Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ปรับโฉมดาต้าเซ็นเตอร์ ให้พร้อมสำหรับ AI

โดย นาตาลยา มากาโรชกีนา รองประธานอาวุโส, Secure Power International, ชไนเดอร์ อิเล็คทริค

ในปีที่ผ่านมา ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เติบโตอย่างรวดเร็วเหมือนการมาถึงของยุคดิจิทัล ที่สะท้อนภาพการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วสู่การใช้งานอินเทอร์เน็ตในช่วงปลายทศวรรษ 1990 ปัจจุบันปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เข้ามาปฏิวัติอุตสาหกรรม และนิยามการใช้ชีวิตประจำวันในรูปแบบใหม่ อีกทั้งสร้างผลกระทบมากมายอย่างรวดเร็ว

แรงกระเพื่อมของ AI มีแนวโน้มที่จะขยายตัวเพิ่มอย่างมากมายภายในไม่กี่ปีข้างหน้า การลงทุนด้าน generative AI ในปี 2023 มีมูลค่าสูงถึง 25,200 ล้านดอลลาร์ สูงกว่าเม็ดเงินที่ลงทุนในปี 2022 ถึงเกือบ 9 เท่า และเมื่อเทียบเงินลงทุนในปี 2019 นับว่าเป็นอัตราเพิ่มที่สูงในราว 30 เท่า ทีเดียว เหล่านี้คือข้อเท็จจริงที่ถูกหยิบยกมาไฮไลท์ในรายงาน AI Index ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด

การเติบโตของ AI ยังชี้ให้บรรดาบริษัทดาต้าเซ็นเตอร์ เห็นถึงโอกาสในการสร้างนวัตกรรมและขยายการนำเสนอบริการใหม่ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการในการเปลี่ยนมาใช้แอปพลิเคชั่นที่ขับเคลื่อนด้วย AI รวมถึงตัวองค์กรเองเช่นกัน ซึ่งการนำเทคโนโลยี AI มาใช้ พร้อมปรับโครงสร้างพื้นฐานและการดำเนินการให้เหมาะสม จะช่วยให้ศูนย์ข้อมูลมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการใช้งาน AI ในภาคส่วนต่างๆ อย่างแพร่หลายได้ประสบความสำเร็จ

อย่างไรก็ตาม เรื่องเหล่านี้มาพร้อมต้นทุนที่ต้องจ่าย ปัจจุบัน AI ต้องการพลังงานจากศูนย์ข้อมูล 4.3 กิกะวัตต์ โดยคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 18 กิกะวัตต์ภายในปี 2028 ซึ่งจะทำให้ความต้องการพลังงานจากศูนย์ข้อมูล แซงหน้าอัตราเติบโตของความต้องการด้านพลังงานในปัจจุบัน ทำให้ผู้ให้บริการศูนย์ข้อมูลต้องพบกับความท้าทายทั้งเรื่องของสมรรถนะ และความยั่งยืน ศูนย์ข้อมูลจึงต้องปรับตัวเพื่อให้สอดรับกับความต้องการด้านพลังงานที่เปลี่ยนสู่การขับเคลื่อนด้วย AI ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

การขับเคลื่อนด้วย AI ต้องอาศัยศูนย์ข้อมูลแห่งอนาคต ไม่ใช่แค่การเพิ่มแอปพลิเคชั่นเข้าไปในศูนย์ข้อมูลที่มีอยู่ แต่ต้องใช้สถาปัตยกรรมที่แตกต่างจากเดิมอย่างสิ้นเชิง รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานไอทีเฉพาะด้าน ระบบไฟฟ้า และระบบระบายความร้อนที่ออกแบบมาเฉพาะเช่นกัน

สร้างความยั่งยืน ให้ AI ดาต้าเซ็นเตอร์

เราคาดการณ์ว่าเวิร์กโหลด AI จะโตเร็วกว่าเวิร์กโหลดของศูนย์ข้อมูลแบบเดิมถึง 2-3 เท่า และคิดเป็น 15-20 เปอร์เซ็นต์ ของความจุของศูนย์ข้อมูลทั้งหมดภายในปี 2028  โดยจะมีเวิร์กโหลดจำนวนมากย้ายมาที่เอจด์ ซึ่งอยู่ใกล้ผู้ใช้ปลายทางมากขึ้น

การฝึกฝนโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLM – Large Language Models) ต้องใช้ GPU หลายพันตัวทำงานร่วมกันในคลัสเตอร์ AI ขนาดใหญ่ ขนาดของคลัสเตอร์จะอยู่ที่ประมาณ 1 – 2 เมกะวัตต์ โดยที่ความหนาแน่นของแร็คจะอยู่ระหว่าง 25 -120 กิโลวัตต์ ขึ้นอยู่กับรุ่นและปริมาณของ GPU ซึ่งลักษณะเฉพาะเหล่านี้ส่งผลกระทบอย่างมากในเรื่องการใช้พลังงาน

ปัจจุบันศูนย์ข้อมูลส่วนใหญ่สามารถรองรับความหนาแน่นของพลังงานในแร็คสูงสุดได้เพียง 10 ถึง 20 กิโลวัตต์ ฉะนั้นในการติดตั้งแร็คจำนวนหลายสิบหรือหลายร้อยแร็ค โดยที่แต่ละแร็คใช้พลังงานเกิน 20 กิโลวัตต์ จะทำให้ศูนย์ข้อมูลในคลัสเตอร์ AI ต้องเจอกับความท้าทายด้านโครงสร้างพื้นฐานอย่างมาก ซึ่งชไนเดอร์ อิเล็คทริค มีความเชี่ยวชาญในการปรับโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพให้ตอบสนองความต้องการด้าน AI ได้อย่างเหมาะสม โดยใช้ความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมในไซต์มาช่วย จึงสามารถสนับสนุนให้ลูกค้าเปลี่ยนการตั้งค่าจากความหนาแน่นต่ำ (low-density) เป็นความหนาแน่นสูง (high-density) ได้เหมาะสมต่อการใช้งาน

ล่าสุดชไนเดอร์ อิเล็คทริคได้ร่วมมือกับ NVIDIA เพื่อปฏิวัติโครงสร้างพื้นฐานของศูนย์ข้อมูล ซึ่งช่วยสร้างความก้าวหน้าในเทคโนโลยี edge AI และ digital twin ซึ่งนอกจากชไนเดอร์ อิเล็คทริคจะเปิดตัวดีไซน์อ้างอิง สำหรับงานดัดแปลง หรือ retrofit ถึงสามแบบ สำหรับผู้ให้บริการศูนย์ข้อมูลที่ต้องการเพิ่มคลัสเตอร์ AI ในสถานที่เดิมที่มีอยู่ ยังได้เปิดตัวดีไซน์ใหม่ที่สามารถปรับขยายได้ สำหรับผู้ให้บริการที่ต้องการสร้างพื้นที่ไอทีสำหรับคลัสเตอร์ AI โดยเฉพาะ  ซึ่งเป็นดีไซน์สำหรับคลัสเตอร์เร่งการประมวลผลของ NVIDIA โดยดีไซน์เหล่านี้ ได้ถูกปรับให้เหมาะกับการใช้งานด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการประมวลผลข้อมูล การจำลองทางวิศวกรรม การออกแบบอิเล็กทรอนิกส์อัตโนมัติ การออกแบบยาโดยใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย รวมถึง Generative AI

