บริษัท อีตั้น อิเล็คทริค ประเทศไทย จำกัด นำโดย นายรัฐกร รักยุติธรรม ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายผลิตภัณฑ์ตั
บริษัท อีตั้น อิเล็คทริค ประเทศไทย จำกัด นำโดย นายรัฐกร รักยุติธรรม ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายผลิตภัณฑ์ตั
อีริคสัน (NASDAQ: ERIC) ผู้นำเทคโนโลยีโทรคมนาคมระดับโลก ตอกย้ำให้เห็นถึงบทบาทสำคัญของการเป็นผู้บุกเบิกและกำหนดอนาคตการเชื่อมต่อ ภายในงาน Innovate Asia 2024 ซึ่งจัดขึ้นที่โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ ในกรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 5-7 พฤศจิกายน 2567 ซึ่งถือเป็นเวทีสำคัญสำหรับผู้นำอุตสาหกรรม นวัตกรทางธุรกิจ และผู้ให้บริการโทรคมนาคม เพื่อเข้าถึงความก้าวหน้าล่าสุดของเทคโนโลยี 5G, ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และระบบอัตโนมัติที่กำลังปฏิวัติเครือข่ายโทรคมนาคมทั่วโลก
ในงานนี้ อีริคสันและผู้ให้บริการโทรคมนาคมจากทั่วภูมิภาค ได้แก่ Grameenphone, Indosat Ooredoo Hutchison (IOH), Singtel และ Telstra ได้ร่วมกันหารือเกี่ยวกับหัวข้อต่าง ๆ ที่น่าสนใจ อาทิ วิวัฒนาการเครือข่าย 5G ไปสู่ 5G Standalone และเครือข่ายประสิทธิภาพสูง รวมถึงเครือข่ายที่สามารถตั้งโปรแกรมได้ อีริคสันยังได้พูดคุยเกี่ยวกับกลยุทธ์ที่สามารถนำไปใช้ได้จริงเพื่อเอาชนะความท้าทายด้านระบบอัตโนมัติ การเพิ่มขีดความสามารถของการดำเนินงาน และการนำ AI มาเพิ่มประสิทธิภาพให้กับเครือข่าย ผ่านการทำงานร่วมกับทั้งพันธมิตรและนักพัฒนาชาวไทยเพื่อสำรวจว่า 5G, AI และระบบอัตโนมัติสามารถตอบโจทย์ความต้องการที่เฉพาะของประเทศไทยได้ เช่น การพัฒนาโครงการเมืองอัจฉริยะ การสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล และการสร้างเครือข่ายที่ยั่งยืนพร้อมรับอนาคต
IOH และอีริคสันประกาศความสำเร็จในการร่วมมือกันติดตั้งแพลตฟอร์มการสร้างรายได้ดิจิทัล หรือ Digital Monetization Platform (DMP) แบบครบวงจรเป็นรายแรกของโลก เพื่อมอบประโยชน์ให้แก่ผู้ใช้บริการ IOH ในประเทศอินโดนีเซียที่มีอยู่ราว 100 ล้านราย ด้วยเวลาเพียง 18 วัน โดยผู้ใช้บริการเติมเงินของ IOH กว่า 83 ล้านราย จะได้รับการโอนย้ายอย่างราบรื่นโดยไม่มีการหยุดชะงักหรือมีผลกระทบต่อประสบการณ์ใช้งาน สำหรับแพลตฟอร์ม DMP เป็นส่วนหนึ่งของพอร์ตโฟลิโอระบบสนับสนุนธุรกิจโทรคมนาคม (BSS) ของอีริคสัน ที่ออกแบบมาเพื่อเร่งเสริมบริการดิจิทัลของ IOH รวมถึงความพร้อมสำหรับ 5G และประสบการณ์ B2B ขั้นสูง โดยระบบใหม่นี้ช่วยให้สามารถสร้างบริการได้เร็วขึ้น มีส่วนร่วมกับลูกค้าได้ดีขึ้น และมีความยืดหยุ่นมากขึ้นสำหรับโมเดลธุรกิจในอนาคต
การติดตั้ง DMP Stack ซึ่งรวมถึงการโอนย้ายฐานผู้ใช้บริการเติมเงิน เสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2567 แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาขีดความสามารถทางดิจิทัลของอินโดนีเซียอย่างก้าวกระโดดและแข็งแกร่ง เมื่อเปิดการใช้งาน 5G แพลตฟอร์มนี้จะช่วยให้ IOH สามารถสำรวจโมเดลธุรกิจใหม่ ๆ เช่น Network Slicing โซลูชันที่สามารถปรับแต่งการเชื่อมต่อให้ตรงกับความต้องการเฉพาะของลูกค้า ยกระดับประสบการณ์การใช้งานได้ทั้งผู้บริโภคและองค์กร
ในระหว่างงานนี้ อีริคสันและ IOH ยังได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) ร่วมกันเพื่อสานต่อความร่วมมือสำหรับการใช้ประโยชน์จากศักยภาพของปัญญาประดิษฐ์เชิงสร้างสรรค์ (Gen AI) และการเรียนรู้ของเครื่อง (AI/ML) ทั้งในแพลตฟอร์ม DMP และระบบ BSS จากความร่วมมือเหล่านี้ ทั้งสองบริษัทมีความตั้งใจจะเร่งการสร้างรายได้จากแพลตฟอร์ม DMP และร่วมกันสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ที่จะเพิ่มรายได้และย่นระยะเวลาการนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด
Grameenphone ผู้ให้บริการโทรคมนาคมเคลื่อนที่รายใหญ่ที่สุดของบังกลาเทศ ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) กับอีริคสัน เพื่อร่วมมือกันพัฒนาเทคโนโลยี AI และระบบอัตโนมัติสำหรับใช้ขับเคลื่อนนวัตกรรมและสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนทั่วบังกลาเทศ โดย MoU ฉบับนี้ได้กำหนดกรอบความร่วมมือระหว่าง Grameenphone และอีริคสัน โดยทั้งสองบริษัทจะมุ่งเน้นด้านนวัตกรรมและการเติบโตที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานการแบ่งปันแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดระดับโลก การปรับแผนงานผลิตภัณฑ์ และการเปิดตัวโครงการนำร่อง รวมถึง Lighthouse Projects ต่าง ๆ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับความพยายามร่วมกันในการพัฒนาและทดสอบเทคโนโลยีใหม่ ๆ โดยอีริคสันยังเตรียมเปิดตัวฟีเจอร์ล่าสุด ได้แก่ ความสามารถใหม่ ๆ ในการใช้ AI หรือ AI-Led Intent-Based Operations Capabilities ซึ่งได้รับรางวัลการันตีคุณภาพ สำหรับเสริมประสิทธิภาพการดำเนินงานบนเครือข่ายให้กับ Grameenphone ในการช่วยจัดการบริการ สนับสนุน และมอบข้อเสนอที่ดียิ่งขึ้นให้กับลูกค้า
