วันนี้ ไอบีเอ็ม (NYSE: IBM) ประกาศว่าบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) (IRPC) หนึ่งในบริษัทปิโตรเคมี ครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดในภูมิ ภาคอาเซียน ประสบความสำเร็จในการนำ IBM Robotic Process Automation (RPA) with Automation Anywhere ไปใช้ ในกระบวนการทำงานด้านการเงิน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความแม่นยำ ความรวดเร็ว และประหยัดต้นทุนอีกทั้ง ยังช่วยเพิ่มผลิตภาพ ( Productivity) ในการทำงานให้กั บพนักงาน ท่ามกลางความท้าทายในยุคปัจจุบั น
การผนึกพลังของเทคโนโลยีที่ก้ าวล้ำเข้ากับกระบวนการทางธุรกิ จเป็นส่วนหนึ่งของแผนกลยุทธ์ IRPC 4.0 เพื่อยกระดับการดำเนินงาน และนำพาองค์กรก้าวสู่การเป็นบริ ษัทที่ขับเคลื่อนด้วยนวั ตกรรมและดิจิทัลชั้ นนำของประเทศไทย ซึ่งการที่ จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว IRPC จำเป็นต้องได้รับข้อมูลเชิงลึ กในเวลาที่เหมาะสมทันท่วงที ด้วยการนำร่องใช้เทคโนโลยี ออโตเมชัน โดยเริ่มจากสายงานบัญชี และการเงิน
ระบบ RPA ที่ติดตั้งโดย บริษัท เมโทรซิสเต็มส์คอร์ ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ช่วยให้ IRPCสามารถดึงและจัดเตรียมข้อมู ลรายงานต้นทุนการผลิ ตจากหลายระบบได้เร็วขึ้นถึง 86% โดยระบบยังสามารถติดตามงาน จัดระเบียบรายงานเป็นแฟ้ มเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงส่งการแจ้งเตือนไปยังผู้ ปฏิบัติการ เมื่อทำรายงานเสร็จ เทคโนโลยีของไอบีเอ็มช่วยให้ IRPCสามารถดำเนิ นกระบวนการทางการเงินแบบอัตโนมั ติในระดับองค์กรขนาดใหญ่ได้อย่ างง่ายดาย และรวดเร็ว โดยซอฟต์แวร์โรบ็อทหรือบ็อท หรือ IBOT (ชื่อที่ IRPC ใช้) สามารถใช้ข้อมูลปัญญาประดิษฐ์ เชิงลึกเพื่อทำงานให้เสร็จสิ้ นได้เร็วขึ้น และช่วยสนับสนุน IRPC ในการเดิ นหน้าก้าวสู่การเปลี่ ยนแปลงทางด้านดิจิทัลได้สำเร็จ
นอกจากจะช่วยเพิ่มความแม่นยำแล้ ว RPA ยังช่วยให้พนั กงานทำงานได้มีประสิทธิ ภาพและรวดเร็วยิ่งขึ้นแม้ว่ าจะต้องทำงานจากระยะไกล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาที่ต้ องทำงานจากที่บ้าน (work from home) ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิ ด-19 โดยพนักงานสามารถทำงานที่ สร้างมูลค่าเพิ่มมากขึ้น และเรียนรู้ทักษะแห่งอนาคตใหม่ รองรับงานด้านการวิเคราะห์ขั้ นสูงที่ต้องอาศัยความเชี่ ยวชาญมากขึ้น
“เห็นได้ชัดว่าองค์กรที่มีนวั ตกรรมและมีบุคลากรที่พร้อมรั บนวัตกรรมใหม่ๆ อย่าง IRPC มีความพร้อมที่ จะตอบสนองต่อภูมิทัศน์ทางธุรกิ จที่เปลี่ยนไป และคว้าโอกาสทางธุรกิจที่ดีที่ สุดที่มีอยู่ได้” ปฐมา จันทรักษ์ รองประธานด้านการขยายธุรกิ จในกลุ่มประเทศอินโดจีน และกรรมการผู้จัดการใหญ่ ไอบีเอ็ม ประเทศไทย กล่าว “ในฐานะผู้นำตลาดที่ได้รับการจั ดอันดับโดยทั้งฟอร์เรสเตอร์ แอนด์เอเวอร์เรสต์กรุ๊ป ไอบีเอ็ม และพันธมิตรอย่างเมโทรซิสเต็มส์ มีความยินดีที่ได้นำเทคโนโลยี ออโตเมชันชั้นนำและความเชี่ ยวชาญเชิงอุตสาหกรรมของเรามาช่ วย IRPC เร่งเครื่องสู่เส้นทางการเปลี่ ยนผ่านด้านดิจิทัล และการเติบโตด้านธุรกิ จ”
