวเท่านั้น แต่ยังต้องเป็นพลังงานที่เชื่อถือได้ด้วย เพราะเป็นประเด็นเรื่องของความปลอดภัยอีกทั้งยังเกี่ยวข้องอย่างมากกับเรื่องการเงิน มีเหตุการณ์ที่เกิดเมื่อเร็วๆ นี้ หลายเหตุการณ์ ที่แสดงให้เห็นว่าการที่ไฟฟ้าดับทำให้เกิดการหยุดชะงักและเสียค่าใช้จ่ายได้มากเพียงใด เช่นการที่ Atlanta International ไฟฟ้าดับนานถึง 11 ชั่วโมง นั้นทำให้ Delta Airlines เสียค่าใช้จ่ายประมาณ 50 ล้านดอลลาร์ รวมถึงทำให้ผู้โดยสารหลายพันคนต้องรอเก้อ และนำไปสู่การยกเลิกเที่ยวบินประมาณ 1,500 เที่ยว

การมีแหล่งพลังงานทางเลือกที่เชื่อถือได้ เช่น ไมโครกริด สามารถป้องกันการสูญเสียเหล่านี้ได้โดยมั่นใจได้ว่าจะมีการจ่ายไฟอย่างต่อเนื่องแม้ในช่วงที่ไฟฟ้าดับ

ไมโครกริดยังช่วยประหยัดต้นทุนได้อย่างมาก

การตอบสนองความต้องการด้านพลังงานของสนามบิน ด้วยพลังงานหมุนเวียนจากไมโครกริดสามารถใช้ต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

  • ช่วยให้สนามบินมีความยืดหยุ่นในการเลือกใช้พลังงานที่มีราคาถูกกว่าทางเลือกอื่นๆ ด้วยการทำงานในโหมดกริดหรือ island mode เพื่อสร้างสมดุลด้านค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพในช่วงที่มีการใช้งานสูงสุด
  • สนามบินประหยัดเงินได้โดยการใช้พลังงานได้เกิดประโยชน์สูงสุด
  • สามารถหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายจากไฟฟ้าขัดข้องได้

แต่การที่จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด สนามบินต้องทำเทคโนโลยีอัจฉริยะเข้ามาช่วยบริหารจัดการไมโครกริด

ไมโครกริดและการสนับสนุนเทคโนโลยีช่วยให้มั่นใจถึงเงื่อนไขการทำงานที่เหมาะสมที่สุด และให้ข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญรวมถึงให้ความเสถียรของระบบ ตัวอย่างเช่น เทคโนโลยีไมโครกริดมอบเครื่องมือต่างๆ แก่สนามบินในการบริหารจัดการแหล่งผลิตพลังงานแบบกระจายศูนย์ในระยะไกลได้แบบไดนามิคโดยอัตโนมัติ ด้วยการใช้พลังงานหมุนเวียนได้อย่างเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุด และช่วยให้สนามบินควบคุมของพลังงานได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งให้ความสามารถในการสร้างสมดุลของโหลดเพื่อให้เกิดความเสถียร นอกจากนี้เทคโนโลยีที่เชื่อมต่อยังช่วยในการคาดการณ์ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการใช้งาน การผลิต การเก็บ และการขายพลังงาน เพื่อให้สนามบินมีทางเลือกด้านพลังงานที่ฉลาดและคุ้มค่าที่สุด

การประยุกต์ใช้ไมโครกริดและเทคโนโลยีอัจฉริยะ ตลอดจนสถาปัตยกรรมระบบดิจิทัลที่สมบรูณ์แบบ end-to-end นอกจากจะช่วยให้ระบบเหล่านี้ทำงานได้ดีแล้ว ยังช่วยสร้างความอุ่นใจเนื่องจากช่วยให้มั่นใจถึงความต่อเนื่องด้านพลังงานที่เชื่อถือได้ เนื่องจากเป็นแหล่งพลังงานที่จัดหาได้เองในพื้นที่ จึงทำให้ไมโครกริดสามารถแยกตัวเองออกจากโครงข่ายหลัก ทว่ายังคงจัดหาพลังงานป้อนสนามบินได้อย่างต่อเนื่องกระทั่งในช่วงที่เกิดความผันผวนด้านพลังงานก็ตาม นอกจากนี้ ไมโครกริดยังให้พลังงานที่สะอาดกว่าทางเลือกพลังงานสำรองแบบดั้งเดิมเช่นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานดีเซล ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานฉุกเฉินที่ใช้กันมากที่สุดโดยทั่วไปสำหรับสนามบิน แต่เป็นส่วนที่ปล่อยมลพิษที่เกี่ยวข้องในสนามบินซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายที่แพงในการดูแลและซ่อมบำรุง

ตัวอย่างสนามบิน JFK กำลังนำโซลูชันไมโครกริดมาใช้งาน เพื่อลดใช้การใช้พลังงานได้มากถึง 30 เปอร์เซ็นต์

สนามบิน JFK ของมหานครนิวยอร์ค ที่รองรับผู้โดยสารมากว่า 60 ล้านคนต่อปี ได้มีการพัฒนาอาคารผู้โดยสาร Terminal One ด้วยการนำไมโครกริดที่ล้ำหน้าและเครื่องมือเชื่อมต่อไมโครกริดมาใช้ ที่จะช่วยปรับปรุงเรื่องความยั่งยืนและเพิ่มความยืดหยุ่นของอาคารผู้โดยสาร โดยคาดว่าจะช่วยลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงทั้งหมดที่ใช้ในการดำเนินการในส่วนอาคารผู้โดยสารได้มากถึง 30 เปอร์เซ็นต์ อีกทั้งยังมีส่วนช่วยให้สนามบินสามารถบรรลุเป้าหมายการใช้งานงานพลังงานหมุนเวียนได้ 100 เปอร์เซ็นต์ภายในสิบปีข้างหน้า และยังเพิ่มเวลาทำงานหรือ uptime ได้ถึง 99.999 เปอร์เซ็นต์

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบทบาทสำคัญของไมโครกริดในการสร้างความยั่งยืนแห่งอนาคต

สนามบินและอุตสาหกรรมอื่นๆ จึงไม่ควรพลาดโอกาสสำคัญในการสร้างความก้าวหน้าไปสู่ความยั่งยืน และเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียนด้วยการนำโซลูชันเทคโนโลยีที่ได้รับการพิสูจน์และยอมรับมาใช้งาน เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคโนโลยีไมโครกริดและไมโครกริดช่วยให้สนามบินอย่าง JFK มั่นใจในพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและน่าเชื่อถือ


Categories
บทความ เทคโนโลยี

Agrodome โมดูลพลาสติกรีไซเคิล สร้างสภาพแวดล้อมแบบเรือนกระจกสำหรับพืช

Agrodome คือโมดูลพลาสติกรีไซเคิล สร้างสภาพแวดล้อมแบบเรือนกระจกสำหรับพืชทำให้เจริญเติบโตได้ดีขึ้น

โดย Agrodrome เป็นผลงานการออกแบบจาก nos ที่จัดว่าเป็นบริษัทที่รับออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีชื่ออันดับต้นๆ แห่งอัมสเตอร์ดัม ประเทศเม็กซิโก ซึ่งผลงานที่ชื่อว่า Agrodrome นี้ ทำมาจากขวดน้ำพลาสติกที่ใช้แล้ว และถูกนำมาทำความสะอาดบดและหลอมใหม่เป็นโดมพลาสติกใส ซึ่งจะช่วยสร้างสภาวะเรือนกระจกที่สมบูรณ์แบบที่จำเป็นสำหรับการเติบโตของพืช

ลักษณะทางกายภาพ

Agrodome มีรูปทรงคล้ายร่มเป็นพลาสติกใส เจาะรูเล็กๆ ไว้โดยรอบ กึ่งกลางของด้านบนเป็นร่องรับน้ำให้ไหลลงก้านทรงกรวยที่มีร่องสำหรับระบายน้ำ โดยออกแบบมาให้สามารถวางซ้อนกันได้

รูปแบบการใช้งาน

ผู้ใช้สามารถเริ่มปลูกในแปลงปลูกจริงตั้งแต่การเพาะเมล็ดโดยไม่จำเป็นต้องย้ายต้นกล้าไปปลูกในแปลงปลูกจริงอีกครั้งหนึ่ง และยังขยับเพิ่มลดความสูงตามความต้องการได้โดยการขยับปลายของส่วนกรวย

โดยเมื่อต้นกล้าเติบโตจนแข็งแรงดีแล้วยังสามารถเคลื่อนย้าย Agrodrome  นี้ ไปใช้งานในแปลงอื่นต่อไปได้อย่างสะดวกโดยการวางมันซ้อนกันได้จำนวนมาก

ส่วนกลางทำหน้าที่เป็นช่องทางให้น้ำไหลลงใต้ดินโดยตรงเพื่อการดูดซึมที่ดีขึ้น

ส่วนบนของโดมมีรูระบายอากาศเพื่อสมดุลปริมาณการไหลเวียนของออกซิเจนที่เพียงพอ

เมื่ออ่านมาถึงท้ายนี้ ต้องบอกตามตรงว่า ผู้เขียนก็มีข้อมูลเพียงเท่านี้จริงๆ เนื่องจากผลงานนี้เป็นงานออกแบบผลิตภัณฑ์ แต่ก็ดูแล้วมีความเป็นไปได้ที่จะนำมาใช้จริง จึงนำมาเล่าสู่กันฟัง ไว้มีเวลาจะลองทำใช้ดูบ้าง ได้ผลอย่างไรจะมารายงานให้นักอ่านผู้รักการประดิษฐ์ทุกท่านทราบอีกครั้ง

Thank you for pictures and content from nos


 

Categories
บทความ สิ่งประดิษฐ์ สิ่งประดิษฐ์ต่างแดน เทคโนโลยี

3 นวัตกรรมหน้ากากเพื่อมนุษยชาติ

เริ่มจากวันที่เราตื่นตัวเรื่องฝุ่นจิ๋ว PM2.5 จนมาสู่การจู่โจมของ COVID-19 ทำให้ผู้คนเริ่มคุ้นชินกับการสวมใส่หน้ากากอนามัยและเริ่มดูชินตา ไม่เหมือนกับการสวมใส่ในช่วงแรกที่ทำเอาคนที่สวมใส่ดูกลายเป็นคนประหลาดไปเลย

ในบทความนี้เราลองมาดูนวัตกรรมการออกแบบหน้ากากอนามัยในยุคสมัยที่ต่อจากนี้เราจะเริ่มคุ้นชินและกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันที่เราแทบทุกคนจะต้องพกติดตัวในที่สุด

Xiaomi mijia Purely

เริ่มจากแบรนด์ที่คุ้นเคย กับนวัตกรรมหน้ากากจากเสี่ยวมี่ Xiaomi mijia Purely ที่มีพัดลมติดตั้งอยู่ด้านหน้าของหน้ากาก เปรียบเหมือนมีเครื่องฟอกอากาศขนาดเล็กติดตั้งอยู่ที่หน้ากากเลยทีเดียว

