แก้ปัญหาชักโครกกดไม่ลง

แก้ปัญหาชักโครกกดไม่ลง

ปัญหาชักโครกกดไม่ลงแบบนี้เชื่อว่าหลายคนคงเคยพบเจอเป็นแน่ แล้วคำว่ากดไม่ลงเนี่ยมันหมายถึงอะไร ส้วมเต็มหรือว่ามีสิ่งสกปรกอุดตัน หากเป็นอย่างที่กล่าวมา มันขำๆ ครับ

เพราะเห็นกันอยู่ว่า หากส้วมเต็มก็เรียกรถจากเขตหรือเทศบาลมาสูบออก และหากมีสิ่งสกปรกอุดตัน ก็อาจใช้น้ำยาอย่างโซดาไฟ หรือน้ำหมักชีวภาพเทราดลงไปเพื่อช่วยย่อยสลายสิ่งสกปรกต่างๆ ได้

แต่ที่จะมาแนะนำ และบอกเล่ากันนี้ น่าจะเป็นประโยชน์ เพราะผู้เขียนเองก็ประสบปัญหานี้และก็ได้ลองทำแล้วพบว่าสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้จริงๆ ครับ

ปัญหานี้เกิดจากการวางแนวท่อระบายอากาศตั้งแต่ตอนติดตั้งของช่าง เช่นปลายท่อวางไว้ใกล้พื้นดินมากเกินไป ทำให้ท่อระบายอากาศมีสิ่งสกปรกหรือสัตว์เลื้อยคลายต่างๆ เข้าไปอาศัยอยู่ทำให้เกิดการอุดตันจึงไม่สามารถระบายอากาศได้ดี ซึ่งเกิดขึ้นบ่อยกับบ้านทาวน์เฮ้าส์ ทาวโฮม จึงทำให้เมื่อกดชักโครกแล้วอากาศระบายไม่สะดวกเกิดน้ำเออขึ้นมาในอ่างชักโครก โดยขั้นตอนการแก้ไขก็ง่ายมากๆ ให้สังเกตุที่ฐานของชักโครก จะมีช่องเล็กๆ ที่ถูกอุดด้วยปูนยาแนว ซึ่งปกติแล้วช่องเล็กๆ นี้ ผู้ผลิตออกแบบไว้สำหรับใช้สกรูหรือพุกยึดกับพื้นห้องน้ำเพื่อความแน่นหนา ทั้งฝั่งซ้ายและขวา ฝั่งละหนึ่งรู ดังรูปด้านล่าง เจ้ารูนี้แหละครับที่ช่างส่วนใหญ่ใช้ปูนยาแนวอุดเอาไว้เฉยๆ ไม่ได้ใช้น๊อตหรือสกรูเจาะยึดให้เรา เลยกลายเป็นเรื่องดีรึเปล่าอันนี้แล้วแต่จะมองนะครับ โดยหากช่างไม่ได้ยึดไว้ก็ทำให้เราสามารถใช้ประโยชน์จากรูที่ว่านี้มาช่วยระบายอากาศได้อีกทางครับ

 flush-toilet001

วิธีเปิดรูก็ง่ายมากๆ ใช้เพียงตะปูหนึ่งตัวและค้อนหนึ่งอัน จากนั้นค่อยๆ นำค้อนตอกตะปูลงไป จนเป็นรูดังรูปด้านล่างนี้ครับ อ๊ะๆ แต่หากตอกลงไปแล้วรู้สึกว่ามันแข็งก็แสดงว่าเจอหัวสกรูเข้าให้แล้วดังนั้นหากเจอหัวสกรูที่ยึดชักโครกกับพื้นอยู่ก็อย่าฝืนทำต่อนะครับเดี๋ยวชักโครกจะแตกเอาเสียก่อน

 flush-toilet002

หากเจาะได้แล้วก็เอาแค่รูเดียวก็น่าจะเพียงพอแล้วครับ จากนั้นทดลองกดชักโครกดู จะได้ยินเสียงลมเคลื่อนตัวออกจากรูนี้ และน้ำก็จะไหลลงได้ดีขึ้น

เตือนอีกครั้ง
นี่คือการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ความจริงแล้วรูนี้ต้องปิดไว้นะครับ เพราะมันเป็นรูที่อยู่ติดกับท่อทิ้งสิ่งปฏิกูลทั้งหลายที่จะไหลลงไปในถัง แต่ที่เราต้องเจาะรูก็เพราะมันสุดวิสัย 

สุดท้ายอย่าลืมตามช่างมาแก้ไขท่อระบายอากาศให้เรียบร้อย

หมายเหตุ. บางคนพบปัญหาน้ำไหลย้อนขึ้นมาจากรูที่เจาะนี้ ดังนั้นจึงควรเจาะรูเท่าตะปูแค่รูเดียวเท่านั้นหากเจาะมากกว่านี้ อาจทำให้แก้ไขได้ลำบาก


เรื่องที่คุณอาจสนใจ