ความสามารถในการทำงานแบบควบรวมห ลายระบบเข้าด้วยกัน ทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร ทำให้วันนี้เทคโนโลยีออโตเมชั นของไอบีเอ็มถูกนำมาใช้ในด้านอื่ นด้วย การที่ออโตเมชันช่ วยลดเวลาการทำงานลง 40 ชั่วโมง และช่วยให้การดำเนิ นการของสายงานบัญชีและการเงิ นเร็วขึ้น 86 % ต่อเดือน ถือเป็นการพลิกโฉมรู ปแบบการจัดการงานต่างๆ ให้กับIRPC ได้อย่างมีนัยสำคัญ
“การปรับกระบวนการและการดำเนิ นงานให้เป็นรูปแบบดิจิทัลมากยิ่ งขึ้น ช่วยให้เราได้รับข้อมูลเชิงลึ กที่ถูกต้องแม่นยำและทันท่วงที ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด ทำให้สามารถเข้าใจสาเหตุของปั ญหาต่างๆ อย่างแท้จริง และตัดสินใจได้อย่างถูกต้องบนพื้ นฐานของข้อมูล ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ งโดยเฉพาะในช่วงเวลาแห่งความท้ าทายนี้” นายชวลิต ทิพพาวนิช ประธานเจ้าหน้าที่บริ หารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)กล่าว “การนำเทคโนโลยีออโตเมชั นจากไอบีเอ็มมาใช้ และขยายการใช้งานทั่วทั้งบริษั ทฯ ในวันนี้จะช่วยให้ธุรกิจพร้อมต่ อการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น และช่วยเพิ่มความสามารถในการจั ดการข้อมูลปริมาณมหาศาล ซึ่งเป็นอีกหนึ่งขั้นของการเดิ นหน้าบนเส้นทาง IRPC 4.0 ตามแผนกลยุทธ์ของเรา เทคโนโลยีนี้จะทำให้ IRPC เป็ นผู้นำในทุกตลาดที่เต็มไปด้ วยการแข่งขัน”
“หลังจากประสบความสำเร็จกั บการเริ่มใช้ RPA ในสายงานบัญชี และการเงิน IRPC จึงมองถึ งการขยายการใช้ระบบออโตเมชั นไปยังโครงการอื่นๆ อีก 60 โครงการ ครอบคลุมการทำงานของหลายหน่ วยงาน อีกทั้งยังวางแผนที่ จะนำเทคโนโลยีออโตเมชันอย่างปั ญญาประดิษฐ์มาใช้กั บกระบวนการทางธุรกิจ (business process automation: BPA) เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย” นายชวลิต กล่าวเพิ่มเติม
ข้อมูลอื่นเพิ่มเติม
การศึกษาโดยสถาบันการศึกษาคุณค่ าทางธุรกิจของไอบีเอ็ม (IBV) ร่วมกับอ็อกซ์ฟอร์ดอีโคโนมิกส์ ชี้ให้ เห็นว่าลักษณะของงานที่ใช้ เทคโนโลยีจะเปลี่ยนแปลงไปอย่ างมีนัยสำคัญภายในปี 2567 โดยเปอร์เซ็นต์ของงานทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นงานธุรการ งานของแผนก งานขององค์กร และงานที่ต้องอาศัยผู้เชี่ ยวชาญ จะยังคงมีมากขึ้นอย่างต่ อเนื่อง โดยงานขององค์กรและงานที่ต้ องอาศัยผู้เชี่ยวชาญมีสัดส่ วนมากที่สุด เมื่อพิจารณาลงรายละเอียด หนึ่งในห้าของผู้ที่ ตอบแบบสำรวจระบุว่าเทคโนโลยี จะถูกใช้ในการทำธุรกรรมข้ ามแผนกทั่วทั้งองค์กร ขณะที่ผู้ตอบแบบสำรวจจำนวนห้ าเปอร์เซ็นต์มองว่าเทคโนโลยี จะถูกนำมาใช้ในงานที่ต้องอาศั ยผู้เชี่ยวชาญอย่างการแก้ปัญหา โดยอาศัยข้อมูลแบบเรียลไทม์หรื ออาศัยข้อมูลเพื่อใช้ในการวิ เคราะห์หลายประเภท
ไอบีเอ็มได้เข้าซื้อกิจการ WDG Automation เมื่อไม่นานมานี้ เพื่อพัฒนาขี ดความสามารถของระบบออโตเมชั นสำหรับองค์กรที่ ผสานความสามารถของเอไอ วันนี้บริการออโตเมชันของไอบี เอ็มได้เข้าช่วยเพิ่มประสิทธิ ภาพ ลดต้นทุน และเพิ่มผลิตภาพในงานปฏิบัติ การให้กับอุตสาหกรรมต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น เภสัชกรรม ยานยนต์ ประกันภัย การธนาคาร ฯลฯ