ดีไซน์อ้างอิงเหล่านี้ จะให้เฟรมเวิร์กที่มั่นคงเพื่อตอบโจทย์ความต้องการเวิร์กโหลด AI ที่เพิ่มขึ้น โดยผสานการทำงานของแพลตฟอร์มเร่งการประมวลผลของ NVIDIA ร่วมกับดาต้าเซ็นเตอร์ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน รองรับการปรับขยายและให้ความยั่งยืน

การที่ศูนย์ข้อมูลมีต้นทุนพลังงานที่สูงขึ้นและใส่ใจด้านสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น จึงต้องให้ความสำคัญเรื่องฮาร์ดแวร์และโครงสร้างพื้นฐานที่ประหยัดพลังงาน รวมถึงแหล่งจ่ายไฟที่มีประสิทธิภาพสูง และแหล่งพลังงานหมุนเวียน เพื่อลดต้นทุนการดำเนินงาน ลดปริมาณการปล่อยคาร์บอน ซึ่งการออกแบบโครงสร้างพื้นฐานของชไนเดอร์ อิเล็คทริค นอกจากจะช่วยรองรับการทำงานของ AI ยังช่วยแก้ไขปัญหาพลังงานในอนาคต เอื้อต่อการพัฒนาศูนย์ข้อมูลที่ปรับขยายได้

การรักษาศูนย์ข้อมูล AI ให้เย็นอยู่เสมอ

ศูนย์ข้อมูล AI สร้างความร้อนในปริมาณมาก จึงต้องใช้การระบายความร้อนด้วยของเหลว เพื่อให้ประสิทธิภาพการทำงาน ที่ดีที่สุด ให้ความยั่งยืน และเชื่อถือได้

ในอีกมุมหนึ่ง ระบบระบายความร้อน ที่ไม่ได้รวมอยู่ในโครงสร้างพื้นฐานไอที ยังใช้พลังงานมากเป็นอันดับสองสำหรับศูนย์ข้อมูลแบบดั้งเดิม โดยคิดเป็น 20 ถึง 40 เปอร์เซ็นต์ ของการใช้พลังงานทั้งหมดในศูนย์ข้อมูล

การระบายความร้อนด้วยของเหลวเป็นสถาปัตยกรรมที่ให้ประโยชน์มากสำหรับบริษัทที่ให้บริการศูนย์ข้อมูล เช่น การช่วยให้ใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ใช้พื้นที่น้อยลง มีต้นทุนต่ำกว่า เสียงรบกวนน้อยลง และอื่นๆ อีกมากมาย โดยบริษัทศูนย์ข้อมูลในเอเชียกำลังเปลี่ยนมาใช้การระบายความร้อนด้วยของเหลวอย่างจริงจัง เพื่อลดการใช้พลังงาน

เมื่อความต้องการพลังประมวลผล AI เพิ่มมากขึ้น ทำให้ต้องแบกรับความร้อนที่เพิ่มขึ้นตาม การระบายความร้อนด้วยของเหลวจึงกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญในการออกแบบศูนย์ข้อมูล การใช้แนวทางที่สร้างสรรค์ ครอบคลุม และยืดหยุ่นจึงเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งชไนเดอร์ ให้การสนับสนุนลูกค้าเรื่องการนำระบบระบายความร้อนด้วยของเหลวมาใช้ มีโซลูชั่นหลากหลาย ครอบคลุมทั้งในส่วนพื้นที่ที่ไม่มีการใช้งาน (white space solutions) ตลอดจนกลยุทธ์ด้านการระบายความร้อน

นอกจากนี้ ชไนเดอร์ อิเล็คทริคยังได้เผยแพร่เอกสารฉบับใหม่เมื่อไม่นานมานี้ ชื่อว่า “การนำร่องด้วยสถาปัตยกรรมระบบระบายความร้อนด้วยของเหลวสำหรับศูนย์ข้อมูลสำหรับเวิร์กโหลด AI” ข้อมูลนี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยนำร่องให้บริษัทศูนย์ข้อมูลสามารถก้าวข้ามความซับซ้อนของระบบระบายความร้อนด้วยของเหลว พร้อมให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการออกแบบระบบ การนำไปใช้งาน และข้อควรพิจารณาในการปฏิบัติงาน

AI กับผลกระทบด้านความยั่งยืน

ผลกระทบของ AI เหมือนเหรียญสองด้าน แม้ AI ให้ศักยภาพในการเพิ่มประสิทธิภาพด้านพลังงาน แต่ก็สร้างความกังวลเรื่องการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นเช่นกัน

ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมบางรายคาดการณ์ว่าการประมวลผลแบบเร่งความเร็ว ซึ่งเป็นแรงขับเคลื่อนการปฏิวัติ AI จะช่วยให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น ในขณะที่ใช้ทรัพยากรโครงสร้างพื้นฐานของศูนย์ข้อมูลน้อยลง เมื่อการประมวลผลถูกเร่งความเร็ว ความหนาแน่นของแต่ละแร็คก็จะเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจทำให้จำนวนแร็คในศูนย์ข้อมูลลดลงมาก โดยหลักๆ คือการประมวลผลแบบเร่งความเร็วให้ศักยภาพในการเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมได้มาก

อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือการประเมินผลกระทบของ AI ในวงกว้างอย่างรอบคอบทั้งเรื่องสิ่งแวดล้อมและการใช้พลังงาน โดย Gartner เปิดเผยว่า 80% ของซีไอโอ จะใช้ตัวชี้วัดประสิทธิภาพที่เชื่อมโยงกับความยั่งยืนขององค์กรไอทีภายในปี 2027 การที่บริษัทต่างๆ ตั้งเป้าเพื่อลดการใช้พลังงานและลดการปล่อยคาร์บอนในระบบไอที รวมถึงในศูนย์ข้อมูล จำเป็นจะสร้างพื้นฐานข้อมูลจากข้อเท็จจริง สามารถเข้าถึงข้อมูลแบบเรียลไทม์ และเข้าถึงข้อมูลในอดีตได้

ซอฟต์แวร์ช่วยให้บริษัทต่างๆ สามารถวัดผล และรายงานประสิทธิภาพของศูนย์ข้อมูล โดยอิงจากข้อมูลในอดีต และวิเคราะห์แนวโน้มในอนาคต ซอฟต์แวร์ EcoStruxure IT สำหรับการจัดการโครงสร้างพื้นฐานศูนย์ข้อมูลของชไนเดอร์ อิเล็คทริค มีการผสานรวม AI และการมอนิเตอร์แบบเรียลไทม์ เพื่อเปลี่ยนเป็นข้อมูลเชิงลึกให้ลูกค้านำมาใช้ดำเนินการเพื่อปรับปรุงความยั่งยืน ซึ่งจากการศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจโดยรวมของ Forrester จัดทำโดย ชไนเดอร์ อิเล็คทริค พบว่าบริษัทต่างๆ สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าได้มากถึง 22.5% โดยใช้ความสามารถในการจัดการพลังงานขั้นสูงของ จาก EcoStruxure ที่ช่วยปรับการใช้พลังงานและประสิทธิภาพการระบายความร้อนได้เหมาะสมที่สุด

การเปิดตัวฟีเจอร์การรายงานความยั่งยืนอัตโนมัติรูปแบบใหม่ล่าสุด สำหรับซอฟต์แวร์ EcoStruxure IT ช่วยให้มองเห็นการใช้พลังงานและทรัพยากร มีการวิเคราะห์ข้อมูลในอดีต และการวัดผลโดยละเอียดได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ฟีเจอร์เหล่านี้ผสานความเชี่ยวชาญด้านความยั่งยืน กฎระเบียบข้อบังคับ ศูนย์ข้อมูล รวมถึงความเชี่ยวชาญในการการพัฒนาซอฟต์แวร์ มากว่า 20 ปี รวมถึงแมชชีนเลิร์นนิ่ง เพื่อช่วยให้องค์กรต่างๆ ปฏิบัติตามข้อกำหนดการรายงานด้านกฎระเบียบที่กำลังจะมีผลบังคับใช้ในอนาคต

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค มุ่งสร้างความยั่งยืนให้ศูนย์ข้อมูล

การที่ศูนย์ข้อมูลทำงานโดยอาศัยพลังงานจำนวนมาก ทำให้เกิดความท้าทายต่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ชไนเดอร์ อิเล็คทริค มุ่งมั่นในการช่วยให้ศูนย์ข้อมูลดำเนินการอย่างรับผิดชอบ เพื่อส่งเสริมอนาคตที่ยั่งยืนยิ่งขึ้น ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน ลดการปล่อยคาร์บอน และเพิ่มความยืดหยุ่นในการดำเนินงาน

ตัวอย่างหนึ่งของความมุ่งมั่นด้านความยั่งยืนของชไนเดอร์ อิเล็คทริค คือการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในความร่วมมือกับอุตสาหกรรม โดยชไนเดอร์ อิเล็คทริค เป็นสมาชิกผู้ก่อตั้ง Infrastructure Masons Climate Accord ร่วมกับบริษัท 50 แห่ง โดยมีข้อตกลงและจุดมุ่งหมายเพื่อลดการปล่อยคาร์บอนในวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ และพลังงานของโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล นอกจากนี้ ข้อตกลงดังกล่าวยังมุ่งที่การกำหนดมาตรฐานระดับโลก สำหรับบัญชีคาร์บอนในโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล เพื่อผลักดันอุตสาหกรรมให้บรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน

นอกจากนี้ ชไนเดอร์ ยังได้เปิดตัวคู่มือฉบับแรกของอุตสาหกรรม เพื่อรับมือกับความท้าทายในการออกแบบโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพสำหรับศูนย์ข้อมูลใหม่ เพื่อรองรับเวิร์กโหลดที่เกิดจาก AI ซึ่งกำหนด gold standard ด้วยการออกแบบศูนย์ข้อมูลที่ปรับให้เหมาะกับ AI เอกสารเผยแพร่ดังกล่าวมีชื่อว่า “การเปลี่ยนแปลงของ AI: ความท้าทายและแนวทางสำหรับการออกแบบศูนย์ข้อมูล” จะให้ข้อมูลเชิงลึกที่มีคุณค่าและทำหน้าที่เป็นต้นแบบที่สมบูรณ์สำหรับบริษัทต่างๆ ที่ต้องการนำ AI มาสร้างศักยภาพสูงสุดให้ศูนย์ข้อมูลของตน รวมถึงมุมมองเชิงคาดการณ์ของเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อรองรับคลัสเตอร์ AI แห่งอนาคตได้


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

มจพ. จัดงานสัมมนาวิชาการระดับชาติ “พลิกโฉมธุรกิจอุตสาหกรรมด้วยปัญญาประดิษฐ์ และการจัดการคาร์บอนเครดิตสู่อนาคตที่ยั่งยืน”

เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2567 เวลา 08.00 . มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ โดยนักศึกษาปริญญาเอก คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ได้จัดงานสัมมนาวิชาการระดับชาติ เนื่องในโอกาสฉลองครบรอบ 65 ปี ของการก่อตั้งมหาวิทยาลัยฯ ภายใต้หัวข้อพลิกโฉมธุรกิจอุตสาหกรรมด้วยปัญญาประดิษฐ์และการจัดการคาร์บอนเครดิตสู่อนาคตที่ยั่งยืน” TRANSFORMING INDUSTRIAL BUSINESSES WITH ARTIFICIAL INTELLIGENCE AND CARBON CREDIT MANAGEMENT TOWARDS A SUSTAINABLE FUTURE” โดย ศ.ดร.ธีรวุฒิ บุณยโสภณ นายกสภามหาวิทยาลัย ให้การต้อนรับผู้เข้าร่วมงานสัมมนา พร้อมได้รับเกียรติจากคุณวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  เป็นประธานในพิธีเปิดและกล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อทิศทางการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมสู่อนาคตที่ยั่งยืนโดยมี ศ.ดร.สุชาติ เซี่ยงฉิน อธิการบดี มจพ.  คุณอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารของมหาวิทยาลัยฯ และคณะผู้บริหารของกระทรวงฯ ให้เกียรติเข้าร่วมในพิธีฯ ทั้งนี้ได้เชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ อาทิ ดร.รัสรินทร์ ชินโชติธีรนันท์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ลิสเซินฟิลด์ จำกัด คุณจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด และคุณกุลพรภัสร์ วงศ์มาจารภิญญา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทย สมายล์ บัส จำกัด มาร่วมแบ่งปันความรู้     ซึ่งงานสัมมนานี้จัดขึ้น ณ หอประชุมเบญจรัตน์ อาคารนวมินทรราชินี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

งานสัมมนานี้ เป็นโอกาสสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการและนักศึกษา เพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนและสามารถแข่งขันในอนาคต โดยมุ่งเน้นการสร้างความตระหนักรู้ให้แก่ภาคธุรกิจเกี่ยวกับการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การจัดการข้อมูล และการวิเคราะห์ตลาด รวมถึงการจัดการคาร์บอนเครดิตเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สนับสนุนธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและยั่งยืนในอนาคต นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมงานยังได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เชี่ยวชาญและผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งช่วยสร้างเครือข่ายและเปิดมุมมองใหม่ๆ สำหรับการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมไทยให้แข่งขันในระดับสากล อีกทั้งยังเป็นเวทีสำคัญในการสร้างแรงบันดาลใจและการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคตผ่านการเรียนรู้จากกรณีศึกษาและนวัตกรรม โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมมากกว่า 350 คน รวมถึงผู้เข้าร่วมทางออนไลน์ผ่าน FACEBOOK LIVE คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มจพ. HTTPS://WEB.FACEBOOK.COM/BID.FACULTY อีกเป็นจำนวนมาก


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

โรงงานซีเมนส์ใน Erlangen ได้รับเลือกให้เป็น Digital Lighthouse Factory จาก World Economic Forum

World Economic Forum (WEF) รับรองโรงงานของซีเมนส์ในเมือง Erlangen ประเทศเยอรมนี เป็นDigital Lighthouse Factory ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Global Lighthouse Network สถานะนี้ WEF มอบให้กับบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในกลุ่มของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4

ด้วยการใช้แนวทาง Green Lean Digital ซึ่งผสมผสานระหว่างนวัตกรรมเทคโนโลยีและแนวปฏิบัติที่ยั่งยืน โรงงานแห่งนี้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้ถึง 69% และใช้พลังงานลดลง 42% ในระยะเวลาสี่ปี