MoU ที่ลงนามระหว่างงาน Innovate Asia 2024 จะช่วยยกระดับและพัฒนาความร่วมมือระหว่าง Grameenphone และอีริคสัน ที่เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2541
เมื่อ 5G พัฒนายิ่งขึ้นและมีผู้ให้บริการด้านการสื่อสารนำ 5G SA มาใช้มากขึ้น คาดว่าความสนใจของผู้ให้บริการหลายรายจะเปลี่ยนไปสู่การพัฒนาข้อเสนอการเชื่อมต่อที่แตกต่าง โดยการเชื่อมต่อที่โดดเด่นและมีประสิทธิภาพนี้เกิดขึ้นได้จากความสามารถของเครือข่าย 5G SA เช่น โซลูชัน Network Slicing และอื่น ๆ ยูสเคสการใช้งาน อย่างเช่น Fixed Wireless Access (FWA), Cloud Gaming, E-Sports และ Live Streaming จะได้รับประโยชน์จากความสามารถเหล่านี้ด้วย ปัจจุบันแม้ว่าผู้ให้บริการกำลังส่งมอบประโยชน์ของ 5G ให้กับผู้บริโภคและองค์กร พวกเขามีโอกาสที่จะเปลี่ยนเครือข่ายให้เป็นแพลตฟอร์มเพื่อนวัตกรรม โดยทำให้ความสามารถของเครือข่าย 5G ขั้นสูงพร้อมใช้งานสำหรับชุมชนนักพัฒนาทั่วโลกผ่านเครือข่ายแบบเปิด (API)
แอนเดรส วิเซนเต้ หัวหน้าภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โอเชียเนีย และอินเดียของอีริคสัน กล่าวระหว่างการพูดคุยในหัวข้อ ‘Strategic Business Evolution’ ว่า “การผสานพลังของเครือข่ายประสิทธิภาพสูงที่สามารถตั้งโปรแกรมได้ ร่วมกับ API เครือข่ายและระบบนิเวศของนักพัฒนาที่หลากหลาย จะสร้างเครือข่ายทรงพลังที่ช่วยสร้างการเติบโตและพัฒนานวัตกรรมสำหรับภาคโทรคมนาคม และยังเป็นโอกาสที่ยิ่งใหญ่ของประเทศไทยที่มีระบบนิเวศสตาร์ทอัพที่เพียบพร้อม”
“5G Standalone ไม่ใช่แค่การเชื่อมต่อที่รวดเร็วขึ้นเท่านั้น แต่เป็นการสร้างโมเดลธุรกิจใหม่และขยายโอกาสด้านนวัตกรรมให้กับทุกภาคส่วนของอุตสาหกรรม ด้วยการนำศักยภาพของ 5G มาใช้อย่างเต็มที่ โดยผู้ให้บริการด้านการสื่อสารสามารถนำเสนอบริการที่แตกต่าง ไม่เพียงแต่ตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภค แต่ยังเปิดโอกาสการเติบโตใหม่ ๆ ให้กับอุตสาหกรรมด้วย” แอนเดรสกล่าวสรุป
อีริคสันเป็นผู้นำ 5G ระดับโลกและได้รับการยอมรับในฐานะผู้นำอุตสาหกรรมจากรายงาน Frost Radar™: Global 5G Network Infrastructure Market ซึ่งการรักษาอันดับผู้นำสูงสุดในรายงาน Frost Radar™ ตลอดหลายปีที่ผ่านมานี้ได้ตอกย้ำให้เห็นว่าอีริคสันให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนา รวมถึงพอร์ตโฟลิโอผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ซึ่งครอบคลุมทุกด้านของโครงสร้างพื้นฐานเครือข่าย 5G รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายในรุ่นก่อนหน้า มีคุณค่าในตลาดที่เทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
3 พฤศจิกายน 2567 – บริษัท แอดไวซ์ ไอที อินฟินิท จำกัด (มหาชน) ตอกย้ำความแข็งแกร่งในตลาด Apple ด้วยการเปิด Advice iStore สาขาที่ 3 ณ ใจกลางเมืองอุดรธานี ภายในระยะเวลาเพียง 2 เดือน สะท้อนความต้องการของผู้บริโภคในภูมิภาค และความพร้อมในการรุกตลาดอย่างเต็มรูปแบบ
นายณัฏฐ์ ณัฐนิธิการัชต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดไวซ์ ไอที อินฟินิท จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “การเติบโตอย่างก้าวกระโดดของ Advice iStore ทั้ง 3 สาขาในเวลาเพียง 2 เดือน สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพและความพร้อมของแอดไวซ์ในทุกด้าน ทั้งเงินลงทุน ทีมงานมืออาชีพ และโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่ง โดยเฉพาะการเป็น ‘สิงห์ภูธร’ ที่มีฐานลูกค้าและเครือข่ายสาขาครอบคลุมทั่วประเทศ ทำให้เราเข้าใจและตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในแต่ละพื้นที่ได้อย่างแท้จริง”
ด้วยกระแสตอบรับที่เกินคาด แอดไวซ์จึงเร่งเดินหน้าขยายสาขาเพิ่มเป็น 8 แห่งภายในสิ้นปี 2567 และวางเป้าหมายทะยานสู่ 35 สาขาภายในปี 2568 เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง “เราไม่ใช่แค่ตัวแทนจำหน่ายแต่เราคือผู้เล่นตัวจริงในตลาด Apple ที่พร้อมมอบประสบการณ์ระดับพรีเมียมครบวงจร ตั้งแต่ผลิตภัณฑ์ไปจนถึงบริการหลังการขายที่ได้มาตรฐาน ด้วยจุดแข็งของแอดไวซ์ที่เป็น Top of Mind ของลูกค้าต่างจังหวัดทั่วประเทศ ผนวกกับความเชี่ยวชาญในธุรกิจไอทีมากกว่า 20 ปี ทำให้เรามั่นใจว่าจะสามารถยกระดับการเข้าถึงเทคโนโลยี Apple ให้กับผู้บริโภคทั่วประเทศได้อย่างแท้จริงในฐานะ Apple Authorized Reseller ” นายณัฏฐ์กล่าวทิ้งท้าย.
