องค์ประกอบที่ 10 : แผนฉุกเฉิน
แผนฉุกเฉินเป็นการเตรียมแนวทางการดำเนินงานไว้ล่วงหน้า ในกรณีที่สถานการณ์หรือผลลัพธ์จากการดำเนินงานไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ หรือมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้น จนเป็นผลกระทบในทางลบกับกิจการ ซึ่งโดยทั่วไปผู้ประกอบการควรอธิบายลักษณะความเสี่ยงทางธุรกิจที่อาจส่งผล ให้การดำเนินธุรกิจไม่เป็นไปอย่างราบรื่นตามแผนธุรกิจที่ได้กำหนดไว้
ตัวอย่างของประเด็นความเสี่ยงทางธุรกิจและการเตรียมพร้อมที่ควรระบุไว้ในแผนฉุกเฉิน ได้แก่กรณีดังต่อไปนี้
– ยอดขายหรือการเก็บเงินจากลูกหนี้ไม่เป็นไปตามคาดหมาย จนทำให้เงินสดหมุนเวียนขาดสภาพคล่อง
– ธนาคารไม่ให้เงินกู้หรือลดวงเงินกู้
– คู่แข่งตัดราคาหรือจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่องระยะยาว
– มีคู่แข่งรายใหม่ที่มีขนาดใหญ่กว่า ทันสมัยกว่า มีสินค้าครบถ้วนกว่า ราคาถูกกว่า เข้าสู่อุตสาหกรรม หรือมาตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียง
– สินค้าถูกลอกเลียนแบบและขายในราคาที่ถูกกว่า
– มีปัญหากับหุ้นส่วนจนไม่สามารถร่วมงานกันได้
– สินค้าผลิตไม่ทันตามคำสั่งซื้อเนื่องจากขาดแคลนวัตถุดิบ
– สินค้าผลิตมากจนเกินไป ทำให้มีสินค้าในมือเหลือมาก
– เกิดการชะงักการเติบโตของทั้งอุตสาหกรรม
– ต้นทุนการผลิต/การจัดการสูงกว่าที่คาดไว้
ฯลฯ
ข้อมูลจาก :สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม