กระทรวงการคลังมุ่งมั่นเดินหน้าจัด “โครงการประกวดรางวัลเพชรวายุภักษ์ ครั้งที่ 8 ประจำปี 2564” โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรและหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการคลัง ได้แสดงออกด้านความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรมและต่อยอดแนวความคิดเพื่อพัฒนาองค์กรให้ทันสมัย โดยมุ่งเน้นการสร้างนวัตกรรมในบริบทของกระทรวงการคลัง ให้สอดคล้องเท่าทันความเปลี่ยนแปลงนำไปสู่เป้าหมายเพื่อปรับเปลี่ยนเข้าสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลได้อย่างเต็มรูปแบบ ตามนโยบายของรัฐบาลได้อย่างเป็นรูปธรรม และตอบสนองความต้องการและสร้างความพึงพอใจให้กับประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
“โครงการประกวดรางวัลเพชรวายุภักษ์ ครั้งที่ 8 ประจำปี 2564” มีผลงานที่ส่งเข้าประกวด จำนวนทั้งสิ้น 68 ผลงาน โดยแบ่งประเภทผลงาน ดังนี้
1. ประเภทหน่วยงานระดับกรมหรือเทียบเท่า จำนวน 17 ผลงาน แบ่งออกเป็น
– ผลงานนวัตกรรมผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ 6 ผลงาน
– ผลงานนวัตกรรมกระบวนการทำงานใหม่ 6 ผลงาน
– ผลงานการขยายผลต่อยอดนวัตกรรม 5 ผลงาน
2. ประเภทหน่วยงานระดับสำนัก กอง หรือเทียบเท่า จำนวน 15 ผลงาน แบ่งออกเป็น
– ผลงานนวัตกรรม 11 ผลงาน
– ผลงานการขยายผลต่อยอดนวัตกรรม 4 ผลงาน
3. ประเภทคณะบุคคล จำนวน 36 ผลงาน แบ่งออกเป็น
– แนวคิดผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ 9 ผลงาน
– แนวคิดกระบวนการทำงานใหม่ 15 ผลงาน
– แนวคิดนวัตกรรมเพื่ออนาคต 12 ผลงาน
พิธีมอบรางวัลเพชรวายุภักษ์ ครั้งที่ 8 ประจำปี 2564 นี้ จัดขึ้น เมื่อวันพุธที่ 1 ธันวาคม 2564 ณ ห้องออดิทอเรียม ชั้น 6 ตึกเพกาซัส อาคาร ทรู ดิจิทัล พาร์ค โดยมีนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้เกียรติเป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงการคลัง นายพิพัฒน์ชัย ภัครัชตานนท์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง นายวารุจ ศิริวัฒน์ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และนายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ปลัดกระทรวงการคลัง พร้อมทั้งคณะผู้บริหารระดับสูงและหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการคลังร่วมเป็นเกียรติในพิธี
โดยปีนี้มีผลงานที่ได้รับการพิจารณาคัดเลือกและได้รับรางวัลเพชรวายุภักษ์ ครั้งที่ 8 ประจำปี 2564 จำนวนทั้งสิ้น 24 ผลงาน ซึ่งได้ผ่านการคัดสรรและได้รับการพิจารณาคัดเลือกจากคณะกรรมการตัดสินผู้ทรงคุณวุฒิ โดยทุกผลงานนวัตกรรมที่ได้รับ รางวัลเพชรวายุภักษ์ ครั้งที่ 8 ประจำปี 2564 นี้ ล้วนเป็นการสร้างสรรค์การทำงานในรูปแบบใหม่ เพื่อยกระดับการดำเนินงานด้วยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางความคิดที่สร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่ ส่งต่อสู่การให้บริการประชาชน และสอดรับกับการวางรากฐานการพัฒนาประเทศ โดยผสานเทคโนโลยีและพลังทางความคิดในการสร้างนวัตกรรมยุคใหม่เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและประเทศอย่างยั่งยืน
โดยผลการประกวดรางวัลเพชรวายุภักษ์ ครั้งที่ 8 ประจำปี 2564 มีดังนี้
1) ผลการประกวดรางวัลเพชรวายุภักษ์ ครั้งที่ 8 ประเภทหน่วยงานระดับกรมหรือเทียบเท่า
1.1 ประเภทผลงานนวัตกรรมผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่
รางวัลชนะเลิศระดับ Diamond : การลงทุนพันธบัตรออมทรัพย์ด้วย “วอลเล็ต สบม.” : สะดวก เข้าถึงง่าย ได้ความมั่งคั่ง โดย สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ
รางวัลชนะเลิศระดับ Gold : ระบบการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นักท่องเที่ยว (Application Thailand VRT) ด้วยเทคโนโลยี Blockchain โดย กรมสรรพากร