ไฮไลท์โปรโมชั่นต้อนรับการเปิด Advice iStore จ.อุดรธานี ระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม – 30 พฤศจิกายน 2567
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.advice.co.th/branch-promotion/4578
ทีมนักศึกษา ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมเครื่องกล วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) คว้า 2 รางวัลชนะเลิศ จากการแข่งขันการควบคุมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม 4.0 ประเภทที่ 5 การแข่งขันตรวจสอบชิ้นงานอุสาหกรรมด้วยเครื่อง 3D Laser Scanner ในงานนิทรรศการสื่อการศึกษาและการประชุมนานาชาติ didacta asia 2024 โดยมีนายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีมอบถ้วยรางวัล เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2567 ณ ศูนย์นิทรรศการและประชุมไบเทค ดังนี้
1. ถ้วยรางวัลชนะเลิศพระราชทานจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จากการแข่งขันควบคุมหุ่นยนต์อัตโนมัติ สมาชิกมีนายธนดล สวนเวียง และนายชยุตพงศ์ บุษยากร ผศ.ดร.ณัฐพล บุญอธึก เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
2. ถ้วยรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ สมาชิกมีนายณัฐกิตติ์ สุวรรณโล และนายอัลฮาดิช แซะเด็ง ผศ.ดร.ณัฐพล บุญอธึก เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
โดยมีวัตถุประสงค์พัฒนาวิชาชีพด้านอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ให้เกิดศักยภาพและสมรรถนะสูงสุดพร้อมเข้าสู่โลกอุตสาหกรรมเพื่อเพิ่มพูนทักษะความรู้และประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนนักศึกษาและผู้ที่สนใจได้ขยายขอบเขตความรู้ของตนในด้านการออกแบบและการสร้างหุ่นยนต์รวมถึงการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ควบคุมหุ่นยนต์โดยการจัดความร่วมมือระหว่างสำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ชีเทคไดแด็คติค จำกัด และเครือข่ายภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน, สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, มหาวิทยาลัยรามคำแหง, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ โดยมีทีมเข้าแข่งขัน 40 ทีม
ขวัญฤทัย ข่าว –ภาพ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) และมหาวิทยาลัยลอร์แรน (University of Lorraine) จากประเทศฝรั่งเศส ได้ร่วมกันเป็นเจ้าภาพในการจัดงานประชุมวิชาการนานาชาติด้านวัสดุและพลังงาน หรือ ICOME2024 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยจะได้เป็นเจ้าภาพในการจัดงาน ICOME2024 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 30-31 ตุลาคม 2567 ณ โรงแรม อวานี รัชดา กรุงเทพ โดยได้รับความร่วมมือจากนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลกที่มาร่วมแลกเปลี่ยนความรู้และนวัตกรรม
ศ.ดร.สุชาติ เซี่ยงฉิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมงานประชุมวิชาการ และได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือระดับนานาชาติว่า “การเฉลิมฉลองครั้งนี้สะท้อนถึงประวัติศาสตร์อันยาวนานและความร่วมมือที่เราสร้างสรรค์มาโดยตลอดหลายปีที่ผ่านมา” นอกจากนี้ ยังกล่าวถึงความสำเร็จจากความร่วมมือระหว่าง ห้องปฏิบัติการ EE-TFRC ของ มจพ. และ ห้องปฏิบัติการ GREEN ของมหาวิทยาลัยลอร์แรน ที่ได้ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนนักวิจัย การตีพิมพ์ผลงานร่วมกัน และโครงการปริญญาร่วม (Double Degree) ระหว่างมจพ.และมหาวิทยาลัยลอร์แรน และยังได้รับเกียรติอย่างสูงจากเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย ฯพณฯ นาย Jean-Claude Poimbœuf ให้โอวาทและเปิดงานประชุมวิชาการนานาชาติด้านวัสดุและพลังงาน หรือ ICOME2024
งาน ICOME2024 ครั้งนี้เป็นหนึ่งในกิจกรรมเฉลิมฉลองครบรอบ 65 ปีของการก่อตั้งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และเป็นการเฉลิมฉลองครบรอบ 34 ปี ของความร่วมมือระหว่างไทยและฝรั่งเศสในการจัดตั้งสถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย–ฝรั่งเศส โดยนักวิจัยชั้นนำจะนำเสนอผลงานวิจัยที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ในด้านวัสดุและพลังงาน ซึ่งมีผลงานวิจัยเข้าร่วมนำเสนอกว่า 140 ผลงาน จากนักวิจัย 21 ประเทศทั่วโลก โดยมีการบรรยายพิเศษจากวิทยากรชั้นนำจากประเทศไทย ฝรั่งเศส และอินเดีย ที่จะมานำเสนองานวิจัยใหม่ล่าสุดในด้านพลังงานและวัสดุ นอกจากนี้ยังมีรางวัลสนับสนุนนักวิจัยจากสถานทูตฝรั่งเศสในประเทศไทย และจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้และความร่วมมือระหว่างประเทศ