เมื่อปีที่แล้วซีเมนส์ได้ประกาศว่าจะลงทุน 500 ล้านยูโรในการวิจัยและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในเมือง Erlangen โดยวางเป้าหมายให้เป็นศูนย์กลางด้านการวิจัยและพัฒนาระดับโลก พร้อมเป็นแกนหลักของการทำกิจกรรมด้านเทคโนโลยีสำหรับเมตาเวิร์สภาคอุตสาหกรรมในระดับโลก

โรงงานของซีเมนส์ที่ Erlangen นี้เป็นโรงงานแห่งที่สามของซีเมนส์ที่ได้รับการรับรองจาก WEF ให้เป็นหนึ่งในโรงงานที่ทันสมัยที่สุดในโลก ต่อจากโรงงานในเมือง Amberg ประเทศเยอรมนี และโรงงานในเมือง Chengdu (เฉิงตู) ประเทศจีน

เซดริค ไนเค สมาชิกของคณะกรรมการบริหาร ซีเมนส์ เอจี และประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มธุรกิจ Digital Industries กล่าวว่า “การได้รับสถานะนี้ตอกย้ำถึงความสร้างสรรค์ของทีมงานที่ Erlangen ของเรา การนำเทคโนโลยีเช่น AI ดิจิทัลทวิน และหุ่นยนต์มาใช้ได้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตขึ้นถึง 69% ลดการใช้พลังงานลง 42% และยังเป็นการสร้างต้นแบบพิมพ์เขียวให้กับเมตาเวิร์สของภาคอุตสาหกรรม ซึ่งการได้รับสถานะนี้เป็นกำลังให้เราเดินหน้าดำเนินการตามเป้าหมายด้านความยั่งยืนของเราอย่างต่อเนื่อง และช่วยลูกค้าของเราให้มีความยืดหยุ่นและยั่งยืนมากขึ้น”

นวัตกรรมเทคโนโลยีและแนวปฏิบัติที่ยั่งยืน

ด้วยการนำเทคโนโลยี AI มาปรับใช้ในกว่า 100 กรณีการใช้งานจริง ร่วมกับเทคโนโลยีดิจิทัลทวิน โรงงานสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ โรงงานยังได้นำแนวทางนวัตกรรมเพื่อลดการเกิดของเสียมาใช้ โดยมุ่งใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุดและมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด

สเตฟาน ชเลาส์ ผู้จัดการโรงงาน กล่าวว่า “โรงงานของซีเมนส์ใน Erlangen มีเป้าหมายที่จะก้าวสู่การเป็นผู้นำในการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน (energy transition) การได้มาซึ่งสถานะนี้ถือเป็นการตอกย้ำความทุ่มเทของพนักงานทุกคนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และยังเป็นแรงจูงใจให้เราไม่หยุดนิ่งที่ความสำเร็จ แต่พร้อมพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น”

โรงงานแห่งนี้สร้างความประทับใจให้กับคณะกรรมการของ WEF ด้วย 5 กรณีการใช้งานจริงของเทคโนโลยีดิจิทัลในสภาพแวดล้อมการผลิต ตัวอย่างที่โดดเด่นคือโครงการผลิตเซมิคอนดักเตอร์เองในโรงงาน ห้องปลอดเชื้อสำหรับการผลิตถูกสร้างขึ้นในเวลาเพียง 11 เดือนเพื่อผลิตเซมิคอนดักเตอร์สำหรับอุปกรณ์แปลงความถี่ SINAMICS รุ่นล่าสุด ด้วยแพลตฟอร์มการวิเคราะห์ข้อมูลแบบครบวงจร ทำให้ลดการใช้พื้นที่ใช้สอยลง 50% ลดการใช้วัสดุลง 40% ขณะที่ยังคงรักษาประสิทธิภาพการผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน

เกี่ยวกับซีเมนส์

ซีเมนส์เอจี (เบอร์ลินและมิวนิค) เป็นบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำ ทางด้านอุตสาหกรรม โครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคมขนส่ง และการดูแลสุขภาพ บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์เทคโนโลยีที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นให้กับชีวิตผู้คนในทุก ๆ วัน ซีเมนส์สนับสนุนลูกค้าของเราในการเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลและความยั่งยืนด้วยการผสานโลกจริงและโลกดิจิทัลเข้าด้วยกัน ทำให้โรงงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เมืองน่าอยู่มากขึ้น และระบบการขนส่งยั่งยืนยิ่งขึ้น ซีเมนส์เป็นผู้ถือหุ้นหลักในซีเมนส์ เฮลทิเนียร์ส ซึ่งเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และผู้นำระดับโลกด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

มจพ. ปันน้ำใจ เพื่อผู้ประสบภัย

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ร่วมกับสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือในพระบรมราชูปถัมภ์สภานักศึกษาองค์การนักศึกษาสโมสรนักศึกษาและกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม

ขอเชิญร่วมบริจาคสิ่งของ เพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย วันที่รับบริจาค : วันที่ 21-22 และ 24 ตุลาคม 2567 เวลา เวลา 09.00-15.00 .

สถานที่รับบริจาค : มจพ. กรุงเทพมหานคร   มจพ. วิทยาเขตปราจีนบุรี : หน้าห้องกลุ่มงานกิจการนักศึกษา มจพ. ปราจีนบุรี ชั้น 1 อาคารบริหาร และ มจพ. วิทยาเขตระยอง : หน้าห้องพยาบาล มจพ. วิทยาเขตระยอง ชั้น 1 อาคารวิทยาศาสตร์การกีฬาและโรงอาหารกลาง

มหาวิทยาลัย งดรับบริจาคเงิน แต่ท่านสามารถบริจาคเงินผ่านมูลนิธิหรือหน่วยงานการกุศลได้

รายละเอียดเพิ่มเติม https://sa.op.kmutnb.ac.th/kmutnbcharity/18232/

ขวัญฤทัย ข่าว


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

การ์ทเนอร์คาดการณ์ ปี 2568 ยอดการจัดส่ง AI PCs ทั่วโลกจะคิดเป็น 43% ของยอดจัดส่ง PC ทั้งหมด

ประเทศไทย กรุงเทพฯ 15 ตุลาคม 2567 — การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่าในปี 2568 ปริมาณการจัดส่ง AI PCs ทั่วโลกจะอยู่ที่ 114 ล้านเครื่อง เพิ่มขึ้น 165.5% จากปี 2567

การ์ทเนอร์ให้คำจำกัดความ AI PC เป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่มีหน่วยประมวลผล Neural Processing Unit (NPU) ฝังอยู่และใช้เกณฑ์การจำแนกคอมพิวเตอร์ประเภทนี้กับการคาดการณ์ โดย AI PC ที่รวมถึงพีซีที่มีหน่วยประมวลผล NPU ติดตั้งมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Windows on Arm, macOS on Arm และ x86 บน Windows PCs

การ์ทเนอร์คาดว่ายอดการจัดส่ง AI PC จะสูงแตะ 43 ล้านยูนิต ในปี 2567 เพิ่มขึ้นถึง 99.8% จากปี 2566 (ตามตารางที่ 1)