โดยความแรงของพัดลมจะมี 3 ระดับ พัดลมสามารถทำงานได้ต่อเนื่อง 4 ถึง 8 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับระดับความแรงของพัดลมที่เปิด เมื่อพลังงานหมดก็สามารถชาร์จโดยการเชื่อมต่อสาย microUSB

โดยในชุดผู้ผลิตจะแถมแผ่นกรองที่มีความหนาแตกต่างกันสำหรับติดตั้งในช่องพัดลม และมีแผ่นหน้ากากสำหรับรองด้านในอีกหนึ่งแผ่น

อันนี้มีจำหน่ายจริงแล้วนะครับและราคาก็ไม่แรงมาก สนใจก็ลองเข้าไปซื้อหากันได้ตามลิงก์นี้เลย


Atmōs

หน้ากากสุดแนวที่ได้รับรางวัลในงาน CES2019 เห็นแล้วให้คิดถึงภาพยนตร์ไซไฟเป็นยิ่งนัก ด้วยรูปทรงล้ำสมัยที่ยากจะบรรยาย

หน้ากากทั่วไปจะใช้เพียงแผ่นกรองประเภท HEPA ซึ่งเป็นกรองที่มีความละเอียดสูง แต่หน้ากากตัวนี้มันปกป้องฝุ่นด้วยหลักการไหลเวียนของอากาศ ลองนึกถึงเมื่อคุณเดินเข้าห้างแล้วมีลมแรงๆ พัดลงมาที่ศรีษะของคุณ นั่นแหละครับวัตถุประสงค์ค่อนข้างใกล้เคียงกัน แต่หลักการจะต่างออกไป

โดยหน้ากาก Atmōs จะมีพัดลมทั้งหมด 2 ชุด ตัวแรกทำหน้าที่เป่าลมให้ไหลเข้าไปในหน้ากากที่ออกแบบให้ลมสามารถไหลผ่านบริเวณปากและจมูกของผู้สวมใส่โดยไม่ฟุ้งกระจายออกไปด้านนอก ทำให้ผู้สวมใส่ได้รับอากาศที่บริสุทธิ์ไหลเวียผ่านจมูกตลอดเวลา โดยอีกฝั่งของหน้ากากจะมีพัดลมอีกหนึ่งชุดที่ทำหน้าที่ดูดอากาศออกเพื่อสร้างการไหลเวียนของอากาศในหน้ากากนั่นเอง

ดูเหมือนง่ายๆ แต่ก็ต้องใช้หลักการออกแบบทางวิศวกรรมและผ่านการทดสอบมาหลายปีกว่าจะสามารถผลิตออกมาจำหน่ายได้สำหรับผู้สนใจสามารถเข้าไปสั่งจองหน้ากากสุดแนวนี้ได้ที่ https://www.ao-air.com/


FIRE MASK

สำหรับนวัตกรรมหน้ากากชิ้นนี้ไม่ได้ออกแบบมาสำหรับผู้ใช้ทั่วไปที่ต้องการห่างไกลจากฝุ่น pm2.5 และโควิด แต่นวัตกรรมหน้ากากตัวนี้ออกแบบมาสำหรับผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ในไซต์งานก่อสร้าง หรือนักดับเพลิงเป็นหลัก

เนื่องจากควันไฟที่มักจะเป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน นักออกแบบแดนกิมจิอย่าง Inyong Bang จึงได้มีแนวคิดออกแบบหน้ากากกันไฟนี้เพื่อป้องกันการสูดดมควันจนอาจทำให้หมดสติได้

ลักษณะของหน้ากากนักดับเพลิงนี้ก็จะมีรูปทรงคล้ายกับหน้ากากสำหรับกันสารพิษ เมื่อกดปุ่มที่ด้านหน้าของหน้ากากจะทำให้น้ำถูกฉีดกระจายไปยังเยื่อกระดาษอัดทันที โดยเยื่อกระดาษที่อิ่มตัวด้วยน้ำ จะช่วยปกป้องผู้สวมใส่จากก๊าซและควันที่เป็นอันตราย เพื่อช่วยซื้อเวลาอันมีค่าในการหลบหนีหรือช่วยดับไฟในที่เกิดเหตุ

ทั้ง 3 รูปแบบนี้ก็คือตัวอย่างของนวัตกรรมหน้ากากที่มีการออกแบบทั้งที่จำหน่ายจริงและกำลังอยู่ในแผนการผลิต แน่นอนว่าในอนาคตเราคงมีโอกาสได้เห็นหน้ากากอนามัยหน้าตาแปลกๆ อีกมากมายทีเดียว แต่สิ่งที่อยากเห็นก็คือการผลิตออกมาจำหน่ายจริงในปรืมาณมากและราคาที่บริโภคอย่างเราจับต้องได้ เอาใจช่วยนักนวัตกรรมกันนะครับ


 

Categories
บทความ ไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์

ซูเปอร์คา​ปา​ซิ​เตอร์ ตัว​เก็บ​ประจุ​ความ​จุ​สูง

อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ พื้นฐานที่เรา​จะ​ต้อง​รู้จัก​คือ ตัว​เก็บ​ประจุ​หรือคา​ปา​ซิ​เตอร์ (capacitor) ซึ่ง​มี​ด้วยกัน​หลายชนิด​และ​มี​การ​นำไป​ใช้งาน​ที่​แตกต่างกัน แต่ทำไมค่า​ของ​ตัว​เก็บ​ประจุ มี​แต่​ค่า​​พิโกฟา​รัด (pF : 10-12 ฟา​รัด ), นาโนฟา​รัด (nF : 10-9 ฟา​รัด) และ​ไมโครฟา​รัด (m : 10-6 ฟา​รัด) ไม่เห็น​มี​ค่าฟา​รัด (Farad) ให้​ใช้งานเลย คำ​ตอบ​ที่​ได้​คือ มันเป็นค่าที่​ใหญ่มาก ต่อมาเราจึง​ได้เห็นพัฒนาการของ​ตัว​เก็บ​ประจุซึ่​ทำให้​เราได้​ใช้งาน​ตัว​เก็บ​ประจุค่า 0.1F, 0.33F และ 0.68F ซึ่ง​นำมาใช้​ใน​การ​เป็น​แหล่ง​จ่าย​ไฟสำรอง​ชั่ง​คราว

แต่ในปัจจุบันนี้​เรามี​ตัว​เก็บ​ประจุ​ในหน่วย​ฟา​รัด​ออกมา​ให้​ใช้งานกัน​แล้ว มัน​มีชื่อ​เรียกว่า ซูเปอร์คา​ปา​ซิ​เตอร์ (Super Capacitor) มี​ให้​เลือก​ตั้งแต่ 1 ฟา​รัด​ไป​จนถึง​หลาย​สิบ หลาย​ร้อยฟา​รัด​เลย​ทีเดียว

คุณสมบัติ​เด่นของซูเปอร์คา​ปา​ซิ​เตอร์ ตัว​เก็บ​ประจุ​ความ​จุ​สูง​พิเศษ

  • มี​ค่า​ความ​จุ​สูง​ถึง​สูงมาก (1 ถึง​หลาย​สิบ หลาย​ร้อยฟา​รัด) ให้เลือกใช้ ภายใต้ขนาดของตัวถังที่​ไม่​ใหญ่ หรือ​อาจ​กล่าวได้ว่า เล็กมาก​เมื่อ​เทียบกับ​ค่า​ความ​จุ​ไฟฟ้า
  • ใช้​เทคโนโลยี​นำ​ไฟฟ้าแบบ 2 ชั้น (Electrical Double-Layer) ซึ่ง​ไม่มี​การใช้​ไดอิ​เล็ก​ตริก​ที่​เป็น​ของแข็ง​ดังที่​ใช้​ใน​การ​ผลิต​ตัว​เก็บ​ประจุ​ด้วย​เทคโนโลยี​เก่า และ​ใช้​ปฏิกิริยา​ทาง​เคมี​ใน​ลักษณะ​เดียว​กับ​แบตเตอรี่ ทำให้สามารถ​เพิ่ม​ความ​จุ​ไฟฟ้าได้มาก จึง​เรียกตัว​เก็บ​ประจุ​แบบนี้​ว่า EDLC (Electrical Double-Layer Capacitor)
  • ไม่ต้องการวงจรประจุ​หรือ​คายประจุที่​พิเศษแต่อย่างใด
  • การ​ประจุ​และ​คาย​ประจุ​ด้วย​แรงดัน​ที่​เกิน​ไม่​ส่งผลให้เกิดการจดจำค่าแรงดัน​หรือ memory effect ดังเช่นที่​พบ​ใน​แบตเตอรี่​แบบ​ประจุ​ได้
  • ใช้​เทคโนโลยี​พลังงาน​สะอาด​ใน​การ​ผลิต
  • เนื่องจาก​สามารถ​บัดกรี​เข้ากับ​แผ่น​วงจร​พิมพ์​ได้ ​ทำให้​ไม่มี​ปัญหา​เรื่อง​หน้า​สัมผัสใน​การ​เชื่อม​ต่อ​เพื่อ​ใช้งาน

รูปที่ 1 หน้าตาของซูเปอร์คาปาซิเตอร์แบบความต้านทานต่ำหรือ Low ESR คล้ายตัวเก็บประจุอิเล็กทรอไลต์ทั่วไป ที่น่าทึ่งคือ มันมีความจุ 3.3F 2.5V (ซ้าย) ซึ่งมากกว่า 470µF 16V (ขวา) ที่วางเปรียบเทียบกันถึงกว่า 7,000 เท่า แต่มีขนาดเกือบเท่ากัน

ข้อจำกัด​ของ​ซูเปอร์คา​ปา​ซิ​เตอร์

  • ​อายุ​การ​ใช้งาน เนื่องจาก​อายุ​ของ​สารอิ​เล็กท​รอ​ไลต์​ที่​นำมา​ทำเป็น​ไดอิ​เล็ก​ตริก
  • สารอิ​เล็กท​รอ​ไลต์​อาจ​รั่วออก​มาจาก​ตัว​เก็บ​ประจุ​ได้ หาก​ใช้งาน​ไม่​ถูกวิธี
  • ไม่​สามารถ​ใช้​ใน​การ​ถ่ายทอด​สัญญาณไฟ​สลับได้
  • มี​พิกัด​แรงดัน​ให้เลือกใช้งานไม่สูง ส่วนใหญ่อยู่​ใน​ย่าน 2 ถึง 5V (แต่​เชี่อว่า ใน​อนาคต​จะ​สามารถ​ทำได้)