งานประชุมวิชาการ ICOME2024 แสดงถึงพลังของความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและประเทศฝรั่งเศส และนักวิจัยจากนานาชาติ ในการเผยแพร่ผลงานวิชาการและผลักดันนวัตกรรมด้านวัสดุและพลังงาน ในงานประชุมวิชาการนี้มีผู้สนับสนุนจากภาควิชาการและภาคเอกชนบริษัทต่างๆ เข้าร่วมมากมาย โดยคณะผู้จัดงานคาดหวังใว้เป็นอย่างยิ่งว่างานประชุมวิชาการนานาชาติด้านวัสดุและพลังงานในครั้งนี้จะนำไปสู่ความร่วมมือและความเป็นหุ้นส่วนทางวิจัยใหม่ ๆ ที่จะส่งเสริมการพัฒนาในสาขาพลังงานและวัสดุศาสตร์ทั่วโลกต่อไป
กรุงเทพฯ ประเทศไทย, 28 ตุลาคม 2567 — การ์ทเนอร์คาดการณ์ว่าสิ้นปีหน้
โจนาธาน ดาเวนพอร์ท ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิจั
การ์ทเนอร์คาดว่า สิ้นปี 2568 ปริมาณรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEVs) จะมีจำนวนเกือบ 62 ล้านคัน เพิ่มขึ้น 35% จากปี 2567 ส่วนรถยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอินไฮบริด (PHEVs) คาดว่าจะเติบโตในอัตราที่ช้ากว่
ตารางที่ 1 ปริมาณรถยนต์ไฟฟ้าทั่
2023 Installed Base | 2024 Installed Base | 2025 Installed Base | |||||
BEV | 32,628,884 | 45,872,824 | 61,860,183 | ||||
PHEV | 13,402,907 | 18,159,560 | 23,283,006 | ||||
Total | 46,031,791 | 64,032,383 | 85,143,189 |
ที่มา: การ์ทเนอร์ (ตุลาคม 2567)
สำหรับประเทศไทย การ์ทเนอร์คาดว่าในปี 2568 จะมีรถยนต์ไฟฟ้า (EVs) มากกว่า 77,800 คัน เพิ่มขึ้น 49% จากปี 2567 โดยรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่จะมีสั
ตารางที่ 2 ปริมาณรถยนต์ไฟฟ้
2023 Installed Base | 2024 Installed Base | 2025 Installed Base | |||||
BEV | 24,720 | 38,135 | 57,926 | ||||
PHEV | 9,392 | 13,943 | 19,880 | ||||
Total | 34,112 | 52,078 | 77,805 |
ที่มา: การ์ทเนอร์ (ตุลาคม 2567)
สำหรับในระดับภูมิภาค การ์ทเนอร์คาดว่าความต้องการเป็
ภายในอีกหกปี (2573) ผู้ผลิตรถยนต์จะสามารถรีไซเคิ
ตามที่คาดการณ์ว่ายอดจำหน่
“เนื่องจากความเข้มข้
เกี่ยวกับการ์ทเนอร์
บริษัท การ์ทเนอร์ (Gartner, Inc.) (NYSE: IT) คือบริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาชั้
นายมงคล ตั้งศิริวิช ประธาน ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ดูแลกลุ่มคลัสเตอร์ ประเทศไทย ลาว เมียนมา ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง กับ นายสเตฟาน ดูเฟรน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายพาณิชย์และพันธมิตร กรีนเยลโล่ ประเทศไทย เพื่อยกระดับระบบปรับอากาศ HVAC ด้วยการออกแบบใหม่ตามเทคโนโลยีล่าสุดในโรงงานผลิตของ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ณ นิคมอุตสาหกรรมบางปู เพื่อลดต้นทุนด้านพลังงาน และลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ พร้อมทั้งรองรับสายการผลิตในอนาคต โดย กรีนเยลโล่ จะใช้โซลูชั่นจาก ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ที่มีจุดเด่นในการสร้างความยั่งยืน พร้อมกันนี้ กรีนเยลโล่ จะดูแลเรื่องการบริการ การบำรุงรักษา ตามมาตรฐานของ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค อีกด้วย
ความร่วมมือในครั้งนี้ของ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค และ กรีนเยลโล่ มีเจตนารมณ์เดียวกัน คือ การยกระดับและตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนการทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัล เพื่อสร้างความยั่งยืน โดยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานและค่าบำรุงรักษา พร้อมทั้งลดการปล่อยคาร์บอนได้ในคราวเดียวกัน ซึ่งได้คาดการณ์ไว้ว่า หลังจากการติดตั้งระบบต่างๆ พร้อมใช้งาน จะช่วยให้โรงงานชไนเดอร์ อิเล็คทริค ในประเทศไทย ลดการปล่อยคาร์บอนได้ถึง 720 ตัน ต่อปี
เทคโนโลยีที่ กรีนเยลโล่ ใช้ในการปรับปรุงและยกระดับระบบปรับอากาศ HVAC ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ที่เชื่อมต่อกันได้แบบ IoT เซ็นเซอร์ที่ใช้ในการตรวจจับและรวบรวมข้อมูล โดยใช้ซอฟต์แวร์ EcoStruxure Building Operation รุ่นล่าสุด ช่วยในการบริหารจัดการอาคาร สามารถให้ข้อมูลเชิงลึกและวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพในแบบเรียลไทม์ ลดกระบวนการทำงานที่ซ้ำซ้อน ลดต้นทุนด้านการซ่อมบำรุง และที่สำคัญช่วยให้สามารถใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ยังมีความพร้อมในการถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านผู้เชี่ยวชาญของโรงงาน โดยใช้โรงงานเป็นต้นแบบและกรณีศึกษา ในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน เพื่อให้คู่ค้าและลูกค้าที่มีเป้าหมายเดียวกัน ได้เห็นผลลัพธ์ที่แท้จริงตามเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน และ Net Zero ในอนาคตอีกด้วย
