Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค จับมือ AIS ส่ง APC Back-UPS Connect เสริมแกร่งหนุนเครือข่าย WiFi อัจฉริยะ ไฟตก ไฟดับ ให้ลูกค้ามั่นใจทำงานไม่สะดุด

การทำงานยุคดิจิทัล มีการดำเนินงานบนอินเทอร์เน็ตเป็นส่วนใหญ่ อาทิ การประชุม หรือ พรีเซนต์งานออนไลน์ การโทรแบบ VoIP (Voice over Internet Protocol) การค้าออนไลน์ การอัพโหลดคอนเทนต์ การแคสเกม เกมเมอร์ การ Live & Stream หรือการทำงานบนคลาวด์เป็นต้น ดังนั้นสปีดของอินเทอร์เน็ต และ WiFi ที่มีความเสถียรจึงเป็นเรื่องสำคัญเพื่อให้การทำงานราบรื่น ไม่สะดุด แต่ก็มีปัจจัยที่ยากแก่การควบคุมนั่นคือ ไฟตก ไฟดับ

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค จึงออกผลิตภัณฑ์ APC Back-UPS Connect สำหรับสำรองพลังงานเพื่อเราเตอร์ และโมเด็มที่รองรับระบบ VoIP รวมถึง Smart Home Assistant ทำให้การทำงานทั้งหมดที่อยู่บนโลกออนไลน์ไม่ขาดตอน ในระหว่างที่ไฟตก หรือไฟดับ มาพร้อมการออกแบบตัวอุปกรณ์ให้มีขนาดกะทัดรัด รองรับการเข้าและออกของกระแสไฟได้ถึง 36 วัตต์ แบบ DC 12 โวลต์ ล้ำหน้าด้วยแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนให้ รันไทม์สูงสุด 4 ชั่วโมง (สำหรับเราเตอร์ทั่วไป) เพื่อให้มั่นใจในการเชื่อมต่อที่เชื่อถือได้ มีทิป DC เพิ่มเติมให้มาในกล่องช่วยให้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์เครือข่ายได้หลากหลายแบรนด์

ล่าสุด ชไนเดอร์ อิเล็คทริค จับมือกับ AIS สานเจตนารมณ์ร่วมกัน สำหรับโซลูชั่นที่สามารถรองรับการทำงานยุคใหม่ได้อย่างไร้รอยต่อ ด้วยแพ็กเกจ SME AI-Powered Smart Router (เอสเอ็มอี เอไอ พาวเวอร์ สมาร์ท เราเตอร์) และ Office FibreLAN (ออฟฟิศ ไฟเบอร์แลน) ผ่านเครือข่าย WiFi อัจฉริยะ ตอบโจทย์ทุกการใช้งานเพื่อธุรกิจแต่ละขนาดได้อย่างลงตัว มาพร้อมความมั่นใจ ว่าการทำงานบนเครือข่าย WiFi ความเร็วสูงจะไม่สะดุดด้วย  APC Back-UPS Connect ฟรี มูลค่า 2,150 บาท ในทุกแพคเกจดังกล่าว


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

PRI เปิดตัว “น้องพรีโม่” หุ่นยนต์อัจฉริยะส่งของ และทำความสะอาด รุ่นใหม่สำหรับธุรกิจบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ เสริมประสิทธิภาพงานบริการภายในคอนโด

พรีโม เซอร์วิส โซลูชั่น หรือ PRI ผู้นำธุรกิจการให้บริการเกี่ยวเนื่องกับอสังหาริมทรัพย์สมัยใหม่แบบครบวงจร เดินหน้าขับเคลื่อนธุรกิจภายใต้แนวคิด “Elevate Your Living Experience” เสริมแกร่งงานบริการภายในคอนโด นำเทคโนโลยีหุ่นยนต์อัจฉริยะส่งของ และทำความสะอาดเข้ามาเสริมศักยภาพการให้บริการ เพื่อยกระดับประสิทธิภาพและประสบการณ์ของลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น

นายสุรินทร์ สหชาติโภคานันท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พรีโม เซอร์วิส โซลูชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การนำหุ่นยนต์อัจฉริยะส่งของ และทำความสะอาด หรือ น้องพรีโม่ เข้ามาใช้เพื่อให้บริการภายในคอนโดในครั้งนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญของบริษัทฯ ในการยกระดับงานบริการด้วยระบบดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ โดยหุ่นยนต์จะเข้ามาช่วยสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ในส่วนต่างๆ ทั้งงานส่งพัสดุ ส่งอาหาร และทำความสะอาด โดยการนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์เข้ามา เป็นการเสริมการบริการเพื่อยกระดับประสิทธิภาพและความสะดวกสบายให้กับลูกค้า โดยเทคโนโลยีหุ่นยนต์ที่ถูกนำมาใช้ในครั้งนี้ได้รับการพัฒนาอย่างทันสมัยและตอบโจทย์ความต้องการในยุคดิจิทัลที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

จุดเด่นของ น้องพรีโม่ส่งของ นั้นคือ มีช่องเก็บของที่สามารถปรับได้หลากหลาย มีการฆ่าเชื้อด้วยแสง UV 99.9% และสามารถปรับระดับความเร็วในระดับเทียบเท่ากับการเดินหรือเดินเร็วของคนได้ ซึ่งมั่นใจได้ว่าลูกบ้านจะได้รับพัสดุหรืออาหาร อย่างปลอดภัยและรวดเร็ว สำหรับ น้องพรีโม่ทำความสะอาด สามารถกวาดขัดดูดฝุ่น และถูพื้นได้ในเครื่องเดียว และยังสามารถปรับระบบให้เหมาะกับสภาพพื้นผิวได้ทุกพื้นผิว สามารถตรวจสอบสถานะการทำงานได้ตลอดเวลา และสามารถทำงานได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องพึ่งพาผู้ดูแลอีกด้วย” นายสุรินทร์กล่าว

นายอิงครัต ไตรทรัพย์ Service Innovation บริษัท พรีโม เซอร์วิส โซลูชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า น้องพรีโม่หุ่นยนต์อัจฉริยะ ยังช่วยเพิ่มความแม่นยำความรวดเร็วในการทำงาน และสามารถทำงานในพื้นที่เข้าถึงยาก รวมทั้งสามารถใช้ลิฟต์ได้ด้วยตัวเอง ซึ่งโดยสารลิฟต์ร่วมกับคนได้อย่างปลอดภัย การนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์มาใช้ในครั้งนี้ จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ยกระดับเทคโนโลยีของบริษัทฯ และสร้างความพึงพอใจ รวมถึงเติมเต็มการใช้ชีวิต ให้กับลูกบ้านที่อาศัยภายในคอนโดฯระดับสูงสุด ซึ่งจะส่งผลดีต่อการเติบโตของธุรกิจในระยะยาว

การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในธุรกิจเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้เราเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมบริการ หุ่นยนต์ไม่เพียงแค่ช่วยลดภาระของพนักงาน แต่ยังช่วยให้เราสามารถให้บริการที่มีคุณภาพสูงขึ้นและตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น” นายสุรินทร์ กล่าวเสริม พร้อมทั้งให้ความมั่นใจว่า การเปิดตัว น้องพรีโม่ ในครั้งนี้เป็นอีกก้าวหนึ่งของ บริษัท พรีโม เซอร์วิส โซลูชั่น จำกัด (มหาชน)  ในการก้าวสู่อนาคตของธุรกิจบริการที่ทันสมัย และแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนาบริการที่ดีที่สุดเพื่อลูกค้า

สำหรับ บริษัท พรีโม เซอร์วิส โซลูชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ PRI เป็นผู้ดำเนินธุรกิจให้บริการที่เกี่ยวเนื่องกับอสังหาริมทรัพย์แบบครบวงจร ชั้นนำของประเทศ มีประสบการณ์กว่า 11 ปี ปัจจุบัน ดำเนินธุรกิจภายใต้ 3 กลุ่มธุรกิจหลัก ได้แก่

1.กลุ่มธุรกิจต้นน้ำ – บริการก่อนเข้าอยู่อาศัย (Pre-Living Services) ได้แก่ บริการให้คำปรึกษาและควบคุมงานก่อสร้างโครงการอสังหาฯ บริการออกแบบสถาปัตยกรรมงานวิศวกรรมโครงสร้างควบคุมการก่อสร้าง และบริการควบคุมการก่อสร้าง งานวิศวกรรมและการให้คำปรึกษาทางด้านเทคนิค

2.กลุ่มกลางน้ำ – บริการการจัดการเพื่อการอยู่อาศัย (Living Services) ได้แก่ บริการบริหารนิติบุคคลอาคารชุด บ้านจัดสรร ห้างสรรพสินค้า อาคาร และสำนักงาน บริการนิติบุคคลอาคารชุดแบบลักชัวรี่ การบริหารจัดการ Residential Property และ Service Apartment บริการซื้อ-ขาย-ปล่อยเช่าอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร ตัวแทนในการซื้อ-ขาย-เช่าบริการจัดหาผู้ร่วมลงทุน บริการที่ปรึกษาด้านสื่อการตลาดและประชาสัมพันธ์ให้กับธุรกิจอสังหาฯ บริการ Personal Assistant ให้แก่ชาวต่างชาติ และบริการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการบริการ และเทคโนโลยีด้านการอยู่อาศัย