ตัวอย่าง​งาน​ที่​นำ​ซูเปอร์คา​ปา​ซิ​เตอร์​ไป​ใช้

1. ใช้​ใน​วงจร​จ่าย​ไฟสำรอง​สำหรับ​รักษาข้อมูล​ใน​หน่วยความจำ​ของ เครื่อง​ตั้งเวลา, ระบบ​สมองกล​ฝังตัว, เครื่องเล่น DVD และ​เครื่องเสียง​สมัยใหม่​ที่​ต้องการ​เก็บข้อมูล​การ​ใช้งาน​ของ​ผู้ใช้งาน
2. ใช้​เป็น​แหล่ง​จ่ายไฟ​ชั่วคราว​สำหรับ​อุปกรณ์​หรือ​เครื่องมืออิ​เล็กท​รอ​นิกส์​แบบ​พกพา​เมื่อ​มี​การ​เปลี่ยน​แบตเตอรี่ โดย​แรงดัน​ที่​ตัว​เก็บ​ประจุ​นี้​สะสม​ไว้​จะ​นำมาใช้​เป็นไฟ​เลี้ยง​ระบบ​แทนที่​แบตเตอรี่​จนกว่า​การ​เปลี่ยน​แบตเตอรี่​จะ​เสร็จ​สมบูรณ์
3. ใช้​เป็น​แหล่ง​จ่าย​ไฟสำรอง​สำหรับ​ระบบ​ที่​ใช้​ไฟ​เลี้ยง​จาก​เซล​แสง​อาทิตย์ เช่นนาฬิกา​ข้อมือ, ระบบ​ควบคุม​เวลา และ​ระบบ​บันทึก​ข้อมูล​แบบ​พกพา โดย​กลาง​วันที่​มี​แดด​จะ​ใช้​พลังงาน​จาก​เซล​รับ​แสง​อาทิตย์​และ​มี​การ​ประจุ​แรงดัน​ไว้​ที่​ตัว​เก็บ​ประจุ เมื่อ​ถึงเวลา​กลางคืน​ที่​ไม่มี​แดด ระบบ​ก็​จะ​เปลี่ยน​มา​ใช้​ไฟ​เลี้ยง​จาก​ตัว​เก็บ​ประจุ​ความ​จุ​สูง​หรือ​ซูเปอร์คา​ปา​ซิ​เตอร์​นี้
4. ใช้​เป็น​แหล่ง​พลังงาน​ชั่วคราว​สำหรับ​รถยนต์​ไฮ​บริดจ์​ในขณะที่​รถยนต์​มี​การ​เบรก​หรือ​ใน​ช่วง​สตาร์ต​เครื่องยนต์

Electrical Double-Layer : ชั้นนำไฟฟ้า 2 ชั้น เทคโนโลยีที่ทลายข้อจำกัด
ในรูปที่ 2 แสดงโครงสร้างทางวัสดุของตัวเก็บประจุความจุสูงนี้ จะเห็นว่า มีส่วนประกอบที่สำคัญตัวหนี่งซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดตัวเก็บประจุความจุสูงนี้ขึ้นมาได้ นั่นคือ ผงถ่านกัมมันต์หรือ Activated Charcoal ซึ่งได้รับการจัดการให้มี 2 ชั้นคือ ชั้นแอโนดและชั้นแคโทด โดยมีอิเล็กทรอไลต์ทำหน้าที่เป็นไดอิเล็กตริก ด้วยคุณสมบัติที่พิเศษของผงถ่านกัมมันต์ซึ่งสามารถดูดซับอิเล็กตรอนได จึงทำให้มันกลายสภาพเป็นขั้วไฟฟ้าหรืออิเล็กโตรดได้ ดังนั้นจึงทำให้ดูเหมือนกับว่ามีชั้นตัวนำไฟฟ้า 2 ชั้นซ้อนกัน นั่นจึงทำให้เราสามารถมีพื้นที่สำหรับเก็บประจุไฟฟ้าได้มากขึ้นอย่างมหาศาลเมื่อเทียบกับเทคโนโลยีในการผลิตตัวเก็บประจุแบบเดิม


รูปที่ 2 แสดงโครงสร้างทางวัสดุของซูเปอร์คาปาซิเตอร์หรือตัวเก็บประจุความจุสูงพิเศษและวงจรสมมูลย์

ถ่านกัมมันต์หรือ Actived Charcoal คือตัวเปลี่ยนเทคโนโลยี
ถ่านกัมมันต์เป็นถ่านที่พัฒนาขึ้นจากเทคโนโลยีในระดับนานโนเพื่อทำให้โครงสร้างทางกายภาพของถ่านเกิดรูพรุนหรือรอยแตกขนาดเล็กในระดับนาโนเมตร (10-9 เมตร) จำนวนมาก ซึ่งภายในผนังรูพรุนนี้เองคือ พื้นที่ที่ทำการกักหรือเก็บประจุไฟฟ้า จึงอาจมองได้ว่า ถ่านกัมมันต์ทำหน้าที่เหมือนฟองน้ำที่ดูดหรือซึมซับเอาประจุไฟฟ้าเข้ามารวมกันไว้ ทำให้ถ่าน กัมมันต์กลายเป็นขั้วไฟฟ้าได้ในที่สุด
การนำถ่านกัมมันต์มาใช้ในการสร้างตัวเก็บประจุจะมารูปของผงถ่านที่เคลือบลงบนแผ่นฟอยล์อะลูมิเนียมที่นำมาทำเป็นขั้วไฟฟ้าในตัวเก็บประจุ


รูปที่ 3 หน้าตาของถ่านกัมมันต์หรือ แบบหนึ่ง


รูปที่ 4 ภาพขยายเพื่อแสดงให้เห็นผิวของถ่านกัมมันต์ที่เป็นรูพรุนสำหรับกักเก็บประจุไฟฟ้าและโครงสร้างภายในของตัวเก็บประจุความจุสูงพิเศษ

ขั้นตอน​การ​ผลิต​ซูเปอร์คา​ปา​ซิ​เตอร์
ใน​รูป​ที่ 5 แสดง​ขั้นตอน​การ​ผลิต​ซูเปอร์คา​ปา​ซิ​เตอร์​หรือ​ตัว​เก็บ​ประจุ​ความ​จุ​สูง อธิบาย​ได้​ดังนี้
(1) เคลือบ​ผง​ถ่านกัม​มันต์​ลง​บน​แผ่น​ฟอยล์อะลูมิเนียม เพื่อ​สร้าง​ขั้ว ไฟฟ้า​จาก​ถ่านกัม​มันต์ (activated charcoal electrode) โดย​แบ่ง​การ​ทำเป็น​ขั้ว​แอโนด​และ​แคโทด
(2) ติดตั้ง​ขั้ว​หรือ​ขา​ต่อ​นำ​ไฟฟ้า​เข้ากับ​ชั้น​แอโนด​และแคโทด
(3) นำ​กระดาษ​ที่​ชุบ​สารละลายอิ​เล็กท​รอ​ไลต์​มา​คั่น​ระหว่าง​ชั้น​แอโนด​และ​แคโทด แล้ว​ม้วน​เป็น​ทรงกระบอก ติด​ด้วย​เทป​เพื่อ​รักษา​รูป​ทรงไว้
(4) นำ​ตัวถัง​ของ​ตัว​เก็บ​ประจุ​มา​หุ้ม​พร้อมกับ​ติด​ยาง​หุ้ม​ขา เพื่อ​ป้องกัน​ไม่​ให้​ขา​ของ​ตัว​เก็บ​ประจุ​ต่อ​ถึงกัน
(5) หุ้ม​ฉลาก​ที่​ระบุ​ยี่ห้อ ค่า​ความ​จุ และ​พิกัด​การ​ใช้งาน​ลง​บน​ตัวถัง ก็​จะ​ได้ตัว​เก็บ​ประจุ​ความ​จุ​สูง​พิเศษ​หรือ​ซูเปอร์คา​ปา​ซิ​เตอร์​มา​ใช้งาน


รูปที่ 5 ขั้นตอนการผลิตตัวเก็บประจุความจุสูง (www.elna.com)

ซูเปอร์คาปาซิเตอร์ V.S. แบตเตอรี่
ในตารางที่ 1 แสดงการเปรียบเทียบคุณสมบัติในด้านต่างๆ ของตัวเก็บประจุความจุสูงพิเศษนี้กับแบตเตอรี่และตัวเก็บประจุชนิดอิเล็กทรอไลต์ในแบบดั้งเดิม จะเห็นได้ว่าตัวเก็บประจุ EDLC มีข้อโดดเด่นในด้านเทคโนโลยีของวัสดุที่นำมาใช้ในการผลิต, สารอิเล็กทรอไลต์ที่นำมาใช้เป็นชนิดที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ จึงไม่ก่อมลภาวะ และสามารถประจุซ้ำใหม่ได้มากกว่า 100,000 รอบ ซึ่งมากกว่าแบตเตอรี่ทุกชนิด


ตารางที่ 1 การเปรียบเทียบคุณสมบัติต่างๆ ระหว่างตัวเก็บประจุความจุสูงพิเศษที่ใช้ เทคโนโลยี EDLC, ตัวเก็บประจุอิเล็กทรอไลต์มาตรฐาน และแบตเตอรี่


รูปที่ 6 ตัวอย่างของซูเปอร์คาปาซิเตอร์แบบต่างๆ


 

Categories
บทความ รีวิว ไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์

sensor ตรวจจับความเคลื่อนไหวด้วยรังสีอินฟราเรด

“เชื่อว่าคุณคงเคยเข้าไปใช้บริการร้านสะดวกซื้อ เมื่อเดินเข้าไป จะได้ยินเสียงติ๊งต่อง แจ้งการเข้ามาของคุณๆ ให้พนักงานในร้านทราบ และเสียงทักทาย ก็จะดังตามมา ทั้งที่พวกเขาอาจไม่ได้เห็นคุณด้วยซ้ำ เค้ารู้ได้อย่างไร หน้าที่นี้ตกเป็นของตัวตรวจจับการเคลื่อนไหวครับ แล้วมันทำงานอย่างไร ตามผมมาครับ จะพาไปรู้จัก”

ความเคลื่อนไหวตรวจจับได้อย่างไร ?
สิ่งมีชีวิตไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือสัตว์เลือดอุ่นในภาวะที่ยังมีชีวิตอยู่ จะมีการกระจายพลังงานความร้อนออกมาจากตัวเองในรูปของการแผ่รังสีอินฟราเรดอยู่ตลอดเวลา โดยจะมีปริมาณมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสภาพของร่างกายในขณะนั้น เมื่อมีการเคลื่อนไหวปริมาณของการแผ่รังสีก็จะเปลี่ยนแปลง รังสีอินฟราเรดจากมนุษย์หรือสัตว์เลือดอุ่นที่มีระดับความเข้มสูงสุดจะมีความยาวคลื่นประมาณ 9.4 ไมโครเมตร

ตัวตรวจจับความเคลื่อนไหวของสิ่งมีชีวิตหรือที่เรียกว่า โมชั่นเซนเซอร์ (motion sensor) ที่ได้รับความนิยมและใช้งานง่ายคือ ตัวตรวจจับแบบอินฟราเรด ซึ่งใช้หลักการตรวจจับ​ที่​เรียกว่า ​ไพโรอิ​เล็ก​ตริก (pyro-electric) อัน​เป็นการ​ตรวจจับ​การ​แผ่รังสี​อินฟราเรด หาก​ระดับ​ของ​การ​แผ่รังสี​ไม่​เปลี่ยนแปลง แสดงว่า สิ่งมีชีวิต​ที่​ต้องการ​ตรวจจับ​นั้น​ไม่มี​การ​เคลื่อนไหว แต่​ถ้าหาก​มี​การ​เคลื่อนไหว​เกิดขึ้น ระดับ​ของ​การ​แผ่รังสี​อินฟราเรด​จะ​เปลี่ยนแปลง จึง​เรียกตัว​ตรวจจับ​แบบนี้​ว่า PIR (Passive InfraRed sensor)