กรุงเทพฯ, 25 ตุลาคม 2567 – ซิสโก้ผู้นำระดับโลกด้านเครือข่ายและความปลอดภัย เผยผลการศึกษา Cisco Global AI Partners Study ฉบับล่าสุด ภายใต้หัวข้อ “ลดช่องว่างความพร้อมในการใช้ AI ของลูกค้า – โอกาสทางธุรกิจที่รออยู่สำหรับพาร์ทเนอร์” พบว่าพาร์ทเนอร์ด้านไอทีทั่วโลกต่างคาดการณ์ว่า ในอีก 4-5 ปีข้างหน้าการเปลี่ยนแปลงของความต้องการเทคโนโลยี AI ครั้งใหญ่จะขับเคลื่อนรายได้ส่วนใหญ่ของพวกเขา นอกจากนี้ยังพบว่า 40% ของพาร์ทเนอร์ในภูมิภาค APJC เชื่อว่ามากกว่า 50% ของรายได้จะมาจากเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ AI ในช่วงเวลาดังกล่าว
ผลสำรวจล่าสุดชี้ให้เห็นว่า 44% ของพาร์ทเนอร์เชื่อว่าความต้องการการลงทุนในเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ AI จะเติบโตมากกว่า 75% ภายใน 4-5 ปีข้างหน้า โดยความต้องการใช้ AI ในปีต่อๆไปจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วใน 3 ด้านหลัก ๆ ได้แก่ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน (31%), ความปลอดภัยทางไซเบอร์ (17%) และประสบการณ์ลูกค้า (9%) เมื่อความต้องการ AI เพิ่มขึ้น พาร์ทเนอร์ยังคาดการณ์ถึงการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในสัดส่วนรายได้ โดย 35% คาดว่า AI จะช่วยสร้างรายได้เพิ่มขึ้น 26-50% ภายในปีหน้า และมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในระยะยาว
อเล็กซ์ พูโจลส์, รองประธานฝ่ายวิศวกรรมโกลบอลพาร์ทเนอร์ของซิสโก้ กล่าวว่า “เทคโนโลยี AI มีศักยภาพในการทรานส์ฟอร์มการดำเนินธุรกิจอย่างมาก และการที่จะบรรลุเป้าหมายได้นั้นต้องอาศัยความพยายามร่วมกันในการเสริมสร้างขีดความสามารถและทักษะของพาร์ทเนอร์ในการนำ AI ไปใช้งานจริง ผลการศึกษายังชี้ให้เห็นถึงโอกาสในการสร้างรายได้ที่สำคัญสำหรับพาร์ทเนอร์ด้านไอทีในการนำ AI เข้ามาใช้งาน โดยการให้ความสำคัญกับความพร้อมด้าน AI ซิสโก้และอีโคซิสเต็มของพาร์ทเนอร์เราพร้อมจะร่วมกันผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้กับลูกค้า และสร้างโอกาสใหม่ๆ ในยุคของ AI”
ผลสำรวจ Cisco Global AI Partners Study เป็นการสำรวจแบบ double-blind ที่สำรวจความคิดเห็นของพาร์ทเนอร์ด้านไอทีกว่า 1,500 รายใน 29 ประเทศ โดยประเมินขีดความสามารถของพาร์ทเนอร์ในยุค AI ซึ่งสอดคล้องกับรายงานดัชนีความพร้อมด้าน AI ของซิสโก้ (Cisco AI Readiness Index) ที่พบว่าแม้เทคโนโลยี AI จะมีความสำคัญมากขึ้น แต่บริษัททั่วโลกยังขาดความพร้อมในการนำ AI มาใช้จริง โดยเฉพาะในด้านโครงสร้างพื้นฐาน การจัดการข้อมูล การกำกับดูแล รวมทั้งบุคลากรที่มีความพร้อมด้าน AI ผลการสำรวจครั้งนี้ตอกย้ำถึงบทบาทสำคัญของพาร์ทเนอร์ในการช่วยให้ลูกค้าบรรลุความพร้อมด้าน AI
พาร์ทเนอร์แสดงความมั่นใจและลงทุนเพื่อเอาชนะความท้าทาย
ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่า พาร์ทเนอร์ด้านเทคโนโลยีแสดงความมั่นใจในความรู้และความเข้าใจในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี AI โดยการประเมินมุ่งเน้นไปที่โซลูชันและความสามารถเฉพาะในการปรับใช้งาน AI โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 4 ด้านที่สำคัญคือ โครงสร้างพื้นฐาน ข้อมูล การกำกับดูแล และบุคลากรที่มีความสามารถ
ความสามารถเหล่านี้รวมถึง:
แม้ว่าพาร์ทเนอร์จะแสดงความมั่นใจอย่างมากเกี่ยวกับความรู้และความเข้าใจในการใช้งานเทคโนโลยี AI แต่พวกเขาก็ยังเข้าใจว่ามีความท้าทายที่พวกเขาต้องแก้ไขเพื่อเพิ่มโอกาสในอนาคต ความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดคือการขาดประสบการณ์ในการใช้งานเทคโนโลยีใหม่ (64%), การขาดความรู้เกี่ยวกับระบบและกระบวนการ (54%) และการขาดเทคโนโลยีที่พร้อมใช้งาน (52%) เพื่อจัดการกับความท้าทายเหล่านี้ พาร์ทเนอร์กำลังลงทุนในการพัฒนาและยกระดับทักษะพนักงานด้าน AI โดย 80% ของพาร์ทเนอร์ได้ดำเนินการฝึกอบรมพนักงานภายใน หรือเชิญผู้เชี่ยวชาญภายนอกมาให้ความรู้และฝึกอบรมเฉพาะทางด้าน AI
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลศึกษา Cisco Partner AI และรายงานฉบับเต็ม สามารถคลิก ที่นี่
เกี่ยวกับ ซิสโก้ (Cisco)
Cisco (NASDAQ: CSCO) เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีระดับโลกที่เชื่อมต่อทุกสิ่งอย่างปลอดภัยเพื่อให้ทุกสิ่งเป็นไปได้ เป้าหมายของซิสโก้คือขับเคลื่อนอนาคตสำหรับทุกคนโดยช่วยลูกค้าคิดใหม่ (reimagine) เกี่ยวกับแอปพลิเคชัน ขับเคลื่อนการทำงานแบบไฮบริด รักษาความปลอดภัยให้กับองค์กร ทรานส์ฟอร์มโครงสร้างพื้นฐาน และบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน เปิดประสบการณ์กับซิสโก้ที่ห้องข่าว The Newsroom และติดตามข่าวสารของซิสโก้บน X ที่ @Cisco.
หลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพและความงามเป็นวิทยาศาสตร์สาขาหนึ่งของเคมีอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ที่เรียนวิเคราะห์สารเคมีที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและความงาม เจาะลึกวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง เพราะปัจจุบันธุรกิจและกิจการที่เกี่ยวกับการผลิตเครื่องสำอางถือว่าเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าสนใจและสร้างรายได้เป็นอย่างดี ประกอบกับความเจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสื่อสาร ทำให้ผู้อุปโภค บริโภคเข้าถึงข้อมูล วิทยาศาสตร์สุขภาพและความงามเป็นวิทยาศาสตร์ที่เรียนเกี่ยวข้องกับสุขภาพและความงามนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางให้มีคุณภาพมาตรฐานเทียบเคียงสากลจึงเป็นความจำเป็นสำหรับอุตสาหกรรมในประเทศ ตลอดจนการปั้น Project มองเห็นโอกาส การพัฒนาไอเดียสู่ธุรกิจ มีผลิตภัณฑ์ สู่ท้องตลาด และตอบโจทย์ผู้เรียนที่อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเองด้านความงาม…งามแบบตะโกนจริงๆๆ สุด chic !!! วันนี้ มาทำความรู้จักสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพและความงาม ภาควิชาเคมีอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มจพ. เริ่มจาก
จุดเด่นของหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพและความงาม (หลักสูตรใหม่พ.ศ. 2567) นี้ เรียนเนื้อหา 3 ปี ฝึกทักษะการพัฒนาวิจัยผลิตภัณฑ์ 1 ปี ทั้งในด้านการพัฒนาวิจัย ในห้องปฏิบัติการวิจัยหรือสถานประกอบการณ์ในภาคอุตสาหกรรม ทั้งนี้ภาควิชาเองได้มีการลงนามความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ที่หลากหลายทั้งศูนย์วิจัยเฉพาะทาง โรงพยาบาล รวมถึงโรงงานรับพัฒนาและผลิตเครื่องสำอาง (ODM) ที่เป็นที่ต้องการของตลาดอย่างมาก ซึ่งจะช่วยส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้โดยใช้องค์ความรู้เคมี เช่น เทคโนโลยีการสกัดสารธรรมชาติ และวิเคราะห์สาระสำคัญ การสังเคราะห์สารสำคัญทางชีวภาพ (Bioactive agent) เทคโนโลยีระบบกักเก็บและนำส่งสารสำคัญ (Encapsulation and delivery Technology of active ingredients) เสถียรภาพความเป็นพิษและพัฒนาตัวตรวจวัดเชิงเคมีในผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพและความงามเพื่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ รวมถึงการทำงานในห้องปฏิบัติการด้านสุขภาพและความงามได้ โดยใช้ทักษะและความรู้ด้านเคมี/ชีวเคมี การพัฒนาผู้เรียนให้มีความเป็นเลิศทางด้านความคิดสร้างสรรค์ นำความรู้สู่การปฏิบัติ สนับสนุนการผลิตงานวิจัยเพื่อนำไปสู่การพัฒนาเป็นสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมที่สามารถต่อยอดในเชิงพาณิชย์ต่อไป
ผศ.ดร.สุกัญญา เทพวาที อาจารย์ประจำภาควิชาเคมีอุตสาหกรรม เสริมว่า สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพและความงาม มีการบูรณาการศาสตร์ทางด้านวิทยาศาสตร์ ความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์ และการเป็นผู้ประกอบการให้กับนักศึกษา นอกจากรายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานอย่างวิชาเคมี ซึ่งจะเรียนค่อนข้างลึกกว่าวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางโดยทั่วไปเพื่อให้นักศึกษาสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาและพัฒนาสูตรเครื่องสำองได้ในอนาคต นอกจากวิชาเคมีที่เป็นวิชาหลักแล้วยังมีวิชาทางด้านชีววิทยา (Biology) เพื่อให้สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ในการนำไปดูแลสุขภาพและความงามได้อย่างปลอดภัย มีการเสริมรายวิชาคำนวณที่จะเกี่ยวกับวิศวกรรมการผลิต เช่น วิชาเกี่ยวกับ Mass Balance หลักการผสม การกวน เป็นต้น เพื่อให้มีความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับกระบวนการผลิต นอกจากนี้จากข้อมูลที่ผู้เรียนต้องการเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพและความงาม ภาควิชาฯ จึงเสริมรายเกี่ยวกับการเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) เป็นวิชาทางสังคมศาสตร์ที่ศึกษาถึงพฤติกรรมของมนุษย์และสังคมที่เกี่ยวข้องกับผลิตสินค้าและบริการต่าง ๆ และที่สำคัญจากที่ผู้เรียนจะได้ลงมือพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างเต็มที่คลอด 1 ปีสุดท้าย จะทำให้นักศึกษามีความโดดเด่นและมีความมั่นในในการออกไปประกอบอาชีพต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้านสุขภาพและความงาม
นอกจากนี้ยังดูแลเรื่องความคุ้มค่าการลงทุนซึ่งจะสอดคล้องกับการเป็นเจ้าของธุรกิจนั้น “เราต้องความรู้ ความเข้าเรื่องของการลงทุน” เช่น เรียนการคอร์สแผนธุรกิจวิทยาศาสตร์สุขภาพและความงาม เรียนรู้
การพัฒนาแนวคิดและคอนเซปต์ของสินค้าเข้าใจกลุ่มผู้บริโภคเพื่อพัฒนาสินค้าหรือบริการ ให้สอดคล้องกับความต้องการสำหรับตลาดสินค้าและบริการ เรียนรู้การสร้างและวิเคราะห์จุดขาย ศึกษาพฤติกรรมเป้าหมายเพื่อสามารถสร้างและพัฒนาสินค้า เรียนรู้กระบวนการสร้างแบรนด์สำหรับสินค้าความงามและสุขภาพ รวมไปถึงเข้าใจแนวคิดและขั้นตอนการออกแบบ Packaging ให้สอดคล้องกับแบรนด์ผลิตภัณฑ์ เพื่อให้นักศึกษาได้เตรียมตัวเข้าสู่ตลาดแรงงาน
ด้านรศ.ดร. สมิทธิชัย สียางนอก หัวหน้าภาควิชาเคมีอุตสาหกรรม กล่าวถึง รายวิชาที่ได้เปิดสอนแก่นักศึกษานั้นยังมีรายวิชาที่เกี่ยวกับการเป็นผู้ประกอบการเช่น วิชาการลงทุน (Investment) ชี้ช่องเริ่มต้นลงทุนที่เกี่ยวข้องกับระดับความเสี่ยง ด้านงบประมาณในการลงทุนว่าควรพิจารณา และเตรียมความพร้อมก่อนอย่างไรสำหรับมือใหม่ โดยต้องมีทิศทางในการลงทุนที่ชัดเจนและมีการจัดสรรเงินลงทุนที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น คือ การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product design) เพราะจะสอดคล้องกับผู้เรียนที่ลงมือทำ เพื่อสร้างพัฒนาผลิตภัณฑ์และมองเห็นโอกาส การพัฒนาไอเดียสู่ธุรกิจ แล้วยังมีอีก 1 รายวิชาที่ให้สำคัญเช่นกัน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product Development) เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการสร้างและจับคุณค่า ให้เป็นมูลค่าทางธุรกิจผ่านวิธีการและกระบวนการสำหรับการพัฒนาและนวัตกรรมของโมเดลธุรกิจที่ยั่งยืน ที่ได้กล่าวมาข้างต้นล้วนแต่เกี่ยวข้องเศรษฐศาสตร์ทั้งสิ้น นอกจากนี้นักศึกษาเรียนรู้การทำวิจัยที่เข้มข้นในรายวิชา Research Methodology การสอนการเรื่องระเบียบการทำวิจัยและการยื่นขอทุนด้วยเช่นกัน ผู้เรียนจะมีองค์ความรู้ขั้นสูง มีความคิด ความสามารถในการพัฒนาและวิจัย การประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์ที่มีรูปแบบทันสมัยมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล จบจากสาขานี้ไปมีงานทำแน่นอน 100% เนื่องจากสุขภาพและความงามถือเป็นอีกหนึ่งเทรนด์ของตลาดงานและบุคลากรด้านสุขภาพและความงามเป็นที่ต้องการอย่างมากทั้งภาครัฐและเอกชนในประเทศและต่างประเทศ
ผศ.ดร.นิศาลักษณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพและความงาม ของภาควิชาเคมีอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มจพ. กำหนดการรับสมัครไว้ 4 ดังนี้ รอบที่ 1 Portfolio เน้นความสามารถพิเศษ รอบที่ 2 Quota รอบที่ 3 Admission รอบที่ 4 Direct Admission โดยใช้คะแนนในการสมัคร TGAT-TPAT และ A-Level สมัครเรียนได้ที่
https://stdadmis2.kmutnb.ac.th/ApplyStart?ReturnUrl=%2f อ่านระเบียบการรับสมัครแต่ละคณะได้ที่ https://admission.kmutnb.ac.th/apply/round หรือที่ กลุ่มงานรับเข้าศึกษา โทรศัพท์ 0-2555-2000 ต่อ 1626,1627 และที่ facebook : Admission.KMUTNB – กลุ่มงานรับเข้าศึกษา มจพ. หรือที่ ภาควิชาเคมีอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มจพ. โทร. 02 555-2000 ต่อ 4802-4
ขวัญฤทัย ข่าว
โดย ดร.กร พูนศิริวงศ์
ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกลยุทธ์และผู้อำนวยการโครงการ Binance TH Academy บริษัท กัลฟ์ ไบแนนซ์ จำกัด
“คริปโตฯ เอาไว้ฟอกเงิน” “เงินดิจิทัลติดตามไม่ได้” เป็นคำพูดที่เราได้ยินกันบ่อย ๆ ในสังคมไทย แต่ความจริงแล้วเป็นอย่างไร? ในฐานะผู้ที่ทำงานทั้งด้านการศึกษาและกลยุทธ์ในวงการสินทรัพย์ดิจิทัลโดยตรงในประเทศไทย ผมพบเจอความเชื่อผิด ๆ นี้อยู่บ่อยครั้ง ตรงกันข้าม ธุรกรรมคริปโตเคอร์เรนซีไม่เพียงสามารถติดตามได้ แต่ยังมีความโปร่งใสมากกว่าระบบการเงินแบบดั้งเดิมเสียอีก
ทำความเข้าใจง่าย ๆ เรื่องการตรวจสอบในบล็อกเชน
ลองเปรียบเทียบง่าย ๆ นะครับ ถ้าเราจ่ายเงินสดซื้อของในตลาด เราจะติดตามเงินนั้นได้ยากมาก แต่การใช้คริปโตฯ เหมือนกับการโอนเงินผ่านพร้อมเพย์ที่มีการเก็บประวัติทุกรายการ แต่เพิ่มความพิเศษตรงที่ทุกคนสามารถตรวจสอบได้ เหมือนกับมีสำเนาสมุดบัญชีที่โปร่งใสและแก้ไขไม่ได้ ที่ Binance TH ระบบนี้ช่วยป้องกันการทุจริตได้ดีกว่าระบบเดิม ๆ เสียอีก เทคโนโลยีบล็อกเชนจึงเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังในการสร้างระบบนิเวศทางการเงินที่ปลอดภัยและโปร่งใสมากขึ้น