3.กลุ่มปลายน้ำ – บริการหลังการขายที่อยู่อาศัย (Living & Earning Services) ได้แก่ บริการออกแบบและตกแต่งภายใน บริการงานจ้าเหมาแบบเบ็ดเสร็จ บริการแม่บ้านทำความสะอาดและบริการงานช่างช่าง บริการจัดการอาคาร และจัดจำหน่ายสินค้าตกแต่งบ้านและที่อยู่อาศัย แบบ Lifestyle


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เปิดโครงการ Schneider Electric Sustainability Impact Awards ปี3 ย้ำคำมั่น มุ่งสนับสนุนความยั่งยืนของพันธมิตร

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น ด้านการจัดการพลังงาน และระบบอัตโนมัติ เปิดตัวโครงการ Schneider Electric Sustainability Impact Awards เป็นปีที่ 3 เพื่อยกย่องผลงานของพันธมิตร คู่ค้า ในระบบนิเวศของชไนเดอร์ ในการสร้างโลกที่ยั่งยืนและกระตุ้นการใช้พลังงานไฟฟ้า ที่มาจากพลังงานสะอาดให้มากขึ้น โดยสามารถส่งผลงานได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 15 ตุลาคม 2024 โดยจะมีการประกาศผลผู้ชนะระดับโลกในช่วงต้นปี 2025

การรับสมัครและเกณฑ์การคัดเลือก สะท้อนถึงแนวทางด้านความยั่งยืนของชไนเดอร์ในแบบบูรณาการ โดยยังคงมุ่งเน้นที่ความพยายามในการลดคาร์บอนของผู้เข้าร่วมโครงการในเรื่องการใช้พลังงานไฟฟ้า ทั้งการลดและแทนที่ ขณะเดียวกันก็มีการพิจารณาให้ครอบคลุมวงกว้างมากขึ้น สำหรับความพยายามขององค์กรต่างๆ ในการสร้างอนาคตไฟฟ้า 4.0 (Electricity 4.0) ผ่านการดำเนินงาน ทั้งเรื่องการวางกลยุทธ์ การปรับใช้ดิจิทัล การลดการปล่อยคาร์บอน การปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ตลอดจนการติดตั้งเครื่องมือดิจิทัล และเทคโนโลยี รวมไปถึงตัวอย่างของผลกระทบและนวัตกรรมอื่นๆ นอกจากผู้ชนะจะได้รับการยอมรับอันทรงคุณค่าแล้ว ยังได้ประโยชน์ในแง่ของการเป็นที่ประจักษ์จากทั่วโลก ซึ่งอาจนำไปสู่โอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ

“เราเชื่อว่าเมื่อนวัตกรรมเดินหน้าไปพร้อมคำมั่นสัญญา เราจะสามารถขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมายและสร้างผลกระทบที่ยั่งยืนได้อย่างถาวร โครงการมอบรางวัลนี้ถือเป็นการเชิดชูเกียรติและฉลองชัยให้กับ #ImpactMakers ผู้ที่เดินหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง และมีแรงผลักที่กล้าแกร่งในการเปลี่ยนความปรารถนาอันแรงกล้า ให้กลายเป็นการกระทำที่นำไปสู่โลกที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าและดิจิทัลได้อย่างยั่งยืนมากขึ้น” คริส ลีออง ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด และคณะกรรมการบริหาร กล่าว

Pia Oelze ผู้จัดการใหญ่ฝ่ายดูแลลูกค้าหลัก ของ Henkel ผู้ได้รับรางวัลระดับโลกประจำปี 2023 เผยว่า “รางวัลนี้แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จทั้งในแง่ส่วนตัว และการทำงานเป็นทีมที่ยอดเยี่ยมระหว่าง Henkel และ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ในการสร้างโปรแกรมความยั่งยืนที่มุ่งเน้นการแก้ปัญหา และความก้าวหน้าร่วมกันเพื่อสร้างวันพรุ่งนี้ที่ดีกว่า”

การเข้าร่วมโครงการ

ผู้สนใจสามารถสมัครได้ตั้งแต่วันนี้ โดยต้องส่งผลงานภายในวันที่ 15 ตุลาคม 2024 (สมัครที่นี่) โดยชื่อที่ได้รับการเสนอพร้อมผลงานทั้งหมดจะถูกคัดเลือกให้เข้ารอบสุดท้ายเพื่อรับรางวัลระดับประเทศ และผู้ชนะระดับประเทศจะได้เข้าสู่รอบชิงชนะเลิศระดับภูมิภาค ก่อนที่จะได้รับการพิจารณาเพื่อชิงรางวัลระดับโลก โดยจะมีการประกาศผลผู้ชนะเลิศระดับโลกในเดือนเมษายน ปี 2025

โครงการในปี 2023 ได้มีผลงานเข้าประกวดมากกว่า 400 ชิ้น จาก 60 ประเทศ โดยมีบริษัท 12 แห่ง ที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าชิงรางวัล Sustainability Impact Awards ในระดับโลก และมีการประกาศผลในงาน Schneider Electric Innovation Summit ณ กรุงปารีส ไปเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2024

โครงการ Sustainability Impact Awards 2024 ยังคงเป็นแรงผลักดันอย่างต่อเนื่องสำหรับโครงการ Partnering for Sustainability initiative ของชไนเดอร์ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างระบบนิเวศพันธมิตรอันกว้างขวางของชไนเดอร์ เพื่อมอบอนาคตที่ยั่งยืนมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีอีกก้าวที่สำคัญคือการเปิดตัว Schneider Electric Sustainability School ซึ่งเป็นทรัพยากรด้านการศึกษาที่พร้อมให้บริษัทต่างๆ ทั่วโลกเข้ามาใช้ได้ฟรี เพื่อเร่งกระบวนการลดคาร์บอนของแต่ละองค์กรได้เร็วขึ้น


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

AMD เผยรายงานด้านความยั่งยืนประจำปี 2023 – 2024 เดินหน้าสู่ความยั่งยืนผ่านความร่วมมือและการมีส่วนร่วม

กรุงเทพฯประเทศไทย – 23 สิงหาคม 2567 – วันนี้ AMD (NASDAQ: AMD) ได้เผยแพร่รายงานด้านความยั่งยืนประจำปี โดยรายงานความก้าวหน้าในการบรรลุเป้าหมายความรับผิดชอบต่อสังคมเชิงกลยุทธ์ปี 2566 ที่ AMD มุ่งเน้นในประเด็นสำคัญที่มีผลกระทบมากที่สุดต่อธุรกิจและสังคม ซึ่งกำหนดผ่านการประเมินความสำคัญด้าน ESG[i] รวมถึงความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ผลกระทบทางดิจิตอล ความหลากหลาย การมีส่วนร่วมและความร่วมมือ และความรับผิดชอบต่อห่วงโซ่อุปทาน

Justin Murrill ผู้อำนวยการฝ่ายความรับผิดชอบต่อสังคมของ AMD กล่าวว่า “เรากำลังอยู่ในยุคเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญของอุตสาหกรรมการประมวลผล และเป็นเวลาสำคัญที่จะนำหลักการของเราไปใช้เพื่อแก้ไขปัญหาสำคัญของโลก เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การขาดแคลนพลังงาน การพัฒนาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ และการเคารพสิทธิมนุษยชน AMD ยังคงร่วมมือกับพันธมิตรอย่างใกล้ชิดเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้และสร้างอนาคตที่ยั่งยืนของอุตสาหกรรมการประมวลผล

ไฮไลท์สำคัญของรายงานปี 2023 ประกอบด้วย:

