การ์ทเนอร์คาดการณ์ยอดการจัดส่งอุปกรณ์ไอทีปี 2566  ลดลง 4% ทั่วโลก

การ์ทเนอร์คาดการณ์ยอดการจัดส่งอุปกรณ์ไอทีปี 2566 ลดลง 4% ทั่วโลก

กรุงเทพฯ 7 กุมภาพันธ์ 2566 – การ์ทเนอร์ อิงค์ เผยยอดการจัดส่งอุปกรณ์ไอทีทั่วโลก (ประกอบด้วย พีซี แท็บเล็ต และโทรศัพท์มือถือ) คาดว่าจะเติบโตลดลง 4.4% ในปี 2566 คิดเป็นอุปกรณ์จำนวน 1.7 พันล้านยูนิต จากในปี 2565 ที่การจัดส่งอุปกรณ์ลดลง 11.9%

รันจิต อัตวาล ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิจัยการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำจะยังคงส่งผลทำให้ความต้องการอุปกรณ์เติบโตลดลงต่อเนื่องในปี 2566 สอดคล้องกับปริมาณการใช้จ่ายในกลุ่มอุปกรณ์ไอทีของผู้ใช้ปลายทางที่ลดลง 5.1% ในปีนี้ ขณะที่ความเชื่อมั่นทางธุรกิจเริ่มฟื้นตัวหลังจากการระบาดครั้งเลวร้ายที่สุด และตอนนี้ในหลายภูมิภาคส่วนใหญ่ลดลงอย่างมาก จากวันนี้จนถึงไตรมาสที่สี่เราไม่คาดว่าการผ่อนคลายของอัตราเงินเฟ้อและจุดต่ำสุดของภาวะเศรษฐกิจถดถอยจะปรับตัวดีขึ้น”

แนวโน้มขาลงที่ส่งผลกระทบต่อตลาดอุปกรณ์จะคลี่คลายในปี 2566 จากความคาดหวังของเศรษฐกิจในแง่ร้ายที่ลดลงตลอดปีนี้ ซึ่งจะส่งผลให้ยอดการใช้จ่ายของผู้บริโภคและภาคธุรกิจเพิ่มขึ้นในที่สุด

ยอดพีซีคงคลังจะกลับมาเป็นปกติภายในครึ่งปีหลัง 2566 

ในปี 2566 ยอดการจัดส่งพีซีจะยังลดลงต่ำสุดจากทุกกลุ่มอุปกรณ์ โดยคาดว่าจะลดลง 6.8% ในปี 2566 จากเดิมในปี 2565 ที่ลดลงถึง 16% (ดูตารางที่ 1)

ตารางที่ 1 ยอดการจัดส่งอุปกรณ์ไอทีทั่วโลก ระหว่างปี 2565-2566 (หน่วย: ล้านยูนิต)

Device Type 2022

Shipments

2022

Growth (%)

2023

Shipments

2023

Growth (%)

PC 287,159 -16.0 267,676 -6.8
Tablet 136,938 -12.0 132,963 -2.9
Mobile Phone 1,395,247 -11.0 1,339,505 -4.0
Total Devices 1,819,344 -11.9 1,740,143 -4.4

The PC segment includes desk-based, notebooks, ultramobile premium and Chromebooks. Tablets include all Android and iOS.

ที่มา: การ์ทเนอร์ (มกราคม 2566)