ความปลอดภัยในบริบทประเทศไทยที่เห็นชัดเจน
ความโปร่งใสของบล็อกเชนตอบโจทย์อีกหนึ่งความกังวลที่พบบ่อย นั่นคือเรื่องความปลอดภัย ทุกธุรกรรมบนเครือข่ายคริปโตเคอร์เรนซี เหรียญยอดนิยมอย่าง Bitcoin และ Ethereum ถูกบันทึกถาวร สามารถตรวจสอบได้โดยสาธารณะ และไม่สามารถแก้ไขย้อนหลังได้ กลไกนี้สร้างความสามารถในการติดตามบน Chain ที่ไม่มีวันถูกทำลาย ซึ่งเหนือชั้นกว่าระบบการเงินทั่วไป
รายงานอาชญากรรมคริปโตล่าสุดจาก Chainalysis (2024) เผยว่าธุรกรรมคริปโตเคอร์เรนซีที่ผิดกฎหมายมีเพียง 0.24% ของปริมาณธุรกรรมคริปโตทั้งหมด การวิเคราะห์บล็อกเชนสมัยใหม่สามารถติดตามรูปแบบการทำธุรกรรมได้อย่างแม่นยำ ทำให้คริปโตเคอร์เรนซีกลายเป็นตัวเลือกที่ไม่เข้าท่าสำหรับผู้ที่ต้องการหลีกเลี่ยงการตรวจจับ
ประเทศไทยกับการพัฒนาไปข้างหน้า
ประเทศไทยถือว่าเป็นผู้นำในภูมิภาคเรื่องการกำกับดูแลคริปโตฯ ก.ล.ต. ของเราออกกฎเกณฑ์ที่ชัดเจน ทำให้ผู้ลงทุนไทยได้รับการคุ้มครองที่ดี เทียบเท่าการลงทุนในตลาดหุ้น จากรายงานการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลล่าสุดของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เผยว่าปี 2566 ที่ผ่านมา ตลาดคริปโตฯ ไทยมีมูลค่าการซื้อขายกว่า 100,000 ล้านบาท โดยทุกธุรกรรมต้องผ่านการตรวจสอบตัวตน (KYC) เหมือนกับการเปิดบัญชีธนาคาร ทำให้ปลอดภัยกว่าการซื้อขายในตลาดต่างประเทศที่ไม่มีใบอนุญาต ทำให้สามารถติดตามธุรกรรมได้ 100%
แนวทางและข้อกำหนดในการขอใบอนุญาตที่ชัดเจนของ ก.ล.ต. ไทย ส่งผลให้ผู้ให้บริการแลกเปลี่ยนบนกระดานเทรดในประเทศต้องรักษามาตรฐานความปลอดภัยระดับสูง ทั้งนี้ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) รายงานว่าปีที่ผ่านมา สามารถติดตามธุรกรรมต้องสงสัยได้ถึง 95% นี่เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนว่าระบบคริปโตฯ ไม่ได้เอื้อต่อการทำผิดกฎหมายอย่างที่หลายคนเข้าใจ
มองไปข้างหน้า
เทคโนโลยีบล็อกเชนกำลังพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว รายงานสินทรัพย์ดิจิทัลปี 2567 ของ World Economic Forum คาดว่าภายในปี 2569 ประสิทธิภาพการตรวจจับธุรกรรมผิดปกติจะพัฒนาขึ้นอีก 300% เมื่อเครื่องมือเหล่านี้พัฒนาขึ้น เราเห็นการเพิ่มขีดความสามารถในการจดจำรูปแบบ การติดตามแบบเรียลไทม์ และโมเดลการประเมินความเสี่ยงขั้นสูง
การศึกษาคือกุญแจสำคัญของคนไทย
จากการสำรวจล่าสุดของสมาคมฟินเทคประเทศไทย พบว่า 73% ของนักลงทุนคริปโตชาวไทยระบุว่า ความปลอดภัยและความสามารถในการติดตามตรวจสอบเป็นปัจจัยสำคัญอันดับหนึ่งในการเลือกแพลตฟอร์มการซื้อขาย สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความเข้าใจที่ลึกซึ้งมากขึ้นในผู้ใช้งานในตลาดของเรา ที่ Binance TH Academy เราจึงเน้นการให้ความรู้แบบเข้าใจง่าย ใช้ตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนไทย
สรุป
ถึงเวลาแล้วที่เราต้องเปลี่ยนมุมมองเรื่องคริปโตฯ จากความกลัวและความไม่เข้าใจ มาสู่การเรียนรู้และใช้ประโยชน์อย่างถูกต้อง ด้วยกฎระเบียบที่รัดกุมและเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ประเทศไทยมีโอกาสที่จะเป็นศูนย์กลางสินทรัพย์ดิจิทัลของภูมิภาค
สำหรับผู้ที่สนใจเรียนรู้เพิ่มเติม Binance TH Academy มีคอร์สออนไลน์ฟรี ที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับคนไทย เน้นการประยุกต์ใช้จริงและการลงทุนอย่างปลอดภัย ตั้งแต่ระดับเริ่มต้นจนถึงระดับมืออาชีพ
ดร.กร พูนศิริวงศ์ ผู้นำด้านกลยุทธ์และการศึกษาของ Gulf Binance โดยนำประสบการณ์ขั้นสูงด้านความปลอดภัยของสินทรัพย์ดิจิทัลและการพัฒนาตลาดมาสู่ระบบนิเวศคริปโตเคอร์เรนซีของประเทศไทยผ่าน Binance TH Academy ดร.กร มุ่งทำงานเพื่อยกระดับความเข้าใจในเทคโนโลยีบล็อกเชนและส่งเสริมแนวทางการซื้อขายที่ปลอดภัยและมีความรับผิดชอบ
เกี่ยวกับบริษัท กัลฟ์ ไบแนนซ์ จำกัด
ไบแนนซ์ คือแพลตฟอร์มสินทรัพย์ดิจิทัลโดยได้รับใบอนุญาตภายใต้ชื่อบริษัท กัลฟ์ ไบแนนซ์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างบริษัท กัลฟ์ อินโนวา จำกัด (บริษัทในเครือของบริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไบแนนซ์ แคปปิตอล แมเนจเมนท์ จำกัด (บริษัทในเครือของกลุ่ม Binance) สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดเยี่ยมชม เว็บไซต์ https://www.binance.th/th