ความก้าวหน้าด้านความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม

  • AMD เสนอเอนจิ้นด้านการประมวลผลที่หลากหลายสำหรับงานโคงสร้างพื้นฐานด้าน AI แบบครบวงจร ผ่านแนวทางการออกแบบชิปแบบองค์รวมที่มุ่งเน้นประสิทธิภาพและศักยภาพการใช้พลังงาน นวัตกรรมต่าง ๆ สถาปัตยกรรมชิปเล็ตที่ AMD เป็นผู้ริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถแก้ไขปัญหาด้านความยั่งยืนระหว่างการใช้งานผลิตภัณฑ์ รวมถึงในด้านกระบวนการผลิต เช่น การผลิตโปรเซสเซอร์ 4th Gen AMD EPYC™ ที่มีชิปเล็ตสำหรับการประมวลผลแยกกันสูงสุด 12 ตัว แทนที่จะใช้ไดโมโนลิธิกเพียงตัวเดียว ซึ่งช่วยประหยัด CO2e ลงได้ประมาณ 132,000 เมตริกตันในปี 2023 ซึ่งลดการใช้เวเฟอร์ลงได้ 2.8 เท่าในปี 2023 และลดปริมาณการใช้น้ำในกระบวนการของ AMD ลงได้ 4.9 เท่าในปี 2023[ii] นอกจากนี้ AMD ยังคงก้าวต่อไปเพื่อบรรลุ เป้าหมาย การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานให้ดีขึ้น 30 เท่าสำหรับโปรเซสเซอร์และกราฟิกการ์ดที่เป็นขุมพลังขับเคลื่อนเครื่องเซิร์ฟเวอร์สำหรับงานงาน HPC และ AI ตั้งแต่ปี 2020 ถึงปี 2025 ทั้งนี้จากการจัดอันดับของ Green500 มากกว่าครึ่งหนึ่งของ 50 อันดับแรกของซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพการใช้พลังงานยอดเยี่ยมที่สุดขับเคลื่อนด้วยโซลูชั่นของ AMD
  • AMD ออกแบบเทคโนโลยี AI และการประมวลผลประสิทธิภาพสูง เพื่อช่วยลูกค้าและพันธมิตรจัดการกับความท้าทายสำคัญ ๆ ของโลก และบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน โดย AMD ช่วยให้ผู้ให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์สามารถพัฒนาระบบเพื่อแก้ไขปัญหาด้านพื้นที่และพลังงาน เช่น เซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ขุมพลังโปรเซสเซอร์ AMD 4th Gen EPYC™ เพียงเครื่องเดียว สามารถทดแทนเครื่องเซิร์ฟเวอร์รุ่นก่อนหน้าได้ห้าเครื่อง อีกทั้งยังช่วยลดพื้นที่ลงได้ถึง 70% และปริมาณการใช้พลังงานลดลงถึง 65%[iii]
  • ตลอดการดำเนินงานของ AMD สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้ถึง 24.5% นับตั้งแต่ปี 2020 โดยในปี 2023 AMD สามารถจัดหาแหล่งพลังงานหมุนเวียนได้ถึง 40% เพิ่มขึ้นจาก 18% จากปี 2020 ในด้านซัพพลายเชน พันธมิตรของ AMD สามารถลดการใช้น้ำทั้งหมดจากการผลิตเวเฟอร์ด้วยการเพิ่มการใช้น้ำรีไซเคิล 34% (2022 – 2023)

เร่งพัฒนาการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และการศึกษาด้าน STEM

  • ตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นมา มีมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย และองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรมากกว่า 150 แห่งได้รับเทคโนโลยีของ AMD ที่บริจาคผ่านกองทุน AMD AI และ HPC และโครงการ STEM ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้คนประมาณ 61 ล้านคน ผ่านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และการศึกษา[iv] อีกทั้งในปี 2023 AMD ได้บริจาคเพิ่มเติมให้กับสถาบันที่ทำงานในด้านต่าง ๆ เช่น การวิจัยระบบเทคโนโลยี AI และ Machine Learning และแอปพลิเคชันการผสานรวม AI ในแอปพลิเคชันทางวิทยาศาสตร์ และโครงการสอนและฝึกอบรมเทคโนโลยี HPC และ AI ต่าง ๆ
  • บริษัทยังคงขยายการศึกษาด้าน STEM ด้วยโปรแกรม AMD Learning Labs และจัดตั้งห้องปฏิบัติการใหม่ที่มหาวิทยาลัย Maynooth ในกรุงดับลิน ประเทศไอร์แลนด์ นอกจากเทคโนโลยีและการสนับสนุนทางการเงินแล้ว พนักงานของ AMD ทั่วโลกยังให้คำปรึกษาและการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติกับนักเรียนผ่านโปรแกรมและกิจกรรมต่าง ๆ

เสริมสร้างศักยภาพบุคคลและชุมชน

  • AMD ส่งเสริมให้พนักงานสร้างผลงานที่ส่งผลเชิงบวกมากที่สุด โดยได้รับการสนับสนุนจากโอกาสในการพัฒนา การร่วมงาน และการมีส่วนร่วม จากการขับเคลื่อนด้วยความพยายามนี้ ส่งผลให้ในการสำรวจกับ AMDer ปี 2023 พนักงานจำนวน 92% กล่าวว่า AMD สร้างสภาพแวดล้อมของผู้คนที่มีภูมิหลังที่หลากหลายให้ทุกคนสามารถเติบโตและประสบความสำเร็จได้
  • ในปี 2023 AMD เปิดตัวโครงการ Advancing Women in Tech ซึ่งเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ที่ครอบคลุมที่ออกแบบมาเพื่อมอบส่งเสริม ปกป้อง และสนับสนุนพนักงานหญิงของ AMD ในสายงานด้านเทคนิค ซึ่งได้รับความสนใจจากพนักงานหญิงมากกว่า 230 คนในปีแรกและกำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2024 นอกจากนี้ AMD ยังต้อนรับกลุ่มทหารผ่านศึกผ่านรุ่นแรกผ่านโครงการ Hiring our Heroes ในปี 2023 อีกด้วย
  • พนักงาน AMD ทั่วโลกได้ร่วมกิจกรรมอาสาสมัครกว่า 25,000 ชั่วโมงในปีที่ผ่านมา ผ่านกิจกรรมส่วนบุคคลและแบบกลุ่มตลอดทั้งปี 2023

การทำงานร่วมกันกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในกระบวนการผลิต

  • AMD ปลูกฝังความร่วมมือที่แข็งแกร่งตลอดห่วงโซ่คุณค่าและพันธมิตรด้านการผลิตที่คัดเลือกอย่างพิถีพิถันเพื่อส่งเสริมด้านสิทธิมนุษยชน ความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม และความยืดหยุ่นด้านซัพพลายเชน ในปี 2023 AMD ได้เพิ่มความพยายามในการตรวจสอบ เพื่อบรรเทาผลกระทบเชิงลบต่อสิทธิมนุษยชน รวมถึงการตรวจสอบส่วนต่าง ๆ ที่ต้องรับผิดชอบเพิ่มเติมเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายของบริษัท โดยซัพพลายเออร์ของ AMD กว่า 84% ได้รับการตรวจสอบจาก Responsible Business Alliance ในระหว่างปี 2563-2566[v]
  • AMD ยังคงทำงานอย่างใกล้ชิดกับซัพพลายเออร์เพื่อขยายการศึกษาและทรัพยากรเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชน ในช่วงสามปีที่ผ่านมา ซัพพลายเออร์ด้านการผลิตของ AMD กว่า 95% ทั้งในมาเลเซีย ไต้หวัน และญี่ปุ่นที่ทำงานร่วมกับตัวแทนแรงงานเพื่อจัดหาแรงงานข้ามชาติได้เข้าร่วมเวิร์กช็อปการป้องกันการบังคับด้านแรงงานของ RBA

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อมูลรายงานด้านความยั่งยืน และข้อมูลอื่น ๆ สามารถศึกษารายงานด้านความยั่งยืนฉบับเต็มประจำปี 2566-2567 ได้ที คลิก

AMD จัดทำรายงานประจำปีตามมาตรฐาน Global Reporting Initiative (GRI) นอกจากนี้ รายงานดังกล่าวยังครอบคลุมถึงการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศซึ่งรวมอยู่ในคำแนะนำของคณะทำงาน Taskforce on Climate-Related Financial Disclosures (TCFD) รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องในมาตรฐาน Sustainability Accounting Standards Board (SASB) นอกจากนี้ AMD ยังรายงานต่อ CDP เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและน้ำเป็นประจำทุกปี รวมถึงการรายงานเกี่ยวกับความคืบหน้าของ AMD ในการปรับแนวทางให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ 

Supporting Resources

เกี่ยวกับ AMD

เป็นเวลากว่า 50 ปีที่ AMD ขับเคลื่อนให้เกิดนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพสูงทั้งในส่วนของการประมวลผลกราฟฟิก และเทคโนโลยีเวอร์ชวลไลเซชั่นต่างๆ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญสำหรับวงการเกม เป็นแพลตฟอร์มระดับมืออาชีพ และเป็นศูนย์กลางข้อมูล ผู้บริโภคหลายร้อยล้านคน องค์กรธุรกิจชั้นนำที่จัดอยู่ในกลุ่ม Fortune 500 และหน่วยงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ทั่วโลก ต่างใช้เทคโนโลยีของ AMD เพื่อการพัฒนาศักยภาพด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การใช้ชีวิต การทำงาน และความบันเทิง พนักงานของ AMD ทุกคนทั่วโลกล้วนมุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่จะก้าวข้ามขอบเขตของข้อจำกัดทั้งหลาย ท่านสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ AMD (NASDAQ: AMD) และกระบวนการสร้างสรรค์ต่างๆ ที่เราทำในปัจจุบันและที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตได้ที่เว็บไซต์ websiteblogFacebook และ X 


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

การ์ทเนอร์เผยรายงานวงจรเทคโนโลยีเกิดใหม่ในปี 2567 ไฮไลท์ของปีนี้ ได้แก่ Developer Productivity, Total Experience, AI และ Security

กรุงเทพฯ ประเทศไทย 22 สิงหาคม 2567 – การ์ทเนอร์เผย 25 เทคโนโลยีที่ควรจับตาในรายงานวงจรเทคโนโลยีเกิดใหม่ ปี 2567 หรือ Hype Cycle for Emerging Technologies, 2024 อยู่ใน ธีมหลัก ได้แก่ Autonomous AI, Developer Productivity, Total Experience, และ Human-Centric Security and Privacy Programs