ผู้จำหน่ายพีซีจะลดจำนวนสินค้าคงคลังตลอดปี 2566 และนักวิเคราะห์ของการ์ทเนอร์คาดว่ายอดพีซีคงคลังจะกลับมาเป็นปกติในช่วงครึ่งปีหลังปีนี้ หลังจากที่มียอดเพิ่มขึ้นอย่างมากในปีที่แล้ว เนื่องจากผู้จำหน่ายประเมินความต้องการของตลาดสูงเกินไป และเป็นผลมาจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ตกต่ำ รวมถึงอุปสงค์ที่ลดลงอย่างมาก ขณะที่ในปี 2565 พีซีสำหรับธุรกิจจำนวนมากสามารถอัปเกรดเป็นระบบปฏิบัติการ Windows 10 (OS) แต่ยังมีอีกมากที่อัปเกรดไม่ได้ การ์ทเนอร์คาดว่ากว่า 25% ของพีซีสำหรับธุรกิจจะอัปเกรดเป็น Windows 11 ในปี 2566 แต่ Windows 11 ไม่สามารถกระตุ้นยอดจำหน่ายให้กลับมามีปริมาณเท่าในช่วงปี 2563 – 2565 นอกจากนี้ผลของอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นและภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่กำลังคืบคลานเข้ามาจะส่งผลให้เกิดการลดการใช้จ่ายและการจัดสรรงบประมาณตามความเหมาะสมยิ่งขึ้น การ์ทเนอร์คาดว่า ภายในสิ้นปี 2566 กลุ่มผู้บริโภคและธุรกิจจะปรับขยายรอบการเปลี่ยนอุปกรณ์พีซีและแท็บเล็ตออกไปเป็นมากกว่า 9 เดือน

รอบการเปลี่ยนโทรศัพท์มือถือจะยืดออกไปในปี 2566

ในปี 2566 การ์ทเนอร์คาดว่ายอดจัดส่งสมาร์ทโฟนทั่วโลกจะลดลง 4% โดยคาดว่าจะอยู่ที่ 1.23 พันล้านยูนิต ลดลงจาก 1.28 พันล้านยูนิต ในปี 2565

“ผู้บริโภคจะใช้โทรศัพท์ตัวเองนานกว่าที่คาดไว้ จาก 6 เดือนเป็น 9 เดือน และเปลี่ยนจากการใช้สัญญาแบบตายตัวไปเป็นบริการที่ยืดหยุ่นในช่วงที่ยังไม่มีเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จำเป็นออกมา นอกจากนี้ ผู้ขายยังผลักต้นทุนส่วนประกอบที่เพิ่มสูงขึ้นไปยังผู้ใช้ ซึ่งทำให้ความต้องการลดลงไปอีก โดยปริมาณการใช้จ่ายกับโทรศัพท์มือถือของผู้ใช้คาดว่าจะลดลง 3.8% ในปี 2566” อัตวาล กล่าวเพิ่มเติม

ลูกค้าการ์ทเนอร์สามารถคลิกอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ “Forecast: PCs, Tablets and Mobile Phones, Worldwide, 2020-2026, 4Q22 Update.”

เกี่ยวกับ Gartner for High Tech

Gartner for High Tech นำเสนอแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดตามขอบเขตความรับผิดชอบให้แก่ผู้นำเทคโนโลยีและทีมงานไอที รวมถึงข้อมูลเชิงลึกในอุตสาหกรรม มุมมองกลยุทธ์แนวโน้มเกิดใหม่และการเปลี่ยนแปลงในตลาด เพื่อให้สามารถจัดลำดับความสำคัญของภารกิจและสร้างความสำเร็จให้แก่องค์กรในอนาคต อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.gartner.com/en/industries/high-tech

ติดตามข่าวสารและข้อมูลอัปเดตจาก Gartner for High Tech ได้ทาง Twitter และ LinkedIn โดยใช้ hashtag #GartnerHT

เกี่ยวกับการ์ทเนอร์ 

บริษัท การ์ทเนอร์ (Gartner, Inc.) (NYSE: IT) คือบริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาชั้นนำของโลก มอบข้อมูลเชิงลึก คำแนะนำ และเครื่องมือต่าง ๆ แก่ผู้บริหารองค์กรธุรกิจ เพื่อรองรับการดำเนินภารกิจสำคัญที่มีอยู่ในปัจจุบันและสร้างองค์กรให้ประสบความสำเร็จในอนาคต ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางของการ์ทเนอร์ในการช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจอย่างถูกต้องเพื่อขับเคลื่อนอนาคตของธุรกิจได้ที่ gartner.com