รูปที่ 1 ไดอะแกรมการทำงานของตัวตรวจจับการแผ่รังสีอินฟราเรดซึ่งใช้ตรวจจับความเคลื่อนไหว

ใน​รูป​ที่ 1 เป็น​ไดอะแกรม​แสดง​หลักการ​ทำงาน​พื้นฐาน​ของ​ตัว​ตรวจจับ​พลังงาน​ความ​ร้อน​จาก​มนุษย์​หรือ​สัตว์​เลือดอุ่น เมื่อ​เกิด​การ​เคลื่อนไหว​ทำให้เกิด​การ​แผ่รังสี​อินฟราเรด​ขึ้น รังสี​จะ​ถู​กรวม​หรือ​โฟกัส​ไป​ยัง​ตัว​ตรวจ​จับหลัก​โดย​ใช้​เลนส์​แบบ​พิเศษ​ที่​เรียกว่า เลนส์​ไฟ​รเนล​หรือเฟ​รสนัล (Fresnel lens) จากนั้น​ตัว​ตรวจ​จับหลัก​จะ​ทำการ​ขยาย​สัญญาณ​แล้ว​ส่งไปยัง​วงจร​เปรียบเทียบ​เพื่อ​สร้าง​สัญญาณ​เอาต์พุต​ต่อไป


รูปที่ 2 แสดงการทำงานของโมดูล PIR เมื่อนำมาใช้ในการตรวจจับความเคลื่อนไหว

ใน​รูป​ที่ 2 แสดง​สถานการณ์​ที่​แหล่งกำเนิด​รังสี​อินฟราเรด (อาจ​เป็น​มนุษย์​หรือ​สัตว์​เลือดอุ่น) เกิด​การ​เคลื่อนไหว​ภายใน​ระยะ​ทำการ​ของ​ตัว​ตรวจจับ จะ​ทำให้​โมดูล​ตรวจจับ PIR ตรวจจับ​พบ​การ​แผ่รังสี​อินฟราเรด​ที่​แตกต่างกัน จึง​ให้สัญญาณ​เอาต์พุต​เป็น​ลอจิก​สูง (high) อยู่​ชั่ว​ขณะเมื่อ​ตรวจจับ​พบ​การ​เคลื่อนไหว จากนั้น​กลับ​มา​เป็น​ลอจิก​ต่ำ (low) จนกว่า​จะ​ตรวจจับ​พบ​การ​เปลี่ยนแปลง​ของ​ระดับ​รังสี​อินฟราเรด​อีกครั้ง

เลนส์ไฟรเนล
เลนส์​ไฟ​รเนล​เป็น​เลนส์​แบบ​พิเศษ​ที่​ได้รับ​การ​ค้น​คิด​จาก​นัก​ฟิสิกส์​ชาว​ฝรั่งเศส​ชื่อ ​ออกั​สติน ชอง ไฟ​รเนล (Augustin-Jean Fresnel) โดย​แนวคิด​ของ​เลนส์​แบบนี้​คือ เป็น​เลนส์​แบบ​ขั้นบันได​ที่​ยอมให้​แสง​ผ่าน​ได้มาก​และ​จาก​ทุกทิศทาง ดัง​มี​โครงสร้าง​ตาม​รูป​ที่ 3


รูปที่ 3 โครงสร้างและหน้าตาของเลนส์ไฟรเนลซึ่งนำมาใช้ในโมดูล PIR

ทั้งนี้​เนื่องจาก​ตัว​เลนส์​ได้​ถูก​สร้างขึ้น​โดย​ลด​เนื้อ​วัสดุ​ใน​ส่วน​ที่​ไม่มีผล​กับ​การ​หักเห​ของ​แสง​ลง​ไป ทำให้​สามารถ​ทำ​เลนส์​ขนาดใหญ่​ที่​มี​น้ำหนัก​เบา​ได้ เดิมที​เลนส์ไฟ​รเนล​นี้​ได้รับ​การ​ออกแบบ​เพื่อให้​นำมาใช้​ใน​การ​กระจาย​ใน​ประภาคาร เพื่อให้​สามารถ​มองเห็น​ประภาคาร​ได้​จาก​ระยะไกล ต่อมา​ได้​มี​การ​พัฒนา​ให้​มี​ขนาด​เล็กลง แล้ว​นำมา​ครอบ​หลอดไฟ​เพื่อ​ทำเป็น​ตะเกียง ทำให้​ตะเกียง สามารถ​ส่องแสง​ได้​สว่าง​และ​มองเห็น​ได้​จาก​ระยะไกล ดัง​รูป​ที่ 4


รูปที่ 4 ตัวอย่างตะเกียงที่ใช้เลนส์ไฟรเนลในการเพิ่มอัตราการส่องสว่าง

แต่​เมื่อ​นำมาใช้​ใน​โมดูล​ตรวจจับ PIR ตัว​เลนส์​ไฟ​ร เนล​จะ​ถูก​ใช้งาน​ใน​ลักษณะ​กลับกัน​คือ ใช้​เลนส์​ไฟ​รเนล​ใน​การ​รวม​แสง​เข้า​มาจาก​ทุกทิศทาง​เพื่อ​โฟกัส​ลง​ไป​ยัง​ส่วน​ตรวจจับ​แสง​อินฟราเรด​ของ​โมดูล​ตรวจจับ PIR เพื่อ​ให้การ​ตรวจจับ​การ​เปลี่ยนแปลง​ของ​รังสี​อินฟราเรด​มี​ความ​ไว​สูง

คุณสมบัติของโมดูลตรวจจับ ZX-PIR
อุปกรณ์ตรวจจับความเคลื่อนไหวที่นำมาเสนอเพื่อเป็นตัวอย่างในที่นี้คือ โมดูล ZX-PIR ซึ่งใช้ตัวตรวจจับที่เรียกว่า PIR ซึ่งสามารถตรวจจับการแผ่รังสีอินฟราเรด โดยทำงานร่วมกับเลนส์ชนิดพิเศษที่เรียกว่า เลนส์ไฟรเนล ซึ่งทำหน้าที่รวมรังสีอินฟราเรดที่ตัวตรวจจับได้รับ เพื่อส่งผ่านไปยังตัวตรวจจับ PIR เพื่อทำการประมวลผลต่อไป ในรูปที่ 5 แสดงลักษณะทางกายภาพของโมดูล ZX-PIR และขาต่อใช้งาน


รูปที่ 5 แสดงขนาด, ส่วนประกอบและการจัดขา และหน้าตาของโมดูล ZX-PIR

คุณสมบัติทางเทคนิคที่ควรทราบมีดังนี้
• ระยะการตรวจจับสูงสุด 20 ฟุต
• เมื่อตรวจพบความเคลื่อนไหวจะให้แรงดันเอาต์พุตที่สภาวะสูงที่ขาเอาต์พุต
• ใช้เวลาในการปรับตัวเพื่อตรวจจับการเปลี่ยนแปลงช่วง 10 ถึง 60 วินาทีหลังจากได้รับไฟเลี้ยง
• ใช้ไฟเลี้ยงในย่าน +3.3 ถึง +5V กระแสไฟฟ้าน้อยกว่า 100 mA

การใช้งาน
เนื่องจาก​เอาต์พุต​ของ​โมดูล ZX-PIR เป็น​สัญญาณ​ดิจิตอล​ที่​มี​สอง​สถานะ​คือ ลอจิก​สูง หรือ “1” และ​ลอจิก​ต่ำ​หรือ “0” จึง​สามารถ​เชื่อม​ต่อ​กับ​ขา​พอร์ต​ดิจิตอล​ของ​ไมโคร​คอนโทรลเลอร์​ได้​ทุก​ตระกูล โดย​ต้อง​กำหนด​ให้​ขา​พอร์ต​ที่​เชื่อม​ต่อ​นั้น​เป็น​อินพุต​ดิจิตอล​ก่อน และ​ไม่​ต้อง​ต่อตัว​ต้านทาน​พูลอัป​ที่​ขา​พอร์ต​ของ​ไมโคร​คอนโทรลเลอร์​ซึ่ง​นำมา​ต่อ​กับ​โมดูล ZX-PIR ดัง​รูป​ที่ 6 เนื่องจาก​เอาต์พุต​ของ ZX-PIR ไม่​สามารถ​จ่าย​กระแส​ได้​มาก​พอที่จะ​ควบคุม​ให้​ขา​พอร์ต​เป็น​ลอจิก “0” ใน​ภาวะ​ที่​ไม่​สามารถ​ตรวจจับ​การ​เคลื่อนไหว​ได้ หาก​มี​การ​ต่อตัว​ต้านทาน​พูลอัป​ที่​ขา​พอร์ต​ของ​ไมโคร​คอนโทรลเลอร์


รูปที่ 6 ตัวอย่างการเชื่อมต่อโมดูล ZX-PIR กับไมโครคอนโทรลเลอร์

ที่ไมโครคอนโทรลเลอร์ต้องเขียนโปรแกรมเพื่อตรวจจับการเปลี่ยนแปลงทางลอจิกของขาพอร์ตที่ต่อกับโมดูล ZX-PIR

คลิกเพื่อชมตัวอย่างการใช้ PIR กับหุ่นยนต์เดินตามเส้น iBEAM

จากข้อมูลที่นำเสนอมาทั้งหมดจะเห็นได้ว่า การตรวจจับความเคลื่อนไหวด้วยโมดูล PIR นี้ ความไวหรือประสิทธภาพในการทำงานจะขึ้นกับเลนส์ไฟรเนลเป็นสำคัญ ทางด้านการนำไปใช้งานนั้นจะเห็นได้ว่าง่ายมาก หากแต่ ต้องให้ความใส่ใจในด้านการติดตั้งตัวตรวจจับในตำแหน่งที่เหมาะสม

สนใจซื้อหามาใช้งานได้ที่ www.inex.co.th


 

Categories
บทความ ไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์

เซอร์โวมอเตอร์

เซอร์โว​มอเตอร์  (servo motor)  เป็น​อุปกรณ์ แม่เหล็ก​ไฟฟ้า​แบบ​หนึ่ง​ที่​ใช้​ใน​การ​หมุนตัวขับ (actuator) ไป​ยัง​ตำแหน่ง​ต่างๆ  ด้วย​ความ​แม่นยำ โดย​ใช้สัญญาณ​พัลส์​เพื่อ​กำหนด​ตำแหน่ง​ในการ​หมุน​  มัก​นิยม​ใช้​ใน​รถ​บังคับ​วิทยุ เครื่องบิน​บังคับ​วิทยุ หรือ​ใช้​ควบคุม​แขนขา​ของ​หุ่นยนต์ ส่วนใหญ่​จะ​รู้จัก​กัน​ภายใต้​ชื่อว่า RC เซอร์โว​มอเตอร์ โดย​คำ​ว่า RC  มาจาก Radio Control หรือ​การ​บังคับ​ด้วย​วิทยุ เนื่องจากใน​ยุค​แรกๆ ของ​การ​พัฒนาเซอร์โว​มอเตอร์ จะ​ถูก​นำมาใช้​ใน​งาน​วิทยุ​บังคับ​เป็นหลัก