ตารางที่ 1: ปริมาณการจัดส่ง AI PC ทั่วโลก ระหว่างปี 2566-2568 (หน่วย: พันยูนิต)

   

ยอดจัดส่ง ปี 2566

 

ยอดจัดส่ง ปี 2567

 

ยอดจัดส่ง ปี 2568

AI Laptops 20,136  40,520  102,421 
AI Desktops 1,396  2,507  11,804 
AI PC Units Total 21,532  43,027  114,225 

ที่มา: การ์ทเนอร์ (กันยายน 2567)

รันจิต อัตวาล ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิจัยการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “หัวข้อถกเถียงเรื่องสเปกพีซีว่ารุ่นใดจะมีฟังก์ชัน AI ได้เปลี่ยนไปสู่ความคาดหวังถึงความสามารถของหน่วยประมวลผล NPU AI ที่ผนวกรวมเข้ามาไว้ในเครื่องพีซีไปแล้ว และด้วยเหตุนี้ NPU จึงกลายเป็นฟีเจอร์มาตรฐานของผู้ขายพีซี”

การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่าภายในปี 2568 ยอดการจัดส่ง AI PC จะคิดเป็นสัดส่วน 43% ของยอดจัดส่งพีซีทั้งหมด ที่เพิ่มขึ้นจาก 17% ในปี 2567 โดยคาดว่าความต้องการ AI Laptop จะสูงกว่า AI Desktop โดยมียอดจัดส่งคิดเป็น 51% ของจำนวน Laptop ทั้งหมดในปี 2568

อนาคตของ AI Laptops

การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่า ภายในปี 2569 AI Laptop จะเป็นตัวเลือกเพียงอย่างเดียวขององค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ เพิ่มขึ้นจากไม่ถึง 5% ในปี 2566

“ขณะที่ตลาดพีซีเปลี่ยนจาก Non-AI PCs มาเป็น AI PCs ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปการครอบครองตลาดของสถาปัตยกรรม x-86 ก็จะลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาด AI Laptop ของกลุ่มผู้บริโภค เนื่องจาก AI Laptop ที่ใช้สถาปัตยกรรม ARM จะครองส่วนแบ่งมากขึ้นจาก Windows x86 AI และ Non-AI Laptop อย่างไรก็ตาม ในปี 2568 AI Laptop ที่ใช้ Windows x86 จะเป็นผู้นำในกลุ่มธุรกิจ” อัตวาล กล่าวเพิ่มเติม

หลายธุรกิจต่างตระหนักถึงภูมิทัศน์เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่า AI และ GenAI จะเป็นองค์ประกอบสำคัญในอนาคต “วันนี้ธุรกิจควรตั้งคำถามว่าจะซื้อ AI PC รุ่นใด แทนที่จะเป็นการถามว่าควรซื้อหรือไม่ อย่างไรก็ตาม คาดว่าองค์กรไม่น่าจะยอมจ่ายเงินเพิ่มสำหรับฟีเจอร์ AI แต่จะเลือกซื้อ AI PCs  เพื่อรองรับการใช้งานในอนาคตมากกว่า เนื่องจากเป็นหนทางเลือกเดียวที่จะมอบสภาพแวดล้อมการประมวลผลที่ปลอดภัยและเป็นส่วนตัวมากขึ้นนั่นเอง” อัตวาล กล่าวสรุป

เกี่ยวกับการ์ทเนอร์ 

บริษัท การ์ทเนอร์ (Gartner, Inc.) (NYSE: IT) คือบริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาชั้นนำของโลก มอบข้อมูลเชิงลึก คำแนะนำ และเครื่องมือต่าง ๆ แก่ผู้บริหารองค์กรธุรกิจ เพื่อรองรับการดำเนินภารกิจสำคัญที่มีอยู่ในปัจจุบันและสร้างองค์กรให้ประสบความสำเร็จในอนาคต ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางของการ์ทเนอร์ในการช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจอย่างถูกต้องเพื่อขับเคลื่อนอนาคตของธุรกิจได้ที่ gartner.com


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

บรรยากาศเปิดบ้าน KMUTNB OPEN HOUSE (ADMISSION 2025)

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ได้จัดกิจกรรม KMUTNB OPEN HOUSE (ADMISSION 2025) “มจพ. นวัตกรรมและความยั่งยืน : ร่วมกันเพื่อวันพรุ่งนี้ (KMUTNB Innovation & Sustainability : Together for Tomorrow)    มจพ. กรุงเทพฯ  และวิทยาเขตระยอง  โดยได้รับความสนใจจากผู้ปกครองและน้อง ๆ นักเรียนเป็นจำนวนมาก เมื่อวันที่ 4-5 ตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กรุงเทพฯ   มจพ. วิทยาเขตปราจีนบุรี  และ มจพ. วิทยาเขตระยอง กำลังเปิดรับสมัครนักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2568 ตั้งแต่บัดนี้ ถึง 15 มิถุนายน 2568  ในสาขาวิชาต่างๆ

สามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ https://stdadmis2.kmutnb.ac.th/ApplyStart?ReturnUrl=%2f

หรืออ่านระเบียบการรับสมัครแต่ละคณะได้ที่ https://admission.kmutnb.ac.th/apply/round

หรือสอบถามเพิ่มเติ่มได้ที่ กลุ่มงานรับเข้าศึกษา กองบริการการศึกษา สำนักงานอธิการบดี ชั้น 2 อาคาร TGGS มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ  กรุงเทพฯ  โทรศัพท์ 0-2555-2000 ต่อ 1626,1627 และที่  facebook : Admission.KMUTNB – กลุ่มงานรับเข้าศึกษา มจพ.

ขวัญฤทัย ข่าว


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

CITE DPU เปิดโลกการศึกษายานยนต์สมัยใหม่ เรียนกับตัวจริง เส้นทางสู่คนเก่ง อุตสาหกรรมรถ EV

วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี (CITE) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) ปักหมุดผู้นำการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ ตอกย้ำมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกในไทยกับหลักสูตรวิศวกรรมยานยนต์ มุ่งเน้น เรียนกับตัวจริงลงมือทำตอบโจทย์โลกธุรกิจ พร้อมเปิดบ้านรับ ม.ปวช. ปวสความหวังกำลังหลักขับเคลื่อนตลาดรถไฟฟ้าที่เติบโตไม่หยุด

จากสภาวะโลกร้อนส่งผลให้ทุกภาคส่วนขับเคลื่อนเป้าหมายเพื่อลดผลกระทบด้านสภาพอากาศให้มากที่สุด โดยประเทศไทยมีเป้าหมายการเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutralityในปี 2050 และเตรียมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net zeroภายในปี 2065 ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับประชาคมโลก ส่งผลให้คนไทยหันมาลดการใช้รถยนต์สันดาปที่ใช้พลังงานฟอสซิลไปสู่รถ EV (Electric Vehicle) กันมากขึ้น จากข้อมูลสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ในปี 2023 ยอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี (BEVในไทย 49,952 คัน เพิ่มขึ้นเป็น เท่าจากปี 2022 ที่มียอดจดทะเบียน ประมาณ 20,815 คัน