อรุณ จันทรเศกการัน รองประธานฝ่ายวิจัยของการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “Generative AI ก้าวข้ามจุดพีคสุดของความคาดหวังที่จะโตขึ้นของเทคโนโลยีไปแล้ว ตามที่ธุรกิจเปลี่ยนการมุ่งเน้นจากโมเดลพื้นฐานไปสู่การสร้างยูสเคสการใช้งานที่ตอบโจทย์ ROI ซึ่งสิ่งนี้กำลังเร่งให้ Autonomous AI ถูกนำไปใช้แพร่หลายมากขึ้น แม้โมเดล AI รุ่นปัจจุบันจะขาดแคลนหน่วยงานมาพัฒนาต่อยอด แต่ห้องปฏิบัติการวิจัย AI กำลังปล่อยตัวแทนที่สามารถโต้ตอบกับสภาพแวดล้อมแบบไดนามิกเพื่อบรรลุเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว แม้ว่าการพัฒนานี้จะเป็นกระบวนการแบบค่อยเป็นค่อยไปก็ตาม

แม้ AI จะยังได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก แต่ผู้บริหาร CIO และผู้บริหาร IT ควรต้องพิจารณาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่มีศักยภาพเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับนักพัฒนา มีความปลอดภัย และมอบประสบการณ์ที่ดีให้แก่ทั้งลูกค้าและพนักงาน พร้อมกำหนดกลยุทธ์ว่าควรใช้เทคโนโลยีเหล่านี้อย่างไรเพื่อให้สอดรับกับความสามารถองค์กรในการจัดการกับเทคโนโลยีที่ยังพิสูจน์ไม่ได้” จันทรเศกการัน กล่าวเพิ่มเติม

รายงานวงจรเทคโนโลยีเกิดใหม่ (The Hype Cycle for Emerging Technologies) เป็นรายงานวงจรเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ของการ์ทเนอร์ที่มีความเฉพาะเจาะจง เกิดจากการกลั่นกรองข้อมูลเชิงลึกของเทคโนโลยีและกรอบการทำงาน (Frameworks) หลัก ๆ มากกว่า 2,000 รายการ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถนำไปใช้ได้ รายงานนี้จัดทำขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยการ์ทเนอร์ได้รวบรวมเทคโนโลยีเกิดใหม่ที่มีความน่าสนใจที่ผู้บริหารและอุตสาหกรรม “ต้องรู้” ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้ล้วนมอบประโยชน์ด้านการเปลี่ยนแปลงในอีก 2-10 ปีข้างหน้านี้ (ดูรูปที่ 1)

ภาพที่ รายงานวงจรเทคโนโลยีเกิดใหม่ ปี 2567

(Hype Cycle for Emerging Technologies, 2024)

ที่มา: การ์ทเนอร์ (สิงหาคม 2567) 

ธีมหลักเทคโนโลยีเกิดใหม่

ธีมที่ 1 Autonomous AI: วิวัฒนาการที่รวดเร็วของ AI กำลังสร้างระบบ Autonomous AI ที่สามารถทำงานและปรับปรุงได้ด้วยตัวเองโดยพึ่งพามนุษย์น้อยที่สุด และยังตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพในสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อน ซึ่งระบบ AI ขั้นสูงที่สามารถทำงานแบบเดียวกับมนุษย์นั้นกำลังกลายเป็นจริง เทคโนโลยีเกิดใหม่ที่อยู่ในธีมนี้ ประกอบด้วย Multiagent Systems, Large Action Models, Machine Customers, Humanoid Working Robots, Autonomous Agents, และ Reinforcement Learning

ธีมที่ Developer Productivity: โดยประสิทธิภาพการทำงานของนักพัฒนาไม่ได้หมายถึงการเขียนโค้ดอย่างรวดเร็วเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการสื่อสารและการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ การรู้สึกถึงความตั้งใจในการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ และสนุกไปกับการทำงาน หรือที่เรียกว่าอยู่ในภาวะที่มีสมาธิการทำงานสูง (Flow State) 

เทคโนโลยีกำลังปฏิวัติวิธีที่นักพัฒนาใช้ออกแบบและส่งมอบซอฟต์แวร์ ซึ่งนอกจากทำให้พวกเขาทำงานได้อย่างมีประสิทธิผลมากกว่าเดิม มันยังช่วยให้พวกเขามั่นใจว่าสามารถส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูงขึ้นได้อย่างรวดเร็วพร้อมกับได้รับความพึงพอใจอย่างสูงสุดในการทำงานร่วมกันที่ไหลลื่” จันทรเศกการัน กล่าวเพิ่ม

เทคโนโลยีเกิดใหม่ที่ช่วยให้นักพัฒนาทำงานได้อย่างมีประสิทธิผลและอยู่ในธีม Developer Productivity ประกอบด้วย AI-Augmented Software Engineering, Cloud-Native, GitOps, Internal Developer Portals, Prompt Engineering และ WebAssembly

ธีมที่ 3 Total Experience: ประสบการณ์เต็มรูปแบบ หรือ Total Experience เป็นกลยุทธ์ที่สร้างประสบการณ์ร่วมกันที่เหนือกว่าโดยผสมผสานประสบการณ์ลูกค้า ประสบการณ์พนักงาน รวมถึงประสบการณ์ที่หลากหลาย และประสบการณ์ที่เป็นแนวทางปฏิบัติของผู้ใช้งาน โดยกลยุทธ์นี้ใช้เทคโนโลยีเพื่อจัดการกับการโต้ตอบเป็นสำคัญ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับทั้งลูกค้าและพนักงาน มีเป้าหมายเพื่อสร้างความมั่นใจ ความพึงพอใจ ความภักดี และเพิ่มการสนับสนุนที่มากขึ้น สำหรับเทคโนโลยีเกิดใหม่ที่อยู่ในธีมนี้ ประกอบด้วย Digital Twin of a Customer, Spatial Computing, Superapps และ 6G

ธีมที่ 4 Human-Centric Security and Privacy: องค์กรจะยืดหยุ่นมากขึ้นหากใช้เทคนิคด้านการรักษาความปลอดภัยละความเป็นส่วนตัวที่สร้างวัฒนธรรมแห่งความไว้วางใจซึ่งกันและกัน รวมถึงการตระหนักถึงความเสี่ยงร่วมกันระหว่างทีม 

บ่อยครั้งที่แนวทางปฏิบัติด้านความปลอดภัยมักอาศัยหลักการที่ว่ามนุษย์สามารถประพฤติตนได้อย่างปลอดภัยและมั่นคง แต่เมื่อพนักงานต้องเลือกระหว่างความปลอดภัยและการให้บริการทางธุรกิจ พวกเขามักเลือกการให้บริการทางธุรกิจเสมอ บางครั้งข้ามขั้นตอนการควบคุมความปลอดภัยที่เข้มงวด ซึ่งความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวที่ยึดมนุษย์เป็นศูนย์กลางหรือ Human-Centric Security and Privacy ได้ผสานโครงสร้างความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวอย่างแน่นหนาเข้าไว้กับการออกแบบดิจิทัลขององค์กร” จันทรเศกการัน กล่าว

เทคโนโลยีเกิดใหม่ที่อยู่ในธีม Human-Centric Security and Privacy ได้แก่ AI TRiSM, Cybersecurity Mesh Architecture, Digital Immune System, Disinformation Security, Federated Machine Learning and Homomorphic Encryption

เกี่ยวกับการ์ทเนอร์ 

บริษัท การ์ทเนอร์ (Gartner, Inc.) (NYSE: IT) คือบริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาชั้นนำของโลก มอบข้อมูลเชิงลึก คำแนะนำ และเครื่องมือต่าง ๆ แก่ผู้บริหารองค์กรธุรกิจ เพื่อรองรับการดำเนินภารกิจสำคัญที่มีอยู่ในปัจจุบันและสร้างองค์กรให้ประสบความสำเร็จในอนาคต ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางของการ์ทเนอร์ในการช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจอย่างถูกต้องเพื่อขับเคลื่อนอนาคตของธุรกิจได้ที่ gartner.com


 

Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ช่วยลูกค้ายกระดับก้าวข้ามความเสี่ยงจากโอทีรุ่นเก่า

โดย อังเดร โชริ รองประธาน และประธานเจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัยของระบบสารสนเทศ ประจำภาคพื้น เอเชียแปซิฟิก ชไนเดอร์ อิเล็คทริค

ปัจจุบัน บทบาทของประธานเจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัยของระบบสารสนเทศ (CISO) มาพร้อมความรับผิดชอบอย่างหนักในเรื่องของสังคมและจริยธรรม ซึ่งทั้งองค์กรและทีมงานต่างมีความรับผิดชอบหลักในการปกป้องความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้กับโครงสร้างพื้นฐานหลัก ที่ให้บริการสำคัญ อย่าง ไฟฟ้า น้ำ น้ำมัน ก๊าซ เฮลธ์แคร์ และการผลิตอาหาร และอื่นๆ อีกมากมาย ในบทบาทการเป็นเจ้าของเทคโนโลยีการดำเนินงาน (OT) ที่ใช้เครื่องจักรในโรงงานเหล่านี้ ต้องมุ่งเน้นที่การสร้างความยืดหยุ่นทางธุรกิจ เพราะแค่โรงงานต้องหยุดดำเนินการเพียงไม่กี่นาที อาจทำให้บริษัทต้องสูญเสียเงินหลายสิบล้าน และความรับผิดชอบก็ไม่ได้หยุดอยู่แค่เรื่องนี้