ปกติ​แล้ว​เซอร์โว​มอเตอร์​ที่​ยัง​ไม่​ได้รับการ​ปรับ​แต่ง​ใดๆ นั้น​จะ​ใช้​ใน​การ​ควบคุม​ตำแหน่ง​ของ​อุปกรณ์  เช่น  การ​บังคับ​เลี้ยว​ของ​รถ​บังคับ​วิทยุ หรือ​ใช้​สำหรับ​ปรับ​หางเสือ​ของ​เรือ​หรือ เครื่องบิน ซึ่ง​งาน​เหล่านี้​ต้องการ​แรง​บิด​
ของ​มอเตอร์​ที่สูง​พอสมควร  ดังนั้น​เซอร์โว​มอเตอร์​จึง​ต้อง​มี​อัตรา​ทด​ที่​มากพอ เพื่อให้​สามารถ​รองรับ​งาน​ดังกล่าว​ได้ เซอร์โว​มอเตอร์​มาตรฐาน​จะ​มี​มุม​ใน​การ​หมุน​อยู่​ระหว่าง 90 ถึง 180 องศา แล้วแต่ ผู้ผลิต แต่​ที่​นิยม​มาก​ที่สุด​คือ 0 ถึง 180 องศา และ​ใน​บาง​รุ่น​ของ​บาง​ผู้ผลิต​จะ​สามารถ​ดัดแปลง ให้​หมุน​ได้​ครบ 360 องศา​ด้วย

ปัจจุบัน​เซอร์โว​มอเตอร์​มี​ด้วยกัน  2  ชนิด​หลักๆ คือ ชนิดอะ​นา​ลอก​และ​ดิจิตอลรูปร่าง​ภายนอก​ของ​เซอร์โว​มอเตอร์​ทั้งสอง​ชนิด​จะ​คล้าย​กัน​มาก ความ​แตกต่าง​จะ​อยู่ที่​วงจร​ควบคุม​ที่อยู่ภายใน โดย​ใน​ชนิดอะ​นา​ลอก​จะ​ใช้​วงจร​อิเล็กทรอนิกส์​ที่​ประกอบด้วย​อุปกรณ์  สารกึ่ง​ตัวนำจำพวก ทรานซิสเตอร์ มอสเฟต หรือ​ไอซีออป​แอมป์​เป็นหลัก ในขณะที่​ชนิด​ดิจิตอล​จะ​ใช้ ไมโครโปรเซส​เซอร์​หรือ​ไมโคร​คอนโทรลเลอร์​เป็น​ตัวควบคุม​หลัก

โครงสร้าง​ของ​เซอร์โว​มอเตอร์
ภายใน​เซอร์โว​มอเตอร์​ประกอบด้วย มอเตอร์​ไฟ​ตรง​ขนาดเล็ก,ชุด​เฟือง​ทด,  แผง​วงจร​ควบคุม และ​ตัว​ต้านทาน​ปรับ​ค่า​ได้  (POT : Potentiometer) โดย​แผง​วงจร​ควบคุม​จะ​มี​วงจร​ป้อน​กลับ เพื่อให้เซอร์โว​มอเตอร์​รับรู้​ตำแหน่ง​ของ​ตัวเอง​ได้ โดย​ผู้ใช้งาน​เพียง​ส่งสัญญาณ​พัลส์​ออกไป​ควบคุม​เท่านั้น ดัง​แสดง​ไดอะแกรม​การ​ทำงาน​ของ​เซอร์โว​มอเตอร์​ใน​รูป​ที่ 1 แกน​ของ​มอเตอร์​ไฟ​ตรง​จะ​ต่อ​เข้ากับ ชุด​เฟือง​เพื่อ​ลดความเร็ว​รอบ​ลง​ส่งผลให้​แรง​บิด​ที่​แกน​หมุน​มากขึ้น ทั้งหมด​ทำงาน​ร่วมกัน​ภายใต้ ความ​สัมพันธ์


รูปที่ 1 แสดงไดอะแกรมการทำงานของเซอร์โวมอเตอร์

P = kwg

โดย​ที่ P คือ พลังงาน​ที่​ป้อน​ให้​แก่​มอเตอร์
k คือ ค่าคงที่
w คือ ความเร็ว​รอบ ใน​หน่วย รอบ​ต่อ​นาที (rpm : round per minute)
g คือ แรง​บิด​หรือ​ทอร์ค (torque)

ถ้าหาก​พลังงาน​ที่​จ่าย​ให้​คงที่ เมื่อ​ลดความเร็ว​รอบ​ลง​นั่น​ย่อม​ทำ​ให้แรง​บิด​ของ​มอเตอร์​เพิ่มขึ้น การ​หมุน​ของ​มอเตอร์​ได้รับ​การ​ควบคุม​จาก​วงจร​ควบคุม โดย​มี​ตัว​ต้านทาน​ปรับ​ค่า​ได้​เป็นตัวกำหนด​ขอบเขต​ของ​แกน​หมุน ซึ่ง​หาก​ไม่มี​การ​ปรับ​แต่ง​ใดๆ แกน​หมุน​ของ​มอเตอร์​จะ​สามารถ​หมุน​ได้​ใน​ขอบเขต 0 ถึง 180  องศา (หรือน้อยกว่า​ขึ้นกับ​ผู้ผลิต) ดังนั้น​ใน​การ​ปรับ​แต่ง​ให้เซอร์โว​มอเตอร์สามารถ​ขับ​แกน​หมุน​ได้​รอบตัว​จึง​มักจะ​ใช้วิธีการ​ถอด​ตัว​ต้านทาน​ปรับ​ค่า​ได้​ออก แล้ว​แทนที่​ด้วย​ตัว​ต้านทาน​ค่าคงที่  2  ตัว  หรือ​ดัดแปลง​ให้​แกน​หมุน​ของ​ตัว​ต้านทาน​ปรับ​ค่า​ได้​สามารถ​หมุน​ได้​รอบตัว แกน​หมุน​ของ​เซอร์โว​มอเตอร์​จะ​มี​ส่วนปลาย​เป็น​ร่อง​เฟือง (spline) เพื่อให้​สามารถติดตั้ง​อุปกรณ์​ที่​ใช้​ใน​การ​เชื่อมโยง​ไป​ยัง​ตัว​ขับ​หรือ​กลไก​อื่นๆ อุปกรณ์​ที่​ใช้​เชื่อมโยง​นั้น​เรียกว่า ฮอร์น  (horn) ซึ่ง​มี​ด้วยกัน​หลาย​รูปแบบ​ทั้ง​แบบ​เป็น​แขน, เป็น​แท่ง, กากบาท, แผ่น​กลม เป็นต้น สำหรับ​ร่อง​เฟือง​ของ​เซอร์โว​มอเตอร์​แต่ละ​ยี่ห้อ​ก็​มีจำนวนไม่เท่ากัน โดย​ของ Hitec จะ​มี 24 ร่อง​เฟือง ส่วน​ของ Futaba มี 25 ร่อง​เฟือง ทำให้​ฮอร์น​ของ​ทั้งสอง​ยี่ห้อ​ไม่​สามารถ​ใช้​ร่วมกัน​ได้


รูปที่ 2 แสดงการจัดสายสัญญาณของเซอร์โวมอเตอร์


รูปที่ 3 ลักษณะคอนเน็กเตอร์ของเซอร์โวมอเตอร์

คุณสมบัติ​ทาง​เทคนิค​ที่​สำคัญ​ของ เซอร์โว​มอเตอร์
มี 2 ค่า​คือ ความเร็ว (speed) และ​แรง​บิด​หรือ​ทอร์ค (torque) ความเร็ว​หมายถึง ระยะเวลา​ที่​ทำให้​แกน​หมุน​ของ​มอเตอร์​เคลื่อนที่​สู่​ตำแหน่ง​มุม​ที่​กำหนด อาทิ เซอร์โว​มอเตอร ตัว​หนึ่ง​มี​ความเร็ว 0.15 วินาที​สำหรับ 60 องศา หมายถึงเซอร์โว​มอเตอร์​ตัว​นี้​สามารถ​ขับ​ให้​แกน​หมุน​เคลื่อนที่​ไป​ยัง​ตำแหน่ง​มุม 60 องศา​ภายใน​เวลา 0.15 วินาที ส่วน​แรง​บิด​มักจะ​ปรากฏ​ใน​หน่วย​ของ​ออนซ์-นิ้ว (ounce-inches : oz-in) หรือ กิโลกรัม-เซนติเมตร (kg-cm) เป็น​คุณสมบัติ​ที่จะ​บอกต่อ​ผู้ใช้งาน ว่า​เซอร์โว​มอเตอร์ตัว​นี้​มี​แรง​ใน​การ​ขับ​โหลด​ที่​มี​น้ำหนัก​ใน​หน่วย​ออนซ์​ให้​สามารถ​เคลื่อนที่​ไป​ได้ 1 นิ้ว หรือ​น้ำหนัก​ใน​หน่วย​กิโลกรัม​ให้​เคลื่อนที่ ไป​ได้ 1 เซนติเมตร  (น้ำหนัก 1 ออนซ์​เท่ากับ 0.028 กิโลกรัม​โดย​ประมาณ หรือ 1 กิโลกรัม เท่ากับ 35.274 ออนซ์)

อย่างไร​ก็ตาม ค่า​ของ​ความเร็ว​และ​แรง​บิด ต้อง​สัมพันธ์กับ​แรงดัน​ไฟ​เลี้ยง​ที่​จ่าย​ให้​แก่เซอร์โว​มอเตอร์​ด้วย ซึ่ง​มักจะ​แรงดัน 4.8 หรือ 6V  นอกจากนั้น​ยังมี​ปัจจัย​เกี่ยวกับ​แรง เสียด​ทาน​ใน​ระบบ​เฟือง​ภายใน​เซอร์โว​มอเตอร์ การ​หล่อลื่น​การ​เชื่อมโยง​ระหว่าง​เฟือง​ต่อ​เฟือง​ใน​ชุด​เฟือง​ทด ที่​ส่งผลให้​ความเร็ว​และ​แรง​บิด​ของ เซอร์โว​มอเตอร์​เปลี่ยนแปลง​ไป​ได้