ทั้งนี้ การขับเคลื่อนในส่วนของการศึกษาที่ขานรับกับแนวโน้มตลาดรถยนต์ไฟฟ้าที่ขยายตัว ทางวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี (College of Engineering and Technology  CITEหน่วยงานในมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้พัฒนาหลักสูตรวิศวกรรมยานยนต์สมัยใหม่ เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมที่ต้องการบุคลากรและนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ และป้อนคนเก่งเข้าสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในอนาคต

ผู้นำการสอนเทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่

อาจารย์โสภณ โพธิ์ขาว อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรวิศวกรรมยานยนต์สมัยใหม่ วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี (College of Engineering and Technology  CITEเปิดเผยว่า อุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าเป็นตลาดใหญ่ที่เติบโตค่อนข้างเร็วและมีศักยภาพมาก อีกทั้งมีความต้องการของตลาดงานสูง นักศึกษาที่เรียนด้านเทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่และยานยนต์ไฟฟ้าจะมีโอกาสทำงานในตลาดที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว เนื่องจากโลกกำลังเปลี่ยนไปสู่การใช้ยานยนต์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น 

“ที่ CITE DPU เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งเดียวในไทยที่มีวิชาแบตเตอรี่ ทำให้นักศึกษาได้ลงมือแพ็คแบตเอง ตั้งค่าและทดสอบแบต จนกระทั่งเอาไปใช้งานในยานยนต์จริง” อาจารย์โสภณ กล่าว

เรียนกับตัวจริง อัดแน่น ความรู้ลงมือทำ

อาจารย์โสภณ กล่าวว่า ตลาด EV เติบโตต่อเนื่อง จากประสบการณ์ที่ทำงานอยู่ในสายงานนี้มา 24 ปี เริ่มจากช่างเทคนิค วิศวกรภาคสนาม วิศวกรเทคนิค ผู้จัดการแผนกเทคนิค ให้กับบริษัทรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่น ยุโรป และอเมริกา อีกทั้งส่วนตัวชอบการแต่งรถ Custom และสร้างรถมอเตอร์ไซค์เป็นงานอดิเรก พร้อมทั้งสร้างผลงานออกมาอย่างต่อเนื่อง โดย CYBER BUG เป็นการออกแบบแนว Futuristic ขณะที่ Space Samurai เป็นรุ่นชนะเลิศ ประเภท  Electric bike งาน Bangkok Motor Bike Festival 2022 ตามมาด้วย Neo 50’s เป็นแนว Cyberpunk รับรางวัล Guest pick ‘ งาน Bangkok Hot Rod Custom Show 2024  Bangkok Disorder และ SP1 classic ซึ่งเป็นอีกหนึ่งผลงานที่ได้รับการยอมรับ

“ผมชอบมอเตอร์ไซค์ รถยนต์ ชิ้นส่วนกลไก มาตั้งแต่ช่วงวัยรุ่น จึงเลือกเรียนช่างยนต์ จากนั้นมีโอกาสทำงานในบริษัทรถยนต์รายใหญ่สัญชาติญี่ปุ่น ยุโรป และอเมริกาก่อนจะศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี จบอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิตเครื่องกล (อส.บ.) เกียรตินิยมอันดับ และเรียนต่อปริญญาโท การจัดการทางวิศวกรรม จากความชอบในการสร้างมอเตอร์ไซค์ทั้งแบบเครื่องยนต์และแบบไฟฟ้า ทำให้อยากถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ตลอด 24 ปีให้กับน้อง ๆ ที่จะเป็นกำลังสำคัญของประเทศต่อไป” อาจารย์โสภณกล่าว

ความโดดเด่นของหลักสูตรวิศวกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (Bachelor of Engineering in Modern Automotive Engineeringเป็นหลักสูตรที่เน้นการเรียนการสอน ระบบควบคุมรถยนต์ ระบบ AI และการปรับแต่งเครื่องยนต์ด้วยตัวเอง โดยมีห้องปฏิบัติการเฉพาะทางที่ทันสมัย เพื่อการเรียนรู้เทคโนโลยีล่าสุดของรถยนต์ไฟฟ้า ตั้งแต่ระบบขับเคลื่อนไปจนถึงการออกแบบแบตเตอรี่ พร้อมลงมือปฏิบัติจริงกับรถยนต์ไฟฟ้าที่พัฒนาขึ้นเอง

“ทั้งระหว่างการเรียน และเมื่อเรียนจบออกไป นักศึกษาจะสามารถออกแบบและสร้างรถอย่าง ebike คันนี้ได้อย่างแน่นอน” อาจารย์โสภณ กล่าว

เรียนจบไม่ตกงาน

อาจารย์โสภณ กล่าวว่า แนวโน้มตลาดยานยนต์ไฟฟ้ากำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้มีความต้องการวิศวกรที่มีความรู้เฉพาะทางเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการพัฒนาอย่างยั่งยืนและประสิทธิภาพการใช้พลังงานทดแทน และการลดการปล่อยมลพิษ จึงเป็นโอกาสของบุคลากรที่มีความรู้ในด้านนี้ในการเข้าทำงานได้ในหลากหลายสายงาน เช่น การออกแบบยานยนต์การผลิตยานยนต์การวิจัยและพัฒนา รวมถึงการบริหารจัดการ

โดยหลักสูตรวิศวกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (Bachelor of Engineering in Modern Automotive Engineeringเปิดรับนักเรียน นักศึกษาที่สำเร็จ ม.6 และ ปวช. ทุกสาขาวิชา ในภาคปกติ และหลักสูตรเทียบโอน ปี และ เทียบโอนพิเศษเรียนเฉพาะวันเสาร์และอาทิตย์ สำหรับนักศึกษาที่สำเร็จ ปวส.

“นักศึกษาที่เรียนจบจากหลักสูตรนี้สามารถขอใบรับรองความรู้ความชำนาญจากสภาวิศวกรในสาขาวิศวกรรมยานยนต์ พร้อมกับโอกาสการศึกษาดูงานที่บริษัทยักษ์ใหญ่ด้าน EV ของจีน พร้อมกันนี้ขอฝากถึงน้อง ม.หรือ ปวชปวส. ที่สนใจวิศวกรรมยานยนต์สมัยใหม่ และกำลังตัดสินใจเลือกเรียน สาขานี้จะเป็นโอกาสที่น้อง ๆ จะได้พัฒนาทักษะในด้านยานยนต์ไฟฟ้าและเทคโนโลยีอัจฉริยะ ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงาน ถ้าใครมีความชอบด้านเทคโนโลยีล้ำสมัย วิศวกรรมยานยนต์สมัยใหม่จะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของการเรียนที่น่าสนใจ” อาจารย์โสภณกล่าว

เส้นทางสู่โอกาสการสร้างนวัตกรรมใหม่ และเตรียมความพร้อมสู่ผู้นำการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า กับ หลักสูตรวิศวกรรมยานยนต์สมัยใหม่ วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ DPU รายละเอียดเพิ่มเติมที่  https://cite.dpu.ac.th/courseAE.html


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

แนวทางป้องกันพื้นฐานรับมือความเสี่ยงและคุณค่าของ AI

การนำ Generative AI มาใช้อย่างรวดเร็วก่อให้เกิดข้อถกเถียงอย่างมากถึงผลกระทบของ AI ที่มีต่อสังคม ซึ่งองค์กรจะต้องสร้างสมดุลระหว่างศักยภาพเทคโนโลยีที่มีความสำคัญนี้กับความเสี่ยงใหม่ ๆ ที่อาจเกิดขึ้น โดยเฉพาะการใช้ AI ไปในทางที่ผิด

องค์กรควรมีแนวทางป้องกันอย่างเหมาะสมเพื่อยกระดับศักยภาพเทคโนโลยี พร้อมรับมือความท้าทายที่เกิดขึ้น ซึ่งสามารถทำได้โดยการวางกรอบการกำกับดูแลหรือ Governance Framework ที่มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับให้เหมาะกับคุณสมบัติเฉพาะของ AI พร้อมมั่นใจว่าเทคโนโลยีนี้จะได้รับการนำไปใช้อย่างปลอดภัยและมีความรับผิดชอบแต่แท้จริง AI Governance คืออะไร และเหตุใดองค์กรควรให้ความสำคัญอย่างจริงจัง?