เพราะ CISO ยังต้องดูแลทั้งเรื่องสุขภาพและความปลอดภัยของบุคลากร ที่อาจได้รับผลกระทบร้ายแรงจากการโจมตีทางไซเบอร์ และต้องคิดไปไกลกว่าประเด็นเรื่องผลกระทบทางการเงิน เพราะการดำเนินงานที่ต้องหยุดชะงักจากการโจมตีทางไซเบอร์ อาจส่งผลอันตรายต่อความปลอดภัยของคนทำงาน กระทั่งอาจส่งผลร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตหากได้รับผลกระทบโดยตรงจากเหตุการณ์ในระบบ OT

หนึ่งในปัญหาท้าทายด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ CISO ต้องเผชิญ คือการปกป้องระบบงานเดิมที่ล้าสมัย ซึ่งเป็นระบบที่ใช้กันมาอยู่ก่อนแล้ว และเนื่องจากเป็นระบบที่ใช้กันมานาน จึงเป็นเรื่องยากสำหรับทีมรักษาความปลอดภัยที่จะดูแลรักษาระบบเหล่านี้ได้อย่างเหมาะสม และหลายต่อหลายครั้งที่ระบบเหล่านี้ไม่สามารถป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ได้ ซึ่งผู้คุกคามในปัจจุบันก็รู้เรื่องนี้ดี

รู้จักจุดอ่อนในโครงสร้างพื้นฐาน OT

สิ่งอำนวยความสะดวกหลักด้าน OT เกือบทุกอย่างล้วนเป็นระบบเดิมที่ล้าสมัย เพราะถูกสร้างขึ้นเพื่อตอบโจทย์วัตถุประสงค์แค่อย่างเดียวมานานนับหลายสิบปี ไม่ว่าจะเป็นระบบที่ใช้ในโรงบำบัดน้ำ หรืออุปกรณ์ควบคุมการทำงานของเครื่องจักร (programmable logic controller) ในโรงงานผลิตยานยนต์ เครื่องจักรเหล่านี้หลายต่อหลายตัวถูกสร้างขึ้นก่อนที่จะมีอินเทอร์เน็ต ในช่วงที่คนยังไม่กังวลเรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์ โดยไม่ได้สร้างเพื่อให้เชื่อมต่อผ่านระบบดิจิทัลได้ หรือไม่ได้มีมาตรการรักษาความปลอดภัยในตัว แต่ด้วยความแพร่หลายของ IIoT การปฏิรูปกระบวนการทำงานสู่ระบบดิจิทัล และอุตสาหกรรม 4.0 ทำให้ระบบ OT แบบเดิมเหล่านี้ถูกเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายบริษัทหรืออินเทอร์เน็ต และหลายระบบไม่มีการป้องกันทำให้กลายเป็นความเสี่ยง

ในโลกไอที เมื่ออุปกรณ์หรือระบบมีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยเนื่องจากเป็นระบบเก่าและไม่ทันสมัย ทางออกที่ง่ายที่สุดคือการซื้อใหม่ อย่างไรก็ตาม ในโลก OT เนื่องจากระบบมีขนาดใหญ่กว่าและซับซ้อนกว่า ทำให้เป็นทางเลือกที่มาพร้อมข้อจำกัดเรื่องค่าใช้จ่าย ด้วยเหตุนี้ CISO จึงต้องคอยรับมือกับปัญหาที่เกี่ยวกับความล้าสมัยของระบบและเครื่องจักร เช่นในประเด็นต่อไปนี้

การตั้งค่าที่ไม่ถูกต้อง ทันทีที่สภาพแวดล้อม OT พร้อมรองรับการเชื่อมต่อ หลายธุรกิจก็จะรีบทำการเชื่อมต่ออุปกรณ์ ระบบควบคุม หรืออุปกรณ์ที่ไม่มีการป้องกันเข้ากับเครือข่ายโดยตรง การที่ไม่มีระบบควบคุมความปลอดภัยที่เพียงพอ เช่น การใช้ไฟร์วอลล์ในการป้องกันระบบเหล่านี้ สิ่งที่เกิดขึ้นคือเครื่องจักรเหล่านี้ จะถูกเปิดเผยบนอินเทอร์เน็ต โดยไม่มีการป้องกันทั้งพอร์ตและเว็บอินเตอร์เฟสในการบริหารจัดการ เหล่านี้คือโอกาสอันดีสำหรับผู้โจมตี ที่สามารถใช้สิ่งเหล่านี้เข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานของบริษัทได้โดยง่าย และดำเนินการโจมตีที่เป็นอันตราย

ขาดการมองเห็นและไม่สามารถควบคุมสินค้าคงคลัง เนื่องจากระบบเหล่านี้ส่วนใหญ่ติดตั้งใช้กันมานานแล้ว ทำให้ไม่มีความสามารถในการสอดส่องหรือตรวจจับอย่างที่เครื่องจักรสมัยใหม่มีกัน ทำให้ไม่สามารถมองเห็นระบบเหล่านี้ได้ และไม่สามารถป้องกัน รวมถึงอัปเกรด หรือบำรุงรักษาได้ ส่งผลให้ CISO ไม่สามารถจัดการกับโครงสร้างเครือข่ายได้

การแพตช์และอัปเกรดเป็นเรื่องท้าทาย ในโลกไอที การแพตช์ และการอัปเกรด เป็นแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ได้รับการยอมรับและทำกันมาเรื่อยๆ แต่ระบบ OT แบบเก่านั้นบำรุงรักษายาก เพราะนอกจากจะเป็นระบบเก่าแล้วยังมีการปรับแต่งเยอะ และอาจจะไม่ได้รับการสนับสนุนแล้ว แม้ว่าจะสามารถแพตช์และอัปเกรดได้ก็ตาม แต่ค่อนข้างมีค่าใช้จ่ายสูง เนื่องจากการที่ระบบต้องหยุดทำงาน 10 หรือ 15 นาทีเพื่ออัพเดตเครื่องจักร อาจทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นหลายล้านดอลลาร์สูงกว่ารายรับของโรงงาน

ยังคงมีการสร้างระบบที่ล้าสมัยอยู่  ทำให้เป็นปัญหาที่ซับซ้อนไปอีก เมื่อ OEM หลายรายที่สร้างอุปกรณ์ OT ยังคงส่งระบบที่ไม่รองรับการทำงานร่วมกับระบบใหม่ๆ อย่าง Microsoft Windows 7 ที่ไม่สามารถแพตช์ หรือป้องกันด้วยโซลูชันรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์สมัยใหม่ได้ หลายครั้ง ก็เป็นปัญหาเรื่องค่าใช้จ่าย เนื่องจากการอัปเกรดต้องใช้ไดรเวอร์ใหม่ ซอฟต์แวร์ที่อัปเดต รวมถึงการทดสอบ และอื่นๆ

ทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนาแผนปฏิบัติการ

แม้จะระบบ OT แบบเก่าจะมีความท้าทายอยู่ แต่ก็มีหลายสิ่งที่ CISO และทีมชไนเดอร์ สามารถดำเนินการในเชิงรุกเพื่อปกป้องระบบเหล่านี้ ที่แม้จะเก่าแต่เป็นระบบสำคัญ อย่างการที่ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค กำลังทุ่มเทความพยายามในการทำงานร่วมกับลูกค้า หน่วยงานระดับประเทศ และบรรดาผู้ผลิต OEM เพื่อลดความเสี่ยงของระบบ OT ในเชิงรุกผ่านโครงการความริเริ่มเหล่านี้

การแก้ไขระบบที่ตั้งค่าไม่ถูกต้องให้กับลูกค้าที่มีอยู่ โดยในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้ทำงานร่วมกับลูกค้า เพื่อตรวจจับอินเทอร์เฟซการจัดการเว็บที่ไม่ได้รับการป้องกันและ IP แบบเปิดในระบบเดิมที่ถูกเชื่อมเข้ากับระบบต่างๆ ที่อยู่ในการติดตั้งสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นเพราะระบบที่ตั้งค่ามาผิดหรือระบบที่เลิกใช้งานแล้วก็ตาม บริษัทกำลังช่วยลูกค้าระบุช่องโหว่ ประเมินความเสี่ยง และดำเนินการเพื่อลดความเสี่ยงและการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น 

การสร้างความตระหนักรู้ให้กับหน่วยงานในประเทศ โดยหน่วยงานภาครัฐบาลทั้งในระดับท้องถิ่นและในระดับภูมิภาค ล้วนต้องการรับรู้ถึงเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อชุมชน และประชาชน ชไนเดอร์ อิเล็คทริค กำลังทำงานร่วมกับหน่วยงานเหล่านี้ เพื่อสร้างการตระหนักรู้ถึงวิกฤตที่เกี่ยวข้องกับระบบ OT ที่ไม่ได้รับการป้องกัน พร้อมกับกระตุ้นให้หน่วยงานเหล่านี้ เป็นหัวหอกในโครงการริเริ่มเพื่อจัดการกับความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์เหล่านี้

