เส้นด้ายนำไฟฟ้า

เส้นด้ายนำไฟฟ้า

การพัฒนาสิ่งทออิเล็กทรอนิกส์เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี ค.ศ.2004 และมีการนำตัวอย่างของวัสดุที่ได้รับการพัฒนาขึ้น ไปทดลองใช้ในการผลิตเสื้อผ้าและผลิตภัณฑ์สิ่งทออย่างจริงจัง จำนวนตัวเลขของอุตสาหกรรมนี้มีการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ รวมถึงการเข้ามาสู่ครัวเรือนของสิ่งทออิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางงานฝีมืองาน เย็บ ปัก ถัก ร้อย ที่ทำให้งานอดิเรกของคุณแม่บ้านได้มีโอกาสมาพบงานประดิษฐ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ ของคุณพ่อบ้าน เท่านั้นยังไม่พอ มีแนวโน้มที่จะมีการนำศาสตร์ทั้งสองด้านนี้ ที่เคยอยู่กันคนละด้าน มาผนวกเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดคำศัพท์ใหม่ ที่สามารถแสดงถึงตัวตนของการผสมผสานนี้คือ Fashioning Technology

วัสดุที่มีบทบาทมากที่สุดและเป็นจุดเชื่อมโยงสำคัญของการเกิดสิ่ง ประดิษฐ์ในสายงานของแฟชั่นเทคโนโลยีคือ เส้นด้ายนำไฟฟ้า (Conductive Thread) เพราะในการเย็บหรือติดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เข้ากับผืนผ้านั้น จำเป็นต้องใช้เส้นด้ายในการติดยึด เพื่อป้องกันไม่ให้ผ้าเสียหาย ดังนั้นเราจึงควรรู้จักวัสดุพิเศษตัวนี้กันให้มากขึ้นว่า เส้นด้ายนำไฟฟ้า สามารถนำไฟฟ้าได้อย่างไร และสามารถนำไปซัก รีด ได้หรือไม่ และมีหลักการทำงานอย่างไร

conductive-thread_edit02

วัสดุตัวนำไฟฟ้า
วัสดุที่นำมาใช้ผลิตเส้นด้ายนำ ไฟฟ้าคือเส้นใยสังเคราะห์ ที่มีการชุบด้วยเงินหรือ Silver Plated Nylon โดยในการผลิตจะนำเส้นใยสังเคราะห์นี้มาถักเข้ากันเพื่อให้เส้นด้ายมีความหนา และเหนียวมากเพียงพอที่จะใช้ในการยึดอุปกรณ์เข้ากับผืนผ้าได้อย่างแน่นหนา แต่ก็มีความยืดหยุ่นเพียงพอที่จะไม่ทำให้ผ้าที่นำมาเย็บนั้นเกิดการร่น ยับ หรือเกิดความเสียหายแก่ผืนผ้านั้นๆ  นอกจากการใช้เงินแล้วยังสามารถใช้นิเกิลหรือดีบุกมาใชเป็นส่วนผสมในการผลิต เส้นด้ายนำไฟฟ้าด้วย ความแตกต่างคือ ค่าความต้านทานไฟฟ้าของเส้นด้ายที่เกิดขึ้นจะมีความแตกต่างกัน

ความต้านทาน
แม้เส้นด้ายนำไฟฟ้าจะยอมให้กระแสไฟฟ้าผ่านไปได้ แต่ตัวมันเองก็มีค่าความต้านทานอยู่ โดยมีค่าอยู่ระหว่าง 14 ถึง 100 โอห์ม โดยประมาณ และไม่ควรมากกว่านี้

ทั้งนี้เป็นผลมาจากการผสมโลหะนำไฟฟ้าเข้ากับเส้นใยสังเคราะห์และด้วยการรีด ให้เป็นเส้นที่เล็กมาก ทำให้เกิดค่าความต้านทานไฟฟ้าที่สูงขึ้น (ปกติสายไฟเส้นเล็กจะมีค่าความต้านทานสูงกว่าสายไฟเส้นใหญ่ โดยพิจารณาที่พื้นที่หน้าตัดของเส้นลวดนำไฟฟ้า) นอกจากนั้นการถักให้เส้นด้ายมีความหนาแตกต่างกันจะมีส่วนทำให้ค่าความต้าน ทานไฟฟ้าของเส้นด้ายนำไฟฟ้านี้แตกต่างกันด้วย โดยยิ่งเส้นด้ายมีความหนาหรือถักหลายชั้น ค่าความต้านทานไฟฟาต่อความยาวจะยิ่งลดลง

สนใจหามาลองใช้งานติดต่อที่ บริษัท อินโนเวตีฟ เอ็กเพอริเมนต์ จำกัด