แม้เป็นคำที่ดูสวนทางกัน แต่การกำกับดูแลที่ดีนั้นทำให้เกิดนวัตกรรมที่ดียิ่งกว่า เนื่องจากนำเสนอข้อจำกัดและแนวทางป้องกันที่ทำให้องค์กรสามารถทำความเข้าใจกับคำถามทั้งในด้านคุณค่าและความเสี่ยงของ AI รวมถึงมีพื้นที่สร้างสรรค์นวัตกรรมและผลลัพธ์

การขยายขอบเขตการใช้งาน AI โดยปราศจากการควบคุมดูแลนั้นทำให้ไม่เกิดประสิทธิภาพและเป็นอันตราย สังคมต่างคาดหวังให้องค์กรดำเนินงานด้วยความโปร่งใส รับผิดชอบและมีจริยธรรม ดังนั้นการควบคุมดูแล AI จึงมีความจำเป็นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการทางสังคมเหล่านี้ พร้อมยังคงให้ความสำคัญกับความก้าวหน้าในการจัดการกับความซับซ้อน ความคลุมเครือ และวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีที่เปลี่ยนรวดเร็ว

นอกจากการพิจารณาผลกระทบต่อสังคมวงกว้างและการปฏิบัติตามกฎระเบียบ องค์กรจำเป็นต้องสร้างสมดุลระหว่างข้อกำหนดเพื่อสร้างความไว้วางใจในการแข่งขันและควบคุมการใช้งานในที่ทำงานร่วมกับคุณค่าทางธุรกิจ ความเสี่ยงต่อองค์กร รวมถึงความเป็นส่วนตัวของพนักงาน ลูกค้าและพลเมืองตามปัจเจกบุคคล

ตัวอย่างเช่น การกำกับดูแล AI จะต้องกำหนดแนวทางการลดอคติและมีข้อกำหนดเพื่อตรวจสอบ โดยคำนึงถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรมและระเบียบข้อบังคับที่คุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลและกลุ่มบุคคล อคติสามารถส่งผลลบต่อระดับการยอมรับ AI ในองค์กรและในสังคมภาพรวมได้ ซึ่งอคติถือเป็นปัญหาร้ายแรงขององค์กรข้ามชาติ เนื่องจากในแต่ละประเทศมีบรรทัดฐานทางวัฒนธรรมและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องแตกต่างกัน อาทิ กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น

สิ่งสำคัญสำหรับองค์กรคือการชี้ชัดบุคลากรที่จะมาจัดการกับปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับองค์กร สังคม ลูกค้า และพนักงาน ซึ่งควรเป็นผู้ที่มีแนวคิด มีพื้นฐานความรู้และมีบทบาทหลากหลาย จากนั้นแยกแยะการตัดสินใจในการกำกับดูแลและสิทธิการตัดสินใจ โดยใช้ความเชี่ยวชาญและมุมมองที่พวกเขามีสิทธิการตัดสินใจสำหรับกำหนดอำนาจและความรับผิดชอบสำหรับธุรกิจ เทคโนโลยี รวมถึงการตัดสินใจทางจริยธรรม ซึ่งควรมุ่งความสนใจไปที่ AI Content เป็นสิ่งสำคัญที่สุด โดยต้องได้รับการควบคุมดูแลอย่างเข้มงวด แต่ในทางกลับกัน องค์กรสามารถให้มีอิสระในการตัดสินใจด้าน AI Content ที่ไม่สำคัญได้ ขณะที่พนักงานที่ใช้ AI ช่วยทำงานจะต้องตระหนักว่าพวกเขาต้องรับผิดชอบต่อผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ขจัดความซับซ้อนของ AI ด้วยการกำกับดูแล

AI พัฒนาอยู่ท่ามกลางภูมิทัศน์ทางเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงและมีความซับซ้อนอยู่ตลอด รวมถึงมีความคลุมเครือตามธรรมชาติของเทคโนโลยีนี้ ที่สามารถนำไปสู่การขาดความเข้าใจถึงผลกระทบต่อชื่อเสียง ธุรกิจ และสังคม

การกำกับดูแลควรสะท้อนถึงคุณลักษณะการทำงานข้ามฟังก์ชันและคาดการณ์การทำงานของ AI โดยสิ่งที่องค์กรหลายแห่งมักก่อข้อผิดพลาด คือ การกำหนดให้ AI Governance เป็นโครงการแบบ Standalone ซึ่งแท้ที่จริงควรเป็นการขยายขอบเขตของมาตรการที่มีอยู่เดิมในองค์กรต่างหาก

การดึงประสิทธิภาพจากแนวทางการกำกับดูแลที่มีอยู่เดิมและการนำแนวทางที่เคยประสบความสำเร็จแล้วกลับมาใช้ซ้ำจะทำให้การจัดการผลกระทบของ AI เป็นเรื่องที่เข้าใจง่ายขึ้นและลดความท้าทายน้อยลง แม้จะมีแนวทางมากมายนำไปใช้กับ AI ได้ เช่น การจำแนกข้อมูล การกำหนดมาตรฐาน และการกำหนดแนวทางการสื่อสาร แต่ก็มีแนวทางที่เป็นลักษณะเฉพาะเช่นกัน ได้แก่ การสร้างความน่าเชื่อถือ ความโปร่งใส และความหลากหลาย รวมถึงวิธีการที่จะนำไปใช้ร่วมกับผู้คน ข้อมูล และเทคนิคต่าง ๆ ก็ถือเป็นสิ่งสำคัญ

การตัดสินใจสำคัญเกี่ยวกับ AI ในองค์กรหลายแห่ง กระทำผ่านคณะกรรมการด้าน AI หรือ AI Council โดยทั่วไปผู้ที่นั่งเป็นประธานจะเป็น ผู้บริหาร CIO หรือ CDAO และมีกลุ่มคณะทำงานที่เป็นตัวแทนจากหน่วยธุรกิจอื่น ๆ ทั่วทั้งองค์กรมาร่วมด้วย โดยกลุ่มคณะกรรมการที่มีความหลากหลายนี้จำเป็นต้องทำงานสัมพันธ์โดยตรงร่วมกับกลุ่มผู้มีหน้าที่กำกับดูแลอื่น ๆ เพื่อเป็นแกนนำในความพยายามผลักดัน AI Governance 