ส่งเสริมแนวทางปฏิบัติด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ดีที่สุดให้กับผู้ประกอบการ OEM ทั้งนี้ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ยังตระหนักถึงคุณค่าของการเป็นพาร์ทเนอร์กับ OEM อีกทั้งทำงานร่วมกับซัพพลายเออร์ เพื่อนำแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดไปช่วยปรับปรุงความปลอดภัยทางไซเบอร์ ตัวอย่างเช่น บริษัทได้ดำเนินการตามกระบวนการพัฒนาวงจรการทำงานทั้งหมดโดยเน้นเรื่องความปลอดภัยตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ ที่ได้รับการรับรองว่าสอดคล้องตามมาตรฐานความปลอดภัยทางไซเบอร์ ISA/IEC 62443-4-1 ซึ่งหาก OEM ปฏิบัติตามแนวทางเดียวกัน ก็จะทำให้ไม่มีการสร้างและจัดส่งอุปกรณ์ที่ล้าสมัย ไม่ปลอดภัย และไม่มีการป้องกันออกสู่ตลาด นอกจากนี้ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ยังสนับสนุนให้ OEMS ออกแพตช์ และอัปเดตเฟิร์มแวร์ ได้ทันการในทันทีที่มีการระบุช่องโหว่ที่เป็นที่รู้จัก ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบ OT

ร่วมกันปกป้องระบบ OT เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อผู้คน

ระบบ OT รุ่นเก่าที่ล้าสมัย ยังคงเป็นหนึ่งในความกังวลเรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์อันดับต้นของ CISO มาระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งเราก็ไม่ได้เพิกเฉย เราทุกคนต่างมีความรับผิดชอบร่วมกัน พร้อมความมุ่งมั่นที่จะทำให้โลกนี้ดีขึ้น ปลอดภัยขึ้นด้วยการพยายามปกป้องโครงสร้างพื้นฐาน OT ของเราให้ดีที่สุด


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

iNT ม.มหิดล ดันสตาร์ทอัพ “MUI robotics” คว้าระดมทุนสูงสุด

สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือ iNT (อิ๊นท์) เป็นส่วนงานของมหาวิทยาลัยมหิดลที่มีเป้าหมายในการนำเสนอผลงานวิจัยและเทคโนโลยีของ มหาวิทยาลัยไปสู่ศูนย์กลางด้านการสร้างนวัตกรรมในระดับชาติและนานาชาติ โดยให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการส่งเสริมการต่อยอดงานวิจัยให้ถูกนำไปสร้างเป็นนวัตกรรม ผลิตภัณฑ์ หรือ การบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของสังคม มีส่วนช่วยในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน รวมไปถึงการเพิ่มมูลค่าให้กับงานวิจัยในการนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปานนท์ ลาชโรจน์ รักษาการแทนรองผู้อำนวยการ กล่าวว่าสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยมหิดล มีวิสัยทัศน์ที่จะร่วมขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลก โดยมุ่งเน้นการบริหารจัดการผลงานวิจัยเพื่อสร้างนวัตกรรมที่มีคุณภาพ

สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยมหิดล มีโครงการในการสนับสนุนการสร้างนวัตกรรม ได้แก่

  1. การบ่มเพาะธุรกิจสตาร์ทอัพ โดยมีโครงการที่พร้อมส่งเสริมการสร้าง Entrepreneur Mindset  ให้กับอาจารย์ นักวิจัย บุคลากร และนักศึกษา สนับสนุนการเป็นผู้ประกอบการ
  2. การจัดตั้งพื้นที่ Co-Working Space ภายใต้ชื่อ MaSHARES Co-Working & Maker Space  เพื่อเป็นพื้นที่สำหรับการสร้างสรรค์นวัตกรรม
  3. การสนับสนุนทุนในการพัฒนาต้นแบบนวัตกรรม เพื่อให้สามารถต่อยอดผลงานวิจัยและนวัตกรรมได้
  4. การให้บริการด้านทรัพย์สินทางปัญญาการจดสิทธิบัตรอนุสิทธิบัตรลิขสิทธิ์และเครื่องหมายทางการค้ารวมไปถึงผลักดันการนำทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และสังคม
  5. การจัดกิจกรรมและโครงการที่สนับสนุนการสร้างนวัตกรรมในระดับชาติและนานาชาติ

โครงการเหล่านี้ มีเป้าหมายเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ตอบโจทย์ความต้องการของสังคมและส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมในประเทศไทย นอกจากนี้ สถาบันยังมุ่งเน้นการสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนและหน่วยงานต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมการสร้างสตาร์ทอัพและการพัฒนานวัตกรรมที่ตอบโจทย์ความต้องการของสังคม

วันดี วัฒนกฤษฎิ์  CEO บริษัท MUI Robotics จำกัด ที่ได้รับการสนับสนุนจาก iNT กล่าวว่า “MUI Robotics เป็นหนี่งในสตาร์ทอัพที่ได้รับการสนับสนุนบ่มเพาะโดยสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล บริษัทฯ จดทะเบียนในนาม บริษัท เอ็มยูไอ โรบอติกส์ จำกัด โดยมุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับประสาทสัมผัสประดิษฐ์ (Artificial Senses) สำหรับหุ่นยนต์เพื่อการวิเคราะห์การทดสอบกลิ่นและรสชาติในอุตสาหกรรมต่างๆ

MUI Robotics พัฒนาและจัดจำหน่ายเครื่องตรวจวัดกลิ่นด้วยเทคโนโลยีจมูกอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถใช้งานได้หลากหลายอุตสาหกรรม เช่น อาหารและเครื่องดื่ม การเกษตร การแพทย์ เคมี ยานยนต์ และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น โดยบริษัทฯ ก่อตั้งขึ้นโดย อาจารย์ธีรเกียรติ์ เกิดเจริญ Chief Innovation Officer (CIO) ของบริษัท, วันดี วัฒนกฤษฎิ์ CEO และทีมงานที่เป็นศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหิดล โดยใช้เทคโนโลยีที่อาจารย์ธีรเกียรติ์ ได้พัฒนาขึ้น ไม่ว่าจะเป็น จมูกอิเล็กทรอนิกส์ (E-Nose),
ลิ้นอิเล็กทรอนิกส์ (E-Tongue) และเทคโนโลยีสมาร์ทฟาร์ม

ปัจจุบัน MUI Robotics มีผลิตภัณฑ์หลัก 3 กลุ่ม ได้แก่:

  1. เครื่องตรวจวัดกลิ่น E-Nose สำหรับงานห้องแล็บ เช่น การควบคุมคุณภาพ (QC) และการวิจัยและพัฒนา (R&D) ในอุตสาหกรรมอาหารเครื่องดื่มและบรรจุภัณฑ์
  2. เครื่องตรวจวัดกลิ่น E-Nose สำหรับสิ่งแวดล้อม ซึ่งปัจจุบันทั้งสองผลิตภัณฑ์นี้เป็น
    คีย์โปรดักต์ของเรา และกำลังขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย เยอรมนี และสวิตเซอร์แลนด์
  3. ผลิตภัณฑ์สมาร์ทฟาร์ม ที่ใช้เซ็นเซอร์ IoT สำหรับการเกษตร

MUI Robotics จดทะเบียนในปี 2564 และปัจจุบันมียอดระดมทุนประมาณ 22 ล้านบาท โดยมีหน่วยงานที่ร่วมลงทุน 4 หน่วยงาน ได้แก่ Innospace, FTI, NIA, และ Y&Archer โดยเงินทุนเริ่มต้นของบริษัทฯ มาจากการสนับสนุนของ iNT จำนวน 900,000 บาท ต้องขอบคุณเงินทุนและการสนับสนุนด้านอื่น ๆ จาก iNT มหาวิทยาลัยมหิดล ไม่ว่าจะเป็นการให้สิทธิบัตรเทคโนโลยี การสนับสนุนด้านต่าง ๆ การจัดกิจกรรมสัมมนา หรือความช่วยเหลืออื่น ๆ ที่ MUI ต้องการ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการทำให้ MUI เติบโตมาได้จนถึงทุกวันนี้

สำหรับท่านใดที่สนใจนำงานวิจัยออกสู่เชิงพาณิชย์ สามารถมาปรึกษาทางหน่วยงาน iNT ได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจดสิทธิบัตร (IP) การให้สิทธิ์การใช้งาน (License) การก่อตั้งบริษัท หรือการทำการตลาดและการหาพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจ ซึ่งมั่นใจว่า iNT มหาวิทยาลัยมหิดลจะสามารถสนับสนุนทุกท่านในการสร้างธุรกิจให้สำเร็จเช่นเดียวกับที่ให้การสนับสนุน MUI Robotics อย่างแน่นอน

สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) หรือ อิ๊นท์ พร้อมสนับสนุนผลงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมของชาวมหิดลในการเป็น Entrepreneurial University แบบเต็มตัวเพื่อเป็นการสร้างโอกาสใหม่ในการนําพาประเทศไทยไปสู่การพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม คุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม
อีกทั้งยังช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางด้านเทคโนโลยี เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และทำให้ไทยหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลางอย่างยั่งยืน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล สำนักงานอธิการบดี ชั้น 2 999 ถนน พุทธมณฑลสาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล นครปฐม 73170 โทร. 02-849-6050


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

มจพ. จัดงานวันแห่งเกียรติยศแสดงความยินดีทีมหุ่นยนต์กู้ภัย iRAP Robot แชมป์หุ่นยนต์กู้ภัยโลก 2024