การ​ทำงาน​ของ​แผง​วงจร​ควบคุม​ใน เซอร์โว​มอเตอร์​ชนิดอะ​นา​ลอก
การ​หมุน​ของ​เซอร์โว​มอเตอร์​นั้น​จะ​ไม่ได้​หมุน​เป็นอิสระ​เหมือน​มอเตอร์​ทั่วๆ ไป​โดย​ช่วง​ระยะ​การ​หมุน​ปกติ​จะ​อยู่​ระหว่าง 90 ถึง 180 องศา ตำแหน่ง​การ​หมุน​ของ​แกน​มอเตอร์​ใน เซอร์โว​มอเตอร์​นี้​สามารถ​ควบคุม​ได้​อย่าง​แม่นยำ เนื่องจาก​ภายใน​เซอร์โว​มอเตอร์​มี​วงจร​อิเล็กทรอนิกส์​ทำหน้าที่​ตรวจสอบ​ตำแหน่ง​ของเซอร์โว​มอเตอร์​อยู่​ตลอด​เวลา ลักษณะ​การ​ตรวจสอบ​จะ​ใช้​การ​ป้อน​กลับ​ค่า​ตำแหน่ง​จาก​ตัว​ต้านทานปรับ​ค่า​ได้ แล้ว​นำ​ค่า​นี้​ไป เปรียบ​เทียบกับ​ค่า​พัลส์ที่​ป้อน​เข้าทาง​ขา​ควบคุม ​ค่า​ของ​ผล​ต่าง​ที่​ได้จะ​ไป​ปรับ​ตำแหน่ง​ของ​มอเตอร์ ​ค่า​ผล​ต่าง​ก็​จะ​ได้ตำแหน่ง​ของ​มอเตอร์​ที่​แม่นยำ


รูปที่ 4 ไดอะแกรมการทำงานของแผงวงจรควบคุมในเซอร์โวมอเตอร์ชนิดอะนาลอก

ใน​รูป​ที่ 4 แสดง​ไดอะแกรม​การ​ทำงาน​ของ​แผง​วงจร​ควบคุม​ใน​เซอร์โว​มอเตอร์​ชนิดอะ​นา​ลอก สัญญาณ​พัลส์​ควบคุม​ที่​ส่ง​เข้ามา​ทาง​อินพุต จะ​ถูก​ส่งไปยัง​วงจร​กำเนิด​สัญญาณ​พัลส์​ภายใน​ด้วย โดย​มี​ความ​กว้าง​ที่​เป็น สัดส่วน​กับ​ตำแหน่ง​ของ​แกน​หมุน​ใน​ปัจจุบัน​ ทั้ง​สัญญาณ​พัลส์​ที่​กำเนิด​ขึ้น​ภายใน​กับ​สัญญาณ​พัลส์​ควบคุม​จะ​ถูก​ส่งไปยัง​วงจร​เปรียบเทียบ​เพื่อ​ทำการ​หักล้าง​สัญญาณ โดย​ทิศทาง​ของ​สัญญาณ​จะ​ขึ้นอยู่​กับ​ว่า ระหว่าง​สัญญาณ​พัลส์ควบคุม​ทาง​อินพุต​ก​ับสัญญาณ​พัลส์​ภายใน สัญญาณ​พัลส์​ใด​มี​ความ​กว้าง​มากกว่า โดย​เอาต์พุต​ที่​ได้​เป็น​สัญญาณ​ลอจิก “0” หรือ “1” แล้ว​ส่งไปยัง​วงจร​ขับ​มอเตอร์​แบบ  H-บริดจ์ เพื่อ​กำหนด​ทิศทาง​การ​หมุน ทาง​ด้าน​ค่าความ​แตกต่าง​ที่​เกิดขึ้น​ระหว่าง​พัลส์​ทั้งสอง​สัญญาณ​จะ​ถูก​ส่งไปยัง​วงจร​เพิ่ม​ความ​กว้าง​พัลส์ เพื่อ​สร้าง​สัญญาณ​พัลส์​สำหรับ​ส่งไปขับ​มอเตอร์ ผ่าน​วงจร​ขับ​มอเตอร์​แบบ  H-บริดจ์ โดย​ความ​แตกต่าง​ของ​ความ​กว้าง​พัลส์ 1% ทำให้เกิด​สัญญาณ​พัลส์​สำหรับ​ขับ​มอเตอร์ใน​ระดับ 50% และ​ความเร็ว​นี้​จะ​ลดลง​เมื่อ​แกน​หมุน​ของ​มอเตอร์​เคลื่อนที่​เข้าสู่​ตำแหน่งที่​กำหนด อัน​เป็นผล​มาจาก​ความ​แตกต่าง​ของ​ความ​กว้าง​สัญญาณ​พัลส์​เริ่ม​ลดลง และ​หยุด​ลง​เมื่อ​สัญญาณ​พัลส์​ที่​นำมา​เปรียบเทียบ​มี​ค่า​ความ​กว้าง​เท่ากัน


รูปที่ 5 แสดงลักษณะของสัญญาณพัลส์ที่ใช้ในการควบคุมเซอร์โวมอเตอร์

วัสดุ​ของ​เฟือง​ใน​เซอร์โว​มอเตอร์
ชุด​เฟือง​ใน​เซอร์โว​มอเตอร์​โดย​ส่วนใหญ่ผลิต​มาจาก​วัสดุ 3 ชนิด คือ

(1) ไน​ล่อน : เป็น​วัสดุ​ที่​นิยม​นำมาใช้​ผลิตเฟือง​มาก​ที่สุด เนื่องจาก​มี​น้ำหนัก​เบา​และ​มีเสียง​รบกวน​น้อย​เมื่อ​ทำงาน ความ​ทนทาน​พอสมควร​มัก​พบ​ใน​เซอร์โว​มอเตอร์ขนาดเล็ก​และ​ราคาถูก

(2) โลหะ : เฟือง​ที่​ผลิต​ด้วย​โลหะจะ​มี​ความทน ทาน​สูง แข็งแรง สามารถ​ทน​แรงเสียดทาน​เมื่อ​เฟือง​ขบกัน​ได้​สูงมาก ทำให้​สามารถ​นำมา​สร้าง เซอร์โว​มอเตอร์​ที่​มี​แรง​บิด​สูงมาก​ได้ โลหะ​ที่​พบ​มาก​ที่สุด​ใน​การ​นำมา​ผลิต​เฟือง​คือ ทองเหลือง และ​ถ้าหาก​มี​งบประมาณ​มาก​เพียงพอ ควร​เลือก​ใช้​เซอร์โว​มอเตอร์​ที่​ใช้​เฟือง​ที่​ผลิต​จาก​ไทเทเนียม

(3)  คาร์บอ​ไนต์ (Karbonite) : เป็น​วัสดุ​พิเศษ​ที่​ทำ​มาจาก​คาร์บอน แล้ว​แปรรูป​มา​เป็นวัสดุที่​คล้าย​พลาสติก  Hitec  เป็น​ผู้​ที่​นำ​เทคโนโลยี​นี้​มา​ใช้​เป็น​วัตถุดิบ​ใน​การ​ผลิต​เฟือง โดย​คาร์บอ​ไนต์จะ​มี​ความ​แข็งแรง​และ​ทนทาน​มากกว่า​เฟือง​ไนลอน ในขณะที่​มี​น้ำหนัก​เบา ดัง​ใน​เซอร์โว​มอเตอร์​สมัยใหม่​จึง​นิยม​ใช้​เฟือง​ที่​ผลิต​จาก​วัสดุ​ชนิด​นี้ โดยเฉพาะ​อย่างยิ่ง​ใน​เซอร์โว​มอเตอร์ชนิด​ดิจิตอล​ที่​ใช้​หุ่นยนต์ Humanoid

รูปแบบ​สัญญาณ​ที่​ใช้​ควบคุม​เซอร์โว​มอเตอร์
การ​ควบคุม​เซอร์โว​มอเตอร์ทำได้โดย​สร้าง​สัญญาณ​พัลส์​ที่​มี​คาบ​เวลา 20 มิลลิ​วินาทีป้อน​ให้​กับ​วงจร​ควบคุม​ภายใน​เซอร์โว​มอเตอร์ดัง​รูป​ที่ 5 แล้ว​ปรับ​ความ​กว้าง​ของ​พัลส์​ช่วง​บวก ที่​พัลส์​กว้าง 1 มิลลิ​วินาที มอเตอร์​จะ​หมุน​ไป​ตำแหน่ง​ซ้ายมือ​สุด  ถ้า​ส่ง​พัลส์​กว้าง 1.5  มิลลิ​วินาที แกน​หมุน​ของ​มอเตอร์​จะ​เคลื่อนที่​ไป​ยัง​ตำแหน่งกึ่งกลาง และ​ถ้า​ส่ง​พัลส์​กว้าง 2 มิลลิ​วินาที แกน​หมุน​ของ​มอเตอร์​จะ​เคลื่อนที่​ไป​ยัง​ตำแหน่งขวามือ​สุด การ​ป้อน​สัญญาณ​พัลส์​ที่​มี​คาบ​เวลา​ช่วง​บวก​ตั้งแต่ 1.5 ถึง 2 มิลลิ​วินาที​จะ​ทำให้​เซอร์โว​มอเตอร์​หมุน​ทวน​เข็ม​นาฬิกา โดย​ถ้า​ค่า​ความ​กว้าง​พัลส์​ยิ่ง​ห่าง​จาก 1.5 มิลลิ​วินาที​ มาก​เท่าใด ความเร็ว​ใน​การ​หมุน​ก็​จะ​มากขึ้น​เท่านั้น นั่น​คือ ความเร็ว​สูงสุด​ของ​การ​หมุน​ทวน​เข็ม​นาฬิกาจะ​เกิดขึ้น​เมื่อ​สัญญาณ​พัลส์ควบคุม​มี​ความ​กว้าง 2 มิลลิ​วินาที การ​ป้อน​สัญญาณ​พัลส์​ที่​มี​คาบ​เวลา​ช่วง​บวก​ตั้งแต่ 1 ไป​จนถึง 1.5 มิลลิ​วินาที ทำให้เซอร์โว​มอเตอร์​หมุน​ตาม​เข็ม​นาฬิกา ซึ่ง​ถ้า​ค่า​ความ​กว้าง​พัลส์​เข้าใกล้ 1 มิลลิ​วินาที​ความเร็ว​ใน​การ​หมุน​ของ​เซอร์โว​มอเตอร์​ก็​จะ​มาก นั่น​คือ ความเร็ว​สูงสุด​ของ​การ​หมุน​ตาม​เข็ม​นาฬิกา
จะ​เกิดขึ้น​เมื่อ​สัญญาณ​พัลส์​ควบคุม​มี​ความ​กว้าง 1 มิลลิ​วินาที


 

Categories
บทความ ไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์

การทำงานของมอเตอร์ไฟตรงและการใช้งาน

มอเตอร์ไฟตรง  (DC motor)  เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล โดยเมื่อจ่ายไฟให้แก่มอเตอร์ จะทำให้แกนของมอเตอร์หมุน จึงสามารถนำการหมุนของแกนมอเตอร์ไปใช้ในการขับเคลื่อนวัตถุให้เกิดการเคลื่อนที่