ภารกิจแรกของคณะกรรมการ คือ การรับรองการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง แม้ว่าความเป็นส่วนตัวจะเป็นข้อกังวลสูงสุดและเห็นชัดเจนสุด แต่ก็ยังมีข้อกำหนดทางกฎหมายและข้อกำหนดเฉพาะของแต่ละอุตสาหกรรมทุกประเภทที่ต้องปฏิบัติตาม

การกำกับดูแล AI เริ่มจากความต้องการสนับสนุนเป้าหมายทางธุรกิจ โดยเป้าหมายของ AI ในโครงการนำร่องหรือในกระบวนการพิสูจน์เชิงแนวคิด หรือ Proof Of Concept (POC) นั้นควรเป็นการพิสูจน์คุณค่าตามที่คณะกรรมการกำหนดและอนุมัติร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางธุรกิจอื่น ๆ ไม่ใช่การวัดผล เช่น ความแม่นยำ หรือเปรียบเทียบกับเครื่องมือเทคนิคอื่น ๆ 

สำหรับองค์กรที่ใช้ AI ขั้นสูง หรือ AI-Advanced Organisations ยังรวมถึงการกำกับดูแลวงจรชีวิต AI ทั้งหมด ตามเป้าหมายเพื่อให้สามารถนำส่วนประกอบ AI กลับมาใช้ใหม่ได้ พร้อมเร่งการส่งมอบ รวมถึงการปรับขนาดการใช้ AI ให้ครอบคลุมทั่วทั้งองค์กร 

เกี่ยวกับผู้เขียน

สเวตลานา ซิคูลาร์ เป็นรองประธานนักวิเคราะห์การ์ทเนอร์ ที่มีความเชี่ยวชาญด้าน Generative AI พร้อมเป็นผู้บุกเบิกการวิจัยตั้งแต่ยุคแรกเริ่ม อันนำไปสู่การใช้ AI อย่างมีความรับผิดชอบ ได้แก่ AI Governance, Augmented Intelligence และ Big Data

เกี่ยวกับการ์ทเนอร์ 

บริษัท การ์ทเนอร์ (Gartner, Inc.) (NYSE: IT) คือบริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาชั้นนำของโลก มอบข้อมูลเชิงลึก คำแนะนำ และเครื่องมือต่าง ๆ แก่ผู้บริหารองค์กรธุรกิจ เพื่อรองรับการดำเนินภารกิจสำคัญที่มีอยู่ในปัจจุบันและสร้างองค์กรให้ประสบความสำเร็จในอนาคต ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางของการ์ทเนอร์ในการช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจอย่างถูกต้องเพื่อขับเคลื่อนอนาคตของธุรกิจได้ที่ gartner.com


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

เอปสันกระตุ้นสังคมไทยใส่ใจปัญหาภาวะโลกร้อน ด้วยเรือนกระจกจำลองจากขยะขวดพลาสติก

นายยรรยง มุนีมงคลทร ผู้อำนวยการบริหาร และนางสาวปวีณา ศรีตระกูล หัวหน้าฝ่ายบริหารผลิตภัณฑ์และการตลาด บริษัท เอปสัน (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมเปิดกิจกรรม “Greenhouse Effect: Plastic Trap Stimulation” หนึ่งใน “From Waste To Worth” แคมเปญเพื่อสังคมประจำปีงบประมาณ 2567 ของบริษัทฯ ที่มุ่งผลักดันประเด็น “การลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากขวดพลาสติก” เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ข้อที่ 12 ขององค์การสหประชาชาติ ว่าด้วยเรื่องของการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน โดยกิจกรรมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ที่จะหว่านเมล็ดความยั่งยืนในสังคมไทยด้วยการสร้างจิตสำนึกถึงการลด การรีไซเคิล และการนำขยะขวดพลาสติกกลับมาใช้ใหม่ ผ่านการสื่อสารภายในและนอกองค์กร

กิจกรรม “Greenhouse Effect: Plastic Trap Stimulation” เป็นกิจกรรมแนว social experiment ที่จำลองภาวะเรือนกระจกที่เกิดขึ้นกับโลก ด้วยเรือนกระจกที่ทำจากขวดพลาสติกที่ใช้แล้ว 1,400 ขวด ซึ่งจะปล่อยให้แสงแดดผ่านเข้าไปภายใน แต่เก็บกักความร้อนไว้ไม่ให้ระบายออกมาได้อย่างเต็มที่ คล้ายกับวิธีที่ก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ อย่าง ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทน หรือ ก๊าซไนตรัสออกไซด์ ทำกับโลก ทำให้อุณหภูมิภายในเรือนเพิ่มสูงขึ้น และร้อนกว่าอากาศภายนอก 1-4 องศาเซลเซียสระหว่างวัน โดยเอปสัน ประเทศไทย ได้นำเรือนกระจกจำลองดังกล่าวไปทำการทดลองกับผู้มาใช้บริการมากกว่า 200 คน ที่สยามสแควร์ ก่อนที่จะย้ายมาที่อาคารปัน ที่ตั้งของบริษัทฯ เพื่อให้พนักงานเอปสัน และผู้ที่สัญจรแถวอาคารปันได้ร่วมกิจกรรม โดยหลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรมดังกล่าว บริษัทฯ จะนำเรือนกระจกจำลองนี้ไปมอบให้แก่โรงเรียนวัดขุนทิพย์ (สาครราษฎร์บำรุง) อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อใช้ทำเป็นโรงเรือนปลูกผักปลอดสารพิษสำหรับอาหารกลางวันเด็กนักเรียนต่อไป


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

อุทยานเทคโนโลยี มจพ. วิทยาเขตระยอง รับสมัครนักศึกษาใหม่ โควตาเรียนดี ปี 68

อุทยานเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมพระนครเหนือ วิทยาเขตระยอง รับสมัครนักศึกษาโครงการรับสมัครนักศึกษาใหม่ โควตาเรียนดี ครั้งที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2568 เปิดรับสมัครระหว่างวันที่ 23 กันยายน 2567 ถึง วันที่ 8 พฤศจิกายน 2567 ในหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต ระดับปริญญาตรี ในสาขาวิชาเทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่และระบบอัตโนมัติ (MATA) โดยการจัดการเรียนการสอน ดังนี้ หลักสูตรเรียนในเวลาราชการ 2 ปี (MATA-RA)  (จัดการเรียนการสอน วันจันทร์วันศุกร์) และหลักสูตรเรียนนอกเวลาราชการ 3 ปี (MATA-TA)  (จัดการเรียนการสอน วันศุกร์เย็นวันเสาร์) โดยจัดการเรียนการสอนที่ ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมทรัพยากรมนุษย์เพื่ออุตสาหกรรม ต. มาบตาพุต อ.เมืองระยอง จ. ระยอง

สามารถสมัครออนไลน์ที่ https://shorturl.asia/P05mr  หรือ สอบถามรายละเอียดที่กลุ่มงานรับเข้าศึกษา โทรศัพท์ 0-2555-2000 ต่อ 1626, 1627 หรือ อีเมล์ admission@op.kmutnb.ac.th

Facebook กลุ่มงานรับเข้าศึกษา มจพ. หรือสอบถามเพิ่มเติ่มได้ที่ งานการตลาดและประชาสัมพันธ์ อุทยาเทคโนโลยี มจพ. โทรศัพท์ 0-2555-2000 ต่อ 1789

ขวัญฤทัย ปชส.มจพ. ข่าว


Exit mobile version