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) จัดงานวันแห่งเกียรติยศแสดงความยินดีแก่ทีมหุ่นยนต์กู้ภัย iRAP Robot ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศแชมป์โลกหุ่นยนต์กู้ภัย World RoboCup Rescue 2024 แชมป์โลกสมัยที่ 10 และอีก 2 รางวัลนวัตกรรมยอดเยี่ยมระดับโลก คือรางวัล Best in class mobility (รางวัลนวัตกรรมสมรรถนะการขับเคลื่อนยอดเยี่ยมระดับโลก) และรางวัล Best in class Dexterity (รางวัลสมรรถนะการทำงานแขนกลยอดเยี่ยมระดับโลก  เมื่อวันที่ 16-21 กรกฎาคม 2567 ณ เมืองไอนด์โฮเวน ประเทศเนเธอร์แลนด์ หุ่นยนต์ iRAP Robot ได้สร้างชื่อเสียงในระดับโลกให้ประเทศไทย   มจพ. จึงเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกแห่งเดียวในโลกที่เป็นแชมป์หุ่นยนต์กู้ภัยถึง  10 สมัย

.ดร.ธีรวุฒิ บุณยโสภณ นายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ พร้อมด้วย ศ.ดร.สุชาติ  เซี่ยงฉิน  อธิการบดี  มจพ. กล่าวต้อนรับแขกผู้มีเกียรติและแสดงความยินดีทีมหุ่นยนต์กู้ภัย  iRAP  Robot   ดร.โอกาส เตพละกุล อุปนายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เป็นประธานกล่าวเปิดงานและคุณสุรเดช  บัวทรัพย์   นายกสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวแสดงความยินดีทีมหุ่นยนต์กู้ภัย iRAP Robot  กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย  การสวมเสื้อสามารถให้แก่นักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษาทีมหุ่นยนต์กู้ภัย iRAP Robot มอบทุนการศึกษา มอบโล่ประกาศเกียรติคุณและเกียรติบัตรแก่อุปการคุณสนับสนุนทีมหุ่นยนต์กู้ภัย iRAP Robot และเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการและหน่วยงานภายใน มจพ. ที่ได้มอบทุนการศึกษาแก่ทีมหุ่นยนต์กู้ภัย iRAP Robot การแสดงของนักศึกษาจากชมรมศิลปะการแสดง มจพ. การขับร้องและบรรเลงเพลง  โดยนักศึกษาชมรมดนตรีสากล และประดู่แดงแบนด์ ในวันที่ 15 สิงหาคม 2567 ณ หอประชุมประดู่แดง ชั้น 2 อาคารอเนกประสงค์ มจพ.


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค พลิกโฉมการจ่ายพลังงานไฟฟ้าด้วย MasterPacT MTZ Active เซอร์กิตเบรกเกอร์ สายพันธุ์ดิจิทัล

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น ในการจัดการพลังงานและระบบอัตโนมัติ ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ MasterPacT MTZ Active ซึ่งเป็นการปฏิวัติการออกแบบเซอร์กิตเบรกเกอร์ใหม่ ควบคู่กับการสร้างมาตรฐานด้านความปลอดภัย ประสิทธิภาพ และความยั่งยืน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าธุรกิจจะดำเนินไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง ในโลกที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าและดิจิทัลที่มากขึ้น MasterPacT MTZ Active ช่วยตอบโจทย์ลูกค้าต่อความท้าทายที่มีความซับซ้อนในแต่ละวัน รวมถึงความต้องการด้านเวลาในการทำงานตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน ตลอดจนช่วยให้สามารถรับมือกับต้นทุนด้านพลังงานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และข้อเรียกร้องด้านแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืน

“โลกของไฟฟ้าและการใช้ดิจิทัลในด้านพลังงาน ในอุตสาหกรรม หรืออาคาร ที่มากขึ้น นับเป็นกุญแจสำคัญในการจัดการกับวิกฤติพลังงานและสภาพภูมิอากาศ” นายโรฮาน เคลการ์ รองประธานอาวุโส ฝ่ายผลิตภัณฑ์ทั่วโลก ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เผยว่า  “ทั้งเราและลูกค้ากำลังใช้ประโยชน์จากพลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy) เพื่อลดการใช้พลังงาน และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน ดังนั้น MasterPacT MTZ Active คือคำตอบล่าสุดของเรา ในการช่วยเร่งให้เกิดการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และการลดคาร์บอน ยืดอายุการใช้งานของสินทรัพย์ โดยไม่กระทบต่อฟังก์ชั่นการทำงานหรือความปลอดภัย”

ปัจจุบันในหลายอุตสาหกรรม มีการใช้พลังงานมากขึ้น และมีความซับซ้อนในด้านการบริหารจัดการมากขึ้นอีกด้วยไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมเฮลธ์แคร์ อาคาร และภาคพลังงาน ไปจนถึงเคมีภัณฑ์ รวมถึง ธุรกิจ OEM ในขณะเดียวกันผู้ประกอบการธุรกิจ ต่างคาดหวังว่าไฟฟ้าจะพร้อมใช้งานได้ตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน นอกจากนี้ผู้เชี่ยวชาญที่ Gartner ได้มีการประเมินต้นทุนความเสียหาย หากมีการหยุดทำงานของดาต้าเซ็นเตอร์ อยู่ที่ 5,600 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อนาที หรือมากกว่า 300,000 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง ทำให้เห็นว่าการรับรองความปลอดภัยของผู้ติดตั้ง ผู้ปฏิบัติงาน และเจ้าหน้าที่บำรุงรักษาก็ถือเป็นสิ่งสำคัญในอันดับแรกๆ เช่นกัน

MasterPacT MTZ Activeพร้อมสำหรับการปฏิบัติการ

เป็นเวลา 35 ปี ที่ชื่อ MasterPacT เป็นตัวแทนของความหมายว่า ‘นวัตกรรมแห่งเซอร์กิตเบรกเกอร์ และความน่าเชื่อถือ’ โดย ให้บริการแล้วหลายล้านตัวทั่วโลกขณะนี้ ด้วยระบบอัจฉริยะที่มีการเชื่อมต่อกับระบบการจ่ายพลังงาน กลายเป็นสิ่งจำเป็น ชไนเดอร์ อิเล็คทริค จึงต่อยอดและพัฒนาประสิทธิภาพของเซอร์กิตเบรกเกอร์ จนกลายเป็นนวัตกรรม MasterPacT MTZ Active มีที่มีหน่วยควบคุมไฟฟ้า ที่ทำหน้าที่เป็นสมองของเบรกเกอร์ ช่วยให้ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลสิ่งอำนวยความสะดวก สามารถตรวจสอบ และวัดการใช้พลังงานได้ในแบบเรียลไทม์

“เหมือนกับโซลูชั่นการจ่ายพลังงานของชไนเดอร์ อิเล็คทริค จำนวนมาก MasterPacT MTZ Active ทำให้เรามองเห็นสิ่งที่มองไม่เห็น นั่นคือ ‘พลังงาน’ โดยให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถดูและติดตามการใช้พลังงานได้แบบเรียลไทม์” นายไอโอนัต ฟาร์กัส รองประทานอาวุโสฝ่าย Europe Hub, Power Products ชไนเดอร์ อิเล็คทริค “ด้วยข้อมูลที่ดูได้อย่างรวดเร็ว บริษัทที่ใช้งาน จึงสามารถตัดสินใจด้านการบริหารจัดการพลังงานได้ดีขึ้น ลดการใช้โดยไม่จำเป็น ลดขยะ และลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์”

นอกจากนี้เมื่อเซอร์กิตเบรกเกอร์หยุดทำงาน (trips) ทั้งจากการโอเวอร์โหลด การลัดวงจร หรือมีกระแสไฟฟ้ารั่วไหลจากอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งหน่วยควบคุมเพื่อลดความเสียหายแบบเร่งด่วน พร้อมด้วยโซลูชั่น QR code รายแรกในอุตสาหกรรม ของ MasterPacT MTZ Active ช่วยให้ผู้ปฏิบัติการสามารถสแกน QR code เพื่อเข้าถึงแนวทางแก้ไขที่ดีที่สุดได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ทราบถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดการหยุดทำงาน” ฟาร์กัส เผยต่อว่า “เมื่อเกิดการโอเวอร์โหลด คุณจะได้รับคำแนะนำเพื่อให้จ่ายโหลดใหม่ ให้สมดุลกันระหว่างวงจรอย่างรวดเร็ว”

ยกระดับความปลอดภัยและความยั่งยืน

MasterPacT MTZ Active มาตรฐานใหม่ด้านความปลอดภัยและความยั่งยืน มาพร้อม Energy Reduction Maintenance Setting (ERMS) ภายในตัว ช่วยปกป้องอันตรายจากประกายไฟ ที่อาจเกิดกับเจ้าหน้าที่บำรุงรักษา และด้วยการออกแบบที่ใช้งานง่ายของชุดควบคุม ช่วยให้การตั้งค่าฟังก์ชั่นการป้องกันทั้งหมดสะดวกขึ้น รวมถึงเรื่องของกระแสไฟฟ้า การทดเวลา และการแจ้งเตือน