มอเตอร์ไฟตรงมีขนาดและพิกัดแรงดันให้เลือกใช้มากมาย ในบทความนี้จะเน้นไปที่มอเตอร์ขนาดเล็กที่ใช้แรงดันในย่าน +1.5 ถึง +12V ซึ่งมีการใช้งานในหุ่นยนต์หรือสิ่งประดิษฐ์ที่มีกลไกเคลื่อนไหว ในรูปที่ 1 แสดงหน้าตาของมอเตอร์ไฟตรงในแบบต่างๆ


รูปที่ 1 มอเตอร์ไฟตรงที่มีชุดเฟืองขับในแบบต่างๆ

โดยปกติมอเตอร์ไฟตรงจะถูกสร้างขึ้นให้สามารถหมุนแกนด้วยความเร็วสูงมาก ตั้งแต่ 1,000 รอบขึ้นไป แต่แรงบิดที่ความเร็วรอบสูงมีน้อยมาก จนไม่สามารถนำไปขับกลไกเคลื่อนไหวได้ จึงต้องมีการทดจำนวนรอบด้วยการใช้เฟือง เพื่อให้เกิดแรงบิดมากขึ้น นั่นคือ ยิ่งมีอัตราทดสูงเท่าใด ความเร็วรอบของแกนมอเตอร์จะลดลง แต่จะมีแรงบิดมากขึ้น ดังนั้นการกำหนดอัตราทดที่เหมาะสมจะทำให้สามารถใช้งานมอเตอร์ไฟตรงเพื่อขับเคลื่อนกลไกเคลื่อนที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การทำงานของมอเตอร์ไฟตรง
การขับหรือทำให้มอเตอร์ไฟตรงทำงานเพื่อหมุนแกนนั้นง่ายมาก เพียงจ่ายไฟเข้าที่ขั้วของมอเตอร์เท่านั้น และเมื่อกลับขั้วของการจ่ายไฟมอเตอร์ก็จะหมุนกลับทิศทาง สำหรับการอธิบายการทำงานของมอเตอร์โดยทั่วไปจะอ้างถึงมอเตอร์แบบ 2 ขั้ว ดังในรูปที่ 2 เมื่อจ่ายไฟให้แก่มอเตอร์ผ่านทางแปรงสัมผัสซึ่งต่ออยู่กับคอมมิวเตเตอร์และขดลวด เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดทำให้เกิดสนามแม่เหล็กขึ้น  และเกิดแรงดูดจากแม่เหล็กถาวร ทำให้ขดลวดสามารถหมุนได้ แต่ด้วยการใช้ขดลวดเพียง 2 ขั้ว การหมุนของมอเตอร์จะขาดเสถียรภาพ เพราะในความเป็นจริงเมื่อคอมมิวเตเตอร์หมุนไป 90 องศาจะทำให้เกิดการลัดวงจรคอมมิวเตอร์ทั้ง 2 ชิ้น ทำให้กระแสไฟฟ้าหยุดไหล แต่แกนของมอเตอร์ยังหมุนไปได้ด้วยแรงเฉื่อย ทำให้จังหวะการทำงานนั้นไม่ต่อเนื่อง และทำให้อัตราเร็วในการหมุนไม่คงที่ ซึ่งทางแก้ไขนั้นจะใช้มอเตอร์แบบมีขดลวด 3 ขั้ว ที่มีการพันในทิศทางที่สลับกัน


รูปที่ 2 แสดงส่วนประกอบและการทำงานของมอเตอร์ไฟตรง

ในมอเตอร์ไฟตรงที่ใช้งานจริงนั้น จะเป็นมอเตอร์แบบขดลวด 3 ขั้ว ดังนั้นคอมมิวเตเตอร์ที่ใช้ในการกำหนดจังหวะการจ่ายกระแสให้แก่ขดลวดจะมี 3 ชิ้น ดังแสดงโครงสร้างและการทำงานของมอเตอร์ไฟตรงแบบ 3 ขั้วในรูปที่ 3 ด่วยการใช้ขดลวด 3 ชุดนี้ช่วยให้การหมุนของมอเตอร์มีเสถียรภาพมากขึ้น เพราะแม้ว่าจะเกิดจังหวะที่คอมมิวเตเตอร์ 2 ชิ้นจะถูกลัดวงจร ดังในขั้นตอนที่ 2 และ 4 ของรูปที่ 3 แต่เนื่องจากมีคอมมิวเตเตอร์ 3 ชิ้น เมื่อลัดวงจร 2 ชิ้น ก็เสมือนกับรวมกันเป็นคอมมิวเตเตอร์ 1 ชิ้น จึงสามารถทำงานกับคอมมิวเตเตอร์อีก 1 ชิ้นที่เหลือ เพื่อกำหนดจังหวะการจ่ายกระแสไฟฟ้าต่อไปได้ ทำให้ไม่เกิดภาวะกระแสไฟฟ้าหยุดไหลดังที่เกิดในมอเตอร์แบบขดลวด 2 ขั้ว


รูปที่ 3 แสดงส่วนประกอบและการทำงานของมอเตอร์ไฟตรงแบบขดลวด 3 ขั้ว ซึ่งเป็นแบบที่มีการผลิตใช้งานจริง

วงจรขับมอเตอร์ไฟตรงอย่างง่ายด้วยสวิตช์
แสดงวงจรในรูปที่ 4 ประกอบไปด้วย สวิตช์ 4 ตัว นั่นก็คือ S1, S2, S3 และ S4 ซึ่งในรูปตัวอย่างมอเตอร์จะเคลื่อนที่ทิศทางใด ขึ้นอยู่กับการต่อ สวิตช์ทั้ง 4 ตัว นั่นเอง
ในสภาวะเริ่มต้น ยังไม่มีการเปิดสวิตช์ที่ตัวใดเลย มอเตอร์จึงไม่ทำงาน


รูปที่ 4 หลักการของวงจรขับมอเตอร์ไฟตรงที่ใช้สวิตช์ 4 ตัว

เมื่อต้องการให้มอเตอร์หมุนตามเข็มนาฬิกา ให้ทำการต่อวงจร S1 และ S4 ตามรูปที่ 4.2 จะเห็นว่า แรงดัน +V จากแหล่งจ่ายไฟจะถูกต่อเข้ากับขั้วบวกของมอเตอร์ และขั้วลบของแหล่งจ่ายไฟต่อเข้ากับขั้วลบของมอเตอร์ ทำให้เกิดกระแสไหลผ่านมอเตอร์ มอเตอร์จึงหมุนตามเข็มนาฬิกา (CW : Clock wise)
เมื่อต้องการให้มอเตอร์หมุนกลับทิศทางหรือหมุนทวนเข็มนาฬิกา (CCW : Counterclockwise) ให้ทำการต่อสวิตช์ S2 และ S3 แทน ในขณะที่ S1 และ S4 เปิดวงจร มอเตอร์ก็จะได้รับแรงดันกลับขั้ว ทำให้กระแสไหลในทิศทางตรงข้าม มอเตอร์จึงหมุนกลับทิศทางกับในตอนแรก
วงจรขับมอเตอร์ไฟตรงอย่างง่ายด้วยรีเลย์
จากวงจรในรูปที่ 4 เปลี่ยนสวิตช์เป็นรีเลย์ 2 ตัว คือ RY1 และ RY2 โดยขั้วบวก (+) ของมอเตอร์ต่อกับขาร่วมของรีเลย์ RY1 และขั้วลบ (-) ของมอเตอร์ต่อกับขาร่วมของรีเลย์ RY2 ส่วนที่ขา NO ของทั้งรีเลย์ RY1 และ RY2 ต่ออยู่กับขั้วบวกของแหล่งจ่ายไฟ +Vm ที่จะจ่ายให้มอเตอร์ และขา NC ของทั้งรีเลย์ RY1 และ RY2 ต่อลงกราวด์ จะได้เป็นวงจรขับมอเตอร์ตามรูปที่ 5.1

รูปที่ 5 วงจรขับมอเตอร์ไฟตรงที่ใช้รีเลย์ 2 ตัวแทนสวิตช์ 4 ตัว

เมื่อจ่ายไฟเพื่อกระตุ้นให้รีเลย์ RY1 ทำงาน จะทำให้หน้าสัมผัสที่ขา NO และ C ของรีเลย์ RY1 ต่อกัน เกิดกระแสไฟฟ้าไหลจาก +Vm เข้าสู่ขั้วบวก (+) ของมอเตอร์ผ่านไปยังขาร่วม (C) ของรีเลย์ RY2 ต่อกับขา NC และลงกราวด์ ทำให้ครบวงจร มอเตอร์จึงทำงานและหมุนในทิศตามเข็มนาฬิกา ดังในรูปที่ 5.2

พิจารณารูปที่ 5.3 เมื่อจ่ายไฟเพื่อกระตุ้นให้รีเลย์ RY2 ทำงาน จะทำให้หน้าสัมผัสที่ขา NO และ C ของรีเลย์ RY2 ต่อกัน เกิดกระแสไฟฟ้าไหลจาก +Vm เข้าสู่ขั้วลบ (-) ของมอเตอร์ผ่านไปยังขาร่วม (C) ของรีเลย์ RY1 ซึ่งต่อกับขา NC และลงกราวด์ ทำให้ครบวงจร มอเตอร์จึงทำงานและหมุนในทิศทวนเข็มนาฬิกา

วงจรขับมอเตอร์แบบ H-Bridge
ลักษณะของวงจรขับมอเตอร์ทั้งในรูปที่ 4 และ 5 มีชื่อเรียกว่า วงจรขับแบบ H-Bridge เนื่องจากลักษณะของวงจรคล้ายกับตัวอักษร H ในภาษาอังกฤษ และมีการใช้อุปกรณ์ควบคุม 4 ตัว นอกจากนั้นยังสามารถใช้ อุปกรณ์ที่เรียกว่า ทรานซิสเตอร์ มาทดแทนรีเลย์ ดังแสดงวงจรในรูปที่ 6 ด้วย การใช้ทรานซิสเตอร์จะทำให้ขนาดของวงจรเล็กลง


รูปที่ 6 วงจรขับมอเตอร์ไฟตรงแบบ H-Bridge ใช้ทรานซิสเตอร์ 4 ตัว ทำงานแทนสวิตช์และรีเลย์

เมื่อส่งสัญญาณลอจิก “1” มาที่อินพุต CW จะทำให้ทรานซิสเตอร์ Q1 และ Q4 ทำงาน เกิดกระแสไฟฟ้าไหลผ่านมอเตอร์ ทำให้มอเตอร์หมุนในทิศทางตามเข็มนาฬิกา

ถ้าหากส่งสัญญาณลอจิก “1” มาที่อินพุต CCW จะทำให้ทรานซิสเตอร์ Q2 และ Q3 ทำงานแทน เกิดกระแสไฟฟ้าไหลผ่านมอเตอร์ในอีกทิศทางหนึ่ง ทำให้มอเตอร์หมุนในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา

นอกจากนั้นยังมีการใช้ไอซีขับมอเตอร์โดยเฉพาะ นั่นคือ ไอซีเบอร์ L293D ซึ่งภายในบรรจุวงจรขับแบบ H-Bridge 2 ชุด จึงทำให้สามารถขับมอเตอร์ไฟตรงได้ 2 ตัว ในรูปที่ 7 เป็นวงจรขับมอเตอร์ที่ใช้ไอซี L293D


รูปที่ 7 วงจรขับมอเตอร์ไฟตรงโดยใช้ไอซี L293D

การขับมอเตอร์แต่ละตัวใช้สายสัญญาณ 3 เส้น เนื่องจากต้องการ ควบคุมทิศทางของมอเตอร์ไปพร้อมๆ กับการควบคุมความเร็วของมอเตอร์ด้วยสัญญาณ PWM สำหรับมอเตอร์ช่องที่ 1 จะใช้อินพุต DIR1A และ DIR1B ในการกำหนดทิศทางการหมุน ส่วนอินพุตรับสัญญาณเพื่อควบคุมความเร็วจะเป็นขา 1E ส่วนมอเตอร์ช่องที่ 2 ใช้อินพุต DIR2A และ DIR2B ส่วนอินพุตควบคุมความเร็วคือขา 2E

การกำหนดเงื่อนไขในการขับมอเตอร์ของ L293D เป็นดังนี้
DIRxA = 0, DIRxB = 1 มอเตอร์หมุนทวนเข็มนาฬิกา
DIRxA = 1, DIRxB = 0 มอเตอร์หมุนตามเข็มนาฬิกา
x คือ 1 หรือ 2

โดยไอซี L293D จะสามารถทำงานได้เมื่อมีสัญญาณลอจิก “1” ส่งมาที่อินพุต 1E สำหรับมอเตอร์ช่อง 1 และ 2E สำหรับมอเตอร์ช่อง 2

ที่เอาต์พุตของวงจรขับมอเตอร์มี LED สองสีแสดงขั้วแรงดันที่จ่าย ให้กับมอเตอร์ ถ้า LED ติดเป็นสีเขียว หมายถึงการจ่ายแรงดันตรงขั้วให้กับมอเตอร์ ถ้าแรงดันที่จ่ายให้กลับขั้ว LED จะติดเป็นสีแดง

ควบคุมความเร็วของมอเตอร์
ในการขับมอเตอร์โดยปกติจะป้อนแรงดันไฟตรงให้โดยตรง มอเตอร์จะทำงานเต็มกำลัง ซึ่งอาจมีความเร็วมากเกินไป ดังนั้นการปรับความเร็วของมอเตอร์จึงใช้วิธีลดแรงดันไฟฟ้าที่ป้อนให้กับมอเตอร์ วิธีที่นิยมคือ การป้อนพัลส์ไปขับมอเตอร์แทน แล้วปรับความกว้างพัลส์ช่วงบวก เพื่อให้ได้ค่าแรงดันเฉลี่ยตามต้องการ วิธีการนี้เรียกว่า พัลส์วิดธ์มอดูเลเตอร์ (PWM)


รูปที่ 8 การเปรียบเทียบค่าแรงดันที่เกิดขึ้นเมื่อใช้ PWM 

(8.1) ป้อนสัญญาณไฟตรง 
(8.2) PWM มีดิวตี้ไซเกิล 50% 
(8.3) PWM มีดิวตี้ไซเกิล 75% 
(8.4) PWM มีดิวตี้ไซเกิล 25%

โดยความกว้างพัลส์ช่วงบวกเมื่อเทียบกับความกว้างพัลส์ทั้งหมดเรียกว่า ดิวตี้ไซเกิล (duty cycle)โดยจะคิดค่าดิวตี้ไซเกิลเป็นเปอร์เซ็นต์ของค่าความกว้างพัลส์ทั้งหมด ตัวอย่างจากรูปที่ 8.2 มีค่าดิวตี้ไซเกิล 50% หมายถึง ความกว้างของพัลส์ช่วงบวกมีความกว้างเป็น 50% ของความกว้างทั้งหมด ดังนั้นแรงดันเฉลี่ยที่ได้เท่ากับ (50 x 4.8) /100 = 2.4V สำหรับรูปที่ 8.3 และ 8.4 เป็นการกำหนดค่าดิวตี้ไซเกิล 75% และ 25% ตามลำดับ

ตัวอย่างวงจรกำเนิดสัญญาณ PWM สำหรับควบคุมความเร็วมอเตอร์
วงจรสำหรับสร้างสัญญาณพัลส์ PWM เพื่อนำไปขับมอเตอร์ไฟตรงขนาดเล็กนั้นมีตัวอย่างแสดงในรูปที่ 9, 10 และ 11 โดยในรูปที่ 9 เป็นวงจรกำเนิดสัญญาณพัลส์ PWMที่ง่ายที่สุดใช้ไอซี 555 โดยความถี่ของสัญญาณ PWM จะถูกกำหนดด้วยค่าของตัวเก็บประจุ C1 สามารถเปลี่ยนค่าดิวตี้-ไซเกิลหรือความกว้างของพัลส์ได้ด้วยการปรับ VR1 สัญญาณ PWM จะถูกส่งไปยังมอสเฟต Q1 เพื่อขับให้มอเตอร์ไฟตรงหมุน ด้วยการปรับค่าของ VR1 ทำให้แรงดันที่ใช้ขับมอเตอร์มีการเปลี่ยนแปลง ถ้าพัลส์มีความกว้างมาก แรงดันที่ส่งไปขับมอเตอร์ก็จะมากตาม ส่งผลให้ความเร็วของมอเตอร์เพิ่มขึ้น ในทางตรงข้ามถ้าพัลส์มีความกว้างน้อยลง แรงดันเฉลี่ยที่เอาต์พุตก็จะลดลง ความเร็วของมอเตอร์ก็ลดลงตาม


รูปที่ 9 วงจรขับมอเตอร์ไฟตรงด้วยสัญญาณ PWM อย่างง่าย


รูปที่ 10 วงจรควบคุมความเร็วของมอเตอร์ไฟตรงที่ใช้ไอซีออปแอมป์

รูปที่ 10 เป็นวงจรควบคุมความเร็วของมอเตอร์ไฟตรง ซึ่งใช้วงจรกำเนิดพัลส์ PWM ที่สร้างขึ้นจากไอซีออปแอมป์ โดย IC1/1 และ IC1/2 ต่อร่วมกับตัวต้านทานและตัวเก็บประจุเพื่อทำงานเป็นวงจรกำเนิดสัญญาณสามเหลี่ยม แล้วส่งมาเปรียบเทียบกับแรงดันที่ได้จากการปรับค่า VR1 ที่ IC1/4 โดยแรงดันจาก VR1 จะผ่านวงจรบัฟเฟอร์ IC1/3 แล้วส่งไปยังอินพุตกลับเฟสของ IC1/4 ส่วนอินพุตไม่กลับเฟสได้รับสัญญาณรูปสามเหลี่ยมมาจาก IC1/2 สัญญาณ PWM จะเกิดจากการเปรียบเทียบแรงดันระหว่างสัญญาณรูปสามเหลี่ยมกับแรงดันที่กำหนดโดยค่า VR1 นั่นคือความกว้างของสัญญาณหรือ ดิวตี้ไซเกิลจะขึ้นการปรับแรงดันที VR1 ส่วนความถี่ของสัญญาณจะขึ้นกับค่าของตัวเก็บประจ C1 สัญญาณ PWM เอาต์พุตจะถูกส่งไปยังมอสเฟต Q1 เพื่อขับมอเตอร์ไฟตรงต่อไป ด้วยวงจร นี้สามารถปรับความเร็วของมอเตอร์ได้จากการปรับค่าความกว้างของสัญญาณพัลส์ที่ VR1


รูปที่ 11 วงจรควบคุมความเร็วของมอเตอร์ไฟตรงที่สามารถปรับค่าดิวตี้ไซเกิลได้เต็มย่าน 0 ถึง 100%

จากวงจรกำเนิดสัญญาณ PWM ในรูปที่ 9 และ 10 จะมีข้อจำกัดที่คล้ายกันข้อหนึ่งคือ ไม่สามารถปรับค่าติวตี้ไซเกิลได้เต็มย่าน 0 ถึง 100% แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า วงจรนั้นไม่ดี หากแต่การนำวงจรดังกล่าวไปใช้งานไม่มีความจำเป็นต้องปรับค่าติวดี้ไซเกิลให้ได้เต็มย่าน ยกตัวอย่าง วงจรในรูปที่ 10 เป็นวงจรที่ใช้ปรับความเร็วของมอเตอร์ในรถสกู๊ตเตอร์ ซึ่งในการใช้งานจริงค่าดิวตี้ไซเกิลต่ำมากๆ ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ วงจรในรูปที่ 11 เป็นวงจรกำเนิดสัญญาณ PWM ที่สามารถปรับความกว้างของสัญญาณพัลส์หรือค่าดิวตี้ไซเกิลได้เต็มย่าน 0 ถึง 100% หัวใจหลักคือวงจรกำเนิดสัญญาณฟันเลื่อยหรือ Sawtooth generator ซึ่งใช้ไอซีเบอร์ LM555 สัญญาณรูปฟันเลื่อยจะถูกส่งไปเปรียบเทียบที่ออปแอมป์คล้ายกับวงจรในรูปที่ 10 ด้วยการใช้สัญญาณรูปฟันเลื่อยเป็นสัญญาณอ้างอิงทำให้ สามารถปรับค่าดิวตี้ไซเกิลได้ 0 ถึง 100% ความถี่ของสัญญาณได้รับการกำหนดจากการปรับค่า VR1 ร่วมกับค่าของตัวเก็บประจุ C2 ส่วนการปรับค่าดิวตี้ไซเกิลปรับได้ที่ VR2 สัญญาณ PWM เอาต์พุตสามารถนำไปต่อเข้ากับมอสเฟตเหมือนกับวงจรในรูปที่ 9 และ 10 หรือต่อเข้ากับขา EN ของไอซี L293 เพื่อใช้กับวงจรขับมอเตอร์แบบ H-Bridge


รูป​ที่ 12 วงจร​ควบคุม​ความเร็ว​ของ​มอเตอร์​ไฟ​ตรง​ที่​ใช้​ไมโคร​คอนโทรลเลอร์ ใน​การ​สร้าง​สัญญาณ PWM

นอกจากนั้นในวงจรควบคุมมอเตอร์ไฟตรงสมัยใหม่จะใช้ไมโครคอนโทลเลอร์ในการสร้างสัญญาณ PWM เพื่อควบคุมความเร็วของมอเตอร์ และใช้ขาพอร์ตอีก 1 ถึง 2 ขาในการควบคุมทิศทางการหมุนของมอเตอร์ ดังแสดงวงจรตัวอย่างในรูปที่ 12 ด้วยการใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ทำให้วงจรควบคุมความเร็วของมอเตอร์มีขนาดเล็กและลดความซับซ้อนลงอย่างมาก ทั้งยังสามารถกำหนดความกว้างและความถี่ของสัญญาณ PWM ได้ละเอียดมากขึ้น


 

Exit mobile version