รางวัลชนะเลิศระดับ Silver : ศูนย์บริหารจัดการราคาประเมินทรัพย์สินแห่งชาติ (National Property Valuation Management Center) โดย กรมธนารักษ์
1.2 ประเภทผลงานนวัตกรรมกระบวนการทำงานใหม่
รางวัลชนะเลิศระดับ Diamond : D-Section 12 ระบบออกคำสั่งตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร โดยกรมสรรพากร
รางวัลชนะเลิศระดับ Gold : Procurement Single Windows (การบูรณาการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์และการเชื่อมโยงจัดซื้อจัดจ้างแบบครบวงจร) โดย กรมบัญชีกลาง
รางวัลชนะเลิศระดับ Silver : ถามได้ ตอบดี ทุกที่ ทุกเวลา กับ HR Chatbot โดย กรมศุลกากร
1.3 ประเภทผลงานการขยายผลต่อยอดนวัตกรรม
รางวัลชนะเลิศระดับ Diamond : การพัฒนาแบบจำลองการบริหารความเสี่ยงหนี้สาธารณะเพื่อใช้ในสำนักงาน (In-house Risk Model for Public Debt Management) โดย สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ
รางวัลชนะเลิศระดับ Gold : e-GP Blockchain (การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดซื้อจัดจ้างด้วยเทคโนโลยี Blockchain) โดย กรมบัญชีกลาง
รางวัลชนะเลิศระดับ Silver : จัดเตรียมแบบภาษี (ภ.ง.ด.91) ด้วยเทคโนโลยี Open API (Application Programming Interface) โดย กรมสรรพากร
2) ผลการประกวดรางวัลเพชรวายุภักษ์ ครั้งที่ 8 ประเภทหน่วยงานระดับสำนัก กอง หรือเทียบเท่า
2.1 ประเภทผลงานนวัตกรรม
รางวัลชนะเลิศระดับ Diamond : e-Stamp Duty โดยกองบริหารการเสียภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ กรมสรรพากร
รางวัลชนะเลิศระดับ Gold : การพัฒนาเครื่องมือวิเคราะห์นโยบายภาครัฐ : กรณีศึกษามาตรการชิมช้อปใช้ โดย สำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
รางวัลชนะเลิศระดับ Silver : การพัฒนาระบบการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการงานก่อสร้างด้วยอิเล็กทรอนิกส์ โดย กองระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐและราคากลาง กรมบัญชีกลาง
2.2 ประเภทผลงานการขยายผลต่อยอดนวัตกรรม
รางวัลชนะเลิศระดับ Diamond : การพัฒนาเครื่องมือการติดตามภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคด้วยวิทยาการสมัยใหม่ : ข้อมูลดาวเทียม (Satellite data) ข้อมูลภูมิสารสนเทศ (Geoinformatics) การบันทึกข้อมูลจากเว็บเพจ (Web Crawler) และดัชนีความเคลื่อนไหว (Mobility Index) โดย สำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
รางวัลชนะเลิศระดับ Gold : AI & Big Data for Public Procurement (การวิเคราะห์ประสิทธิภาพและความผิดปกติในการจัดซื้อจัดจ้าง) โดย กองระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐและราคากลาง กรมบัญชีกลาง
รางวัลชนะเลิศระดับ Silver : ระบบบริหารจัดการสำนักงาน Green Office โดย สำนักงานสรรพากรภาค 3 กรมสรรพากร
3) ผลการประกวดรางวัลเพชรวายุภักษ์ ครั้งที่ 8 ประเภทคณะบุคคล
3.1 ประเภทแนวคิดผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่
รางวัลชนะเลิศระดับ Diamond : ระบบราคาอ้างอิงอัจฉริยะ AI (Artificial Intelligence – Reference Price System) โดย
1. นางสาวสุพัตรา ชนไธสง นักวิชาการคลังชำนาญการ
2. นางปริตตา สมานชื่น นักวิชาการคลังปฏิบัติการกองระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐและราคากลาง
3. นางสาวสัตตบงกช ศรีมณี นักวิชาการคลังปฏิบัติการกองการพัสดุภาครัฐกรมบัญชีกลาง
รางวัลชนะเลิศระดับ Gold : ระบบบัตรค่าใช้จ่ายเดินทางไปราชการอัจฉริยะ The Government Travel Card (GTC) โดย
1. นางสาวกันต์กนิษฐ์ แสงแก้ว นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการพิเศษกองบริหารทรัพยากรบุคคล กรมศุลกากร
2. นางสาวสองศักดิ์ ชูภักดี นิติกรชำนาญการ
3. นางสาวคนางค์ เกิดจำรูญ นักวิชาการคลังปฏิบัติการกองระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐและราคากลางกรมบัญชีกลาง
4. นายอาทิตย์ สินสืบผล เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีสำนักงานเลขานุการกรม กรมบัญชีกลาง
รางวัลชนะเลิศระดับ Silver : My Tax Checker System ระบบจัดการหนี้ภาษีอากร โดย
1. นางอรวริศรา ดีสุขแสง นักวิชาการสรรพากรชำนาญการพิเศษ
2. นายพรณเรศ นาคเมฆ นักวิชาการสรรพากรชำนาญการพิเศษ
3. นางสาวกิตติยา ทองเมือง นิติกรชำนาญการพิเศษ
4. นางสุดาทิพย์ แพรศรี นักวิชาการภาษีชำนาญการ สำนักงานสรรพากรพื้นที่กำแพงเพชร กรมสรรพากร
3.2 ประเภทแนวคิดกระบวนการทำงานใหม่
รางวัลชนะเลิศระดับ Diamond : การยื่นขอรับเงินสวัสดิการและค่าตอบแทนภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ โดย
1. นางฉัตรพร เหล่าเขตการณ์ คลังจังหวัดสุรินทร์
2. นางสาวอัจฉรา ทองพันชั่ง นักวิชาการคลังชำนาญการพิเศษ
3. นางพิณนรา ประดิษฐ์ผล นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ
4. นางกัญญาณัฐ แก้วปลั่ง นักวิชาการคลังปฏิบัติการ
5. นางฎิฐิรัช ก่อแก้ว นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ สำนักงานคลังจังหวัดสุรินทร์ กรมบัญชีกลาง
รางวัลชนะเลิศระดับ Gold : ระบบวิเคราะห์ข้อมูลเชิงรุก เพื่อสร้างกลยุทธ์ทางเศรษฐกิจ ระบบ STAR (S=Strategic, T=Trend, A=Analytic, R=Report) โดย
1. นายนรพัชร์ อัศววัลลภ เศรษฐกรชำนาญการพิเศษ
2. นางสาวคงขวัญ ศิลา เศรษฐกรชำนาญการ
3. นายกวิน เอี่ยมตระกูล เศรษฐกรชำนาญการ
4. นางสาวกุสุมา จารุมณี เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน สำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
5. นางสาวสมิทธิ์ธนา ชัยเจนกิจ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการพิเศษ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง
รางวัลชนะเลิศระดับ Silver : ระบบสารสนเทศเพื่อจัดทำแผนการบริหารหนี้สาธารณะ (ระบบDDPLAN) โดย
1. นางสาวปฏิมา พักตร์ผ่อง เศรษฐกรชำนาญการ
2. นางสาวกชกร ธีระวงศ์สกุล เศรษฐกรปฏิบัติการ
3. นางสาวภัครัมภา ศรีเกตุ เศรษฐกรปฏิบัติการ
4. นายวิทวัส ขัดทาน เศรษฐกร สำนักนโยบายและแผนสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ
3.3 ประเภทแนวคิดนวัตกรรมเพื่ออนาคต
รางวัลชนะเลิศระดับ Diamond : ระบบเข้าถึงแหล่งเงินทุนกระทรวง การคลัง (MOF Funding System) โดย
1. นางสาวปทิตตา เลาหพิบูลรัตนา คลังจังหวัดน่าน สำนักงานคลังจังหวัดน่าน
2. นายพิศิษฐ์ แผ่วัฒนากุล นักวิชาการคลังชำนาญการพิเศษ สำนักงานคลังจังหวัดพิจิตร
3. นางสาวเบญจมาศ นิลเพ็ชร นักวิชาการคลังปฏิบัติการ สำนักงานคลังจังหวัดตาก กรมบัญชีกลาง
รางวัลชนะเลิศระดับ Gold : พัฒนา Process Innovation สำหรับการค้นหาที่ดินราชพัสดุ โดย
1. นายวิรุธ แสงสิชัยพันธ์กุล นายช่างสำรวจอาวุโส
2. นายสมศักดิ์ แบนประเสริฐ นายช่างสำรวจชำนาญงาน
3. นางสาวอิสราภา เกิดทอง นายช่างสำรวจปฏิบัติงาน
4. นายวรรณรัตน์ จำนงค์ถ้อย นักวิชาการคอมพิวเตอร์ (ภูมิศาสตร์สารสนเทศ) กองเทคโนโลยีการสำรวจและฐานข้อมูลที่ราชพัสดุ กรมธนารักษ์
รางวัลชนะเลิศระดับ Silver : เปิดโลกผู้มีรายได้น้อยด้วย Machine Learning โดย
1. นายสัณหณัฐ เศรษฐศักดาศิริ เศรษฐกรชำนาญการ
2. นายอิทธิพัฒน์ ประภาประเสริฐ เศรษฐกรปฏิบัติการ
3. นายชานน ลิมป์ประสิทธิพร เศรษฐกรปฏิบัติการ สำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
ท้ายนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้เน้นย้ำจุดยืนของการจัดโครงการประกวดรางวัลเพชรวายุภักษ์ของกระทรวงการคลังอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดนี้จะเป็นการสนับสนุนในการสร้างกระบวนทัศน์และสร้างวัฒนธรรมการทำงานของคนกระทรวงการคลังที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล และพร้อมนำผลงานที่ดีของกระทรวงการคลังออกสู่สาธารณชนต่อไป