MasterPacT MTZ Active ยังเป็นเบรกเกอร์ ที่ถูกออกแบบมาเพื่อสอดรับกับนโยบายความยั่งยืน สามารถนำมาซ่อมแซมและใช้งานใหม่ได้ โดยหากมีการติดตั้ง MasterPacT รุ่น NT/NW อยู่ก่อนแล้ว ยังสามารถอัพเกรด trip unit ให้เป็นชุดควบคุมของ MTZ Active ได้ ทำให้ไม่ต้องเปลี่ยนตัวเบรกเกอร์ใหม่ เป็นการลดต้นทุน และลดการเกิดของเสีย

ในขณะที่การใช้พลังงานไฟฟ้า และการปฏิรูปสู่ดิจิทัล ได้เปลี่ยนแปลงการผลิต และความต้องการด้านพลังงานทั่วโลก ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ยังคงพัฒนานวัตกรรมของ MasterPacT อย่างต่อเนื่อง โดยอิงข้อมูลจากลูกค้า เพื่อมอบประสิทธิภาพของเบรกเกอร์ที่แข็งแกร่งและเชื่อถือได้


Categories
ข่าวประชาสัมพันธ์

การ์ทเนอร์คาดสิ้นปี 2568 โปรเจกต์ GenAI ถึง 30% จะถูกยกเลิกหลังกระบวนการพิสูจน์เชิงแนวคิด (Proof of Concept)

กรุงเทพฯ ประเทศไทย 31 กรกฎาคม 2567 – การ์ทเนอร์คาดการณ์ ภายในสิ้นปี 2568 โปรเจกต์ต่าง ๆ จาก Generative AI (GenAI) อย่างน้อย 30% จะยกเลิกหลังการพิสูจน์เชิงแนวคิด หรือ Proof of Concept (PoC) อันเนื่องมาจากข้อมูลคุณภาพต่ำ มีการควบคุมความเสี่ยงไม่เพียงพอ ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้น หรือมูลค่าทางธุรกิจไม่ชัดเจน

ริต้า ซาลลัม รองประธานฝ่ายวิจัยการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “หลังจาก GenAI เป็นกระแสฮือฮาเมื่อปีก่อน ผู้บริหารต่างจดจ้องที่จะได้เห็นผลตอบแทนจากการลงทุนใน GenAI แต่ว่าองค์กรต่าง ๆ กลับต้องฝ่าฟันเพื่อพิสูจน์และรับรู้ถึงคุณค่าของมัน ตามที่ขอบเขตของแผนงานด้าน GenAI ขยายออกไป ประกอบกับภาระทางการเงินในการพัฒนาและการนำโมเดล GenAI ไปใช้งานก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ

โดยการ์ทเนอร์ยังระบุว่าความท้าทายสำคัญที่องค์กรเผชิญนั้น คือ การพิสูจน์ให้เห็นถึงความคุ้มค่าของการลงทุนเป็นจำนวนมหาศาลกับ GenAI ในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ซึ่งจะแปลงเป็นผลประโยชน์ทางการเงินโดยตรงได้ยาก ทั้งนี้องค์กรมากมายกำลังใช้ประโยชน์จาก GenAI เพื่อเปลี่ยนแปลงโมเดลธุรกิจและสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ แต่อย่างไรก็ตาม แนวทางนี้มาพร้อมกับต้นทุนมหาศาลตั้งแต่ 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ไปจนถึง 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ดูรูปที่ 1)

 

รูปที่ 1 ต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการนำ GenAI ไปใช้ในแนวทางต่าง ๆ 

ที่มา: การ์ทเนอร์ (กรกฎาคม 2567)

“น่าเสียดายที่ GenAI ไม่มีสูตรสำเร็จที่ใช้ได้กับทุกสถานการณ์ และต้นทุนก็ไม่สามารถคาดเดาได้เหมือนกับเทคโนโลยีอื่น ๆ ดังนั้นสิ่งที่องค์กรจ่าย อาทิ ยูสเคสที่ลงทุนและวิธีการนำไปใช้ที่เลือก ล้วนเป็นตัวกำหนดต้นทุนทั้งนั้น ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้เข้ามาดิสรัปตลาดและต้องการฝัง AI เข้าไปในทุกที่ หรือต้องการมุ่งเน้นที่การเพิ่มผลผลิตหรือการขยายกระบวนการเดิมที่มีอยู่ สิ่งเหล่านี้ล้วนมีต้นทุน ความเสี่ยง ความผันแปร และส่งผลกระทบเชิงกลยุทธ์ในระดับที่ต่างกัน” ซาลลัม กล่าว

ผลการวิจัยการ์ทเนอร์ยังชี้ว่าการพัฒนา GenAI ไม่ว่าเพื่อเป้าหมายใด ต้องอาศัยความอดทนที่สูงกว่ากับผลลัพธ์ทางอ้อม สำหรับวางหลักเกณฑ์การลงทุนด้านการเงินในอนาคตเทียบกับผลตอบแทนการลงทุนทันที (ROI) ในอดีตผู้บริหารระดับสูงด้านการเงิน หรือ CFO หลายรายไม่สะดวกใจลงทุนวันนี้เพื่อมูลค่าทางอ้อมในอนาคต ซึ่งความลังเลใจนี้อาจทำให้การจัดสรรเม็ดเงินลงทุนถูกเบี่ยงเบนไปในทางยุทธวิธีมากกว่าผลลัพธ์เชิงกลยุทธ์

การตระหนักถึงมูลค่าทางธุรกิจ

ผู้ที่นำ AI มาใช้ก่อนใคร หรือที่เรียกว่า Earlier Adopter ทั้งในอุตสาหกรรมและกระบวนการทางธุรกิจต่างรายงานถึงพัฒนาการและการปรับปรุงด้านธุรกิจที่หลากหลาย แตกต่างกันไปตามยูสเคสใช้งาน ประเภทงาน และระดับทักษะของคนทำงาน ผลการสำรวจผู้นำทางธุรกิจของการ์ทเนอร์ล่าสุด จากจำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม 822 ราย ที่จัดทำช่วงเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายนปี 2566 พบว่าองค์กรที่นำ AI มาใช้มีรายได้เพิ่มขึ้น 15.8% ประหยัดต้นทุนขึ้น 15.2% และช่วยปรับปรุงประสิทธิผลการผลิตโดยเฉลี่ย 22.6%

“ดาต้านี้เป็นข้อมูลอ้างอิงสำคัญสำหรับการประเมินมูลค่าทางธุรกิจที่ได้มาจากนวัตกรรมโมเดลธุรกิจ GenAI แต่สิ่งสำคัญคือเราต้องยอมรับความท้าทายในการประเมินมูลค่าดังกล่าว เนื่องจากผลประโยชน์ต่าง ๆ นั้นจะขึ้นกับบริษัทเป็นหลัก รวมถึง ยูสเคส บทบาท และแรงงานอย่างเฉพาะ บ่อยครั้งที่ผลกระทบอาจไม่เผยชัดเจนในทันทีและอาจเกิดขึ้นภายหลัง อย่างไรก็ตาม ความล่าช้านี้ไม่ได้ลดผลประโยชน์ที่อาจได้รับลงแต่อย่างใด” ซาลลัม กล่าวเสริม

การคำนวณผลกระทบต่อธุรกิจ

จากการวิเคราะห์มูลค่าทางธุรกิจและต้นทุนรวมของนวัตกรรมโมเดลธุรกิจ GenAI องค์กรต่าง ๆ สามารถกำหนดผลตอบแทนจากการลงทุนโดยตรง (ROI) และผลกระทบต่อมูลค่าธุรกิจในอนาคตได้ ซึ่งถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการตัดสินใจลงทุนอย่างรอบคอบเกี่ยวกับนวัตกรรมโมเดลธุรกิจ GenAI

“หากผลลัพธ์ทางธุรกิจเป็นไปตามเป้าหรือเกินความคาดหวัง ถือเป็นโอกาสการขยายการลงทุน โดยเพิ่มขอบเขตนวัตกรรมและการใช้งาน GenAI ให้ครอบคลุมฐานผู้ใช้ที่กว้างขึ้น หรือนำไปใช้ในแผนกธุรกิจอื่น ๆ เพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม หากผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามที่คาด อาจจำเป็นต้องพิจารณานวัตกรรมทางเลือก โดยอาศัยข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้ช่วยให้องค์กรจัดสรรทรัพยากรได้อย่างมีกลยุทธ์พร้อมกำหนดแผนดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในอนาคต” ซาลลัม กล่าวสรุป

เกี่ยวกับการ์ทเนอร์ 

บริษัท การ์ทเนอร์ (Gartner, Inc.) (NYSE: IT) คือบริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาชั้นนำของโลก มอบข้อมูลเชิงลึก คำแนะนำ และเครื่องมือต่าง ๆ แก่ผู้บริหารองค์กรธุรกิจ เพื่อรองรับการดำเนินภารกิจสำคัญที่มีอยู่ในปัจจุบันและสร้างองค์กรให้ประสบความสำเร็จในอนาคต ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางของการ์ทเนอร์ในการช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจอย่างถูกต้องเพื่อขับเคลื่อนอนาคตของธุรกิจได้ที่ gartner.com


 

Exit mobile version